คำอธิบายศัพท์

กง

ล้อเกวียน ส่วนรอบนอกสุดของล้อ

กรม

ตรม ความทุกข์ความระทม เดือดร้อนใจ

กรรดึก

กอด โอบกอด
ทอดทวัดทวัยกร กรรดึก (สป. ๑๔๔)

กรรศก

ข้อน ตี ทุบ แผลงจาก กระศก
สะอื้นอัดอุรกรรศก สังเวช ตนแฮ (สป. ๔)
หมายถึง สะอึกสะอื้นเอามือทุบอก

กรรหาย

ปรารถนา ร้อนรนด้วยความปรารถนา แผลงจาก กระหาย

กรรโหย

โหย คร่ำครวญถวิลหา แผลงจาก กระโหย

กรอ

แสดงกิริยาเลียบเคียงในลักษณะชู้สาว
ปานนี้จักกรีดก้อย กรอใคร เล่านา (วร.๑๔๑)

กรอม

ตรอม ตรมใจ ระทมใจ

กระแจะ

แป้งผสมเครื่องหอม เช่น ผงไม้จันทน์เนื้อไม้หอม ใช้สำหรับทาหรือเจิม

กระแชงอ่อน

แผงเย็บด้วยใบจาก หรือใบเตย มักใช้ทำเป็นฝาเรือน เครื่องผูก

กระโซกระเซ

โซเซ ทรงตัวไม่อยู่ เอนไปเอนมา

กระฎีกรุ

ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กระดาก

อาย ขวยเขิน

กระเดือง

กระเดื่อง หมางใจ กระดากใจ

กระได

น่าจะมาจาก ได ในคำเขมรแปลว่า มือ เติม กระ หน้าศัพท์เป็น กระได
ก่ายกระไดแดกำ เริบชู้ (สป. ๑๖๒)
หมายถึง เอามือก่ายหน้าผากคิดถึงคู่รัก

กระพุ่ม

พนมมือ ทำมือทั้งสองให้ชิดกันเป็นพุ่มเหมือนดอกบัว

กระสินธุ์

น้ำ มาจาก สินธุ สินธุ์ เติม กระ หน้าศัพท์เป็น กระสินธุ์

กระเหิม

กำเริบ

กระโหยหน

กระโหยกระหน คระโหยคระหน กระวนกระวาย เดือนร้อนถวิลหา

กราน

กราบ หมอบลง หมอบก้มศีรษะลง

กฤษฎางค์

กระทำแล้วด้วยกาย มาจาก กฤษฎา + องค์

กฤษณา

ไม้เนื้อหอมอย่างหนึ่ง

กลอยแด

ร่วมใจ กลอย (ร่วม) + แด (ใจ)

กอก

ดูดเอาเลือด หรือลมออก

กานน

ป่า ดง

กำดัด

ความปรารถนา ในที่นี้ใช้ในความหมายเดียวกับ กำหนัด
คือ ความคิดถึง กระวนกระวายด้วยความรัก

กำเดา

ร้อน ความร้อน ในที่นี้หมายถึง ความทุกข์

กำลูน

น่าสงสาร น่าเอ็นดู

กำสรด

โศกเศร้า สลดใจ

กำสรวล

ร้องไห้ โศกเสียใจ

กินร

คนครึ่งสัตว์ มีหลายลักษณะ เช่น ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นกวาง ฯลฯ ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า กินรี

กุมภีล์

จระเข้

เกลศ

กิเลส สิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง

เกลือก

บางที เผื่อว่า เกรงว่า

เก้า

ก้าว ล่วงไป เลยไป
พอสุริยอัสดงเก้า ล่วงฟ้าฟากโพยม (วร. ๕๙)

เกียรดิ

เกียรติ ความสรรเสริญ

แก่น

กล้า แข็ง
ทั่วส่ำด้าวดัสกร แก่นแกล้ว (วร. ๑๑)

แก้วเก้า

แก้ว ๙ ประการ หรือเนาวรัตน์ ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ 

โกกิละ โกกิลา

นกดุเหว่า นกกาเหว่า

โกญจา

นกกระเรียน

โกรงเกรง

จวนจะพัง ใกล้จะพัง ร้าง
ดูกระโซกระเซกั้น เก่าแล้วโกรงเกรง (วร. ๔๐)

ไกวัล

สวรรค์

ขจบขจร

ขจบ น่าจะมาจาก จบ หมายถึง ตลอด ทั้งหมดทั้งสิ้น แปลงเป็น ขจบ เพื่อเล่นเสียงคู่กับ ขจร แปลว่า ฟุ้งกระจาย ขจบขจร หมายถึง ฟุ้งกระจายไปโดยทั่ว

ขนนข้าง

หมอนข้าง

ขนาง

ขวยเขิน กระดากอาย

ขบกลอยมัน

เป็นสำนวนมีความหมายว่า คิดจะเชยชมในยามที่ขาดแคลน
อยากเข้าขบกลอยมัน มาตก ยากนา (สป. ๑๘๙)

ขลา

เสือ

ขวน

ใฝ่หา ขวนขวาย

ขัณฑ์

ส่วน บริเวณ

ขัดกลอน

ใส่กลอนประตู หรือหน้าต่าง
ประตูช่วยขัดกลอน กล่อมนุช ด้วยนา (วร. ๑๔๓)

ขัตติยาดูร

ขัตติย (กษัตริย์) + อาดูร (เดือนร้อนทั้งกายและใจ)
เดชเดชขัตติยาดูร ดับร้อน (วร. ๑๔)
หมายถึง ขออำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์จงขจัดความเดือดร้อนทั้งหลาย

ข่าง

ในที่นี้หมายถึง คาง ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง
เดิมมีต้นข่างข้า คบสุด สูงแฮ (วร. ๑๒๓)

เข

ในท้องฟ้า จากศัพท์ (ท้องฟ้า) ลงวิภัตติที่ ๗ เป็น เข
สิ้นสูริย์ศศิเฟี้ยม แฝงเข (สป. ๑๙๑)

ขะเยื่อน

เขยื้อน เลื่อนไปเคลื่อนไปในที่นี้ต้องการรูปวรรณยุกต์เอกตามบังคับของโคลงสี่สุภาพ

ขุนศีขเรศ

ขุนเขา ภูเขาใหญ่

เขิน

สูง ที่ดอน

แข

ดวงจันทร์

ไข

เปิดออก สว่าง

คชวรินทร

ช้างที่เป็นใหญ่ประเสริฐกว่าช้างทั้งทลาย
คช (ช้าง) + วร (ประเสริฐ) + อินทร (เป็นใหญ่)

คนธรรพ

คนธรรพ์ ชาวสวรรค์พวกหนึ่งอยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกา มีความชำนาญในการดนตรีและขับร้อง

ครรชิต

คำรามกึกก้อง

คระไล

ครรไล ไป

คระหึม

ส่งเสียงคำราม

ครึ่ม

ครึ้ม ร่มเย็น มืดมัว ในที่นี้ต้องการรูปวรรณยุกต์เอก
บงแต่ใบไม้ครื้น ครึ่มต้นเต็มไพร (วร. ๙๗)

คอน

ใช้ปลายไม้ข้างหนึ่งคานภาชนะ เช่น กระบุง หรือตระกร้าไว้ข้างหลัง
แม่ค้าต่างค้าขาย คอนเร่ (สป. ๑๑๔)

คัณ

คณ หมู่ พวก ประชุม
ควรสัตว์จักคัณหา อนุสร์ แน่แฮ (วร. ๖)

คัด

งัดขึ้น
ผดุงพุทธศาสน์คํ้า คัดขึ้นควรชม (วร. )

คุ้ง

คุง นาน ตลอดไป

คุณุตโมฬาร

คุณ + อุตม + โอฬาร คุณอันสูงสุดและใหญ่ยิ่ง

คุณูดม

คุณ + อุดม คุณอันสูงอุด

คุดร์

(ไป ไปถึง) + อุดร (เหนือ) ขึ้นไปเหนือกิ่ง
ขึ้นตลอดเสมอคุดร์ คบกิ่ง นั้นพ่อ (วร. ๑๒๓)

เคร่า

คอย รออยู่

ไคล้

คล้าย เหมือน
ชะนีกับอกเรียมร้าง รักไคล้เช่นกัน (วร. ๖๗)

ฆาต

ฆ่า ทำให้ตาย
เณรเอยเสือฆาตคั้น     จำตาย (วร. ๑๑๕)

ฆาน

จมูก

งำ

ปิด ไม่เปิดเผย

เงื่อน

เหมือน
ช่อฟ้าประงอนงาม เงื่อนส่าย เฟื้อยแฮ (สป. ๓๐)

แง่

ชั้นเชิง แยบคาย

จ 

จรรโลง

ประคับประคอง พยุงไว้

จรนต์

จร (ไป) + อันต (สุด ที่สุด) จรนต์ ผู้เดินทางอยู่หลังสุด ในที่นี้หมายถึง เพื่อนร่วมทาง
พร้อมพวกจรนต์จรา รีบเต้า (วร. ๕๙)

จวบ

พบ ประสบ

จัตุบท

สัตว์สี่เท้า

จัตุรคุณ

ความดีสี่ประการ ในที่นี้หมายถึง จตุรพิธพร คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ

จันทร์ตรี

วันฤกษ์ดีในตำราโหราศาสตร์ ได้แก่ วันจันทร์ที่ตรงกับขึ้นหรือแรมสามคํ่า เรียกว่า วันจันทร์ตรี ถือเป็นวันอมฤตโชค

จาตุรพักตร์

จาตุร (สี่) + พักตร์ (หน้า) หมายถึง พระพรหม

จิระ

ช้านาน ยั่งยืน

จุณ

เป็นผงละเอียด ในที่นี้หมายถึง ผงทองละเอียดอันเป็นทิพย์
ผ่องยิ่งมาศแมนจุณ ผจงเปรียบ ปานฤๅ (สป. ๔๕)

เจียน

ตัด ฝาน

เจียร

ช้านาน ยั่งยืน แผลงจาก จิร

เจือ

ระคน ปน

แจร่ม

แจ่ม กระจ่างชัดเจน

ฉงาย

ไกล บางครั้งแผลงเป็น จำงาย

ฉม

กลิ่นหอม ของหอม

ฉมา

แผ่นดิน

ฉเมนท์

ฉมา (แผ่นดิน) + อินท (เป็นใหญ่ ผู้เป็นใหญ่) ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน

ช 

ชคัต

แผ่นดิน โลก

ชมัว

ครึ้ม มืดมัว

ชลค้าง

น้ำค้าง
บุปผชาติชลค้างต้อง ต่างสุคนธ์ (สป. ๑๗๓)

ชอน

ไช แทงเข้าไป

ชอุ้ม

ชอุ่ม มืดมัว ในที่นี้ตัองการให้เป็นรูปวรรณยุกต์โท
มวลเมฆขมุกขมัว หมอกชอุ้ม (วร. ๖๕)

ชัฏ

ป่ารก ป่าทึบ

ชำเนียน

น่าจะมาจาก ชำนาญ แปลงเป็น ชำเนียน เพื่อให้รับสัมผัสกับบาทต้น
เทียมกระบือชำเนียน แนบขู้ (วร. ๒๓)

ชีพิต

ชีวิต

ชุลิต

ตัดมาจาก อัญชลิต แปลว่า ไหว้แล้ว ประนมมือขึ้นแล้ว

เชี่ยน

ภาชนะสำหรับใส่หมากพลู

ซุน

เซไป คอตก

เซี่ยน

เสี้ยน เนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ปลายแหลม ในที่นี้ต้องการรูปวรรณยุกต์โท

เซียบ

เงียบเชียบ สงัด

เซี้ยม

เฟี้ยม ฝาที่ทำเป็นแผ่นๆ สำหรับกั้นเรือนเปิดออกได้
ฝากระจกเซี้ยมชั้น ฉากเขียน (สป. ๑๗๒)

เฌอ

ไม้ ต้นไม้

ดงราง

เริงราง เป็นชื่อตำบลหนึ่งในเขตจังหวัดสระบุรี

ดัก

ขวาง กั้น

ดัสกร

ศัตรู

ดามเฌอ

ต้นไม้ เดิม (ต้น) เขมรออกเสียงเป็น ดาม

ดาล

เกิดขึ้น มีขึ้น

ดำหนัก

ตำหนัก เรือนของเจ้านาย

ดำแหน่ง

ตำแหน่ง แห่ง ที่

ดิลกญาณ

ผู้มีญาณอันเลิศ ในที่นี้หมายถึง พระพุทธเจ้า

ดุษฎี

ความชื่นชม ความยินดี

ดูร

อาดูร เดือดร้อน ทุกข์กายทุกข์ใจ

เดาะ

แตก ร้าว
เคียนด้วนใครเดาะต้น ตัดราน (สป. ๑๔๑)

แด

ใจ

แด่น

แดน ในที่นี้ต้องการรูปวรรณยุกต์เอก
จวนสุริยอัสดงดับ แด่นฟ้า (วร. ๕๔)

ตยาก

จาก จากไป เทียบการสร้างศัพท์ระหว่า ตยาค ในภาษาสันสกฤตเป็น จาค ในภาษาบาลี

ตรวัน

ตะวัน ดวงอาทิตย์

ตรุณ

ดรุณ เด็ก อ่อน
ตรวจตรุณนักเรียนการ กิจราช (สป. ๑๙๘)

ตรู

งาม บางครั้งแผลงเป็น ดำรู

ตฤณชาติ

หญ้า

ตีรา

ตีร ฝั่ง ฝั่งนํ้า
ทองหลางรายเรียดตั้ง ตีรา รอบเอย (สป. ๙๓)

ตึกพเนก

นํ้าตา มาจากคำภาษาเขมร ทึก (นํ้า) ออกเสียงเป็น ตึกพแนก (ตา)
สบจักษุเสกเตือน ตึกพเนก นองแฮ (วร. ๑๑๑)

เต้า

ไป

เตียร

ฝั่ง ฝั่งน้ำ แผลงจาก ตีร

โตย

น้ำ โตยเตียร หมายถึง ฝั่งนํ้า

ถัน

นม

ถั่น

เป็นลำดับ เป็นหลั่นๆ

ถฤก

หมายถึง ถึก อันเป็นนามเดิมของหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ผู้ประพันธ์เรื่องนี้

เถกิง

รุ่งเรือง สูงศักดิ์

เถิน

ที่ดอน ที่สูง

แถก

กางออก แหวกออก

ทงุ่ม

ตะคุ่ม ฯ เห็นไม่ชัด
เห็นทงุ่มแพร้วแพร้ว พรั่งพราย (สป. ๗๑)

ทวิบท

สัตว์สองเท้า

ทวัด

วัด ตวัดขึ้นไป แปลงศัพท์เป็น ทวัด เพื่อเล่นคำให้รับกับคำที่ตามมา
ทอดทวัดทวัยกร กรรดึก (สป. ๑๔๔)

ทวัย

ทั้งสอง จากศัพท์ ทวิ แปลงสระอิเป็น ย
ทวัยกร หมายถึง มือทั้งสอง

ทวัยเนตร

ตาทั้งสอง

ทศนัข

นิ้วทั้งสิบ

ทอน

ตัด ทำให้เป็นส่วนน้อย
แม่จักนับเดือนทอน ทุกคํ่า คืนเฮย (วร. ๗๒)

ทันต์

ฟัน

ทานพ

อสูรจำพวกหนึ่ง

ทาเรศ

เมีย ภรรยา ทาร (ภรรยา) + _ิ ศ (เข้าลิลิต)

ทิฆัมพร์

ทิฆัมพร ท้องฟ้า
เชิงทิฆัมพร์เสกสี แสดย้อม (สป. ๖๕)

ทุมา

ทุม ต้นไม้

ทุเมศ

ต้นไม้ ทุม + _ิ ศ (เข้าลิลิต)

ทุมาลย์

ดอกไม้ ตัดศัพท์จาก ทุมามาลย์

ทุรพล

อ่อนแอ มีกำลังน้อย

ทุรัศ

ลำบาก ยาก ทุร + (เข้าลิลิต)

เทา

ไป

เทิ้ม

อาการสั่น

แทตย์

อสูรจำพวกหนึ่ง

โท

สอง ทั้งสอง
โททุกข์โทซ้ำช้ำ ชอกใจ (สป. ๑๒)

ธรณินทร์

ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดิน

ธรรมุเทศ

ชี้ทางธรรม ธรรม + อุเทศ

ธรรโมทย์

ธรรมที่สูงขึ้น ธรรม + อุทัย

ธาตรี

โลก แผ่นดิน

ธิปัติ

ผู้เป็นใหญ่ ตัดศัพท์จาก อธิปัติ

นนทการ

ความยินดี การยินดี

นพคุณ

ทองเนื้อเก้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นพคุณเก้าน้ำ

นฤบพิตร

นรบพิตร ใช้ในความหมายว่า พระองค์เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์

นัที

นที นํ้า

นาด

ทอดแขนให้อ่อนงาม

นาภิศ

สะดือ หน้าห้อง นาภิ + (เข้าลิลิต)

นิทร

หลับ นอน

เนา

อยู่

บง

มองดู แลดู

บ่ง

เท้าความถึง
บ่งบงจันทร์ใช่หน้า นวลจันทร์ พี่เฮย (วร. ๒๐๓)

บงกชเรณู

ละอองบาท บงกช แปลตามรูปศัพท์ว่าเกิดแต่โคลน หมายถึงดอกบัว ในที่นี้ใช้ในความหมายว่าพระบาทของพระมหากษัตริย์

บด

บัง
โอจวนสุริเยศเยื้อง ยาตรบด บ่ายแฮ (วร. ๒๒)

บรภพ

ภพอื่น โลกอื่น

บรรจฐรณ์

ที่นอน เครื่องปูลาด

บรรจวบ

ประจวบ พบ ปะ ประสบ

บรรณ

ใบ ใบไม้

บรรพ์

ก่อน เบื้องต้น
โทมทุกข์ฉุกเฉินบรรพ์ บอกบ้าง (สป. ๑๘๐)

บรรพตา

บรรพต ภูเขา

บังอร

สิ่งที่ทำให้เกิดความยินดี ใช้ในความหมายว่า หญิงที่รัก
อร ภาษาเขมรแปลว่า ยินดี เติม บํ หน้าศัพท์เป็น บํอร ไทยใช้ว่า บังอร

บัติ

เกิดขึ้น มีขึ้น

บัตร

ใบไม้

บำราศ

ปราศจาก ไม่มี จากไป

บุญนิธี

ขุมทรัพย์คือบุญ

บุษป์

ดอกไม้

บูรเพ

แต่กาลก่อน

เบิก

เปิด

เบือน

หันไป

โบรินทร์

เมืองที่ยิ่งใหญ่ โบร (บุร) + อินทร์

โบสถ

โบสถ์ ตัดศัพท์จาก อุโบสถ

ปทีป

ประทีป โคม ตะเกียง ดวงไฟ

ประ

พรม
อำนาจรัชละอองปราย ประเกล้า (สป. ๑๐๘)

ประกายพรึก

ดาวดวงหนึ่งขึ้นเวลาใกล้รุ่ง
พรึก เป็นคำเขมรแปลว่า เช้า ใกล้รุ่ง

ประงอน

งอน ชดช้อย เติม ประ หน้าศัพท์เช่นเดียวกับคำว่า จวบ เป็น ประจวบ สบ เป็น ประสบ

ประทิ่น

หอม เครื่องหอม

ประเทิง

บันเทิง รื่นเริง ยินดี

ประเทิด

เทิด ชูไว้ ยกไว้ เติม ประ หน้าศัพท์เป็น ประเทิด

ประเล่ห์

เหมือน ประหนึ่ง

ประสาธน์

ทำให้สำเร็จ
มีประสาธน์จิตสนอง นอบเกล้า (วร. ๒๑๖)

ประหวัด

หวนคิดถึง

ปรถพิน ปรัถพิน
ปรัถพี

แผ่นดิน

ปริตยาค

บริจาค การให้ การสละ

ปริยาย

แบบอย่าง แนวทาง

ปราง

แก้ม

ปฤษฎางค์

หลัง เบื้องหลัง ปฤษฎ + องค์

ปละ

ละทิ้ง ปล่อย
คาบนี้เรียมปละเปลื้อง ปลิดใจ มาเอย (วร. ๑๙๓)

ปลง

เอาลง

ปลานนท์

ชื่อปลาใหญ่ชนิดหนึ่งในไตรภูมิ

ปล้ำ

พยายามอย่างเต็มกำลัง

ปลี้

ว่าง มักใช้คู่กับคำว่า เปล่า
ละนุชนิทรบ้านปลี้ เปล่าทรง (สป. ๑๗๖)

ป่าง

ปาง เมื่อ ขณะเมื่อ

ปาต

ตก
สุริยจากโลกไป ปาตกลับ คืนแฮ (วร. ๖๑)

ปิ้ม

เกือบจะ จวนจะ

โป่ง

ผีจำพวกหนึ่งอยู่ตามดินโป่งในป่า
โป่งกู่เสนาะก้อง โกลา (วร. ๑๖๘)

ผลู

ทาง

ผอืด

กระอืด ร่ำไห้ ในที่นี้แปลงศัพท์เป็น ผอืด เพื่อเล่นเสียงสัมผัสในกับ ผโอน ซึ่งอยู่ข้างหน้า
โอบผโอนผอืดสม สั่งห้อง (สป.๖)

ผโอน

น้อง เขมรใช้ ผอูน แต่ออกเสียงเป็น ผโอน

เผด็จ

ตัด ทำให้ขาด

เผดิม

เริ่มต้น

เผือด

สลด จางลง

ฝ 

เฝือ

ยุ่งเหยิง เรื้อ
ทรวงพี่ฟกเฝือยาม ตยากเจ้า (สป. ๑๒๑)

พน พนานต์

ป่า

พรู

กรูกันไป เคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กันจำนวนมาก

พฤทธ

ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า

พ่วย

ผ้าผวย ผ้าห่มนอน
หนาวจะห่มแต่ผ้า พ่วยมุ้งหมอนหนุน (วร. ๒๐๔)

พันตา

พระอินทร์ แปลศัพท์จาก สหัสนัยน์

พากย์

ถ้อยคำ คำพูด

พาย

ลม จากศัพท์ วาย

พาระโดก

โพระดก นกชนิดหนึ่ง
กระตั้วกระเต็นพา ระโดกกู่ คู่เฮย (วร. ๕๑)

พาหา

แขน

พาเหียร

ภายนอก ข้างนอก

พาฬ พาฬ์

สัตว์ร้าย พาฬพยัคฆ์ สัตว์ร้ายได้แก่ เสือ

พาฬมฤค

สัตว์ร้าย สัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร

พิถาร

กว้างขวาง มากมาย ตัดศัพท์จาก วิตถาร

พิถี

วิถี หนทาง

พิปลาป

วิปลาป พร่ำเพ้อ รำพันถึง

พิพิธ

ต่างๆ
พิพิธรูปอันสฤษดิ์ สมภพ เพ็ญแฮ (วร. ๒๑๗)

พิโยค

พลัดพราก จากไป

พิริยภาพ

ความเพียร ความองอาจ

พิลาป

ครํ่าครวญ รำพัน

พิหค

วิหค ผู้ไปในท้องฟ้า หมายถึง นก

พุทธวลัญชา

เครื่องหมายของพระพุทธเจ้า พุทธ (พระพุทธเจ้า) + วลัญช (เครื่องหมาย) ในที่นี้หมายถึงรอยพระพุทธบาท

พู้น

โน้น โพ้น ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า พ้น เกิน
สุขยิ่งสุขเพิ่มซ้อน สวัสดิพู้นพรรณนา (วร. ๑๔)

เพ็ญ

เต็ม

เพรง

ก่อน ปางก่อน

เพท

เวท มนตร์

เพหา

เวหา ท้องฟ้า

เพิก

ถอนออก เปิดออก

โพยม

ท้องฟ้า

ไพชยันต

เวชยันต เป็นชื่อวิมานและชื่อรถทรงของพระอินทร์ ในที่นี้หมายถึง รถของพระอาทิตย์
ไพชยันตสุริยลี ลับแล้ว (สป. ๑๙๐)

ไพรุบัติ

น่าจะตัดศัพท์จาก ไพรู (งาม รุ่งเรือง) + อุบัติ (เกิดขึ้น มีขึ้น)
เผด็จไพรุบัติพา เหียรห่าง ยิ่งแฮ (วร. ๘๔)

ไพหารุโบสถ

โบสถ์วิหาร ไพหาร + อุโบสถ

ฟื้น

พลิกกลับขึ้นมา

เฟือน

เลือน ฟั่นเฟือน

ภักษ์

อาหาร

ภินทนา

แตกออก ทำลาย

ภิวันท์ ภิวาท

การกราบ การไหว้ ตัดศัพท์จาก อภิวันท์ อภิวาท

ภูวนาถ

ที่พึ่งของแผ่นดิน หมายถึง พระราชา

มนินทรีย์

รู้สึกได้ด้วยใจ มน (ใจ) + อินทรีย์ (ความรู้สึก)

มยุเรศ

นกยูง

มรรคันดร

ระหว่างทาง มรรค (ทาง) + อันตร (ระหว่าง)

มรรคาคม

ไปตามทาง มรรค (ทาง) + อาคม (ไป)

มลัก

เห็น

มลาว

ลาว

มหินทราธิคุณ

คุณอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ มหา + อินทร + อธิ + คุณ

มอด

ดับ สิ้น ตาย

ม่อย

เป็นทุกข์ อยู่ในอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น

มาโนช

เกิดจากใจ หมายถึง ความรัก

มาโนชญ์

งามเป็นที่พอใจ

มารุต

ลม

มาเลิศ มาเลศ

 พวงดอกไม้ มาลา + _ิ ศ (เข้าลิลิต)

มารค

ทาง หนทาง

ม่าห์

ผี ปีศาจ

มาพัก

ประรำพิธี โรงพิธี

มินมางส์

เนื้อปลา มีน (ปลา) + มางส (เนื้อ)

เมฆิน

เมฆ มีเมฆ

เมธ

ความรอบรู้ ความฉลาด ในที่นี้หมายถึง นักปราชญ์
มวลกระวีหมู่เมธทั้ง ทวยหลาย (วร. ๒๕๐)

เมิล

ดู มอง

แมก

คำนี้ในภาษาเขมรแปลว่า กิ่ง เช่นแมกเฌอ หมายถึง กิ่งไม้ ในที่นี้หมายถึง แฝงอยู่ บังอยู่
เคยแม่แมกม่านไข คอยพี่ (สป. ๕๐)

เมื้อ

ครั้ง ขณะ เมื่อ
อกเอยอกจากเมื้อ ใดกลับ เล่านา (วร. ๑๗)

โมกข์

ความหลุดพ้น

ยั่น

กลัว เกรง ครั่นคร้าม

ยาตร

เดิน

ยุคล ยุคล์

คู่ ทั้งสอง

ยุพนารี

หญิงผู้อ่อนเยาว์ สาวรุ่น

ยุรยาตร

เดินไปอย่างงาม ตัดศัพท์จาก มยุรยาตร

ยูร

คำนี้ในภาษาเขมรแปลว่า นาน ไกล
เกรงโขมดจักพายูร ยั่วเหล้น (วร. ๕๕)

เยาเยา

เหย่าเหย่า อาการเดินอย่างรีบร้อน
จำย่างยกเยาเยา ยาบย้าย (วร. ๙๓)

เยีย

ทำ

ไย้

ย้าย เปลี่ยนที่
ต้นตลาดรื้อไย้ อยู่ไหน (สป. ๕๔)

รจนรุจิต

ตกแต่งแล้วอย่างงาม รจน (แต่ง) + รุจิ (งาม รุ่งเรือง) + (แล้ว)

รวก

ไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง
หลาวรวกสิบแสนเท แทงอก พี่ฮา (วร. ๒๗)

รพิศ รวิ

รวิ รวี ดวงอาทิตย์ รพิ + (เข้าลิลิต)

รหัส

ความลับ ในที่นี้หมายถึง เข้าใจ ชำนาญในการใช้เกวียน
นายขับชำนาญรู้ รหัสใช้เชิงเกวียน (วร. ๒๕)

ระลวง ระลุง

เป็นทุกข์ถึง ห่วงถึง

ระเหิด

สูง พ้น
หัวหินระเหิดเหิน เห็นหาด เปล่าเฮย (สป. ๑๖๓)

ระหก

ด้นดั้นไปด้วยความลำบาก ตัดจากศัพท์ ระหกระเหิน

รัช

ความเป็นพระราชา
อำนาจรัชละอองปราย ประเกล้า (สป. ๑๐๘)

รัชนีกร

ดวงจันทร์ รัชนี (เวลากลางคืน) + กร (มือ ผู้กระทำ)

รัน

ตี
แตดุจค้อนฆ้องซ้ำ ซัดรัน (สป. ๑๐๐)

ราค

ความกำหนัดยินดี

ริปู

ฝ่ายตรงข้าม ข้าศึก

รื้อ

เรื้อ รกร้าง
สูงตลอดตลิ่งรา รุกข์เรื้อ (สป. ๑๖๖)

รุกข์

ต้นไม้

เรณู

ละออง ละอองเกสรดอกไม้

เริ้ม

เริ่ม ตั้งต้น แรกทำ
อร่อยเมื่อหิวเทิ้มเริ้ม รสมี (สป. ๑๘๙)

เริศ

เริศร้าง ละเลย ห่างเหิน
นับเริศทุเรศหน ทางจาก (สป. ๓๘)

เรียด

เรียงรายเป็นแถว
ทองหลางรายเรียดตั้ง ตีรา รอบเอย (สป. ๙๓)

โรจี

รุจี รูจี ความงาม ความรุ่งเรือง

โรม

เส้นขน
แสยงสยดโรมสยอง เยือกสะท้าน (วร. ๑๖๗)

ฤ 

ฤแด

ฤดี ใจ
เรียมเดียวฤแดเขิน ขวยจิต (วร. ๔๙)

ลดา

ไม้เลื้อย เถาเครือ

ลาง

เครื่องหมายบอกเหตุร้ายหรือดี
แต่เดียวอยู่เรือนลาง เห็นเหตุ เลยแม่ (วร. ๔๔)

ลาชุตม์

ข้าวตอก ลาช (ข้าวตอก) + อุตม (สูงสุด) หมายถึง ข้าวตอกที่ใช้เป็นเครื่องบูชา
มาเลศลาชุตม์พร้อม สะพรักถ้วนสิ่งสการ (วร. ๒๑๓)

ลาญ

แหลก ทำลาย

ลายลักษณ

ในที่นี้หมายถึง ลายลักษณ์ รูปมงคล ๑๐๘ ที่ปรากฏในรอยพระพุทธบาท
ลายลักษณพิจิตร เจิดแจ้ง (วร. ๒๑๗)

ลำโหก

โหก ระหว่าง โงกหลับ
กรรโหยลำโหกไห้ หวนถวิล (สป.๖)

ลี

ไป
แลตะลึงคุ้งเลี้ยว ลับลี (สป. ๘๔)

ลุ้ง

ภาชนะใส่ของชนิดหนึ่งมีฝาปิด
บ้านยางยางบ่วงลุ้ง รองหลุม (สป. ๑๗๔)
ลุ้ง ในที่นี้น่าจะหมายถึง ภาชนะสำหรับรองน้ำมันที่ได้จากต้นยาง

เลอ

เหนือ ข้างบน

เลา

พอเป็นเค้า ในที่นี้น่าจะหมายถึง เล่า ที่ใช้ในความหมายว่าทำซ้ำๆ เช่น บอกแล้วบอกเล่า
เคยผจงกรเกยเลา ไหล่แล้ (สป. ๑๕๔)

โล้

วิธีแจวเรืออย่างหนึ่ง
เรือติดต้องลงลุย เลื่อนโล้ (สป. ๑๖๗)

โลกุตมางค

องค์ที่สูงสุดในโลก ในที่นี้หมายถึง พระรัตนตรัย

ฦๅ

ลือ เลื่องลือ

วรรณโรค

โรคฝีในท้อง

วลัญชบาท

รอยเท้า ในที่นี้หมายถึง รอยพระพุทธบาท
เล็งวลัญชบาทเบื้อง บทมาลย์ (วร. ๒๑๕)

วลีพฤกษ์

แถวไม้ ทิวไม้

วัดทองปุ

หมายถึง วัดตองปุ นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา

วันทนา

การเคารพ กราบไหว้

วัส

น่าจะมาจาก วสฺ ในภาษาสันสกฤตที่แปลว่า อยู่ อาศัยอยู่
อีกพาฬมฤคในพนา เวศวัส นี้ฤๅ (วร. ๑๖๑)

วาก

เปล่า ว้าเหว่ หาย
ยอต่อยออย่าเว้น วากไว้ระวังยอ (วร. ๑๘๔)

วาโย

ลม

วาเรศ

น้ำ วาริ + (เข้าลิลิต)

วาส

การอยู่ ที่อยู่
นิทรร่วมภิรมย์หวัง วาสชู้ (วร. ๖๒)

วิทยาธเรนทร์

ผู้เป็นใหญ่ในหมู่วิทยาธร วิทยาธร + อินทร์

วิวิธมาลี

โคลงดั้นอย่างหนึ่ง

เวหาศ

ท้องฟ้า เวหา + ศ (เข้าลิลิต)

ศราพก

สาวก ศิษย์ ผู้สดับคำสอน

ศรีอโยทธยา

ศรีอยุธยา ในที่นี้หมายรวมถึงกรุงรัตนโกสินทร์และราชอาณาจักรสยาม

ศศิ

กระต่าย ในที่นี้หมายถึง พระจันทร์ ตัดศัพท์จาก ศศิธร

ศัพท ศัพท์

เสียง

ศิขรินทร์

จอมเขา เขาใหญ่ ศิขร + อินทร์

ศีรวรุตมงค

ส่วนที่สูงสุดของศีรษะคือ กระหม่อม
ศีร + วร + อุตม + องค์

ศีรุตมเพฐน์

กระหม่อม ส่วนสูงที่สุดของศีรษะ ศีร (หัว) + อุตม (สูงสุด) + เวฐน (ผ้าโพก)

สกนธ์

ร่างกาย ส่วนของร่างกาย

สการ

เคารพบูชา ตัดศัพท์จาก สักการ

สกุณ สกุณ สกุณี

นก

สกูล

โรงเรียน จากศัพท์  School ในภาษาอังกฤษ
ลาจากสกูลผัน กลับบ้าน (สป. ๑๙๙)

สถล

บก ทางบก

สนัด

ถนัด สันทัด มั่นเหมาะ

สะพรัก

พร้อม
ปวงเพื่อนสะพรักพร้อม พรูเดิน (วร. ๔๙)

สมพาส

การอยู่ร่วม

สมภพ

การเกิด

สมภาร

บุญที่สร้างสมไว้

สยุ่น

อ่อนนุ่มคืนตัวได้
สองยอดสยุ่นยอน ยันอก อุ่นแม่ (สป. ๑๖๒)

สฤทธิ

สิทธิ ความสำเร็จ
ศรีสฤทธิสมภพ นบทศนัขชุลี (วร. ร่าย)

สฤษฎิ์ สฤษดิ์

การสร้าง การทำ

สลา

หมาก

สลึก

ใบ แผ่น
ตฤณชาติเฉกลน เพลิงสลด สลึกแฮ (วร. ๓๗)

สวาดิ

รักใคร่ ยินดี

สะทึก

อาการใจเต้น

สังกาศ

เปรียบเหมือน คล้าย

สันโดษ

ในที่นี้น่าจะมีความหมายว่า โดดเดี่ยว ลำพัง
บ้านสฎางค์สันโดษโอ้ อกกรม (สป. ๑๔๙)

สาคเรศ

แม่น้ำ ห้วงน้ำ

สานต์

สันต์ เงียบ สงบ

สารณีย์

สาราณีย เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง
บำบวงพุทธบาทแสร้ สารณีย์ (วร. ๒๓๒)

สาเรศ

สาร ถ้อยคำ เนื้อความ
จักสั่งสาเรศสร้อย สกุณี (สป. ๑๗๙)

สาโรช

เกิดแต่สระ หมายถึง บัว

ส่ำ

หมู่ เหล่า

สำเหนียก

จดจำ กำหนด

สิบหกชั้นฟ้า

โสฬสพรหม หรือรูปภูมิพรหม ๑๖ ชั้น

สุคนธ์ สุคันธ์

กลิ่นหอม

สุโนก

นก

สุนทโรดม

งามยิ่ง ดียิ่ง สุนทร + อุดม

สุพรรณมาลย์

ดอกไม้ทอง

สุร

เสียง
อึงเอ็ดสุรคะนอง เพลงเกริ่น เกรียวแฮ (วร. ๑๙๘)

สุรกาย

สัตว์พวกหนึ่งในอบายภูมิ ในที่นี้ตัดศัพท์จาก อสุรกาย

สุริเยนทรบท

ดวงอาทิตย์เคลื่อนไป

สุริเยศ สูริย์

ดวงอาทิตย์

เสก

เฉก เหมือน ประดุจ
บ่อเปี่ยมกระสินธุ์ใส เสกเนตร พี่นา (สป. ๑๒๒)
แผ่สุขเสกเทริดเกล้า ราษฎร์สิ้นแสนแกษม (วร. ๑๐)

เสขร

ภูเขา

เสนาะ

วังเวงใจ สลดใจ

เสาวณิต

สดับแล้ว ฟังแล้ว

แสร้

เซ็งแซ่ อื้ออึง

แสงสหัส

ดวงอาทิตย์ แปลงศัพท์จาก สหัสสรังสี

หก

ผันกลับไปมา
เกวียนก็มีกงหัน หกกลิ้ง (วร. ๒๖)

หบ

หุบ ระหว่าง ช่อง
พิจิตรประเจิดหาวหบ เห่อหล้า (วร. ๒๒๒)

หลาว

ไม้เสี้ยมแหลมเป็นอาวุธสำหรับแทง

หิโม

หิม ความหนาว ในที่นี้หมายถึง น้ำค้าง
เวหาศหิโมย้อย เยือกหญ้าเย็นสยอง (วร. ๒๐๖)

หื่น

ทะยานอยาก เหิมใจ
ปรางประทิ่นเคยหอม หื่นห้อง (วร. ๑๓๑)

เหมุทก

น้ำค้าง เหม + อุทก

เหิน

ห่าง ไกล
เรียมเหินสวาทเจ้า จรไกล (สป. ๔๑)

เหน่อ

ห่างไป เพี้ยนไป
ลมจะแผ่วผิวหนี เหน่อเนื้อ (สป. ๘๐)

เหนอะ

เหนอะหนะ
ตรอมกระมลกรมหนอง เหนอะเนื้อ (สป. ๓๙)

เหลินเหล้อ

เลินเล่อ ไม่ระวัง ไม่รอบคอบ ในที่นี้ต้องการรูปวรรณยุกต์โท
ใจอย่าเหลินเหล้อให้ ห่างคำ (สป. ๑๖๑)

แห

ห่าง

แหน

ระวัง หวง
เหินห่างแหนด้วยน้อง หนึ่งเนา (สป. ๑๕)

โหก

ระหว่าง โงกหลับ
จะสะอื้นก้องห้อง โหกใจ (สป. ๔๗)

โหยหน

โหยหวน คร่ำครวญถึงตลอดเวลา

ไห้

ร้องไห้

อกนิษฐ์

รูปภูมิพรหมชั้นสูงสุดใน ๑๖ ชั้น

อธิษฐานุเทศ

ชี้แจงด้วยการตั้งจิตปรารถนา อธิษฐาน + อุเทศ

อธึก

ยิ่ง มาก

อนุสร์

ความคิดคำนึงถึง

อมรเมศ

เทวดา

อมิตร

ศัตรู ฝ่ายตรงข้าม

อริยสงฆ์

สงฆ์ผู้บรรลุภูมิธรรมเป็นพระอริยบุคคล

อวย

ให้

อโยธย์

อยุธยา

อสงไขย

นับไม่ได้ นับไม่ถ้วน

อัตถ์

เนื้อความ ความประสงค์

อัษฎาริย

พระอริยบุคคล ๘ จำพวก คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค และอรหัตผล

อัษฎงคเพไนย

ผู้ควรได้รับการสั่งสอน อันได้แก่พระอริยบุคคล ๘ จำพวก อัษฎา + องค์ + เวไนย

อัสดง อัสดงค์

ตกไป เช่น อาทิตย์อัสดง หมายถึง ดวงอาทิตย์ตก

อัสสุธาไร

น้ำตา

อางขนาง

ขวยเขิน อายใจ

อาตม

ตนเอง ตัวเอง

อาธวา

ทุกข์ ลำบาก เป็นทุกข์เพราะการพลัดพราก
อาสูรสายสวาดิโอ้ อาทวา (สป. ๑๓)
วังเวงสวาดิโอ้ อาทวา (วร. ๙๕)

อาภา

รัศมี แสง

อารญ

อารัญ ป่า

อาลิงค

กอด โอบกอด

อาสูร

เอ็นดู สงสาร

อิพภ์

อิพภ มั่งคั่ง มีเป็นจำนวนมาก
กล้วยไม้อังกาบอ้อย อิพภ์ไพร (วร. ๑๐๙)
ถนัดรอยอิพภ์กลางดง ดูดื่น ทางแฮ (วร. ๑๗๗)

อิศวเรศ

ผู้เป็นใหญ่ อิศวร + _ิ ศ

อุโฆษ

กึกก้อง

อุณรุท

ตัวเอกในละครเรื่องอุณรุท

อุทก

น้ำ

อุเทศ

การชี้แจง การแนะนำ

อุรภาค

อก หน้าอก

เอกา เอ้กา

โดดเดี่ยว ลำพัง

เอมโอช

รสอร่อย รสหวาน

เอาทาร

สูงส่ง ยิ่งใหญ่
จิตประเทิงทัศนเอื้อ เอาทาร (วร. ๒๒๔)

แอก

ไม้ที่วางพาดบนคอวัวหรือควายเทียมคู่ให้ลากเกวียน

โอฆ

ห้วง
บงโอฆอากาศล้วน ลมบน (สป. ๑๓๓)

โอฆีย์คต

การไปถึงฝั่งที่พ้นจากโอฆสงสาร คือ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

โอฬาริก

ใหญ่โตยิ่ง

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ