คำนำ

ไนงานพระราชทานเพลิงสพเจ้าจอมเอิบ ไนรัชกาลที่ 5 ม.ร.ว. เทวาธิราช ป. มาลากุล รับฉันทะจากเจ้าภาพ มาแจ้งความจำนงยังกรมสิลปากรว่า ไคร่จะได้หนังสือ “จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันไนพระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว” พิมพ์เปนที่ระลึก กรมสิลปากรจึงจัดไห้พิมพ์ ภาคที่ 20 นี้

หนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันนี่ เดิมหยู่ไนหอพระสมุดหลวง ต้นฉบับเปนอักสรพิมพ์ดีด มี 10 เล่ม กำหนดเล่มละ1ปี คือตั้งแต่ ปีฉลู จุลสักราช1239 (พ.ส.2420) ถึงปีกุน จุลสักราช 1249 (พ.ส.2430) ขาดปีเถาะ จุลสักราช 1241 ไป 1 ปี แม้เล่มที่กำหนดว่า 1 ปี บางเล่มก็ไม่ตลอดปีทีเดียว บางวันหรือบางเดือนไม่ได้จดไว้ก็มี บางเล่มก็ขาดไปตั้งหลายเดือน ปรากตไนบานแผนกบางเล่มของหนังสือนั้นว่า กรมหลวงปราจินกิติบดีตรัดสั่งไห้คัดขึ้นทูนเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็ดพระมงกุตเกล้าเจ้าหยู่หัว เมื่อ พ.ส.2460 ครั้งพระบาทสมเด็ดพระมงกุตเกล้าเจ้าหยู่หัว สเด็ดสวรรคตแล้ว สมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานหอพระสมุดหลวงมาเปนสมบัติของหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งได้เปลี่ยนมาเปนหอสมุดแห่งชาติ กรมสิลปากรไนบัดนี้ หนังสือนี้จึงตกมาเปนสมบัติของหอสมุดแห่งชาติด้วย

สังเกตตามสำนวนที่จดไว้ไนหนังสือนี้ เข้าไจว่าข้อความตอนต้น ๆ ไนเล่มแรกเปนพระราชนิพนธ์ไนพระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว ซงไว้ด้วยพระองค์เอง เพราะถ้อยคำสำนวนที่ซงไว้ล้วนเปนคำสามั ไม่มีราชาสัพท์เลยจนถึงหน้า 19 ไนภาคที่ 5 ต่อแต่นั้นมาเข้าไจว่ารับสั่งไห้ผู้อื่นจด จึงมีไช้ราชาสัพท์เช่น “สเด็ดพระราชดำเนิน” “ซงพระราชนิพนธ์” เหล่านี้เปนต้น แต่ถึงกะนั้น ผู้จดก็พยายามจะเลียนไห้เปนพระราชนิพนธ์ เช่นไช้คำสามัและไช้คำแทนพระองค์ว่า “ฉัน” และออกพระนามเจ้านายบางพระองค์ หย่างพระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวซงไช้ แต่ก็ไช้ไปไม่ตลอด มักอดไช้ราชาสัพท์ไม่ได้ ยิ่งไนตอนต่อๆ มาแล้ว มีไช้ราชาสัพท์เปนพื้น จึงเห็นได้ว่าไนตอนหลัง ๆ มา ตรัดสั่งไห้ผู้อื่นจด และผู้รับสั่งก็คงผลัดเปลี่ยนกันมาหลายคน ที่พอจะซาบได้จากความสังเกตเมื่ออ่านจาก “จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน” นี้ก็มีที่ยังไม่สามาถจะซาบได้ก็มี ที่ซาบได้บางตอนเข้าไจว่าเปน พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ เช่นมีว่าวัน 1 1 4 ปีมะเมีย จัตวาสก จุลสักราช 1244 เวลาบ่ายวันนี้ไม่ได้สเด็ดออก โปรดไห้พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (พระนามเดิมของพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระสมมตอมรพันธ์) เข้าไปเขียนไดอรี ที่ห้องไลบรารี พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหลาร” และมีข้อความทำนองนี้อีกหลายแห่ง และบางตอนก็โปรดไห้พระองค์เจ้าสรีเสาวภางค์จด เช่นมีว่า “7 6 8 ปีวอกฉสก จุลสักราช 1246......โปรดไห้พระองค์สรีเสาวภางค์เข้าไปเฝ้า ซงหนังสือราชการและไดอรี” ดังนี้เปนต้นและบางตอนก็มีว่า “วันนี้ไม่ซงสบายไม่ได้สเด็ดออก โปรดไห้เราเข้าไปเขียนไดอรีข้างไน” ซึ่งยังไม่ซาบได้ว่า “เรา” ไนที่นี้คือท่านผู้ได แต่เปนที่แน่นอนว่า ไนตอนหลังๆ นี้ไม่ได้ซงพระราชนิพนธ์

หนังสือนี้ ถ้าได้อ่านแต่ฉเพาะวันหนึ่งๆ จะเห็นได้ว่าไม่ค่อยได้เรื่องราวอะไรนัก เพราะพูดถึงเรื่องโน้นนิดเรื่องนี้หน่อย ช้อความไม่ติดต่อกัน แด่ถ้าอ่านไปหลาย ๆ วันจะเห็นว่าล้วนมีข้อความติดต่อเกี่ยวโยงถึงกันตลอด ย่อมอำนวยประโยชน์ไห้แก่นักอ่านหลายจำพวก โดยฉเพาะผู้ที่จะได้รับประโยชน์อันยิ่งไหย่จากหนังสือนี้ มี 2 จำพวก คือ:-

จำพวกที่ 1 นักสึกสาทางประวัติสาตร จะมองเห็นคุนค่าของหนังสือนี้หย่างแท้จิง เมื่อเขียนพงสาวดารประเทสไทยยุคนี้ เพราะพระราชกิจรายวัน วันละเล็กละน้อยเปนต้นเหตุให้รู้ถึงเรื่องไหย่ๆ เช่น การออกพระราชบััติ กดหมาย หรือราชการแผ่นดินอื่นๆ อันปรากตหยู่ไนราชกิจจานุเบกสาเปนต้นนั้น ยิ่งกว่านั้น ไนปีไดถ้าไม่มีการออกหนังสือราชกิจจานุเบกสา เช่นไนปีมะโรง จุลสักราช 1242 และปีมะเมีย จุลสักราช 1244 ก็ไม่อาดซาบได้ว่า ไน 2 ปีนั้นได้มีราชการงานเมืองอะไรบ้าง ถึงแม้อาดค้นหาได้ไนหนังสืออื่น เช่นหนังสือราชการตามกะซวงต่างๆ เปนต้น ก็ต้องค้นหาได้ด้วยความลำบากยิ่ง ทั้งอาดไม่ได้เรื่องราวตลอดและเปนหลักถานพอ แต่อาดค้นหาได้ไนหนังสือนี้

จำพวกที่ 2 นักสึกสาทางการเมือง เมื่อได้อ่านหนังสือนี้แล้ว จะมองเห็นรัถประสาสโนบาย ทั้งไนเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทสและเปนการพายไน ว่าพระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว ได้ซงนำไทยประเทสหลีกลัดเกาะแก่งและมรสุมแห่งการเมืองมาด้วยความลำบากเพียไร สมควนเปนทิตถานุคติของนักการเมืองไนชั้นหลังได้เปนหย่างดี

กรมสิลปากรขออนุโมทนาไนกุสลราสีทักสินานุปทาน ซึ่งเจ้าภาพได้มีความกตัูกตเวที่ตั้งมั่นหยู่ไนจิต พิมพ์หนังสือนี้อุทิสแจกจ่ายเปนธัมวิทยาทาน เนื่องไนงานพระราชทานเพลิงสพเจ้าจอมเอิบ ไนรัชกาลที่ 5 ขออิถคุนมนุผลจากวิทยาทานนี้จุ่งสัมริทธิ์ โดยสมควนแก่คติวิสัยไนสัมปรายภพ เทอน.

กรมสิลปากร

22 กันยายน 2487

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ