จินดามณี เล่ม ๑

ว่าพระโหราธิบดีแต่ง

ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

----------------------------

ร่าย ศรีสิทธิวิวิธบวร กรประนต ทศนัขประนม บรมไตรโลกยโมลี ศรีบรมไตรรัตน ชคัตโลกาจารย นบนมัสการ พระสุรัศวดี คำภีรญาณพันลึก อธึกโชดิปัญา ข้อยข้าขอเขียนอาทิ อักษรปราแต่งไว้ ให้ชอบตามศับท์ ไว้เปนฉบับสืบสาย ด้าวใดคลายขอโทษ โปรดแปลงเอาอย่าเตียน ข้อยข้าเขียนตามฉบับ อาทิศัพท์อักษร ด่งงนี้

อักษรศัพท์

๏ พระบาท บาตรพระสงฆ บาศเชือกคล้อง เงินบาท บาดอาวุธ อุบาทวะ วิบัดดิ นิยายนิบาต สินระบาท พระโพธิสัตว มหากรษัตราธิราช กรษัตรียชาติ ชาติสรรพสัตว สัดตนิกร สัตยสัจจาจรรจา ศรัทธาทำบุญ จตุบรรสัษย แลพรัศไคลคลา ศับท ว่าเสียง สำเนียงศับทวาจา พรรค ว่าหมู่ พรรณต่าง ๆ เผ่าพันธุพงษวงษา พรรฒ ว่าจำเรอญ พรรษ ว่าฝน พรรษ ว่าปีว่าอายุศม พรรผักกาด หัวพันเกี้ยวพัน กรรม ว่ากทำ กัลปประไลย กรรณ ว่าหู กรรฐ ว่าคอ กัลยา ว่านาง กระสัตว กันศัตรู สรรพ สรัพ สัพ ทังปวง สับฟัน แลคนใจฉกรรจ์ กันโจร กรรโจร กันจังไร กันไรผม ใจเกียจ ใจกาจ เกียจคร้าน เกียดิ เกีรยดิยศ ศักดิ อาเกียรณ เดียรดาษทั่วไป อุคอาจ อาศน อาศนา เปนคนอาทมาตกล้าหาร อาตมาภาพแห่งกาย ศุกทุข กุลียุคค ทำชอบเปนยุกดิ เปนยุติธรรม พระบาทยุคล มานุษ มนุษยทังหลาย อนุช ว่าน้อง เชษฐ ว่าพี่ บุตร ว่าลูก สบุต บุษยาภิเศก ดอกกรมุท โกมุท อุบล โดยยุบลอันกล่าว ทุกตำบล บนสูง ให้บนถ้อยคำ ยล ว่าเหน บังพระเนตร แลเหนไกล เดอน เดิร เชอญ เชิญ ดำเนิร ดำเนอร ทหาร ทหาน อาหาร ปรหาร บริหาร บะรหาร ปัณหาร บรรหาญ เกษม เขษม เภรี ไภรี ว่ากลอง เพรี เวรี ไพรี ว่าศัตรู อริ ริปุ ว่าศัตรู โลภลาภ ให้พิลาป นิมิตรฝัน ทศมิตร เปนมิตรไม้ตรี นิตย นิจจ นิดติ ว่าถ้อยคำโบราณ อนิจ ว่ามิเที่ยง กุป ว่าความลับ โกปะ ว่ากำเรอบ ราชรถ หอมรส โอชารสอาหาร มโนรถจำนง พระรท รจนา รัชทุลี ว่าลออง รดน้ำ บูรรพ ว่าตระวันออก เพงบูรรณ์ ว่าเต็ม สมบูร บริบูรรณ์ ไพบูล บุรี ว่าเมือง บูลย ว่างาม อังกุร ว่าหน่อ กระกูล ประยูร ว่าเผ่าพันธุ ว่าญาติกา วงษพงษโคตร หงั่วนไหงว หงวาดไหงว พระอาทิตย จันทร อังคาร พุธ พฤหัศบดี ศุกร เสาร พระเกตุ พระกาล มฤตยู รังแต่งรังสรรค เมืองสวรรค ไอศวรรสวัคราช สมบัดิแห่งพระมหากระษัตร จันทน กฤษณา พระกฤษณราช ชำระกฤตย หอกดาบกฤช กฤษ พระอรรชุน พระพรุณ วรุณคาทณ พลาหก พระพายุ พระแพศยันดรบพิตร รศเอมโอช พระโอฐ พระโอษฐ พระโอสถยา จักขุ โสต ฆานะ ชิวหา กายะ ชื่อเบญจอินทรีย รูป ศับท คันธรศ โผฏฐัพะ รศเบญจกามคุณ พระสาสนา พระสาสดาจาริย จรรย อาริย อารรย กาษยปะ มหรรณพ ภพสงสาร พุทธองค พระอัษฎาริยสงฆ สงฆบรินายก อาตมา ประโยชน ฤกษ เรอกษ โทษ ฤษี รากษษ ยักษ บุทคลทังหลาย มหาบุรุษ พุทธพงษ บริสุทธิศีล เรียนศิลปสาตร ธนทรัพย ภาระทำวล จักรวาฬ บุญสมภาร หิมพานต นฤพาน นิรพาน นิพพาน สุพรรณภาชน ภารทอง โภชนสาลี โจทจำเลอย พาทยพินท แตรสังข ศับทสำเนียง อโยทธยา อยุทธยา ร้องไห้ ให้ทรัพยเงินทอง ไส้เทียร อนึ่งใส่ไฟไหม้เมือง ใหม่ใหญ่ มีไช มิใช่ของไปไกล อยู่ใกล้เมืองใด ๆ ก็ดี ได้ตรัสแล้วสรรเพชฯดาญาณ สรรพัชฯดาญาณ กำแพงเพชฯระ เพทย แพทยหมอ กเพ็จ กโถงเพชรบุรี สมเด็จพระมหากรษัตร เสดจไป ดลลุะถึง พระราชมณเฑียร สถิตยเสถียร ในสุรางคปราสาท พระบาทสมเด็จ บรมบพิตรบรมนารถ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิร ด้วยช้างพระธินัง เสด็จด้วยม้าพระที่นั่ง เสด็จด้วยเรือที่นั่ง ชลมารรค ว่าทางน้ำ สถลมารรค ว่าทางบก มาศ ว่าทอง มารรค ว่าหนทาง มาตราหนึ่ง มาทธสิ่งคดีกิจใด ๆ วงษ พงษ ว่าญาติ ยาจน ว่าขอ ยาตรา ว่าไป ทรัพยทายาทย ว่าพายใน มฤธูปายาส เขาไกรลาศบรรพต มาลาช มาลา มาไลย ว่าพวงดอกไม้ เสวตรฉัตร ธุช ธวัช ว่าธง จรเข้ในน้ำ จเข้ดนตรี ตเข้ลากไม้ ฆ่าชีพิตรให้ตาย ข้ามิให้ตาย รบศึก ข้าศึก ข้าพณหัวเจ้า บวดแลพึงศึก ทำให้ศึกเสียคม พระอินทร พระพรหม ยมะบาล พญาบาลรักษา ดอกบัวบาล บาญชีย กบาน ทำการมงคล การิย ว่ากทำยังไม่แล้ว เทศการ นรกานต์ ว่าที่สุดนรก เฉลียวฉลาศ เกวี กรวี เมธา สุเมธา สุเมธ หิรา หิโร หิเรศ พิธุร แก้วไพทูรย วิทุเรษ มูนี ภูริปรีชา บัณฑิตย นักปรา มาร อสูร หนุมาณ สามัญ รณาภิมุข ว่าน่าศึก ดารีพล ชนมา ว่าอายุ อายุศม มหันตราชา ว่าพญาเมืองใหญ่ จุลราชา สามนตะราชา พระญาเมืองน้อย ไสล ว่าภูเขา อัทยาไศรย ไสยาสน เสนาศน อาศน แจจรร เสียงคนอนรรค์ อนรรต์ อนนต อนันต พุทธสาษน ไศรยสาตร สาตราวุทธ เครื่องยุทธ วงกต กรกฏ ใจฉกรรจ รู้มลัก ปักหลัก ราชเทพี ราชเทวี ธรงครรภ์ ของคัล แสบคัน กุศล ศาลา เปนภัพย อาภัพย พับผ้า สัพสรรพ คุณ บุนย บุญ มาดุฉา น้องแม่ บิดุฉา น้องพ่อ บิตุลา ว่าลุง เชษฐา ว่าพี่ กนิษฐา อนุช ว่าน้อง นัดดา ว่าหลาน เอารศ บุตร บุตรี ว่าลูก ศุขสวัสดิ พระบันทูลตรัส หัวไพทูรย แบกทูล ทูรพล ใจปรทุษฐ ถัทธะ มานะ พระคุร พระครุทธพาหะ พาหล โกรธา โกรธ โกฏิ โกส โกษฐ โปรดสัตว เปนประโยชน ประชาชน อนาราษฎรทังหลาย ริบราทบาท คเชนทร คชินทร นาคินทร นาเคษ นาเคนทร กริน คช คชา สาร หัดถี หัษดี ช้าง อัศวไหย อาชาไนย สินธพ ภาชี ว่าม้า พิศม์งู พิศณุโลก พิศวกรรม พิศเพียล ทูลพิทกิจถ้อยความ อาศรพิศม์ ถวายอาเศียรพาท น้ำพระพัท ว่าให้กลัว ภัศม ว่าให้แหลกเปนจุรณ บรรยงกรัตนสิงหาศ พินาศ เวทางคสาตร ไตรเวท พรหมภักตร์ ภักดีปฏิบัดดิ์ บริบาล จักรพรรดิราช พระมหาธาตุ์ ทาษ ทาศีทาสา พระทันตธาตุ์ อาวาศ ภารัทวาช วิป ตบัศวิ ดาบศ ศิวาจารย์ พะไทยโกรม ว่าแผ่นดิน ริปุ ริปู อริ บรปักษ ว่าศัตรู ลับกำบัง ยนตร์ มนตร์ ดล ถมบ ปรกบ กฤดิยา อาคม สุพรรณบัตร ว่าใบทอง มิตรโทรห ทรหู กบถ ขบถ กเษตราธิบดี ทิพสาลี โภชนสาลี สุธาโภชน สกนธา ว่าขันธ สกล ว่าทังปวง สันญาวิปลาส ว่าคิดผิด ประภาษ ว่าไป อาพาธ ว่าไข้ พิพาท วิวาท ว่าผิดกัน อถัลป ว่าใจร้าย จันทาลทฤษฐิ ทำบาป อุสาหะ โทรหโมห ครุ กรรมหนัก ละหุ เบา ทุจริต บาป สุจริต บุญ เกิยจ์กล เล่หกล สนเท่ห จาบัลย ศัลย อันดกว่าทุกขโศก สบประสงษ บำเหน็จ์บำนาญ ทนาล นานมา กุนาลชาฎก โภยไภย โสฬศ พรหมโลกย บทโมกษ มารรคผล เสพยสมาคม สงครอะห ฉะพอะ จำพอะ อาสิงสาถ ปราถนาคิดถึง เจตรนาสากัน อาไลย ว่าคิด อารมภ์ เสวอยรมย์ อรมณ ว่าเปนนิตย จิตร เจตร มะโน มะนะ หทยัง หฤทย ว่าหัวใจ โชติ ชัชวาลย บัญหาญ ว่าแนะว่าบอก พจนารรถ ทำนูล บันทูล ว่ากล่าวถ้อยคำ สูงศักดิ ไตรภพ ไตรวัด ไตรโลกย สมภพ โอภาษ รัศมี รงงศรี สมรรถ สมรรค สมัคร สมาน ธรนี วะสุธา พสุนธรา มหิ ภูวดล ภูตะลา ว่าพื้นแผ่นดิน ราชธานี ทาตรี นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี ธนบุรี นนทบุรี สิงฆบุรี เพชบุรี ราชบุรี

อังคาสพระสงฆ เพชะฆาฎ อาฆาฎ ผูกคาด พิฆาฏ ราชยาน ฌานสะมาบัด ยวดญาณ สัพพัญูตันญาณ ตถาคต ทศพลญาณ อชิตบพิตรจอมอารย ไตรโลกาจารย ตรีภพมกุฎโลกย เมาลี ตรีภูวนารรถ ศรีสุคต ชิเนนทร ชินนราช ชินศรี มุนีราชะ ธรรมราช สัมพุทโธ โลกนาโถ ไตรภพนาถ สัดถาเทวา ว่านามพระ

เทวา เทพาธิบดี เทวินทร เทเวศ อัมรินท อมรา อมเรศ วัชชรินทรา ตรีเนตร สหัยไนย พันตา เพชรปานี มัคพาฬ โกษี สุชัมบดี เจ้าสุราไลย อินทราธิราช

แก่นสาร ใจสานต น่งงโรงศาล สานแผง เข้าสาน พิสาล กว้างขวาง พิมพิสารราช ตรลาตพสาล พระขันท พระขรรค์ ธน ว่าทรัพย์ วนะ ว่าป่าวัน ไขย ว่าสิ้น ชีวิตรตักไษย วายชนม กาลกิริยา มรณ ว่าตาย สบสากล แดนจักร อนาเขต ขันทเสมา ธรงพระกรุณา

ภูบาล ภูเบศ ภูเบนทร ภูวมนท ภูวนา ภูวไนย ภูวนารรถ ภูวเนตร ภูวนัดไตรย ภูมีศวร ภูมินทร ภูบดี ภูบดินทร ภูธร ภูตลา ธรารักษ ธเรศตรี นรินทร นเรนทร นเรศ นรัศ นราธิบดี นฤบดี นฤบดินทร นฤบาล นฤเบนทร นฤเบศ นฤปนารถ จอมจักรี จอมราช จอมยศราชา จอมภพนารถ จอมโลกย จอมนารรถ จอมกรษัตร ปิ่นเกล้าธาตรี จุทำมณี จุมพล ธรนิศวร ราชา ราชี ราไชย ราโช ราชัส ราเชนทร ท่ารไทธรนี ท้าวธรนิศ ไทธเรศตรี ไทธรนี ธรารักษ กรษัตราธิราช สุรชาติ ขัติยวงษ ระพิพงษ สุริยวงษ สุริโยศดม มไหสุรศักดิ มหันตมหิตราชา ว่าพญา มาดา มาดร บิดา บิดร บิดุเรศ บิดุราช ขนิฐา นัดดา หลาน ทารา ภริยา ภรรยา บาทบริจาริกา อิดถี ษัตรี นารี บุตรี เยาวมาลย ยุไพ ยุพาล นงคราญ พงโพท นงพาล พธู พเท พนิดา วนิดา สุดา ธิดา อ่อนไท เทวี เทพี ชายา ชาเยศ ชาเยนทร ยอดสร้อยสงสาร การดา กัลยา เพาพาล เพาโพท ว่านาง เสาวภาคย โสภิล โสภา โสภาคย โสภน โสภนา พงา เยาวโยพ ว่าหนุ่มงาม

บุรุษ บุรุษา บุรุษโษ บุริสสะ บุริสัสสะ มานุษ มนุษย อุดดม สมณพราหมณาจารย อารรย อรหันต

มเหาฬาร โอฬาร นักขัตดารา ดาเรด ต้งงตยาคมนัฎย มหูรรดี ว่าฤกษ

มณฑิรปราสาท ไข้กลี โขลนทวาร ทับท้าว นางจรัน ตรีมุกขยมาศ ราชรัถยา ถนล หมอนขนน หนูนให้สูง จรันจราย จรอดจร ตราไตร ตรวจตรา ที่ทางเดิร เมลีอยมล้า ชักเลีอยไม้ แมล่นมลิ้น เมลืองเลื่องฦๅด้วยศักดานุภาพ สิหนาท สิหราช สิหสิงฆ นาค ภุชงคนาค นาเคนทร นาคัส นาเคศ นาคี นาคินทร นาเค นาโค นาค ราชอุรุค ว่างู

ครุทธราช ครุทธา ครุทธี สุบรรณ สุบรรณี สุบรรนา เวนไตย เวนตยะ กินร กินรี หัดถีลึงค หัศดีลึงค อินทรีย ปักษา ปักษี สกุณา สกุณี ว่านก

ฤๅษีสิทธิ วิทธยาธร ศิวสาตร ไวทางค ตบศวี ทวิชา แพทยา โหรา พญารี เพรี มเหศ อาคาล โยคี โภคี ทิษาปาโมกษาจารย ธรงไตรเพทางคสาตร คือยัชชุเพท อิรุเพท สามะเพท สบศิลปสาตร พราหมณ กรษัตร แพสย สูตร โคตร กรกูล ร้องโฆษนา พระสัพพัญญู สวยมภูญาณ

อมาตยาธิบดี พิริยโยธา นรานร แสนยากร พฤนทร พยู่ห สบสมู่ห สงงกัด พรรค ทังมวน ทังมูล กราบถวายบังคม ประนต ปรนม อภิวาท สดุสดี โอนตประนาม อ่อนน้อมกาย ด้วยเกษ เกษี เกษา ศีศะ เศียร ศีโร ศิโรดม เกล้า หัว ย่อมได้ สับดเจ็ด สัตะร้อย สหัษพัน โสตะว่าหู จำนรรจา เจรจา จรรจา คชทับพยุห ว่าช้างที่นั่ง อัษฎธิคช ว่าช้างอยืนทั้งแปดทิศ

ชื่อว่าสรรพนาม นักปราจึ่งประกอบ เพราะให้ใช้สรรพกาพยกลอนทังปวง ถ้าแลมิได้เรียนถ้อยคำทังปวง จแปลอักษร ให้เรียนจึ่งจรู้อักษรใช้จให้ชอบ แลนักปราทังปวงพึงเรียน ตามบังคับไว้นี้แล ฯ

คำนมัสการ

๑๔ นโมนะมัสการปรนม อภิวาทวันทา
เมแห่งตูข้าปรพฤดิปรา รพภโดยจำนงใจ
๏ อัสถุจงมีแก่มนสา ทรเจตนาใน
ตัสสพุทธัสสวรไตร ภพโลกยนาโถ
๏ ธรงนามพระภควโต พุทธภาคยเดโช
พระองคคืออรหโต อันหักกำมสงสาร
๏ สัมมาสัมพุทธธัสสพระสรร เพชฯโพธิโอฬาร
ตรัสไญยธรรมวรญา- ณประเสริฐเลอศไกร
๏ นบธรรมพระมกุฎไตรย ปิฎกุดตมีใน
โลกุดตราวรวิไส ยวิเศศศุกษุม
๏ ยอกรกาญจนกฤษดาญ ชวลิตกันภุม
พุทโธรสาธิกชุมนุม คณสงฆอรรษฎารย
๏ เสร็จถวายศรีโรตมภิวัน ทิยข้ามนัสการ
ไตรรัตนทิพวรญา- ณมหามหาศจรรย
๏ เดชานุภาพวรไตร รัตนโชดิพรายพรรณ
จงศุขสวัดิชัยสวรร ยาธิบัดดิมากมี
๏ ข้าฃอปรกอบอักษรแถลง สรรพภาคยวาที
นานาวุตโตไทยวจี นามศับทเสร็จการ

ตัวอย่างคำที่ใช้ ส

สรรเพชญสัทธรรมแลสง- ฆปรเสริฐแก่นสาร
สบสูตรสดับนิแลสังหา- รแลแพสยสัตยา
๏ โกสุมภเกสรสมบัด ดิแลสวัดิโสภา
เสาสูรยสวรรคแลสุรา สุรสิทธิสมภาร
๏ สมเดจสหัสนยเสมอ สีหปราสงกรานต
สมฤทธสมาธิสบสถาน สุวภาพสุนธร
๏ สมบูรรณสาครแลสิน ธุสมุทสมสมร
สารถีสมรรถแลสลอน แลตรัสสละสมาคม
๏ เสร็จเสดจแลสังขพัส ดุสิตเสวตรเสวอยรมย
ปราสาทสาตรสัตวสม นักนิสาธุสงสาร
๏ แสนสนุกนิสาวสนม แลสดุดิโสดนมัสการ
สอลอทังปวงก็บริหาร ปรเภทนานา

ตัวอย่างคำที่ใช้ ศ

ไพศาขศิขรพิเศศ แลศับทศรัทธา
ศัตรูแลศุขศุทธอา ศรภขไศยรัศมี
๏ อาศรมศิลแลศิวา ศรโศตรเศรษฐี
อากาศแลพิศมสุลี ยศศักดิอัศวา
๏ โศฬสภิเศกแลปิศาจ แลกุศลศาลา
ศึกศรีศรบงแลศริรา ทศศุภศฤงฆาร
๏ ศาโรชโศกแลปรเทศ ศศิธรปรกาศมาน
ศอคอนี้ปราผู้ชำนาญ ก็ปรกอบในวาที

ตัวอย่างคำที่ใช้ ษ

บุษยาแลกฤษณกฤษ เขษมกรษัตรษัตรี
โอภาษจักษุมหิษี รักษโทษภูษา
๏ อักษรรากษษแลยัก ษแลเกษบุษบา
พฤกษาฤๅษีบุรุษมา นุษยภิกษุเหาะหรรษ์
๏ ปักษีมหิษแลผู้ปรา ธก็ผูกเป็นเชิงฉันท
สิบสี่นี้นามคือวะสัน ตะติลกโดยหมาย
๏ สบศบทกล่าวนิยมไว้ บมิคลาศมิคลาคลาย
เพื่อให้มหาชนทั้งหลาย ผู้จอ่านจเขียนตาม
๏ สอลอแลศอษอ ก็ปรกาศทังสาม
พีเศศโดยนาม ปรเภทภาษา
๑๑ หนึ่งโสดคือไม้ม้วน ไม้มลายอเนกา
ประกอบเป็นฉันทา ผู้พิเศศอย่าหลงใหล
ใฝ่ใจแลให้ทาน ทังนอกในแลใหม่ใส
ใครใคร่แลยองใย อันใดใช้แลใหลหลง
๏ ใส่กลสใพ้ใบ้ ทังใต้เหนือแลใหญ่ยง
ใกล้ใบแลใช่จง ญี่สิบม้วนคือวาจา

(ไม้ม้วน ๒๐ คำ)

ท้าวไทแลไพร่พล ทังพงไพรแลไร่นา
ยไยแลอัทยา ไศรยไมยเลอศไกร
๏ ฉับไวแลปลดไปล่ แลลุกไล่แลแล่นไกล
ไยไพปรไลไป แลร้องไห้จไจ่จรึง
๏ เจ้าไทธชมไชย แลอาไลยังไปถึง
หวั่นไหวฤไทพึง แลไหว้พระแลไคลคลา
๏ หลั่งไหลแลไรเกษ แลไตรภพไตรตรา
ไต่ทางแลไถนา แลแอกไถอันไพบูลย
๏ บันไดกรไดไพ เราะหไผ่มไม่มูล
แหล่งไหลสไอพูล สมบูรรณขไศยปราไศย
๏ คลองไปแลไหลหลั่ง แลไถ่คนแลเรือดไร
ไก่ไข่แลน้ำไหล แลไซ้ปีกปรไพงาม
๏ ไพรีอไภยภิต แลขวิดไขว่แลไอจาม
ไฟไหม้แลไต้ลาม แลไนหูกแลป่านไหม
๏ ทำได้แลไว้คง แลตไค่แลเป็นไฝ
ถุงไถ้แลออมไห อสงไขยไสยา
๏ ไส้พุงแลตับไต แลเหงื่อไคอเนกา
แก้ไขวไวอา ไศรยได้คดีดี
๏ ไคคาวแลเรนไร วิไนยไฉนแลไม้ตรี
ไฉไลแลไพล่หนี แลไหล่ไพลแลแกว่งไกว
๏ ไศลไข้แลไกษร แลสไบแลลูกไพ
ผักไห่แลไม้ไซร แลไอสูรยแหล่หลาย

(ไม้มลาย ๘๐ คำ)

๏ สบศับทนานา ทุกประการหมวดหมาย
ทังนี้ย่อมไม้มลาย ผู้ปรเสริฐพึงเรียน
๏ สษศแลไม้ม้วน แลไม้มลายบ็เว้นเวียน
ผู้ใดจอ่านเขียน จงปรหญััดอย่าดูเบา
๏ ส่วนผู้จำนองฉัน- ทนี้นามกรเกา
คือบรมพุทเธา รสตั้งบำเพ็ญบุญ
๏ ผู้มีอำนวยทาน แลส้างกุศลเป็นทุน
มากแล้วมาเพิ่มภุล อันชอบไว้ในโลกา
๏ เฉลี่ยวฉลาดในกาพยกลอน วรอรรถคาถา
เพราะเหตุบุญา ธิการหลังมาอวยผล
๏ อนึ่งจึ่งให้ใช้ ฤฤๅใส่โดยดำกล
ฦฦๅก็อำพล โวหารชอบสถารการ

บุทคลผู้ใดจเขียนหนังสือกาพยโคลงพากยฉันท ให้ดูอักษร ๔ คือ ฤฤๅฦฦๅ นี้ให้ชอบกับกลอนควรจึ่งใส่ มิชอบกลอนอย่าใส่ ไม่รู้อ่านก็มิฟัดเลย รู้อ่านก็ฟัดกันแล ผู้รู้เขียนให้เขียนดั่งนี้ ชอบฤทธิให้ใส่ฤทธิ ชอบริทธิ ให้ใส่ริทธิ ชอบพฤนทร ให้ใส่พฤนทร ชอบพรินทร ให้ใส่พรินทร ชอบ รึ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ ฤ ตัวนี้ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ รื ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ ฤๅ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ ลึ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ ฦ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ ลือ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ ฦๅ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ตามอักษร จึ่งจฟัดกันเป็นกลอนแล ถึงข้าศึกชอบกลอนแล

จำแนกอักษรเป็น ๓ หมู่

นโม พุทฺธาย สิทฺธํ อ อา อิ อี อึ อื อุ อู ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เอ แอ ไอ ใอ โอ เอา อำ อะ

ฎ ฏ ด ต

บ ป

อักษร ๔๔ ตัวนี้ให้อ่านแต่สองเสียง

อักษร ๑๑ ตัวอยู่บนบันทัดนั้นคือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ศ ษ ห ให้อ่านออกเสียงสูงเสมอกันไป

อักษร ๓๓ ตัวอันเหลือนั้น ให้อ่านเสียงกลางเสมอกันไปดุจ ค ง จ ญ

แจกลูก

อักษรกลาง ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ นี้ตัวเบาบมิก้อง เมื่อแจกให้อ่านเบาสูงขึ้นที่ ๔ ตัว คือ กิกึกุกะ ติตึตุตะ อิอึอุอะ นั้น

 

ก กา กิ  กี กึ  กื กุ  กู เก แก ไก ใก โก เกา กำ กะ 

อักษรเสียงสูง ๑๑ ตัวนั้น บมีก้อง ให้อ่านหนักลงที่ ๔ ตัวนั้น คือ ขิขึขุขะ นั้น

ข ขา ขิ  ขี ขึ  ขื ขุ  ขู เข แข ไข ใข โข เขา ขำ ขะ 

อักษรเสียงกลาง ๒๔ ตัวอันเหลือจาก ๙ ตัวนั้น ตัวก้องต่ำให้อ่านทุ้มลงที่ ๔ ตัว คือ คิ คึ คุ คะ

ค คา คิ  คี คึ  คื คุ  คู เค แค ไค ใค โค เคา คำ คะ 

ผันอักษร

อักษรเหล่านี้เล่าเหมือนกันกับ ค ง ช ซ นั้นจงหมั้น อักษรทังหลายนั้นให้อ่านผันออกไปตัวละ ๓ คำ ซึ่งแจกมาทังปวงนั้นเปนคำต้น สกดไม้ค้อนหางวัว นั้นเปนคำกลาง สกดไม้โทลงด่งงรูป ฃอ นั้นเปนคำปลาย

อักษรเสียงสูง ๑๑ แม่นั้น คำต้นให้อ่านสูงแล้วลดลงไปตามที่ไม้เอกไม้โทนั้น

ขา   ฉา   ผา   ฝา   สา   หา    
  ข่า   ฉ่า   ผ่า   ฝ่า   ส่า   ห่า  
    ข้า   ฉ้า   ผ้า   ฝ้า   ส้า   ห้า

อักษรกลาง ๙ แม่นั้นคือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ นี้คำต้นให้อ่านเปนคำกลางแล้วจึงอ่านขึ้นไปตามไม้เอก แล้วลงไปตามไม้โทด่งงรูปจั่วนั้น

  ก่า     จ่า     ด่า     ต่า     บ่า  
กา   ก้า จา   จ้า ดา   ด้า ตา   ต้า บา   บ้า

อักษรเสียงกลางก้องต่ำ ๒๔ ตัวนั้น คำต้นให้อ่านเปนกลาง แล้วอ่านทุ้มลงแล้วอ่านสูงขึ้นไปตามไม้เอกไม้โท

    ค้า     ง้า     ซ้า     ท้า     น้า
คา     งา     ซา     ทา     นา    
  ค่า     ง่า     ซ่า     ท่า     น่า  
    พ้า     ฟ้า     ม้า     ย้า
พา     ฟา     มา     ยา    
  พ่า     ฟ่า     ม่า     ย่า  
    ร้า     ล้า     ว้า     ฮ้า
รา     ลา     วา     ฮา    
  ร่า     ล่า     ว่า     ฮ่า  

เมื่อแจกควบกันเป็นประโยคโดยโวหารโลกย ให้อ่านตามตัวต้นด่งงนี้

กล กลา กลิ กลี กว กวา กวิ กวี ตร ตรา ตริ ตรี

อย อยา อยิ อยี ขว ขวา ขวิ ขวี ฉล ฉลา ฉลิ ฉลี

หน หนา หนิ หนี ปล ปลา ปลิ ปลี ปร ปรา ปริ ปรี

พล พลา พลิ พลี พร พรา พริ พรี หว หวา หวิ หวี

หล หลา หลิ หลี คล คลา คลิ คลี คร ครา คริ ครี

คว ควา ควิ ควี ขล ขลา ขลิ ขลี ผล ผลา ผลิ ผลี

อักษร ๑๕ เหล่านี้คือ กิ กึ กุ กะ กก กด กบ เกียะ เกือะ เกอะ กัวะ เกะ แกะ โกะ เกาะ นี้คำตาย

กน กง กม นั้นอ่านแต่เสียงเดียวตามตัวสูงต่ำ จึงผันเปนสามคำตามไม้เอกไม้โทนั้นเถิด

กน กัน กาน กิน กึน กึน กืน กุน กูน เกน แกน โกน กอน กวน เกียน เกือน เกอน เกิน

กง กัง กาง กิง กีง กึง กืง กุง กูง เกง แกง โกง กอง กวง เกียง เกือง เกอง เกิง

กม กัม กาม กิม กีม กึม กืม กุม กูม เกม แกม โกม กอม กวม เกียม เกือม เกอม เกิม

กาน ก่าน ก้าน จาน จ่าน จ้าน กาง ก่าง ก้าง กาม ก่าม ก้าม

กิง กิ่ง กิ้ง จาง จ่าง จ้าง ขึน ขึ่น ขึ้น  แคน แค่นแค้น

 

ชืน ชื่นชื้น ขิง ขิ่ง ขิ้ง ขึง ขึ่ง ขึ้ง คุง คุ่งคุ้ง

 

แยง แย่งแย้ง ยิง ยิ่งยิ้ง สง ส่ง ส้ง ขิง ขิ่ง ขิ้ง

 

จิม จิ่ม จิ้ม ยิม ยิ่มยิ้ม แจม แจ่ม แจ้ม แยม แย่มแย้ม

หม ห่ม ห้ม ลม ล่มล้ม กลา กล่า กล้า กวา กว่า กว้า

 

ตรา ตร่า ตร้า ปลา ปล่า ปล้า ปรา ปร่า ปร้า อยา อย่า อย้า

คลา คล่าคล้า ควา คว่าคว้า ครา คร่าคร้า พลา พล่าพล้า

พรา พร่าพร้า มลา มล่ามล้า เคลา เคล่าเคล้า ใคร ใคร่ใคร้

ครู ครู่ครู้

ฉลา ฉล่า ฉล้า  ผลา ผล่า ผล้า  หนา หน่า หน้า

หมา หม่า หม้า  ขวา ขว่า ขว้า  เศรา เศร่า เศร้า

เกย กาย กาว กิว กีว กึย กืย กุย กูย เกว แกว โกย กอย กวย เกียว เกือย เกีย เกียะ เกือ เกือะ เกอ เกอะ กัว กัวะ เกะ แกะ โกะ เกาะ กุํ กรรม กอ ก่อ ก้อ กย กือ

เกอยนั้นอ่านแต่เสียงเดียวตรงไปตามตัวสูงตัวต่ำ จึ่งผันออกเป็นสามคำตามไม้เอกไม้โท แล้วอ่านซ้ำให้จงชำนาญเป็นอนุโลมปัติโลมโดยนิยมด่งงนี้

กาย ก่าย ก้าย กิว กิ่ว กิ้ว กุย กุ่ย กุ้ย จาย จ่าย จ้าย จาว จ่าว จ้าว

ขาย ข่าย ข้าย   ขาว ข่าว ข้าว   ฉาย ฉ่าย ฉ้าย

ถาย ถ่าย ถ้าย   ถอย ถ่อย ถ้อย

ฝาย ฝ่าย ฝ้าย   สาย ส่าย ส้าย   สอย ส่อย ส้อย

 

คาย ค่ายค้าย คิว คิ่วคิ้ว งาย ง่ายง้าย

ชาย ช่ายช้าย ซาย ซ่ายซ้าย ทาย ท่ายท้าย

ทาว ท่าวท้าว พาย พ่ายพ้าย มาย ม่ายม้าย ราย ร่ายร้าย

กอย กวย กอน กวน เกียน เกือน เกอน เกิน

เกียว เกือย กอด กวด เกียด เกือด เกอด เกิด

เกีย เกียะ กอง กวง เกียง เกือง เกอง เกิง

เกือ เกือะ กอก กวก เกียก เกือก เกอก เกิก

เกอ เกอะ กอม กวม เกียม เกือม เกอม เกิม

กัว กัวะ กอบ กวบ เกียบ เกือบ เกอบ เกิบ

จินดามุนีนี้ พระโหราธิบดี เดอมอยู่เมืองสุกโขไทยแต่งถวายแต่ครั้งสมเด็จพระนารายน์เป็นจ้าวลพบุรีย

๏ นโม ก ข จึ่ง กกา
ตามอักษรอรรถา แต่งไว้
กน กง กด กม มา ตามต่อ
กบ กก เกอยสุดไซ้ สิบนี้คำไท ฯ
๏ รังสฤษฎิพระแต่งต้งง สอลอ
รังรักษเกิดษอบอ บอกแจ้ง
สังหารค่อเปนศอ สมมุติ
ไตรเทพท้าวหากแกล้ง ก่อเกื้อเป็นองค์ ฯ๑๐
๏ นักปรา$\left. \begin{array}{}\mbox{ญ ย } \\[1.4ex]\mbox{ณ น }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ส ศ ษ
กิน บ ครันคนตาม เร่งไร้
เปนเสมียนหมู่ถามความ กินง่าย
ส แล$\left. \begin{array}{}\mbox{น} \\[1.4ex]\mbox{ย}\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ นี้ไซ้ ยิ่งค้าเมืองจีน ฯ

๑. ปฐมํ ปริสุทฺธฺจ

๑. อักษรปรถมบาทเบื้อง บริสุทธ

๒. ทุติยํ ทณฺฑเมวจ

๒. ทุติยบาทเมรุทธ รูปค้อน

๓. ตติยํ องฺกุสฺเจว

๓. ตติยบาทอังกุษ ขอขอด จริงแฮ

๔. ติวิธํ ลกฺขณกฺขรํ

๔. ลักษณอักษรสามช้อน แต่งไว้เปนเฉลิม๑๑
๏ ส ศ ษ ญ ย ใครถวิล
   ่   ้   ๊   ๋ พินทุ์ ชอบรู้
ใ ไ ใส่โดยจิน ดาแม่น
คือว่าท่ารนั้นผู้ ฉลาดแท้เมธา ฯ
๏ เปนเสมียนรอบรู้ วิสัญช์๑๒
พินเอกพินโททัณฑ- ฆาฏคู้
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียร ฯ
วิสัญชนี
พินทุ์เอก
พินทุ์โท
ทัณฑฆาฏ
ไม้ตายคู้
ฝนทอง " อยู่ในแปดสิ่ง
ฟองมัน ๏ อยู่ในแปดสิ่ง
นฤคหิต ํ ว่าบริมณฑลดุจไข่
๏ นนพกอก่อเหง้า อักษร
แจกจำอุธาหอร แห่งหั้น
กดกบกกม้วยมรณ สามแม่
กนกงกมเกอยนั้น ชีพได้นามตรี ฯ
๏ ส จ ต ถ ท ใช้ ต่างกด
กน ญ ร ล ฬ ด แต่งต้งง
พ ป ภ ท่านสมมต ต่างกบ แลนา
ข ค ต่างกกจั้ง แจกให้เหนแสดง ฯ
๏ แจก ก กาท่านห้าม โดยหมาย
กิกึกุกะ ตาย แห่งหั้น
เกียะเกือะเกอะกัวะราย เรียงทั่ว ไปนา
เกะแกะโกะเกาะนั้น เหล่านี้คำตาย ฯ
๏ กกกดกบเหล่านี้ คำตาย
ให้กลบุตรทังหลาย พึ่งรู้
กนกงกมภิปราย สามเหล่า๑๓ นี้นา
ควรใส่เอกโทผู้ ปราไว้เป็นเฉลิม ฯ
๏ ทังนี้คำปราแกล้ง เกลาบท
รังกล่าวเกลากลอนพจน เรียบร้อย
เพียงทิพยสุธารศ สรงโสรจ ใจนา
ฟังเร่งเสนาะเพราะถ้อย๑๔ ถี่ถ้วนทุกคำ ฯ

อธิบายวิธีแต่ง กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์

  ๏ นมัส์สิต๎วา
นบพระศาสดา นบพระธรรมาน
นบสงฆ์ผู้เปน นาบุญแก่นสาร
นบครูอาจารย์ ท่านผู้สั่งสอน
  ๏ ขอผูกตำนาน
ตำเนอรอรรถการ ตำนานเกลากลอน
เปนบทย่อมผูก เปนครูอักษร
เปนโคลงกาพย์กลอน ฟัดบทต้นปลาย
  ๏ อักขระเปนหมู่
สอสามเปนคู่ ไม้ม้วนไม้มลาย
ไม้เอกไม้โท เปนคู่หมู่หมาย
ปรฏิหารปรกาย ฝนทองฟองมัน
  ๏ สถิลธนิต
กาพย์กลอนฟัดติด ชิดรัดเกี่ยวพันธ์
คิดควรจงแม่น อย่าได้เสรอดสรัน
อย่าเอาอื่นผรร มาใส่ใช่การ
  ๏ หมู่ใดในคณะ
เปนคู่อย่าละ กาพย์โคลงพากย์หาร
บทฉันทใดฉงน สืบถามอย่านาน
จู่ลู๋ใช่การ ลิกขิตเกี้ยวพันธ์
  ๏ หนึ่งวสันตติลก
คู่ฉันทโตฎก กาพย์มังกรพันธ์
บทอินทวิเชียร คู่อาริยฉันท์
ผูกไว้ทุกสรรพ์ ทุกพรรณเกี้ยวการณ์
  ๏ ขุนปราหนึ่งเลิศ
เปนโหรประเสริฐ ปัญญาชำนาญ
ชาวโอฆบุรี สวัสดีพิศาล
ข้าพระภูบาล เจ้ากรุงพระนคร
  ๏ น้าวเอาตำนาน
ตำเนอรอรรถการ ตำนานเกลากลอน
ผูกไว้เปนฉันท์ พากย์ครูอักษร
จงสถาพร จำเริญสวัสดี
  ๏ แด่เจ้าแผ่นดิน
กรุงราชภูมินทร์ นราธิบดี
จงเกียรดิพระยศ ปรากฎเปรมปรีดิ์
ทุกไท้สดุฎดี ทั่วท้องโลกา ฯ

ผิว ผู้จะทำสุภาพโคลง ให้ดูดุจกระบวนดั่งนี้

๐ ๐ ๐ ๐่ ๐้ ๐ ๐
๐ ๐่ ๐ ๐ ๐ ๐่ ๐้
๐ ๐ ๐่ ๐ ๐ ๐ ๐
๐ ๐่ ๐ ๐ ๐ ๐่ ๐้
สิบเก้าสาวภาพแก้ว๑๕ กรองสนธิ์
จันทรมณฑลกล สี่ถ้วน
พระสุริยเสด็จดล เจ็ดแห่ง
แสดงว่าครูโคลงล้วน เศษสร้อยมีสอง๑๖

โคลงตัวอย่าง

๏ เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับไหล ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ๑๗

โคลงอธิบาย

๏ ให้ปลายบทเอกนั้น มาฟัด
ห้าที่บทสองวัจน์ ชอบพร้อง
บทสามดุจเดียวทัด ในที่ เบญจนา
ปลายแห่งบทสองต้อง ที่ห้าบทหลัง๑๘
๏ ที่พินทุ์โทนั้นอย่า พึงพินทุ์ เอกนา
บชอบอย่าควรถวิล ใส่ไว้
ที่พินทุ์เอกอย่าจิน ดาใส่ โทนา
แม้วบมีไม้ เอกไม้โทควร ฯ
๏ บทเอกใส่สร้อยได้ โดยมี
แม้วจะใส่บทตรี ย่อมได้
จัตวานพวาที ในที่ นั้นนา
โทที่ถัดมาไซ้ เจ็ดถ้วนคำคง ฯ
๏ บทต้นทั้งสี่ไซ้ โดยใจ
แม้วจะพินทุ์ใดใด ย่อมได้
สี่ห้าที่ภายใน บทแรก
แม้นมาทจักมีไม้ เอกไม้โทควร ฯ
๏ ลิขิตวิจิตรสร้อย สารสรร
คือวุตโตไทยฉันท์ บอกแจ้ง
สถิลธนิตพันธ์ โคลงกาพย์
จบสำเร็จเสร็จแกล้ง กล่าวไว้พึงเรียน ฯ
๏ บทใดสอนโลกไว้ เปนฉบับ๑๙
อรรถแห่งครูอันลับ บอกแจ้ง
บกลัวบเกรงกลับ ปรมาท ครูนา
ตกนรกไปแย้ง ต่อด้วยยมบาล ฯ

พระยาลืมงายโคลงลาว

๏ ขรวงทองรองจ้อนฦๅ โฉมคระ
ขรวงทองรองเจ้ายะมะ ทิพไหว้
ส้วนสาวภิมานพระ ส่องโลก เฟือนแฮ
ขรวงบวนเดือนจูลไหว้ ทั่วฟ้าเอนดู ฯ

ชำนาญเกลากลอนโคลงลาว

๏ กาลีไปลี่แล้วมา
เห็นแต่ฟันขาวศรี
แล่นไปเห็นเขาตีตา
ผแลนมาหูหี้ ญี่เขี้ยวตา ฯ

อักษรบังไท โคลงลาว

๏ โกประจงมาแต่งตั้งฉม
กิพาดพายเหนือหแต่งแต้ม
เกวีร่วมเรียงตบร่วม
แกก่อนกีว้ายแย้ม เสี่ยงส้างลอลุน ฯ

อินทรเกี้ยวกลอน โคลงลาว

๏ คิดนักหอดหักแล้ว ในใจ
คิดควบถึงใครใด ร่วมรู้
คิดนักคิดหิวไป ในมะ โนแฮ
คิดบมีเจ้าชู้ บเว้นพระวันยาม ฯ

อินทรหลงห้อง โคลงลาว

๏ ปลดคำบนี้ดั่ง เรียมจง
ซั้นขอขอเทียมองค์ ชาติหน้า
รักษ์ไปล่ชาติลุปลง เจียรจาก ฉันนี้
เกอดในกับเกอดฟ้า ร่วมห้องพิมานเดียว ฯ

ฟองสมุท

๏ ค่าไข้รรักอาจอ้าง คณนา
ขรางปลัดพืธพา เพกขว้ำ
ตกสมุทเทียงชลธา ทูทุ่น ตีนเอ
สัตวมากมวนในน้ำ คลั่งแค้นระเหหน ฯ

หมายกงรถสามชั้น โคลงลาว

๏ จง ชมเยาวยอดแย้มยืน นาน
รักษ์ รำพันตาวานด่วน ได้
จง ลุลาภเมืองมารฝัน ใฝ่
แพง เพื่อพึ่งน้องให้ยากแท้ทิพ ออน ฯ

พวนสามชั้น โคลงลาว

๏ แท่นเดียวนอนเน่งเกี้ยว กลม
พี่พบแม่ยามเกี้ยว ก่อง
ชู้ชมออนอวรเปลี่ยว คู่
เมื่อยาใจส้างเสี้ยว ข้อยแส้ง เป็น ฯ

ไหมยุ่งพันน้ำ โคลงลาว

๏ เรียมแปลงบทบาทเบื้อง โวหาร
คือถือแถมสมภาร ชูถ้อย
ฝูงหญิงย่อมสาธารณ์ ทำโทษ นักแฮ
บ้างพร้องผัวเอื้อมข้อย ลอบเหล้นหลายชาย ฯ

มณฑกคติ โคลงห้า

๏ น้ำจะคล้ายคลาดิน ปลาดี่นี้กินดี
ม้าดำน้ำลงดาล ไปกลางน้ำฝากน้ำ
จักจากริลรักมา นกจีนี้จิวจี
จะนอนนานสั่งชู้ ไว้กับเข้าแก่เข้า ฯ

อย่างโคลงแช่งน้ำพระพัฒน์

๏ กาบใจว่าต้นทอง พายผินแผนแต่งส้า
อย่าปองผีเมือเถื่อน รบศึกข้าบาดปืน
๏ จักรพรรดิภูเบศแม้น มนมท
หลานเทพศรีเสาคต แก่นไท้
จตุรรัษฐีกระลาบท๒๐ สบสาตร
พระรวบอรรถมวนไว้ แว่นแจ้งใจตรัส
๏ จึ่งจะสอนสยามภาษาพู้น๒๑ อักษร
ตราประสงค์เกลากลอน เรียบร้อย
ควรเป็นปิ่นอาภรณ์ กระวิกาพย์
ทูลเศียร๒๒สนองสร้อย แง่งาม
๏ ท่านเกลากลอนเกลี้ยงราบ เรียงสนธิ์
ตัวไต่ตาม สวร พยญชน ถี่ถ้อง
เอา อ อาทิอนนต์ ยาขาด
ในที่สวรต้องตั้ง แต่งตรา ฯ
๏ เอาพยญชนกอาทิ ห อวสาน
ภูลพรรคพรรคานตยา คลาศแคล้ว
ในพรรคแบ่งพรรคคานต์ เปนภาค
ใช่ที่ควรอย่าแส้ว ใส่ลง ฯ
๏ กลอน ก อย่าวากเว้น ก รับ
ข ค ฆ จงคง คู่ไว้
กลอน จ จงคำนับ จ อยู่ คงแฮ๒๓
แม้นว่า จ บ ได้ ฉ ช ฌ น รองคืน ฯ
๏ กลอน ฎ จงได้คู่ ฎ รับ
ถ ท ธ เสร็จสรับ สรทื้น
ต ทันตจงไต้คับ ต คู่ กันแฮ
แม้นว่า บ ได้พื้น ถ ท ธ เอาต่าง ฯ
๏ กลอน ป ผ พ่ ภ้ รับรอง ชอบแฮ
แม้นว่าอื่นเอามาขวาง โทษแท้
ร ลอกอักษรสนอง มาโนช
ใดชอบใดแมได้ เลือกเอา ฯ
๏ วยรสงขวยรโสดเว้ญ วยรศับท์
อันใส่ สลเลาเคา พรอกพร้อง
รลอกฉลองรลอกทับ สุรโทษ
กลอนพินทุ์กลอนภักต้อง ดั่งเฉวยง ฯ
๏ วยรคาทุรโทษบ้าย๒๔ ปุนรุก เล่าแฮ
พินทุ์เอกพินทุ์โทเพียง แพ่งไว้
นิยมทำนุกพระ ภูเบศ
กลอนกาพย์บได้เศร้า สว่างใส ฯ
๏ ราโชประเทศชี้ กลกลอน
ไขกุญแจใจมนท์ มืดกั้ง
ปลุกใจท่วยหลับนอน นานตื่น
เตือนตื่นอย่าพลั้งหลง หลากคำ ฯ
๏ กระวีวรชื่นช้อย ชมฉบับ
พระนิตยทูลจำรัส แหล่งหล้า
จินดามณีศับท์ สนองแว่น ทองนา
เปนดำเลิงศรีหน้า กาพย์เกลี้ยงเกลากลอน ฯ

สารถีชักรถ

๏ แจ้งคำถามข่าว
ตามแต่รู้บอก
ยากยิ่งสุดความ
แท้ธรรมาสู้ สู่ ฯ

บทสังขยา

๏ ใจจงรักษ์เจ้า
ร้อนร่วมในความ
พ่างจากไปไกล
คนึงแสนยิ่งรักษข้อน ฯ

ชื่อเสือซ่อนเล็บ

๏ คำ โคลงเมาะบทสี่ดี ให้
หม่อม อ่านสารศรีเสนาะแต่ง ดู
พร้อม ไพรถ้อยถี่กล่าวราว รู้
เพราะ พรั่งทังพินทุ์ได้เรื่อง เรื่อง ฯ

ชื่อพันธวิสติการกระทู้ ๒๐

พี่ พบ รักษ์ ชู้ ช่าง วิงวอน
เยาว สวาดิ ครวญ คนึ่ง นอน แนบน้อง
เจ้า คลาศ ป่วน ถึง สมร เสมอหนึ่ง เรียมนา
หลบ ภักตร์ อยู่ นาง ข้อง คึ่งแค้นฤๅไฉน ฯ

ชื่อชลาสังวาล

๏ แก้ว แหวนน้อง เกื้อ พี่ ทุกอัน
ชู้ ก่อ ของ นองนันต์ แต่งเจ้า
กอง ทอง คอ สบสรรพ์ เศกแม่
เงิน เลื่อนหลัง ช้าง เต้า แต่งขึ้นเรือนเรียม ฯ

ชื่อทวารประดับ ชื่อสกัดแคร่

๏ ลางวัน ฟังข่าวร้าย วันลาง
ร้อนยิ่ง ไฟฟอนฟาง ยิ่งร้อน
ข่มสุด โศกไป่วาง สุดข่ม ขืนนา
กรรมกู ฉันใดส้อน ซัดให้กูกรรม ฯ

ชื่อตรีเพชรทัณฑี

๏ ปางนั้นสองราชไท้ ดาบศ
สาพิมตไปมา กล่าวแก้ว
ประทานราชเอารส สองราช
เวนแต่ชูชกแล้ว จึ่งไท้ชมทาน๒๕

ชื่อจัตวาทัณฑี

๏ ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี
ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า
พลเมืองบดูดี ดาลเดียด
กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ๒๖

ชื่อนาคพันธ์ ชื่อสนธิอลงกฎ

๏ ฝนตกนกร้องร่ำ ครวญคราง
ครางครวญถึงนวนนาง โศกเศร้า
เศร้าโศกร่ำแต่ปาง ไปจาก
จากไปเรียมไฉนเจ้า พี่เพี้ยงตรอมตาย ฯ

ชื่อทัณฑีบท

๏ อรองค์นงนาฏแพร้ว พรายสาย
ภักตร์ลักษณ์พรรณรายกาย ก่องคิ้ว
จงกลอุบลปราย รายรอบ
สัตรัตนคิ้วนิ้ว ฝ่ายฟ้อนระบำจำ ฯ

อันนี้ชื่อสกัดแคร่ แต่เปนทวาตรึงประดับ

๏ เนตร คมสมลักษณเนื้อ นิล เนตร
น้อง จรวรวานเชฐ เหนี่ยว น้อง
ส่อง ศรห่อนถูกเภท เรียม ส่อง
มา สบจบจวบห้อง ต่อเท้าวันมา ฯ

ขับไม้ดังนี้

๏ จักแสดงพระเดช องค์ไทนฤเบศ ปิ่นเกล้ากรุงศรี

ผ่านเทพอยุทธยา เรืองพระเดชา ท่ววท้องธรณี อันตรายไพรี

บอาจราวี ด้วยพระสมภาร

๏ ท่านได้ไปปราบ เกรงพระอานุภาพ ท่ววทุกทิศาร

ท้าวราชนคเรศ ทังจันตประเทศ บเคยบันดาล ถวายสุวรรณมาลย์

ทังบรรณาการ มากราบถวายเมือง ฯ

โคลงขับไม้

๏ ขับไม้กำหนดอักษรต่ำสูง แลนิยมให้กลอนต้องกันดุจบังคับกำหนดหนึ่ง ควรแต่งแต่บทคู่ อันโคลงกำกับขับไม้ กำหนดแต่ไม้โท อันไม้บทหนึ่งที่ห้านั้นถอยขึ้นไปได้อักษรหนึ่ง มิได้กำหนดไม้เอก แลนิยมให้กลอนต้องกันดุจบังคับกำหนดหนึ่ง ควรแต่งแต่บทคู่

๏ พระเกียรดิรุ่งฟุ้งเฟื่อง ฤๅชา
ทั่วท่วนทุกทิศา นอบน้อม
ทรงนามไทเอกา ทศรถ
กระบัตรมาขึ้นพร้อม บเว้นสักคน ฯ
๏ เดชะพระบารมีล้น อนันต์
จักนับด้วยกัปกัลป์ ฤๅได้
สมภารภูลแต่บรรพ์ นาเนก
ยิ่งบำเพงเพิ่มไว้ กราบเกล้าโมทนา ฯ

๏ กาพย์เพชมังกร กำหนดแตไม้โท มิได้กำหนดไม้เอก แลนิยมให้ต้องกัน ดุจบังคับกำหนดหนึ่ง ควรแต่งแต่บทคู่

๏ พระทรงศรัทธาล้ำ เหลือแสดง
ทรงพระสาสนา ฤๅให้
อารามคร่ำสักแห่ง ห่อนมี
ประสาทราชทรัพย์ไว้ แจกให้ทุกสถาน ฯ
๏ อารามเรืองรองถั้ว ทุกทิศ
เพราะบพิตรภูวญาณ ปิ่นเกล้า
พระองค์ทรงทศมิต ราชธรรม
พระสาสนารุ่งเร้า เรืองด้วยเดชา ฯ

ลิกขิตคำฉันท์

๏ กระเวนเกณฑ์ปันตั้ง โดยขนาด
นางอันบำเรอบาท ปิ่นเกล้า
ทรงโฉมประโลมอาจ ลืมทุกข์
มาหมอบรอบเรียงเฝ้า อยู่สพรั่งกราบกราน ฯ
๏ นางขับขานเสียงแจ้ว พึงใจ
ตามเพลงกลอนกลใน ภาพพร้อง
มโหรีบันเลงไฉน ซอพาทย์
ทับกระจับปี่ก้อง เร่งเร้ารัญจวน ฯ

๏ นักเทษขันทีสพรั่ง นางท้าวเจ้าหัวนั่ง แต่งตั้งปันยาม

๏ มีถี่ถ้วนแก่เถ้า ทังโขลนจ่าค่อมเค้า อยู่เฝ้าอัฒจันทร์

๏ สิบโขลนตามถานถี้ กะเกณฑ์กระเวนหมี้ เที่ยวทังวังใน

๏ ลิลิตบทร่ายกำหนดแต่ไม้โท มิได้กำหนดไม้เอก แลนิยมให้กลอนต้องกันดุจดังบังคับบทหนึ่ง ควรแต่งคำควรอันโคลง กาพย ลิลิตกานต์ อันไม้โทที่ห้าบทหนึ่งนั้น ถอยขึ้นไปได้อักษรหนึ่ง มิได้กำหนดไม้เอกกำหนดหนึ่งควร แต่งแต่บทควร อันลิลิตบทกานต์กำหนดแต่ไม้โท อันไม้ที่ห้าบทเดิมถ้ามิได้ไม้โท ใส่ไม้เอกแทนก็ควร มิได้กำหนดไม้เอก กำหนดหนึ่งควร แต่งแต่บทควรแล ฯะ

๏ ราชถานปราการกั้น ล้อมสามชั้นมีทวารใหญ่
เชิงเทินดำเนิรใน สรรพอาวุธสุดสิ่งแสดง
๏ ปืนใหญ่ไว้ถ้วนป้อม ฝายทหารล้อมย่อมกล้าแขง
สูงล่ำกำยำแรง ย่อมอาจองทรงฤทธา
๏ อันปืนบนนางเรียง รายฬ่เคียงทุกเสมา
ฝายทวารแผ่โลหา เปนพืดตรึงทวารบาน
๏ แต่งตั้งทวารนั้น เปนคู่ชั้นกันทุกทวาร
รายรอบโรงคชสาร อันซั้นถัดโรงอัศดร

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

๏ อันนี้กาพย์กลอน มิได้กำหนดไม้โทแลเอก นิยมแต่กลอนให้ต้องกันดุจบังคับ อันกลอนบทท้ายนั้นถอยขึ้นถอยลงได้อักษรหนึ่ง แต่งแต่บทคู่ พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่ากาพย์ มีนิยมดังลำนำโตฎกฉันท์ มิได้กำหนดครุลหุ

๏ ช้างเผือกต้นพลายพัง อิกสมวังเนียมกุญชร
ม้าต้นดั่งไกรสร สิงสีหราชอาจสงคราม
๑ ช้างต้นเผือกพลายพัง กาพย์ ๑
๑ ช้างธินั่งพังล้ำ กิรินี โคลง ๑
๒ อิกสมวังเนียมกุญชร กาพย์ ๒
๒ อิกพลายปราบไพรี ราชได้ โคลง ๒
๓ ม้าต้นดั่งไกรสร กาพย์ ๓
๓ ม้าที่นั่งดังศรี สีหราช โคลง ๓
๔ สิงสีหราชอาจสงคราม กาพย์ ๔
๔ สึงสึกอึกอาจให้ ปราบด้วยชำนาญ โคลง ๔

๏ กาพห่อโคลง มิได้กำหนดไม้เอกโท นิยมแต่กลอนให้ต้องกันดุจบังคับ พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ ว่าฉันใดจึ่งให้อักษรต้นบทนั้น มาต้องด้วยอักษรต้นบทโคลงทุกบทตามที่ เหตุอุปมาดั่งไม้ไผ่แลอ้อยอันมีกาบห่อ ถ้าต้นนั้นมิได้กลม มีประเภทเปนเหลี่ยมแป้วฉันใดก็ดี ปราชญ์ผู้มีปรีชาพึ่งแต่งตามจึ่งจะควรชื่อกาพยห่อโคลง อธิบายในอุบาดิกวิลาสินี กำหนดหนึ่งควรแต่บทควร อันชาตรีโคลงกำหนดทั้งไม้เอกโทตามที่มีกำหนด ไม้เอก ๗ อักษร กำหนดไม้โท ๔ อักษร แลนิยมให้กลอนต้องกันดุจบังคับ กำหนดหนึ่งควรแต่บทควร

ตรีวิธนมสฺตุคฺโคติ พุตฺโตทยกวิโย

อันว่ามุนีนารรถนักปราผู้ใด ใครจักเรียบระเบียบอรรถาภิปรายย้ายกาพยกลอน ฉันทพิศาลเรียบอรรถด้วยรัสะทิฆะ กลระเบียบระบอบประกอบศัพทามหานิทาน ตระการด้วยพฤตโตไท ไกรคำภีร์สาตราคมผสมอรรถ ให้รู้จักกฤตการด่งงนี้

ผิจนิพนธโคลงกาพยก็ดี โคลงคำกามก็ดี โคลงนิราศก็ดี โคลงสังวาษก็ดี โคลงลันโลงก็ดี โคลงห้าก็ดี จทำโสลกก็ดี พาลนมัศบูราณทำนุกทำเนียมกลอนลิลิตฉันทพากย คิตยราคสมเดจ์สุรางคประวัลก็ดี ให้ประกอบศัพทคือราชาศัพท นารีศัพท สูตรศัพท จงรู้อิถีลึงค บุรุษลึงค นะปุงสะกะลึงค จงเปนปถะมาพิภัดก็ดี จงรู้จักฉันททั้งหลาย คือสีหฉันท พยัฆฉันท มณฑกฉันท นาคบริพันฑฉันท มฤคาฉันท มนีรัตนฉันท ฉันทจักร ปทุมฉันท ภูมราฉันท มาลาฉันท โตตกฉันท วัษสันตติลกฉันท อินทรวิเชียรฉันท โตตกดิลกกะฉันท วิเชียรดิลกฉันท ดิลกวิเชียรฉันท

อนึ่งเมื่อจทำโคลงสิ่งใดให้เอาคติโคลงนั้นมา เทียบด้วยฉันท ให้รู้จักพากยทั้งหลายคือตลุมพธพากย กำภุชพากย สยามพากย สิงหลพากย ภุกามพากย หริภุญไชยพากย ตเลงพากย มคธพากย ให้เอาศัพททั้งหลายนี้ประกอบประโหยกหน้าหลัง จึ่งต้งงให้อยู่ถารเปนประถมบททวิบทตฤติยบทจตุรถบท ในบททังนั้นโสดต้งงให้อยู่ สถารอักษรนั้นที่บุษยไว้บุษย ที่พิลาทไว้พิลาท ที่สังขไว้สังข ที่หิริจักรไว้หิริจักร อย่าให้เป็นรลอกทับรลอกฉลอง จงรู้พินธุทังสี่ คือเอกพินธุ ทวิพินธุ ตรีพินธุ จัตวาพินธุ๒๗ แลไม้ม้วนไม้มลาย ครุลหุ นฤคหิต เมื่อจอ่านจงรู้สถิลธนิต แล้วไว้โอษฐชะ ทันตชะ มุทธชะ นาสิกชะ บำเพญด้วยอักษร ด้วยโฆศะอโฆศะ จึ่งจเรียกอักษรนั้นเพราะ

ผิเอากลอนห้าใส่ ให้เอาด้วยกันทังสี่บท อย่าได้ลดโคลงต้น คืออุปาทวาทศ คำสวรสมุทร สมุโฆษ พระนนทกษัตรีสังวาส ศรีอุมาธิการย พระยศราชาพิลาป อย่าได้เอาคำบูราณนั้นมาใส่ ผิจดูเยี่ยงให้ดูเยี่ยงแต่กลบท กลพินธุ กลศับท แลกะทำโดยกฤตยาการกาพยโคลง แลกลอนฉันททั้งหลายนั้นเถิด ฯ

(อธิบายคณะจากคัมภีร์วุตโตทัย)

๏ สัพ์พค๎ลา ม๎นาทิคลหู ภยา มัช์ฌัน์ตครู ชสา
มัช์ฌัน์ตลา รเตเตฏ์ฐ คณา โค ครุ โล ลหุ

เอเต คณา อันว่าคณทั้งหลายนี้ อัฏ์ฐ แปด อิติ ดังนี้ ภวัน์ติ มี สัพ์พคลา คือคณอันมีครุทั้งปวงลหุทั้งปวง มนา นาม ชื่อมะคณแลนะคณ อาทิคลหุคณา คือ คณอันมีครุแลลหุอยู่ต้น ภยา นาม ชื่อภะคณแลยะคณ มัช์ฌัน์ตครุคณา คือคณอันมีครุในท่ามกลาง แลครุในที่สุด ชสา นาม ชื่อชะคณแลสะคณ มัช์ฌัน์ตลาคณา คือ คณอันมีลหุในท่ามกลางแลลหุในที่สุด รตานาม ชื่อระคณแลตะคณ

โค เมาะ คสัท์โท อันว่าศัพทคือคะ อาจริเยน แลอาจารย์ วุจ์จติ กล่าว ครุอิติ ชื่อครุ โล เมาะ ลสัท์โท อันว่าศัพท์คือละ อาจริเยน แลอาจารย์ วุจ์จติ กล่าว ลหุอิติ ชื่อลหุ

สํโยคาทิ จ ทีโฆ จ นิค์คหิตปโร จ โย
ครุวังโก ปทัน์โต วา รัส์โสญ์โญ มัต์ติโก ลุชุ ฯ

โย อักขโร อันว่าอักษรตัวใด สํโยคาทิจ เมาะ สํโยคาทิภูโต บังเกิดเปนต้นแห่งสังโยค ทีโฆจ เมาะ ทีฆภาวํปัต์โต ถึงซึ่งสวภาพแห่งทีฆะก็ดี นิค์คหิตปโรจ อันมีนิคหิตหนปลายก็ดี โหติ มี โส อัก์ขโร อันว่าอักษรนั้น ครุ นาม ชื่อว่าครุ ฯ วา อนึ่งโสด โย อัก์ขโร อันว่าอักษรตัวใด ปทัน์โต เมาะ จตุน์นํ ปาทานํ อวสาเนฐิโต ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งบาททังหลายสี่ โหติ มี โส อัก์ขโร อันว่าอักษรนั้น ครุ นาม ชื่อ ครุ โส ครุ อันว่าครุนั้น วังโก เมาะ อัฑ์ฒจัน์ทสัณ์ฐาโน มีสัณฐานดังพระจันทร์กึ่งหนึ่ง โหติ มี ฯ อัญ์โญ อัก์ขโร อันว่าอักษรอันอื่น ทีฆโต จากทีฆะห้าตัว มัต์ติโก เมาะ เอกมัต์ติโก มีมาตราอันเดียว รัส์โส นาม ชื่อรัสสะ โหติ มี โส รัส์โส อันว่ารัสสะนั้น โล เมาะ ลหุ นาม ชื่อลหุ โหติ มี โส ลหุ อันว่าลหนั้น อุชุ เมาะ สลากสัณ์ฐาโน มีสัณฐานเหมือนด้วยไม้กลัด โหติ มี ฯ รัสสะ ๓ คือ ออิอุ ทีฆะ ๕ คือ อาอีอูเอโอ ครุ ๘ คือ ที่สุดบาท อาอีอูเอโอ นิคคหิตสังโยค ฯ ลหุ ๓๕ คือ ออิอุ กข ฯลฯ หฬ

ถ้าจะจำอัฐคณะทังแปดโดยมัคธภาษามิได้ด้วยไม่ได้เรียนคำภีร์วุดโตไทย ก็ให้เล่าโคลงบังคับธรงทำสำรับจำคณะทัง ๓ บทแลพระบาฬีกลอนสุรางคนางเถิด๒๘

เรากินแตง โม ลูกไอ้กระ โต ฉะเพาะเจาะ นาน
ธค่อยอยู่ ไย กูจะไคร่ ราญ ไม้ระพะ ภาน
ฉิฉะสง สาร แนะให้เกาะ ชาย ฯ ๓๒ ฯ  

ธรงสำรับจำคณะทัง ๘

๏ มะนะครูอุล้วน ดับกัน มะ นะ
ภะยะครุอุสัน เสกหน้า ภะ ยะ
ชะระครุอุพัน เนาท่าม กลางนา ชะ ระ
สะตะครุอุอ้า ว่าไว้หนหลัง ฯ สะ- ตะ

นายธรงบาศแต่ง๒๙

๏ แสดงมนคลเล่ห์ล้วน รยางค มะ นะ
ไภยนคลวานวาง เนื่องหน้า ภะ ยะ
ชรสตคะโลกลาง เนาอยู่ หลังนา ชะ สะ
สิ้นสุดจุดคณะข้า กล่าวไว้จงจำ ระ ตะ
๏ แสดงมนคลเล่ห์ได้ ไตรยางค มะ นะ
ไภยนคลวานวาง เนื่องหน้า ภะ ยะ
ชะโรคะโลกลาง เนาแน่ แลนา ชะ ระ
สตบทสุดท้ายข้า กล่าวแล้วจงจำ สะ ตะ

โคลงสำรับจำคณะทัง ๘ ธรงทั้งสองบท๓๐

๏ นัยหนึ่งลหุ ๑๕ คือ อะอิอึอุฤฦเอียะเอือะเออะอัวะเอะแอะโอะเอาะ แลอำนั้นสังสกฤตเอาเปนลหุด้วยแล จบทัง ก ข เอาเปนลหุดุจ ๑๕ อักษรนี้สิ้น

อินทาทิกาตาวชิราชคาโค ฯ ต ต ช ครุ ะะ ฯ ๑๑ ยานี ผิแลตคณสอง ชคณหนึ่ง แลครุสองอยู่ดับกันดังนี้ชื่ออินทรวิเชียรฉันท

ยานีธภูตา นิสมาคตานิ ภุม์มานิวายา นิวอัน์ตลิก์เข ฯ

๏ กฤษดาญชุลีน้อม ศิรกราบสุเบญจางค์
ในปางสุบาทางค์ บทรัตนเจษฎา
๏ แห่งองคขัติโย รสนารถนาถา
ปิ่นเกล้าอยุทธยา บุรีรมยกรุงไกร
๏ เปนที่พำนักนิตย์ ชคสัตวสบไสมย
พระเดชภูวไนย วรกฤดิโอฬาร ฯ

อิธโตฏกมัม์พุธิเสหิมิตํ ฯ ปฐมํสกลัก์ขณเมก ปทํทุติยา ทิปทัส์สนโต ฯ ส ส ส ส ฯ ๑๒ ปฐมัง ฯ ผิแลสคณทังสี่อยู่ดับกันดั่งนี้ ชื่อโตฏกฉันท

๏ วรเดชผริต วรสิทธิพิศาล วรฤทธิดราน รณรงควิไชย

๏ วรเกียรดิดโบ บวโรสุประไพ วรองควิไล ยวิลาศประภา

๏ วรคุณธเรศ สุวิเศษชยา วิยวิศณุมหา จตุภุชมหันต์ ฯ

ปถมํสกลัก์ขณเมก ปทํทุติยาทิปทัส์สนโต ฯ ปฐมัง ๑๒ ชื่อโตฏกฉันทกลอน ๖

๏ วรบาทปรนต บทบาทภินนท์ วรจงกรมผจญ จิตรเทพอจินต์

๏ วรสถานภิรมย์ พุทธฤทธิมุนินทร์ ทุกเทพบดิน ทรเทพบังคม ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

๒๖ ชื่อโตฏกดิลกฉันท์กลอน ๖

๏ วรรังษีประไพ บุลโชดิพรายพรรณ
เสตาจนิลรัตนสรรพ บริโตปิลังโค
๏ หรคัณหปิงคำ กปิโลโลปิโต
สหัสรโทโพอรุโณ ภาศรัศรัศมี ฯ

วุต์ตาวสัน์ตติลกาตภชาชคาโค ฯ ต ภ ช ช ช ะ ะ ฯ ยํมังคลำ ๑๔ ฯ

๏ ผิแลตคณหนึ่ง ภคณหนึ่ง แลชคณสองครุสองอยู่ดับกันดั่งนี้ ชื่อวสันตติลกฉันท

๏ ปางเสด็จประพาศวนวนานต์ ศิขรินทรโจษจรร
พฤกษาวลีวิวิธพรร ณประดับประดาษเดียร
๏ ช่อช้อยระเบียบกลประกิต นุประกอบประดับเขียน
บานแบ่งสุมาลยนุรเมียร ดุจประนมประนังถวาย
๏ ใบบัดตระการกลประดับ แลชรอื่อชรอุ่มหมาย
คือเสวตรฉัตรบวรราย รัตนกั้งกำบังสูรย์ ฯ

ยํ มังคลํ มุนิวรัส์ส มหาปริจ์จาเค ปัญ์จทุกกรตเร สุทุนาทิเตเท ฯ ชื่อวสันตติลกกลอน ๖

๏ นบบาทพระบวรตถา คตนพฦๅไกร
นบธรรมพระมกุฏิไกร ปิฏกุตมาจารย์
๏ นบพระอัษฎางควรศิล วิสุทธิยอดญาณ
เสร็จอัญชุลีนมัสการ พระวรศรีรัตนไตรย ฯ ๑๔ ฯ

นนมยยยุตายํมาลินีโภคิสีหิ ฯ น น ม ย ย ฯ ๑๕ ฯะ

๏ ผิแลนคณสอง มคณหนึ่ง ยคณสอง อยู่ดับกันดั่งนี้ ชื่อชินวรฉันท ชื่อมาลินีฉันท อันว่ายติมีในอักษร ๘,๗.

๏ นิกรวิหคมั่วมูน ร้องจะแจ้วจูรจรุงใจ
๏ นิกรวิหคสบไสมย ร้องระวังไพรวนัศถาน
๏ นิกรวิหคชื่นบาน ชมพระสมภารเสด็จจร
๏ นิกรวิหคปรเอียงอร บินณอัมพรก็ร่อนเรียง
๏ นิกรวิหคเมิลเมียง ศัพทจำเรียงธราดล ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ฯ ๑๖ ฉบัง

โคลสิงฆฉันท์ ฯ มิได้กำหนด ครุลหุ แลนิยมแต่กลอนฟัดกันอย่างกาพย

๏ ส่ำสัตวคณาโจษจน มฤคาอนนต์
อเนกมฤคีเคียง  
๏ พยัคฆาพยัคฆีรายเรียง ชมคู่หมู่เมียง
แลด้อมครหืมครืมคราง  
๏ หัศดินทรกิรินทรฉวัดฉวาง ตรแตร้นแล่นพลาง
แลบ้างจรวดชมกัน  
๏ ระมั่งระมาดผาดผัน เคล้าคู่คลอพัน
แลลูกนะน้อยแล่นแนม  
๏ กาสรตัวโตรดมาแกม เพลาะพรรณมาแปม
ก็ปนด้วยโคถึกเถลิง  
๏ สิงสิห์หมีเหม้นร่านเริง วิ่งเลี้ยวลองเชิง
กระต่ายกระแตแจจน  
๏ สบสัตวคณาอนนต์ ในพื้นอรญ
อรัญญิกาอาไศรย  

อักกัส์เสหิยทิม์สชาสตตคา สัท์ทุล์ลวิก์กีฬิตํ ฯ ม ส ช ส ต ต ครุ ฯ ๑๙ คัม์ภิรา ฯ

๏ ผิแล มะคณสะคณ ชะคณสะคณ ตะคณสอง ครุหนึ่งอยู่ดับกันแลมียติในอักษรสิบสอง แลอักษรเจ็ด ชื่อสัททุลวิกกีฬิตฉันท ฯ

๏ เบื้องบันในวนเวศวนานดรนุไพร แถวธารน้ำไหล ระริน

๏ นานามัจฉก็หว้ายคะคล้ายนุจรถวิล แถกสาครแลสิน ธุนอง

๏ กุ้งกั้งกรกฎกุมแลกุมภิลก็ปอง แฝงฟาดเฉนียรนอง ฉะฉาน

ม๎ราภ๎นาโยโยต๎รเยนัต์ติมุนิยติยุตาสัท์ธรากิต์ติยายํ ฯ ม ร ภ น ย ย ย ฯ ๒๑ ฯ เยสัน์ตา

๏ ผิแล มะคณ ระคณ แลภะคณ นะคณ ยะคณสามอยู่ดับกัน แลมียติในอักษร ๗ ตัว ๆ ชื่อสัทธราฉันท

๏ โกมลเดียรดาษนทีธาร ปทุมกุสุมบาน งามตระการปาน ประดับดา

๏ บัวเผื่อนลินจงอเนกา วิวิธวิจิตรมา รุตรำเพยพา ก็หอมขจร

๏ เฟื่องฟุ้งเสาวคนธเกษร สกลคณภมร บินปรเอียงอร ววีชม

สุราคณา สุโสภณา รปิรโก สมานสิ ภิวันทโน สเรนโก รัตตินทิวัง ฯ ๒๘ ฯ

ชื่อวิสาลวิกฉันท ในกาพยสารวิลาสนี มิได้กำหนดครุลหุ กำหนดแต่กลอนฟัดกัน โดยนิยมนี้

๏ สรวมชีพขอถวาย บังคมโดยหมาย ภักดีภิรมย์

เสร็จจำนองฉันท จำแนกนิยม วิธีนุกรม เพื่อให้แจ้งแจง

๏ ซึ่งเผด็จตามไนย ในวุตโตไทย คณสำแดง

ยัตติยุตติ สัญญากรแถลง กำหนดอย่าแคลง นิพันธ์ฉันทา

๏ ถวายด้วยประดิพัทธ์ ปราโมทย์มานัส รัดรึงปรีดา

ลอองธุลี พระบาทภูวนา ยกนารถมหา คุณุประการ ฯ ดูอย่างกาพย ฯ

๏ สุสารโท มหิท์ธิโก มหาอิสี สุปาทจัก์ กลัก์ขณี วราหรี วรัน์ททา สุสีลเสฏ์ ฐโลกเชฏ์ ฐโกรหา กิเลสโล ภโทสมา นโมหกา วิมุต์ติโก ฯ

๒๘ สุราคณา ปทุมฉันท์กลอน ๔ ฯ

๏ โอ้อกกูเอย เมื่อก่อนกูเคย สมบัติครามครัน

ทำบุญบ่เบื่อ เชื่อชอบทุกอัน จึ่งได้จอมขวัญ ลูกน้อยนงพาล

๏ ถึงบุญจะถอย สิ่งสินยับย่อย ยากพ้นประมาณ

บาปใดมาให้ พ่อเจ้าบันดาล กำจัดสงสาร สิบสองเสียไกล ฯ

๏ ถ้าจะทำยานี ๑๑ อย่างกาพยสารวิลาสนี มิได้กำหนดครุลหุ แลกำหนดแต่กลอนฟัดกัน โดยนิยมนี้

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ฯ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๑๑

๏ ครั้นเช้าก็นิ้วเข้า ชายป่าเต้าไปตามชาย
ลูกไม้บ่ครันงาย จำงายราชอดยืน
๏ เป็นใดจึ่งมาค่ำ อยู่จรล่ำต่อกลางคืน
เห็นกูนี้โหดหืน มาดูแคลนนี้เพื่อใด๓๑
๏ นรนารถบังคม กรประนมกราบทูลไข
ข้าบาทมาจากไพร เสือสีห์ไล่มาขัดขวาง ฯ

ต้นห้าเสมอ

๏ ทังหลายว่ามันเขน อ้ายส้อยมันลักสอย
ภูเห็นกูว่าแก้ว ต้นมากเฟือง ๆ ต้น
กูพบเมื่อยามเย็นจะค่ำ เจ้าของคอยมันค่อย
กูหยอกมันแส้ว ๆ เสียดข้างกูคืน หน้ากันรู้ใส่ กล ฯ  

สีหคติกำกาม นาคบริพันทฉันท

๏ ธ วัวกลัวเมียเพี้ยง กลัวเสือ
โม เมาเงางุนเยือ กล่าวกล้า
โอ โถงโครงเปล่าเหลือ ตัวแต่ง
ปาก หากลากคำค้า คึ่งให้ใครขาม ฯ
๏ อคาอคาษเกื้อ กลเกียว
เรียมใฝกลืนเฝือเกลียว สวาดิไว้
ธาดายอดใจเฉลียว เฉลาแม่ มาฤๅ
ยังปานีน้องไท้ เลิศแล้เลงสรับ ฯ
๏ แม่ยืนอยู่คือยน ชายวาง
สไบระแทรองบาง แย่งเกล้า
เปลวเอวอรรองราง แนวนา ภิตแม่
ไตรโลกนี้น้องเหน้า หน่อท้าวเปนจอม ฯ

พยัคฆฉันทลรรโลง

๏ ทรนุกได้ต้องบาท บัวจันทร์
ทรลำมือไปพัน พาดเหน้า
ทรนงว่าจอมขวัญ รักพี่
ทรโลดได้ต้องเจ้า โทษนั้นเรียมขอ ฯ

มฤคฉันทวาศ บทมฉันท เอาไว้แก่ทำนุกกลอนลิลิต

๏ มือซ้ายพระเจ้ายอ มฤทึงค์
จับแท่นเทียรยงยึง เสี่ยเรี่ย
มือขวาพระเจ้าจับ มรพาศ
สามแผ่นพระเจ้าเหงี้ย บำบวง ฯ

ภุมราฉันทนิราศ

๏ พี่หยิบกล้ำขึ้นว่า จะกิน
ชลเนตรไหลลามริน บ่อเอื้อน
ตายสยบขาดใจหิน หายสวาดิ รักเอย
เรียมลำฦกน้องเยื้อน ค่อยค้อยคืนมา ฯ

๏ รัตนมาลาฉันท ไว้แก่ทำนุกลิลิตกาพย ฉันทจักร ไว้แก่โคลงจักรประทวน มณีรัตนฉันท ไว้แก่รากสมเด็จสุราคณา ฯะ

ฉันทลรรโลงกลอนดั้น

๏ นางน้องเย้อยงเข้า มีผล
รวงเร่งสุกงามโอน อ่อนน้อม
ยาถกลเกองกล เข้าลีบ
ฉันใดจะเยื้อนค้อม ทานรวง ฯ
๏ รักผัวเสมอชีพน้อง นงพงา
เราเฉกเพียงดวงงาม ชื่นช้อย
ตนชายคือพฤกษา ลำมาศ
เปนพำนักนิขวัญสร้อย อาไศรย ฯ
๏ ส่วนลำวิลาศไม้ งามผจง
ดวงเก่าโรยไปดวง ใหม่เต้า
เฉกหญิงบตรงคง ผัวอย่า
เมียหนึ่งไปแสวงหน้า หนุ่มแทน ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ขาว ๐ ๐ ๐ ดาว ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ฯ ๑๘

ชื่อฉันทฉบำดำเนอรกลอน ๔

๏ เมื่อนั้นเบื้องบั้นเขียวขาว หมอกมัวดินดาว
ครวนชรอ่ำชรอื่อลมฝน  
๏ ฟ้าฟื้นหลั่งหล่อโชรชล อับแสงสุริยพล
คะคฤ้นคึกกึกกเกรอกเวหา ๑๘ฯ พากย์ ๑๖ กลอน ๔ ดั่งนี้

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ฯ ทำนุก

๏ สองท้าวเทียบทศโยธา บรู้กี่สา
ซ้ายขวาอเนกร้องรับกัน ๑๖

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ดี ๐ ๐ ๐ ๐ ถี ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ฯ ๑๘ ทำนุก

๏ บัดนั้นอินทราธิบดี ใช้เทพสารถี
ชื่อมาตลีลิลา  
๏ เอารถม้าแมนลงมา ถวายสมเด็จราชา
ธิราชกลางรณรงค์  
๏ รถนี้รถอินทรบรรยงก์ ตรัสใช้ตูข้าลง
มาถวายสมเด็จราชา๓๒ ฯ ฉันทบำดำเนอรกลอน ๕ ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ การ ๐ ๐ ๐ วาน ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๑๖

ฉันทฉบำราชาพิลาป ดำเนอรกลอน ๔ ฯ

๏ เห็นนกเรียมอื้นโองการ ว่านกเอยวาน
มาช่วยทำงลโศกา  
๏ สูรักเร่งเร็วรอนมา จงพบพนิดา
แลทูลจงรู้เรียมศัลย์  
๏ แล้วสูเร่งบินมาพลัน บอกข่าวจอมขวัญ
แก่กูจงรู้แห่งหา  
๏ นกบินไปแล้วบินมา ร้องโดยภาษา
จะแจจะจรออกัน  
๏ บมิบอกข่าวได้สักอัน เรียมเจ็บจาบัลย์
ป่วนหฤทัยทุกทน  
๏ บมิรู้ข่าวแก้วกับตน แต่เผือสองคน
พี่น้องพินาศหัวใจ  
๏ สองพี่น้องเสด็จคลาไคล ดั้นดงพงไพร
ลห้อยตรหวนโหยหา  

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ไตร ๐ ๐ ๐ ใน ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ฯ ๑๖

ฉันทฉบำนาคบริพันท์ ฯ

๏ ปางพระศาสดาจอมไตร เสด็จประดิษฐานใน
ดุสิตมิ่งแมนสวรรค์  
๏ แมนสวัสดิสมบัติอนันต์ อเนกแจจรร
พิพิธโภไคสูรย์  
๏ โภไคสวรรยามากมูล มากมายเพิ่มภูล
อนันต์เนื่องบริพาร  
๏ บริโภคประดับนฤมาลย์ นฤมลแกมกาญจน์
ปัทมเพรอศพรายพรรณ  
๏ พรายเพริศรัศมีจรัสจรัญ จรัสแจ่มสาวสวรรค์
โฉมประภาพพิมล  
๏ พิมานทองเทียรทิพยโสภณ โสภาคย์ไหรญ
มณีประดับชัชวาล  
๏ ชัชชวัชประดากากาญจน์ แกมแก้วพิศดาร
วิมลมาศดำเกอง  
๏ ดำกลยิ่งเทพบันเทอง บันทางสำเรอง
สำราญสำฤทธิสมบูรณ์  
๏ สมบัติพิพัฒเพียบภูล เพียบเพ็ญไพบูลย์
โชดิเสวยศุขสานต์  
๏ ศุขเกษมสบแสนศฤงคาร สังคีตตระการ
ดุริยดนตรีบำเรอ  
๏ บำรัศพยัชนีรมเยอ รมเยศศุขเลอ
ฉกามเทพบมิปาน  
๏ บมิปูนดุสิตพิมาน พิมลโอฬาร
ดิเรกพ้นพรรณา  
๏ พรรณอักษรฉันทา ฉันทเทียบอักขรา
เปนบทนาคบริพันท์ ฯ  

สรรเสริญดุสิต

๏ ยานีธภูตา นิสมาคตานิ
ภุมมานิวายา นิวอัน์ตลิก์เข

ฯ ๑๑ อย่างกาพย์สารวิลาสนี ฯ

๏ อันดับนี้จักกล่าว พระสรรเพชญศาสดา
เสด็จสถานอันโอฬาร์ ทั้งแปดแห่งอันอุดม
๏ ปางพระเสด็จอุบัดิ ในป่ารังอันเรียงรมย์
สบสัตวบังคม บทรัตนเรืองรอง ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ไหง้ว ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ แสดง ๐ ๐ ๐ ๐ แขง ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ สูร

๒๒ รัตนมาลาฉันท์

๑๑ พากยคีติกลอน ๕

๏ สรวมชีพข้าไหง้ว สมเด็จเดชฤๅแสดง
ขุนนี้มันเข้มแขง ลูกรักษ์ราพนาสูร
๏ ได้ชื่อมหาบาศ องอาจระงับริปูร
รี้พลมันหนานูน เปนหัวหน้าทสานล
๏ เดชะมันแกล้วกล้า ปลอมปล้นฟ้าปราบดินดล
ออกมาหวังผจญ รณรงคพาธา ฯ

ฯ ๑๑ ฯ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๑๑ ๐ ๐ ๐ กา ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๑๑ธา ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ฯ

๒๒ มณีรัตนฉันท

กลอน ๕ ฯ

๑๑ สมเด็จสุรางคณ

๏ เสียองคเสียไอ ศูรียฉิบทังลงกา
เสียญาติโยธา เสียพี่น้องแลลูกหลาน
๏ เพราะเหตุมานะ แลอำเภออหังการ
ใจโลภเผาผลาญ ดูท่านถูกก็ฉิบหาย
๏ ข้าห้ามข้าเตือนพี่ แลมิฟังคำน้องชาย
นบนิ้วบังคมถวาย กล่าวให้ชอบบ่ยอมยิน
๏ ขึ้งเคียดขับข้าหนี นิราศร้างพระภูมินทร์
เจียรจากเจ้าแผ่นดิน รอยรูบกาลใจดล
๏ มาถึงแก่ฉิบหาย วายวอดทังรี้พล
ย่อมญาติกากล ประไลยจักรพาลพัง๓๓ ฯ ๑๑ ฯ

----------------------------

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ กัลยา ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ลดา ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ มาล ฯ๒๖ฯ

ฉบับหนึ่งชื่อฉันทฉบำราคสมเด็จกลอน ๖

ฉบับหนึ่งชื่อวิเชียรดิลกฉันทกลอน ๖

๏ เคยพาดพระหัตถ์เหนือ อุรราชกัญญา
กอดเกี้ยวคือกาญจนลดา อันโอบอ้อมทุมามาลย์
๏ พิศภักตรมณฑลศศิ บริสุทธเปรียบปาน
เปรมร่วมมฤธูรสูรบันดาล รดีดัศบันเจอดใจ ฯ

----------------------------

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

๒๕ ชื่อดิลกวิเชียรฉันทกลอน ๖

๏ อุรประทับอุรถนงง ปรามัศศิวรไว
จุมพิตริมไร โอฐคัณฑะกัลยา
๏ บริสังคุติพระอรองค์ อนุชพนิดา
สมสนุกนิเสน่หา รศราคเอมอร ๒๕ฯ

๏ เยสัน์ตาสัน์ตจิต์ตา ติสรณสรณา เอต์ถโลกัน์ตเรวา ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

เยสัน์ตา ๒๑ กลอน ๗ ทำนุก ฯ

๏ ปางนั้นอินทรานุเทวา นิกรอมรมา มาปรชุมนุมประชุมใน

๏ ยังถานาถานุเลอศไกร ครั้นแล้วสดับยุบลใน เจตนานิตยบันดาล ๒๑ฯ

----------------------------

คัมภีราอติทุทสาสุนิปุณนา นัน์ตัป์ปเภทา กุลา

โยสํขารวิการลัก์ขณมหา นิพ์พานปัญ์ญัต์ติโย ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๑๒ ๐ ๐ ๐ ๐ ฯ ๑๙ ฯ

คัม์ภีรา กลอน ๕ ฯ ทำนุก ฯ

๏ ข้าไหง้วบัวบทสมเด็จพุทธวรญาณ แผด็จโอฆสงสาร สำเร็จ

๏ เปนอรรควรอาริยบุทคลเดียวเด็จ บรมสรรเพ็ชญ์ นฤพาน ฯ

ชินวรคุณยุต์ตา โสต์ ถิคาถาอิมาเม ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

ชินวร ๑๕ กลอน ๔ ทำนุก ฯ

๏ นมัสสุบทพระศาสดา เกตพฤกษา ธเสด็จสถิตย์

๏ พฤกกนิฐพานิช ยลบำเทองจิตร จินดา

๏ มฤธุรศวรหรรษา ดลศรัทธา ก็ทูลถวาย ๑๕ฯ

มังคลรตนโชติวรํ ปวโรสุคตํ ปาฏิหารรังสี ฯ

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๑๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

ชื่อมงคลรัตน กลอน ๖ ทำนุก ฯ

๏ ข้าประนตบังคมบทมหันต์ ไภยทุกขโรคสรรพ อุปัทวะอย่ามี

๏ วรเดชสรรเพชญ์พุทธมุนี ศุขสวัสดิอันมี ศุขสมบัดิบน

๏ ขอจงสำฤทธิอิษฎิศุภผล ศุขเสวยทิพยดล บทโมกษ์นฤพาน ฯ

----------------------------

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

ประทุมรัตนฉันท ๓๕ กลอน ๕ ฯ ทำนุก ฯ

๏ แต่อาทิยังมี ราชาธิบดี ธิบดินทรมหา กษัตราธิกชาติ ธิกไชยเชษฐา ทรงนามสมญา พรหมทัตภูมี

๏ ท้าวนั้นเฉลียวฉลาด รู้ศิลปศาตร ธนูศรศรี หมู่ขัตติยพรรค กลัวเดชฤทธี ทั่วท้องธาษตรี เลื่องฦๅฤทธิไกร

๏ กูเห็นคนเถ้า แกถือไม้เท้า ชรรุดชรเชรบัดสี เห็นทั้งคนไข้ เห็นคนแบกผี ไต่เต้าเดอรโดยรัถยา

๏ กูเห็นกูคิด ตัวกูบผิด บแผกแก่กายอาตมา แห่งกูกูคิด อนิตย์ในอนัตตา บำเพ็ญภูตา เกิดมาแล้วจักประไลย ฯ

สกลรตนธาตุนาคเตยาคเหต๎วา ปวรสุคตเวสํ ปาฏิเหรํกริต๎วา

----------------------------

๏ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๑๕ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

สกลรัตนฉันท ๓๐ อักษร

๏ ข้าขอปรนมบทบรมมารวิชัยเชษฎา บวรบรมตถา คตปาฏิหารรังสี

๏ เสตานีลรัตตะบริโตปิลังครัศสี บริขาสัญชนรุจี จรัสวรชุดิชัชวาล

สัพ์พัญ์ญูโม สุมุนิโน สุคโตโส มุนิน์ทโช มาราริโต มารชิโภ นายโกโร มเหสีโย ฯ ๓๒ อักษร ฯ

สำหรับจำคณทั้ง ๘ ฯ

๏ เรากินแตงโม ลูกไอ้กระโต จำเภาะเจาะนาน ทำหง่อยอยู่ใย กูจะใคร่ราน ไม้ระพะภาน ฉิฉะสงสาร แนะให้เกาะชาย ฯ๓๔

อนึ่งถ้าจะใช้พระสดับให้วิถารพิศฎารโดยเลศ ก็ให้ดูพระสดับอักษรเลกอย่างทรง

สุนัดชาไส ไตรมัทชาษอร จรปรสัด สัศดิเวหา วาจาเลศ วิเศศดุง อุชุงคภาพ เอลาภลักษณ อักษรสุนธร๑๐ คุณบท๑๑ พจนเอก๑๒ วิเศศปักษี

ต้น กลาง หลัง ไม้ผัด ลากข้าง พินหัว ตีน  ุ  ู ไม้ เอ แ ไ ใ นฤคหิต๑๐๑๑๑๒

พระสดับ ปรดิษถาน มรณ บาทสมพล ปราไส อิสีสมโยค อาการ หันอากาศ ประทุมวิหาร๑๐ วิสันชนี๑๑ เอกปักษี๑๒ ปักษีอาไศรย

ต้น กลาง หลัง ตีน ุ  ู ไม้ เอ แ ไ ใ โ พิินหัว ลากข้าง ไม้ผัด นฤคหิต๑๐๑๑๑๒

เลข ๑ เปนตีนหนึ่ง เลข ๒ เปนตีนคู้ เลข ๓ ตัวหนึ่งเปนไม้เอ เลข ๓๓ สองตัวเปนไม้แอ เลข ๔ เปนฝนทองบนพินหัว เลข ๕ เปนหันอากาศ เลข ๖ เปนไม้ไอ้ เลข ๗ เปนพินหัว เลข ๘ เปนไม้โอ้ เลข ๙ เปนลากข้าง ชื่อว่า อักษรเลข

๏ หนึ่งสองฉลองบาทเบื้อง เบือนบัง
เอตรีสี่เซียหลัง เคลือบไคล้
ห้าผัดสัดตะพินผัง ผันผ่อน
นพพาอาหกไม้ ไอ่โอ้อัฐา ฯ

พระสดับ (ตัวหน้า) ปรดิษฐาน (ตัวกลาง) มรณ (ตัวหลัง) หันอากาศ อาการ (ลากข้าง) อีสีสรรพ อุบาทสมพล เอ์ปราไศรย นิคคหิต เอก ปักษี

๏ อักษรใดต้นชื่อ พระสดับ
กลางปรดิษฐานสับ ชอบไว้
สุดนั้นคือมรณดับ ควรอย่า ไฉนนา
สาร เอ สวร แอ ไอ้ ใอ่โอ้ปราไศรย๓๕
๏ อิสีสรรพโยกใช้ อิอี
ปรวิสันชนี บอกแจ้ง
อาการเมื่อพาที จริงชื่อ อานา๓๖
อุบาทสมพลแกล้ง กล่าวแท้อุ อู ฯ
๏ ผัดไม้บนชี้ชื่อ หันอา กาศนา
พินเอกโดยสัญา ชื่อแท้
พินโทดุจปักษา กร เมื่อ บินแฮ
นฤคหิตเดียวแล้ กล่าวไว้คือองค ฯ

สุนัดชาไศรย (ตัวหน้า) ไตรมัดชาษร (ตัวกลาง) จรกษัตร (ตัวหลัง) สวัสดิลีลา วาจาเลศ (ลากข้าง) วิเศศอษฎง อุชงคภาพ เอลาพลัก อักษรสุญ คุณบท พจนเอก เลศปักษี

๏ สุนัดชาไศรยต้น ศุภอรรถ
ไตรมัดชาษรสวัสดิ ถัดไซ้
สุดนั้นจรกษัตร เสาวภาคย
สวัสดิลีลาคือไม้ ผัดให้เหนแสดง
๏ วาจาเลศลากข้าง ยาถวิล
วิเศศอัษฎงพิน พจนไว้๓๗
อุชงคภาพยิน ยลบาท
ส่วนเอลาพลักไซ้ คือไม้ทังมวน
๏ บูรรพิพัทสวัสดิหน้า อักษร
ปัดชิมาสาธร ถัดถ้อย
ปฤษดาณุสันวร โดยสัพ
มหันตลีลาสร้อย สับไม้ผัดบน ฯ
๏ วาเชรมหัตไซ้ อย่าฉงล
วิวิธคุลังพล พินแท้
อุทังคปาเทกล อัษฆาฏ
เอกนุกูลแม้ มาทไม้หลายพรรณ ฯ
๏ สูรยสถิตยแจ้ง โดยยล
ปรดิษพิเศศกล ถัดถ้อง
เอกวโรพล พิเศศ
โทวรไวยหาศซ้อง สืบแท้โดยนาม ฯ

ไทยนับ ๓

เรขเออสยเดศุเงภถสาอัลระดงส้ถ รนมอคำธุกพรพรัศร้ดพอพจง
บโไฦดทกยนัระเบหัลลัศศ เล้เรินปงเนรัปบัอนนงแร่ำขทิเษงหม

ไทยนับ ๕

รกว้ขอัวษโบกรณ์ดวษลัไยร ชื่สปหเนรนล้ล่ช้วเนหอนสแย
ทำวร้ร่ลำสำนนอนำรเซน กตยนลัตริยาคบฤถ้กณฦกอพ้นา ฯ

ไทยหลง

๏ ดสาจงลสลทาบต้หป งฦวถาร
โหตห่หตนลีรางลาต งลาทเงร้า
ผุบขุตหถุรจมาต วลลเผฉ
มงอ่ปล่ปเงวเฉ้า ข่ำเผิ้จลติยงาร ฯ
๏ ห้งวลสลวาลวล้หจ วีวสวัถิ
สติถาตาลีลันต แน่กไส้
จุทรงรโขรกผลัถ เผิ้จตฉื่ห
ขืหไบอรกพยกใอ้ หายห้ากเมตผล

ฤๅษีแปลงสาร

๏ ลิตขิศอิศรเท้ไ ฤนลบา
งงฟถี่นวท่วข่ารสา มนู่หน้าหเ
รรมคาทุศรเสนถา งงยะลุงถึยลเ
มอำตยฤศรนจพจ้าเ นนี่เช้าอพื่เดใ
๏ กอัรษรวณษกลันวล้ งลพเลพา
อชื่ษีฤๅงลปแรสา บสื่ว้ไ
ดลัผนยลี่ปเนยพี้เนอลกรกา ยลากบลัก
นสหท่เหล่เบลัห้ใ นอ่านล้หเนปเมษกเ
๏ จบเสร็จสำเร็จธิเรื่อง บังคับ
จินดามุนีฉบับ บอกแจ้ง
หนึ่งคืออักษรศับท์ สงเขป
ทังวุดโตไทนั้นแกล้ง กล่าวไว้เปนครู ฯ
๏ หนึ่งคืออักขระต้น สารแถลง
ทังจำแนกแจกแจง ถี่ถ้วน
โทเอกอเนกแสดง โดยเลศ
วุดโตกาพยกลอนล้วน เลิศล้ำพึงเรียน ฯ
๏ หนึ่งอักษรเลกล้วน ฦกลับ
ทังศุภสารพระสดับ มากถ้อย
อีกสุนัดชาไศรยสรับ สารสืบ
หนึ่งบูรพิพัทสร้อย สรับพร้องเปนกล ฯ
๏ อักษรไทนับแกล้ง เปลี่ยนผลัด
ไทหลงสงไสยอรรถ ยิ่งพ้น
ฤษีแปลงสารสวัสดิ สนเท่ห
สับฦกตรึกยากล้น เล่หล้ำกำบัง ฯ
๏ อักษรจัดถัดเนื้อง โดยดับ
เปนสารสืบสี่ฉบับ๓๘ บอกไว้
เขบ็จขบวรควรคำนับ อุปเทศ
นรชนสนใจได้ ชื่อเชื้อเมธา๓๙
๏ ลิขิตวิจิตรด้วย ศุภอรรถ
ด่งงมณีจินดารัตน เลอศแล้ว
อันมีศิริสวัสดิ โสภาคย์
ใครรู้คือได้แก้ว ค่าแท้ควรเมือง ฯ
๏ จบเสร็จอาจาริยแกล้ง เกลาสาร
โคลงกาพยกลกลอนกานท์ เรียบร้อย
มธุรศพจนบันหาญ โอวาท
ฟังเร่งเสนาะเพราะถ้อย ถี่ถ้วนทุกคำ ฯ

ก ก๙ ๗ก ๗ก ๗ก ๗ก ก๑ ก๒ ๓ก ๓๓ก ๖ก ๖ก ๘ก ๓ก๙ กํ๙ ก๔๔

๏ ค๗ดถ๗งรํ๙๗พงถ้๙ บว๙ย๕วน
๕หลงหลง๖หลม๓มอ๕ฝน อย่๒ด้วย
๖น๕ฝนว่๙รศ๕อน ๓อม๘อช
๓ปน๗น๕รนดรฤๅม้วย ๓๓ต่๕ตงค๗นง๗ถง ฯ

----------------------------

จินดามณีฉะบับพิมพ์ของหมอสมิธมีความต่อไปนี้ พิมพ์ต่อท้ายจินดามณีเล่ม ๑ นี้ด้วย แต่ในฉะบับอื่น ๆ ไม่มี เห็นว่าแปลกอยู่จึงลงพิมพ์ไว้ในที่นี้ด้วย

นองซึ้ง   เขาเอาเหตุใส่
มาตอนตัด เพราะ เดาอื่นโอ้
ฟังเขา   นองฟังเขา
๏ นะโมความนอบน้อม นมัศการ
เมแห่งเราเริ่มงาน เร่งเร้า
อัดถุทั่วไตรย์ทวาร มีเถิด
พุทธัสสะแต่พุทธเจ้า ตรัสรู้สรรพธรรม ฯ
๏ อักษรแส้งสืบสร้าง สรรค์มา
ต่างต่างชนนานา ย่อมใช้
โดยประเทศภาษา หลายอย่าง เจียวแฮ
เขียนอ่านออกโอฐได้ รอบรู้เรื่องราว ฯ
๏ อักษรสังเขปเข้า เปนสอง
หย่างหนึ่งหมายคำรอง อรรถใช้
หย่างหนึ่งนักปราชญตรอง นับแต่ เสียงนา
แล้วจึ่งรวมตัวให้ ถูกต้องคำคน ฯ
๏ หย่างว่าแรกนั้นอัก ษรเจ๊ก จีนยวน
ตัวมากนักฤๅเด็ก จักรู้
ยุ่มย่ามใหญ่ไม่เล็ก ดั่งผัก ชีนา
ลูกสิษศึกษาสู้ สืบสิ้นสี่ปี ฯ
๏ หย่างหลังที่ว่านั้น อักษร
ชนเอนกนับนิกร ห่อนได้
ไทพม่าเขมรมอญ แม้นแขก ฝรั่งแฮ
ฮินดู่สิงหฬใช้ แยกย้ายยักผสม ฯ
๏ อักษรไทหย่างนี้ เดิมพราหมณ์
จรจากแต่เมืองราม ราฐโพ้น
ต่อตั้งอยู่ยังสยาม ประเทษ นี้แล
แปลงรูปยักหย่างโน้น จึ่งให้ไทเรียน ฯ
๏ จัดแจงแจกกอปให้ ชอบคำ ไทนา
แรกเริ่มออานำ เพื่อใช้
ก ข ต่อตัวจำ จงถ่อง แท้แล
ตั้งใส่ทันทฆาฏไม้ ฆ่าให้หายเสียง ฯ
๏ จึ่งผสมเสิมใส่ด้วย ออา
สำเร็จแม่กกา ที่ต้น
จึงแจกกกกงมา กนกบ กมเฮย
จนแม่เกยกายค้น คู่เข้าเคียงสะแดง ฯ
๏ หน้านั้นจึ่งแจกแจ้ง จดจำ
เสิมใส่ ข ค นำ ต่อตั้ง
ตัวอื่นอีกเอาทำ เทียบเถิด
จนจบแจกจึ่งยั้ง หยุดให้ทายตัว ฯ
๏ อักษรสูงต่ำไซ้ ย่อมมี อยู่นา
สังเกตดูจงดี ชื่อไม้
เอกโทราชปักษรี กากระบาท
ทั้งสี่หมายมาให้ ย่อมขึ้นโดยเสียง ฯ

----------------------------

  1. ๑. อักษรศัพท์นี้ ตามฉะบับนายมหาใจภักดิ์ ส่วนฉะบับอื่นโดยมาก คำมีการันต์ มีทัณฑฆาฏ และลำดับคำสับสนกันบ้าง

  2. ๒. บางฉะบับเป็น – นี้นามกรเก่า คือบรมพุทเธา––
    บางฉะบับเป็น – นี้นามกรเคา รพบรมพุทเธา––
    บางฉะบับเป็น – มีนามประกอบเคา รพยบรมพุทเธา––

  3. ๓. ตามที่ Monsieru De La Loubère ทำแม่พิมพ์ไว้ในหนังสือ A New History Relation of the Kingdom of Siam มีอักษรไทยดังนี้

    ก. ข. ฃ. ค. ฅ. ฆ. ง. จ. ฉ. ช. ซ. ฌ. ญ. ด. ต. ถ. ท. ธ. น. บ. ป. ผ. ฝ. พ. ฟ. ภ. ม. ย. ร. ล. ว. ส. ศ. ษ., ห. ฬ. อ.

  4. ๔. ต้นฉะบับแจกไว้ทุกตัวอักษร ในการพิมพ์คราวนี้เห็นว่าไม่จำเป็นจึงตัดออกเสีย คงไว้แต่ตัวอักษรเดียว พอเป็นตัวอย่างในแม่นั้น ๆ ทั้ง ๓ หมู่ ๆ ละตัวอักษร

  5. ๕. หมายถึงไม้เอก

  6. ๖. หมายความว่าผันอักษรกล้ำ

  7. ๗. ขอให้สังเกตว่า ในจินดามณีฉะบับ (ที่เรียกว่าความพ้อง) นี้ มีตัวอย่างแต่ผันด้วยไม้เอกไม้โท ไม่มีตัวอย่างทีผันด้วยไม้ตรีและจัตวา (หรือกากะบาท) เลย แม้จะเป็นอักษรกลาง นอกจากความฉะบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (มีสองเล่มสมุดไทยดำเขียนเส้นรงหมายเลขที่ ๑/ค หอสมุดฯ ซื้อไว้เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๔) ซึ่งบอกไว้ในฉะบับนั้นว่า “ฉบับสมเด็จพระปรมานุชิต ประดิษฐ์ดัดแปลงแต่งต่อใหม่” แต่น่าปลาดที่ในฉะบับความแปลก ซึ่งลงศักราชไว้ในบานแพนกเก่ามาก กลับมีผันด้วยไม้ตรีไม้จัตวา โปรดดูใน “คำเล่าเรื่องจินดามณี” ข้างท้าย

  8. ๘. บางฉะบับเขียนเป็น เกอย

  9. ๙. ในหนังสือ A New Historical Relation of Siam ของ Monsieur De La Loubere แจกแม่เกยไว้ดังนี้
    เกย กาย กาว กวิ กวี กวึ กวื กุย กูย เกว แกว โกย กอย กวย เกยวิ เกยิ เกยิะ เกอิ เกอิะ กัว กัวะ เกะ แกะ โกะ เกาะ กุํ กำ กรรม กอ่ เกอืย เกอ่ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ

    ในจินดามณีฉะบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯ แจกแม่เกยไว้ดังนี้
    เกย กัย กาย กาว กิว กีว กึย กืย กุย กูย เกว แกว โกย กอย กวย เกียว เกือย เกีย เกียะ เกือ เกือะ เกอ เกอะ กัว กัวะ เกะ แกะ โกะ เกาะ กอ กุํ กำม์ กรร ระ มะ

    ตอนท้ายจินดามณีของกรมหลวงวงษาฯ ในฉะบับพิมพ์ของหมอสมิธ (พ.ศ. ๒๔๑๓) ตอนท้ายของแม่เกย ต่างจากนี้บ้างเล็กน้อย คือเป็น โกะ เกาะ กุม กรรม กรรน ระมะ

  10. ๑๐. บางฉะบับว่า ไตรเพทท้าวหากแจ้ง -----

  11. ๑๑. บางฉะบับมีคาถาและข้อความต่อตรงนี้ว่า

    ปฐมํฺ อกฺขรวิสุทฺธํ

    อักษรเบื้องต้น หาเอกโทบมิได้ (เช่น) กา๑

    ทุติยํ ทณฺฑเมวจ

    อักษรคำรบสอง มีไม้เอกรูปดังค้อนหางโค (เช่น) ก่า๒

    ตติยํ องฺกุสฺเจว

    อักษรคำรบสาม มีไม้โทดังรูปขอ (เช่น) ก้า๓

    จตุตฺถรูปํ เลกฺขสตฺตมํ

    อักษรเป็นคำรบสี่ มีไม้ตรีดั่งรูปเลข ๗ (เช่น) ก๊า๔

    ปฺจมํ กากปาทฺจ

    อักษรคำรบห้า มีไม้จัตวาดั่งรูปตีนกา (เช่น) ก๋า๕

    ปฺจวิธํ ลกฺขณอกฺขรํ

    อันว่าลักษณะแห่งอักษรกลางเบามีห้าประการดั่งนี้แล

    ๏ อักษรตัวต้นนั้น คำตรง กา๑
    สองจึ่งมีเอกลง อย่างค้อน ก่า๒
    สามลงไม้โททรง ถานเล่ห์ ขอนา ก้า๓
    สี่ลักษณะไม้ตรีซร้อน อยู่ไซร้จักแสดง ฯ
    ๏ เลขเจ็ดคือรูปไม้ ตรีหมาย ก๊า๔
    ห้าจัตวากาปลาย ที่เท้า ก๋า๕
    อักษรกลางเบาราย เป็นฮ่า คำนา
    นักปราชฯจงรู้เค้า ดั่งนี้อักษรไทย ฯ
    ๏ อักษรสูงต่ำต้น คำตรง ขา-คา
    สองจึ่งมีเอกลง รูปค้อน ข่า-ค่า
    สามมีไม้โททรง เขียนเล่ห์ ขอนา ข้า-ค้า
    แยกอักษรอันซร้อน อยู่ได้เห็นพลัน ฯ

    คาถาและคำโคลงนี้ น่าจะได้มีผู้รู้แต่งต่อเพิ่มเข้าในชั้นหลัง คล้ายกับฉะบับความสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

  12. ๑๒. บางฉะบับว่า .................วิสัญ ชนีนา

  13. ๑๓. บางฉะบับว่า........... สามหมู่ นี้นา

  14. ๑๔. บางฉะบับว่า “ปานมธุรเพราะถ้อย.....”

  15. ๑๕. บางฉะบับว่า...... เสาวภาคย์แก้ว

  16. ๑๖. บางฉะบับผูกเป็นคาถาว่า

    นวภาโว ทสภาโว

    ๏ สิบเก้าเสาวภาพแก้ว กรองสน

    จตุตฺถิ จนฺทุมณฺฑโล

    จันทรมณฑลกล สี่ถ้วน

    สุริโย สตฺตกฺเจว

    พระสุริยเสด็จดล เจ็ดแห่ง

    ทวาติงฺสผลโท ภเวยฺย

    แสดงว่าพระโคลงล้วน เศษสร้อยมีสอง ฯ
  17. ๑๗. จากลิลิตพระลอ

  18. ๑๘. บางฉะบับว่า

    บทโทที่ห้าวัด ชอบคล้อง
    บทตรีเอามาขัด สุดาแห่ง เบญจ์นา
    ปลายบทสองมาต้อง ………………...

    และบางฉะบับมีอีกโคลงหนึ่งว่า

    ๏ ที่เจ็ดบทแรกนั้น มาฟัด
    ห้าที่บทสองชัด ชอบพร้อง
    บทสามดุจเดียวถัด ในที่ เบญจนา
    ปลายแห่งบทสองต้อง แห่งห้าบทหลัง ฯ
  19. ๑๙. บางฉะบับว่า บทใดสอนศิษย์ไว้.....

  20. ๒๐. หมายถึงศิลป ๖๔ ประการ

  21. ๒๑. บางฉะบับว่า จึ่งจสอนสยามพากยพู้น....

  22. ๒๒. บางฉะบับว่า ทูลศีศะ....

  23. ๒๓. บางฉะบับว่า.... คู่แฮ

  24. ๒๔. บางฉะบับว่า ว ย ร คำทุรโนศบ้าย...

  25. ๒๕. จากมหาชาติคำหลวง น. ๒๘๕ กัณฑ์สักกบรรพ มีเพี้ยนคำบ้าง.

  26. ๒๖. เข้าใจว่า จากมหาชาติคำหลวงเหมือนกัน แต่ไม่พบในฉะบับพิมพ์ น่าจะเคยมีอยู่ในฉะบับซึ่งศูนย์เสียแล้ว.

  27. ๒๗. คำว่า พิน หรือ พินธุ์ ที่ใช้ในหนังสือนี้ หมายความอย่างเดียวกับที่เราเรียกว่า วรรณยุกต์ ในบัดนี้ เข้าใจคำว่า “ตรีพินธุ์ จัตวาพินธุ” ในที่นี้จะถูกเติมขึ้นในชั้นหลัง เพราะแห่งอื่นในหนังสือนี้ไม่พูดถึงไม้ตรีและไม้จัตวา

  28. ๒๘. ดูบาฬีกลอนสุรางคนาง-สพฺพฺู โม ฯลฯ ตอนท้ายอีก

  29. ๒๙. โคลง ๓ บทนี้ ในต้นฉะบับบางฉะบับก็บอกหมายเหตุไว้เช่นนี้ แต่ในบางฉะบับก็กลับกันเสีย บางฉะบับก็บอกไว้ว่าสองโคลงข้างบนนั้นธรงทั้งสองบท และบอกว่าโคลงหลังนายธรงบาศแต่ง

  30. ๓๐. โคลง ๓ บทนี้ ในต้นฉะบับบางฉะบับก็บอกหมายเหตุไว้เช่นนี้ แต่ในบางฉะบับก็กลับกันเสีย บางฉะบับก็บอกไว้ว่าสองโคลงข้างบนนั้นธรงทั้งสองบท และบอกว่าโคลงหลังนายธรงบาศแต่ง

  31. ๓๑. จากมหาชาติคำหลวง ดู น. ๒๖๖-๒๖๗ กัณฑ์มัทรี

  32. ๓๒. คงคัดมาจากคำพากย์เรื่องรามเกียรติ ตอนพระอินทร์ใช้ให้พระมาตลีนำรถมาถวายพระราม ฉบับเดิมคงจะสูญหายไปแล้ว

  33. ๓๓. คำพากย์เรื่องรามเกียรติ เป็นคำของพิเภกรำพันตอนทศกัณฐ์ล้ม

  34. ๓๔. บางฉะบับมีหมายเหตุต่อท้ายตรงนี้ว่า ธรงสำหรับจำคณะทั้ง ๘

  35. ๓๕. บางฉะบับว่า เอ แอ ใอ ไอ ไซ้ โอ้ คือปราไศรย

  36. ๓๖. บางฉะบับว่า... ลากค่าง นี้นา

  37. ๓๗. บางฉะบับว่า... ธุไว้

  38. ๓๘. บางฉะบับว่า เป็นสารสิบสี่ฉบับ..........

  39. ๓๙. บางฉะบับว่า..........ใจไซ้ ชาติเชื้อเมธา

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ