- คำอธิบาย
- โคลงของพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น ศรีเพ็ญ)
- ลิลิตของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
- กลอนสุภาพสรรเสริญพระเกียรติ
- โคลงของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
- คาถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
- คาถาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) วัดราชบุรณะ
- ร่ายดั้น ของ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
- ฉันท์และกาพย์ห่อโคลง ของหม่อมเจ้าเพิ่ม
- แหล่เทศน์มหาชาติ ของพระกว้าง วัดประยุรวงศ์
แหล่เทศน์มหาชาติ ของพระกว้าง วัดประยุรวงศ์
๏ รูปจะริเริ่มเพิ่มนิพนธ์ | สาธุชนจงวิจารณ์ |
โดยข้อคำร่ำขาน | ในพงศาวดารฝ่ายอุดร |
๏ แต่ครั้งกรุงไทยยังอยู่ไกลเหลือ | แรกเมืองเหนือตั้งนคร |
กษัตริย์ลำดับมาซับซ้อน | ผลัดเปลี่ยนนครมามากมี |
๏ จนถึงเชียงแสนเปนแว่นแคว้นใหญ่ | อำนาจแผ่ไปทุกธานี |
กษัตริย์ดำรงทรงบุรี | ทรงนามพระศรีธรรมไตร |
๏ ปิฎกชำนาญพระผ่านสมบัติ์ | เปนจอมกษัตริย์อันยิ่งใหญ่ |
ให้จ่าทั้งสองที่ต้องพระไทย | ไปสร้างเมืองใหม่อิกธานี |
๏ เสด็จสถิตอยู่พิษณุโลก | อิกนามหนึ่งโอฆบุรี |
ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์ | วิหารสี่งามสูงทรง |
๏ จะทรงหล่อพระประดิษฐาน | ไว้ในวิหารอิกสามองค์ |
ให้หาช่างที่อย่างยิ่งยง | ได้เสร็จประสงค์ทั้งห้าพราหมณ์ |
๏ ท้าวทรงสร้างเปนอย่างกันไป | สุดแต่พระไทยที่เห็นงาม |
ปั้นรูปเข้าดินสิ้นทั้งสาม | แล้วเริ่มพระนามตามพระไทย |
๏ แต่พระชินราชขนาดที่อ้าง | หน้าตักกว้างโดยกล่าวไว้ |
ห้าศอกคืบยังสืบไข | ห้านิ้วในมีเศษนา |
๏ แต่พระชินศรีนี้ท่านบอก | ว่ากว้างห้าศอกสี่นิ้วหนา |
กำหนดขนาดพระศาสดา | ว่ากว้างหนึ่งวาหกนิ้วตรง |
๏ ให้หาสำรองล้วนทองสำริด | ได้เสร็จกิจสมประสงค์ |
ครั้นหล่อเสร็จสำเร็จลง | ให้ต่อยองค์พระปฏิมา |
๏ พระทั้งสองทองแล่นดี | คือพระชินศรีกับพระศาสดา |
แต่พระชินราชประหลาทนักหนา | พอต่อยออกมาไม่เปนองค์ |
๏ ทรงหล่อสามคราดูน่าอนาถ | ไม่สมพระราชประสงค์ |
จอมกษัตริย์ขัตติยพงศ์ | ท้าวเธอทรงโทมนัสใน |
๏ ทรงตั้งสัจจาด้วยบารมี | กับพระราชเทวีร่วมพระไทย |
อำนาจพระองค์ที่ทรงเลื่อมใส | เห็นผลได้ในปัจจุบัน |
๏ มีปะขาวนั้นเข้ามาช่วย | ทำการด้วยช่างทั้งนั้น |
ไม่หย่อนหยุดสุดขยัน | จนแล้วทันไม่ช้าที |
๏ วันเมื่อหล่อพระชินราช | วิสาขมาสขึ้นอัฐมี |
วันพฤหัสบดิ์เปนสวัสดี | นพศกปีมะเสงนา |
๏ พุทธกาลล่วงนานไม่น้อย | ได้พันห้าร้อยพระวัสสา |
ส่วนปะขาวก็ก้าวไคลคลา | ไปทางอุตราแล้วหายพลัน |
๏ ที่ปะขาวหายจึงได้เรียกขาน | ติดชื่อบ้านมาจนทุกวัน |
ฝ่ายพระองค์ทรงธรรม์ | รับสั่งช่างนั้นโดยจำนง |
๏ รวมทองชนวนล้วนเศษเชื้อ | แล้วหล่อพระเหลือขึ้นอิกองค์ |
ปลูกโพธิ์สามเส้าบอกเค้าตรง | ที่หล่อองค์พระปฏิมา |
๏ กล่าวย่อย่อพอเปนสมาส | พระชินราชองค์อุตรา |
พอรู้เรื่องเริ่มองค์เดิมมา | ช่างงามนักหนาหาไม่มี |
๏ กษัตริย์องค์สร้างเปนอย่างปรากฎ | พระเกียรติยศรุ่งเรืองศรี |
พระชนม์ไม่น้อยร้อยห้าสิบปี | พระบารมีมากสามารถ |
๏ กษัตริย์พระองค์ใดมีพระไทยปราโมทย์ | เสด็จไปสมโภชพระชินราช |
ทรงพระอุส่าห์เปนสามารถ | ย่อมเรืองพระอำนาจทุกพระองค์มา |
๏ พระเจ้าอยู่หัวเราทั่วทุกท่าน | ในรัชกาลที่ท้า |
รัตนโกสินทร์มหินทรา | ปกสยามาทั่วมณฑล |
๏ ทรงสร้างอารามนามเบญจมะ | ทรงหาพระประธานโสภณ |
ทั่วรอบอารามสยามมณฑล | ไม่พอพระกมลราชฤทัย |
๏ ทรงเห็นแต่พระชินราช | พระสิริวิลาสเลิศวิลัย |
ต้องพุทธลักษณ์พระพักตร์ประไพ | ควรจำลองไว้เปนพระประธาน |
๏ ให้หลวงประสิทธิไปประดิษฐปั้นถ่าย | ให้เหมือนละม้ายทุกประการ |
แล้วตีสายแจ้งรายงาร | ตามข้อการเนืองเนืองมา |
๏ จะเสด็จจรดลทางชลมารค | เวลาน้ำหลากเมื่อในพรรษา |
ให้พระราชมุนีพิธีมหา | ขึ้นไปจำพรรษารับราชการ |
๏ วันจะเสด็จเตรียมเสร็จพร้อมพรั่ง | เอาเรือพระที่นั่งเข้ามาขนาน |
พระวงศาข้าราชการ | พร้อมกรมทหารทั้งบกทั้งเรือ |
๏ ที่นั่งกลไฟพอได้เวลา | ก็เคลื่อนจากท่าขึ้นทางเหนือ |
บ้างนำบ้างตามออกหลามเหลือ | บ้างลากเรือแล่นดูแน่นเนือง |
๏ พอถึงตำบลมณฑลมหาดไทย | ก็ตกแต่งไว้รับทุกเมือง |
ดูสอาดสอ้านเปนการรุ่งเรือง | เปนที่ประเทืองยกประเทศไทย |
๏ พระเจ้าน้องยาเสนาบดี | ท่านทรงถ้วนถี่ตั้งพระไทยใส่ |
มิให้เรี้ยวรกสกปรกขึ้นได้ | มีกำนันผู้ใหญ่คอยให้ตรวจตรา |
๏ พอเสด็จถึงที่บุรีโอฆ | พิษณุโลกประทับทอดท่า |
ตวันชายบ่ายเวลา | เสด็จขึ้นวันทาพระชินราช |
๏ ทรงปิดทองผุดผ่องโสภณ | พระราชกมลยิ่งใสประสาท |
พร้อมอามิสบูชิตพระชินราช | พระภูษาทรงคาดอิกสายสังวาลย์ |
๏ เวียนเทียนสมโภชอุโฆษประดัง | มีละคอนแลหนังข้าราชการ |
พิธีที่หล่อเตรียมรอฤกษ์วาร | ตั้งตามโบราณที่ท่านก่อนทำ |
๏ ได้ฤกษ์เททองทุกกองเตรียมเสร็จ | เปนเดือนสิบเอ็ดขึ้นแปดค่ำ |
วันรวิเปนสิริล้ำ | ฉลูประจำตกในศกตรี |
๏ พุทธกาลล่วงนานไม่น้อย | สองพันสี่ร้อยสี่สิบสี่ |
ถ้าใช้วันปัจจุบันนี้ | ยี่สิบที่เดือนตุลาคม |
๏ โกสินทร์ศกตกร้อยยี่สิบ | ต้องยกหยิบตามอย่างนิยม |
เศษทองหล่อพระให้รวมสะสม | โดยพระบรมราชโองการ |
๏ ให้หล่อพระเหลือตามเชื้อก่อนเก่า | เก็บอิฐที่เตามาก่อเปนฐาน |
ปลูกโพธิ์สามเส้าอย่างเค้าโบราณ | ดุจก่อนกาลที่ท่านทำมา |
๏ จำลองเสร็จสิ้นพระชินราช | แล้วเชิญเคลื่อนคลาดลงนาวา |
ล่องกรุงเทพพลันมิทันช้า | ประทับทอดท่าหน้าโรงหล่อ |
๏ เชิญขึ้นติดแต่งมากแรงเร่งรัด | บ้างถูบ้างขัดมิได้รีรอ |
แล้วทรงปิดทองเอี่ยมอ่องลออ | ดังเทพหล่อเหมือนองค์บน |
๏ เชิญลงนาวามหามณฑป | เครื่องสูงครันครบรอบมณฑล |
สมโภชหนึ่งคืนครึกครื้นในชล | ตระเตรียมเกลื่อนกล่นขุนนางต่างกรม |
๏ ย่ำรุ่งเริ่มแห่เรือแลออกหลาม | วันที่สิบสามธันวาคม |
พอเช้าโมงกึ่งเสียงอึงขรม | แตรสังข์ระงมในชลธาร |
๏ หน้ากระบวรล้วนเปนคู่คู่ | มีเรือประตูแลเรือทหาร |
เรือเสือเรือสีห์รูปกระบี่ทยาน | เสียงเส้าประสานกับเสียงคน |
๏ เต็มอย่างแบบหมดยศแห่พระ | เหมือนอย่างพยุหะทรงเครื่องต้น |
นำเรือพระพุทธสุทธิโสภณ | สถิตในมณฑลมณฑปทอง |
๏ งามเศวตฉัตรอย่างขัตติยะ | งามสักการะรุ่งเรืองรอง |
งามเครื่องประดับจับสีทอง | ต่างแซ่ซ้องสาธุการ |
๏ ทั้งชายหญิงบนตลิ่งแลเรือ | แลล้นเหลือดูออกลาน |
ทั้งหน้าแพแลหน้าบ้าน | ตั้งเครื่องสักการพุทธบูชา |
๏ ต่างพร้อมจิตต์คิดประสาท | ในพระชินราชทุกถ้วนหน้า |
พึ่งได้ประสบพบวันทา | เปนบุญตาได้เห็นพระองค์ |
๏ ช่างงามจริงจริงเปนยิ่งยอดงาม | มีเรือแต่งตามล้วนจอมสงฆ์ |
ดูประดุจพระพุทธองค์ | เมื่อพระยังทรงพระชนมาน |
๏ จะเสด็จแห่งใดก็ดูดาษดื่น | มีสงฆ์สองหมื่นเปนบริวาร |
เพื่อประโยชน์มาโปรดเราท่าน | ให้พ้นกันดารสิ้นทั้งสี่กอง |
๏ เหมือนพระองค์สถิตอยู่พิษณุโลก | ลงมาดับโศกเราสิ้นทั้งผอง |
ได้ยินพระนามแต่เปนความขัดข้อง | สุดที่จะปองขึ้นไปวันทา |
๏ พระเดชพระคุณเราบุญถ้วนทั่ว | พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงพระอุส่าห์ |
จำลองเหมือนองค์แล้วเชิญลงมา | ให้เราถ้วนหน้าได้นมัสการ |
๏ กระบวรหลังพรั่งพร้อมพรัก | คิดแต่งเยื้องยักดูวิถาร |
ล้วนพลพายแลลายลาน | ดูแน่นขนานในนที |
๏ บ้างแต่งเรือดูเหลือหลาย | ทำส้อนคนพายดูเข้าที |
เปนสัตว์ว่ายในวารี | บ้างเปนพาชีแลคชา |
๏ บ้างทำเปนรูปพระสิทธัตถ์ | ขึ้นทรงกัณฐัศว์หนีพระพิมพา |
ประหัดประหารมารทั้งห้า | เห็นสังขาราเปนอนิจจัง |
๏ บ้างทำเปนรูปมารประจญ | ยกมารพลมาคับคั่ง |
ขึ้นทรงคชาดาประดัง | จะแย่งบัลลังก์ให้ล่มจม |
๏ บ้างทำเปนนางพสุนธรี | มาบิดโมลีมวยผม |
เปนชลธารมารล่มจม | ต้องน้อมประนมกรวันทา |
๏ โขนโรงใหญ่เรือไฟจูงลาก | ดูหลายหลากที่ในชลา |
บ้างทำบัลลังก์นั่งเทศนา | บ้างทำท่าเปนที่โรงหล่อ |
๏ ตั้งสูบตั้งเตาบอกเค้ากรม | คิดแต่งให้สมตามยี่ห้อ |
ต้องรวบรัดตัดแต่ข้อ | เนื้อความย่อย่อมิให้ยืดยาว |
๏ กระบวรหน้านาวาเบน | เข้าคลองสามเสนเสียงอื้อฉาว |
เข้าแคบคับคั่งเรือดั้งเย้อวยาว | กลองแตรเกรียวกราวมามากมี |
๏ สิ่งใดเกะกะที่เรอะระรกราน | ต้องรื้อสพานกิมเซ่งหลี |
กระบวรหน้าไม่ช้าที | พอถึงที่เปนสี่ทาง |
๏ ต้องแบ่งกระบวรไม่ถ้วนเต็ม | เลี้ยวล่องคลองเปรมมาข้างล่าง |
นำเรือพระพุทธสุดสำอาง | ประทับทอดรางหน้าอาราม |
๏ พอห้าโมงกึ่งแล้วจึงเชิญพระ | ขึ้นวัดเบ็ญจมะสถิตแท่นงาม |
ควรชนชมประนมประนาม | มิได้มีความขัดราคี |
๏ เปนที่สังเกตว่าพระเดชพระคุณ | จะแผ่ไพบุลย์รุ่งเรืองศรี |
พระชนม์ยืนยงทรงพระบารมี | เหมือนสมเด็จพระศรีธรรมไตร |
๏ แล้วทรงถวายสายนพรัตน์ | เอาทรงพระหัดถ์ดูงามวิลัย |
เปนพุทธบูชาน่าเลื่อมใส | ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงศรัทธา |
๏ ทรงโปรดโอกาสให้ราษฎร | ชาวพระนครทุกถ้วนหน้า |
ผู้ดีไพร่มิได้ว่า | ที่มีศรัทธาเข้ามาปิดทอง |
๏ แล้วทรงโปรดสมโภชสี่คืน | การเล่นครึกครื้นมหกรรมฉลอง |
ไม้หกโมงครุ่มมือกุมกระบอง | ละคอนโขนร้องอิกดอกไม้ไฟ |
๏ พระวงศาข้าราชการ | โชว์พระโบราณตั้งเรียงไป |
เครื่องแก้วบูชิตชนิดเจียระไน | ของเก่าของใหม่ล้วนแต่งงามดี |
๏ ออกร้านขายของเปนท่องเปนแถว | ดุจการแล้วที่เคยมี |
ราชาทุกวัดจัดของดีดี | เปรียญพิธีพระครูถานา |
๏ เต็มจิตต์เลื่อมใสมิได้ย่อหย่อน | แห่เครื่องถาวรวัตถุบูชา |
พระชินราชประสาทหรรษา | เต็มจิตต์ศรัทธาถ้วนทั่วองค์ |
๏ ทรงพระประสาทราชดำเนิรเทียน | ทรงแวดเวียนพรั่งพร้อมพระวงศ์ |
ทั้งชินบุตร์สุดจอมสงฆ์ | ประทักษิณวงตามกำหนดการ |
๏ ถานาอันดับดูนับหลายร้อย | สามเณรใหญ่น้อยเนื่องแน่นขนาน |
เปนการเคารพครบตติยวาร | เปนที่เบิกบานทั่วกมลชน นั้นแหล่ ฯ |