เครื่องแต่งตัวลคร
มนุษ
ท้าวทุษยันต์ | เครื่องนายโรง ใส่ชฎา เว้นแต่ในตอนทีแรกพบนางนั้น สมมุติว่าเปลื้องชฎา เพราะฉนั้นควรใช้หมวกทรงประภาศปักทอง ผัดหน้าถือศร เว้นแต่ในตอนที่ถอดชฎานั้นถือพัชนี |
กุมาร (โอรสท้าวทุษยันต์) | ยืนเครื่อง หัวจุก ผัดหน้า |
วาตายน (กรมวัง) | เครื่องเสนา ผ้าโพกกับสุวรรณมาลา ผัดหน้า ถือไม้เท้ายอดทอง |
นายสารถี | เครื่องเสนา ผ้าโพกกับสุวรรณมาลา ผัดหน้า ถือแพนคู่ แส้จามรีเหน็บเข็มขัด |
เสนา | เครื่องเสนา หมวกทรงประพาศโหมดหรือตาด ผัดหน้า |
กุมภิล (ชาวประมง) | นุ่งถกเขมร เสื้อแขนสั้น ผมยาวประบ่า ไม่ผัดหน้า และติดหนวดดำ ถือคันเบ็ด ย่ามสพาย มีแหวนด้วยวง ๑ |
ราชบุรุษ (จำอวด) | แต่งอย่างจำอวด โพกผ้า ถือพลอง |
นางศกุนตลา | ตอนต้นเครื่องขาวล้วน กระบังหน้าและเครื่องแต่งดอกไม้สดล้วน ช้องเกล้ามวย ตอนกลางแต่งเครื่องนางเอก ใส่มงกุฎกษัตรี ตอนปลายนุ่งขาวห่มขาว เครื่องแต่งผม เปนดอกไม้ขาว ช้องถักเปีย |
นางอนูสูยาและปิยวาท | เครื่องขาว เครื่องแต่งผมดอกไม้ |
นางกำนัล | เครื่องนางกำนัล |
ฤษีและพราหมณ์
พระกัณวะดาบส | ผ้าขาวขลิบแดง ผ้านุ่งห้อยชายโจงชายเสื้อแขนสั้น ผ้าห่มเฉียงบ่า ชฎาผ้าขาวขลิบแดงแต่งดอกไม้ขาว ไม่ผัดหน้า ติดหนวดเคราหงอกขาว ถือพัดใบตาลด้ามตรงสั้น ๆ |
ฤษี (ที่ห้ามท้าวทุษยันต์ไม่ให้ยิงกวาง และที่เปนบริวารพระกศป) | เครื่องฤษีขาว คล้าย ๆ ที่พระกัณวแต่ง แต่ชฎาไม่แต่งดอกไม้ ไม่ผัดหน้า ติดหนวดและเคราดำ และฤษีที่ห้ามท้าวทุษยันต์นั้นถือพร้าหรือขวานสำหรับตัดไม้ |
โสมราต (ปุโรหิต) | เครื่องพราหมณ์ชั้นสูง คือนุ่งยกขาวโจงกระเบน (ไม่ใส่สนับเพลา) เสื้อขาว ห่มเสื้อครุยเฉียงบ่า ผมมวย ไม่มีเครื่องแต่งผม ไม่ผัดหน้า ติดหนวดและเคราสั้น ๆ หงอกมีดำแซม |
โคตมีพราหมณี | แต่งขาวล้วน มีกระบังหน้าและผ้าโปร่งขาวคลุมหัวปิดผม และยาวลงไปข้างหลังบ้าง กอง ๆ ไว้ที่บ่าบ้าง ผัดหน้าบาง ๆ เขียนเส้นให้เห็นย่นบ้างเล็กน้อย |
พราหมณ์บริวาร | นุ่งผ้าขาวโจงกระเบน ห่มผ้าขาวเฉียงบ่า โพกผ้าขาวทับเมาลี ไม่ผัดหน้า ติดหนวดเคราหรือไม่ติดตามแต่จะเหมาะ |
เทวดา
พระเทพบิดร | นุ่งยกขาวนุ่งชายโจงชาย เสื้อขาวแขนสั้น ห่มผ้าสใบเฉียงขาวโรยทองขลิบทอง ทับทรวงเพ็ชร กำไลเพ็ชร มงกุฎน้ำเต้า ไม่ผัดหน้า ผมหงอกขาว ติดหนวดเคราหงอกขาว ถือพัชนี |
พระอทิติเทพมารดา | เครื่องขาวล้วน มงกุฎกษัตรี ผัดหน้า |
พระอินทร | ยืนเครื่อง ชฎา ผัดหน้า ถือวัชระ |
พระมาตุลี | ยืนเครื่อง หัวผ้าโพกสุวรรณมาลา ผัดหน้า ถือแพนคู่ |
ท้าวธตรฐ | ยืนเครื่อง ชฎาหางไก่ ผัดหน้า เขียนพรายปาก ถือพระขรรค์ |
ท้าววิรุฬหก | ยืนเครื่อง ชฎามนุษ ผัดหน้า ถือหอก |
ท้าวกุเวร | ยืนเครื่องยักษ์ มงกุฎน้ำเต้าสี่เหลี่ยม ผัดหน้าบาง ๆ และติดคิ้วให้ขมวด ติดหนวดและเคราน้อย ๆ สีดำ ถือตะบอง ใช้กิริยาอย่างยักษ์ |
ท้าววิรูปักษ์ | ยืนเครื่อง ชฎายอดหัวนาค ผัดหน้า ถือศร |
เทวดาบริวาร (พลท้าววิรุฬหก) | เครื่องเสนา ใส่ชฎา ผัดหน้า (หรือจะใช้หัวโขนหน้าสีต่าง ๆ มีชฎาก็ได้) ถืออาวุธยาว เช่น หอก หอกกับโล่ห์ ฯลฯ |
เบ็ดเตล็ด
คนธรรพ (พลธตรฐ) | เครื่องเสนา หัวผ้าโพกสุวรรณมาลา ไม่ผัดหน้า เขียนคิ้วขมวด พรายปาก (หรือจะใช้หัวโขนอย่างมนุษหัวโล้น หน้าสีต่าง ๆ ก็ได้) ถืออาวุธสั้น เช่นดาบเขน ดาบสองมือ ฯลฯ |
ยักษ์ (พลท้าวกุเวร) | เครื่องเสนายักษ์ กระโหลกหัวยักษ์ ไม่ผัดหน้า ติดคิ้วขมวดและดก หนวดเคราตามควร (หรือจะใช้หัวโขนหน้าเสนายักษ์ก็ได้) ถือตะบอง ใช้กิริยาอย่างยักษ์ |
นาค (พลท้าววิรูปักษ์) | เครื่องนาคแบบโขนหลวง ผัดหน้า ถือธนู และดาบ |
นก (บริวารพระเทพบิดร) | เครื่องเสนา ใส่หัวนก |
วานร (บริวารพระเทพบิดร) | เครื่องสิบแปดมงกุฎ ขาวตัว ๑ ดำตัว ๑ |
ท้าวกาลเนมี | ยืนเครื่องยักษ์ หัวโขนหน้าดำมงกุฎหางไก่ ถือศร |
ทานพ (บริวารกาลเนมี) | เครื่องเสนายักษ์ หัวโขนหน้าต่าง ๆ ถือตะบอง |
กวางดำ | เครื่องกวาง มีเสื้อกางเกงติดกัน สรวมหัวกวาง |
----------------------------