ประวัติ หลวงชำนาญธนสาธน์
หลวงชำนาญธนสาธน์ ( กรี คชนันทน์) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนสาม ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พระพุทธศักราช ๒๔๒๘ เป็นบุตรชายคนโต ของ พระยาธัญญาภิบาล (เกรียว คชนันทน์) และ คุณหญิงตาด ธัญญาภิบาล เป็นมารดา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ประกอบการสมรสกับ เพื่อม. บุตรีพระยาเกษตรรักษา (ช่วง) มีบุตรและธิดาโดยลำดับ ดั่งต่อไปนี้
๑ น. ส. เกียรติ์ คชนันทน์
๒ น. ส. ประกอบ คชนันทน์
๓ ช. กิ่ง คชนันทน์
๔ ช. เล็ก คชนันทน์
๕ น. ส. กระแสร์ คชนันทน์
๖ ช. กระสินธุ์ คชนันทน์
๗ ด. ญ. กระสวย คชนันทน์
๘ ด. ญ. เกษมสุข คชนันทน์
๙ ด. ญ. ประสพสาร คชนันทน์
๑๐ ด. ญ. กนกศรี คชนันทน์
๑๑ ด. ญ.กมลศรี คชนันทน์
หลวงชำนาญธนสาธน์ ได้เคยรับราชการมาโดยลำดับดั่งนี้ (๑) เมื่อ พ. ศ.๒๔๔๘ จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๒ เป็นเสมียนกองข้าหลวงเกษตร มีเงินเดือนตั้งแต่เดือนละ ๒๐ บาท ถึง ๖๘ บาท แล้วลาออกจากราชการคราวหนึ่ง ( ๒ ) ครั้นเมื่อ พ. ศ. ๒๔๕๓ ได้กลับเข้ารับราชการอีก คือเป็นเสมียนอยู่ในกรมอำเภอ กระทรวงนครบาล รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๐ บาท (๓) พ.ศ. ๒๔๕๔ เลื่อนขึ้นเป็นนายเวร เงินเดือนเดือนละ ๗๕ บาท (๔) พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นมหาดเล็กรายงาน เงินเดือนเดือนละ ๘๐ บาท (๕) พ.ศ. ๒๔๖๐ จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นนายเวรอยู่ในกระทรวงมหาดไทยตลอดมา ได้รับพระราชทานเงินเดือนตั้งแต่เดือนละ ๘๔ บาท จนถึง ๒๐๐ บาท คครั้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทางราชการได้ยุบตำแหน่ง หลวงชำนาญธนสาธน์จึงได้พ้นจากราชการ โดยได้รับพระราชทานเบี้ยบำนาญแต่นั้นมา
ในระหว่างที่หลวงชำนาญธนสาธน์ได้รับราชการมาด้วยความพากเพียรชื่อสัตย์สุจริตนี้ ทางราชการได้ปูนบำเหน็จให้ คือ-
(๑) พ.ศ. ๒๔๕๙ | ได้รับยศเป็นรองอำมาตย์ตรี |
(๒) พ.ศ. ๒๔๖๓ | ได้เลื่อนยศเป็นรองอำมาตย์โท |
(๓) พ.ศ. ๒๔๗๑ | ได้เลื่อนยศเป็นรองอำมาตย์เอก |
(๔) พ.ศ. ๒๔๕๙ | ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนชำนาญธนสาธน์ |
(๕) พ.ศ. ๒๔๖๕ | ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงชำนาญธนสาธน์ |
(๖) พ.ศ. ๒๔๖๑ | ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎสยาม |
(๗) พ.ศ. ๒๔๗๒ | ได้รับพระราชทานเบญจมาภรณ์ช้างเผือก |
(๘) พ.ศ. ๒๔๕๕ และ พ.ศ. ๒๔๖๘ | ได้รับพระราชทานเหรียญบรมราชาภิเศก ทั้ง ๒ รัชชกาล |
หลังจากเมื่อออกจากราชการแล้ว หลวงชำนาญธนสาธน์กับภรรยาก็ได้ประกอบการอาชีพในทางค้าขาย โดยฉะเพาะภรรยามีความสามารถในทางเป็นแพทย์แผนโบราณอีกด้วย ฉะนั้น การปกติสุขในครอบครวจึงนับว่าครองตัวมาได้เป็นอย่างดี ครั้นเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ.นี้ หลวงชำนาญธนสาธน์ได้เริ่มป่วยด้วยโรคโลหิตดันสูง แม้จะได้พยายามรักษากันอย่างเข้มแข็งแล้วก็ดี อาการก็มีแต่ทรงกับทรุดตลอดมา จนถึงวันที่ ๔ กันยายน พ. ศ. ๒๔๘๑ หลวงชำนาญธนสาธน์ จึ่งถึงแก่มรณะกรรมโดยความสงบ
หลวงชำนาญธนสาธน์ผู้นี้ ได้เกิดมาในสกูลที่สูง เป็นเชื้อชาติทหาร กรมพระคชบาล เมื่อ พ. ศ. ๒๔๓๕ ขณะที่หลวงชำนาญ ฯ ยังอยูในวัยเด็ก ท่านบิดาครั้งเป็น นายร้อยโท หลวงอินทรคชลักษณ์ นายทหารกรมพระคชบาล ไปราชการทัพ ณเมืองพระตะบอง หลวงชำนาญฯ ก็ได้ไปกับท่านบิดาด้วย ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ เสร็จราชการทัพแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านบิดาหลวงชำนาญฯ คือ หลวงอินทรคชลักษณ์ เป็นผู้ว่าราชการเมืองนครนายก และโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักด์ เป็น พระยาพิบูลย์สงคราม. หลวงชำนาญฯ ก็ได้อยู่ร่วมกับท่านบิดาตลอดมา จนท่านย้ายจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองนครนายกไปเป็นข้าหลวงเกษตร และเปลี่ยนราชทินนาม เป็น พระยาธัญญาภิบาล หลวงชำนาญ ฯ จึงได้ออกรับราชการแต่นั้นมา.