- เจ้าจอมมารดาชุ่ม รัชกาลที่ ๔
- ข้าพเจ้าขออุทิศกุศล
- คำนำ
- ตอนที่ ๑ ว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดพุทธเจดีย์
- ตอนที่ ๒ ว่าด้วยประวัติพุทธเจดีย์
- ตอนที่ ๓ สมัยแรกพระพุทธสาสนาเปนประธานของประเทศ
- ตอนที่ ๔ ว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดพระพุทธรูป
- ตอนที่ ๕ ว่าด้วยพระพุทธรูปปางต่าง ๆ
- ตอนที่ ๖ ว่าด้วยพระพุทธรูปแลรูปพระโพธิสัตว์ซึ่งเกิดขึ้นในคติมหายาน
- ตอนที่ ๗ ว่าด้วยพุทธเจดีย์ในนานาประเทศ
- ตอนที่ ๘ ว่าด้วยพระพุทธสาสนาในประเทศสยาม
- ตอนที่ ๙ ว่าด้วยพุทธเจดีย์ในสยามประเทศ
ตอนที่ ๒ ว่าด้วยประวัติพุทธเจดีย์
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพานแล้วได้ ๔ เดือน พระอริยสาวกทั้งปวงประชุมกันที่ถ้ำสัตตบรรณในแขวงเมืองราชคฤหมหานคร ราชธานีแห่งประเทศมคธราฐ ช่วยกันรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอน แลพระวินัยที่ได้ทรงบัญญัติไว้ให้เปนข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุสงฆ์เข้าเปนระเบียบ พระมหากัสสปเถรเปนประธานในการประชุมนั้น ให้พระอานนท์ซึ่งทรงจำคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ได้แม่นยำเปนผู้แสดงพระธรรมในที่ประชุม แลให้พระอุบาลีซึ่งเปนผู้เชี่ยวชาญในข้อสิกขาบทบัญญัติเปนผู้แสดงพระวินัย ครั้นที่ประชุมเห็นว่าถูกถ้วนตามพระพุทธฎีกาแล้ว ก็ชวนกันท่องบ่นจนจำได้ขึ้นปากเจนใจทั้งพระธรรมแลพระวินัย (ด้วยในสมัยนั้นยังไม่ใช้ประเพณีจดลงเปนตัวอักษร) การประชุมรวบรวมพระธรรมวินัยครั้งที่กล่าวนี้ เรียกในตำนานว่า “ปฐมสังคายนา” ครั้นเสร็จแล้วพระอริยเจ้าพุทธสาวกทั้งหลายก็แยกย้ายกันไปอยู่ต่างภูมิลำเนา เที่ยวสั่งสอนพระพุทธสาสนาแลให้อุปสมบทแก่ผู้ศรัทธาบวชเปนพระภิกษุสืบสายสักยบุตร ท่องจำพระธรรมวินัยตามที่ได้ทำปฐมสังคายนาถือเปนหลักพระพุทธสาสนาสืบมา ครั้นนานมาเมื่อพระอริยสาวกซึ่งได้ทำสังคายนาล่วงลับดับสูญสิ้นไป พระภิกษุผู้เปนหัวหน้าสานุศิษย์ในสำนักพระอริยสาวกองค์ใด ก็ได้เปนคณาจารย์ควบคุมพุทธบริษัทคณะนั้นๆ ต่อมา
เรื่องพงศาวดารฝ่ายอาณาจักรสมัยนั้น ประเทศมคธราฐเริ่มเจริญรุ่งเรืองมาแต่พระเจ้าพิมพิสารปกครอง ครั้นถึงพระเจ้าอชาตศัตรูก็มีอานุภาพปราบปรามประเทศที่ใกล้เคียง คืออาณาเขตของพวกกษัตริย์ลิจฉวีเปนต้น ตลอดจนสามารถเอาประเทศโกศลราฐไว้ได้ในอำนาจ อาณาเขตของประเทศมคธราฐก็กว้างใหญ่ไพศาลยิ่งขึ้นโดยลำดับมา แต่ส่วนกษัตริย์ซึ่งปกครองมคธราฐนั้น ต่อมาพวกตระกูลนันทะ อันเปนตระกูลต่ำ
๑ ที่พระตถาคตเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์สวรรค์ ณเมืองสังกัส (เดี๋ยวนี้เรียกว่าแขวงสุชานโกต) แห่ง ๑
๒ ที่พระตถาคตเจ้าทรงทำมหายมกปาฏิหาร ณเมืองสาวัดถี (เดี๋ยวนี้เรียกว่าแขวงสาเหตมาเหต) แห่ง ๑
๓ ที่พระตถาคตเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคิรี ณเมืองราชคฤห (เดี๋ยวนี้เรียกว่าแขวงราชะเคีย) แห่ง ๑
๔ ที่พระตถาคตเจ้าทรงทรมานพระยาวานร ณเมืองเวสาลี
แล้วเกิดนิยมพุทธบริขารว่าเปนบริโภคเจดีย์ อ้างที่ประดิษฐานพระพุทธบริขาร
๑ กายพันธ์กับบาตร อยู่ณเมืองปาฏลีบุตร
๒ ผ้าอุทกสาฎก อยู่ณเมืองปัญจาลราฐ
๓ผ้าจัมขันธ์ อยู่ณเมืองโกศลราฐ
๔ ไม้สีพระทนต์ อยู่ณเมืองมิถิลา
๕ ผ้ากรองน้ำ อยู่ณเมืองวิเทหราฐ
๖ มีดกับกล่องเข็ม อยู่ณเมืองอินทปัตถ์
๗ รองพระบาทแลตลกบาตร อยู่ณบ้านอุสสิพราหมณคาม
๘ เครื่องลาด อยู่ณเมืองมกุฏนคร
๙ ผ้าไตรจีวร อยู่ณเมืองภัททราฐ
๑๐ นิสีทนสันถัต อยู่ณเมืองกุรุราฐ
แต่ที่ประดิษฐานพระพุทธบริขาร ๑๐ แห่งนี้ น่าสงสัยว่าจะเปนของเกิดสมมตกันขึ้นต่อชั้นหลังเมื่อพระพุทธกาลล่วงแล้วช้านาน
ประเพณีที่พวกพุทธบริษัทไปกระทำพุทธบูชายังที่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเปนต้นเหตุให้เกิดมีสังฆาราม หรือซึ่งเราเรียกกันว่า “วัด” ขึ้นในมัชฌิมประเทศ เพราะเมื่อครั้งพุทธกาล เหล่าพุทธสาวกทั้งหลาย ที่อยู่ปฏิบัติวัดถากพระพุทธองค์เนืองนิจ เช่นพระอานนท์เถรเจ้าเปนต้นก็มี ที่ไปสู่พระพุทธสำนักเฝ้าแหนในเวลามีโอกาศเปนมื้อเปนคราวก็มี ที่ได้พบปะเฝ้าแหนในเวลาพระพุทธองค์เสด็จเที่ยวจาริกไปในนานาประเทศก็มี ครั้นพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพานขาดการที่ได้เคยเฝ้าแหนเห็นพระองค์เหมือนเช่นแต่ก่อน พวกพุทธสาวกที่รำลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็คงพากันไปยังที่สังเวชนียสถานแห่งใดแห่งหนึ่ง ตามที่มีพระบรมพุทธานุญาตดังกล่าวมาแล้ว ที่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งจึงเกิดเปนตำบลที่สมาคมของพวกพุทธบริษัท เห็นจะมีคนไปประชุมกันไม่ขาด พวกนี้ไปแล้วมีพวกนั้นมาเล่า มีจำนวนคนประชุมอยู่มากบ้างน้อยบ้างเนืองนิจ อาศรัยเหตุนี้น่าจะมีพวกชาวบ้านแถวตำบลนั้น คิดแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการสร้างที่พักอาศรัยแลเลี้ยงดูพวกอาคันตุกะขึ้นก่อน แล้วมีผู้ศรัทธาทำบุญด้วยสร้างที่อาศรัยถวายพระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายพระภิกษุก็เห็นจะเกิดมีผู้ที่สมัคอยู่ประจำทำการบำรุงรักษาสังเวชนียสถานเพื่อการกุศล จึงสันนิษฐานว่า การที่พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำบำรุงรักษาสังเวชนียสถานนั้น จะเปนมูลเหตุที่เกิดมีวัดเช่นเราเข้าใจกันบัดนี้ แลอาจจะเปนมูลเหตุให้เกิดวัดขึ้นในที่ตำบลอื่น ๆ ต่อออกไป เพราะพวกพุทธบริษัทซึ่งไปบูชายังที่สังเวชนียสถาน ที่เปนผู้อยู่ใกล้ไปได้ง่ายมีน้อย ที่เปนผู้อยู่บ้านอื่นเมืองไกลในจตุรทิศ ไปถึงได้ด้วยยากมีมาก พวกที่อยู่ไกลคงอยากให้มีเจดียสถานอยู่ในที่ใกล้ภูมิลำเนาของตน ให้ไปบูชาได้ง่าย ก็ในบันดาพระบริโภคเจดีย์พระพุทธเจ้าได้ประทานอนุญาตไว้น อาจเปนสังหาริมวัดถุแบ่งภาคไปประดิษฐานณที่อื่นได้แต่ต้นโพธิที่พุทธคะยาอย่างเดียว อาศรัยเหตุนั้นผู้อยู่ห่างไกลเมื่อไดไปบูชาณที่พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว จึงเก็บเมล็ดพรรณพระศรีมหาโพธิ์จากต้นเดิมไปเพาะปลูกยังบ้านเมืองที่ตนอยู่ แลบูชาเปนบริโภคเจดีย์ต่อออกไป บางพวกก็สร้างพุทธอาสน์ขึ้นเปนอุเทสิกะเจดีย์บูชาพระพุทธคุณในบ้านเมืองของตน ตามแบบอย่างพระอริยสาวกได้เคยกระทำมาในครั้งพุทธกาล บางพวกก็สร้างพระธรรมเจดีย์ดังกล่าวมาแล้ว เปนเหตุให้เกิดมีเจดียสถานขึ้นณที่อื่น ๆ เมื่อเจดียวัดถุเกิดมีขึ้นณที่แห่งใด ก็จำต้องมีการบำรุงรักษา จึงมีสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำเกิดขึ้นณที่เจดียสถานนั้น ๆ แท้จริงอันสังฆารามเปนของมีมาแล้วแต่ในครั้งพุทธกาล ดังเช่นเวฬุวนารามในเมืองราชคฤหมหานคร ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารถวายแก่พระพุทธองค์ แลเชตวนารามของอนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐีถวายที่ในสาวัดถีเปนต้น แต่อารามครั้งพุทธกาลเปนที่พระพุทธองค์กับพระสงฆ์อาศรัยชั่วเวลาเสด็จสำนักในเมืองนั้น ๆ เวลาเสด็จเที่ยวจาริก อารามก็ทิ้งว่างเปล่า หามีพระสงฆ์อยู่ประจำไม่ แต่สังฆารามซึ่งเกิดขึ้นภายหลังพุทธกาลมีเจดียวัดถุที่สักการะบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้าประจำอยู่ แลมีผู้คนพากันไปบูชาเนืองนิจ จึงต้องมีผู้อยู่ประจำบำรุงรักษาด้วยประการฉนี้
ความที่กล่าวมาแม้เปนข้อสันนิษฐาน ด้วยไม่มีหนังสือเรื่องใดกล่าวความไว้ให้ทราบได้ชัดเจนก็จริง แต่มีเค้าเงื่อนอยู่บ้าง ดังเช่นประเพณีที่ถือกันมาจนทุกวันนี้ ว่าต้นโพธิ์เปนสิ่งสำคัญอันหนึ่งซึ่งควรปลูกในวัด แลต้นโพธิ์ซึ่งปลูกกันตามวัดนั้นย่อมเสาะแสวงหาฉเพาะพืชพรรณอันมาแต่ต้นเดิมณเมืองพุทธคะยา เรียกว่า “พระศรีมหาโพธิ” ฉนี้ เห็นได้ว่าประเพณีนับถือพืชพรรณพระศรีมหาโพธิที่เมืองพุทธคะยาคงเกิดมีขึ้นในอินเดียก่อน แลมีในเรื่องพงศาวดารประกอบว่าเมื่อพระพุทธสาสนาไปประดิษฐานในลังกาทวีป พระเจ้าอโศกมหาราชได้ประทานต้นโพธิ์พรรณพระศรีมหาโพธิที่เมืองพุทธคะยาไปยังพระเจ้าเทวานัมปิยดิศให้ปลูกในลังกาทวีป ยังปรากฎอยู่ณเมืองอนุราธบุรีจนทุกวันนี้ ก็คงเปนเพราะพระเจ้าเทวานัมปิยดิศใคร่จะให้มีพระบริโภคเจดีย์ขึ้นในลังกาทวีป เหมือนเช่นมีที่ในอินเดีย เค้าเงื่อนอีกอย่างหนึ่งนั้น คือเมื่อเจ้าพนักงารตรวจรักษาของโบราณที่ในอินเดีย ขุดขนดินที่กลบโบราณวัดถุณพระบริโภคเจดีย์ มีที่อิสีปัตนะมฤคทายวันเปนต้น พบรอยก่อสร้างสังฆารามไว้กว้างขวาง เปนฝีมือก่อสร้างในสมัยเมื่อพระพุทธสาสนารุ่งเรืองในชั้นหลังจริงอยู่ แต่น่าสันนิษฐานว่าสังฆารามจะมีอยู่ณที่นั้นก่อนแล้ว พระเจ้าแผ่นดินผู้เปนพุทธสาสนูปถัมภก มีพระเจ้าอโศกมหาราชเปนต้น จะเปนแต่บุรณะให้ใหญ่โตไพบูลย์ขึ้น หาใช่จะพึ่งคิดให้มีพระสงฆ์ไปอยู่ประจำณที่เจดียสถานในสมัยนั้นไม่
-
๖. ในหนังสือมหาวงศ์ ว่าเปนนายโจร ↩
-
๗. มีหนังสือเรื่องปฐมสมโพธิเปนต้น ↩
-
๘. ปางทรงทรมานช้างแลทรมานวานร เราเอามารวมไว้ในปางพระปาเลไลย แต่ชั้นเดิมเปนสองปางต่างกัน ↩
-
๙. มีในหนังสือปฐมสมโพธิ บริเฉทธาตุวิภัชน์ปริวัตร (ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิต ฯ) ↩
-
๑๐. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ ข้าพเจ้าผู้แต่งหนังสือนี้ไปที่เมืองบอมเบ ได้เห็นผะอบโบราณเขาขุดได้ในอินเดีย มีชิ้นดินเผาอยู่ในนั้น กับพระพุทธรูปแลเครื่องสักการะภัณฑ์หลายอย่าง เขาว่าเปนชิ้นบาตรของพระพุทธเจ้า แต่ของสักการะภัณฑ์ส่อว่าจะฝังต่อราว พ.ศ. ๑๐๐๐↩