พระนิพนธ์
โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส
พระนิพนธ์
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์
๏ ศรีสิทธิพิพิธสวัสดิ์ พิพัฒน์พูน
๑๏ อยุธยา |
ปางบรรพ์ |
รังริเติมต่อสรร | เก่าล้าง |
ส่ำแสนสิ่งทุกพรรณ | พูนเทียบ แลแฮ |
แลเลิศล้วนใหม่สร้าง | สะอาด |
๒๏ ปราการประกอบกั้น | คูคลอง |
ป้อมประตูเนืองนอง | เรียบร้อย |
ปราสาทประเสริฐสอง | สามสี่ ห้าเฮย |
ยอดละยอดหยาดย้อย | ก่อสร้างละองค์องค์ ๚ |
๓๏ ถนนปราบราบรี่นล้วน | วาลุกา |
ขับรถหัดอัศวา | ว่องใช้ |
ถั่นแถวตึกเตือนตา | ส่องสอด ดูเฮย |
มอบหมู่โปลิศให้ | ผลัดไว้เวรระวัง ๚ |
๔๏ รัถยาดาดาษด้วย | ชาวชน ชุมแฮ |
ชายป่วนหญิงปะปน | แซ่ซ้อง |
ต่างแช่มชื่นกมล |
เริงรื่น |
ดาลสุข |
แผกพ้นภัย |
๕๏ ในสถานนิเวศน์ไท้ | ธิบดินทร์ |
เพียงพิมานเมืองอินทร์ | เอี่ยมอ้าง |
สำราญราชประดิทิน | ทรงสถิตย์ นาพ่อ |
โดยรอบขอบยาวกว้าง | แวดด้วยกำแพง ๚ |
๖๏ มณเฑียรธิราชรั้ง | เรืองรอง |
แปลกเปลี่ยนแบบลบอง | ก่อนสร้าง |
มุขลดเลศลำยอง | ยลเยี่ยง ยุโรปเฮย |
โสดส่งทรงสูงสล่าง | หลากล้นหลายอง ๚ |
๗๏ โสภิตวิจิตรล้ำ | ลายบัน ปั้นนา |
พระจุฬาเอราวัณ |
ฉัตรตั้ง |
ราชสีห์คชสีห์ผัน | ผกเผ่น แลแฮ |
กลางอักษรซ้อนทั้ง | แวดล้อมวงลาย ๚ |
๘๏ ซุ้มแกลแลเลิศทั้ง | ซุ้มทวาร |
เสาเก็จดาวพิดาน | ประดิษฐปั้น |
ไม้ปุ่มปรับเป็นขดาน | ปูเลิศ ลายนา |
พื้นลดหลายหลั่นกั้น | แห่งห้องหับหน ๚ |
๙๏ เนื่องนองเอนกล้วน | อนงค์ใน |
แรกรุ่นจำเริญวัย |
ทุกผู้ |
แวดล้อมบรมไท | ธิราช แลฤา |
กิจประกอบรอบรู้ | เรียบร้อยเสมอสมาน ๚ |
๑๐๏ บำเรอบรมบาทเจ้า | จอมภพ |
ผลัดเปลี่ยนโมงยามครบ | ค่ำเช้า |
ห่อนเลี่ยงห่อนหลีกหลบ | ล้วนหมั่น |
อยู่แต่ตำแหน่งเฝ้า | ฝ่ายเบื้องบทศรี ๚ |
๑๑๏ ท้าวนางเถ้าแก่ทั้ง | พนักงาน |
พร้อมพรั่งนั่งคอยการ | ช่วงใช้ |
เหล่าโขลนจ่าชำนาญ | ไตรตรวจ วังเฮย |
ล้อมรักษาท่านไท้ | ธเรศเจ้าจอมเวียง ๚ |
๑๒๏ เสด็จเถลิงถวัลยราชรั้ง | ไอศวรรย์ |
โอภาส |
แจ่มฟ้า |
พระคุณอเนกนันต์ | ฤๅนับ ได้ฤๅ |
เย็นชื่นทุกทั่วหน้า | ร่มร้อนรอนเข็ญ ๚ |
๑๓๏ พระเสวยสวัสดิ์เลิศล้วน | มเหาฬาร |
พระเกียรติเกริกไพศาล | ทั่วหล้า |
พระเดชดั่งอวตาร | แต่ภาค เพรงพ่อ |
ราญอริราพณ์ |
แผกแพ้สยดสยอง ๚ |
๑๔๏ มวลหมู่อำมาตย์ข้า | ละออง |
เจ้าพระยาเสนาบดี | กลั่นแกล้ว |
อีก |
มากพระ หลวงเอย |
กิจกอบรอบรู้แล้ว | เลือกล้วนควรเฉลิม ๚ |
๑๕๏ ทวยหาญหาญฮึกห้าว | ขมงเขมง |
สวมสนอบกางเกง | แก๊บกั้ง |
กรกุมสินาด |
ดินลูก พร้อมพ่อ |
หลายหมู่หลายหมวดตั้ง | แต่งไว้แผลงผลาญ ๚ |
๑๖๏ อีกพวกรณยุทธเหี้ยม | เห็นแสยง |
ล้วนเหล่าขุนนางแสดง | เดชห้าว |
กุมปืนถะมัดถะแมง |
มั่นแม่น มือนา |
แหนแห่แด่จอมเจ้า | แวดล้อมขบวนหลัง ๚ |
๑๗๏ ไพบูลย์ราชทรัพย์ล้ำ | หลากหลาย |
สัปตรัตน์เพริศพรรณราย | อะเคื้อ |
นพมาศเกิดมากมาย |
มูลมั่ง คั่งเฮย |
พูนพระยศก่อเกื้อ | กอบให้พึงเห็น ๚ |
๑๘๏ เครื่องยุทธสรรพสิ่งถ้วน | สรรพา วุธเฮย |
ทั้งเครื่องพยุหยาตรา | ตรวจพร้อม |
สิบสี่หมู่ล้วนอาสา | ไวว่อง นาพ่อ |
โดยเสด็จแวดห้อม | อาจสู้สงคราม ๚ |
๑๙๏ มีคชพาหนะทั้ง | พังพลาย |
ตำแหน่งชื่อระวาง |
เลิศล้น |
อิกเหล่าอัศวราย | เรียงชื่อ ระวางนา |
เจ็ดหมู่มิ่งม้าต้น | แปลกพื้นเปลี่ยนพรรณ ๚ |
๒๐๏ ต้นพระวิมลรัตน |
กรินี หนึ่งเอย |
พระศรีเสวตรวรลักษณ์ |
ผ่องแผ้ว |
พระเสวตรสุวภา |
พรรณผุด ผาดแฮ |
พระเสวตรวรวรรณ |
กลั่นกล้ากลางสมร ๚ |
๒๑๏ ทรงดำรงสิริรัชด้วย | ทศพิธ |
ดำริห์กอบการกิจ | รอบรู้ |
บเพี้ยนบแผกผิด | ทางยุติ ธรรมนา |
พระกมลหมายกู้ | ก่อเกื้ออนุกูล ๚ |
๒๒๏ ผดุงพระประยูรญาติผู้ | ขัดสน |
อีกพวกเสวกตน | ต่ำต้อย |
ตลอดเหล่าประชาชน | จนยาก ยิ่งนา |
โปรดประทานเล็กน้อย | หนึ่งน้อยเนืองเนือง ๚ |
๒๓๏ บำเพ็ญทานอุทิศสร้าง | อาราม เอี่ยมฤๅ |
โบสถ์พิหารสี่ตาม | ทิศตั้ง |
กุฏิหมู่ประทานนาม | วัดราชบพิธ |
สถูปเลิศสถานตั้ง | ที่ล้อมระเบียงกลม ๚ |
๒๔๏ อีกทรงบริจาคให้ | ปฏิสัง ขรณ์แฮ |
วัดเก่าชำรุดพัง | ซ่อมค้าง |
พระศรีรัตนราชวัง | พุทธนิ เวศน์เฮย |
ราชประดิษฐบวรนิเวศน์บ้าง | กับทั้งวัดหนัง ๚ |
๒๕๏ ศิลปศาสตร์ |
ชำนาญ |
สรรพกิจกอบกลการ | ถี่ถ้วน |
จารีตขัตติยะ |
หลายหลาก แลนา |
ทรงทราบทุกสิ่งล้วน | ตริแล้วตรองตาม ๚ |
๒๖๏ ปรีชาชาญเชี่ยวแกล้ว | กล่าวกลอน |
ครโลงกาพย์กลละคร |
ขับร้อง |
ฉันทพากย์อีกอักษร | ล้วนเลข แลแฮ |
ไทยนับไทยหลงต้อง | สูตรทั้งถอดแถลง ๚ |
๒๗๏ การณรงค์ดำรัสให้ | เรียนครบ |
ซ้อมหัดจัดเจนจบ | สิ่งถ้วน |
เชิงม้าร่าเริงรบ | เร็วว่อง ไวนา |
ช้างศึกฝึกหัดล้วน | เลิศด้วยเพลงปืน ๚ |
๒๘๏ พระมีมาโนชด้วย | สวัสดี |
เติมต่อราชไมตรี | แผ่นผ้าน |
นานาประเทศมี | จิตรอ่อน ออกเอย |
ไป่ริรอต่อต้าน | ต่างค้ามาขาย ๚ |
๒๙๏ แม้เกิดก่อเหตุให้ | อนาทร |
ทรงตริตรองตัดรอน | ผ่อนแก้ |
แยกย้ายถ่ายเทถอน | กลบเกลื่อน |
เพื่อพระคุณยิ่งแท้ | กลับร้ายกลายดี ๚ |
๓๐๏ พระเสด็จประพาสด้าว | แดนชวา |
ประทับสิงคโปร์บุรา | ใหม่สร้าง |
ปัตเวีย |
รัง |
เมืองแขกใหญ่น้อยบ้าง | กลับเข้าคืนกรุง ๚ |
๓๑๏ ปัตเวียเมืองแขกขึ้น | ฮอลัน ดานา |
กาวะนาเยนรัน |
รอบรู้ |
รับเสด็จแน่นเนืองนันต์ | เฉลิมพระ เกียรติเฮย |
แหนแห่แด่พระผู้ | ร่มเกล้าชาวสยาม ๚ |
๓๒๏ ปางเสด็จครั้งนั้นเมื่อ | ดลปี มะเมีย |
เดือนสี่แรมดฤถี | ที่ห้า |
ศุกรวารอุดมดี | ฤกษ์ใหญ่ ยิ่งนา |
วันพระเจ้าจอมหล้า | เสด็จด้วยขบวนกล ๚ |
๓๓๏ กลับถึงที่นั่งเบื้อง | ชลสถาน |
จิตรมาส |
บอกไว้ |
เวลาบ่ายสี่โมงนาน | เศษน่อย หนึ่งนา |
แรมสิบเอ็ดค่ำได้ | เสด็จขึ้นจากเรือ ๚ |
๓๔๏ พระดำเนินอีกครั้งเมื่อ | ภายหลัง |
สิงคโปร์ปีนัง | ร่างกุ้ง |
โมระแมง |
กรกุตา |
ปากอ่าวตรงกลางคุ้ง | ทอดได้ถึงเมือง ๚ |
๓๕๏ เสด็จทางสถลมารคด้วย | รถกล ไฟนา |
ตรงตลอดเตลิดดล | แด่นนั้น |
ใกล้บรรพตหนึ่งยล | ยอดเยี่ยม เมฆแฮ |
ชื่อหิมาลัย |
ชื่อชี้หิมพานต์ ๚ |
๓๖๏ กลับลงแล้วแยกเลี้ยว | ทางจำ เพาะ |
อากะรา |
บอกแจ้ง |
ลักเนากับเมืองบำ | เบ |
ยังอีกเล็กน้อยแกล้ง | หยุดย้ายหลายเมือง ๚ |
๓๗๏ กลับลงนาเวศเบื้อง | กรกุตา |
แวะปุเก็จ |
ฟากนี้ |
เมืองไทรอีกสงขลา | เป็นสี่ เมืองพ่อ |
กลับคืนกรุงดั่งกี้ | ก่อนด้วยเรือกล ๚ |
๓๘๏ ทั้งนี้อังกฤษได้ | ว่าการ เมืองนา |
ไวสะรอย |
เชี่ยวแกล้ว |
เร่งรัดจัดทหาร | แหนบาท พระเอย |
สมพระเกียรติยศแล้ว | แวดล้อมระไวระวัง ๚ |
๓๙๏ บุษยมาสสุกรปักษ์ได้ | ดฤถี ห้านา |
โสรวารมะแม |
ศกถ้วน |
ฤกษ์ยี่สิบสองดี | ได้เศษ สี่พ่อ |
เสด็จพระดำเนินล้วน | เลิศแล้วเรือกล ๚ |
๔๐๏ กลับถึงกรุงเทพนั้น | วันเสาร์ |
เช้ากำหนดโมงเนา | ครบห้า |
เจตรมาสศุกร |
รบเจ็ด ค่ำแฮ |
วอกอยู่ตรีศกหน้า | เขตต้นศกเถลิง |
๔๑๏ สมเด็จบรมนาถ |
จอมสยาม ก่อนนา |
เสด็จนอกพระนครขาม | เศิกไส้ |
เกิดการราชสงคราม | จึ่งยก พยุห์เฮย |
ผิบ่นั้นห่อนได้ | ยาตรด้าวใดดล ๚ |
๔๒๏ พระเสด็จดุจเห็จห้อง | เวหา หนเฮย |
ปวงไป่มีพลคลา | คลาศเต้า |
เห็นมหัศจรรย์ปรา | กฏแก่ โลกแฮ |
ควรพระเกียรติพระเจ้า | คู่ฟ้าดินสูญ ๚ |
๔๓๏ ไพบูลย์พูนเกิดด้วย | บารมี พระนา |
ทรงประพฤติแต่ดี | ดับเศร้า |
เหล่าพราหมณ์ประชาชี | ชมชื่น |
ด้วยพระคุณปกเกล้า | กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงเสมอ ๚ |
๔๔๏ ต่างคนต่างแซ่ซ้อง | สรรเสริญ |
กรุงเทพเกิดจำเริญ | เฟื่องพื้น |
สร่างทุกข์สุขใจเพลิน | เปรมปริ่ม |
การนักเลงเครงครื้น | หุ่นงิ้วละครหนัง ๚ |
๔๕๏ ประชาชนบางผู้คิด | ค้าขาย |
บ้างคิดตะเกียกตะกาย |
รับจ้าง |
บางคนคิดขวนขวาย | การสิ่ง พนันนา |
บ้างก็คิดตั้งห้าง | รับเข้ากอมปนี |
๔๖๏ บรรเทิงเริงรื่นทั้ง | กรุงไกร |
บานกมลแจ่มใส | ทั่วด้าว |
แผกพ้นพวกพาลภัย | เบียนเบียด แลนา |
เกรงพระเดชแด่ท้าว | ราชไท้ทรงธรรม ๚ |
๔๗๏ พรรษกาลฝนหยาดย้อย | เยือกเย็น |
ชุ่มชุกทุกหนเห็น | ตกต้อง |
หว่านพืชปักดำเป็น | กอก่อ ผลเฮย |
เพื่อพรุณศาสตร์ซ้อง | หากให้ฤดูดี ๚ |
๔๘๏ เดือนห้าให้ตั้งราช | พิธีมี |
น้ำพระพัฒสัตย์วาที |
ทุกผู้ |
ในพระอุโบสถศรี | รัตนศาส ดานา |
พราหมณชาติโหรดารู้ | แช่งน้ำชุบพระแสง ๚ |
๔๙๏ พระประยูรญาติพร้อม | ในสถาน |
อีกเหล่าข้าราชการ | ทั่วหล้า |
พลเรือนฝ่ายทหาร | ต่างแต่ง ตนเฮย |
ยกนุ่งพื้นขาวผ้า | คาดเสื้อครุยทอง ๚ |
๕๐๏ ท้าวนางเถ้าแก่ทั้ง | เมียขุน นางเอย |
ต่างแต่งสาวตรุณ | ติดต้อย |
มีเครื่องยศอุดมหนุน | โอ่อ่า อวดแฮ |
กาหีบกล่องกระโถน |
นากบ้างทองมี ๚ |
๕๑๏ กำหนดสามค่ำขึ้น | เคยทุก ปีนา |
ธรรมเนียมดับยุคเข็ญ | ขาดแกล้ว |
สุจริตเจริญสุข | ศิริสวัสดิ์ นาพ่อ |
ทำสัตย์สำเร็จแล้ว | กราบเบื้องบทศรี ๚ |
๕๒๏ บ่ายลงพฤฒิบาศตั้ง | พิธีการ |
ชื่อคเชนทรัศว์สนาน | สาดน้ำ |
สงฆ์สวดปริตสถาน | ที่นั่ง สุทไธ |
เดินแห่คชลักษณ์ล้า | เลิศล้วนระวางมี |
๕๓๏ พฤฒิบาศอ่านเวทเบื้อง | คชกรรม |
ทอดเชือกสังเวยทำ | อย่างช้าง |
เปรียงปรายอีกทั้งรำ | แบบพัด ชาเฮย |
เช้าดุจกล่าวออกอ้าง | ผิดเพี้ยนเปลี่ยนดาม ๚ |
๕๔๏ บัดขุนตำรวจได้ | แจงจัด |
กรมคชผู้สันทัด | ถี่ถ้วน |
วางริ้วเรียบขบวนขนัด | เนืองเนก แลแฮ |
แห่พระคชเลิศล้วน | เผือกพื้นผ่องพรรณ ๚ |
๕๕๏ กาญจนฉัน |
ไอยรา หนึ่งเอย |
ทรงพระเทวกรรมคลา | คลาศต้น |
ช้างดั้งเนื่องแนวมา | ดาดาด |
แห่พระยาช้างล้น | เลิศล้วนควรชม ๚ |
๕๖๏ ที่หนึ่งพระวิมลรัตน์อ้าง | ออกนาม |
สองเสวตรสุวภาตาม | ยาตรย้าย |
สามเสวตรวรลักษณ์งาม | ขนานชื่อ พระแฮ |
สี่เสวตรวรวรรณผ้าย | พิศพื้นผ่านกมล ๚ |
๕๗๏ มีพังนำหน้าทุก | พระยาสาร |
ขับขี่ที่หมอควาญ | ครบช้าง |
ถัดมาพระคชาธาร | ที่นั่งละ คอเอย |
พังเชือกเดินคู่สล้าง | ลาสเต้าตามหลัง ๚ |
๕๘๏ ทวนธนูห้อยพู่ |
ประปราย |
อีกตะบองแซ่หวาย | แห่ห้อม |
กระชิง |
ธงอีก ฉานนา |
เครื่องยศกลองชนะพร้อม | ศัพท์แส้แตรสังข์ ๚ |
๕๙๏ กรมม้าจูงอัศวต้น | ดำเนิน แห่เอย |
ล้วนวิจิตรพิศพื้นเพลิน | เลิศล้ำ |
เขียวขาวผ่านแดงเดิน | ดำหมอก เหลืองนา |
ย่างเหยาะยกย่ำย้ำ | ย่อย้ายยืนโยน ๚ |
๖๐๏ ขุนหมื่นกรมม้าขี่ | ม้านำ แทรก |
กลองมลายูทำ | แฉ่งช้า |
เครื่องยศเครื่องแห่ประจำ | แห่อย่าง ช้างนา |
ยกแต่สังข์แตรจ้า | จำห้ามกลองมี ๚ |
๖๑๏ อีกรถอย่างยุโรปล้วน | แข็ง |
เครื่องเหล็กเหน็บติดดัน | ดีด |
สินธพเทศเทียมผัน | เผ่นผาด ผยองเอย |
คนขับขับปล่อยสิ้น | สุดเท้าเร็วจร ๚ |
๖๒๏ โคกระบือ |
แต่งตก |
เขาผูกนกแก้วแดง | โก่ง |
หลังผ้าวิลาศปก | ปิดค่าง คลุมนา |
เสียงกระดึงโกร่งโกร้ง | ติดห้อยคอเดิน ๚ |
๖๓๏ เดินเท้าเล่า |
ทหารหาญ |
สี่หมู่ว่องไวชาญ | เชี่ยวแกล้ว |
ต่างตนต่างชำนาญ | รณยุทธ แลพ่อ |
ปืนแม่นหมายเหมาะแคล้ว | คลาด |
๖๔๏ ต่างตนแต่งเสื้อเลิศ | เฉิดฉาย |
เข้มขามบ้างริ้วราย | ดอกบ้าง |
เสนากุฏล้วนลาย | สีต่าง บ้างนา |
ผ้าโพกหมวกหนังสร้าง | สอดพื้นลายทอง ๚ |
๖๕๏ เกยพราหมณ์เกยหนึ่งนั้น | พระสงฆ์ |
สองค่างริมถนนตรง | น่าป้อม |
สุทไธสวรรย์ประทับทรง | ทอดพระ เนตรเอย |
พราหมณ์พระประน้ำพร้อม | ทั่วทั้งขบวนเดิน ๚ |
๖๖๏ หมดปล่อยม้าห้อวิ่ง | เร็ว |
ล้วนเลิศหลากมากสี | มากม้า |
ยืนควบเหยียบขับฝี | เท้าเหยียด เจียวพ่อ |
รวมสอดเสื้อแสงจ้า | โพกห้อแพรปลิว ๚ |
๖๗๏ ชายหญิงต่างเกลื่อนกลุ้ม | มาดู แห่เฮย |
ท้องสนามเกรียวกรู | แซ่ซ้อง |
ต่างตนเบิกบานชู | ใจชื่น ชมนา |
หญิงเบียดชายบีบร้อง | ป่วนป่วนรวนเร ๚ |
๖๘๏ ชาวชนตกแต่งเหล้น | หลากหลาย |
บางพวกทำฉุยฉาย | เก่งก้อ |
บางเหล่าชอบพอกาย | สุภาพ แลนา |
บ้างแก่ทำหนุ่มฟ้อ | ฝ่าด้นปนดู ๚ |
๖๙๏ เสร็จแห่แล้วแต่งตั้ง | บายศรี |
ตองหิรัญสุวรรณมี | อีกแก้ว |
พราหมณ์พฤฒิบาศปรี | ชาเชี่ยว เวทเอย |
แว่นจุดเทียนเวียนแล้ว | ดับไส้เจิมจุณ ๚ |
๗๐๏ เป่าสังข์แตรแซ่ซ้อง | เสียงขาน |
ฆ้องลั่นถ้วนสามวาร | โห่ร้อง |
พระหลวงเล่าพนักงาน | เรียงรับ แว่นนา |
พิณพาทย์กลองแขกก้อง | เอิกอื้ออึงอล ๚ |
๗๑๏ ทำขวัญช้างต้นทั่ว | ทุกโรง |
เครื่องกุดั่นดูโอ่โถง | แต่งให้ |
ข่ายแย่งระยางโยง | ติดปก ตระพองแฮ |
ห้อยพู่สองหูได้ | ตาดล้วนปกหลัง ๚ |
๗๒๏ ร่ำกล่าวราวเรื่องสิ้น | เสร็จสนาน |
เป็นสุขแสนสำราญ | ท่วนหน้า |
จักเรียงเรื่องสงกรานต์ | เติมต่อ |
แบบบุราณทั่วหล้า | โลกล้วนเคยมี ๚ |
๗๓๏ กำหนดสุริยยาตรเยื้อง | รอบจักร |
เป็นที่เปลี่ยนศักราช | ใหม่ได้ |
ขึ้นสู่เมษราศี |
พร้อมนับ ถือ |
บังคับแห่งโหรให้ | เรียกรู้ทั่วแดน ๚ |
๗๔๏ จิตรมาสสี่ค่ำขึ้น | กำหนด |
แม้ว่าจักถอยถด | ห่อนได้ |
ออกจนสุดเดือนหมด | สิ้นปักษ์ แรมเฮย |
เดือนหกขึ้นสี่ไซ้ | นอกนั้นฤๅมี ๚ |
๗๕๏ บอกบุญให้ก่อสร้าง | เจดีย์ ทรายเฮย |
ตามพระอารามหลวงมี | ใหม่สร้าง |
เปลี่ยนผลัดวัดละปี | ฉันสวด ฉลองเฮย |
ข้าราชการเกณฑ์บ้าง | กับทั้งประยูรวงศ์ |
๗๖๏ วันเนานั้นตั้งพระ | ชันษา |
หกสิบรูปพระราชา | คณะถ้วน |
ฉันแล้วรดน้ำมา | ฉันอีก เพล |
ถวายแต่ไตรแพรล้วน | ทั่วถ้วนทุกปี ๚ |
๗๗๏ วันเถลิงศกขึ้นใหม่ | มีการ |
ตั้งมุรธาภิเษก |
ราชไท้ |
มวลหมู่เหล่าพนักงาน | ถวายโสรจ สรงนา |
เตรียมอยู่คอยรับใช้ | พรักพร้อมเพียงกัน ๚ |
๗๘๏ ฉันแล้วครั้นฤกษ์ได้ | ชัย |
เสด็จสู่ที่สรงเศวต | ฉัตรกั้ง |
พระเต้าอุทกทรง | สรงพระ องค์แฮ |
พระครอบพระมหาสังข์ทั้ง | แปดล้วนพราหมณ์ถวาย ๚ |
๗๙๏ สำเนียงฤนาทก้อง | กาหล |
สงฆ์สวดพุทธชัยมนต์ |
เสก ซ้อง |
พิณพาทย์ดุริยางค์ดน | ตรีครั่น ครื้นเอย |
เสร็จสู่พระโรงท้อง | เนื่องน้อมประเคนเพล ๚ |
๘๐๏ สดับปกรณ์ผ้าคู่ถ้วน | เรียงราย |
ทรงพระราชูทิศถวาย | โสรจน้ำ |
พระบรมญาติทั้งหลาย | เสร็จล่วง แล้วนา |
เป็นทักชิณาทานล้ำ | แด่เบื้องบรรพวงศ์ ๚ |
๘๑๏ พระทรายให้ยกตั้ง | เตียงเรียง เรียบเอย |
ในพระโรงแถวเฉลียง | ออกไว้ |
เวียนเทียนฉลองเสียง | ประโคมกึก ก้องนา |
เสร็จแห่ส่งวัดใช้ | เช่นนี้มีเสมอ ๚ |
๘๒๏ สมโภชพุทธเลิศล้ำ | ปฏิมา |
ศรีรัตนนามปรา | กฎ |
บ่ายเย็นทุกทิวา | คำรบ สามเอย |
ทวยราษฎร์ทูลละออง |
กับทั้งฝ่ายใน ๚ |
๘๓๏ บายศรีสามสำรับตั้ง | เตียงเคียง |
แก้วสุวรรณหิรัญเรียง | เครื่องพร้อม |
พิณพาทย์ประโคมเสียง | สนั่น นี่นา |
ต่างนั่งต่อวงล้อม | นบน้อมเทียนเวียน ๚ |
๘๔๏ สงกรานต์ชาวบ้านเที่ยว | ตามสบาย |
หญิงปะปนฝูงชาย | แซ่ซ้อง |
บางคนที่เมาหมาย | เย้าหยอก ยั่วนา |
พบพวกที่เกี่ยวข้อง | ขัดแค้นต่อยตี ๚ |
๘๕๏ บางคนนัดบ่อนเหล้น | การพนัน |
โปถั่วทุกสิ่งสรรพ์ | ดวดไผ้ |
ได้เสียทุ่งเถียงกัน | เอะอะ ถึงเอย |
เกิดวิวาทจับได้ | เฆี่ยนซ้ำเสียเงิน ๚ |
๘๖๏ บางเป็นผู้ใหญ่บ้าน | แจงจัด |
เรือนเย่าเป่ากวาดปัด | เรียบร้อย |
ทำบุญแต่พอศรัท | ธาเกิด บ้างเอย |
ส่งกุศลเล็กน้อย | แต่ผู้ผดุงเดิม ๚ |
๘๗๏ วิสาขมาส |
ดฤถี นาพ่อ |
กำหนดเมล็ดรวงดี | ถูกต้อง |
ตั้งการราชพิธี | จรดพระ นังคัลนา |
ทั้งพืชมงคลพ้อง | แทรกซ้ำทรงเติม |
๘๘๏ ท้องสนามนั้นตั้งแท่น | มณฑล |
พุทธรูปเรื่องขอฝน | ออกตั้ง |
ติณชาติพืชพรรณผล | เมล็ดห่อ ถุงเอย |
มีบาตรน้ำมนต์ทั้ง | พระเต้าสังข์ทรง ๚ |
๘๙๏ เจ้าพระยายศเอกอ้าง | ออกยา หนึ่งเอย |
ผู้จักได้ไถนา | หว่านข้าว |
เทพีสี่นางมา | พร้อมพรั่ง |
ที่พลับพลา |
ธเรศเจ้าจอมเศียร ๚ |
๙๐๏ ทั้งห้านี้เนื่องเข้า | มณฑล |
สงฆ์สวดพระพุทธมนต์ | จบแล้ว |
ทรงพระราชทานชล | หลั่งปาก สังข์นา |
โสรจสระจัญไร |
เสร็จแล้วจุณเจิม ๚ |
๙๑๏ โรงพิธีที่ทุ่งท้อง | พระลาน |
พราหมณ์พฤฒาทั้งปวง | นอบน้อม |
กระทำกะระสุทธสรวง | สังข์กลศ |
เบญจคัพย์ |
กับทั้งโตรทวาร ๚ |
๙๒๏ ครั้งรุ่งวันฤกษ์ได้ | อุดมมี นาพ่อ |
ท่านอัคร |
หนึ่งผู้ |
กับส่ำสี่เทพี | ไปที่พักเอย |
ต่างแต่งตนตามรู้ | แบบเบื้องปางบรรพ์ ๚ |
๙๓๏ สนับเพลายกนุ่งนั้น | บ่าวขุน |
เสื้อเยี่ยรบับในหนุน | แนบเนื้อ |
ครุยทองโปร่งตาชุน | ลอยเลื่อน เลิศนา |
เข็มขัดคาดนอกเสื้อ | อย่างน้อยในครุย ๚ |
๙๔๏ อีกนิ้วแหวนสอดทั้ง | แปดวง |
ลำพอกตาดสวมทรง | เทริดเกล้า |
เสร็จแล้วยาตรมาลง | เสลี่ยงแบก บ่าเฮย |
กลองประโคมโรมเร้า | เร่งให้ขบวนเดิน ๚ |
๙๕๏ บโทนถือดาบได้ | เดินนำ หน้าแฮ |
กลองชนะปี่ประจำ | เป่าเจื้อย |
ถืออาวุธกำยำ | ต่างต่าง หมู่นา |
เขนโล่ |
ง่ามง้าวดั้งตะบอง ๚ |
๙๖๏ กระชิงทองแห่หน้าคู่ | หนึ่งหลัง คู่นา |
กลดอีกทานตะวัน |
แดดเช้า |
เครื่องยศมากประดัง | กับหมู่ ทนายเอย |
ทวนเทิดทิวหอกง้าว | ยาตรย้ายปลายขบวน ๚ |
๙๗๏ นุ่งห่มสมทั่วถ้วน | ทั้งผอง |
เสื้อหมวกผ้ายกทอง | เพริศแพร้ว |
กางเกงอีกม่วงตอง | สีต่าง ต่างนา |
ผ้าโพกทับทิมแล้ว | ขลิบล้อมชายครุย ๚ |
๙๘๏ ครั้นแห่ถึงที่ท้อง | สนามไถ |
ลดเสลี่ยงลงเข้าไป | นั่งน้อม |
บูชาธูปเทียนใน | โรงพิ ธีนา |
วงม่านขาวบังล้อม | ลับลี้ตาคน ๚ |
๙๙๏ รดน้ำสังข์เสร็จแล้ว | อธิษฐาน |
เสี่ยงจับผ้าในพาน | จีบตั้ง |
ตามจารีตโบราณ | หยิบหนึ่ง นุ่งเฮย |
ผืนหนึ่งผืนใดทั้ง | โลก |
๑๐๐๏ เสร็จแล้วจึงย่างเยื้อง | จรลี มานา |
ขุนเกษตรจูงคาวี | คู่ได้ |
เข้าเทียมแอกงอนศรี | ชัยฤกษ์ |
พราหมณ์ส่งหางไถให้ | ประตัก |
๑๐๑๏ ทวิชชาตินำน่าขู้ | เป่าสังข์ |
พิณพาทย์ประโคมดัง | ลั้นฆ้อง |
ราชบัณฑิต |
ปริตหยาด น้ำเอย |
ไถดะสามรอบจ้อง | จรดซ้ำแปรรอย ๚ |
๑๐๒๏ เทพีสี่ท้าวนุ่ง | ยกทอง เถือกนา |
เข้มขาบห่มแพรสอง | สอดซ้อน |
คำเปลวปิดกระเชอ |
ข้าวปลูก แปดเฮย |
เดินหาบคานหย้อนหย้อน | หยิบขึ้นโปรยปราย ๚ |
๑๐๓๏ ไถหว่านเสร็จสรรพแล้ว | มาหยุด พักเอย |
ขุนเกษตรแก้โคหลุด | ลาศเต้า |
มาพักที่อันอุด | ดมดาด พิดานนา |
เลี้ยงพระโคหญ้าข้าว | เล่าน้ำถั่วงา ๚ |
๑๐๔๏ โคเสพย์สิ่งหนึ่งได้ | ทำนาย |
กินสิ่งใดนั้นหลาย | มากล้น |
จับผ้านุ่งท่านทาย | แห่งเหตุ น้ำนา |
แคบมากกว่าน้อยพัน | กึ่งนั้นพอดี |
๑๐๕๏ ชายหญิงเบียดเสียดซ้อน | ดูไถ นาเฮย |
ไกลเท่าไกลมาใน | ที่นั้น |
ยากเหนือยอย่างไรไร | รีบเร่ง มาแฮ |
พงรกสู้ดัดดั้น | ดึ่ง |
๑๐๖๏ มาเรือมาบกบ้าง | หลายสถาน |
บ้างก็พาบุตรหลาน | พี่น้อง |
ที่ไกลรีบลนลาน | กลัวไม่ ทันนา |
มาแต่เช้าแสบท้อง | เที่ยวซื้อของกิน ๚ |
๑๐๗๏ ต่างตนต่างแต่งเหล้น | ตามใจ |
นุ่งสุหรัจปูมม่วงไหม | โสร่งบ้าง |
เสื้อโก๊ด |
เสื้อยืด แลนา |
อีกหมวกถุงเท้าสร้าง | ใส่เหล้นหลากกัน ๚ |
๑๐๘๏ หญิงแต่งประกวดล้วน | หลากหลาย |
สาวซัดสีนุ่งลาย | เพริศพริ้ง |
แหวนพลอยเพชร |
สร้อยตะกรุด |
แก่ห่มขาวตุ้งติ้ง | ร่่มกั้นเผอเรอ ๚ |
๑๐๙๏ เทวรูปแห่ออกทั้ง | กลับสถาน |
กลองชนะประโคมขาน | กึกก้อง |
เครื่องสูงกับราชยาน | กงเลิศ |
คู่แห่แตรสังข์ซ้อง | อีกทั้งธงจีน ๚ |
๑๑๐๏ ธรรมเนียมทำเนียบนี้ | จตุสดมภ์ |
เจ้าพระยาพลเทพสม | ยศตั้ง |
กรมนาทั่วทั้งกรม | ได้จัด การแฮ |
กำตาก |
ตลาดร้านเรือแพ ๚ |
๑๑๑๏ ท่านสมุหนายก |
ฤๅชา |
ตั้งแต่ทำพิธีมา | มากแล้ว |
บริบูรณ์ทุกปีปรา | กฏเลิศ |
สิ่งพิบัติคลาดแคล้ว | ท่านได้ทำเสมอ ๚ |
๑๑๒๏ เดือนหกฝนตกบ้าง | ชดเชย |
ไม่มากพอประเปรย | ดับร้อน |
นาสวนต่างคนเคย | คิดตก กล้าแฮ |
นาทุ่งเตรียมไถต้อน | เหล่าเลี้ยงกระบือรวม ๚ |
๑๑๓๏ แรกนาแล้วเร่งร้อน | ลงมือ ทำเฮย |
ไถหว่านด้วยโคกระบือ | ตกกล้า |
ทำตามที่เคยถือ | แต่ก่อน |
แม้ว่าปีฝนล้า | จึ่งต้องรอตาม ๚ |
๑๑๔๏ วิสาขฤกษ์บัณรัศถ้วน | ดฤถี |
ปางพระจอมธเรศตรี | ผ่านเผ้า |
ให้สักการะการมี | ใหญ่ยิ่ง |
บูชิตสัมพุทธเจ้า | ดับด้วยนฤพาน ๚ |
๑๑๕๏ ฉันในพระที่นั่งทั้ง | สามวาร |
เหล่าแฉกอีกงาสาน | เลิศล้วน |
ถวายบิณฑบาตทาน | ต่อพระ หัตถ์ |
วันละยี่สิบถ้วน | ผลัดเพี้ยนเปลี่ยนกัน ๚ |
๑๑๖๏ วันสุดนั้นโปรดให้ | สดับปกรณ์ |
กำหนดตามฤดูจร | ทุกครั้ง |
ปองเป็นนิรันดร | แด่ส่ำ สงฆ์เฮย |
มีสี่ร้อยรูปตั้ง | แต่งข้าวกระทง |
๑๑๗๏ ยี่สิบอาวาส |
เทศนา |
ถวายธูปเทียนจีวรา | กระจาด |
ข้าเจ้าต่างกรมมา | ขนส่ง วัดเฮย |
ธงปรุปักยาบย้วย | โยกย้อยลอยลม ๚ |
๑๑๘๏ ปล่อยสัตว์สรรพสิ่งถ้วน | สามวัน |
เป็ดไก่สุกรสรร | จัดซื้อ |
อีกปลาหลากหลายพรรณ | ลำหนึ่ง นาพ่อ |
โปรดสัตว์ดังช่วยรื้อ | รอดพ้นความตาย ๚ |
๑๑๙๏ ธรรมยุติทำยิ่งล้ำ | หลากหลาย |
เทียนรุ่งทั้งเทียนราย | สว่างแผ้ว |
เดินเทียนพวกหญิงชาย | แน่นเนื่อง กันมา |
ฟังเทศน์ธรรมเจื้อยแจ้ว | จวบแจ้งราตรี ๚ |
๑๒๐๏ ในเดือนเชษฐมาศนั้น | ฤๅมี |
การพระราชพิธีใด | ว่างเว้น |
ให้จัดเหล่านารี | หาบสลาก ภัต |
แต่งประกวดอวดเหล้น | หลากล้วนควรดู ๚ |
๑๒๑๏ เกณฑ์พระประยูรญาติล้วน | ฝ่ายใน |
จัดสตรี |
แน่งน้อย |
ล้วนลักษณะวิลัย | ละออเอี่ยม |
มารยาท |
แช่มช้าชวนชม ๚ |
๑๒๒๏ ท่านท้าวเถ้าแก่ทั้ง | พนักงาน |
จัดเลือกเหล่าเหลนหลาน | ลูกเลี้ยง |
หาได้แต่ประมาณ | ไม่เหมาะ นักนา |
เป็นแต่ดูเกลี้ยงเกลี้ยง | เล็กน้อยเป็นดี ๚ |
๑๒๓๏ ลางนางพักตร์ |
ดวงแข |
บ้างก็พิศเต็มแล | มืดตื้อ |
ลางนางผากแหยแก๋ | โกโรก |
บ้างเตอะตะทืดทื้อ | เทอะทุ้ยเต็มตึง ๚ |
๑๒๔๏ ตกแต่งสีขัดให้ | ผ่องใส |
หมักพอกฟอกเหงื่อไคล |
ใช่น้อย |
อาบน้ำร่ำพิไร | ถูลูบ ไปเฮย |
ทาขมิ้นเหลืองจ้อย | ผัดแป้งนวลเติม ๚ |
๑๒๕๏ หวีผมกลมกวดเกลี้ยง | แสกตรง |
แต้มเขม่าเติมแตะลง | เล็กน้อย |
แต่พอประจบวง | หน้าน่อย หนึ่งนา |
เหนี่ยวดัดหัดท้ายย้อย | เชิดขึ้นงอนงาม ๚ |
๑๒๖๏ ผัดหน้ารองพื้นหยด | น้ำมัน น่อยแฮ |
ขมิ้นแป้งระคน |
กอบน้ำ |
น้ำตาลสิ่งสำคัญ | กันดอก ราพ่อ |
แห้งสนิทติดแป้งซ้ำ | ผ่องแผ้วนวลงาม ๚ |
๑๒๗๏ นุ่งยกเยียรบับบ้าง | สังเวียน |
ห่มตาดปักแนบเนียน | เรียบร้อย |
สังวาลแฝดสร้อยกองเจียน | เต็มบ่า |
แหวนเพชรเม็ดไม่น้อย | ประหล่ำ |
๑๒๘๏ กระจาดกระจกซ้อน | อังกฤษ |
ช่างประดับทำประดิษฐ์ | เพริศแพร้ว |
ปลายคานนาควิจิตร | ฉลักปิด ทองเฮย |
สาแหรกสร้อยทองแล้ว | เลิศล้วนหลากกัน ๚ |
๑๒๙๏ เดินหาบยาบยาบย้าย | รายเรียง |
สำรับคาวหวานเคียง | คู่กั้น |
เป็นตอนห่อนถุ้งเถียง | สับเปลี่ยน ได้เลย |
ใครก็ใครนั่นนั้น | นี่โน้นเนื่องแนว ๚ |
๑๓๐๏ ฝูงคนแซ่ซ้องคั่ง | คอยดู |
เดินแห่หลามตามพรู | วิ่งแต้ |
ยัดเยียดเบียดเกรียวกรู | กราวลั่น |
ตำรวจเงื้อหวายแล้ | หกล้มจมโคลน ๚ |
๑๓๑๏ บางหาบเดินบ่ได้ | ดูดิน |
โดน |
เฉียดล้ม |
หาบหกไม่ได้กิน | เสียเปล่า |
ฮาลั่นสนั่นเลยก้ม | พักตร์ม้วนด่วนเดิน ๚ |
๑๓๒๏ ถึงวัดราชบพิธแล้ว | ปลงลง |
ดูเลือกฉลากสงฆ์ | ถูกต้อง |
ยกขึ้นประเคนองค์ | ละที่ แลแฮ |
ฉันเสร็จชนแซ่ซ้อง | ตรวจน้ำสาธุการ ๚ |
๑๓๓๏ อาสาฬหมาสเข้า | พรรษา กาลแฮ |
เชื้อพระวงศ์ราชา | ธิราชไท้ |
เพื่อประโยชน์ทรงสิกขา | บทพระ ภิกษุแฮ |
อีกกับสามเณรให้ | แห่บ้างบางปี ๚ |
๑๓๔๏ สมโภชพระที่นั่งเบื้อง | อมรินทร์ |
สมเด็จนฤบดินทร์ | เสด็จยั้ง |
จารีตราชประดิทิน |
เสมอทุก ปีนา |
บรมขัตติยโบราณตั้ง | แต่งไว้ธรรมเนียม ๚ |
๑๓๕๏ บ่ายลงแล้วจัดตั้ง | บายศรี |
ล้วนสุวรรณหิรัญมณี | ครบถ้วน |
ผ้าหุ้มยอดตองมี | อีกเครื่อง เคียงนา |
ไตรบาตรปริกขารล้วน | ธูปทั้งเทียนกรวย ๚ |
๑๓๖๏ แต่งนาคเจ้านั้นที่ | ทิมคต |
ผ้านุ่งพื้นสีสด | จีบห้อย |
แปดนิ้วสอดแหวนหมด | เข็มขัด คาดนา |
เสื้อโปร่งสวมสะพัก |
สอดเบื้องบ่าเฉวียง ๚ |
๑๓๗๏ แต่งเสร็จขึ้นเสลี่ยงพร้อม | ทุกองค์ |
พระกลดกำมะลอ |
เชิดกั้น |
หามตามเนื่องเนืองตรง | เข้าสู่ พระโรงเอย |
ให้นั่งแถวแนวชั้น | ช่องหน้าบายศรี ๚ |
๑๓๘๏ เสด็จออกประทับพร้อม | พันธุ์พงศ์ |
ข้าราชการนั่งวง | แวดล้อม |
พราหมณ์เบิกแว่นส่งตรง | ต่อเนื่อง |
เวียนรับตามวงอ้อม | รอบซ้ายมาขวา ๚ |
๑๓๙๏ ประโคมพิณพาทย์ก้อง | แตรสังข์ |
กลองแขกเสนาะดัง | เฟื่องฟื้น |
ฆ้องชัยลั่นประนัง | นฤนาท |
มี่สนั่นครั่นครื้น | เอกอื้ออึงอล ๚ |
๑๔๐๏ ครบสามรอบแล้วเบิก | บายศรี |
ผ้าห่อยอดตองดี | พับไว้ |
วางเหนือตักนาคมี | จิต |
เวียนครบห้ารอบให้ | ดับด้วยพลูคะแนน ๚ |
๑๔๑๏ ตักขวัญทั่วทุกชั้น | บายศรี |
น้ำมะพร้าวล่อนดี | ดั่งแก้ว |
ช้อนทองตักขึ้นที | ละน่อย หนึ่งนา |
ถวายครบสามครั้งแล้ว | จึงได้เจิมจันทน์ ๚ |
๑๔๒๏ ครั้นเลิกสมโภชสิ้น | เสร็จสรรพ |
ไปหยุดประทับเปลื้อง | เครื่องแล้ว |
ห้ามนาคมิให้กลับ | คืนหนึ่ง |
นอนอยู่วัดพระแก้ว | ก่อนสิ้นทุกองค์ ๚ |
๑๔๓๏ วันเช้าแต่งเจ้าเช่น | ทำขวัญ |
ผลัดเปลี่ยนพื้นขาวพรรณ | เพริศแพร้ว |
แล้วเสร็จนั่งเสลี่ยงผัน | ผายสู่ เกยนา |
พร้อมพรั่งนั่งเรียบแล้ว | โปรดให้โปรยทาน ๚ |
๑๔๔๏ ชาวคลังขุนหมื่นตั้ง | เงินถวาย |
องค์ละห้าตำลึงราย | ทั่วได้ |
หม่อมเจ้ารับโปรยปราย | สิ้นทุก องค์เอย |
แม้ว่านาคเอกให้ | เพิ่มขึ้นเงินตาม ๚ |
๑๔๕๏ บ่าวขุนนางนั่งแน่นจ้อง | คอยรับ |
ข้าหม่อมเจ้าตะครุบตะครับ |
แย่งปล้ำ |
ถองทุบอึกอุบอับ | เอะอะ อึงเอ |
โคลนเปรอะเลอะละพล้ำ | พลาดล้มจมโคลน ๚ |
๑๔๖๏ เสร็จแล้วจึงหม่อมเจ้า | ลงมา |
เข้าวัดรัตนศาสดา | ขณะนั้น |
ชาวเจ้าพนักงานพา | เข้าโบสถ์ แลแฮ |
ให้ประโคมแห่งหั้น | แซ่ซ้องสำเนียง ๚ |
๑๔๗๏ ครั้นถึงจึงหมอบก้ม | กราบกราน |
สมเด็จจอมธราธาร | ผ่านเกล้า |
นำเนืองเนื่องแนวคลาน | ไปจุด เทียนเอย |
นบพุทธปฏิมาเจ้า | จบแล้วกลับคืน ๚ |
๑๔๘๏ พนักงานนั้นส่งผ้า | กาสา วพัตรแฮ |
นาครับเข้าวันทา | นอบน้อม |
พร้องขอบัพชา |
อีกกับ ศีลเฮย |
ทำญัตติ |
เสร็จด้วยจุตตถกรรม ๚ |
๑๔๙๏ เป็นพระภิกษุแล้ว | พร้อมกัน |
ทรงมอบปริกขารภัณฑ์ | เลิศล้วน |
อีกญาติเหล่ามิตรอัน | ชิดชอบ |
ต่างช่วยครบตัวถ้วน | เลิกแล้วเสด็จคืน ๚ |
๑๕๐๏ ธรรมเนียมบวชนาคเจ้า | จัดพระ สงฆ์เฮย |
สามสิบราชาคณะ | ชื่อตั้ง |
สองฝ่ายปะปนคละ | ห่อนเลือก ถือเลย |
มีกระจาดถวายทั้ง | หม่อมเจ้าบวชเติม ๚ |
๑๕๑๏ เทียนพรรษานั้นจัดตั้ง | รวมถวาย |
สวดสิบสามค่ำหมาย | บอกไว้ |
ฉันวันสิบสี่ราย | ยี่สิบ รูปเฮย |
ในพระที่นั่งไท้ | ธเรศเจ้าจอมเมือง ๚ |
๑๕๒๏ วันสิบห้าค่ำนั้น | วันนัด นิมนต์แฮ |
ในวัดพระศรีรัตน์ | มากล้วน |
ราชาคณะปริยัติ | อีกพระ ครูเฮย |
ถวายพุ่มเทียนครบถ้วน | ทั่วทั้งไทยมอญ ๚ |
๑๕๓๏ เกณฑ์พระวงศ์เยาวหนุ่มน้อย | เนื่องมา |
รับจุดเทียนพรรษา | ทั่วทั้ง |
วัดหลวงแต่บรรดา | ได้พระ กฐินเฮย |
จ่ายแจกเทียนไปตั้ง | ทุกถ้วนอาราม |
๑๕๔๏ ฉันแรมคำหนึ่งได้ | สัดบปกรณ์ |
ในพระที่นั่งอดิศร | ผ่านเผ้า |
ทุกนักขัตฤกษ์จร | ฤๅว่าง เว้นเฮย |
อุทิศแด่พระร่มเกล้า | ล่วงแล้วเสวยสวรรค์ ๚ |
๑๕๕๏ ส่ำสงฆ์ต่างเนื่องเข้า | พรรษา |
ทุกวันแต่บรรดา | อยู่ได้ |
หญิงชายต่างจัดหา | พุ่มธูป เทียนแฮ |
ถวายที่นับถือไหว้ | ชอบคุ้นเคยกัน ๚ |
๑๕๖๏ ชาวร้านต่างแต่งตั้ง | ของขาย |
พานพุ่มต้นไม้หลาย | หลากล้น |
รูปสัตว์รูปคนหมาย | เหมือนเหมาะ หมดนา |
ทำประดิษฐคิดค้น | ยักย้ายขายดี ๚ |
๑๕๗๏ คนซื้อเที่ยวเลือกได้ | ดั่ง |
วอนต่อร่ำพิไร | หยดย้อย |
เจ้าของคิดอาลัย | ไม่ลด เลยนา |
ชอบต่อนั่งคลำป้อย | จะซื้อกลัวแพง ๚ |
๑๕๘๏ ทำบุญตามแบบเบื้อง | โบราณ |
ถวายที่เป็นอาจารย์ | เก่าบ้าง |
ทั้งน้องพี่บุตรหลาน | บวชใหม่ แลแฮ |
ถือว่าท่านสรรสร้าง | แต่งต้องตามฤดู ๚ |
๑๕๙๏ จันทร์จรเพ็ญได้ฤกษ์ | สาวนะ |
ยามเมื่อฝนตกชะ | ชุ่มพื้น |
ดลแรมย่อมพรมประ | น้อยน่อย หนึ่งนา |
ข้าวหนักนาดอนตื้น | ขาดค้างการทำ ๚ |
๑๖๐๏ กำหนดพรุณศาสตร์ซ้อง | พิธีสงฆ์ |
สูตเมฆพราหมณ์พรหมพงศ์ | แต่งตั้ง |
การสองราชพิธีตรง | วันร่วม กันเฮย |
ทำที่นอกเมือง |
ทุ่งท้องสนามหลวง ๚ |
๑๖๑๏ พลับพลานั้นแต่งตั้ง | เตียงมณ ฑลเอย |
เสาพิดานดาดบน | เศวตล้วน |
เชิญพระเรื่องขอฝน |
ออกหมด นาพ่อ |
อีกเครื่องพิธีถ้วน | บาตรน้ำกำคา ๚ |
๑๖๒๏ ขุดสระสี่เหลี่ยมกว้าง | เพียงวา |
ลึก |
ว่าไว้ |
ปากสูงศอกหนึ่งปรา | กฏแน่ |
ราชวัติ |
รอบทั้งสี่มุม ๚ |
๑๖๓๏ พระสุภูติ |
แหงนหงาย |
ท้องใหญ่ครามทากาย | ก่ำปื้อ |
หน้าสดสุกแสงฉาย | เสนแสด ทาเฮย |
พิงฝั่งสระสมาธิ์ตื้อ | เนตรตั้งโพยมบน ๚ |
๑๖๔๏ โลกบาลกับนาคไว้ | สี่ทิศ ในนา |
ตรีเนตรสิงสถิต |
กึ่งนั้น |
ปลาช่อนใหญ่วิจิตร | อีกรูป หนึ่งเฮย |
ปลาเต่ากุ้งปูปั้น | หลากล้วนวางราย ๚ |
๑๖๕๏ เมื่อปั้นขวัญเข้านบ | จงดี |
นุ่งห่มห้าเศวตสี | สุทธิแพร้ว |
เบี้ยข้าวเปลือกเงินมี | หกบาท |
ตำรับ |
ใคร่รู้ดูบรรณ ๚ |
๑๖๖๏ ศาลลดนอกสระทั้ง | ห้าศาล |
ธงฉัตรแต่งโอฬาร | เลิศล้วน |
บูชาธูปเทียนตระการ | ศีรษะ |
อีกเครื่องบายศรีถ้วน | ครบห้าศาลเสมอ ๚ |
๑๖๗๏ เทียนชัยมีแท่นตั้ง | ตรงกลาง พลาเฮย |
เตียงสวดภาณวารวาง | ต่อท้าย |
มีเสาพิดานตาราง | ขาวดาด |
วงรอบชักแนวด้าย | แวดล้อมมณฑล ๚ |
๑๖๘๏ สงฆ์กำหนดยี่สิบห้า | รูปมี |
มาสวดราชพิธี | พรั่งพร้อม |
ในวันฤกษ์ยามดี | เสด็จออก แล้วนา |
ทรงจุดเทียนนอบน้อม | นบนิ้วเสี่ยงธิษฐาน ๚ |
๑๖๙๏ เทียนชนวนทรงจุดแล้ว | เสด็จไป |
ถวายแด่องค์จอมไท | พร่ำพร้อง |
ให้จุดเล่มเทียนชัย | สงฆ์สวด ขึ้นเฮย |
พร้อมประโคมกึกก้อง | แซ่ซ้องแตรสังข์ ๚ |
๑๗๐๏ เสร็จแล้วจึ่งสวดซ้อง | พุทธมนต์ |
ตามเรื่องพิธีฝน | แบบบั้น |
จบเสร็จเสด็จดล | พระนิเวศน์ |
สงฆ์แต่ห้ารูปนั้น | ต่างขึ้นสวดเตียง ๚ |
๑๗๑๏ เกณฑ์ให้ผลัดเปลี่ยนทั้ง | คืนวัน |
เช้า |
ทุกมื้อ |
ไม่ตกเร่งสวดดัน | ตะแบง |
เย็นเมฆตั้งเขียวปื้อ | ตกบ้างปรอยปรอย ๚ |
๑๗๒๏ ตกมากบำเหน็จให้ | องค์สลึง |
ตกเล็กน้อยถอยถึง | กึ่งเฟื้อง |
ตกอย่างใหญ่ได้ตำลึง | เลิศยิ่ง |
ตกล่อ |
ไม่เศร้าเสียใจ ๚ |
๑๗๓๏ ที่ศาลโหรให้นั่ง | บูชา |
เช้ากระยาบวดมา | นบไหว้ |
ราชบัณฑิตภาวนา | นั่งชัก ประคำ |
เปลี่ยนผลัดจัดกันให้ | อยู่ทั้งวันคืน ๚ |
๑๗๔๏ พิธีพราหมณ์ตั้งนอกโพ้น | สนามไถ นาเฮย |
เครื่องโรงพาไล | รอบนั้น |
ที่พราหมณ์อยู่อาศัย |
มุงร่ม คาเอย |
กลางประธานห่อนกั้น | ร่มน้อยฤๅมี ๚ |
๑๗๕๏ แห่พระเทวรูปตั้ง | พร้อมเพรียง |
เบญจคัพย์นพวัคเคียง | ครบถ้วน |
กุมภ์กุณฑ์รลศสังข์เรียง | ตามที่ |
เสร็จอยู่กลางแจ้งล้วน | ทั่วด้านม่านวง ๚ |
๑๗๖๏ นอกโรงรูปเมฆปั้น | ครันครึก |
เปนมนุษย์พันลึก | หลากพ้น |
มีเครื่องลับคับคึก | ทั้งคู่ |
เร่อร่าน่าเกลียดล้น | เด็กล้อมดูเกรียว ๚ |
๑๗๗๏ ราชวัติธงฉัตรตั้ง | รอบโรง |
พิสุทธิสายสิญจน์โยง | แวดล้อม |
พราหมณ์อ่านพระเวทโผง | ผลัดเปลี่ยน กันนา |
เทียนธูปจุดนอบน้อม | แซ่ซ้องเสียงสังข์ ๚ |
๑๗๘๏ เดชะอำนาจด้วย | บารมี |
ทรงธิษฐานสัตยวาที | ต่อตั้ง |
กอบคุณพระรัตนศรี | ล้ำเลิศ |
คุณเวทไตรเพททั้ง | สัตยผู้พยายาม ๚ |
๑๗๙๏ วลาหกแลเทพท้าว | ทั้งหลาย |
ต่างไม่นิ่งดูดาย | อยู่ได้ |
บันดาลพรุณสาย | ฝนสาด ลงเฮย |
อากาศกลกาลไข้ | มืดกลุ้มเกลื่อนบัง ๚ |
๑๘๐๏ เสร็จพรุณศาสตร์ซ้อง | เห็นขลัง |
ต่างก็เลิกกลับยัง | ถิ่นบ้าน |
แห่พระทักษิณวัง | สามรอบ |
อวยพระเกียรติแผ่ผ้าน | เพียบพื้นภูวดล ๚ |
๑๘๑๏ โรงสงฆ์เช้าให้พระ | สงฆ์ฉัน |
แล้วรับปริกขารภัณฑ์ | แจกให้ |
เทียนชัยพระดับพลัน | สงฆ์สวด |
สำเร็จราชพิธีได้ | เลิกพร้อมโรงพราหมณ์ ๚ |
๑๘๒๏ ชาวชนมนัส |
เกษมสานต์ |
ชมพระราชธิษฐาน | ปิ่นหล้า |
ฝนตกดั่งฤดูกาล | เก่าก่อน |
ต่างปักดำต้นกล้า | หว่านบ้างถางไถ ๚ |
๑๘๓๏ นาดอนนาลุ่มได้ | ฝนเสมอ |
ทั่วทุกแขวงอำเภอ | ใหญ่น้อย |
เหล่าราษฎร์ค่อยเผยอ | ใจกริ่ม |
ข้าวเปลือกราคาด้อย | ต่างซื้อลดลง ๚ |
๑๘๔๏ บางปีฝนเหือดแห้ง | แล้งหลาย |
การจักสมจิตหมาย | ห่อนได้ |
จึงเลือกจัดช้างพลาย | ใหญ่ศอก นิ้วเฮย |
มันตกติดหน้าให้ | ประเปรี้ยงบำรู ๚ |
๑๘๕๏ มีจรลุงเบญพาด |
ทั้งสอง |
ท้ายแท่นปักเสากอง | สอบต้น |
เท้าหลังติดบาศลอง | กะจรด ถึงแฮ |
หางเชือกวัดเสาค้น | ผิวสั้นปลดโรย ๚ |
๑๘๖๏ นายท้ายช้างเลิศล้ำ | เถลิงศอ |
ควาญขับเลือกแต่พอ | ช่วยท้าย |
มือทะมัดกดกุมขอ | เกราะมั่น |
แผงเปิดสองสารย้าย | ยาตรเยื้องเชิงชน ๚ |
๑๘๗๏ กิริยาเหี้ยมฮึกห้าว | หาญมัน |
หางโก่งขึ้นหูชัน | ชาติรู้ |
ต่างหมายสบเหมาะถลัน | ถลึ้งประ งาเฮย |
สองต่อสองสารสู้ | ฉุดเส้นบาศตึง ๚ |
๑๘๘๏ ช้างใดได้ล่างแล้ว | เดียงถนัด |
บนเริดเงยหงายขัด | กดแก้ |
ลากคว่ำเหวี่ยงเปลื้องสลัด | ลงต่ำ |
ช้างอยู่บนกลับแพ้ | ปากร้องแปร๋แปร๋น ๚ |
๑๘๙๏ ช้างชนชนะได้ | รุนแรง |
หมอลากเล่มเข้มแขง | จดง้ำ |
แพ้กระทบ |
ตลบขวิด เชือกฮา |
หมอปลดแก้เต็มปล้ำ | ผิดรู้เจียนตาย ๚ |
๑๙๐๏ ชนแล้วช้างชนะให้ | ยืนตรง หยุดนา |
หมอออกขอท่าวง | ปัดเกล้า |
ควาญซ้ำออกมือลง | ลำจะ พุ่งเอย |
ปากโผะมือขยับเย้า | เยาะเย้ยกันเอง ๚ |
๑๙๑๏ ช้างแพ้จึงออกแก้ | ทำถวาย |
หมอออกท่านางกราย | กรีดนิ้ว |
จูงนางลิลาหมาย | ชื่อท่า ควาญเอย |
มือขยับไพล่หลังพลิ้ว | ปากร้องโผะดัง ๚ |
๑๙๒๏ เสร็จค่ำร่ำเรื่องอ้าง | ขอฝน |
เป็นสวัสดิมงคล | ทั่วหล้า |
จวบกาลฤดูดล | ปรกติ แล้วแฮ |
เย็นชื่นทุกไพร่ฟ้า | เฟื่องพื้นฟูใจ ๚ |
๑๙๓๏ ธัญญาขึ้นแตกตั้ง | กองาม |
ทุกประเทศนิคมคาม | เขตแคว้น |
เพื่อฝนตกต้องตาม | กำหนด |
ไม่มากไม่คับแค้น | ชุ่มเลี้ยงพอดี ๚ |
๑๙๔๏ แถลงปางถือน้ำเมื่อ | โปฐบท |
แรมสิบสองค่ำกำหนด | สวดซ้อง |
ในที่พระอุโบสถ | ศรีรัตน ศาสดา |
รุ่งสิบสามค่ำพร้อง | สัตย์ตั้งจิตถวาย ๚ |
๑๙๕๏ การเหมือนเดือนชื่อห้า | ต้นปี |
ล้วนเหล่าข้าละอองธุลี | บาทพร้อม |
ขุนหมื่นพระหลวงมี | เบี้ยหวัด แลนา |
มารับถือน้ำน้อม | เกศ |
๑๙๖๏ ดุสิดาปราสาทไว้ | พิธีสงฆ์ |
พระแท่นตรงมุขตะวัน | ออกตั้ง |
เครื่องยุทธอีกเครื่องทรง | กับพระ เต้านา |
เชิญพระชัยถ้วนทั้ง | สี่แล้วหนึ่งเติม ๚ |
๑๙๗๏ ฝ่ายมุขตะวันตกตั้ง | เตียงทอง |
รวมจัดล้วนสิ่งของ | เรียบไว้ |
เครื่องปายาส |
ประจุขวด โหลแฮ |
ถุงเศวตหุ้มปากให้ | จัดตั้งเต็มเตียง ๚ |
๑๙๘๏ สายสิญจน์วงรอบทั้ง | สองเตียง |
ตั้งโต๊ะจีนแอบเคียง | ค่างนั้น |
เครื่องตั้งจัดพร้อมเพรียง | ล้วนหยก เลิศนา |
เร่งรีบขนจัดครั้น | บ่ายแล้วเสร็จดี ๚ |
๑๙๙๏ พิธีพราหมณ์พราหมณ์จัดตั้ง | เสร็จสรรพ |
ถ้วนครบตามบังคับ | ทุกครั้ง |
ไม่แปลกเปลี่ยนตำรับ |
อย่างแบบ เคยเอย |
ชื่อพิธีสารทตั้ง | เครื่องต้นกลางปี ๚ |
๒๐๐๏ สวดสิบสามสิบสี่เช้า | ได้ฉัน |
สิบสี่สวดฉันวัน | สิบห้า |
สิบห้าสวดพร้อมกัน | ฉันค่ำ หนึ่งเอย |
ต่างประชุมพร้อมกันหน้า | ทุกถ้วนพนักงาน ๚ |
๒๐๑๏ สวดวันสิบห้าค่ำ | กำหนด มีนา |
ปายาสปรุงจรุงรส | เรียบไว้ |
ได้ฤกษ์ประทานรด | น้ำพุทธ มนต์เฮย |
จันทน์กระแจะเจิมให้ | เสร็จแล้วลงพาย ๚ |
๒๐๒๏ ให้ประโคมพิณพาทย์ฆ้อง | ชัยสังข์ |
แตรเป่าปี่เปิดวัง | เวกแจ้ว |
กลองแขกระดม |
ครึกครั่น |
ฉันสวดทุกวันแล้ว | ห่อนเว้นว่างประโคม ๚ |
๒๐๓๏ หม่อมเจ้าสาวแน่งน้อย | พรหมจา รีเฮย |
นุ่งห่มล้วนภูษา | เศวตแผ้ว |
ต่างแต่งสกนธ์อา | ภรณ์เลิศ |
ครบสิบหกองค์แล้ว | นั่งจ้องจรดกวน ๚ |
๒๐๔๏ เสร็จแล้วเลิกเก็บไว้ | มากหลาย |
แจกพระสงฆ์เจ้านาย | ทั่วถ้วน |
ขุนนางแจกให้ราย | เรียงชื่อ |
บริโภคทิพรสล้วน | เลิศล้ำมงคล ๚ |
๒๐๕๏ เกณฑ์ให้คิดกลั่นแกล้ง | ทำโถ |
ผลฟักเหลืองโตโต | แกะแก้ |
เป็นรูปต่างตามโว | หารยัก ย้ายนา |
จำหลักลายเลิศแท้ | ดอกซ้อนสุดงาม ๚ |
๒๐๖๏ แซมสอดดอกไม้สด | นานา |
หอมกลิ่นเสริมศรัทธา | ยิ่งล้น |
กษิรรสกระยา | คู่แต่ง เต็มแฮ |
ถวายพระฉันวันต้น | แรกนั้นขุนนาง ๚ |
๒๐๗๏ วันกลางนั้นก็ให้ | ทำผจง |
พระบรมวงศานุวงศ์ | ฝ่ายหน้า |
วันสุดเหล่าพระองค์ | เจ้าฝ่าย ในเอย |
ต่างประกวดอวดอ้า | ออกสู้ฝีมือ ๚ |
๒๐๘๏ พระสงฆ์ฉันสารททั้ง | สามวัน |
ล้วนพระราชาคณะสรร | สั่งให้ |
สามสิบเศษผลัดกัน | พระมหาด บ้างนา |
แรมค่ำหนึ่งนั้นได้ | เนื่องน้อมสัปดปกรณ์ ๚ |
๒๐๙๏ วันสารทเหล่าราษฎร์ได้ | ทำทาน |
บิณฑบาตภัตตาหาร | อื่นบ้าง |
ทำตามบุราณกาล | จารีต มานา |
ฟังเทศน์ถือศีลสร้าง | ก่อกู้ผดุงผล ๚ |
๒๑๐๏ อัศวยุชสี่ค่ำขึ้น | มีการ แลแฮ |
ชื่อคเชนทรัศวสนาน | อีกเหล้า |
สงฆ์สวดพฤฒาจารย์ | ทอดเชือก |
วันรุ่งห้าค่ำเช้า | จึงได้ตามฉัน ๚ |
๒๑๑๏ บ่ายลงเดินแห่ช้าง | ม้าหลาย |
อีกรถแลโคควาย | พรักพร้อม |
ทหารปืนใหญ่เล็กราย | เรียงคู่ คู่นา |
เดินบาทถึงหน้าป้อม | รดน้ำสงฆ์พราหมณ์ ๚ |
๒๑๒๏ วันรุ่งขึ้นหกข้ำ | ทำขวัญ |
ทั่วทุกช้างสำคัญ | ครบถ้วน |
แบบอย่างแต่ปางบรรพ์ | เสมอทุก ปีนา |
ตรุษ |
เล่ห์แม้นการเหมือน ๚ |
๒๑๓๏ ลุวันสิบสี่ใกล้ | เพ็ญวาร |
เสด็จที่นั่งชลังค์พิมาน | เลิศล้น |
เนื่องสนมราชบริบาล | โดยเสด็จ แน่นนา |
สถิตย์แทบเรือบัลลังก์ต้น | แต่งไว้ขนานลำ ๚ |
๒๑๔๏ พันพรหมราชผู้ | หัวพัน |
เกณฑ์พระหลวงรายกัน | แวดล้อม |
อาสาต่างต่างสรรพ์ | อีกหก เหล่าเอย |
องครักษ์แปดกรมห้อม | ทุ่นถ้วนน่าขนาน ๚ |
๒๑๕๏ พันจันทนุมาศได้ | มาจัด |
เครื่องดอกไม้สารพัด | เลิศล้ำ |
พิณพาทย์ประโคมสกัด | บนล่าง |
อีกกับดอกไม้น้ำ | มอบให้ทหารถวาย ๚ |
๒๑๖๏ เรืออาสาใหญ่ได้ | ลอยลำ |
ซ้ายอยู่เกณฑ์ประจำ | ฝ่ายใต้ |
ขวาทอดอยู่ตามตำ | แหน่งฝ่าย เหนือนา |
กลองแขกในปี่ให้ | นั่งท้ายกันยาพิง ๚ |
๒๑๗๏ เสด็จลงแล้วให้จุด | โคมสัญ ญาเฮย |
โคมทุ่นจุดพร้อมกัน | ดาดน้ำ |
พิณพาทย์กลองแขกรัน | ปี่เป่า เปิดนา |
ตำรวจเร่งพายจ้ำ | ออกล้อมวงราย ๚ |
๒๑๘๏ ทรงจุดประทีปถ้วน | เรือกระทง |
ศรีกิ่งไชยครุฑ |
กราบบ้าง |
เรือเกณฑ์รูปสัตว์ผจง | หลายหลาก |
ดั้งอีกแซมอญสร้าง | เรียบร้อยลอยถวาย ๚ |
๒๑๙๏ แล้วจุดเพลิงพุ่มขึ้น | สว่างงาม |
กระถาง |
ต่อท้าย |
เพลิงพลุ |
โพลงพลุ่ง |
กรวดโด่งนกบินย้าย | ยอกย้อนร่อนเวียน ๚ |
๒๒๐๏ ดูกระทงสนุก |
พร้อมเพรียง |
เรือราษฎร์ดาษดื่นเสียง | คับน้ำ |
ขันแข่งเหนื่อยรอเรียง | ร้องสักร วาเฮย |
ครึ่งท่อนปรบไก่ซ้ำ | ดอกสร้อยมโหรี ๚ |
๒๒๑๏ ชายขึ้นหญิงหลีกเลี้ยว | ล่องลง |
เที่ยวจอดคอยดูกระทง |
ธิราชเจ้า |
พบปะที่ใจจง | หมายเหมาะ |
ชวนแวะแฟะฝั่งเฝ้า | ฝากขอไมตรี ๚ |
๒๒๒๏ บ้างพบไม่สบต้อง | อารมณ์ ตนเอย |
ผิดที่ใจนิยม | นึกไว้ |
แค้นจิตคิดไม่สม | เหนื่อยเปล่า |
พายอ่อนแทบเป็นไข้ | กลับบ้านบอบบอม ๚ |
๒๒๓๏ เสด็จขึ้นแล้วให้ลด | โคมลง |
กลองแขกแปลงส่งตรง | เสด็จแล้ว |
ต่างเลิกที่ล้อมวง | คืนกลับ บ้านนา |
เรือราษฎร์คลาดคลาแคล้ว | เคลื่อนคล้อยคืนเรือน ๚ |
๒๒๔๏ ลอยประทีปถ้วนครบทั้ง | สามวาร |
ปวงประชาเขษมสานต์ | ทุกผู้ |
ภิกษุปวารณากาล | วันสิบ ห้าเฮย |
เข้าเขตกฐินรู้ | เร่งร้อนตระเตรียม |
๒๒๕๏ สามวันฉันเช้าที่ | ในพระ ที่นั่งแฮ |
จัดเลือกราชาคณะ | ทั่วได้ |
ปริยัติและสัมถะ | อีกปลัด ใหญ่นา |
ยกแต่อาพาธไว้ | เลือกได้พอดี ๚ |
๒๒๖๏ วันสิบสี่คณะใต้ | ได้ฉัน |
พระคณะเหนือวัน | สิบห้า |
เหล่าธรรมยุต |
ฉันค่ำ หนึ่งเอย |
สามสิบรูปทั่วหน้า | ครบทั้งสามวัน ๚ |
๒๒๗๏ สัปดปกรณ์บรมธาตุเบื้อง | บรรพวงศ์ มากนา |
ยี่สิบสองพระองค์สงฆ์ | เท่านี้ |
บวรวังนับพระองค์ | อีกสี่ รูปเฮย |
วันคำหนึ่งบอกชี้ | แต่เช้าฉันเฉลิม ๚ |
๒๒๘๏ ราตรีมีเทศน์ทั้ง | ไตรวาร |
วันละกัณฑ์กอบการ | กะตั้ง |
เป็นธรรมพิเศษทาน | มีทุก ปีเฮย |
ไตรปริกขารภัณฑ์ทั้ง | วัตถุถ้วนสิบตำลึง ๚ |
๒๒๙๏ ดลแรมแปดค่ำตั้ง | ตามจา รีตเฮย |
เสด็จพยุหยาตราคลา | คลาศเต้า |
สถลมารคกำหนดอา | วาส |
ถวายกฐินแด่เจ้า | ภิกษุรั้งแรมฝน ๚ |
๒๓๐๏ ปืนใหญ่คู่หนึ่งนั้น | นำพล น่าเฮย |
กรมเกราะทองแต่งตน | ขี่ม้า |
เสื้อเกราะสิบสองคน | หมวกเกราะ หมดเอย |
ม้าวิ่งสวนทางหน้า | หกม้าหมื่นขุน ๚ |
๒๓๑๏ ขุนโจมพลล้านเทิด | ธงแหน แห่เฮย |
ขุนสะท้าน |
คู่คล้อย |
เถลิงแสะผูกหางแพน | ยูงยาบ |
สองปักเสื้ออย่างน้อย | โพกเกล้าดาบสะพาย |
๒๓๒๏ ทหารแห่หลายหมู่ล้วน | แข็งขัน |
มือจับสินาดขยัน | ทุกผู้ |
แตรกลองขลุ่ยครบครัน | ครื้นครึก |
เดินแบบแยบคายรู้ | ถูกด้วยเพลงกลอง ๚ |
๒๓๓๏ ประตู |
พระยา |
ปลัดที่ทูลฉลองปรา | กฏเต้า |
เสื้อเข้มขาบตรูตา | กระบี่ |
ผ้าขลิบพันโพกเกล้า | สอดเสื้อครุยกรอม ๚ |
๒๓๔๏ ตำรวจสี่สิบนั้น | ถือหวาย |
ถือหอกอีกแลหลาย | ไม่น้อย |
เสื้อเลิศนุ่งเฉิดฉาย | ใหม่หมด แลพ่อ |
เดินสี่แถวเรียบร้อย | ยาตรย้ายปลายขบวน ๚ |
๒๓๕๏ ขุนหมื่นตำรวจได้ | ระดมกัน |
แปดหมู่นายเวรสรรพ์ | กลั่นแกล้ว |
นุ่งใหม่หมดฉายฉัน | เสื้อยศ ขาบนา |
ขัดกระบี่สี่แถวแล้ว | ลาศเต้าต่อตอน ๚ |
๒๓๖๏ พลพันทนายเลือกล้วน | อาจอง |
ปลัดจ่าเจ้ากรมยง | ยิ่งใช้ |
คู่ชักรักษาองค์ | เก่าใหม่ เลิศแฮ |
อีกทหารในให้ | แห่ย้ายรายเรียง ๚ |
๒๓๗๏ ตำรวจแปดเหล่าล้ำ | เลิศชาญ |
ปลัดจ่าเจ้ากรมหาญ | ฮึกห้าว |
เคล่าคล่องประกอบการ | กิจแห่ แหนเฮย |
องครักษ์รักษาท้าว | ธิราชไท้เถลิงถวัลย์ ๚ |
๒๓๘๏ ทั้งนี้ต่างแต่งแม้น | เหมือนเสมอ |
เสื้อยศปักทองเลอ | หลากล้วน |
กึ่งยศปักดำเสนอ | สนอบอย่าง หนึ่งนา |
สวมหมวกยอดทองถ้วน | กระบี่บั้งพื้นทอง ๚ |
๒๓๙๏ มหาดเล็กเสื้ออย่างน้อย | ครุยกรอง |
จ่าสี่หุ้มแพรสอง | สิบได้ |
แพรหุ้มฝักบั้งทอง | ดาบแห่ ริ้วแฮ |
เจ้าหมื่นหลวงนายให้ | ดาบล้วนฝักทอง ๚ |
๒๔๐๏ กลองจนะมโหรทึกล้วน | ขันแข็ง |
เสื้อหมวดกางเกงแสง | สุกจ้า |
กลองเงินมาศอีกแดง | รวมแปด สิบเฮย |
แตรยี่สิบแห่หน้า | อีกทั้งสังข์สอง ๚ |
๒๔๑๏ เชิญเครื่องเครื่องเจ็ดชั้น | สี่นาย |
ห้าคู่ห้าชั้นหมาย | เท่านั้น |
บังแทรกหกชุมสาย | สี่อิก นาพ่อ |
ผ้ายกกางเกงสั้น | สนอบริ้วพอกแดง ๚ |
๒๔๒๏ พระเสมาธิบัติเบื้อง | หนขวา |
ซ้ายพระฉัตรชัยปรา | กฏตั้ง |
ท่ามกลางพระเกาวพาห์ | เดินแห่ |
เสื้อหมวกพื้นขาวทั้ง | ยกริ้วกางเกง ๚ |
๒๔๓๏ สังฆ์การีนั้นสั่งให้ | ถือธง ชัยนา |
ซ้ายกระบี่ธุชณรงค์ | เดชกล้า |
ขวาพระครุฑพ่าห์ทรง | จักรกฤษณ์ นาพ่อ |
สองปักลายโพกผ้า | สนอบน้อยสนับเพลา ๚ |
๒๔๔๏ มหาดเล็กหว่างเครื่องนั้น | สิบนาย |
ต่างนุ่งสองปักลาย | สนอบริ้ว |
เสื้อครุยสอดสวมกาย | โอ่อ่า |
เชิญพระแสงประนมนิ้ว | หนุ่มน้อยเสมอสมาน ๚ |
๒๔๕๏ งามพระที่นั่งต้น | พุดตาน |
หุ้มมาศลายแลลาน | เลิศล้วน |
พระทวยปักรับพาน | เงินปลีก ถวายเอย |
หามสิบหกคนถ้วน | สอดเสื้อกางเกง ๚ |
๒๔๖๏ พระยาเคียงนั้นได้สิบ | สองสม |
เกณฑ์เก็บจางวางกรม | ทั่วได้ |
สอดสนับเพลาถม | ปักยก ทองเอย |
เข้มขาบอย่างน้อยให้ | นอกซ้อนครุยกรอง ๚ |
๒๔๗๏ มหาดเล็กสิบหกให้ | แต่งอินทร์ พรหมเอย |
เข้มขาบเสื้อเฉิดฉิน | เทริดกั้ง |
ผ้าลายนุ่งทรงข้าวบิณฑ์ | สอดสนับ เพลานา |
ถือพุ่มมาศปรักตั้ง | นอกริ้วเรียงเคียง ๚ |
๒๔๘๏ บังพระสูรย์พระกลดนั้น | ภูษา มาลา |
เชิญเชิดบังแสงอา | ทิตย์คล้อย |
พัดโบกอภิรมย์มา | อยู่กวัด ไกวพ่อ |
ลายนุ่งเสื้ออย่างน้อย | นอกใช้ขาวครุย ๚ |
๒๔๙๏ บำเรอภักดิ์อนุรักษ์รู้ | การดี |
จ่าปลัดกรมวังมี | สี่ถ้วน |
พระทวยสุพรรณศรี | บัวแฉก |
จงหมื่นเชิญถวายบ้วน | แบ่งน้ำพระศรีเสยย ๚ |
๒๕๐๏ พระแสงมหาดเล็กได้ | เชิญตาม |
เครื่องใหญ่น้อยหลายหลาม | มากล้น |
ปืนทวนพิศเพรางาม | พวงพู่ ขาวเอย |
เจ้าพนักงานแสงต้น | เชิดด้ามเชิญเดิน ๚ |
๒๕๑๏ ถับทหารหาดเล็กล้วน | ผู้ดี |
นุ่งม่วงหมดเสื้อสี | ขาบล้วน |
ค้นชีพคาดกรครวี | ปืนเหมาะ มั่นนา |
เดินเหย่าเท้าถูกถ้วน | ลาศด้าวปฤษฎางค์ ๚ |
๒๕๒๏ พระที่นั่งหนึ่งเลิศล้วน | ราชา วดีเอย |
อีกที่นั่งถมเนื่องมา | ฝ่ายท้าย |
พระวอต่อตามคลา | เรียงเรียบ |
ผูกแปดหามยาตรย้าย | ทั่วถ้วนทุกองค์ ๚ |
๒๕๓๏ ม้าเทศที่นั่งต้น | จูงตาม |
ผูกเครื่องกุดั่นงาม | สี่ม้า |
ล้วนม้าระวางนาม | ปรากฏ มีเฮย |
จูงเหยาะแย่งแยกถ้า | หนึ่งม้าสี่คน ๚ |
๒๕๔๏ ถัดถึงเหล่าล้วนพวก | อาสา |
เกณฑ์หัดถือปืนคลา | คลาสเต้า |
มลายูหอกคู่มา | เรียงต่อ |
แขกเทศกรมท่าเข้า | แต่งล้วนเสโล |
๒๕๕๏ อาสาญี่ |
ถือขวาน จีนเอย |
ทำลุธนูชาญ | เชี่ยวแกล้ว |
ดั้งทองดาบดั้งหาญ | เหิมฮึก เหี้ยมแฮ |
ทวนภู่ทวนทองแล้ว | โล่ |
๒๕๖๏ อาสาใหญ่ให้ดาบ | เชลยลอง |
ตรีเหล่าอาสารอง | ฤทธิ์ห้าว |
อาทมาทดาบถือสอง | มือมั่น |
อีกทหารในง้าว | ง่าเงื้องามหาญ ๚ |
๒๕๗๏ เขนทองนั้นได้เทิด | ดาบเขน |
ตะบองหมู่เรือกันเจน | จัดไว้ |
ครบสิบสื่อย่างเกณฑ์ | ครบห่อน ขาดนา |
หมู่ละสามสิบให้ | อยู่ท้ายขบวนหลัง ๚ |
๒๕๘๏ อาสาญี่ปุ่นทั้ง | เกณฑ์หัด ฝรั่งนา |
แขกเทศมลายูจัด | แจกไว้ |
แต่งตามเพศตนคัด | แต่สี่ อย่างเฮย |
ล้วนเลิศหลากหลากได้ | บอกรู้ธรรมเนียมเดิม ๚ |
๒๕๙๏ สิบเหล่านั้นให้แต่ง | ขบวนยุทธ |
เสื้อสอดเสนากุฎ | สุรัตล้วน |
กางเกงนุ่งริ้วดุจ | กันหมด นาพ่อ |
สวมหมวกหนังแดงถ้วน | ทุกผู้หมู่หมาย ๚ |
๒๖๐๏ ประตูหลังสองพระได้ | เดินกัน ขบวนเฮย |
เสื้อสอดอย่างน้อยขยัน | ยิ่งแล้ว |
ลายนุ่งอีกครุยสรร | สอดเลื่อม พราวแฮ |
พระนรินทร์พระศรีแกล้ว | กลั่นแกล้งแต่งสวย |
๒๖๑๏ ปืนล้อนั้นลากย้าย | ปลายขบวน |
ล้วนเหล่าทหารญวน | ยาตรพร้อม |
ปัศตันกับดินชนวน | กระสุน |
สำหรับแหนแห่ห้อม | สุดท้ายภายหลัง ๚ |
๒๖๒๏ ชาววังนั่งเพียบพื้น | ศาลา นอกแฮ |
ครั้นแห่ยาตรามา | หมอบเฝ้า |
ต่างคนต่างดูตา | ไม่พริบ เลยพ่อ |
ชมพระเดชพระเจ้า | อยู่เกล้าเย็นเกษม ๚ |
๒๖๓๏ ดูแห่ดูสุดสิ้น | เสร็จขบวน ดูนา |
ยังอยากดูสู้ชวน | พวกพ้อง |
ไปดูแห่งใดควร | แวะนั่ง ดูแฮ |
ดูไม่จบดูจ้อง | เคลื่อนแล้วดูตาม ๚ |
๒๖๔๏ เหล่าราษฎร์กลาดกลุ้มเกลื่อน | กลางถนน |
ชายวิ่งหญิงปะปน | แซ่ซ้อง |
ครั้นเมื่อแห่ต่างคน | ต่างนั่ง เรียบแฮ |
ตาจับมือคอยจ้อง | รับทิ้งโปรยทาน ๚ |
๒๖๕๏ เมียขุนร่องแร่งเร้า | รุนคลา |
บ่าวทาส |
ก็จ้าง |
ต่างหมู่ต่างพวกหา | ที่อยู่ ดูแฮ |
คุ้นชอบแห่งใดบ้าง | แอบเข้าอาศัย ๚ |
๒๖๖๏ พวกมีมาพรั่งพร้อม | มากหลาย แลเอย |
สาวห่มสีนุ่งลาย | เรียบร้อย |
บางคนแต่งสมกาย | สมแก่ เจียวพ่อ |
สีอ่อนนวลควันอ้อย | นุ่งพื้นพอควร ๚ |
๒๖๗๏ ตึกแถวว่างแล้วนั่ง | อาศัย ดูเฮย |
ตามพวกใครก็ใคร | กลุ่มกลุ้ม |
บางพวกเที่ยวเดินไป | นั่งโน่น นี่นา |
สาวอยู่กลางแก่หุ้ม | แวดล้อมระวังกัน ๚ |
๒๖๘๏ ชายเห็นชอบจิตแล้ว | ตามประจบ |
ไหนก็ไหนค้นพบ | พูดจ้อ |
น้าป้าย่ายายครบ | ยักพูด |
วางเลอะเป็นกอข้อ | ล่อน้ำลายฟูม ๚ |
๒๖๙๏ นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น | เที่ยวกรอ |
ชอบแห่งใดไปรอ | แห่งนั้น |
เป็นทีแวะแอบขอ | น้ำนั่ง เล่นเฮย |
ทำเลียบเคียงเชิงชั้น | เช่นชู้กอแก ๚ |
๒๗๐๏ ทุกจรอกไตรตรวจหน้า | ชนผอง |
เยี่ยดยัดอัดทั้งสอง | ตราบข้าง |
โรงร้านแต่งตั้งของ | ขายโอ่ อวดเฮย |
จีนแขกลาวไทยบ้าง | โต๊ะตั้งบูชา ๚ |
๒๗๑๏ เจ้าขุนนางต่างให้ครอบ | ครัวตน |
เช้าตื่นนอนผ่อนขน | ถ่ายย้าย |
เที่ยวหาที่ชอบกล | มอบฝาก ดูนา |
แล้วเสร็จตนจึงผ้าย | ยาตรเต้าตามขบวน ๚ |
๒๗๒๏ จบขบวนพยุหสิ้น | เสร็จสาร |
ขบวนราบอีกสถาน | หนึ่งนั้น |
เสด็จทรงพระราชยาน | ทองเลิศ |
ตำรวจแห่แบบบั้น | บอกแม้นตามเคย ๚ |
๒๗๓๏ แห่สองแถวครบถ้วน | กรมหมด |
นุ่งห่มสมตามยศ | ถูกถ้วน |
กลองชนะเครื่องสูงลด | อีกกับ แตรนา |
มหาดเล็กแห่น่าล้วน | เลิกให้ไปหลัง ๚ |
๒๗๔๏ ขบวนเสด็จอย่างหนึ่งนั้น | ยังมี |
ทรงรถเครื่องเหล็กดี | ยุโรปแท้ |
ม้าเทศหกม้าสี | เสมอหมด เหมาะเฮย |
เทียมขับควบเหยียดแล้ | เรื่อยริ้วฉิวฉุย ๚ |
๒๗๕๏ ตำรวจนั้นได้ขี่ | อาชา |
แห่เสด็จบรมนรา | ธิราชเจ้า |
เสื้อยศอย่างใหม่ปรา | กฎยิ่ง |
หมวดยอดคำสวมเกล้า | กระบี่บั้งสายทอง ๚ |
๒๗๖๏ ทหารมหาดเล็กผู้ | เลิศลบ |
ต่างแต่งขี่สินธพ | เทศแท้ |
ปืนโก๊กระบี่ครบ | ตัวหมด นาพ่อ |
ขี่กระลับขับแต้ | ควบเต้าตามขบวน ๚ |
๒๗๗๏ ชลมารคพยุหยาตรย้าย | เป็นขบวน |
เรือรูปสัตว์จำนวน | คู่ดั้ง |
เรือแซอีกเรือญวน | แจวคู่ น่าเฮย |
เรือกิ่งที่นั่งทั้ง | คู่ไท้ทรงรอง ๚ |
๒๗๘๏ ทหารญวนล้วนสอดเสื้อ | จีนประจำ |
สามคู่อยู่แจวนำ | แห่หน้า |
ท้ายธงปักทุกลำ | อาวุธ อีกเอย |
ปืนใหญ่แม่นปืนกล้า | อยู่ยั้งลำละ |
๒๗๙๏ เรือแซแห่เหล่าล้วน | มวลมอญ |
ลำหนึ่งหมูชลจร | ชื่อแท้ |
อีกลำชื่อสุกร | กำเหลาะ |
น้าวหน่วงกรรเชียงแต้ | โยกโย้เต็มตึง ๚ |
๒๘๐๏ แซชิงไชเยศอ้าง | ออกนาม |
อีกเพศพุกามตาม | คู่ล้ำ |
จระเข้ชื่อคำราม | ร้องเรียก เรือแฮ |
หนึ่งคนองน้ำ | หกถ้วนขบวนเดิม ๚ |
๒๘๑๏ ธงแพรปักเทิดท้าย | ทุกลำ |
พลพวกแต่งสีดำ | หมวกเสื้อ |
อำอาตม์เหมาะกำยำ | เหี้ยมฮึก หาญนา |
เฮปากมือง่าเงื้อ | ทุ่มเท้งชลฟู ๚ |
๒๘๒๏ เสือทะยานชลเฟื่องฟุ้ง | เริงแรง |
เสือชื่อคำรณสินธุ์แข็ง | คู่ผ้าย |
หลวงหนึ่งเดชสำแดง | อยู่ฝ่าย สดำเฮย |
หลวงชื่อแสงศรสิทธิ์ย้าย | อยู่เบื้องหนเฉวียง ๚ |
๒๘๓๏ ทหารปืนปากน้ำเพียบ | พลพาย |
เสื้อหมวกสีแดงหมาย | ทุกครั้ง |
น่าปืนจ่ารงลาย | เงินคร่ำ |
กลางคฤห์สองตอนตั้ง | ผูกง้าวทวนเขน ๚ |
๒๘๔๏ ประตูน่านำริ้วราช | ปลัดทูล ฉลองเอย |
ซ้ายราชวรานุกูล | ชื่อตั้ง |
ขวาเทพวรชุนพูน | สวัสดิ์ยศ เลิศพ่อ |
เรือกราบกันยาทั้ง | คู่ได้แข่งเดิน ๚ |
๒๘๕๏ อาสาหกเหล่านั้น | เวรนำ นอกนา |
กลองแขกนั่งในทำ | ปี่ท้าย |
เวรสมทบปลัดตำ | รวจอีก ลำเฮย |
นำนอกปลายริ้วผ้าย | ต่อท้ายเรือกลอง ๚ |
๒๘๖๏ ทั้งนี้เรือกราบพร้อม | พลพาย |
เสื้อสนอบสวมกาย | ทั่วถ้วน |
มงคลทัดเกล้าหมาย | เหมือนมด นาพ่อ |
ดูเลิศสีแดงล้วน | เล่มกล้าพายโผน ๚ |
๒๘๗๏ คำแหงหาญนี้ชื่อ | นาวา สางเฮย |
หลวงพิทักษ์โยธา | มอบให้ |
อีกหลวงหนึ่งนรา | เรืองเดช |
สางชื่อชาญชลสินธุ์ได้ | คู่ดั้งโดยกรม ๚ |
๒๘๘๏ เรือกิเลนชื่อนั้นประ | ลองเชิง |
หนึ่งชื่อว่าระเริง |
คู่นี้ |
หลวงนามเทพเดชะเถลิง | คฤห์หนึ่ง นาพ่อ |
อีกสุรินทร์เดชะชี้ | ชื่อเจ้ากรมสอง ๚ |
๒๘๙๏ มกรแผลงฤทธิ์อ้าง | ออกนาม เรือเอย |
พระชื่อรามพิไชย | อยู่ยั้ง |
กับพระเผด็จสงคราม | อีกคู่ กันเฮย |
มกรชื่อจำแลงตั้ง | แต่งไว้ในขบวน ๚ |
๒๙๐๏ เหราชื่ออ้างล่อง | ลอยสินธุ์ |
หนึ่งชื่อลินลาสมุท | บอกแจ้ง |
หลวงสกลพิมานยิน | ดีนั่ง คฤห์นา |
หลวงวิเชียรไพชยนต์ |
เศกให้เคียงสอง ๚ |
๒๙๑๏ เรือโตขมังคลื่นร้าย | แรงรุน |
โตชื่อฝืนสมุทร |
เผ่นน้ำ |
ชำนาญภักดีขุน | ที่ปลัด กรมเอย |
ขุนอีกศรีสังหาร |
ศักดิแม้นเสมอสอง ๚ |
๒๙๒๏ ทั้งนี้ลายเลิศล้วน | น้ำมัน |
คฤห์ดาดสีแดงฉัน | แต่ผ้า |
พลพายหมวกเสื้อสรรพ์ | แดงหมด นาพ่อ |
เขนผูกข้างทวนหน้า | คฤห์ง้าวราวเฉียง ๚ |
๒๙๓๏ กระบี่ราญรอนราพณ์ |
|
กระบี่ปราบเมืองมารดล | แด่นมล้าง |
หลวงหนึ่งชื่อศรีรณ | รงค์นั่ง คฤห์เอย |
หลวงมหาโยธีอ้าง | ชื่อชี้กองกลาง ๚ |
๒๙๔๏ อสุรวายุภักษ์เหี้ยม | หาญรณ |
หลวงชื่อเสนานนท์ | หนึ่งผู้ |
ปักษีสมุทรยล | อย่างยักษ์ นกนา |
หลวงชื่อพลอาศัยรู้ | ที่เจ้ากรมเสนอ ๚ |
๒๙๕๏ พาลีรั้ง |
สมญา เรือเฮย |
สุครีพครองเมืองนา | เวศรู้ |
ขุนพรหมรักษาขวา | ปลัดหนึ่ง นาพ่อ |
ขุนอีกอินท์รักษาผู้ | ฝายซ้ายในทหาร ๚ |
๒๙๖๏ นำในเรือกราบต้น | เวรลำ หนึ่งเอย |
จมื่นปลัดกรมตำ | รวจห้าว |
พลพายเพียบประจำ | กระทงครบ แลแฮ |
เย่อวพ่อเย่อวหน่วงน้าว | เย่อวพร้อมชูพาย ๚ |
๒๙๗๏ ครุฑเหิร |
แดนชล ขวาเฮย |
ขุนชื่อบัญชาพล | ปลัดยั้ง |
เตร็จไตรจักรครุฑหน | แห่งคู่ เรือแฮ |
ขุนฤทธิ์พิชัย |
ฝ่ายซ้ายโทเคียง ๚ |
๒๙๘๏ รูปสัตว์สี่คู่ล้วน | ลายรด น้ำเอย |
พื้นสอดสีเหมือนหมด | หมึกแม้น |
คฤห์ลาดดาดแดงสด |
ปักมาส กรวยนา |
เขนดาบทวนผูกแหน้น | หอกง้าวหางยูง ๚ |
๒๙๙๏ นายลำนายเส้า |
อินทรีย์ |
เสื้อเลิศล้วนต่างสี | ทั่วถ้วน |
เสนากุฎลายฝี | พายแต่ง ตนเฮย |
ครอบหมวกหนังแดงล้วน | นุ่งริ้วกางเกง ๚ |
๓๐๐๏ ตำรวจนั่งท้ายเทิด |
ธงสาม ชายนา |
โพกขลิบเสื้อสวมงาม | ดอกริ้ว |
ลงลำละคนตาม | ตำแหน่ง นาพ่อ |
วายุพัดธงพลิ้ว | พลิกเฟื้อยสะบัด |
๓๐๑๏ จ่ารงนเรศ |
ลงลำ ละ |
เก้าคู่แม่นปืนประจำ | คู่จ้อง |
ปืนเล็กนั่งคฤห์สำ | หรับหก คนนา |
ลงแต่เจ็ดคู่ต้อง | ลดไว้อีกสอง ๚ |
๓๐๒๏ พาลีสุครีพทั้ง | วายุภักษ์ |
ให้รับกลองทองปรัก | สี่นี้ |
ลำละสิบคนพรัก | พร้อมสี่ สิบเอย |
จ่าปี่จ่ากลองชี้ | ที่ให้ลำละคน ๚ |
๓๐๓๏ เรือกราบกลองแขกผู้ | นำใน |
แม้ว่าเป็นเวรใคร | จึ่งต้อง |
แห่นำที่วางไป | น่าคู่ ชักเอย |
แต่งเช่นนำนอกพ้อง | ไม่เพี้ยนเลียนเหมือน ๚ |
๓๐๔๏ ถัดถึงเรือกิ่งแก้ว | ศรีสมรรถ ไชยเฮย |
ประกอบกาบกนกสะบัด | ชดช้อย |
บัลลังก์บุษบกรัตน์ | เรืองโรจน์ |
แสงสุวรรณสุกย้อย | ยอกพลิ้วเลอหาว ๚ |
๓๐๕๏ เครื่องสูงลงอยู่หน้า | สี่องค์ |
สามเครื่องห้าหนึ่งลง | เจ็ดชั้น |
ตอนท้ายเจ็ดชั้นคง | องค์หนึ่ง |
อีกเครื่องห้าชั้นนั้น | จัดให้ลงสอง ๚ |
๓๐๖๏ บุษบกม่านตาดห้อย | แหวกสอง ไขแฮ |
พานมหากฐิน |
รับผ้า |
รายตำรวจตีนตอง | ครบหก ตนพ่อ |
นักสราช |
เทิดด้ามธงทอง ๚ |
๓๐๗๏ ชัยเหิรหาวหนึ่งนั้น | เนาขวา |
หลวงอภัย |
ยาตรย้าย |
หลาวทองเอกชัยคลา | คลอคู่ |
หลวงสุเรนทร์วิชิตซ้าย | คู่ดั้งชักเดิม ๚ |
๓๐๘๏ หลังคาดาดแย่งพื้น | แดงสี |
หอกซัดหางโมรี | ดาบง้าว |
ทวนมาศดาบเชลยมี | เขนสิ่ง คู่นา |
แปลงแปลกแต่พู่เส้า |
ทุกชั้นขนแดง ๚ |
๓๐๙๏ ลำเรือลายรดน้ำ | ดำผจง แจ่มเฮย |
นักสราชน่าถือธง | อีกท้าย |
มโหระทึก |
ทั้งคู่ เรือพ่อ |
พลเพียบแต่งตนคล้าย | เล่ห์แม้นสิบลำ ๚ |
๓๑๐๏ อนันตนาคราชแม้น | นฤมิตร |
รูปนาคหลากพิจิตร | เลิศล้วน |
รายเหล่าอุรุคฤทธิ์ | ขดเกี่ยว เกี่ยวแฮ |
ผกแผ่เจ็ดเศียรถ้วน | ขบเขี้ยวแข็งขัน ๚ |
๓๑๑๏ มหาบุษบกตั้ง | กลางลำ |
ม่านตาดผูกประจำ | แต่งไว้ |
นักสราชท้ายน่าสำ | หรับเทิด ธวัชเอย |
ปืนจ่ารงค์นเรศใช้ | คร่ำด้วยเงินลง ๚ |
๓๑๒๏ เครื่องห้าชั้นครบห้า | เรียงราย |
เครื่องเจ็ดชั้นสองหมาย | ดั่งนั้น |
พระกลดอยู่งานถวาย | พัดโบก ลมนา |
บังพระสุรย์บังดั้น | แดดต้องส่ององค์ ๚ |
๓๑๓๏ พระแสงสินาดเฟื้อย | นกสับ |
แท่นหลักตั้งสำหรับ | อยู่หน้า |
แสงง้าวนากถมปรับ | ทอดค่าง ที่เฮย |
ทวนคู่อยู่ท้ายถ้า | ที่เจ้ากรมเชิญ ๚ |
๓๑๔๏ เจ้าหมื่นมหาดเฝ้า | ฝ่ายละสอง |
เชิญพระแสงตีนตอง | สี่รู้ |
จางวางหมอบทูลฉลอง | หน้าพระที่ นั่งแฮ |
อีกหนึ่งหุ้มแพรผู้ | อยู่ท้ายเลวสอง ๚ |
๓๑๕๏ แต่งตนเต็มยศพร้อม | เพริศพราย |
เยียรบับเข้มขาบหลาย | อย่างล้ำ |
ล้วนเสื้ออย่างน้อยลาย | สองปัก นุ่งเอย |
แพรขลิบโพกเกล้าซ้ำ | คาดเสื้อครุยกรอง ๚ |
๓๑๖๏ พลพายพายมาศจ้วง | เปิดชู เชิดแฮ |
ทรงประพาส |
อย่างน้อย |
หมวกตุ้มปี่แดงดู | เถือกเนตร นาพ่อ |
ริ้วดอกปูมเชิงพร้อย | เลิศล้วนกางเกง ๚ |
๓๑๗๏ ที่นั่งรองสองอีกใช้ | เรือศรี ประกอบเฮย |
ดาดแย่งบัลลังก์มี | ม่านกั้น |
ผูกผ้าภู่จามรี | แต่งครบ แลพ่อ |
ท้ายที่นั่งทางนั้น | คู่นี้พายตาม ๚ |
๓๑๘๏ พระยาตำรวจซ้าย | ตามติด |
นามอภัยรณฤทธิ์ | ออกอ้าง |
พระยาอีกอนุชิต | เนาฝ่าย ขวาเอย |
เคียงแข่งแซงสองข้าง | ต่อท้ายเรือรอง ๚ |
๓๑๙๏ ถัดถึงองครักษ์ทั้ง | แปดกรม |
ในใหญ่ซ้ายขวาสม | สี่ถ้วน |
ตำรวจนอกกับสนม | อีกสี่ ลำเอย |
เรือกราบกันยาล้วน | แต่เจ้ากรมละกรม ๚ |
๓๒๐๏ เรือพระมหาเทพทั้ง | มหามน ตรีนา |
พระพิเรนทรเทพหน | แห่งซ้าย |
พระอินทรเทพพล | พายเพียบ ขวาเฮย |
สี่พระตำรวจย้าย | ยาตรเต้าสี่เสมอ ๚ |
๓๒๑๏ พระอินทรเดชนี้ | นอกเฉวียง |
ขวาราชวรินทร์เคียง | คู่แล้ว |
พระพรหมบริรักษ์เรียง | ริ้วนอก นาพ่อ |
พระสุริยภักดีแกล้ว | กลั่นกล้ากรมสนม ๚ |
๓๒๒๏ พระยามหานุภาพผู้ | พลพัน |
พระยาราชสงครามขัน | เข่นเสี้ยน |
องครักษ์หมู่หลังรัน | โรมอริ แหลกแฮ |
ตำแหน่งตามบเพี้ยน | แวดล้อมวงหลัง ๚ |
๓๒๓๏ ราชโยธาเทพผู้ | ทหารใน |
วิสุทธิโยธามาตย์ไป | ไม่รั้ง |
พลพันพระหฤทัย |
อภัยสุ รินทร์เฮย |
พายหนักลงเล่มตั้ง | หน่วงน้าวแข่งแข็ง ๚ |
๓๒๔๏ ปลัดกรมตำรวจถ้วน | หกลำ |
แต่ที่ใช้เวรนำ | อยู่ท้าย |
อิกสองปลัดกรมตำ | รวจฝ่าย หลังแฮ |
พายเร่งหนักแรงย้าย | หน่วงน้าวยาวเผิน ๚ |
๓๒๕๏ หลวงกรรภยุบาทว์เจ้า | กรมหาญ |
หลวงราชเสวกชาญ | ชื่อตั้ง |
ขุนปลัดราชพิมาน | อินทร์ประ สาทเอย |
กรมรักษาองค์ทั้ง | สี่ผู้นายลำ ๚ |
๓๒๖๏ จ่าหาญจ่าห้าวจ่า | ผลาญแผลง |
จ่าเร่งจำเขมงแรง | จ่าเขม้น |
จ่าเผ่นจ่าโผนแสง | คาบชุด ยุทธพ่อ |
จ่าช่วงจ่าโชนเต้น | ตรวจใช้ไฟวัง ๚ |
๓๒๗๏ มลโยธานุโยคเจ้า | กรมทนาย เลือกแฮ |
ชัยโชคชกชนะหลาย | สิบครั้ง |
โยธาบดีหมาย | นายเปรียบ มวยพอ |
ขุนภักดีอาสาตั้ง | คู่ไว้ศักดิ์เสมอ ๚ |
๓๒๘๏ รักษาองค์ปลายหอกห้าว | เห็นหาญ |
พระชื่ออภิบาลผลาญ | เศิกม้วย |
หลวงบรมราชผู้ชาญ | เชี่ยวยุทธ นาแฮ |
ขุนอาจขุนอมรด้วย | ปลัดทั้งสองทหาร ๚ |
๓๒๙๏ เรือทหารเกณฑ์หัดล้วน | เข้มแข็ง |
พระชื่อศรสำแดง | เดชกร้าว |
อีกพระอัคเนศรแสง | ใหญ่รอบ รู้ฤๅ |
หมื่นก่งศรก่งศิลป์ห้าว | หั่นเสี้ยนเศียรปลิว ๚ |
๓๓๐๏ เรือทหารมหาดผู้ | ใช้ชิด |
หลวงสาตราธิกรณ์ฤทธิ์ | รอบรู้ |
หลวงสรจักรานุกิจ | กอบแม่น ยำเฮย |
หลวงวิทยาธิกรณ์ศักดิ์สู้ | เศิกแกล้วกลางสมร ๚ |
๓๓๑๏ หลวงอังกนิศรสร้อยชื่อ | พลารักษ์ |
สรสิทธยานุการอัคร |
อาจป้อง |
ศัลยุทธิกรรพรัก | พร้อมหก นายแฮ |
เรือกราบพลพายซ้อง | กึ่งกั้นกันยา |
๓๓๒๏ นายรองผู้น้อยนับ | มากหลาย |
เรือกราบแต่ตัวนาย | ร่มกั้น |
เบาะหมอนเครื่องยศราย | โอ่อ่า |
พายต่อเรียงตามชั้น | แทรก |
๓๓๓๏ เรือแซงพลไพร่พร้อม | ครบกระทง |
จัดทหารเลวลง | เพียบแต้ |
ลำละสิบสองคง | ทั้งคู่ เรือนา |
ล้วนลึกเปิดโล่งแตล้ | เล่มกล้าเห็นจริง ๚ |
๓๓๔๏ นายเวรจ่ามหาดนั้น | กันยา |
เรือเหล่าหุ้มแพรมา | ล่งล้วน |
ที่ไปรับวัดคลา | ไคลล่วง ก่อนเอย |
เหลือจึงตามเสด็จถ้วน | ครบหน้าตัวนาย ๚ |
๓๓๕๏ กันยานาเวศต้อน | ตอนหลัง |
เกณฑ์จมื่นจงปลัดวัง | สี่ได้ |
ออกพร้อมแข่งประดัง | ทั้งสี่ ลำนา |
อนุรักษ์บำเรอภักดิ์ไว้ | สุดท้ายปลายขบวน ๚ |
๓๓๖๏ เรือประตูหลังนั้นปลัด | บาญชี |
ขวาพระนรินทร์เสนี | ยาตรย้าย |
ซ้ายนั้นพระยาศรี | สิงหเทพ |
พลไพร่แต่งตนคล้าย | คู่หน้าประตูนำ ๚ |
๓๓๗๏ แซหลังตั้งชื่อไว้ | วรวา รีเฮย |
อีกชื่อศรีปัดสมุทรมา | คู่ต้อง |
ตั้งคฤห์ผูกเครื่องอา | วุธครบ ที่แฮ |
มอญหมดกรรเชียงจ้อง | เทิดท้ายธงแพร ๚ |
๓๓๘๏ พระองค์เจ้าอีกกับทั้ง | ต่างกรม |
เรือกราบกันยาสม | ศักดิ์เจ้า |
พู่ดาวม่านพึงชม | ทองปัก แย่งพ่อ |
พลเพียบพายหน่วงน้าว | แข่งบ้างลางแซง ๚ |
๓๓๙๏ เสร็จเจ้าแล้วจึงล้วน | ขุนนาง หลายแฮ |
นาเวศกันยากลาง | เลิศล้ำ |
สองข้างม่านแพรกาง | กันแดด ส่องเฮย |
พายเพียบจรดจัวงจ้ำ | แทรกซ้อนร่อนกราย ๚ |
๓๔๐๏ ปางทรงที่นั่งต้น | โสภิต |
เรืออนันตนาครจิตร | เจ็ดเกล้า |
กฤษณรักษ์ทรงสถิตย์ | เกษียรสมุทร แม้นพ่อ |
เลอหลากเพรงพระเจ้า | แต่โพ้นฤๅมี ๚ |
๓๔๑๏ เสด็จลงพลไพร่พร้อม | กราบงาม |
ถ้วนครบคำรบสาม | คาบแล้ว |
จึ่งหลวงพิศณุนาม | เสนอกล่าว ครโลงเอย |
เฉื่อยฉ่ำสำเนียงแจ้ว | จึ่งจ้องจรดพาย ๚ |
๓๔๒๏ เห่เอ่ยพระเสด็จพร้อง | คำขาน |
พลไพร่รับบรรสาน | แซ่ซ้อง |
พระที่นั่งเคลื่อนชลธาร | ฟูฟ่อง |
พายจรดต้นบทร้อย | รับซ้ำกรายพาย ๚ |
๓๔๓๏ คู่ชักเคลื่อนออกซ้อง | เสียงสังข์ |
ตั้งโห่แตรเป่าดัง | แตร่แตร้ |
มโหรทึกลั่นประนัง | นฤนาท |
พายพ่อพายเปิดแล้ | จรดเส้ายาวเยอว ๚ |
๓๔๔๏ เรือกลองกลอง |
ติงติง ทั่งแฮ |
ปี่เป่าแอ้อ่อยอิง | เกลือกนิ้ว |
จำกลองเปิดปะปิง | เปิงครุ่ม |
เรือเลื่อนลมริ้วริ้ว | ศัพท์เส้าครื้นโครม ๚ |
๓๔๕๏ เรือดั้งทุกคู่รู้ | ตัวนาย เส้าเฮย |
ตั้งโห่ออกเรือขยาย | เคลื่อนคว้าง |
เส้ารุกเร่งพลพาย | หนักทุก เล่มพ่อ |
น่าพัดคัดฉากง้าง | งัดท้ายพายตรง ๚ |
๓๔๖๏ เรือตามต่างออกพร้อม | เพรียงกัน |
เคียงแข่งแซงแข็งขัน | ครั่นครื้น |
ส่ำเรือส่ำพลพัน | ลึกเอิก เกริกเอย |
สายสมุทรนองคลื่นฟื้น | เฟื่องฟุ้งฟองฟู ๚ |
๓๔๗๏ ถึงที่หนึ่งใกล้เกือบ | ประทับ |
ดั้งไล่จ้ำฉับฉับ | เร่งเส้า |
เรือกลองทอดทวนขยับ | ตรงท่า ฉนวนเฮย |
เรือที่นั่งหนักโน้มน้าว | หน่วงพลิ้วพายทอง ๚ |
๓๔๘๏ ครั้นถึงประทับรั้ง | ราพาย |
กลองแขกทำแปลงถวาย | ต่านจ้อ |
เรียกรุ่ยเร่งรัวปลาย | ไม้ดอก รุกนา |
ปี่ปิดนิ้วลงห้อ | แหบซ้ำส่ายเลย ๚ |
๓๔๙๏ ปางเสด็จยุรยาตรขึ้น | เป่าสังข์ |
แตรก็ส่งสนั่นดัง | แซ่ซ้อม |
กลองชนะจ่าเรียกจั๋ง | ครุ่มครุ่ม จั๋งครุ่ม |
จบหมดสามลาพร้อม | กับทั้งเสียงแตร ๚ |
๓๕๐๏ พระดำเนินสู่โบสถ์ตั้ง | นมัสการ |
ทรงมอบจีวรทาน | นอบน้อม |
สงฆ์สมมุติสวดครองกราน |
แล้วแฮ |
ถวายเครื่องบริขารพร้อม | แจกทั้งไตรปี ๚ |
๓๕๑๏ เสร็จเสด็จทีหนึ่งแล้ว | คลาพล |
เคลื่อนพยุหโดยชล | มารคเต้า |
ลุวัดที่สองดล | สามสี่ วัดนา |
เย็นบ่ายกลับคืนเข้า | สู่เบื้องมณเฑียร ๚ |
๓๕๒๏ ชาวแพชาวบ้านจัด | โต๊ะเตียง |
ตั้งที่บูชาเรียง | เครื่องพร้อม |
เจ้าของแอบหมอบเคียง | ดูแห่ |
เทียนธูปจุดนอบน้อม | นั่งเฝ้าเต็มแพ ๚ |
๓๕๓๏ บางแห่งแต่งกวาดแผ้ว | ชุลมุน |
รับท่านผู้มีคุณ | วุ่นว้า |
บ้างรับพวกเมียขุน | นางอีก หลายเอย |
วิ่งไขว่อยากได้หน้า | เหนือยนั้นเลยลืม ๚ |
๓๕๔๏ ขุนนางต่างแต่งให้ | ภรรยา |
เรือแหวดแปดแจวหา | ที่ยั้ง |
คุ้นชอบแวะจอดอา | ศัยอยู่ ดูแฮ |
หน้าวัดน่าบ้านทั้ง | ร่มไม้ฝั่งชล ๚ |
๓๕๕๏ พระเสด็จพยุหยาตราเต้า | แดนชล |
อัศวยุช |
หนึ่งครั้ง |
ปางเมื่อสุดสิ้นฝน | ฟ้าเปิด เมฆแฮ |
เฉลิมพระยศทั่วทั้ง | แผ่นหล้าแหล่งสยาม ๚ |
๓๕๖๏ ประชุมชนพรักพร้อม | มากหลาย |
ถ้วนทั่วทุกหญิงชาย | แซ่ซ้อง |
เที่ยวดูแต่ตามสบาย | เริงรื่น |
ยอพระเกียรติเกริก |
นบนิ้วถวายพร ๚ |
๓๕๗๏ ชลมารคพยุหยาตรนี้ | มีวัน หนึ่งนา |
ต่ออีกนั้นจัดสรร | ใหม่แท้ |
พรหมราชที่หัวพัน | หมายบอก |
เรือรูปสัตว์ผลัดแก้ | เปลี่ยนดั้งธรรมเนียม ๚ |
๓๕๘๏ เรือญวนสามคู่นั้น | ให้คง อยู่แฮ |
เสือหนึ่งแซสามตรง | สี่ถ้วน |
แปดลำประจำจง | มาแห่ |
กว่าจะเลิกกฐินล้วน | เหล่านี้มีเสมอ ๚ |
๓๕๙๏ เรือประตูอีกกับทั้ง | เรือนำ กลองเฮย |
อีกปลัดกรมพระตำ | รวจหน้า |
เวรสมบทแห่ประจำ | ริ้วนอก |
ตำรวจกองประตูห้า | คู่ทั้งเรือเสือ ๚ |
๓๖๐๏ กองกลางเรือดั้งนอก | นามขนาน |
ขุนชื่อจงใจหาญ | ปลัดรู้ |
นายเรือคู่ชำนาญ | นำแห่ มานา |
ขุนชื่อผลาญไพรีผู้ | กลั่นกล้ากลางณรงค์ ๚ |
๓๖๑๏ เรือกันแกล้วกลั่นกล้า | ไวยวุฒิ |
ขุนพิชัยชาญยุทธ | เชี่ยวใช้ |
ขุนนราฤทธิไกรรุด | ราญศึก สยอนเอย |
กรมสุวัสวดีได้ | ว่าทั้งสองกรม ๚ |
๓๖๒๏ เรือดั้งตำรวจทั้ง | แปดกรม |
ในใหญ่นอกอีกสนม | แปดถ้วน |
รองงานนักงานระดม | ในหมู่ |
เกณฑ์ทุกกรมแต่ล้วน | เลือกพื้นพันทนาย ๚ |
๓๖๓๏ เกณฑ์หัดอย่างฝรั่งดั้ง | แห่ใน |
ขุนชื่อคงปืนไฟ | แม่นถ้า |
ทั้งสองปลัดกรมไว | วิ่งรุก โรมพ่อ |
ขุนไล่พลรบกล้า | มุ่งสู่หมายเศียร ๚ |
๓๖๔๏ ล้อมวังดั้งคู่นี้ | พนักงาน |
หลวงอภัยพลชาญ | ชื่ออ้าง |
ฝ่ายขวาว่าแต่การ | แหนแห่ |
หลวงชนะไพรินข้าง | ฝ่ายซ้ายนายเรือ ๚ |
๓๖๕๏ อาสาวิเศษตั้ง | ชั้นสาม |
ขุนอนุชิตสงคราม | มอบให้ |
ขุนรณฤทธิ์พิชัยนาม | ที่ปลัด กรมเฮย |
เป็นพนักงานได้ | ว่าด้านการเรือ ๚ |
๓๖๖๏ ทหารในเรือดั้งนี้ | สองคลา |
หมื่นชื่อจงใจสนิทขวา | หนึ่งนั้น |
ซ้ายหมื่นจิตรรักษา | เรือคู่ ดั้งแฮ |
วางแห่เคียงคู่กั้น | นอกชั้นเรือกลอง ๚ |
๓๖๗๏ ดาดสีแดงสอดพื้น | เชิงกรวย |
สิบคู่ดูสลวย | สุกจ้า |
ดาวผ้าพู่เส้นสะสวย |
เพราเพริศ |
ขนพู่ขนเส้าห้า | แห่งชั้นขนขาว ๚ |
๓๖๘๏ ปืนหลักนกสับง้าง | รางทา เขียวเอย |
ตั้งที่หน้ากันยา | เหมาะหมั้น |
เกณฑ์หัดหมู่ทหารมา | ลงหก คนพ่อ |
พลพวกพายเรือนั้น | สอดเสื้อสีขาว ๚ |
๓๖๙๏ เรือปลัดตำรวจต้น | เวรไคล คลาเฮย |
หน้าแห่งเรือทหารใน | คู่ดั้ง |
เรือกลองจัดวางไป | น่าคู่ ชักนา |
พายหนักลงเล่มตั้ง | ตกด้อยคอยที ๚ |
๓๗๐๏ เอกชัยบุษบกตั้ง | ลอยสินธุ์ |
ศรีประภัสรชัยยิน | ชื่ออ้าง |
สำหรับรับไตรกฐิน | พายแห่ |
ลอยเลื่อนลำเดียวคว้าง | ที่หน้าเรือลำ ๚ |
๓๗๑๏ เครื่องสูงลงครบทั้ง | เจ็ดองค์ |
ตำรวจตีนตองคง | หกถ้วน |
แตรนักสราชลง | ครบที่ |
พายอ่าเสื้อเหลืองล้วน | หมวดตุ้มปี่แดง ๚ |
๓๗๒๏ เรือชื่อบ้าบิ่นนั้น | เนาขวา |
เกณฑ์ไพร่โพเรียงมา | ประจุพร้อม |
ขุนปลัดชื่อบัญชา | พลว่า กล่าวเอย |
พายไม่เหนื่อยหัดซ้อม | อดสู้อยู่แรง ๚ |
๓๗๓๏ เรือทองแขวนฟ้าที่ | ซ้ายหมาย |
บ้านใหม่ไพร่เล่มพาย | หัดไว้ |
ขุนฤทธิพิชัยนาย | ปลัดตัก เตือนแฮ |
ถี่ถับทุกเล่มได้ | เร่งเส้าพายทัน ๚ |
๓๗๔๏ สีแดงดาดขอบล้อม | เชิงมี |
กลางดอกดาวดูดี | เรียบร้อย |
พู่เรือพู่เส้าสี | แดงหมด นาพ่อ |
เสื้อขลิบแดงอย่างน้อย | จ่ายถ้วนพลพาย ๚ |
๓๗๕๏ คู่ชักคู่นี้ไม่ | มีทหาร ปืนเฮย |
ลงแต่มโหระทึกขาน | คู่ใช้ |
ว่าลำหนึ่งโบราณ | สรงหนึ่ง บังคนเอย |
ม่านรอบม้วนแขวนไว้ | เมื่อใช้ปลดลง ๚ |
๓๗๖๏ ที่นั่งศรีมีชื่อไว้ | เทวา ธิวัดถ์เอย |
เพ็ชรรัตน์รายดารา | เอกอ้าง |
รัตนดิลกสมญา | บุษบก พิศาลแฮ |
ทวยเทพยถวายกรบ้าง | ผลัดเพี้ยนเปลี่ยนทรง ๚ |
๓๗๗๏ ยังที่นั่งทรงกราบนั้น | มีสาม |
ชื่อประจำทวีปงาม | เลิศล้น |
กลีบสมุทรสุดพายตาม | เดินนัก นาพ่อ |
ประพาสแสงจันทร์ต้น | ป่าใต้ตัดถวาย ๚ |
๓๗๘๏ ถวายเป็นที่นั่งต้น | วันละลำ |
เล่มยกพายประจำ | จัดพร้อม |
กางเกงยกริ้วขำ | เขียวหมด แลแฮ |
สวมสนอบขาวมืออ้อม | ขลิบล้อมเหลืองสี ๚ |
๓๗๙๏ เรือศรีมีชื่ออ้าง | อีกสอง ลำเอย |
จักรพรรดิภิรมย์รอง | แต่งตั้ง |
พิมานอมรินทร์คลอง | แคบเล็ก ใช้นา |
รุ้งประสานสายทั้ง | เฟื่องฟ้ากราบสอง ๚ |
๓๘๐๏ พลพิริยพรักพร้อม | เรียบราย |
จัดแต่งล้วนเล่มพาย | ยกกล้า |
กางเกงสอดสวมกาย | เสื้อสนอบ แลพ่อ |
แม้นที่นั่งเจ้าหล้า | บ่เพี้ยนเลียนตาม ๚ |
๓๘๑๏ บัลลังก์ตั้งกึ่งกัน | กันยา |
สีดาดทองตรูตา | แย่งพร้อย |
ผูกม่านแย่งรจนา | กระจก |
ดาวพู่ผ้าดาดห้อย | แต่งทั้งทรงรอง ๚ |
๓๘๒๏ เรือตามตามบทพร้อม | ไม่ลด |
อย่างพยุหยาตรหมด | ทุกผู้ |
ต่างตนแต่งเต็มยศ | เสมอทุก วันนา |
กว่าจะสิ้นกฐินสู้ | เบียกแว้งแต่งกาย ๚ |
๓๘๓๏ บางแห่งที่ไม่สู้ | ขัดขวาง |
เจ้ากับท่านขุนนาง | แต่งได้ |
บางคนบ่นครวญคราง | ออดแอด |
แต่งก็เต็มดูใกล้ | เปรอะเบื้อนปอดปอน ๚ |
๓๘๔๏ ที่จนจักบ่นบ้าง | ตามที |
แต่ที่ผู้มังมี | บ่นบ้า |
รำพัน |
แคะค่อน |
พูดไม่คิดไว้หน้า | พูดเหล้นฤๅจริง ๚ |
๓๘๕๏ ขายผ้าเอาหน้ารอด | ไว้ที |
ถึงจะมีไม่มี | เสือกดิ้น |
เพราะการแต่ละปี | มีแต่ ละครั้งเฮย |
วิ่งวุ่นกว่าจะสิ้น | สุดรู้จำจน ๚ |
๓๘๖๏ บ้างยืมบ้างเช่าบ้าง | ของตัว |
เมียคิดหาแต่งผัว | ช่วยบ้าง |
อ้อนวอนที่เจ๊สัว | คุ้นชอบ |
บ้างเร่งเตือนของจ้าง | ช่างร้องเต็มที ๚ |
๓๘๗๏ เครื่องถมเครื่องนากล้วน | พานกา หีบเอย |
เงินสั่งทำมาแต่ | เซี่ยงไฮ้ |
กระโถนเครื่องน้ำชา | ขันโต๊ะ ชุดพ่อ |
กล่องปิ่นโตหาไว้ | แต่งใช้ไปกฐิน ๚ |
๓๘๘๏ บ้างหาเครื่องยศบ้าง | หาเรือ |
หาเก็บจนเหลือเฟือ | เผื่อไว้ |
ที่ขัดก็ขัดเหลือ | เต็มขัด แล้วนา |
หาเช่นเขาไม่ได้ | แทบกลั้นใจตาย ๚ |
๓๘๙๏ วิ่งวนจนสุดสิ้น | ปัญญา |
หล่อนช่วยวิ่งช่วยหา | หน่อยเจ้า |
เมียช่วยวิ่งเต็มประดา |
หลายแห่ง |
ไม่เสร็จไม่กินข้าว | โกรธแค้นถึงตี ๚ |
๓๙๐๏ การกฐินไม่สิ้นเรื่อง | รำพัน |
จักกล่าวป่วยการวัน | เนิ่นช้า |
ยังความที่ขันขัน | มีมาก |
ว่านักดูเหมือนบ้า | บ่นเพ้อเก้อเอง ๚ |
๓๙๑๏ มวลหมู่ข้าไท้ฝ่า | บาทบงสุ์ |
อีกพระวงศานุวงศ์ | ใหญ่น้อย |
เหล่าพราหมณ์กับพระสงฆ์ | หมู่ราษ ฎรเฮย |
มีศรัทธาค้อยค้อย | ต่างรู้ต่างทำ ๚ |
๓๙๒๏ ส่ำสงฆ์ทุกทั่วถ้วน | อาราม |
วัดราษฎร์วัดหลวงตาม | เขตแคว้น |
นครนิคมคาม | จังหวัด สยามแฮ |
ต่างไม่สู้คับแค้น | ลาภล้วนพอเสมอ ๚ |
๓๙๓๏ รั้งแรมไตรมาสสิ้น | เขตฝน |
กอบกิจปวราณา |
เสร็จแล้ว |
ทุกหมู่ประชาชน | ต่างทอด กฐินเฮย |
ทุกทุกวัดฤๅแคล้ว | ต่างได้ต่างกัน ๚ |
๓๙๔๏ ยามเช้าหนาวเรื่อยริ้ว | ลมชาย |
เป็นพัดหลวงกลายคลาย | เกลื่อนร้อน |
แดดอ่อนผ่อนปัดกราย | ลงสู่ นิตย์เอย |
บูรพทิศเมฆตั้งก้อน | สั่งฟ้าสั่งฤดู |
๓๙๕๏ ดลเดือนกรรดึกตั้ง | จองเปรียง |
ชัยคู่ประเทียบเคียง | สี่ต้น |
ทั้งโคมบริวารเรียง | รายรอบ สนามพ่อ |
อีกรอบกำแพงพัน | พร่ำพร้องแลหลาย ๚ |
๓๙๖๏ ธรรมเนียมกำหนดไว้ | ว่าปี |
อธิกมาสหนุนมี | จึ่งให้ |
ยกโคมเมื่อดฤถี | ขึ้นค่ำ หนึ่งนอ |
กาฬปักษ์สองค่ำได้ | ลดแล้วจองเปรียง ๚ |
๓๙๗๏ ปรกติมาสได้ยก | โคมถวาย |
ขึ้นสิบสี่ค่ำหมาย | บอกแจ้ง |
จองเปรียงตกอยู่ปลาย | เดือนสิบ สองเฮย |
วันลดตกยามแล้ง | คำขึ้นมิคเศียร ๚ |
๓๙๘๏ ตำหรับหนึ่งออกอ้าง | อาทิตย์ |
ยกสู่ราศีพิจิตร |
แห่งหั้น |
ข้างขึ้นจึ่งตั้งกิจ | พิธีข้าง ขึ้นนา |
ยกเมื่อข้างแรมนั้น | จึ่งตั้งต่อแรม ๚ |
๓๙๙๏ กลหนึ่งกำหนดด้วย | ดารา กรแฮ |
เรียกชื่อดาวกฤติกา |
ฤกษ์ชี้ |
พลบขึ้นเมื่อรุ่งคลา | เคลื่อนตก |
ขึ้นฤแรมพิธีนี้ | จุ่งตั้งตามดาว ๚ |
๔๐๐๏ อีกอนึ่งท่านว่าด้วย | วันพิธี |
แต่สิบห้าราตรี | ตรัส |
เติมต่อเพราะกาลมี | ลอยประทีป แลแฮ |
เป็นสิบหกสิบแปดบ้าง | บอกไว้พิธีเดียว ๚ |
๔๐๑๏ ปีใดยกเมื่อขึ้น | เดือนดล |
วันแรกตั้งสวดมนต์ | ฤกษ์นั้น |
กาฬปักษ์อัศยุชหน | สิบสี่ ดับนา |
ยกต่อแรมผ่อนสั้น | สวดขึ้นสิบสาม ๚ |
๔๐๒๏ อาภรณ์พิโมกข์ตั้ง | เตียงพระ |
พุทธชัยวัฒนะ | ออกตั้ง |
เทียนโคมสำหรับจะ | จุดทุก ยามเฮย |
โต๊ะปรักรองมาตั้ง | สี่ร้อยสามสิบสอง ๚ |
๔๐๓๏ น้ำมนต์ตั้งพระเต้า | เสลา |
อีกเครื่องทรงบูชา | จัดพร้อม |
เย็นลงพระสงฆ์มา | สิบรูป |
จึงประโคมแซ่ซ้อม | ลั่นฆ้องแตรสังข์ ๚ |
๔๐๔๏ ไทยห้ามอญห้านั่ง | ขัดสมาธิ |
บนพิโมกขปราสาท | สวดอ้าว |
จบแล้วป่าวประกาศ | ทั่วทุก องค์เอย |
รุ่งจุ่งมาแต่เช้า |
ฤกษ์ได้โมงดี ๚ |
๔๐๕๏ ครั้นรุ่งวันฤกษ์พร้อม | พนักงาน |
โหรนั่งตรงหน้าศาล | อ่านก้อง |
บูชาพระฤกษ์การ | จบเสร็จ |
ตั้งโห่ให้ลั่นฆ้อง | ยกต้นโคมชัย ๚ |
๔๐๖๏ พิณพาทย์กลองแขกขึ้น | ระดมกัน |
แตรเป่าปี่สองคัน | ล่อแจ้ว |
พระสงฆ์สวดชยัน | โตก่อน |
กว่าจะยกโคมแล้ว | แสบท้องเสียงเครือ ๚ |
๔๐๗๏ ชัยประเทียบหกต้นที่ | สี่ตำ รวจนา |
ตำรวจนอกสนมทำ | มากล้น |
บริวารปักประจำ | รอบที่ สนามเอย |
รอบราชวังหลายต้น | เหล่าล้อมวังทำ ๚ |
๔๐๘๏ ต่างคนต่างยกร้อง | เอะอะ |
ไม้ง่ามค้ำเกะกะ | กีดแก้ |
ขาทราย |
ค่อยเลื่อน |
ฉุดเชือกเหนี่ยวเต็มแล้ | จึงเข้าตะเกียบ |
๔๐๙๏ ยกเสร็จแล้วให้พระ | สงฆ์ฉัน |
ถวายขวดมีน้ำมัน | กับด้าย |
สบงโคมสิ่งสำคัญ | ถูกกับ พิธีเอย |
เป็นแบบอย่ายักย้าย | อย่างนี้ดีควร ๚ |
๔๑๐๏ หอแห่งพราหมณ์แต่งตั้ง | เบญจคัพย์ |
นพวรรคตามตำรับ | เรื่องพร้อม |
เย็นมานั่งคอยรับ | เสด็จออก ทรงเฮย |
เพลิงจุดเทียนนอบน้อม | กับทั้งเปรียงถวาย ๚ |
๔๑๑๏ เสด็จออกประทับยั้ง | ชาลา |
ทรงจุดเทียนเปรียงทา | เล่มไส้ |
เคารพต่อพุทธา | ทิรัตน์ ตรัย |
ตำรวจรับปักไว้ | แห่งห้องโคมบัง ๚ |
๔๑๒๏ พร้อมเสร็จทรงชักเส้น | สายดัง กริ่งแฮ |
พราหมณ์ประณต |
ส่งก้อง |
แตรพิณพาทย์ประนัง | ครื้นครั่น |
กลองแขกขานอีกฆ้อง | หึ่งให้ชัยศรี ๚ |
๔๑๓๏ โคมเคลื่อนเลื่อนลิ่วขึ้น | ถึงหงส์ |
ชัยคู่หนึ่งเฉพาะทรง | ก่อนได้ |
ประเทียบจึ่งพระองค์ | เจ้าชัก สี่นา |
โคมอีกบริวารให้ | เหล่าเจ้าพนักงาน ๚ |
๔๑๔๏ เรื่องเรืองโอภาสแผ้ว | จรัสงาม |
ผลัดเปลี่ยนเทียนทุกยาม | ห่อนช้า |
จารีตขัตติยสยาม | เสวยสวัสดิ์ แลพ่อ |
เฉลิมพระเกียรติเจ้าหล้า | เพื่อรู้อยู่เขษม ๚ |
๔๑๕๏ อาณาประชาราษฎร์ทั้ง | พระวงศ์ |
ชีพ่อพฤฒิพรหมพงศ์ | กอบรู้ |
อีกกับภิกษุสงฆ์ | สถิตวัด แลแฮ |
ต่างชักโคมทั่วผู้ | ส่องฟ้าเรืองแสง ๚ |
๔๑๖๏ กรรดึกศุกรปักษ์ขึ้น | จวนเพ็ญ |
จันทร์กระจ่างดวงเห็น | แจ่มฟ้า |
แห้งเหือดพรุณเย็น | ยามค่ำ |
ลมว่าวพัดแรงกล้า | ส่งน้ำตราดลง ๚ |
๔๑๗๏ น้ำลงลมล่องแล้ง | ละฝน |
เย็นฉ่ำน้ำค้างบน | หยาดย้อย |
ธัญญาผลาผล | เผล็ดช่อ รวงเฮย |
สาโรชเบิกบานสร้อย | เฟื่องฟุ้งเสาวคนธ์ ๚ |
๔๑๘๏ กมลชนบานเบิกแม้น | ดวงมาลย์ |
สิ่งโศกร้อนรำคาญ | เสื่อมร้าง |
พระคุณแผ่ไพศาล | พรมประ ทั่วแฮ |
ปานเปรียบหยาดน้ำค้าง | ชุ่มชื้นชาวชน ๚ |
๔๑๙๏ วันสิบสามค่ำขึ้น | บ่ายชาย |
พร้อมพระสงฆ์มากหลาย | ใช่น้อย |
บรรดาที่ทรงถวาย | ไตรอีก กฐินเอย |
นับประมวญห้าร้อย | กับทั้งหัวเมือง ๚ |
๔๒๐๏ อมรินทร์พระที่นั่งสร้อย | วินิจฉัย |
จัดหมู่พระสงฆ์ไทย | สวดพร้อม |
รามัญเหล่านั้นไป | ตามพวก มอญนา |
บนดุสิดาภิรมย์ล้อม | สวดอ้าวอ่าวอึง ๚ |
๔๒๑๏ แบ่งร้อยหกสิบนั้น | ให้ฉัน |
เกณฑ์ผลัดทั้งสามวัน | ครบถ้วน |
สามร้อยเศษเปลี่ยนกัน | บิณฑบาต |
ในพระราชวังล้วน | แซ่ซ้องฉลองไตร ๚ |
๔๒๒๏ สดับปกรณ์บรมธาตุไท้ | ให้มี |
กาฬปักษ์ทุติยดิถี | ทุกครั้ง |
ตามเคยประจำปี | ไป่ขาด เลยนา |
ทรงพระราชูทิศตั้ง | ต่อเบื้องบรรพวงศ์ ๚ |
๔๒๓๏ เทศนาพลบค่ำนั้น | ให้คง |
วันละกัณฑ์เคยทรง | สดับบ้าง |
จบเสร็จเสด็จลง | ลอยพระ ประทีปเอย |
เป็นนิรันดร์ฤๅค้าง | ขาดเว้นสักปี ๚ |
๔๒๔๏ การลอยประทีปนั้น | พันพรหม ราชเอย |
หมายบอกล้อมวงระดม | ทั่วผู้ |
พลเรือนทหารกรม | ท่าอีก นาพ่อ |
ทอดทุ่นใหญ่น้อยรู้ | ที่ตั้งทุกกอง ๚ |
๔๒๕๏ จักกล่าวทุ่นทอดริ้ว | สายใน |
กรมแปดเหล่าเรียงไป | ตลอดท้าย |
เกณฑ์เฉพาะปลัดกรมไว | ว่องนั่ง คฤห์นา |
เรือรูปสัตว์แรงว้าย | วาดล้วนลายน้ำมัน ๚ |
๔๒๖๏ ฝ่ายขวาเหนือน้ำทอด | สี่นาย |
ท้ายฝ่ายซ้ายทอดราย | สี่ผู้ |
เทพราชทอดอยู่ปลาย | สุดทุ่น เหนือเอย |
ท้ายสุดศรีนรินทร์รู้ | อยู่รั้งหลังสอง ๚ |
๔๒๗๏ สายนอกทำลุทั้ง | เกณฑ์หัด ฝรั่งเฮย |
กรมคู่ชักเรียงจัด | ทอดไว้ |
สนมตำรวจรายถัด | ทอดอยู่ นอกนา |
ขวาอยู่เหนือซ้ายให้ | ทอดท้ายปลายแถว ๚ |
๔๒๘๏ สายกลางพิณพาทย์นั้น | ทอดประจำ |
กลองแขกสำหรับนำ | ทอดกั้น |
ตำรวจนอกอีกสองลำ | ทอดต่อ มานา |
เรือดอกไม้เพลิงนั้น | ทอดไว้หว่างกลาง ๚ |
๔๒๙๏ ตำรวจในนั้นทอดหน้า | บัลลังก์ ขนานเฮย |
กลางทอดเป็นตะพาน |
ทุ่นต้าย |
ทอดสะกัดตัดหน้าฉาน | ตำรวจ ใหญ่เฮย |
ในทุ่นเรือตาร้าย | อยู่ท้ายแลเหนือ ๚ |
๔๓๐๏ กองกลางเรือดั้งกะ | เกณฑ์มา |
อีกกับกรมอาสา | พิเศษล้ำ |
เรือกรรคู่ซ้ายขวา | มาหมด แลพ่อ |
ขวาอยู่เหนือท้ายน้ำ | พวกซ้ายรายกอง ๚ |
๔๓๑๏ ธรรมเนียมทอดทุ่นล้อม | วงราย |
ผู้ขี่เรือกราบหมาย | กราบใช้ |
เรือดั้งแต่งดั้งพาย | มาทอด |
ตามที่เคยแลให้ | ทอดล้อมถวายลำ ๚ |
๔๓๒๏ กันโบดทั้งสี่นั้น | เกณฑ์ประจำ |
ทอดอยู่เหนือสองลำ | อีกใต้ |
ชั้นนอกนักงานสำ | หรับกัก เรือนา |
จามแขกอาสาได้ | เคาะฆ้องกะแตเตือน ๚ |
๔๓๓๏ ชั้นนอกที่สุดนั้น | นครบาล |
ทอดอยู่ประจำการ | อย่างแร้ง |
ซากศพสิงสาธารณ์ | ลอยล่อง |
คอยเก็บเขี่ยเหวี่ยงแว้ง | ซ่อนเว้นสาบสูญ ๚ |
๔๓๔๏ ตำรวจโคมเพ็ชรดั้ง | โคมสาน |
โคมกลีบบัวพนักงาน | ทุ่นใช้ |
เคาะฆ้องกะแตขาน | เซ็งแซ่ |
ห้ามเหล่าเรือเล่นให้ | ออกพ้นล้อมวง ๚ |
๔๓๕๏ ปืนทุ่นตำรวจนั้น | หลักทอง |
ปืนหลักดั้งผอง | เหล็กล้วน |
จ่ารงนเรศกอง | เรือรูป สัตว์เฮย |
ฝรั่งเศสทอสี่ท้วน | จ่ายให้แขกจาม ๚ |
๔๓๖๏ จ่ารงคนเรศนั้น | กำหนด แปดนา |
ปืนหลักทองจ่ายจด | แปดให้ |
หลักเหล็กนับรวมหมด | ยี่สิบ สี่เฮย |
ครบสี่สิบสี่ได้ | กับทั้งฝรั่งทอง ๚ |
๔๓๗๏ พันพุฒพันเทพราชได้ | เกณฑ์กอง บกแฮ |
ตั้งรักษาทั้งสอง | ฟากน้ำ |
ตะวันตกประจำซอง | อยู่หก กรมเฮย |
ตะวันออกมากหลากล้ำ | สิบถ้วนกองเกณฑ์ ๚ |
๔๓๘๏ ทหารในเลือกหอกห้าว | เห็นขยัน |
อีกรักษาองค์พลพัน | กลั่นกล้า |
อาสาญี่ปุ่นขัน | แข็งเข่น เคี่ยวเฮย |
กรมไพร่คลังสินค้า | พวกดั้งฝั่งบูรพ์ ๚ |
๔๓๙๏ กองตระเวนปลัดตั้ง | ตะวันตก |
เกณฑ์รักษาทางบก | สี่ผู้ |
งำเมืองหนึ่งนายก | ไตรตรวจ |
พระเทพผลรู้ | ทั่วแคว้นแดนแขวง ๚ |
๔๔๐๏ บัลลังก์ที่นั่งต้น | เคียงขนาน |
ตำรวจในพนักงาน | แต่งไว้ |
เจ้ากรมปลัดทหาร | ในเลิศ ลงเฮย |
ขวาอยู่ท้ายซ้ายได้ | อยู่หน้าเรือขนาน ๚ |
๔๔๑๏ สมเด็จบรมนารถเจ้า | จอมภพ |
ครั้นเมื่อย่ำค่ำพลบ | นอบน้อม |
ทรงสดับเทศนาจบ | จวบทุ่ม ควรพ่อ |
องครักษ์แปดหมู่ห้อม | แห่ริ้วชูเทียน ๚ |
๔๔๒๏ พระดำเนินลงสู่เบื้อง | ฝั่งชไล |
ทรงพระราชยานไคล | คลาศเต้า |
ดลราชกิจวินิจฉัย | ประทับแทบ เกยนา |
ชาวแม่นักงานเฝ้า | นบนิ้วส่องเทียน ๚ |
๔๔๓๏ โคมสัญญาชักเฉื่อยขึ้น | ถึงปลาย เสาเอย |
เรือทุ่นจุดโคมราย | รอบล้อม |
พิณพาทย์ประโคมถวาย | กลองแขก อีกพ่อ |
ทหารเป่าแตรตรวจซ้อม | ทุ่นใต้จุดเรียง ๚ |
๔๔๔๏ พระเสด็จยุรยาตรเยื้อง | ลงยัง เรือเอย |
ที่นั่งรัตนบัลลังก์ | เทียบไว้ |
เนื่องสนมแน่นชาววัง | อีกพระ ประยูรนา |
เถ้าแก่ท้าวนางได้ | อยู่ท้ายถวายเรือ ๚ |
๔๔๕๏ เสด็จถึงประทับยั้ง | หยุดพลัน |
ให้เคลื่อนเรืออนันต์ | นาคเต้า |
พลพายพรั่งพร้อมกัน | พายล่อง |
ถึงจอดเรียงเคียงเข้า | เทียบหน้าเรือขนาน ๚ |
๔๔๖๏ เจ้ากรมพระตำรวจทั้ง | แปดนาย |
ต่างก็ลงเรือพาย | ล่องน้ำ |
โคมเพ็ชรจุดผูกหมาย | ตำรวจ ใช้นา |
พายหนักเร่งพายจ้ำ | รีบร้อนเร็วไป ๚ |
๔๔๗๏ ครั้นถึงที่ทุ่นตั้ง | ล้อมวง |
แวะจอดจับทุ่นตรง | ที่นั้น |
สี่ตำรวจนอกในคง | ตามที่ เคยเอย |
ตำรวจนอกสนมชั้น | นอกริ้วเคยเสมอ ๚ |
๔๔๘๏ ทรงจุดประทีปล้วน | เทียนราย ลำเฮย |
เทียนฉัตรจำรัสฉาย | ช่องชั้น |
เสด็จทรงประนมถวาย | เรือเคลื่อน ลอยเฮย |
สังข์หวู่แตรเหว่จั้น | จับจ้าแจ่มใจ ๚ |
๔๔๙๏ ถัดถึงนาเวศล้ำ | แลวิไล |
ปรากฏศรีสุนทรชัย | ชื่ออ้าง |
เทียนรายฉัตรชั้นไสว | แสงส่อง |
จุดเสร็จลอยล่องคว้าง | เคลื่อนคล้อยกรายพาย ๚ |
๔๕๐๏ ต้นบทโหยเห่ต้น | คำกลอน |
พลเพียบรับอักษร | ท่อนท้าย |
พายทองเชิดชูสลอน | จังหวะ พายพ่อ |
บทกาพย์เปลี่ยนพายย้าย | ยั่วเย้าเชิงชวน ๚ |
๔๕๑๏ พายกรายพายร่อนร้อง | เห่หวล |
ฟังเสนาะสำเนียงครวญ | เฉื่อยช้า |
ล่องขึ้นกลับทบทวน | หลายเที่ยว |
เฉลิมพระเกียรติเจ้าหล้า | หลากล้ำฤๅเสมอ ๚ |
๔๕๒๏ บรรยงก์บุษบกตั้ง | ทั้งสอง ลำเฮย |
พุทธสิหิงค์จำลองทรง | หนึ่งนั้น |
หนึ่งตั้งพุ่มพานทอง | แท่นที่ นาพ่อ |
ทรงพระราชูทิศหั้น | แห่งแก้วกิ่งสาม ๚ |
๔๕๓๏ จึงจุดประทีปล้วน | เรือกระทง |
แลเลิศล้วนอย่างคง | คู่หล้า |
แกะประกอบบรรจง | กระจกแจ่ม ศรีเฮย |
เพลิงส่องแสงทองจ้า | จรัสแพร้วพรายพราว ๚ |
๔๕๔๏ หลายลำหลายคู่เข้า | เคียงงาม |
ลอยเรียบล่องชลตาม | ขนัดริ้ว |
พลพายจดจ้องจาม | จ้วงเปิด โปรยเฮย |
ธงปักลมปัดพลิ้ว | พลิกย้ายชายกระพือ ๚ |
๔๕๕๏ โขมดยาเรือดั้งคู่ | รามัญ แซนา |
เรือรูปสัตว์หลายพรรค์ | ถูกถ้วน |
วางลำดับเรียงกัน | ตามแบบ เพรงพ่อ |
ตั้งคฤห์กันยาล้วน | ดาดผ้าแดงทอง ๚ |
๔๕๖๏ไม้แกะรูปหุ่นจ้อง | จับพาย |
เสื้อสอดต่างสีหลาย | หลากล้ำ |
สองแถวนั่งริมราย | ทุกทั่ว กระทงเฮย |
จ้วงหนักจรดทีจ้ำ | งัดท้ายยืนตรง ๚ |
๔๕๗๏ บัดถึงที่นั่งต้น | ตรูตา ต่างแฮ |
นาคครุฑหงส์เหรา | กิ่งแก้ว |
เอกชัยกราบนานา | สีประกอบ อีกเฮย |
จำหลักเครือมาศแพร้ว | หลากพื้นลายผจง ๚ |
๔๕๘๏ บัลลังก์มณฑปตั้ง | กึ่งกลาง |
ม่านปักทองแย่งกาง | ผูกห้อย |
จงกลรับเทียนวาง | หว่างภาพ พายพ่อ |
ประดิษฐ์ประดับไม่น้อย | เครื่องแม้นเรือทรง ๚ |
๔๕๙๏ เรือกราบเกณฑ์เหล่าข้า | ทูลละออง |
หลวงพระพระยาผอง | ทุกผู้ |
จำลำดับปล่อยสอง | ลำล่อง |
พันชื่อพรหมราชรู้ | เรียบร้อยคอยวาง ๚ |
๔๖๐๏ เรือเสร็จสั่งให้เรียก | แพกระทง ใหญ่เอย |
ปล่อยล่องคว้างคว้างตรง | เหนี่ยวไว้ |
รั้งท้ายหยุดถวายทรง | จุดทั่ว เทียนเฮย |
แล้วที่หนึ่งสองได้ | ปล่อยซ้ำเรียงตาม ๚ |
๔๖๑๏ กระทงเจิมพับเกล็ดซ้อน | ใบตอง กล้วยเอย |
บ้างเหลี่ยมบ้างกลมสอง | ใหญ่น้อย |
ซ้อนตั้งยอดพานรอง | พนมพุ่ม แลพ่อ |
กลีบปากบุบผชาติร้อย | เฟื่องห้อยพึงชม ๚ |
๔๖๒๏ กระจังกระจ่างล้วน | ผลฟัก เหลืองเฮย |
ซ้อนเสียดสอดสีจำหลัก | เพริศแพร้ว |
นานาเอนกปัก | เทียนภาพ สลับแฮ |
ลิงยักษ์ต่อยุทธแกล้ว | จับถ้าจรดแทง ๚ |
๔๖๓๏ ฉลักฉลุปรุกาบต้น | กัทลี |
ลายเลิศมุ่งสอดสี | ชาดพื้น |
แต่งประกอบแพมี | ปลาเต่า มากนา |
ชลท่วมเกลี่ยตื้นตื้น | รอบชั้งรองกระทง ๚ |
๔๖๔๏ โสภณโอภาสเพี้ยน | แผกกัน |
ต่างช่างต่างเชิงขัน | คิดสู้ |
ทำถวายเสร็จสามวัน | ลอยเนื่อง กันนา |
วันหนึ่งนับตรวจรู้ | ครบห้ากระทงเกณฑ์ ๚ |
๔๖๕๏ บรมวงศ์ทำนั้นที่ | หนึ่งกระทง |
สองกับสามราชวรวงศ์ | จัดไว้ |
สี่สมเด็จอนุชาองค์ | หนึ่งแต่ง นาพ่อ |
ห้าเชษฐกคินีได้ | แต่งแล้วลอยถวาย ๚ |
๔๖๖๏ จุดพุ่มกระจ่างแจ้ง | แสงฉาย |
กระถางพลุระทาหลาย | ปีบร้อง |
นกกรวดพะเนียงราย | บานช่อ งามเอย |
พลุโด่งดังเสียงก้อง | บอกขึ้นสามตึง ๚ |
๔๖๗๏ ครั้นเสร็จเสด็จขึ้น | ราชฐาน |
กลองแขกรัวต่านขาน | ปี่ห้อ |
เรียกรุ่ยปี่เปิดดาน | โหยแหบ |
ออกสายปี่ตอดจ้อ | ส่งแล้วลดโคม ๚ |
๔๖๘๏ เรือผ้าป่าทอดทุ่นทั้ง | ล้อมวง |
โคมลดสัญญาลง | เสร็จแล้ว |
ต่างเลิกต่างคนคง | ที่สถิต ตนเฮย |
เดือนล่องนภาแผ้ว | ผ่องพ้นมัวมอม ๚ |
๔๖๙๏ ดาดาษกลาดเกลื่อนกลุ้ม | เรือดู |
อึงลั่นสนั่นหู | ไม่น้อย |
แทรก |
ชิงช่อง ขึ้นแฮ |
แม้จักนับกว่าร้อย | ยึดท้ายเป็นพวง ๚ |
๔๗๐๏ บ้างเล่นเคียงแข่งคล้าย | พายพนัน |
ชิงชนะสรวลสันต์ | โห่ร้อง |
บ้างเถียงทะเลาะกัน | อึงเอะ อะเอย |
สนุกสนั่นมี่ก้อง | ฟากโพ้นโยนยาว ๚ |
๔๗๑๏ บางคนเล่นเรื่องร้อง | ขับขาน |
แพนขลุ่ยซอบรรสาน | แอ่วชู้ |
อย่างต่ำขับขอทาน | โทนฉิ่ง กรับนา |
ริเล่นตามตนรู้ | ดอกสร้อยเพลงสวรรค์ ๚ |
๔๗๒๏ ปรบไก่ครึ่งท่อนทั้ง | สักรวา |
ร้อยยักลำนานา | ปลอบพ้อ |
แก้โต้ตอบไปมา | ไม่สุด สิ้นเอย |
ออดแอดอ้อยอิ่งจ้อ | จากแล้วพายตาม ๚ |
๔๗๓๏ สาวหนุ่มบรรเจิดหน้า | แจ่มใจ |
ทุ่มทอดไว้อาลัย | เกี่ยวเกี้ยว |
ฝากรักชักความใน | วอนกล่าว |
เลียมและเลี่ยงหลีกเลี้ยว | ผูกข้อไมตรี ๚ |
๔๗๔๏ ลมลงเรื่อยเรื่อยริ้ว | ก่อหนาว |
เย็นชุ่มใจหนุ่มสาว | แทรกเนื้อ |
เกิดรักแรกเริ่มคราว | ฤดูเปลี่ยน นาพอ |
ใหม่ไม่เคยชิดเชื้อ | อกร้าวหนาวชวน ๚ |
๔๗๕๏ จันทรจรแจ่มฟ้า | ส่องแสง สว่างเฮย |
ส่องจับเนตรเสียวแสยง | ยอกช้ำ |
ส่องพักตร์ |
จันทร์เปลี่ยน |
จันทร์แจ่มเจ็บใจปล้ำ | ปลิดให้ไกลทรวง ๚ |
๔๗๖๏ น้ำลงเรือล่องคว้าง | ขวัญหาย |
น้ำเร่งให้ไกลสาย | สวาสดิ์แคล้ว |
วันอื่นกลับคืนหมาย | พบเนตร ฤๅนา |
น้ำส่งเหลียวสั่งแก้ว | กึ่งถ้อยไป่ทัน ๚ |
๔๗๗๏ เหลียวหลังลับเนตรโอ้ | อ่อนแรง |
ฤๅว่าเจ้าจอดแฝง | ฝั่งสุ้ม |
แลลอดสอดตามแสง | เดือนส่อง |
จันทร์แจ่มใจมืดกลุ้ม | ส่องน้องไหนนาง ๚ |
๔๗๘๏ ปะวนหน้าวัดอ้าง | กัลยา ณมิตรเฮย |
คิดว่าวนคืนมา | สู่เจ้า |
สองเนตรสอดแสวงหา | ริมฝั่ง |
หาฤเห็นหวนเศร้า | ล่องพ้นวนเลย ๚ |
๔๗๙๏ บ้างคืนบ้างกลับขึ้น | พายทวน น้ำเอย |
ชายหนุ่มหญิงสาวชวน | พูดจ้อ |
น้ำเชี่ยวรีบเร่งจวน | จักรุ่ง รางนา |
พายไม่พายเฝ้าล้อ | สาดน้ำเปียกปอน ๚ |
๔๘๐๏ หญิงดุชายดับง้อ | งอแง |
ยิ่งโกรธยิ่งตอแย | หยอกเย้า |
มือพายพูดคลอแคล | ชวนแข่ง |
ลองสักพักเถิดเจ้า | หะตั้งตุ๋งพาย ๚ |
๔๘๑๏ ชาวแพชาวบ้านเหล่า | ชาวชน |
ต่างก็ทำตามจน | เล็กน้อย |
เรือหยวกดอกอุบล | บานเบิก ลอยเฮย |
จีบพลับพลึงจ้อยจ้อย | ธูปน้อยหนึ่งเทียน ๚ |
๔๘๒๏ สามวันเอิกเกริกทั้ง | กรุงศรี |
เป็นที่ปริ่มเปรมปรีดิ์ | แซ่ซ้อง |
ตามคราวฤดูปี | รู้ทั่ว กันพ่อ |
นึกกระหยิ่มคอยจ้อง | ค่ำแล้วดูกระทง ๚ |
๔๘๓๏ จีนไทยแขกแท้ชอบ | ดูกระทง |
ชาวยุโรปกงสุล | พ่อค้า |
ต่างคนจัดเรือลง | พายเที่ยว |
แสนสนุกทั่วหน้า | เหนือยเข้าจอดดคอย ๚ |
๔๘๔๏ บ้างเล่นจุดดอกไม้ | ทั้งผอง |
ช่อม่วงเทียนฝอยทอง | ดอกน้ำ |
เล่นตามแต่ใจคนอง | จุดขว้าง |
อีกกรวดกังหันซ้ำ | ประทัด |
๔๘๕๏ นักเลงเจ้าชู้เที่ยว | เสาะแสวง |
ไหนที่สีแดงแดง | จอดห้อย |
แอบพูดตะแคะตะแคง | เป็นแยบ |
ทำขู่ทำหน้าม่อย | พูดแก้กันอาย ๚ |
๔๘๖๏ บางคนนึกไว้แต่ | คืนหลัง |
มาก็เที่ยวเก้กัง | ตรวจหน้า |
หมู่ใหญ่น่าวัดระฆัง | ไปแอบ ดูเอย |
ไม่พบจบเจียนบ้า | สุดรู้เสียแรง ๚ |
๔๘๗๏ อกเอ๋ยหาอ่อนอ้า | อยู่ไหน |
หาบ่เห็นสายใจ | สุดค้น |
แลเห็นแต่โคมไฟ | สูงสุด เสานา |
ใจลิ่วแขวนสูงพ้น | ยิงล้ำโคมลอย ๚ |
๔๘๘๏ เอาเถอะสุดฤทธิ์ค้น | เสาะหา |
นึกว่าสิ้นวาสนา |
เท่านั้น |
สองคืนไม่ปะตา | แลเปล่า |
รักก็รักสุดกลั้น | แทบกลั้นใจตาย ๚ |
๔๘๙๏ เลอะแล้วร่ำเรื่องผู้ | ดูกระทง |
เปรอะประจะเก็บลง | เบื่อบ้าง |
เกลากลอนผ่อนประสงค์ | สังเขป |
แม้จักซ้ำพร่ำอ้าง | มากล้นเหลือฟัง ๚ |
๔๙๐๏ ปาฏิบทกัณหปักษ์ตั้ง | พิทยา |
ชื่อกติเกบูชา | ว่าไว้ |
จันทร์ถึงฤกษ์กฤติกา | ปรากฏ ควรพ่อ |
พราหมณ์พรตพรหมกรรมได้ | พุ่มไม้เทพทัณฑ์ |
๔๙๑๏ ตั้งเกยหกศอกขึ้น | น่าสถาน สามเฮย |
มูลพระโคกองปาน | ต่อมน้ำ |
สี่ทิศแห่งเกยศาล | สูงศอก หนึ่งนา |
ชื่อว่าบัพโตล้ำ | เลิศล้วนมงคล ๚ |
๔๙๒๏ พลบค่ำชีพ่อพร้อม | ทำการ พิธีเฮย |
ในที่เทวสถาน | หนึ่งนั้น |
กรสูทอาตมสุทธธาร | เบญจคัพย์ เสร็จนา |
บูชิตเทพทณฑ์ปั้น | บาตรแก้วตามเพลิง ๚ |
๔๙๓๏ เทพทัณฑ์ทวาทศถ้วน | แลหลาย |
ผ้าหุ้มห่อหนปลาย | ทุกไม้ |
เกยหนึ่งสี่ไม้หมาย | สี่อย่าง นาพ่อ |
เสี่ยงสุขสำราญให้ | โลกรู้ศาสตร์คุณ ๚ |
๔๙๔๏ ราชครูผู้ใหญ่ขึ้น | เกยพลัน |
ไม้ห่อผ้าจุ่มน้ำมัน | บาตรแก้ว |
จุดเพลิงพุ่งทิศตะวัน | ออกก่อน แลพ่อ |
พุ่งครบสี่ทิศแล้ว | ปักตั้งบัพโต ๚ |
๔๙๕๏ ที่หนึ่งเสร็จจึ่งขึ้น | ที่สอง |
ทำวิธีทำนอง | ดั่งนั้น |
เสร็จแล้วที่สามรอง | ทำดุจ กันนา |
พุ่งยอดบัพโตครั้น | ครบสิ้นสามเกย ๚ |
๔๙๖๏ เสร็จจึ่งสวดเข้าตอก | ในสถาน |
พราหมณ์สี่ตนนักงาน | สวดแจ้ว |
ข้าวตอกจัดตั้งพาน | พราหมณ์หนึ่ง ชูนา |
ยกอุหลุบจบแล้ว | แจกให้ชาวชน ๚ |
๔๙๗๏ บาตรแก้วนั้นจุดไว้ | สามรา ตรีเฮย |
คอยรับพระศิวา | กฤษณเจ้า |
พระองค์จักเสด็จมา | เยียนโลก |
ได้ประชุมเทพท้าว | ถีบโล้ขดานโยน ๚ |
๔๙๘๏ สิ้นความตามแบบเบื้อง | โบราณ |
กติกมาสพิธีการ | เท่านี้ |
น้ำลดชักลมพาน | พัดล่อง ลงเอย |
เรียกว่าลมว่าวชี้ | ชื่อแล้งแห่งฤดู ๚ |
๔๙๙๏ ดลแรมย่างเข้าเขต | เหมันต์ |
พระสุริยจรผัน | ปัดใต้ |
สิ้นกำหนดวสันต์ | สร่างเมฆ มัวแฮ |
จิตก็สร่างเศร้าได้ | จับร้อนโดยฤดู ๚ |
๕๐๐๏ ราตรีดาวดาดฟ้า | แวววาม |
แสงสว่างกระจ่างงาม | พร่างแพร้ว |
อัศนีภรณีนาม | อีกกัตติ กานา |
พลบค่ำขึ้นผ่องแผ้ว | เพื่อให้เรียนดู ๚ |
๕๐๑๏กาฬปักษ์กติกมาสถ้วน | บัณรสะ วารเฮย |
ผ้าป่ามิใคร่จะ | ว่างเว้น |
เริ่มทำริทอดพระ | สงฆ์ชอบ คุ้นแฮ |
กอบก่อต่อการเล่น | เลือกล้วนควรมี ๚ |
๕๐๒๏ ชาวชนแต่งผ้าป่า | ครื้นเครง |
นัดประชุมนักเลง | ขับร้อง |
ดอกสร้อยสักรวาเพลง | ละครแขก ไทยเอย |
เสียงสนั่นมี่ก้อง | เกิดเหล้นการประชัน |
๕๐๓๏ บอกบุญป่าวร้องพวก | ศรัทธา ทั่วเฮย |
ต่างรับแต่งนานา | ใหญ่น้อย |
กระบุงกระจาดหา | อีกอ่าง โอ่งพ่อ |
หมากมะพร้าวกล้วยอ้อย | กับเข้าของกิน ๚ |
๕๐๔๏ ต่างแต่งกระจาดอ้อย | หลากกัน |
ต้นใหญ่ย่อมย่อมสรร | แซ่งซ้อน |
ผ้าไตรบริขารภัณฑ์ | ตั้งยอด |
อีกพุ่มกัลปพฤกษ์ปล้อน | ปลิดปลิ้นเปลือกโยน ๚ |
๕๐๕๏ บางผู้พานคับแค้น | ขัดสน |
ทำแต่ตามตนจน | หยิบได้ |
ไตรตร่างก็เต็มทน | ต้องเช่า ช้ำเอย |
สบงพาดกิ่งไม้ใช้ | เช่นนี้มีชุม ๚ |
๕๐๖๏ โคมแขวนโคมตั้งจุด | เพลิงราย |
เพลิงส่องแก้วส่องฉาย | สว่างแผ้ว |
โคมบัวจุดปักราย | เรียงรอบ ลำเฮย |
แต่งเรือตั้งเรียบแล้ว | จึงให้โหมโรง ๚ |
๕๐๗๏ เรือแจวพายขึ้นล่อง | ไปมา |
ยินสนั่นลั่นเฮฮา | หยุดยั้ง |
ชาวบ้านเรือกสวนพา | หลานลูก มาแฮ |
การสนุกทุกคราวครั้ง | กลาดกลุ้มจอแจ ๚ |
๕๐๘๏ ผ้าป่าแม้ว่าเหล้น | แห่งใด |
ชนชอบประชุมใน | แห่งนั้น |
ใครรู้เร่งรีบไป | เรือหลาก หลากนา |
นางและเป็ดสำปั้น | ม่วงม้าหมูญวน ๚ |
๕๐๙๏ บ้างมีมหาชาติทั้ง | คาถา พันเอย |
มีที่บ้านศาลา | วัดบ้าง |
จ่ายกันแจกฎีกา | ตามพวก พ้องพ่อ |
หวังประโยชน์สืบสร้าง | เพื่อพ้องเมตไตรย ๚ |
๕๑๐๏ จวบวันบัณรัศทั้ง | อัฐมี |
ไพโรจน์เรื่อรังษี | ส่องฟ้า |
จักอาสน์ |
พิณพาทย์ อึงเอย |
สัปรุษนั่งพร้อมหน้า | เทศน์ขึ้นทศพร ๚ |
๕๑๑๏ เครื่องรัตนวิจิตรตั้ง | บูชา หลากเฮย |
เทียนประทีปนานา | ดอกไม้ |
ธงฉัตรสิ่งสหัสสา | เรียงเรียบ |
ฉากเรื่องเขียนแขวนไว้ | อีกอ้อยกัทลี ๚ |
๕๑๒๏ ชายหญิงชาวบ้านเหล่า | ทายก |
เตือนลูกสาวแต่งตก | แต่เช้า |
เรือไกลเร่งไปบก | จึ่งจะ ทันเอย |
ก่อนรุ่งรีบหุงเข้า | สุกแล้วตะลีตะลาน |
๕๑๓๏ สาวบ่าวบรรเจิดหน้า | ทั้งหลาย |
ต่างค่อยไปสายสาย | บ่ายบ้าง |
เสร็จสิ้นธุระสบาย | แล้วจึ่ง ไปเอย |
วนประเวศน์เทศน์ค้าง | ชูชกขึ้นพอดี ๚ |
๕๑๔๏ สาวสาวตกแต่งไว้ | ตัวสาว |
หน้าผ่องผัดนวล |
ต่อคิ้ว |
แสดสีสะไบยาว | นุ่งต่วน ดอกเอย |
แหวนเพ็ชรสวมสอดนิ้ว | เนื่องนิ้วก้อยนาง ๚ |
๕๑๕๏ หนุ่มหนุ่มฟังเทศน์ตั้ง | ตาดู หญิงเฮย |
ดูไม่อายอดสู | พวกพ้อง |
ตาแลแต่สองหู | ฟังเทศน์ |
สบที่ขันฮาก้อง | ล่อล้อ |
๕๑๖๏ พระสงฆ์แม้ว่ารู้ | ไปฟัง เทศน์เอย |
พระแก่ขึ้นนั่งยัง | อาสน์ซ้อง |
พระหนุ่มเที่ยวแอบบัง | ดูพวก หญิงฮา |
ดูไม่จบดูจ้อง | ยิ่งเก้อขืนดู ๚ |
๕๑๗๏ ลางชายหมายใคร่ตั้ง | ต่อตา |
แอบจุดเทียนคาถา | เกลี่ยใกล้ |
ไม่สบแซ่งมายา | พูดเลียบ ชายเอย |
หญิงเหลือบแลสบได้ | ยั่วแย้มยวนชวน ๚ |
๕๑๘๏ จบลงเหล่าพวกเจ้า | ของกัณฑ์ |
ถวายจตุปัจจัยสรรพ์ | สิ่งพร้อม |
พิณพาทย์ศัพทนี่นัน | จรรโจษ |
เสร็จประนตนอบน้อม | พระขึ้นหยุดประโคม ๚ |
๕๑๙๏ นักเลงฟังชอบเหล้น | นานา |
ฦๅว่าดีนิมนต์มา | เทศซ้อน |
ว่าขันลั่นฮาฮา | เติมติด เงินเอย |
พระใหม่มาให้ย้อน | เทศน์ซ้ำคำโลน ๚ |
๕๒๐๏ มหาชาติชาวบ้านชอบ | ฟังเสนาะ |
หาพระที่เสียงเพราะ | แจ่มแจ้ว |
มัทรีกุมารเจาะ | จงเลือก สรรเอย |
แม้ว่าชนชอบแล้ว | พระนั้นพลันรวย ๚ |
๕๒๑๏ พระเทศน์ท่านแต่งสิ้น | สุดดี |
ย่ามเลื่อมห่อคัมภีร์ | ตาดล้วน |
อังสะสอดแดงสี | แพรห่ม คลุมเฮย |
ศิษย์มากนับไม่ถ้วน | แวดล้อมตามพรู ๚ |
๕๒๒๏ มหาชาติกำหนดไว้ | เดิมที |
แม้เทศน์ธรรมวัตรมี | ต่อท้าย |
บอกหยุดสุดสิ้นปี | จักเลิก แล้วพ่อ |
บางแห่งแสร้งยักย้าย | เลื่อนบ้างลางคน ๚ |
๕๒๓๏ มหาชาติชนชอบตั้ง | เป็นคราว |
มักชอบมียามหนาว | ธุระน้อย |
ชายหนุ่มพวกหญิงสาว | ได้แต่ง ตัวนา |
สิ้นเหงื่อไหลไคลย้อย | แต่งเหล้นตามฤดู ๚ |
๕๒๔๏ มหาชาติบอกแบบไว้ | ปรากฏ |
มีเมื่อฝนจวนหมด | เกือบแล้ง |
เดือนสิบเอ็ดสิบสองจรด | จวบต่อ กันเอย |
น้ำลดลมชักแห้ง | ไร่แล้วนาวาย ๚ |
๕๒๕๏ มหาชาติชอบทั่วทั้ง | แผ่นดิน |
เป็นวิชาหากิน | แรกรู้ |
ดังไก่แรกสอนบิน | ลองปีก ตนนา |
แม้ว่าแข็งคิดสู้ | รับซ้อนชนพนัน ๚ |
๕๒๖๏ ที่ฤๅออกชื่ออ้าง | ออกนาม |
เทศน์แห่งใดไม่ขาม | คู่ซ้อน |
ถึงไหนก็ถึงตาม | แต่จะ นิมนต์นา |
ราวกับหยิบเหยื่อป้อน | ไป่รู้คายคืน ๚ |
๕๒๗๏ ริเพียรเรียนหัดซ้อม | มากหลาย |
หวังประโยชน์ขวนขวาย | เกลือกกลิ้ง |
ไม่ลำบากยากกาย | เหนือยแต่ ปากเอย |
อยากจะให้เพราะพริ้ง | ดัดแก้เกือบงอม ๚ |
๕๒๘๏ แรกออกจากไข่ร้อง | จิบจิบ |
เดือนแปดถึงเดือนสิบ | ปลกเปลี้ย |
ไม่ทันสุกกินดิบ | ไปก่อน เทอญพ่อ |
แรกหัดคลานดั้วเดี้ย | โดดคว้าจุลพน ๚ |
๕๒๙๏ แก้หัดผลัดเปลี่ยนถ้า | มหาวัน |
อุตส่าห์ |
ใช่น้อย |
แม้โง่ก็ยากครัน | ครูบ่น เบื่อเอย |
กว่าจะดีเรียบร้อย | หมดข้าวสามเกวียน ๚ |
๕๓๐๏ เสียงเสียคิดแต่งแก้ | นานา |
ยากวาดยากินยา | นัตถุ์ |
เสียงสูงลิ่วคิดหา | ยาถ่วง |
โดยว่าเสียงแตกซ้ำ | กอบแก้กล่อมกลม ๚ |
๕๓๑๏ นักเลงมหาราชล้วน | ลงลึก |
ชอบที่ทรวงครั่นครึก | กึกก้อง |
ขึ้นต้นก็อึกทึก | ดังลั่น |
บางแห่งเสียงขัดข้อง | ยักเหล้นลายโลน ๚ |
๕๓๒๏ น้ำป่ามามากลัน | ลำคลอง |
ท่วมทุ่งบ่อบึงหนอง | ทั่วพื้น |
ไหลหลั่งถั่งน่านนอง | โชนเชี่ยว |
ธัญพืชเขียวขึ้นพื้น | แตกตั้งกอโต ๚ |
๕๓๓๏ ข้าวหนักนาปักได้ | น้ำขัง |
ตื่นตระบัดประดัง | เริ่มท้อง |
ต้นกลมกลัดคอซัง | รัดกิ่ว |
งามสระล่าง |
แยกต้นเต็มภูมิ |
๕๓๔๏ ฝนปลายปรายตกซ้ำ | ส่งฤดู ฝนเฮย |
โปรยประพร่ำพรูพรม | ดอกข้าว |
ลมพัดพัด |
ใจชื่น |
เย็นเมื่อยามรุ่งเช้า | จวบแจ้งอรุณเรือง ๚ |
๕๓๕๏ รินรินหอมกลิ่นข้าว | น้ำนม |
ยามเมื่อฝนหยุดลม | เรื่อยริ้ว |
รื่นรื่นชื่นอารมณ์ | ชมเมล็ด ข้าวเอย |
ต้นสะบัดใบพลิกพลิ้ว | อ่อนค้อมคอรวง ๚ |
๕๓๖๏ ภาสกรจรแจ่มแจ้ง | เรืองรอง |
เรื่อเรื่อส่งแสงทอง | เถือกฟ้า |
รินรินกลิ่นละออง | บุปผ |
วายุพัดชายช้า | ชื่นเช้าชูเชวง |
๕๓๗๏ กมุทโกเมศแย้ม | กลีบขยาย |
บานเบิกรับสุริยฉาย | ส่องต้อง |
บ้างโรยร่วงกระจาย | กลีบกลาด เกลื่อนเอย |
แมลงภู่เวียนวู่ร้อง | แทรกเคล้าเชยชิม ๚ |
๕๓๘๏ นานาทวิชชาติล้วน | หลากพรรณ |
ตื่นเพรียกเรียกหากัน | จ่อจ้อ |
บินว่อนร่อนผาดผัน | หาเหยื่อ กินแฮ |
บ้างคาบคืนป้อนป้อ | ลูกน้อยเนานอน ๚ |
๕๓๙๏ แขวกกระสาหาที่เร้น | บังตา |
ยางย่องจ้องจิกปลา | คาบเคี้ยว |
ทุง |
ริมฝั่ง |
ออกแอบจับปูเปี้ยว | เป็ดน้ำนางนวล ๚ |
๕๔๐๏ ภาณุมาศตราดจรัสจ้า | ยามสาย |
ส่องจับสายชลพราย | พร่างแพร้ว |
น้ำไหลเมื่อลมชาย | กระฉอก ฉ่าเฮย |
ยับยับยลกลแก้ว | แตกเต้นฝอยฟอง ๚ |
๕๔๑๏ ชนชายชวนชู้ชื่น | ชูใจ |
นัดแนะนำกันไป | ทุ่งท้อง |
หญิงชอบผูกอาลัย | แส่สื่อ สนเอย |
บ้างก็ชวนพี่น้อง | พวกพ้องเกลอสหาย ๚ |
๕๔๒๏ เรือไม่มีต้องเที่ยวค้น | สืบหา |
ยาวแปดวาเก้าวา | เลือกได้ |
หยิบยืมยกเอามา | ตกแต่ง |
แม้รั่วเยียวยาให้ | เลิกแล้วส่งคืน ๚ |
๕๔๓๏ บ้านนัดวัดนัดบ้าน | ปะปน |
เห็นสนุกทุกคน | ดั่งบ้า |
เหน็ดเหนื่อยก็สู้ทน | ตรำตราก |
ไกลเท่าไกลแดดจ้า | ไม่ร้อนคราวเพลิน ๚ |
๕๔๔๏ เรือเพรียวบรรจุถ้วน | ทุกกระทง |
หญิงหมดมีชายคง | หน้าท้าย |
เรือชายพวกชายคง | เต็มตลอด ลำเอย |
เรือพระเณรคละคล้าย | พระท้ายชายปน ๚ |
๕๔๕๏ แต่งตนต่างต่างเหล้น | ตามการ |
หญิงสอดเสื้อหมวกสาน | งอบง้ำ |
ชายชอบโพกพันกบาล |
มีหมวก บ้างนา |
พระชุบผ้าอาบน้ำ | ปกเกล้าพันคลุม ๚ |
๕๔๖๏ บ้างลงเรือเล็กน้อย | มากหลาย |
ลำหนึ่งพายสองพาย | ดุ่มด้น |
คนเดียวเที่ยวพายกราย | เล็ดลอด |
ดั้นดัดลัดแหล่งค้น | ผักน้ำในนา ๚ |
๕๔๗๏ เคียงแข่งแย่งเย่อทึ้ง | สายบัว เผื่อนเฮย |
เห็นดอกตัวสั่นรัว | เร่งจ้ำ |
อยากได้ไม่คิดกลัว | เรือล่ม เลยพ่อ |
ติดที่ตื้นพายค้ำ | เหนี่ยวคว้าชุลมุน ๚ |
๕๔๘๏ บางพวกพายหนักนั้น | เหนื่อยเหน็ด |
หยุดแอบแฝงจอดเด็ด | ผักบุ้ง |
บางคนเที่ยวลอดเล็ด | ซอนซอก ไปเอย |
ปะที่ว่างเวิ้งวุ้ง | เก็บต้นสันตะวา |
๕๔๙๏ ข้าวปลาหาหอบหิ้ว | ติดไป กินนา |
เลี้ยงแต่ตามชอบใจ | พวกพ้อง |
นักเลงเล่าตั้งไห | เทดื่ม |
ถึงเอ็ดคุยโวก้อง | อวดอ้างสร่างเติม ๚ |
๕๕๐๏ ยังอีกพวกหนึ่งนั้น | มั่งมี |
นุ่งห่มพอสมสี | หมดหน้า |
แต่งตนอย่างผู้ดี | ไปเที่ยว ทุ่งเฮย |
เรือแหวดเป็ดพายม้า | ไพร่พร้อมแจวเต็ม ๚ |
๕๕๑๏ เรือครัวหาพรักพร้อม | แข็งแรง |
เป็ดไก่เครื่องต้มแกง | จี่ปิ้ง |
ขนมจีนหมี่จัดแจง | ไปปิก นิกเอย |
แกลแร็ต |
อีกทั้งเชรี |
๕๕๒๏ หนุ่มหนุ่มที่ชอบเหล้น | ปืนถนัด |
เสื้อชุดติงสุดรัด | แน่นแฟ้น |
กางเกงรัดเข็มขัด | ข้อเข่า |
เห็นนกขึ้นบกแหล้น | ลอบจ้องมองยิง ๚ |
๕๕๓๏ เล่นทุ่งอย่างเล่าล้วน | ชนชาย |
ต่างชอบยิงปืนหมาย | นกเนื้อ |
ที่ดีแม่นได้หลาย | ตัวบ่อย บ่อยเอย |
มือต่ำพานร้างเรื้อ | ลั่นเปรี้ยงไปรัง ๚ |
๕๕๔๏ บางคนฆ่าสัตว์นั้น | นึกกลัว บาปนา |
ในจิตคิดถึงตัว | แก่แล้ว |
เวรกรรมผูกพันพัว | ภายภาค หน้าเอย |
ลาญชีพหวังคลาดแคล้ว | ภพโพ้นอบายเบียน ๚ |
๕๕๕๏ เหล่าหญิงเก็บผักเหล้น | นานา |
ตบตับเต่าสันตะวา | ผักบุ้ง |
แพงพวยอีกต้นขา | เขียดเก็บ มากแฮ |
บัวเผื่อนผักก้ามกุ้ง | กับทั้งใบบัว ๚ |
๕๕๖๏ อุบลสัตบงกชขึ้น | แลลาน ใจเอย |
ตูมส่งพ้นใบบาน | เบิกสร้อย |
สัตบุษย์สัตบันพาน | หายาก |
บัวเผื่อนเกลื่อนนับร้อย | เรี่ยน้ำรำไร ๚ |
๕๕๗๏ เที่ยวทุ่งคราวเมื่อครั้ง | น่านชล |
เป็นที่เปรมใจคน | ไพร่ฟ้า |
หว่านพืชเกิดรวงผล | เต็มภาค ภูมิพ่อ |
สมประโยชน์ทั่วหล้า | หลีกพ้นภัยแพง ๚ |
๕๕๘๏ เดือนดับดารกแจ้ง | อัมพร พรายแฮ |
เดือนด่วนเดินทินกร | แจ่มจ้า |
โอ้จามิกรจร | รีบเร่ง รุดเฮย |
ทินทิพากรกล้า | กลบสิ้นดับดวง ๚ |
๕๕๙๏ อ้าดวงดารกแพร้ว | พราวขจาย |
ดูเด่นเห็นดวงราย | เมฆแผ้ว |
หิ่งห้อยเปล่งแสงพราย | พุ่มพฤกษ์ นาพ่อ |
ดาวดาษเดือนดับแล้ว | โลกรู้สุดเดือน ๚ |
๕๖๐๏ มฤคสิรมาสแล้ว | เย็นใจ |
ลมว่าวหนาวกระไร | แทรกเนื้อ |
ชาวชนประชุมใน | กรุงเทพ |
ต่างประกวดอวดเสื้อ | หลากพื้นหลายพรรณ ๚ |
๕๖๑๏ มิคสิรมาสขึ้น | เขตหมด ฝนเอย |
ลมชักน้ำลงลด | ล่งแล้ง |
ต้นข้าวออกรวงสด | ครากดอก ดื่นนา |
ที่แก่หมาดม้านแห้ง | เกี่ยวบ้างบางราย ๚ |
๕๖๒๏ มฤคสิรฤกษ์นี้ | เดิมที นั้นนา |
เขานับเป็นต้นปี | ชื่ออ้าย |
เล็งเฉพาะราศี | ธนูสุด ใต้เอย |
หมู่ปราชญ์ภายหลังย้าย | นับห้าเปลี่ยนแปลง ๚ |
๕๖๓๏ เขาเห็นเหตุหนึ่งแล้ว | เขาคิด |
สงเคราะห์เอาอาทิตย์ | ออกชี้ |
มินเมษฤกษ์ไม่ติด | ต่อคาบ เกี่ยวนา |
ยี่สิบเจ็ดฤกษ์นี้ | เมนตั้งหนึ่งตรง ๚ |
๕๖๔๏ ยามหนาวลมว่าวกล้า | โกรกลง |
หนาวเท่าใดใดคง | คิดได้ |
หนาวใจนี่จักทรง | กายอยู่ เดียวฤๅ |
หนาวหนักยิ่งหนาวไข้ | โรคนี้หนาวจริง ๚ |
๕๖๕๏ หนาวนอกเย็นเยือกเนื้อ | หนาวลม |
หนาวอีกน้ำค้างพรม | หมอกกลุ้ม |
หนาวจิตคิดไม่สม | สิ่งสวาสดิ์ แลนา |
หนาวยิ่งหมอกมืดคลุ้ม | คลั่งไคล้ใจรัว ๚ |
๕๖๖๏ หนาวหนาวเหล่าทิดนั้น | เหลือทน |
คิดจักใคร่ขวายขวน | แก่เรื้อ |
หาสาวก็ขัดสน | พูดยาก ยิ่งเอย |
ชอบที่ม่ายมีเนื้อ | เหมาะแล้วรวยเรา ๚ |
๕๖๗๏ หญิงม่ายก็คิดแค้น | เคืองหนาว |
นอนนึกน้ำตาพราว | เปียกหน้า |
พบทิดเหมาะเคราะห์คราว | มีโชค ลาภเอย |
กลับอยากหนาวช้าช้า | อยู่ได้อย่างดี ๚ |
๕๖๘๏ คราวหนาวมีแล้วไม่ | หวั่นไหว |
หนาวสักเท่าใดใด | แต่งเหล้น |
คนจนค่นเข็ญใจ | จ่อนจ่อ |
หนาวหนักสั่นเนื้อเต้น | วิ่งเข้าผิงเพลิง ๚ |
๕๖๙๏ ราตรีลมพัดกล้า | หนาวงก |
ใกล้รุ่งน้ำค้างตก | พร่างพร้อย |
แดดขึ้นค่อยอุ่นอก | จนเที่ยง |
หนาวค่อยคลายสักน้อย | บ่ายซ้ำเย็นทรวง ๚ |
๕๗๐๏ สายัณห์สุริยยาตรเยื้อง | ยอแสง |
ดูเด่นเห็นดวงแดง | ต่ำด้อย |
พลบค่ำย่ำจันทร์แฝง | ฝ่าหมอก มาเฮย |
เย็นหยาดน้ำค้างย้อย | ยิ่งล้ำเย็นลม ๚ |
๕๗๑๏ วันเพ็ญจันทร์แจ่มฟ้า | ปรากฏ |
มฤคสิรกำหนด | ฤกษ์ไว้ |
ปีใดหย่อนถอยถด | อยู่กติ กานา |
ยกพิธีพุ่งไม้ | เลื่อนตั้งตามปี ๚ |
๕๗๒๏ ดำเนินสุริยยาตรเบื้อง | สมผุส |
ทางเหวี่ยงปัดออกสุด | ซีกใต้ |
ลงนิจเมื่อวันหยุด | จักกลับ ขึ้นเอย |
กำหนดองศาไว้ | แปดเก้าในธนู ๚ |
๕๗๓๏ อย่างนี้ไม่ว่าด้วย | ดิถีวัน |
ตามแต่พระสุริยฉัน | สุดใต้ |
ขึ้นแรมบอกสำคัญ | วันต่ำ แลนา |
แม้ตกวันใดใช้ | ชอบแล้วถูกตรง ๚ |
๕๗๔๏ ในราชนิเวศน์เจ้า | จอมกษัตริย์ |
วันสุริยออกสุดปัด | กลับเยื้อง |
ส่ำสงฆ์เหล่าปริยัติ | สมถะ อีกเอย |
แปดสิบฉันขนมเบื้อง | หนึ่งครั้งคราวปี ๚ |
๕๗๕๏ กรมพระปวเรศเจ้า | จอมสงฆ์ |
อีกหม่อมเจ้าห้าองค์ | แฉกล้วน |
ราชาเจ็ดสิบคง | เศษสี่ อีกนา |
รวมแฉกงาสานถ้วน | ครบได้ดังนิมนต์ ๚ |
๕๗๖๏ เนาในพระที่นั่งอ้าง | อมรินทร์ |
พระเสด็จออกทรงศีล |
เสร็จแล้ว |
ทรงถวายโภชนบิณฑ์ | บาตทั่ว สงฆ์เฮย |
ทนายเลือกหอกกลั่นแกล้ว | ยกตั้งคาวประเคน |
๕๗๗๏ กรมวังนั้นได้ยก | ของหวาน |
อีกกับรับนักงาน | เก็บช้อน |
ขนมเบื้องแซะใส่จาน | คอยวิ่ง ไวนา |
เร็วรีบทันร้อนร้อน | อิ่มกุ้งหวานเติม ๚ |
๕๗๘๏ บางองค์ที่ชอบแล้ว | ฉันหลาย |
จริงจุเฟอะฟูมฟาย | ห่อนยั้ง |
นั่งเคี้ยวแต่ตามสบาย | เติมบ่อย |
ปีหนึ่งได้ฉันครั้ง | หนึ่งนั้นนานมี ๚ |
๕๗๙๏ ร้อนร้อนอ่อนอ่อนเคี้ยว | ย้ำเหยอ |
คว้ากริ่มอิ่มออกเรอ | เลิกกุ้ง |
ซ้ำหวานล่อพล้ำเผลอ | อร่อยรส นักนา |
กินดังว่าท้องยุ้ง | ไม่น้อยกองโต ๚ |
๕๘๐๏ ลางองค์ไม่สู้ชอบ | ใจฉัน นักเอย |
ได้สี่อันห้าอัน | อิ่มอื้อ |
เล็กน้อยค่อยคอยกัน | รออิ่ม |
เป็นแต่ราชการมื้อ | หนึ่งให้พอควร ๚ |
๕๘๑๏ บางองค์นั้นชอบเหล้น | หน้าหมู |
อย่างหนึ่งหน้าปลาทู | ชอบบ้าง |
อย่างญวนก็น่าดู | ลางชอบ ฉันเฮย |
รีบเร่งเคี้ยวกลัวค้าง | ย่ำย้ำเลยกลืน ๚ |
๕๘๒๏ คาวแล้วยกเลิกตั้ง | ของหวาน |
ถึงทิวาเกือบกาล | กึ่งฟ้า |
ต่างฉันต่างประมาณ | ควรอิ่ม อิ่มเอย |
ฉันอีกน้ำชาช้า | หน่อยน้อยพอดี ๚ |
๕๘๓๏ ฉันเสร็จสำเร็จแล้ว | ยถา |
จบจึ่งอติเรกลา | ธิราชเจ้า |
ต่างองค์อุฏฐายา | สนะออก มาเอย |
จากพระโรงที่เฝ้า | ยาตรเต้าตามควร ๚ |
๕๘๔๏ ขนมเบื้องบอกทั่วทั้ง | ราชฐาน |
เถ้าแก่แลพนักงาน | ท่านท้าว |
หนึ่งพวกท่านจอมมาร | ดาเก่า เกณฑ์แฮ |
ทำทุกพระองค์เจ้า |
แต่ล้วนฝ่ายใน ๚ |
๕๘๕๏ ขนมเบื้องนี้หากต้อง | จำเพาะ คราวฤๅ |
กุ้งมากมีมันเหมาะ | จึ่งได้ |
อาทิตย์สุดใต้เจาะ | จงบอก วันเฮย |
มีราชบัญญัติไว้ | แต่ครั้งแปดมะโรง ๚ |
๕๘๖๏ น้ำลดลงหลิ่งแห้ง | รวมคลอง |
ไหลตกห้วงบึงหนอง | ใหญ่น้อย |
กุ้งปลาชุกชุมปอง | ประโยชน์เหล่า ชนนา |
หนองหนึ่งนับร้อยร้อย | อย่างน้อยเรือนพัน ๚ |
๕๘๗๏ ธัญญานาไร่ได้ | บริบูรณ์ |
รวงเมล็ดมากเพ็ญพูน | เพียบพื้น |
เก็บเกี่ยวกายกองมูล | ลานนวด นาพอ |
เหล่าราษฎร์ชมชื่นฟื้น | ที่ไร้ถึงรวย ๚ |
๕๘๘๏ เดือนอ้ายนี้สิ้นราช | การหลวง |
การนอกชนทั้งปวง | ว่างเว้น |
ไร่นาที่ออกรวง | เก็บเกี่ยว บ้างนา |
ลงแขกนัดกันเหล้น | ขับร้องตามสบาย ๚ |
๕๘๙๏ เดือนยี่ค่ำหนึ่งน้ำ | ค้างพรม |
ลมจัดพัดระทม | เกลื่อนกลุ้ม |
เย็นน้ำฉ่ำเย็นลม | เย็นยิ่ง เย็นเอย |
เย็นทั่วมัวหมอกคลุ้ม | ชุ่มเช้าชายเย็น ๚ |
๕๙๐๏ นานาพันลอกสิ้น | ทุกพรรค์ |
ยามฤดูเหมันต์ | ชุ่มชื้น |
ม่วงปรางสิ่งสำคัญ | มูลมาก แลพ่อ |
เผล็ดช่อก่อก้านรื้อ | ติดตั้งผลพวง ๚ |
๕๙๑๏ บุษยมาสเจ็ดค่ำขึ้น | กำหนด |
การพิธีพรหมพรต | ใหญ่ล้น |
ตรียัมพวาย |
แรมค่ำ หนึ่งนา |
แรมค่ำหนึ่งเป็นต้น | อีกห้าปาวาย ๚ |
๕๙๒๏ จตุสดมภ์กรมเกษตรได้ | แห่แหน |
ครั้นเมื่อปลายโปรดแปลน | เปลี่ยนบ้าง |
เสนอยศพระยาแทน | ผลัดทุก ปีเฮย |
บังคับผู้รับอ้าง | แต่ล้วนพานทอง ๚ |
๕๙๓๏ ท่านใดท่านหนึ่งข้า | บทมาลย์ |
มีบรมราโชงการ | โปรด |
ให้ยกยาตรอย่างสถาน | เทวรูป |
สมมุติว่าพระเป็นเจ้า | จากฟ้ามาเสมอ ๚ |
๕๙๔๏ ท่านนั้นน้อมเกล้ากล่าว | คำขาน |
รับบรมราโชงการ | ใส่เกล้า |
คืนบ้านคิดเตรียมงาน | ออดแอด อ่อนเอย |
ทำกระไรเล่าเจ้า | จักเลี้ยงคนเลว ๚ |
๕๙๕๏ ไพร่หลวงจ่ายให้แห่ | พระยา |
เคยจ่ายเป็นอัตรา | แปดร้อย |
ทุกท่านทุกปีมา | แต่ก่อน แลพ่อ |
แม้ท่านเห็นว่าน้อย | นอกนั้นแต่งเติม ๚ |
๕๙๖๏ บางปีผู้ต้องแห่ | กว้างขวาง |
ล้วนแต่ท่านขุนนาง | ช่วยอื้อ |
อาวุธอีกเสื้อกาง | เกงหยิบ ยืมเฮย |
พอไม่พอจัดซื้อ | เสาะสร้างอ่าเอง ๚ |
๕๙๗๏ บางปีใจท่านนั้น | เป็นประมาณ |
ทำแต่พอราชการ | เล็กน้อย |
ไม่ชอบเที่ยววอนวาน | วายวุ่น นักเอย |
พันเศษร้อยสองร้อย | จัดได้ในตัว ๚ |
๕๙๘๏ บางปีท่านชอบเหล้น | เต็มยศ |
ใส่ใหญ่ไม่ถอยถด | ย่อท้อ |
เสื้อหมวกไม่ละลด | ล้วนใหม่ ใหม่เอย |
ที่ถูกภายหลังง้อ | หยิบใช้ยืมชุม ๚ |
๕๙๙๏ ทุกปีแห่นี้ไม่ | เหมือนกัน |
สุดแต่ท่านจัดสรร | แต่งได้ |
แห่ไปเสร็จสองวัน | เช้าบ่าย แลนา |
ตามแบบบังคับไว้ | ทุกครั้งคราวเดือน ๚ |
๖๐๐๏ ลางท่านพานอิดเอื้อน | ขอตน |
ออดแอดว่ายามจน | หมดไร้ |
บ้านเรือนก็ขัดสน | คับแคบ |
สิ้นแม่เรือนบุตรสะใภ้ | สุดรู้โรงครัว ๚ |
๖๐๑๏ ท่านถูกแห่แน่แล้ว | ท่านจัด พลเฮย |
เครื่องแห่เครื่องสารพัด | จัดพร้อม |
ทวนทิวเทิดธวัช | เสื้อหมวก เหมานา |
เครื่องยศตามแวดล้อม | อีกทั้งทนายเดิน ๚ |
๖๐๒๏ จัดริ้วตั้งเรียบร้อย | เรียงราย |
ตำรวจสิบหกนาย | แห่หน้า |
สวมสนอบถือหวาย | เส้นหนึ่ง นำเฮย |
รัตคตคาดนุ่งผ้า | เฉพาะพื้นเขียวคราม ๚ |
๖๐๓๏ ถัดถือธงเทิดด้าม | เดียวคน หนึ่งนา |
ลายปักตามตราตน | เพริศพริ้ง |
นุ่งห่มแต่งสกนธ์ | สนอบงอบ งำเอย |
ธงพู่คู่ตุ้งติ้ง | พิศพื้นธงแดง ๚ |
๖๐๔๏ จึ่งถึงหมู่เลขล้วน | เหล่าเกณฑ์ |
สามสิบคนถือเขน | ดาบดั้ง |
สามสิบโล่จัดเจน | ดาบอีก มือนา |
สามสิบพวกพลดั้ง | ดาบด้วยดูดี ๚ |
๖๐๕๏ สามสิบอีกนั้นดาบ | สองมือ |
สามสิบพร้าปกักถือ | ครบถ้วน |
สามสิบดาบเชลยฤๅ | ด้ามเลิศ ยาวเฮย |
หกหมู่อาวุธล้วน | หมวกเสื้อกางเกง ๚ |
๖๐๖๏ คนร้อยแปดสิบได้ | แจงจัด |
ขุนหมื่นเป็นสารวัตร |
หว่างริ้ว |
สวมสนอบอัตลัด | เพราเพริศ |
ผ้าโพกจีบพลิกพลิ้ว | นับได้สิบแปดคน ๚ |
๖๐๗๏ บโทนสามร้อยยืด | ยาวหลาย |
ดาบฝักเหล็กสอดสะพาย | แน่นแฟ้น |
ตาโถงนุ่งผ้าลาย | ริ้วคาด เอวเอย |
เสื้อสอดปัศตูแม้น | หมดล้วนแดงเดียว ๚ |
๖๐๘๏ ขุนหมื่นสองร้อยแต่ง | ตนหมด |
เสื้อต่างสีเต็มยศ | อย่างน้อย |
นุ่งไหมม่วงสุกสด | โพกขลิบ ทองเฮย |
กระบี่ฝักทองเหลืองห้อย | เหมาะแม้นทหารหาญ ๚ |
๖๐๙๏ สารวัตรขุนหมื่นห้า | สิบนาย |
นุ่งยกตกแต่งกาย | ทุกผู้ |
เสื้อเข้มขาบสวมสะพาย | กระบี่ฝัก เงินเอย |
โพกขลิบเดินหว่างรู้ | เรียบริ้วเรียงเสมอ ๚ |
๖๑๐๏ แถวในเดินเนื่องหน้า | คนหาม |
กลองชนะสองแถวตาม | จัดไว้ |
แถวละสิบคนงาม | แดงดาด เสื้อเฮย |
จ่าปี่เสื้อริ้วใช้ | หมวกตุ้มปี่แดง ๚ |
๖๑๑๏ กระชิงแดงเดินแห่หน้า | สองคัน |
หลังอีกสองครบครัน | สี่ถ้วน |
เสื้อผ้ามัสรู่สรร | สวมสอด ตนนา |
ปูมเย็บกางเกงล้วน | เลิศทั้งสี่ตน ๚ |
๖๑๒๏ คานหามหามแห่นั้น | เฉลียงลอย โถงเฮย |
ไพร่สิบสองคนคอย | แบกเต้า |
กางเกงจ่ายใช้สอย | แดงปัศ ตูนา |
สวมสอดเสื้อขาวเข้า | คาดเกี้ยวทุกคน ๚ |
๖๑๓๏ คู่เคียงทั้งแปดให้ | เคียงคลา |
กรมท่ากรมเมืองมา | สี่ถ้วน |
กรมวังกับกรมนา | อีกสี่ นายเอย |
เกณฑ์กะเหล่าหลวงล้วน | เลือกใช้กรมละสอง ๚ |
๖๑๔๏ สนับเพลาสวมสอดสิ้น | ทุกนาย |
ยกแย่งทองเฉิดฉาย | ทุกผู้ |
เสื้อเข้มขาบสวมกาย | เพราเพริศ |
แต่งประกวดอวดสู้ | โพกเกล้าตาดทอง ๚ |
๖๑๕๏ สัปทนสักหลาดพื้น | แดงฉัน |
อีกอนึ่งบังตะวัน | ส่องให้ |
เกณฑ์กรมอภิรมพัน | มาเชิด สองเฮย |
เสื้อมัสรู่ริ้วใช้ | อีกทั้งกางเกงปูม ๚ |
๖๑๖๏ ริ้วหลังขุนหมื่นตั้ง | แถวสอง |
โอ่อ่าท่าทำนอง | อย่างหน้า |
ขัดกระบี่ฝักทอง | เหลืองเลิศ |
แถวหนึ่งนับได้ห้า | สิบถ้วนพอดี ๚ |
๖๑๗๏ หว่างริ้วนั้นเหล่าล้วน | ทนายนับ |
ครบหกคนเดินตับ | เรียบร้อย |
เสื้อสอดต่างสีสลับ | ตามหมู่ หมู่เอย |
เข้มขาบแย่งอย่างน้อย | นุ่งพื้นไหมจีน ๚ |
๖๑๘๏ แถวหน้าตับหนึ่งทั้ง | ตับสอง |
ดาบกระบี่ฝักทอง | เทิดตั้ง |
ตับสามสี่ห้ารอง | ถือเครื่อง ยศเฮย |
พานหมากคนโททั้ง | เจียดลุ้งหมวกคลุม ๚ |
๖๑๙๏ เครื่องยศอีกนอกนั้น | นานา |
ของท่านมีแต่งมา | มากแท้ |
กระโถนทองถาดที่ชา | ชุดกล่อง กล้องเอย |
แม้ว่าน้อยกลัวแพ้ | เลือกค้นขนตาม ๚ |
๖๒๐๏ ถัดทนายทายเทิดถ้า | พึงยล |
เดินตับละหกคน | หอกง้าว |
ทวนทองสิบสองคน | ตามตับ ตับเอย |
จึ่งเหล่าเลวเดินด้าว | ปรัสร้อยทวีคูณ ๚ |
๖๒๑๏ จีนแขกฝรั่งทั้ง | ลาวมอญ เขมรแน |
บางแห่งมีชาวนคร | ปากใต้ |
ถับถับสลับสลอน | แลหลาก หลากแฮ |
ตามหมวดกรมขึ้นให้ | บอกใช้ขอแรง ๚ |
๖๒๒๏ สามสิบต่อริ้วนอก | ปีไสหวาย |
สามสิบถือง้าวราย | ครบถ้วน |
สามสิบตะบองปลาย | ทองห่อ หุ้มเฮย |
สามสิบเหล่าทวนล้วน | เชิดด้ามเดินชู ๚ |
๖๒๓๏ ถัดถือทิวเทิดทั้ง | ร้อยนับ |
แพรเพริศต่างสีสลับ | ห่อไม้ |
ลมพัดพลิกยับยับ | พลิ้วสะบัด งามพ่อ |
กล่าวว่าแต่ก่อนใช้ | เช่นนี้แทนปืน ๚ |
๖๒๔๏ ของเก่าเพียงเท่านี้ | หมดขบวน |
ท่านที่แห่เห็นจวน | จบบ้าง |
บางแห่งท่านคิดควร | เติมต่อ อีกเอย |
ต่างต่างยักอย่างสร้าง | คิดขึ้นแปลกเดิม ๚ |
๖๒๕๏ จวนวันท่านอ่อนเกล้า | ทูลลา |
พระบรมราชา | นุญาตให้ |
ในการจักยาตรา | เป็นฤกษ์ เถิดเอย |
คำนับรับใส่ไว้ | หว่างเกล้ากลับคืน ๚ |
๖๒๖๏ รพิพรรโณภาสขึ้น | สัตมี แลแฮ |
พราหมณ์บวชพรตตามปี | เสร็จแล้ว |
พระครูราชพิธี | ยืนอ่าน เวทเอย |
เปิดศิวาลัยแจ้ว | จักให้เสด็จลง ๚ |
๖๒๗๏ ที่ซุ้มมีม่านกั้น | เพดาน ขาวเอย |
ภายนอกเทวสถาน | หนึ่งไว้ |
ราวนั่งพักพิงพาน | พนักพาด สอดแฮ |
พร้อมเสร็จทำด้วยไม้ | ไผ่ล้วนเกลากลม ๚ |
๖๒๘๏ เกณฑ์หลวงไว้ถ้วนสี่ | ตนมา |
กรมมหาดไทยหา | เลือกได้ |
สองนายจัดกระลา | โหมอีก สองเอย |
ทั้งสี่นี้สั่งให้ | อยู่ซุ้มพระยายืน ๚ |
๖๒๙๏ การนี้กรมเกษตรผู้ | สั่งหมาย |
ชี้บอกทุกกรมราย | แยกข้อ |
แต่ต้นตลอดปลาย | สิ้นเสร็จ การแฮ |
ใครแห่ต้องจำง้อ | จัดริ้วขบวนเดิน ๚ |
๖๓๐๏ จัดริ้วเสร็จแล้วด่วน | จวนสาย |
ท่านรีบโอ่อ่ากาย | อะเคื้อ |
ยกทองนุ่งเฉิดฉาย | อย่างบ่าว ขุนเอย |
เยียรบับพื้นทองเสื้อ | อย่างน้อยดุมพราว ๚ |
๖๓๑๏ เข็มขัดสายนอกแท้ | ตัวเพชร |
ละยอดละเม็ดเม็ด | ไม่น้อย |
ครุยนอกสอดสวมเสร็จ | แหวนแปด นิ้วนา |
ลำพอกดอกไม้พร้อย | รอบเกี้ยวนพคุณ ๚ |
๖๓๒๏ แต่งเสร็จจึ่งขึ้นนั่ง | เสลี่ยงลอย เลิศเฮย |
พลเทียบเรียบริ้วคอย | แห่ห้อม |
ทนายที่ใช้สอย | วิ่งเหยาะ ตามแฮ |
สารวัตรตรวจจัดพร้อม | สั่งให้เดินขบวน ๚ |
๖๓๓๏ ตั้งแต่แห่ฝ่ายเบื้อง | บุริมะ ทิศเอย |
น่าวัดราชบูรณะ | ที่ตั้ง |
แต่เพรงท่านเคยประ | ชุมหมู่ พลพ่อ |
เป็นอย่างมาทุกครั้ง | แหล่งนี้มีชัย ๚ |
๖๓๔๏ กำหนดเจ็ดค่ำเช้า | แห่พระยา |
มีแบบบัญญัติมา | แต่กี้ |
ให้เข้าทิศบูรพา | เป็นฤกษ์ |
แห่บ่ายเก้าค่ำชี้ | บอกเบื้องหนหลัง ๚ |
๖๓๕๏ ฝูงชนกล่นเกลื่อนตั้ง | ตาดู แห่เฮย |
เด็กเล็กวิ่งเกรียวกรู | กลาดกลุ้ม |
ทุกซอกตรอกประตู | บ้านวัด แลนา |
สุดกระบวนตามหุ้ม | แห่ห้อมฮือฮือ ๚ |
๖๓๖๏ ครั้นถึงจึ่งให้หยุด | เสลี่ยงลง |
ย่างบาทยาตราตรง | สู่ซุ้ม |
ชีพ่อพิสุทธิพงษ์ | พรหเมศ |
หล่อหลั่งน้ำสังข์คุ้ม | โทษร้ายลาญกษัย |
๖๓๗๏ เชิญนั่งเหนืออาสน์ไม้ | โดยขบวน |
สมมุติพระปรเมศวร | สู่ด้าว |
เท้าซ้ายหยัดคู่ควร | ยันเหยียบ ดินพ่อ |
ขวาไขว่จรดแทบเท้า |
ฝ่ายซ้ายชงฆ์ตรง ๚ |
๖๓๘๏ พราหมณ์ยืนขวาถ้วนสี่ | ตนราย |
ซ้ายอีกหลวงสี่นาย | นับไว้ |
เป็นกำหนดจดหมาย | จารีต มานา |
ทั้งแปดตนนี้ได้ | ริบพลั้งเหยียบยัน ๚ |
๖๓๙๏ พราหมณ์ยืนอยู่หน้าเป่า | สังข์สรร สองเฮย |
ทวาทศนาลิวัน |
เหล่าโล้ |
สมมุตินิยมกัน | ว่าโลก บาลนา |
คราวละสี่ตนโต้ | ผลัดขึ้นเรียงขดาน ๚ |
๖๔๐๏ ได้ฤกษ์ที่หนึ่งขึ้น | ยืนขดาน แขวนเฮย |
โล้ถีบโยนชำนาญ | โยกย้าย |
คนน่าจิตห้าวหาญู | ปากคาบ เงินพ่อ |
ตรงเที่ยงเลี่ยงแก้ท้าย | หน่วงช้าเชิงดี ๚ |
๖๔๑๏ ที่หนึ่งเสร็จจึงให้ | ขดานสอง ขึ้นเอย |
ยืนเหยียบทีทำนอง | อย่างนั้น |
โยนย้ายมุ่งหมายปอง | ปากคาบ อีกนา |
สองเสร็จสามขึ้นหั้น | เหยียบถ้าเดียวเสมอ ๚ |
๖๔๒๏ เงินหลวงที่หนึ่งได้ | สามตำ ลึงเฮย |
สองอีกสิบบาทสำ | หรับให้ |
ที่สามประจำจำ | นวนแปด บาทนา |
สามสิบบาทนับได้ | ครบถ้วนสามขดาน ๚ |
๖๔๓๏ เสร็จแล้วจึงให้แห่ | คืนสถาน |
ขึ้นสู่มงคลยาน | ยาตรเต้า |
ดูเรียบระเบียบสมาน | เสมอบาท |
เสียงประโคมโรมเร้า | แดดร้อนเร็วเดิน ๚ |
๖๔๔๏ เดินออกปัจฉิม |
ลงพลัน |
หน้าที่นั่งสุทไธสวรรย์ |
หยุดเฝ้า |
สมเด็จบรมธรร | มิกราช |
ถวายประนตน้อมเกล้า | เสร็จแล้วเดินขบวน ๚ |
๖๔๕๏ สมเด็จบรมนารถเจ้า | จอมถวัลย์ |
ทรงประเคนสงฆ์ฉัน | สิบห้า |
ยังที่นั่งสุทไธสวรรย์ | โดยเลิศ |
การพิธีชิงช้า | เช่นนี้มีเสมอ ๚ |
๖๔๖๏ สบงรองเท้าร่ม | รังถวาย |
อีกกระจาดของหลาย | หลากล้น |
ตรียัมพวายหมาย | ข้าวเม่า ใหม่นา |
ข้าวตอกอีกเป็นต้น | แต่งตั้งของกอง ๚ |
๖๔๗๏ ทวาทศกำหนดถ้วน | พิธีธรรม |
สามรูปราชานำ | นั่งหน้า |
สิบห้ารูปประจำ | ฉันทุก ปีเอย |
แบ่งสวดแต่วันละห้า | รูปถ้วนไตรวาร ๚ |
๖๔๘๏ เวลาสุริยบ่ายคล้อย | เย็นลง |
สงฆ์ที่เกณฑ์ห้าองค์ | สวดแจ้ว |
เป็นการพิธีสงฆ์ | ทรงเพิ่ม อีกนา |
ในอุโบสถพระแก้ว | จบแล้วกลับคืน ๚ |
๖๔๙๏ พฤฒิพราหมณ์พิสุทธิ์เชื้อ | พยารี |
ค่ำย่ำทำพิธี | ศาสตร์ซ้อง |
ในสถานพระศุลี | ที่ใหญ่ ก่อนเอย |
ขุนหมื่นในกรมต้อง | นัดพร้อมกันประชุม ๚ |
๖๕๐๏ ค่ำทำอวิสูทธิล้าง | ชำระ กายเฮย |
อ่านเวทจันทน์เจิมประ | จรดจ้อง |
กะระสุทธิอาตมะ | สุทธิจบ ลงนา |
แกว่งธูปกระดึงก้อง | แซ่ซ้องสังข์เสียง ๚ |
๖๕๑๏ เสร็จพราหมณ์คู่สวดทั้ง | สี่นาย |
ยืนต่อเรียงเฉียงราย | ถูกต้อง |
มหาเวชะตึกถวาย | ข้าวตอก ก่อนนา |
ขึ้นอติยุมันต์พร้อง | บทต้นคนเดียว ๚ |
๖๕๒๏ ถัดจึงโกรายะตึกอ้าง | อ่านแถลง |
สาระวะตึกต่อแปลง | เปลี่ยนย้าย |
เวชะตึกแสดง | วรรคสี่ แลพ่อ |
ลอริบาวายท้าย | ว่าทั้งสี่ตน ๚ |
๖๕๓๏ สวดสี่คนนั้นเป่า | สังข์ดัง สนั่นเอย |
สามคาบห้ามเสียงสังข์ | หยุดไว้ |
สวดอีกสี่วรรคฟัง | สังข์เป่า อีกนา |
เป่านับสิบสามได้ | ครบแล้วจบกัณฑ์ ๚ |
๖๕๔๏ ราชครูผู้ใหญ่ขึ้น | ยืนขึง |
แกว่งธูปเทียนกระดึง | กริ่งเกร้า |
เป่าสังข์ศัพท์เอิกอึง | นฤโฆษ |
บูชิตพระเป็นเจ้า | จบแล้ววางถวาย ๚ |
๖๕๕๏ แล้วยืนประณต |
วันทา |
อ่านเวทชูบุบผา | แทบเกล้า |
มหะเดวะรายา | คำกล่าว อึงเอย |
เรียงชื่อพระเป็นเจ้า | ครบถ้วนทุกองค์ ๚ |
๖๕๖๏ ตระบัดคู่สวดทั้ง | สี่ตน |
ยกอุลุบคนละหน | เสร็จแล้ว |
จึงแจกประชาชน | ชีพ่อ นาพ่อ |
กินดับจัญไรแผ้ว | เลิศล้วนมงคล ๚ |
๖๕๗๏ เสร็จการสถานใหญ่แล้ว | สั่งพลาง |
ให้เลิกไปสถานกลาง | พรั่งพร้อม |
ราชครูจัดการกาง | ตำรับ ตั้งนา |
พราหมณ์สี่ตนนอบน้อม | กราบแล้วยืนเฉียง ๚ |
๖๕๘๏ มหาเวชตึกขึ้น | คำเฉียง พราหมณ์เอย |
บทวาตตุสำเนียง | แจ่มแจ้ว |
ที่สองที่สามเรียง | ที่สี่ รับนา |
ลอริบาวายแล้ว | ว่าพร้อมประสานเสียง ๚ |
๖๕๙๏ เมื่อสวดทั้งสี่พร้อม | เป่าสังข์ |
เสี่ยงสวดเสียงสังข์ดัง | กึกก้อง |
สวดจบหยุดสังข์ฟัง | สวดใหม่ เล่านา |
สวดสิบเจ็ดจบต้อง | แบบแล้วจบลง ๚ |
๖๖๐๏ ราชครูผู้ชาติเชื้อ | พราหมณ์หลาย ชั่วเฮย |
แกว่งกระดึงเทียนราย | ธูปตั้ง |
น้ำจันทน์ประพรมถวาย | ข้าวตอก แลนา |
แล้วจึงยืนถวายทั้ง | ดอกไม้ตามมี ๚ |
๖๖๑๏ แล้วยกอุลุบทั้ง | สามพาน ถวายแฮ |
ทำเช่นเทวสถาน | ใหญ่โน้น |
เสร็จจึงแจกเป็นทาน | ตามแต่ รับเฮย |
ตามแบบตำราโพ้น | อย่างนี้พิธีกรรม ๚ |
๖๖๒๏ ข้าวเม่าข้าวตอกตั้ง | บูชา |
มันเผือกกัทลีนา | ฬิกอ้อย |
เจ้าสถานจัดหามา | ตั้งแต่ง ไว้เฮย |
คืนหนึ่งมิใช่น้อย | นับร้อยทะนาน |
๖๖๓๏ พิธีมีทั้งสิบ | คืนปอง |
สวดศาสตร์บูชาผอง | เทพนั้น |
อิศวรวิฆเนศวรสอง | สถานที่ นั้นเฮย |
พลบค่ำทำแห่งหั้น | ห่อนเว้นราตรี ๚ |
๖๖๔๏ จวนอรุโณภาสขึ้น | นวมี |
จึงพระครูราชพิธี | เวทล้ำ |
เชิญขดานรูปธรณี | รวิศะ ศิเฮย |
อีกเทพสำนักน้ำ | สู่เบื้องหลุมสาม ๚ |
๖๖๕๏ เสร็จจุดเทียนธูปตั้ง | สักการ |
โดยศาสตร์บุรวาจารย์ | ก่อนกี้ |
อ่านเวทเป่าสังข์ขาน | อึงอุตม์ |
สมมุติสี่เทพนี้ | นัดพร้อมมาประชุม ๚ |
๖๖๖๏ เฝ้าบาทอิศวรราชเจ้า | โลกา |
พร้อมหมู่โลกบาลมา | เลื่อนโล้ |
วันวรวุฒิมหา | นักขัต ฤกษ์เฮย |
ทวยเทพเทิดกรโต้ | สาดน้ำรำถวาย ๚ |
๖๖๗๏ ที่หลุมสี่เหลี่ยมกว้าง | ศอกสม ควรเอย |
ลึกสี่นิ้วนิยม | เทียบน้ำ |
สี่เสาร่มชมรม | พิดานดาด ขาวนา |
มีหลักปักราวค้ำ | รับไม้พิงขดาน |
๖๖๘๏ ม่านรายวงรอบทั้ง | สี่ทิศ |
มีช่องที่เปิดปิด | เล็กน้อย |
ราชวัติสี่มุมชิด | เดินยาก |
ฉัตรกระดาษยอดกล้วยอ้อย | ผูกไว้สี่มุม ๚ |
๖๖๙๏ ศศิสุริยเทพเจ้า | เชิญลง หนึ่งนา |
สองที่ธรณีอนงค์ | อยู่ยั้ง |
ซุ้มสามที่พระคง | คาสถิต สุดเอย |
สามรูปแผ่นขดานตั้ง | พักตร์เยื้องทักษิณ ๚ |
๖๗๐๏ มาฬกตกแต่งตั้ง | สามสถาน |
ตรงกับซุ้มนางขดาน | ทิศใต้ |
เคยทำประจำการ | มาทุก ปีนา |
แล้วเสร็จได้ด้วยไม้ | ไผ่ล้วนเกลากลม ๚ |
๖๗๑๏ ยามไถงลงาดคล้อย | บ่ายชาย |
ขุนเกษตรผู้ต้นหมาย | จัดริ้ว |
ขุนหมื่นไพร่พันทนาย | ไตรตรวจ |
แม้ว่าใครบิดพลิ้ว | ขาดใช้คนตาม ๚ |
๖๗๒๏ จัดขบวนตามริ้วเรียบ | รายทาง |
อาวุธบโทนวาง | อย่างเช้า |
ต่างตนแต่งสำอาง | โอ่อ่า |
นายหมวดรวดเร่งเร้า | รีบตั้งเรียงเต็ม ๚ |
๖๗๓๏ บัดท่านผู้จัดเต้า | ยังสถาน |
จวนจวบเวลากาล | แห่พร้อม |
จึงชำระสระสนาน | ตามเยี่ยง อย่างเฮย |
เจ้าพนักงานแวดล้อม | ช่วยกลุ้มแต่งสกนธ์ ๚ |
๖๗๔๏ แต่งงามตามยศแล้ว | พอสาม โมงเอย |
ยาตรออกทนายตาม | กว่าร้อย |
ขึ้นนั่งเสลี่ยงงาม | ลอยเลิศ |
แดดส่องต้องแสงพร้อย | เลื่อมเสื้อครุยพราว ๚ |
๖๗๕๏ จึ่งเดินตำรวจหน้า | ถือหวาย เส้นเอย |
ธงเทิดอาวุธราย | เรียบริ้ว |
บโทนอีกพันทนาย | ขุนหมื่น ต่อนา |
กลองชนะปี่เปิดนิ้ว | ตอดจ้อเพลงมอญ ๚ |
๖๗๖๏ กระชิงแดงเดินแห่หน้า | สองคัน |
หลังอีกสองคันปัน | แบ่งไว้ |
สัปทนกับบังตะวัน | เดินค่าง ละคนนา |
หลวงคู่เคียงแปดให้ | แห่ซ้ายสี่ขวา ๚ |
๖๗๗๏ ทนายหลายตับเต้า | ตามติด |
อาวุธเครื่องยศชิด | ใช่น้อย |
หอกง้าวอีกทวนพิศ | พู่หลาก สีเฮย |
เดินเปล่าตามนับร้อย | เรียบริ้วเรียงเสมอ ๚ |
๖๗๘๏ ขุนหมื่นเดินริวนอก | ดาบสะพาย |
อีกสาตราวุธหลาย | หลากล้วน |
ทิวเทิดต่างสีราย | เรียงสลับ กันนา |
สารวัตรจัดตรวจถ้วน | ถูกริ้วขบวนหลัง ๚ |
๖๗๙๏ พิณพาทย์แขกเคาะเร้า | รำมะนา |
ทั้งเล่าโก๊จีนมา | ช่วยซ้อง |
เป็นเครื่องนอกตำรา | ของเพิ่ม เติมเฮย |
เดินแห่เสียงสนั่นก้อง | ครึกครื้นในขบวน ๚ |
๖๘๐๏ คนดูเกลื่อนกลาดกลุ้ม | เกรียวกราว |
แก่ฉกรรจ์หนุ่มสาว | ทั่วหน้า |
เขมรมอญพม่าลาว | จีนแขก ฝรั่งเอย |
ไกลเท่าไกลเดินช้า | ขี่ม้ามาเรือ ๚ |
๖๘๒๏ เดินแห่แต่วัดเลี้ยว | ทางใน |
ถนนเรียกท้องสนามชัย | ชื่อตั้ง |
ชุมซ้อมส่ำพลไกร | เถกิงเกียรติ กรุงพ่อ |
บดยาตรถึงจึ่งยั้ง | หยุดไว้คอยถวาย ๚ |
๖๘๒๏ พระจอมดิลกหล้า | แหล่งสยาม |
เย็นบ่ายนับโมงสาม | เศษแล้ว |
พระดำเนินออกท้องสนาม | สถิตพระ ที่นั่งแฮ |
นามสุทไธสวรรย์แพร้ว | เพริศแก้วเถือกทอง ๚ |
๖๘๓๏ มวลหมู่มุขมาตย์เฝ้า | หนั่นหนา |
เนืองเนกบนเบญจา | ดับชั้น |
องครักษ์อยู่รักษา | โดยรอบ |
ฝ่ายพระวงศ์เฝ้าหั้น | แห่งเบื้องบนเฉลียง ๚ |
๖๘๔๏ มีพระบรมราชเอื้อน | โองการ |
เรียกแห่ตำรวจชาญ | วิ่งแต้ |
เร่งขบวนรีบลนลาน | เร็วรวด มานา |
นายธวัชเทิดธงแล้ | ยาตรริ้วคลาพล ๚ |
๖๘๕๏ ไย่ไย่แลเหล่าล้วน | สาตรา วุธเอย |
ถับถับบโทนคลา | คลาศเต้า |
ถั่นถั่นที่ถัดมา | ขุนหมื่น มากแฮ |
ครุ่มครุ่มกลองชนะเร้า | ปี่แจ้วแจ่มจริง ๚ |
๖๘๖๏ ใกล้ถึงจึ่งให้หยุด | เสลี่ยงลง แล้วนา |
ยูรยาตรนาดกรายตรง | ที่เฝ้า |
หน้าพระที่นั่งทรง | ประทับทอด พระเนตรเฮย |
ถวายประณตน้อมเกล้า | แทบเบื้องบทศรี ๚ |
๖๘๗๏ โองการประสิทธิ์ซ้อง | ศิวมนต์ |
คำนับรับไว้หน | แห่งเกล้า |
โปรดพระราชทานผล | กัลป พฤกษ์เฮย |
กำหนดสองร้อยเข้า | ซ่มแล้วจึ่งประทาน ๚ |
๖๘๘๏เสร็จถวายคำนับน้อม | ทูลลา |
เดินนาดคลาศออกมา | ล่วงพ้น |
ขึ้นนั่งเสลี่ยงงา | ลอยเลิศ |
อาวุธตามกลับต้น | เชิดด้ามปลายลง ๚ |
๖๘๙๏ พรึบพรึบหมู่มากกลุ้ม | ทนายตาม |
พลั่งพลั่งแลหลายหลาม | หลากล้วน |
เรื่อยเรื่อยเรียบเรียงงาม | ขุนหมื่น อีกเอย |
หลั่นหลั่นอาวุธถ้วน | อย่างแล้วถึงทิว ๚ |
๖๙๐๏ เลี้ยวถนนมีชื่อตั้ง | บำรุง เมืองเอย |
ทุกจรอกชนยืนมุง | มากหน้า |
ชาวสวนอีกชาวกรุง | ปนปะ กันแฮ |
ตามตึกร้านขายค้า | นั่งซ้องยืนแซง ๚ |
๖๙๑๏ ครั้นถึงจึ่งเหล่าล้วน | เลขหาม |
ลดเสลี่ยงลงตาม | แบบบั้น |
พระมหาราชครูพราหมณ์ | มารับ ท่านนา |
เชิญนั่ง ณ ซุ้มกั้น | ม่านเบื้องบูรพ์สถาน ๚ |
๖๙๒๏ จึงจัดเทียนธูปน้อม | นมัสการ |
ปฏิมา |
แทบใกล้ |
อีกทั้งเทพสถาน | สามแห่ง |
ขอพระคุณพระให้ | สร่างเศร้าเสื่อมศัลย์ ๚ |
๖๙๓๏ ชีพ่อทวิชชาติเชื้อ | มหาศาล |
สังข์หลั่งอุทกธาร | โสรจให้ |
อวยเวทอิศวรขาน | สังข์เป่า สองเฮย |
แล้วประสิทธิ์ใบไม้ | ทัดเบื้องกรรณสดำ ๚ |
๖๙๔๏ หลวงเคียงอยู่ข้างซ้าย | พราหมณ์ขวา |
สองค่างแห่งพระยา | ที่ซุ้ม |
นาลิวันสิบสองมา | เตรียมสรรพ แล้วเฮย |
เหล่าประชาเกลื่อนกลุ้ม | ยิ่งร้อยเลยพัน ๚ |
๖๙๕๏ สี่คนนั้นจึ่งขึ้น | ขดานโยน |
ยันเหยียบรุนแรงโหน | หกตั้ง |
สามกลับน่ากลัวโดน | เสาผูก เงินพ่อ |
ปากคาบไวไป่ยั้ง | ยากแท้ดีจริง ๚ |
๖๙๖๏ แล้วจึงขึ้นผลัดทั้ง | สี่คน |
เป็นที่สองโยนยล | อย่างกี้ |
ที่สามอีกสี่ตน | ขึ้นผลัด อีกนา |
โล้ครบสามขดานนี้ | เสร็จแล้วมาประชุม ๚ |
๖๙๗๏ มาพร้อมน่าซุ้มที่ | หนึ่งพลัน |
ยืนรอบแห่งแม่ขัน | คั่งน้ำ |
ต่างรำร่ายพัลวัน | เสนงตัก น้ำเอย |
ซัดสาดกันกลุ้มกล้ำ | ครบถ้วนสามเสนง ๚ |
๖๙๘๏ เสร็จพระยามานั่งซุ้ม | ถัดกัน มาเฮย |
จึ่งพวกนาลิวัน | เหล่าโล้ |
ต่างช่วยยกหามขัน | มาที่ นั้นนา |
รำร่ายกรายท่าโต้ | สาดน้ำเสนงงอน ๚ |
๖๙๙๏ แล้วเลื่อนมาอยู่ซุ้ม | ที่สาม |
เนืองเนกนักงานตาม | พรั่งพร้อม |
เหล่ารำยกขันตาม | ตั้งตัก น้ำเอย |
รำร่ายกรายเสนงซ้อม | สาดน้ำสามหน ๚ |
๗๐๐๏ ฝูงชนประชุมพรักพร้อม | เพรียงหลาย |
ตกแต่งโอ่อ่ากาย | หมดหน้า |
โสร่งปูมม่วงไหมหลาย | อย่างต่าง นุ่งนา |
ห่มเพลาะบ้างห่มผ้า | แสดย้อมชมพู ๚ |
๗๐๑๏ ผู้ดีมียศตั้ง | แต่งสกนธ์ |
นุ่งต่วนม่วงสร้อยสน | ม่วงพื้น |
เสื้อแพรสักหลาดขน | หลากหลาก สีเอย |
หมวกวิจิตรพิศพื้น | เฟื้องฟุ้งเต็มภูมิ |
๗๐๒๏ บางพวกบอกนัดม้า | มาหมด |
แสร้ง |
ถูกน้อย |
แต่งตัวเหมาะหมดจด | เจียวพ่อ |
อวดขี่ดีเรียบร้อย | ตื่นรั้งเต็มแรง ๚ |
๗๐๓๏ บางคนพื้นไพร่แท้ | ลักเลง |
ไว้เอกอวดโฉงเฉง | ขี่ม้า |
นุ่งห่มแต่ใจเอง | เห็นชอบ |
ดูก็แม้นคนบ้า | บ่รู้สึกตน ๚ |
๗๐๔๏ บางแห่งแต่งสอดเสื้อ | สมยศ |
บอกนัดมิตรสหายหมด | พี่น้อง |
บรรดาที่มีรถ | รู้ทั่ว กันเฮย |
ชวนเที่ยวตามพวกพ้อง | ขับม้าพาไป ๚ |
๗๐๕๏ ลางรถเทียมเทียบม้า | ถึงสอง ม้าฮา |
คนขับผาดผยอง | ว่องแท้ |
ลางรถเดี่ยวลำลอง | ตนขับ เอาเอย |
ไปไม่ตรงลงแส้ | ขวับคว้ากอบโกย ๚ |
๗๐๖๏ หญิงหลายชายมากกลุ้ม | สับสน |
สาวกลุ่มหนุ่มเกลื่อนปน | ไขว่คว้า |
เปรมปริ่มกริ่มกมล | เริงรื่น |
ปีหนึ่งมีชิงช้า | แต่ครั้งเดียวดู ๚ |
๗๐๗๏ บางพวกพบที่ต้อง | ติดใจ ตนเอย |
เวียนแวดระวังระไว | ฝักเฝ้า |
ไปไหนก็ตามไป | ห่อนคลาด เลยนา |
แม้พวกอื่นพบเข้า | เกิดร้ายราวี ๚ |
๗๐๘๏ พวกหนึ่งจิตหยาบอ้าง | อวดหาญ |
ชอบสนุกแยบอย่างพาล | ดุดื้อ |
เมามึนเที่ยวระราน | รังก่อ เหตุเฮย |
ใครยิ่งห้ามยิ่งรื้อ | รุกเร้ารวนชวน ๚ |
๗๐๙๏ เขากลัวยิ่งกลับกล้า | เหิมฮีึก |
ปากอวดอึงอึกทึก | โลดเต้น |
พบพวกเพื่อนคุยคึก | แข็งเอะ อะเอย |
พาลพวกนี้ห่อนเว้น | สักครั้งคราวงาน ๚ |
๗๑๐๏ เสร็จแห่กลับออกเบื้อง | บูรพา |
เลี้ยวล่องลงหนขวา | น่าป้อม |
จวบจวนสุริยสา | ยัณห์ย่ำ |
เดินด่วนโดยทางอ้อม | เกือบใกล้ถึงสถาน ๚ |
๗๑๑๏ แห่กลับชนกลับบ้าน | กรูเกรียว |
หญิงจากชายจิตเสียว | สุดกลั้น |
ตามส่งสุดทางเหลียว | สอดสั่ง |
แรกรักหนักอัดอั้น | อกโอ้เจ็บจริง ๚ |
๗๑๒๏ ต่างคนต่างกลับพร้อม | เกลื่อนกล่น |
เนืองแน่วแถวถนน | กลุ่มกลุ้ม |
ม้าควบรถขับคน | หลบตื่น ฮือเฮย |
ใกล้ค่ำมัวหมอกคลุ้ม | เร่งร้อนคืนเรือน ๚ |
๗๑๓๏ คนดูชิงช้าบ่าย | นับพัน |
มวลมากยิ่งกว่าวัน | แห่เช้า |
ผู้ดีท่านนัดกัน | ไปเที่ยว |
เป็นที่สร่างใจเศร้า | พรักพร้อมประชุมชน ๚ |
๗๑๔๏ พันแสง |
อัษฎง คตเอย |
วายุพัดพัดลง | เรื่อย |
เย็นจิตที่จำนง | จำจาก กันนา |
หนาวเหน็บเจ็บใจหิ้ว | หักห้ามฤๅหาย ๚ |
๗๑๕๏ เวลาเกือบใกล้ย่ำ | ค่ำพลบ ลงเฮย |
สมเด็จบรมจอมภพ | ผ่านเผ้า |
ทอดพระเนตรทหารรบ | ซ้อมเสร็จ |
เสด็จพระดำเนินเข้า | สู่เบื้องมหาสถาน ๚ |
๗๑๖๏ แห่มาลุที่ตั้ง | โรงพัก แล้วแฮ |
ลดเสลี่ยงลงสำนัก | หยุดยั้ง |
เหล่าขบวนยศพร้อมพรัก | นายไพร่ |
นายหมวดตรวจไป่พลั่ง | สั่งให้แจกเงิน ๚ |
๗๑๗๏ คู่เคียงท่านให้กึ่ง | ตำลึง |
นายใหญ่นั้นได้ถึง | บาทบ้าง |
นายรองรับสองสลึง | โดยมาก |
เลขจ่ายแลลูกจ้าง | แจกให้คนสลึง ๚ |
๗๑๘๏ โรงครัวเลี้ยงทั่วทั้ง | สองวัน |
ท่านที่แห่จัดสรร | ทุกครั้ง |
ทุนรอนคิดผ่อนผัน | แจกแห่ ด้วยนา |
อีกสิบตำลึงตั้ง | ส่วนเลี้ยงเงินหลวง ๚ |
๗๑๙๏ ชิงช้าแลสาดน้ำ | รำเสนง |
กลองคู่ดูเหมาะเหมง | กึกก้อง |
มลายูละเวงเพลง | ช้าเมื่อ โล้เฮย |
รำร่ายพายเสนงซ้อง |
เปลี่ยนไม้ไปเร็ว ๚ |
๗๒๐๏ เงินหลวงสำหรับโล้ | ไป่ลด เลยนา |
เก้าค่ำมีกำหนด | ที่ได้ |
สามสิบบาทพอหมด | สามผลัด นาพ่อ |
แบ่งหนึ่งสองสามให้ | เช่นโล้วันหลัง ๚ |
๗๒๑๏ รำพัน |
แห่พระยา |
ตามพิธีมีมา | ทุกครั้ง |
ท่านใดถูกท่านหา | ตกแต่ง ตนเฮย |
เรียงเรื่องริ้วแห่ตั้ง | แบบไว้ในสยาม ๚ |
๗๒๒๏ หลุมขดานสามแผ่นไว้ | สามรา ตรีเอย |
วิธีเวชศาสตร์บูชา | ค่ำเช้า |
สิบสองค่ำขึ้นเวลา | อรุณรุ่ง |
เชิญขดานคืนเข้า | สู่ห้องแห่งสถาน ๚ |
๗๒๓๏ ฤดูเดือนยี่นี้ | เหมันต์ |
ลมว่าวพัดจัดครัน | เหน็บเนื้อ |
หนาวลมห่มผ้าพลัน | อบอุ่น |
ผิบนั้นสอดเสื้อ | อุ่นเนื้อหนาวหาย ๚ |
๗๒๔๏ ฤดูน้ำค้างหยาด | หยดพรม |
เย็นยิ่งล้ำเย็นลม | เยือกแท้ |
คนจนสุดทนระทม | ทุกข์ยิ่ง |
ได้แต่เพลิงผิงแก้ | กอบกู้ความจน ๚ |
๗๒๕๏ ฤดูบุษยมาสขึ้น | จันทร์เพ็ญ แล้วเฮย |
หมดเมฆมัวมอมเห็น | แจ่มแจ้ง |
ดูเดือนยิ่งหนาวเย็น | กายสั่น เสียวแฮ |
ลมล่องอากาศแล้ว | ชื่นชี้ชมจันทร์ ๚ |
๗๒๖๏ กาฬปักษ์เช้าตรู่ได้ | ปาฏิบท แล้วเฮย |
พราหมณ์พฤฒิพรหมพรต | พรั่งพร้อม |
ยังสถานวิศณุกำหนด | วันแรก พิธีนา |
โอมอ่านคำนับน้อม | เปิดเบื้องทวารถวาย ๚ |
๗๒๗๏ จุดธูปประทีปตั้ง | บุบผา |
ในเวทกฤษณบูชา | แต่งไว้ |
ตั้งต้นเริ่มตรีปา | วายนับ หนึ่งเอย |
จนครบห้าคืนได้ | จึ่งแล้วพิธีการ ๚ |
๗๒๘๏ ทิพากรจรัสแจ้ง | แสงสาย |
กำหนดสามโมงปลาย | บาทห้า |
จึงเสด็จออกทรงถวาย | บิณฑบาตร สงฆ์เฮย |
ที่นั่งสุทไธสวรรย์หน้า | ออกเบื้องบูรพ์สถาน ๚ |
๗๒๙๏ รวมสงฆ์สิบรูปถ้วน | มาฉัน เช้าแฮ |
สยามกึ่งกับรามัญ | บอกไว้ |
ราชาคณะสรร | สองรูป นำเฮย |
แปดพระครูนิตยภัต |
สวดซ้องมนต์เย็น ๚ |
๗๓๐๏ ทรงถวายผืนผ้ากับ | บริกขาร บ้างเฮย |
มีกระจาดคาวหวาน | เล็กน้อย |
ข้าวเม่ากับน้ำตาล | ข้าวตอก แลนา |
มันเผือกผลมะพร้าวอ้อย | หมากกล้วยพลูปูน ๚ |
๗๓๑๏ เสร็จทรงทักษิโณทกตั้ง | ยถา |
ถวายอดิเรกลา | ยาตรเยื้อง |
จึ่งเสด็จจากมหา | ปราสาท |
ขึ้นสู่มณเฑียรเบื้อง | นิเวศน์ไท้ในสถาน ๚ |
๗๓๒๏ เย็นลงสงฆ์สวดพร้อม | กันหมด |
ในพระอุโบสถ | พระแก้ว |
เหล่าพราหมณ์พฤฒิพรต | มาพรั่ง พร้อมเอย |
แห่งสถานนารายณ์ |
สวดข้าวตอกถวาย ๚ |
๗๓๓๏ สี่พราหมณ์ยืนสวดหน้า | อาสน์พระ |
มหาเวทกล่าวมนตระ | บทต้น |
สิวาสะเดวะ | คำกล่าว ก่อนนา |
เชิญเทพอันเลิศล้น | แหล่งฟ้ามาประชุม ๚ |
๗๓๔๏ จึงโกรายะตึกขึ้น | ทบสอง ต่อนา |
สาระวะตึกสามรอง | ทบย้าย |
เวชตึกสี่ทำนอง | เดี่ยวดับ กันเฮย |
โลขัตตุโนท้าย | สวดพร้อมสี่คน ๚ |
๗๓๕๏ สวดสี่เสียงพรักพร้อม | กล่อมกลม |
สังข์คู่เป่าระดม | เร่งเร้า |
สี่บทเป่าสังข์สม | เสียงเสนาะ นาพ่อ |
ตำรับบังคับเก้า | จบแล้วจบลง ๚ |
๗๓๖๏ พระครูชูจอกน้ำ | จันทน์ประ |
แกว่งธูปถวายพระ | นอบไหว้ |
เสียงสังข์กับเสียงกะ | ดึงเอิก อึงเอย |
แล้วจึ่งชูดอกไม้ | กล่าวอ้างนามเสนอ ๚ |
๗๓๗๏ ยกอุลุบยืนขึ้นเชิด | ชูพาน |
ศุภกฤษดิคำขาน | กล่าวแจ้ว |
คำเปลี่ยนแปลกสองสถาน | โดยเวท |
ยกครบสามพานแล้ว | จัดตั้งเรียงแถว ๚ |
๗๓๘๏ ครั้นเสร็จแล้วให้เลิก | พิธีการ |
มาสู่มัชฌิมสถาน | ถัดนั้น |
ทำศาสตร์ครบสิบวาร | ดุจก่อน มานา |
การพิธีแห่งหั้น | เลิกแล้วแต่เย็น ๚ |
๗๓๙๏ สุริยงลงลับเลี้ยว | เหลี่ยมภพ |
มัวมืดเวลาพลบ | ค่ำแล้ว |
ขบวนเกณฑ์ต่างเตรียมครบ | คอยแห่ พระเฮย |
ดาวผ่องนภาแผ้ว | ล่งแล้งลมลง ๚ |
๗๔๐๏ บูรพทิศขาวขอบฟ้า | รางราง |
เรื่อเรื่อแสงเดือนสาง | ส่องหล้า |
ราชครูออกจัดวาง | ริ้วเรียบ เรียงเอย |
คอยเมื่อจันทร์แจ่มจ้า | จักได้เดินขบวน ๚ |
๗๔๑๏ พนักงานผู้จัดตั้ง | แห่พระ |
เสียงเอ็ดอึงเอะอะ | เร่งเร้า |
ม้าลา |
ตรวจนับ ตัวเอย |
เตือนเรียกต้อนไล่เข้า | เรียบริ้วเรียงแถว ๚ |
๗๔๒๏ นำขบวนมวลมากล้วน | หมู่หัย |
ขุนหมื่นแซงนอกใน | กลั่นกล้า |
เกราะทองอีกกรมไป | ตามสั่ง หมายเฮย |
เชลยศักดิ์อีกมากม้า | ย่างน้อยถือเทียน ๚ |
๗๔๓๏ ตำรวจนำริ้วคู่ | เคียงจร |
ทายเทิดธงมังกร | แห่หน้า |
โคมบัวแปดสิบสลอน | ตำรวจ ถือเอย |
เดินเนื่องต่อแนวม้า | เรียบร้อยเสมอสมาน ๚ |
๗๔๔๏ เดินกลางหว่างริ้วนอก | กลองชวา |
หามสี่ตีสองคลา | ปี่ล้ำ |
พิณพาทย์ถัดต่อมา | สำรับ หนึ่งเฮย |
หามสี่ตีสามซ้ำ | ปี่ด้วยเดินเคียง ๚ |
๗๔๕๏ กลองชนะแห่ถ้วนยี่ | สิบกลอง |
จ่าปี่จ่ากลองลอง | ตรวจเร้า |
แตรงอนหกสังข์สอง | ฝรั่งสี่ นาพ่อ |
พร้อมหมดต่างมาเข้า | นั่งริ้วคอยเดิน ๚ |
๗๔๖๏ เครื่องสูงแห่พระพื้น | ขาวสี เดียวนา |
น่าเครื่องห้าชั้นมี | หกถ้วน |
เจ็ดชั้นอีกสองลี | ลาศคู่ กันแฮ |
บังแทรกสี่องค์ล้วน | แทรกห้าชั้นเสมอ ๚ |
๗๔๗๏ มวลหมู่ขุนหมื่นล้วน | พราหมณ์พรต |
เดินแห่ถือเทียนหมด | มากล้น |
สองแถวนอกปลายจรด | กลองชนะ สุดนา |
เรียงเรียบริ้วตลอดต้น | แต่หน้าเสลี่ยงหงส์ ๚ |
๗๔๘๏ ฉัตรเทียนห้าชั้นปัก | เทียนหลาย |
เดินข้างน่าสองหมาย | คู่ได้ |
ของพราหมณ์คิดทำถวาย | อยู่ทุก ปีเอย |
มีสี่คันแบ่งไว้ | แห่เบื้องหลังสอง ๚ |
๗๔๙๏ เสลี่ยงโถงสองเสลี่ยงหน้า | เสลี่ยงหงส์ |
เสาปักพิดานตรง | ดาดกั้ง |
ระบายรอบที่หงส์ทรง | หามแห่ |
ชั้นล่างมีราวตั้ง | รอบล้วนเทียนราย ๚ |
๗๕๐๏ เสลี่ยงสองเสาสี่ตั้ง | เฉิดฉาย |
มียอดซ้อนชั้นรบาย | ครบห้า |
ทรงพระปรเมศวราย | อุมาพิฆ เนศวร์เฮย |
เดินดับถับเสลี่ยงหน้า | รอบพื้นรายเทียน ๚ |
๗๕๑๏ ฉัตรเทียนคู่หนึ่งนั้น | มาหลัง |
ขุนหมื่นสี่ถือสังข์ | อยู่หน้า |
พัดโบกอีกกับบัง | สูริย์ค่าง พระเอย |
รีบรัดจัดไม่ช้า | พรักพร้อมขบวนพราหมณ์ ๚ |
๗๕๒๏ พระครูผู้ที่เจ้า | กรมสอง กรมเอย |
ปลัดสี่หลวงขุนรอง | แปดถ้วน |
เดินเคียงค่างทำนอง | อย่างคู่ เคียงนา |
นุ่งจีบเฉวียงเสื้อล้วน | เชิดตั้งเทียนโต ๚ |
๗๕๓๏ เครื่องหลังเดินต่อริ้ว | เรียงมา |
ในคู่ต้นซ้ายขวา | เจ็ดชั้น |
ห้าชั้นสี่องค์คลา | ลำดับ กันเฮย |
บังแทรกแทรกเครื่องนั้น | จัดไว้อีกสอง ๚ |
๗๕๔๏ ละครเกณฑ์แต่งเลิศล้ำ | เล่ห์พราหมณ์ |
รุ่นรุ่นรูปงามงาม | แน่งน้อย |
ถือเทียนสองเดินตาม | ริ้วนอก ตลอดแฮ |
มากประมาณเกือบร้อย | แช่มช้อยชวนชม ๚ |
๗๕๕๏ โคมบัวตำรวจนั้น | เดินดับ กันนา |
สี่สิบตัวเลขจับ | จ่ายล้วน |
พิณพาทย์อีกสำรับ | หนึ่งอยู่ กลางเฮย |
หามสี่ตีสามถ้วน | แปดทั้งปี่เติม ๚ |
๗๕๖๏ กรมม้าแต่งล้วนเลิศ | คมขำ |
สักหลาดเสื้อสีดำ | อย่างใช้ |
เชลยศักดิ์มิได้กำ | หนดแต่ง ตนนา |
ตามแต่จะหาได้ | แต่งแล้วเป็นดี ๚ |
๗๕๗๏ ทั้งนี้นุ่งห่มล้วน | ขันแข็ง |
เสื้อปัศตูแดง | ทั่วผู้ |
กางเกงถะมัดถะแมง | ริ้วหลาก หลากนา |
จับจ่ายหมายตามรู้ | แบบเบื้องบรรพ์แถลง ๚ |
๗๕๘๏ เครื่องสูงกลองชนะนั้น | แต่งกาย |
ตามแบบอย่างแห่หมาย | ทุกครั้ง |
ยังขบวนพระนารายณ์ | ห้าค่ำ อีกเอย |
หมายสั่งกำหนดตั้ง | อย่างนี้สองคืน ๚ |
๗๕๙๏ จันทรโอภาสแจ้ง | เวหน |
แสนส่ำประชาชน | แซ่ซ้อง |
พระครูพิสุทธิมนต์ | เดินแห่ พระแฮ |
เสียงประโคมกึกก้อง | สว่างแจ้งแสงเทียน ๚ |
๗๖๐๏ ถึงถนนเรียกชื่อท้อง | สนามชัย |
เลี้ยวล่องตรงลงไป | ที่เฝ้า |
พระที่นั่งสุทไธ | สวรรย์ยิ่ง ยวดเอย |
สมเด็จจอมธเรศเจ้า | ประทับเบื้องบนสถาน ๚ |
๗๖๑๏ มวลหมู่ข้าบาทเฝ้า | ทูลละออง ธุลีนา |
โดยเสด็จประจำซอง | แวดล้อม |
ทหารปี่ขลุ่ยแตรกลอง | เลวเรียบ แถวแฮ |
องครักษ์แปดหมู่ห้อม | แห่งหน้าลานสนาม ๚ |
๗๖๒๏ ครั้นถึงในที่ล้อม | แวดวง |
บ่ายเสลี่ยงเบี่ยงหันตรง | เจาะจ้อง |
ถวายชัยพิพัฒน์มง | คลสวัสดิ์ เฉลิมนา |
สังข์เป่าโองการก้อง | แซ่ซ้องเสียงเหว ๚ |
๗๖๓๏ เทวรูปสำรับน้อย | สามองค์ |
พานอุไรรองผจง | จัดไว้ |
เทียนธูปสักการทรง | เจิมประ สุคนธ์เฮย |
เสร็จส่งพราหมณ์สั่งให้ | แห่แล้วทรงหงส์ ๚ |
๗๖๔๏ ถวายชัยแล้วสั่งให้ | กลับขบวน |
เดินทบขึ้นสวนทาง | เก่านั้น |
พันจันทน์จึงถวายชนวน | ทรงจุด พุ่มแฮ |
แสงสว่างล้วนห้าชั้น | สิบต้นทรงถวาย ๚ |
๗๖๕๏ ขบวนเดินตรงขึ้นราช | วังบวร |
ถึงจึ่งหยุดถวายพร | นอบน้อม |
เสร็จแล้วแห่กลับจร | เลิกล่อง ลงพ่อ |
จนลุทางน่าป้อม | ชักริ้วไปสถาน ๚ |
๗๖๖๏ ครั้นถึงเชิญพระเข้า | ในสถาน ใหญ่เฮย |
อีกสุวรรณหงส์ยาน | ยกตั้ง |
ที่เสาปักแขวนขดาน | ผอวดรอบ นั้นนา |
ปลายผูกฉัตรกระดาษ |
ยอดอ้อยกัทลี ๚ |
๗๖๗๏ เกรียวกรูดูแห่ทั้ง | หญิงชาย |
บ้างก็เที่ยวเรี่ยราย | ซุ่มซุ้ม |
บ้างมีที่นัดหมาย | ไปเที่ยว เล่นนา |
ชอบแห่งใดไปกลุ้ม | จดจ้องลองเลียม ๚ |
๗๖๘๏ บางพวกแห่แล้วเที่ยว | เซซัง |
บางพวกแวะดูหนัง | สนุกจ้าน |
บางพวกใคร่คอยฟัง | พราหมณ์กล่อม หงส์เอย |
บางพวกกลับคืนบ้าน | เบื่อคร้านคอยดู ๚ |
๗๖๙๏ หญิงชายหลายเหล่าพร้อม | เพรียงกัน |
เริงรื่นชื่นชมจันทร์ | แจ่มฟ้า |
ชักชวนมิตรเผ่าพันธุ์ | ชู้เริ่ม รักเฮย |
สาวซุ่มกลุ่มซ่อนหน้า | หนุ่มกล้าสอดมอง ๚ |
๗๗๐๏ ผู้ดีชอบยักย้าย | ปลอมแปลง |
ใช้แยบเที่ยวแอบแฝง | ดอดด้อม |
สบเหมาะสกัดสแกง | เล็ดลอด ดูแฮ |
บ่าวไพร่ไปห้อมล้อม | ซ่อนหน้าปนละวน ๚ |
๗๗๑๏ หนังหลวงมีที่หน้า | เทวฐาน นั้นนา |
ใช่แต่บุราณกาล | ก่อเค้า |
เป็นส่วนพระราชทาน | เพิ่มใหม่ นาพ่อ |
สมเด็จจอมมกุฎเกล้า | โปรดตั้งรังถวาย ๚ |
๗๗๒๏ เบื้องในสถานใหญ่ตั้ง | การกลาง สถานเฮย |
ศิลาบดบดแป้งวาง | ลูกซ้อน |
สมมุติบัพพะโตทาง | พระเสด็จ ขึ้นนา |
ฤๅบใช้ศิลาก้อน | หลากแท้กลไฉน ๚ |
๗๗๓๏ จัดเตียงเรียงแต่งตั้ง | โดยวิธี |
เตียงหนึ่งพระศุลี | เสด็จยั้ง |
ชั้นรองภัทรบิฐมี | ขลังทอด แลแฮ |
เตียงหนึ่งเบญจคัพย์ตั้ง | กลศซ้ายสังข์ขวา ๚ |
๗๗๔๏ ราชครูผู้เวทแกล้ว | มนต์ชาญ |
ทำกระสุทธิอวิสุทธิธาร | โสรจมล้าง |
เจิมจันทน์อ่านเวชดาน | ธุรำสอด สวมเฮย |
อีกประวิชเกาบิลบ้าง | เสกซ้ำสวมตน ๚ |
๗๗๕๏ เสร็จสั่งคู่สวดทั้ง | สี่นาย นั้นนา |
ให้สวดบุถุถวาย | พรักพร้อม |
สวดบทละคนราย | ดั่งทุก คืนพ่อ |
จบสิบสามบทน้อม | เกศ |
๗๗๖๏ พระครูแกว่งธูปตั้ง | สักการ |
เสียงกระดึงสังข์ขาน | แซ่ซ้อง |
ประพรมสุคนธ์ธาร | ข้าวตอก แล้วนา |
ชูดอกไม้เสียงก้อง | ร่ำอ้างนามถวาย ๚ |
๗๗๗๏ คู่สวดยกอุลุบทั้ง | สิบรา ตรีเฮย |
ตามวิธีบูชา | บอกไว้ |
ลาชะอีกนานา | ของที่ แจกเอย |
ค่ำหนึ่งบแจกให้ | เก็บไว้ถวายหลวง ๚ |
๗๗๘๏ ราชครูผู้ใหญ่น้อม | นมัสการ |
อ่านเวชชื่อทรงสาร | เสนาะล้ำ |
บทกล่าวบ่ทันนาน | อ่านจบ ลงเฮย |
จึ่งอ่านโตรพัดซ้ำ | เสร็จสิ้นจบสอง ๚ |
๗๗๙๏ จึ่งทำทักษิณเบื้อง | บูชา ศาสตร์ฤๅ |
เบญจคัพย์คงคา | คั่งถ้วย |
เทียนประทีปบุษบา | วางเสร็จ แลแฮ |
สังข์กลศบูชาด้วย | หนึ่งน้ำมนต์กุมภ์ ๚ |
๗๘๐๏ เสร็จแล้วอ่านเวทซ้อง | สนานหงส์ |
จบจึ่งเชิญพระลง | ถาดล้ำ |
อิศวรราชเอกอนงค์ | อุมาพิ ฆเนศวร์เฮย |
อ่านเวทหล่อหลั่งน้ำ | กลศแล้วสังข์สนาน ๚ |
๗๘๑๏ สรงเสร็จเชิญพระขึ้น | ภัทรบิฐ |
บรมอาสน์เทพสถิตย์ | เลิศล้น |
กระทำศาสตร์บูชิต | โดยเวท กล่าวนา |
บทชื่อสารเหลืองต้น | อ่านอ้างอวยถวาย ๚ |
๗๘๒๏ จบบทหนึ่งอ่านซ้อง | สืบไป |
สองเวทชื่อมาลัย | เศกซ้ำ |
บทสามบอกนามไข | ขานเวท นี้นา |
เรียกว่าสังวาลล้ำ | เลิศล้วนเฉลิมศรี ๚ |
๗๘๓๏ บูชาทวยเทพทั้ง | สามองค์ นาพ่อ |
หนึ่งนาคสังวาลทรง | ออกอ้าง |
ชายเยศอรรคอนงค์ | อรอัป สร |
จึ่งเทพมุขแม้นช้าง | มุสิกอ้างอาสน์เถลิง ๚ |
๗๘๔๏ จึ่งเชิญพระสู่เบื้อง | พานทอง ขาวเอย |
ยื่นเชิดชูประคอง | ย่องก้าว |
เดินเวียนแวดทำนอง | ประทัก ษิณนา |
ครบรอบหยุดยกท้าว | เหยียบเบื้องบรรพโต ๚ |
๗๘๕๏ บรรพโตขึ้นเหยียบถ้วน | สามหน |
เวียนรอบวงมาดล | เหยียบจ้อง |
ครบเชิญพระขึ้นบน | บุษบก หงส์แฮ |
สังข์เป่าเป่าศัพท์ก้อง | เสร็จแล้วหายเสียง ๚ |
๗๘๖๏ อ่านเวทอีกออกอ้าง | นามจง เจาะแฮ |
เรียกว่าบูชาหงส์ | ชื่อพร้อง |
บูชาพระสุเมรุยง | ยิ่งหลัก โลกนา |
พระเวทพระมนต์ซ้อง | ศาสตร์สิ้นบทแถลง ๚ |
๗๘๗๏ จบมนต์แลเวทเบื้อง | บูชา แล้วเฮย |
จึงพลิกเปิดตำรา | อ่านอ้าว |
สรเสริญแห่งมหา | ไกรลาศ |
ยอพระเกียรติ |
จบแล้วเป่าสังข์ ๚ |
๗๘๘๏ ใช่จบแต่เท่านั้น | ยังมี เวทเอย |
ส่งอุมาภัควดี | เดชล้ำ |
จบลงอ่านสดุดี | ถวายเวท พระนา |
แล้วจึงอ่านสรงน้ำ | พิฆเนศร |
๗๘๙๏ จุดเทียนแปดเล่มตั้ง | แปดทิศ |
บุษผชาติพรรณพิจิตร | เรียบไว้ |
โอมอ่านเวทบูชิต | เวียนทัก ษิณนา |
เรียกโตรทวารได้ | อ่านทั้งแปดปตู ๚ |
๗๙๐๏ สองพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญใช้ | เชิงเสียง |
นั่งพับเพียบเรียบเคียง | คู่พร้อม |
เสื้อครุยสอดสวมเฉวียง | ไหล่ลด หนึ่งนา |
มือประนมนอบน้อม | ว่าช้าเฉลิมหงส์ ๚ |
๗๙๑๏ บทต้นนั้นกล่าวขึ้น | โองการ |
ยมะหัถทนุตรัสขาร | เฉื่อยช้า |
สำเนียงเสนาะหวาน | กลมกล่อม |
สูงส่งเสียงแจ่มจ้า | จบสิ้นประสานสังข์ ๚ |
๗๙๒๏ จำเป็นเค้าร่ายขึ้น | บทสอง |
ย้ายเปลี่ยนแปลกทำนอง | บทต้น |
ว่าคู่ค่อยประคอง | คอยสอด เสียงนา |
ฟังเพราะลอยเลิศล้น | ส่งท้ายถวายเสียง ๚ |
๗๙๓๏ บทสามต้นกล่าวขึ้น | ภระพา |
เร็วรัดจังหวะลา | ลากท้าย |
เหยาะเหยาะกระหยับหา | ลลักเลื่อน ลงเฮย |
สามบทว่ายักย้าย | บพ้องทำนองเดิม ๚ |
๗๙๔๏ ช้าหงส์เมื่อจบนั้น | เป่าสังข์ |
บทหนึ่งเป่าสังข์ดัง | กึกก้อง |
สามบทหยุดลงฟัง | สังข์ทุก บทแฮ |
กล่าวกล่อมพร้อมเพราะพร้อง | พร่ำช้าพระยาหงส์ ๚ |
๗๙๕๏ เสร็จจึ่งอ่านเอื้อนออก | คำขาน |
ส่งเสด็จพระสู่สถาน | สถิตแล้ว |
อ่านเวทชื่อส่งสาร | อีกบท หนึ่งนา |
สุดส่งสำเนียงแจ้ว | เสร็จสิ้นส่งสาร ๚ |
๗๙๖๏ ครั้นจบแบบบทเบื้อง | พิธีไสย |
ส่งพระคืนสู่ไกร | ลาศแล้ว |
ปิดประตูศิวาลัย | อ่านอีก บทเฮย |
จนดึกจันทร์เด่นแผ้ว | จึงได้เสร็จการ ๚ |
๗๙๗๏ ลักเลงที่เที่ยวเหล้น | เห็นสนุก |
ลืมมลายความทุกข์ | ห่อนคร้าน |
เตร็จเตร่เร่หาสุข | ซอนซอก ไปเฮย |
จนดึกจึ่งกลับบ้าน | บเว้นวายคืน ๚ |
๗๙๘๏ ช้าหงส์ชนชอบแล้ว | ไปฟัง |
นั่งที่แถวผนังตาม | พวกพ้อง |
ผู้ดีมักแอบบัง | เสาซุ่ม ซ่อนเอย |
บางพวกพาพี่น้อง | เที่ยวเหล้นตามสบาย ๚ |
๗๙๙๏ บางคนใช้แต้มกาจ | เก่งก๋า |
พาพธูภรรยา | ออกเต้น |
ไว้ดีอวดสีดา | ดวงสวาสดิ์ |
ไป่คิดปิดซ่อนเร้น | เปิดหน้าพาเดิน ๚ |
๘๐๐๏ บางพวกเหล่าหม่อมเจ้า | บางองค์ |
บางพวกหม่อมราชวงศ์ | หนุ่มน้อย |
ไปฟังเมื่อช้าหงส์ | เห็นสนุก นาพ่อ |
มีอนงค์แอบอ้อย | อิ่งอ้อนบังตน ๚ |
๘๐๑๏ พระองค์เจ้าเสด็จบ้าง | บางปี |
เหล่านักเลงซอนหนี | หลบหน้า |
จัดออกฤไป่มี | ทางออก เลยพ่อ |
จนเจื่อนชักชายผ้า | หมอบม้วนฤๅเงย ๚ |
๘๐๒๏ บางคนมักชอบเหล้น | เอะอะ |
เที่ยวแทรกชนเกะกะ | ก่อถ้อย |
ใครใครไม่ลดละ | กวนต่อ แยเฮย |
เขาเกลียดฤๅใช่น้อย | พวกร้ายรังแก ๚ |
๘๐๓๏ ทั้งนี้ฤๅใช่ช้า | หงส์ประสงค์ ฟังเอย |
จริงจิตคิดจำนง | อื่นบ้าง |
จงเจาะเฉพาะตรง | สิ่งสวาดิ แลนา |
ยกเหตุช้าหงส์อ้าง | เพื่อรู้วันประชุม ๚ |
๘๐๔๏ ยินนานกาลแต่เบื้อง | บรรพ์มี มานา |
กรุงเทพทวารวดี | เก่าตั้ง |
ในการราชพิธี | บรมนาถ เสด็จเฮย |
ส่ง |
ว่างน้อยปีมี ๚ |
๘๐๕๏ พระเสด็จสถลมารคด้วย | คชยาน ยิ่งนา |
ทรงสถิตเหนือคอสาร | โสดห้าว |
นายสารใหญ่พนักงาน | ควาญพระ ที่นั่งเฮย |
ทรงพระแสงของ้าว | ง่าเงื้องามงอน ๚ |
๘๐๖๏ เครื่องคชกลมแถบหุ้ม | อุไรกรอง |
ขอพกกระวินทอง | เลิศล้น |
ขลู่คู่กระชิงรอง | หางคร่ำ คำนา |
ไหมถักพันชนักต้น | พนาดเกล้าระบายสาม ๚ |
๘๐๗๏ พระวงศ์มุขมาตย์ด้วย | แลหลาย |
ล้วนขี่คชพังพลาย | ทั่วหน้า |
ตำรวจแห่ขบวนราย | สองค่าง ทางพ่อ |
ล้วนเลิศเลอหลังม้า | เรียบริ้วเรียงเสมอ ๚ |
๘๐๘๏ พระบาทบรมนาถเจ้า | อยุธยา นี้เอย |
พระปรเมนทรมหา | มกุฎเกล้า |
เสด็จทรงคชไอยรา | ครั้งหนึ่ง นาพ่อ |
ส่งมหิศวรเป็นเจ้า | เช่นครั้งกรุงเดิม ๚ |
๘๐๙๏ เดือนบ่ายชายคล้อยเคลื่อน | ลดลง แล้วเอย |
ต่างเลิกดูช้าหงส์ | กลับบ้าน |
สาวหนุ่มที่นึกจง | ใจมาด กันนา |
จากรักหนักอกด้าน | สั่งด้วยตาลา ๚ |
๘๑๐๏ ต่างเริงต่างรื่นด้วย | แสงเดือน |
สนุกใดไป่เหมือน | เริ่มชู้ |
ยามรักชักใจเตือน | เอิบอิ่ม ใจเอย |
ยามจากเจ็บเหลือรู้ | เร่าร้อนกรมเกรียม ๚ |
๘๑๑๏ แสดงความครบถ้วนสิบ | ราตรี แล้วนา |
กำหนดราชพิธี | ว่าไว้ |
ตรียัมพวายมี | แต่เท่า นี้นา |
เติมต่อปวายให้ | อีกห้าคืนสนอง ๚ |
๘๑๒๏ กาฬปักษ์สองค่ำได้ | เวลา แล้วแฮ |
จึงพระครูพราหมณ์มา | พรักพร้อม |
ในพระบรมมหา | นิเวศน์ราช วังเฮย |
ยังพระโรงนอบน้อม | แต่ไท้เถลิงถวัลย์ ๚ |
๘๑๓๏ ข้าวเม่าข้าวตอกตั้ง | พานสอง ชั้นเอย |
กล้วยมะพร้าวโต๊ะรอง | อีกอ้อย |
มากพานมากโต๊ะของ | ถวายมาก จริงนา |
ตั้งแต่งตัดเรียบร้อย | เลือกล้วนควรถวาย ๚ |
๘๑๔๏ ราชครูผู้เวทแกล้ว | มนต์ขลัง |
ถวายพระมหาสังข์ | เครื่องต้น |
ขุนหมื่นเป่าสังข์ดัง | เหวหวู่ สองนา |
อวยอิศวรพรล้น | หลั่งน้ำโสรจสนาน ๚ |
๘๑๕๏ เจ้ากรมกับปลัดทั้ง | สามผอง |
ใดเชิดพานประคอง | แทบเกล้า |
ยกอุลุบทำนอง | สังสกฤต ก่อนเฮย |
แด่บรมราชาเจ้า | จบแล้วเรียงถวาย ๚ |
๘๑๖๏ ถวายเสร็จเสด็จแล้วเลิก | ลาครรไล |
สู่ราชวังบวรใน | ที่เฝ้า |
มหาสังข์โสรจชลไหล | หลั่งตก หัตถ์นา |
อวยเวทอิศวรเป็นเจ้า | แซ่ซ้องเสียงสังข์ ๚ |
๘๑๗๏ แล้วถวายอุลุบถ้วน | ไตรวาร |
โดยวิธีศาสตร์กาล | ก่อนกี้ |
สิ่งของจัดโต๊ะพาน | รังแต่ง ถวายแฮ |
จารีตธรรมเนียมนี้ | ทุกครั้งเสร็จเสมอ ๚ |
๘๑๘๏ แจกถวายตามเจ้าทั่ว | ทุกวัง |
มีต่างกรมแลที่ยัง | แจกด้วย |
ถวายเวทหลั่งชลสังข์ | โสรจสระ สนานเฮย |
ปุถุลาชะกล้วย | อุฉุพร้าวรวมถวาย ๚ |
๘๑๙๏ ยังพิธีมีชื่ออ้าง | ปาวาย นั้นนา |
ที่สถานเทพนารายณ์ | อยู่ยั้ง |
พราหมณ์สวดบุถุถวาย | ทุกค่ำ คืนเฮย |
ครบสี่ราตรีตั้ง | แต่ต้นปักษ์แรม ๚ |
๘๒๐๏ ดลแรมห้าค่ำได้ | เวลา |
พลบค่ำย่ำสุริยา | ตกด้อย |
อากาศดาดดารา | แพร้วพร่าง |
มัวหมอกเย็นหยาดย้อย | เหน็บเนื้อหนาวสยอง ๚ |
๘๒๑๏ ขบวนเกณฑ์มาพรักพร้อม | ตามหมาย |
ทุกหมู่ทุกหมวดราย | เรียบริ้ว |
คอยเตรียมแห่พระนรายน์ | ประเวศราช วังเอย |
มาหมดห่อนบิดพลิ้ว | ครบถ้วนขบวนเดิน ๚ |
๘๒๒๏ ขบวนนี้มิได้แห่ | แต่หงส์ |
อื่นอื่นทุกสิ่งคง | อย่างไว้ |
พราหมณ์เชิญพระนารายณ์ลง | เสลี่ยงยอด หนึ่งนา |
โทเทพอัศเรศไท้ | แห่ด้วยรวมสาม ๚ |
-
1. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พูล ↩
-
2. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ผ้าง ↩
-
3. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พรรฤก ↩
-
4. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน มวญ ↩
-
5. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เขตร ↩
-
6. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พานิช ↩
-
7. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สดวก ↩
-
8. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ยุติ์ ↩
-
9. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน บีฑา ↩
-
10. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ผาศุก ↩
-
11. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โยทธยา ↩
-
12. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อยุทธยา ↩
-
13. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สอาด ↩
-
14. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กระมล ↩
-
15. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ศุข ↩
-
16. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไภย ↩
-
17. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน จุลาเอราวรรณ ↩
-
18. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไวย ↩
-
19. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไอสวรรย์ ↩
-
20. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โอภาษ ↩
-
21. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ราพ ↩
-
22. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ลออง ↩
-
23. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อิก ↩
-
24. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สินาศ ↩
-
25. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ถมัดถแมง ↩
-
26. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อเคื้อ ↩
-
27. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบแร่ทองคำที่ตำบลบางสะพาน (ปัจจุบันเป็นอำเภอ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ↩
-
28. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รวาง ↩
-
29. ช้างเผือกพังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นระวางเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ ↩
-
30. ช้างเผือกพลายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นระวางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ↩
-
31. ช้างเผือกพลายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นระวางเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๕ ↩
-
32. ช้างเผือกพลายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นระวางเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓ ↩
-
33. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ↩
-
34. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สาตร ↩
-
35. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ขัติย ↩
-
36. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ลคร ↩
-
37. ปัจจุบันคือ เมือง DJAKARTA ประเทศอินโดนีเซีย ↩
-
38. ปัจจุบันคือ เมือง SEMARANG ประเทศอินโดนีเซีย ↩
-
39. Governor General ↩
-
40. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน มเมีย (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประพาสสิงคโปร์และชวา ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๔๑๓ และครั้งที่ ๒ พุทธศักราช ๒๔๑๔ ครั้งนี้เสด็จฯ ไปประเทศอินเดียด้วย) ↩
-
41. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน มาศ ↩
-
42. เสด็จพระราชดำเนินเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้ได้เสด็จฯ ไปยังพม่าและอินเดียด้วย ↩
-
43. คือเมือง มะละแหม่ง ↩
-
44. คือเมือง กัลกัตตา ↩
-
45. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไลย ↩
-
46. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน จำเภาะ ↩
-
47. คือเมือง อัครา ↩
-
48. คือเมือง เดลฮี ↩
-
49. คือเมือง บอมเบย์ ↩
-
50. คือภูเก็ต ↩
-
51. คือพังงา ↩
-
52. Viceroy อังกฤษประจำประเทศอินเดีย ขณะนั้นในหนังสือจดหมายเหตุ เสด็จประพาสต่างประเทศในรัชกาลที่ ๕ เสด็จเมืองสิงคโปร์ และเมืองเปตาเวียครั้งแรก และเสด็จประพาสอินเดียระบุว่า คือ ลอร์ดเมโย ↩
-
53. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รไวรวัง ↩
-
54. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน มแม ↩
-
55. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สุกร ↩
-
56. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศพม่าและอินเดีย ถึงกรุงเทพฯ เมื่อปีวอก เดือนเมษายน จ.ศ. ๑๒๓๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๔ ↩
-
57. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตเกียกตกาย ↩
-
58. Company ↩
-
59. พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา กำหนดทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีนี้เป็นครั้งคราว ↩
-
60. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กโถน ↩
-
61. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สุทธัย ↩
-
62. สมุดไทย เลขที่ ๒๒๘ หมวดโคลง เขียนกาญจนฉันท์ ↩
-
63. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ดาษ ↩
-
64. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ภู่ ↩
-
65. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กชิง ↩
-
66. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน แซก ↩
-
67. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน แขง ↩
-
68. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ติด ↩
-
69. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กบือ ↩
-
70. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โก่ง ↩
-
71. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เหล้า ↩
-
72. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน คลาศ ↩
-
73. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เร็ว ↩
-
74. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เมศราษี ↩
-
75. สมุดไทย เลขที่ ๒๗๗ เขียน ถือ แต่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รือ ↩
-
76. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน วงษ์ ↩
-
77. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ชัณษา ↩
-
78. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เพน ↩
-
79. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ภิเศก ↩
-
80. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไชย ↩
-
81. สมุดไทย เลขที่ ๒๒๗ เขียน ชัยมนต์ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไชยมงคล ↩
-
82. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปรากฎ ↩
-
83. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ลออง ↩
-
84. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน วิศาขมาศ ↩
-
85. การพระราชพิธีพืชมงคล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มเติมเข้ามาเป็นพิธีทางพุทธศาสนา ทำก่อนวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ ↩
-
86. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เข้า ↩
-
87. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พระพลา ↩
-
88. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน จรรไร ↩
-
89. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พลาน ↩
-
90. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กลด ↩
-
91. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เบญจครรภ ↩
-
92. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อัค ↩
-
93. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โล่ห์ ↩
-
94. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตวัน ↩
-
95. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โลกย์ ↩
-
96. สมุดไทยเลขที่ ๒๒๗ เขียน ประตัก แต่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ประฏัก ↩
-
97. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน บัณฑิตย์ ↩
-
98. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กเชอ ↩
-
99. สมุดไทยเลขที่ ๒๒๗ เขียน ดึ่ง แต่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ดิ่ง ↩
-
100. สมุดไทยเลขที่ ๒๒๗ เขียน โก๊ด แต่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน วก๊ด ↩
-
101. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เชิ๊ต ↩
-
102. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เพ็ชร ↩
-
103. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สราย ↩
-
104. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตกรุด ↩
-
105. กำตาก คือ การพระราชทานค่าภาษีอากรขาเข้า เช่นภาษีปากเรือ และค่าเกวียนที่เข้ามาค้าขายในวันทำพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แก่ผู้เป็นพระยาแรกนา ประเพณีการให้กำตากเลิกนี้ ในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระบรมราชาธิบายเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ พระราชพิธีสอบสองเดือนแล้วอย่างละเอียด - กรมศิลปากร ↩
-
106. คงหมายถึง เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธ์) สมุหนายกกรมมหาดไทย ผู้เคยปฏิบัติหน้าที่พระยาแรกนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และปฏิบัติหน้าที่นี้โดยตลอดจนถึงแก่อสัญกรรม - กรมศิลปากร ↩
-
107. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน หัดถ์ ↩
-
108. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สัปดปกรณ์ ↩
-
109. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กทง ↩
-
110. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อาวาศ ↩
-
111. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กจาด ↩
-
112. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สลากภัตร ↩
-
113. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สัตรี ↩
-
114. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน มารยาตร ↩
-
115. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ภักตร์ ↩
-
116. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เหื่อไค ↩
-
117. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รคน ↩
-
118. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปล่ำ ↩
-
119. สมุดไทยเลขที่ ๒๒๗ เขียน โดน แต่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โดด ↩
-
120. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สดุด ↩
-
121. ในรัชกาลปัจจุบันการพระพระราชพิธีทรงบำเพ็ญกุศลอุปสมบทนาคหลวง กำหนดให้ปลงผมที่ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง และอุปสมบทที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม - กรมศิลปากร ↩
-
122. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปดิทิน ↩
-
123. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สพัก ↩
-
124. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กำมลอ ↩
-
125. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พงษ์ ↩
-
126. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน จิตร ↩
-
127. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตะครุบตครับ ↩
-
128. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน บัพพัชชา ↩
-
129. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ญัติ ↩
-
130. ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมเทียนพรรษาก่อนเข้าพรรษาประมาณ ๗ วัน ณ พระราชฐานที่ประทับ พร้อมกับพระราชทานเทียนชนวนและไม้ขีดไฟไปจุดเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวงที่ได้รับพระราชทาน จำนวนเทียนหล่อใหญ่ ๓๑ เล่ม เล็ก ๒ เล่ม (เทียนเล็กสำหรับพระพุทธบุษยรัตน์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต) และกระจุบเทียนสลัก ๕๐ เล่ม กระจุบเทียนสลักนี้ใช้ตั้งบนลำต้นเทียน ซึ่งทำด้วยไม้และสลักลงรักปิดทอง มีกรวยกระบอกรูปถ้วยทำด้วยสังกะสี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหยอดขี้ผึ้งไว้แทนเทียนทั้งต้นและพระราชทานน้ำมันมะพร้าวไว้สำหรับเพิ่มเมื่อขี้ผึ้งเทียนหมด - กรมศิลปากร ↩
-
131. สมุดไทยเลขที่ ๒๒๗ เขียน ดั่ง แต่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ดัง ↩
-
132. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ในบทพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสอบสองเดือนว่า ทำที่ทุ่งส้มป่อย ↩
-
133. มีพระบรมธาตุระย้ากินนรครอบพระเจดีย์ถม พระคันธารราษฎร์องค์ใหญ่ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล พระปางห้ามสมุทร พระชัยเนาวโลหะน้อย พระทรมานข้าว และพระธรรม ↩
-
134. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ฦก ↩
-
135. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ราชวัตร ↩
-
136. พระสุทภูตเถระ เป็นชื่อพระอรหันต์รูปหนึ่ง มีกล่าวอยู่ในคัมภีร์ อรรถกถา ว่าเป็นผู้ที่สามารถบันดาลให้ฝนตกได้ ↩
-
137. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สถิตย์ ↩
-
138. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตำหรับ ↩
-
139. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ละเอียด ↩
-
140. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ศีศะ ↩
-
141. สมุดไทยเลขที่ ๒๒๗ เขียน เช้า ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เข้า ↩
-
142. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เพน ↩
-
143. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตแบง ↩
-
144. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ฬ่อ ↩
-
145. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กเตื้อง ↩
-
146. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปคำ ↩
-
147. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไศรย ↩
-
148. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน มนัศ ↩
-
149. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เบญจพาด ↩
-
150. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สอ ↩
-
151. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กทบ ↩
-
152. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โปฏฐบท ↩
-
153. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เกษ ↩
-
154. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปายาศ ↩
-
155. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตำหรับ ↩
-
156. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รดม ↩
-
157. สมุดไทยดำเลขที่ ๒๒๗ หมวดโคลงอักษร ท. เขียน เฮย แต่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เอย ↩
-
158. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตรุศ ↩
-
159. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ครุธ ↩
-
160. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน หงษ์ ↩
-
161. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กถาง ↩
-
162. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รทา ↩
-
163. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พล แต่น่าจะเป็น พลุ มากกว่า เนื่องจากชื่อที่กล่าวถึงในคำประพันธ์นี้มีแต่ชื่อดอกไม้ไฟทั้งสิ้นขาดแต่พลุเพียงอย่างเดียว - กรมศิลปากร ↩
-
164. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สนุกนิ์ ↩
-
165. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เขียน กทง ↩
-
166. ต้นฉบับสมุดไทย มีเพียงเท่านี้ สันนิษฐานว่า อาจมีเล่มที่ ๒ แต่ไม่พบในหอสมุดแห่งชาติ ↩
-
167. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ธรรมยุติก์ ↩
-
168. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อาวาศ ↩
-
169. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สท้าน ↩
-
170. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สพาย ↩
-
171. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปตู ↩
-
172. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กบี่ ↩
-
173. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พุดตาล ↩
-
174. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เสโลห์ ↩
-
175. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ยี่ ↩
-
176. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โล่ ↩
-
177. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สรวย ↩
-
178. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กรสุน ↩
-
179. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ทาษ ↩
-
180. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ล ↩
-
181. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ละเลิง ↩
-
182. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไพชนต์ ↩
-
183. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สมุท ↩
-
184. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สังหาร ↩
-
185. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ราพ ↩
-
186. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ล้าง ↩
-
187. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เหอร ↩
-
188. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไชย ↩
-
189. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สรด ↩
-
190. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เสร้า ↩
-
191. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เทอด ↩
-
192. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สบัด ↩
-
193. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ณเรศ ↩
-
194. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ละ ↩
-
195. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โรจ ↩
-
196. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กถิน ↩
-
197. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน นักศราช ↩
-
198. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อไภย ↩
-
199. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สร้าว ↩
-
200. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน มโหรทึก ↩
-
201. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ภาศ ↩
-
202. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน หฤไทย ↩
-
203. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อัค ↩
-
204. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน แซก ↩
-
205. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ใช้ไม้ยมกซ้ำคำ ↩
-
206. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กราญ ↩
-
207. ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน เรียกว่า อาชยุช ↩
-
208. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เกรอก ↩
-
209. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สระสรวย ↩
-
210. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กจก ↩
-
211. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รำพรรณ ↩
-
212. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปดา ↩
-
213. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปวรณา ↩
-
214. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รดู ↩
-
215. น่าจะเป็นราศีพฤศจิก ↩
-
216. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กติกา ↩
-
217. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตรัด ↩
-
218. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ช้าว ↩
-
219. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ซาย ↩
-
220. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตเกียบ ↩
-
221. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไตรย ↩
-
222. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ประนต ↩
-
223. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไฉย ↩
-
224. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตพาน ↩
-
225. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน แซก ↩
-
226. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ภักตร์ ↩
-
227. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน คว่าง ↩
-
228. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปทัด ↩
-
229. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน วาศนา ↩
-
230. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พิธยา ↩
-
231. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ทณฑ์ ↩
-
232. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปชัน ↩
-
233. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อาศน์ ↩
-
234. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ตลีตลาน ↩
-
235. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน นวน ↩
-
236. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ฬ่อฬ้อ ↩
-
237. คือ กัณฑ์มหาพน ↩
-
238. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อุส่าห์ ↩
-
239. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน นัดถุ์ ↩
-
240. ในที่นี้ต้องการรูปวรรณยุกต์ เอก ตามบังคับของโคลงสี่สุภาพ ↩
-
241. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ภูม ↩
-
242. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ใช้ไม้ยมกซ้ำคำ ↩
-
243. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน บุบผ ↩
-
244. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ชเวง ↩
-
245. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ทุ่ง ↩
-
246. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กระบาน ↩
-
247. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สันตวา ↩
-
248. เข้าใจว่า ซิกาแร็ต - ผู้ตรวจ ↩
-
249. เข้าใจว่า เชอรี่ - ผู้ตรวจ ↩
-
250. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กระษัตริย์ ↩
-
251. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ศิล ↩
-
252. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปเคน ↩
-
253. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ยะถา ↩
-
254. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน จ้าว ↩
-
255. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พะวาย ↩
-
256. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน โปลด ↩
-
257. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สารวัด ↩
-
258. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อะเคื้อ ↩
-
259. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ไกษย ↩
-
260. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ท้าว ↩
-
261. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน นาฬิวัน ↩
-
262. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปฉิม ↩
-
263. เดิมเรียกพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ตามประกาศพระราชพิธี พ.ศ. ๒๓๙๖ แปลว่า พระที่นั่งไอสวรรย์โถง ไม่มีฝาผนัง ↩
-
264. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ประนต ↩
-
265. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ทนาน ↩
-
266. กระดานที่จะนำลงในหลุม ยาวแผ่นละประมาณ ๒ เมตร กว้าง ๕๐ เซ็นติเมตร (ยาวสี่ศอก กว้างหนึ่งศอก) มีทั้งหมด ๓ แผ่น
แผ่นที่ ๑ สลักรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์
แผ่นที่ ๒ สลักเป็นรูปพระธรณี
แผ่นที่ ๓ สลักเป็นรูปพระคงคา ↩
-
267. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รำมนา ↩
-
268. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ปฎิมา ↩
-
269. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ภูม ↩
-
270. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน แซ่ง ↩
-
271. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พรรแสง ↩
-
272. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เรื้อย ↩
-
273. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เสรจ ↩
-
274. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ซร้อง ↩
-
275. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน รำพรรณ ↩
-
276. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน นิตยภัตร ↩
-
277. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน นรายน์ ↩
-
278. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ฬา ↩
-
279. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน กดาษ ↩
-
280. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เกษ ↩
-
281. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน อับศร ↩
-
282. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน เกียรดิ ↩
-
283. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน พิเนศ ↩
-
284. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน ผธม ↩
-
285. ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เขียน สร่ง ↩