- วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- —Articles used in Worship
- วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๑ น (๒)
- วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- —วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- —วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๑
- วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ดร
- วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ดร
- วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- —The Three Arrows of Rama
- วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ น
- วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ น (๒)
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ น
วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ น
บ้านปลายเนีน คลองเตย
วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๑
กราบทูล กรมพระดำรงราชานุภาพ ทราบฝ่าพระบาท
ได้ตรวจบันทึกเรื่องเครื่องบูชาของพราหมณ์ศาสตรี
สิ่งที่มีเหมือน ๑๓ อย่าง
๑ อาสน ได้แก่ม้าที่ตั้งรูป
๒ คำต้อนรับ สฺวาคต ได้แก่คำโหรกล่าว “วนฺทิตฺวา อาจาริยปาทํ” เป็นต้น
๔ อรฺฆฺย มีแต่เครื่องผสมลางอย่าง คือ
(๑) น้ำ เรามีน้ำมนตร์ น้ำมนตร์ธรณีสาร เป็นต้น
(๒) กุศ กำหญ้าคา
(๓) เข้าสาร เห็นจะได้แก่เข้าตอก
๗ น้ำกิน
๘ น้ำอาบ สนาน มีน้ำอบ
๙ ผ้า มีผ้าห่ม หรือผ้าสีชมพูเป็นอย่างย่อ
๑๐ เครื่องประดับ มีสายสร้อย แหวนทอง เครื่องต้น ตลอดถึงทองคำเปลวเป็นที่สุด
๑๑ เครื่องหอม มีแป้งเจิม
๑๒ ดอกไม้
๑๓ ธูป ขี้ธูป กำยาน เนื้อไม้
๑๔ ทีป เทียน ตะเกียง
๑๕ อาหาร หัวหมู บายศรี เครื่องสังเวย
๑๖ วนฺทนํ กราบไหว้
สิ่งที่ไม่มีเหมือน ๓ อย่าง
๓ ปาทฺย น้ำล้างท้าว
๕ อาจมน น้ำล้างปาก
๖ มธุปรก น้ำสารบัด
น้ำล้างปากนั้นลางทีเราจะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแยกออกจากน้ำกินเป็นคนละภาชนะ น้ำล้างท้าวต้องแยกใส่ในหม้อชำระ แต่น้ำสารบัดนั้นเราไม่มีเลยขาดจริงๆ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
-
๑. พราหมณ์ ป.ส. ศาสตรี ↩