คำแปลโคลงรุไบยาต โอมาร์คัยยาม
โคลงนี้แต่งเทียบตามรุไบยาตของฮะกิมโอมาร์คัยยาม ซึ่งรจนาเปนภาษาอังกฤษ ความเดีมก็เปนอุทานแถลงธรรมประมัยอย่างลึก อ่านแล้วต้องตรองมาก ๆ จึงจะเอาความได้ ในบางบาทแลบางบทก็ง่าย ครั้นจะแต่งขยายความหรือก็เกรงจะเสียรศรุไบยาตเดีมไป อนึ่งเดีมคิดว่าจะแปลหัวใจธรรมให้ตื้นเปลื้องลำบากท่านผู้อ่านที่บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ ก็คร้ามว่าจะใม่ถูกต้อง ด้วยอาจจะแปลได้หลายนัย ตื้นลึกสุดแท้แต่ปรีชาญาณของผู้แปล แต่เมื่อรู้ทางบางบทแล้วก็อาจจะแปลเอาความได้สดวกขึ้น มีผู้อ่านหนังสือรุไบยาตโอมาร์คัยยามที่นิพนธ์เปนโคลงสุภาพภาษาไทยใม่เข้าใจ เร้าขอให้อธิบายตามผู้นิพนธ์เข้าใจ จึ่งจำใจอธิบายไปตามรู้ตามเห็น แต่สุดปัญญาจะยืนยันได้ว่าเปนอย่างถูกต้อง นอกจากเปนอัตระโนมัตถาธิบายของผู้แปลผู้หนึ่งเท่านั้น บางทีท่านผู้ปรีชาในธรรมะยิ่งกว่าก็อาจจะเข้าใจได้ลึกยิ่งกว่าที่แปลไว้นี้ขึ้นไปอิกก็เปนไต้ การจะควรมิควรประการใดขออภัยโทษแก่ผู้แปลนี้ ผู้มีสติปัญญาวิชาชาญอันน้อยด้วยเถีด
บทที่ ๑
แสดงความใม่ประมาท พูดประหนึ่งปลุกใครให้ตื่นว่าสว่างล่วงเข้ามาอยู่ในเล้ามืดแล้ว เปรียบโลกเหมือนเล้าขังเป็ดไก่ แลที่ว่าเล้ามืดนั้นก็เพราะมืดย่อมเปนเจ้าเรือนอยู่เสมอ เหมือนเจ้าของเล้า ต่อสว่างโผล่มาจึงสว่างอยู่พักหนึ่ง หมดสว่างแล้วก็คงมืดอยู่เสมอ ดาวลอยอยู่เต็มฟ้าก็เลี่ยงลับหายไปหมดแล้ว ดวงอาฑิตย์เรียกพรานตกันออกนั้น เพราะพรานเปนผู้ประหารชีวิตสัตว์ ดวงอาฑิตย์ก็เปรียบพรานประหารชีพให้ดับ เพราะอาฑิตย์ขึ้นหนหนึ่งหนหนึ่งก็ชักชีวิตให้ใกล้เข้าไปหาความตายความทำลายทุกครั้ง แสงสว่างที่ฉายมาก็เปรียบเหมือนพรานโถมมายืนคร่อมคล้องชีวิตให้พินาศ แม้แต่ปราสาทซุ่ลต่านอันแข็งแรง ก็ยังติดลุกด้วยแสงอาฑิตย์ พูดประหนึ่งเพลีงไหม้ เพราะแสงอาฑิตย์มาต้องวันหนึ่งก็ใกล้ความทำลายเข้าไปทุกที เราหาควรจะนอนนิ่งอยู่ไม่ มีกิจสิ่งใดที่พอจะก่อให้เกีดประโยชน์ก็ควรรีบทำเสีย เพราะความตายรุกเข้ามาหาอยู่ทุกทีแล้ว เฉยชาใม่ดี
บทที่ ๒
พูดประหนึ่งว่ายามเช้ามืดฝันแว่วว่าชีวิตของตัวเองปลุกให้ตัวรีบตื่นขึ้นปลื้มอกปลื้มใจซดองุ่น ชีวิตเปรียบเบญจพิธะกามะคุณ คือ ตาเห็นอไรที่ปลื้ม หูได้ยินอไรที่เพราะ จมูกดมอไรที่ชื่น ลิ้นลิ้มอไรที่อร่อย แลกายถูกต้องอไรที่สำราญ บรรดาจะชวนใจให้สำเรีงสุขเสียแต่ก่อนตายจะได้ไม่เก้อเปล่า แต่กล่าวเปนว่าก่อนชวดได้ดื่มน้ำองุ่นชีวิตที่จะแห้งเสียหมดชั่วนิรันดร คือเตือนให้เร่งหาความสุขบำรุงชีพ อย่ามัวหลงไหลอยู่อย่างอื่นจะตายเสียเปล่า
บทที่ ๓
ใจความก็อย่างบทที่ ๒ แต่พูดเปนเวลาไก่ขัน (เช้ามืด) เสียงเหมือนใครมาตโกนเรียกให้เปีดประตูโรงเหล้าจะด่วนดื่มเหล้า ด้วยใม่มีใครลอยหน้านั่งอยู่นานได้ จะต้องไปอื่น ลงได้ไปแล้วเปนใม่มีที่จะได้กลับ แปลว่า เตือนเราให้รีบดื่มเหล้าเมา ๆ หลง ๆ กล่าวคือ เสพเบญจพิธกามะคุณเครื่องสำเรีงสุขเสียเถีด ชีวิตอยู่ไม่ช้าปานใดดอก ตายแล้วเปนไม่รู้กลับ เกีดใหม่อิกได้
บทที่ ๔
หมายความว่าเวลาล่วงมาความหลงไหลของโอมาร์คัยยามก็สิ้นไป กลับได้ความคิดใหม่ ข้อที่พอใจบวชเรียนภาวะนาเคร่งขรึมก็สลัดเสีย เพราะเห็นป่วยการ ดูแต่โมเซพระเจ้าองค์ก่อน แลพระเยซูคฤสต์ วิเศษวิเศโษปานใดก็สูญสิ้นไปหมด แต่พูดเปนท้าว่าไหนอยู่ที่ไหน ใครชี้พระองค์ให้ดูทีหรือ หมายความว่าวางตัวเปนพระเจ้าคนนิยมปฏิบัติทรมานกายใม่เสพเบญจพิธะกามะคุณขลังปานใดลงท้ายก็สูญหายหมดลเมอเปล่า ๆ
บทที่ ๕
อีรัมเจ้าแผ่นดินแขกอาหรับที่ล่ำลือพระบุญะเดชาภินิหารนัก ก็เสื่อมสิ้นพระอานุภาพสูญไปหมด ถ้วยดื่มสุรารศมีหูถึง ๗ หูล้วนประดับสัปตะรัตนามาศมีค่าของยัมชิดเจ้าแผ่นดินแขกผู้มีบุญบาระมีอุดมด้วยยศโภคศฤงฆารยิ่งนักก็ชวดป้อนสุรารศถวาย (ด้วยสิ้นชีพลับไปหมด) พูดเย้าว่ายังเหลือแต่รัศมีทับทิม (ที่ประดับหูถ้วย ๗ หู) ของบรมกษัตริย์นั้นดอก ฉายมาติดศรีน้ำองุ่นอยู่ให้แดงคู่กะพระราชอุทธยาน ที่ครั้งโน้นยอดสนุกสนานมโหฬารนักก็เหลือแต่ธารน้ำไหลพลั่งๆ อยู่ตามธรรมดาโลก ล่อให้คิดถึงอยู่เท่านั้น ล้วนเตือนใจโลกมิให้ประมาทลเลีงชีพมิช้าก็ตายสูญไปตามกันหมด
บทที่ ๖
เดวิดเปนคนมีชื่อเสียงทำนองพระเจ้าองค์หนึ่ง ช่างเทศนาคล่องก็ดับสูญไปหมด แต่ที่พูดเปนว่าถึงไปอยู่เมืองสวรรค์ก็ถูกอุดโอษฐ์ตรัสเทศนาจ้ออยู่เหมือนแต่ก่อนใม่ได้เสียแล้ว เยาะว่ายังเหลือแต่เสียงนกส่งสำเนียงร้องอยู่แทนพระสุรเสียงพระเจ้าช่างเทศนา ร้องว่าองุ่น ๆๆๆ แดง ชวนดอกกุหลาบ (เปรียบคนเรา) ให้ดื่มองุ่นคือเสพเบญจพิธะกามะคุณเสวยสุขด้วยดอกกุหลาบมีศรีเหลือง แลศรีแดง จึ่งพูดเปนทีว่าให้ดื่มองุ่นเถีด แก้มทีเหลืองจะได้แดงเปล่งด้วยฤทธิ์เมา คือจะได้สำเรีงสุขด้วยหลง
บทที่ ๗
ชวนให้สำเรีงชีพด้วยเสพเบญจพิธะกามะคุณ แต่พูดว่าให้รินอง่นซดเถีด เปนรดูอุ่นสบาย ให้ทิ้งศาสนาที่เคยถือเสียเถีด แต่พูดว่าให้ถอดเสื้อหนาวที่เคยสรวมทิ้งเสียเถีด ด้วยนกคือเวลาชีวิต ลงได้จับออกบินแล้วก็ถึงที่มุ่งหมายคือความตายในไม่ช้าพลัน แลทำเหมือนสดุ้งตกใจว่า นกกระพือปีกจะออกบินอยู่แล้ว อุประมัยเราอาจจะมีอุบัติเหตุตายลงเมื่อไรก็ตายได้ทุกเมื่อ เพราะแต่ระหว่างเกีดจนตายใม่ช้าเหมือนรยะทางที่นกจะบินบรือโผจากที่หนึ่งไปอิกที่หนึ่งเท่านั้น
บทที่ ๘
ถึงใครจะอยู่ในเมืองชื่อไนชาปุระ หรืออยู่ในเมืองชื่อบาบิโลน แลถ้วยที่รินน้ำองุ่นจะหวานหรือขม ศรีงามหรือศรีทรามเศร้า น้ำองุ่นคือชีวิตเราก็มีแต่จะงวดแห้งหายไปเสมอ เหมือนกลีบดอกไม้ คือชีวิตร่วงด้วยเวลาหมุนเปลืองไปเปลืองไป ฉนั้น แสดงความใม่เที่ยง
บทที่ ๙
ในโลกเรานี้มีสิ่งล่อให้ปลื้มปราโมทย์ก็ตั้งพัน ๆ อย่าง ยังสิ่งทำให้ฉิบหายไปทุก ๆ คนก็ตั้งพัน ๆ อย่าง เวลาดอกไม้สดที่งามดาษไปในรดูอุ่นสบายของยัมชิดเจ้าแผ่นดินแขกอันมีบุญมากรื่นรมย์เสวยสุขนั้นเอง ก็กลับเปนเวลาสิ้นพระชนม์หมดความสุข
บทที่ ๑๐
เตือนอย่าให้ไปเพ้อถึงผู้มีบุญผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน คืออย่าให้ตื่นไปบูชาพระเจ้าองค์ใด ๆ เลย แต่รบุออกนามไกโกบาด แลไกโคซูรเจ้าแผ่นดินแขกที่ถเกองพระกฤษฎาภินิหารมาก ออกนามรัสดัมผู้เปนนักรบ ต่อยมวยเก่ง มีฤทธิ์มาก ออกนามฮาติมชอบเสพรศโพชนาหารเอร็จอร่อยมาก ให้ลืมเสียให้หมด เพราะใช่ธุระของเราจะไปวุ่นเพ้อถึง หมายความอย่าให้ตื่นไปตามเขาหลงนิยมสิ่งใด ๆ เปนจริงเปนจัง นอกจากเสพเบญจพิธะกามะคุณสำเรีงชีวิตของตัว
บทที่ ๑๑
ชวนฟังโอวาทของโอมาร์คัยยามดีกว่า นักปราชญ์ศาสนาผู้ใด จะวิเศษวิเศโษปานใด คลั่งนิยมอย่างไร จะบวช จะสวดมนต์อย่างไร ก็ปล่อยให้อุตริเพ้อแผลงไปตามฤทธิ์ตามเดชเถีด จะเชื่อนรก ตื่นตกายสวรรค์อย่างไร ก็อย่าไปพลอยตื่นห้ามปรามหรือประพฤติตามด้วยเลย เพราะล้วนเปนวิธีเหลวไหลลวงหลง มีจริงแต่เกีดเสวยสุขแล้วก็ตายสูญไปหมดเท่านั้น
บทที่ ๑๒
ชวนหาสุขอย่างโอมาร์คัยยาม แต่พูดเปนชวนให้ไปเสวยสุขที่สวนของโอมาร์สร้างได้หว่างป่าแลหว่างสวรรค์ เพราะใช่สวรรค์อย่างเลมอกัน แต่อยู่ในโลกนี้เองเปรียบประดุจสวรรค์ในสวนของโอมาร์นั้น พระมหากษัตริย์กะทาษก็เสวยราชย์ชีวิตเยี่ยงเดียวกัน หมายความว่า ตามธรรมะของโอมาร์ พระเจ้าแผ่นดินหรือทาษก็อาจจะหาความสุขบำเรอชีพด้วยเบญจพิธะกามสำเรีงใจได้เช่นกัน ดีกว่าอ้าหล่าพระเจ้าแขก ไปค้างอยู่เพียงแค่สวรรค์เท่านั้น ทั้งส้อนมนุษย์ด้วย หมายความว่าธรรมะของโอมาร์เปนสุขกว่าสวรรค์ที่พรรณนาแลเปนสุขได้จริง ใม่ต้องเหมือนอ้าหล่าใม่มีตัวจริง
บทที่ ๑๓
พูดเปนทีชี้บอกว่ามีเข้าอร่อย ๆ กิน มีน้ำองุ่นโอชารศดื่ม มีสมุดกาพย์เพราะ ๆ อ่านสำเรีงจิต ยังได้ฟังเสียงสาวร้องเพลงชื่นใจ นี่แหละเปนสวรรค์ของมนุษย์ละ จะทิ้งโลกนี้ไปควานคว้าสวรรค์อื่นที่ไกล คือไม่มีจริงจังเพ้อไปทำไมอิกเล่า หมายความว่าสวรรค์อย่างพรรณนาได้ในคัมภีร์นั้น ใม่มีจริงดอก ไปทรมานกายตกายหาทำไม ความสุขในโลกคือเบญจพิธะกามะคุณนี่แหละ เปนตัวสวรรค์แท้ของเรา
บทที่ ๑๔
ธรรมะที่ดีๆ ก็น่าชอบใจ ยังโลกสวรรค์วิเศษงดงามก็น่าไปอยู่ แต่ก็นั่นและกำทุนคือหาสุขที่ตาเห็นก่อนหากำไรที่มีจริงหรือไม่จริงก็ไม่เห็นนั้น ตัวเราเองกลับจะมั่งมีกว่าดอกกระมัง ไปตื่นกลองสวรรค์ คือเรื่องสวรรค์วิมานทำไม ถึงเพราะก็อยู่ไกลหูนัก หมายความว่าถึงวิเศษกว่าโลกที่เราอยู่ก็จะจริงหรือมิจริงจะได้ไปหรือมิได้ไปก็รู้เห็นด้วยญาณหรือด้วยตามิได้
บทที่ ๑๕
ชวนให้เรามักน้อยเช่นนิสัยความพอใจของโอมาร์ มีครอบครัวเครื่องห่วงใยมากมายให้ยุ่งใจรกเรี้ยวเหมือนแมงมุมชักใยทำไม คนทีมีเครื่องห่วงพรุงพรังอยู่รอบตัวนั้น หวังประโยชน์ไฉน โอมาร์แลใม่เห็น เพราะเราจะตายเมื่อไหร่ ใครสามารถจะไปเกี้ยวหรือไปขู่ไปคัดค้าน ผัดวันตายได้เมื่อไรเล่า
บทที่ ๑๖
ชมดอกกุหลาบในสวนปานสวนเมืองสวรรค์ ชื่นใจยั่วยิ้ม ด้วยดอกกุหลาบ (คือเบญจพิธะกามะคุณเครื่องสำเรีงชีพ) หยอกแลเย้าเราให้ชื่นชมโศมนัศ เหมือนจะร่องบอกว่าแม้กลีบของดอกกุหลาบงามวิไลยราวกะเพชร์ ก็เชีญปลิดปาเล่นตามสบายใจให้เกลื่อนสนามสวนเถีด หมายความว่า มิพอที่จะห่วงใยหน่วงเหนี่ยวไม่หาสุขใส่ตนเชีงเสพเบญจพิธะกามประการใดเลย
บทที่ ๑๗
เราทั้งปวงต่างพากันคลั่งแผลงฤทธิ์แผลงเดชกันไปต่าง ๆ โดยโลภะเจตนา เดี๋ยวปราถนาใดใม่สมประสงค์ก็เหี่ยวเศร้าเจ่าจ่อย เดี๋ยวปราถนาใดได้สมหวังก็คึกคนองโลดเต้นเผ่นโผนครึกครื้นฟูใจ เปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็ง กองได้บนกองฝุ่นฝอยถึงจะรับแสงสว่างงามแวววาวปานใด (ยามฝุ่นพัดกลบก็มัวมล ยามปราศจากฝุ่นแสงก้อนน้ำแข็งก็แวววาว) กระนั้นครู่เดียวความงามก็ละลายหายจมกองฝุ่นฝอยไปหมด หมายความชีวิตเราจะมีบุญมีกรรม ยุบยากหรือเฟื่องฟูประการใด ๆ ใม่ช้าก็ต่างสูญหายไปหมด เหมือนก้อนน้ำแข็งลลาย
บทที่ ๑๘
บางท่านทำคุณประโยชน์แก่โลก เช่นหว่านกล้าที่เปนทองคำลงไปในแผ่นดินหวังให้เปนผล บางท่านก็ทำการเหลวไหลเช่นฝนตกไหลเฟอะไป แต่ลงท้ายก็สูญหายลลายไปเช่นกัน เหมือนศพที่เอาไปฝังแล้ว ใครจะกลับขุดเอามาได้อิกมีหรือ ถึงอยากจะฟื้นก็ฟื้นไม่ได้ ตามธรรมดาโลก น่าจะหมายความว่าทำการเหลวใหลเปล่าก็ดี กอบกุศลกรรมก็ดี ทำดีก็คงเปนคุณประโยชน์ดีแก่โลกตามเหตุของความดี แต่จะไปสนองผลแก่ตนในชาติหน้าอิกมิได้
บทที่ ๑๙
แสดงความใม่เที่ยงตามทางของโลก เปรียบถาวรสถานหรือโลกเหมือนโรงกำมลอ มีประตู ๒ ประตู ผลัดกันเปีดกันบิดทอยกันอยู่เสมอ หมายความว่า กลางวันแลกลางคืน พระเจ้าแผ่นดินมีบุญะเดชาบารมี ถเกองพระเกียรติยศเกียรติคุณ อย่างไรก็ดีทุก ๆ ราชธานีใหญ่น้อย ใม่เลือกว่าพระองค์ไหน ๆ หมด ล้วนเสด็จมาประทับอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็เสด็จพระราชดำเนีรออกประตูนั้นหาย ๆ ไปตามกัน ไม่มีใครมองเห็นพระกายหรือแม้พระเกียรติได้อิกต่อไป
บทที่ ๒๐
สัตว์เดรฉานเสือราชสีห์ หรือที่สุดจนคางคก ก็อาจจะทำอย่างพระเจ้าแผ่นดินสูงสุดได้ ลาป่าที่เปนสัตว์อันทราม ก็อาจจะฆ่าพรานอันเก่งฉกาจยอดอมหิต มีชื่อว่าอพราหมได้ สุดแต่โชค แลใช้โชคนั้นให้ถูกทางที่ควรใช้
บทที่ ๒๑
อธิบายบทที่ ๒๐ ให้กระจ่างว่า วังวิเศษที่สร้างอุทิศถวายพระเจ้าบนสวรรค์ พระเจ้าแผ่นดินผู้มีอำนาจสูงสุด ยังต้องมาฟุบพระนดาตถวายอภิวาทอยู่โดยสักกัจจะเคารพ แปลว่าใครใม่อาจจะโลดโผนอึกะทึกได้โดยมิต้องรับพระราชอาญา แต่นกเขาที่อยู่ในนั้นไม่พักยำเกรงใคร เย่อหยิ่งคูขันได้ตามลำคนอง ก็ไม่มีโทษหรือกลับนิยมกันเปนดีไปได้ เพราะทำถูกช่องความนิยมของมนุษย์ฉนั้น อมาตย์ราชเสนาที่วิเศษกว่านกแต่มิใช่นกไปเต้นรำร้องอไรขึ้นอย่างนกในเวลานั้นบ้างก็ลองดูเอา
บทที่ ๒๒
แสดงอนิตยะธรรมถึงผู้มีฤทธานุภาพ ที่สุดก็ใม่พ้นถูกพิฆาฏ แต่แกล้งพูดเปนประหนึ่งสดุ้งใจ ว่าเอ่นี่ศรีดอกกกุหลาบเศร้าสลดกว่าศรีโลหิต ซีซาโรมันที่ตีเกาะอังกฤษได้ครั้งปฐมกาลโพ้นที่แผลงมาเปนพระนามราชาธิราชเยอรมันว่าไกซาหรือไกเซออันไหลหยดในเวลานั้นแล้วหรือ แลแกล้งพูดว่าดอกไม้ที่แดงฉานอยู่ในสวนนี้ รองรับย้อมศรีเลือดอันหยดจากศีรษะเกล้าใครนี่น่ารักมวญมนุษย์นิยมกันมายุคหนึ่งครั้งไหน จึ่งแดงอยู่ดอกกระมัง โอมาร์ใม่เห็นวิเศษในการทรงอิทธิฤทธิ์เปนผู้มีเดชาภินิหาร แลแม้มหาชนนิยมปานใด ด้วยมีวันพินาศสาบสูญไปเช่นกันหมด
บทที่ ๒๓
ก็หมายความแสดงอนิตยะธรรมเยี่ยงบทต้น ว่าสนามหญ้าริมน้ำหญ้ารบัดใบเขียวสดน่าเอ็นดูงอกงามอยู่ปริ่มเฉนียนน้ำดูชื่นใจ โอมาร์หมายจะเอนตัวลงพักก็สดุ้งเสียวใจ เกรงว่าหญ้าเหล่านี้จะงอกจากปากใครที่หน้ารักแต่ครั้งไหนที่ถูกพิฆาฎก็จะไปรู้หรือ หมายความว่ามีอเนกจนเหลือคณนา
บทที่ ๒๔
ชื่นใจด้วยรินองุ่นด้วยถ้วยไสดื่ม ไม่มีทุกข์ ใจคอรื่นเริงสบายอยู่ในเวลานี้ เปรียบด้วยยามกำลังเสวยสุขบำเรอชีพด้วยเบญจพิธะกามะคุณอยู่ ครั้นคิดถึงวันพรุ่งนี้คืออนาคตกาลขึ้นมาก็ออกสดุ้งใจกลัวตัวจะตาย แต่หวลคิดได้ว่าเปล่า ๆ ตัวโอมาร์หนีไม่ต้องภยันตรายรอดอยู่ได้ตั้งแสนปี หมายว่าชั่วนิรันดร คือใม่ตาย เพราะการตายก็เปนธรรมดาของสังขารเหมือนตาแลเห็นดวงอาฑิตย์ขึ้นแล้วตก ชีวิตโอมาร์คงอยู่ชั่วนิรันดร นอกจากสิงศริรกายนี้หรืออันตรธานไปอื่นเท่านั้น แน่ใจว่าไม่ถือเอาเปนเครื่องตระหนักหรือทุกข์โทรมนัศ ในเหตุที่สักว่าสภาวะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมดาโลกะวิสัยฉนั้น
บทที่ ๒๕
ครวญปรารกถึงเพื่อนรักคู่ชีวิตทั้งหลาย เวลาของโลกแลโชคของเราคอยรุนเร่งให้ตายอยู่เสมอ เราต่างดื่มเบญจพิธะกามะคุณปลื้มอกปลื้มใจชื่นชม สมสุขหวังดีต่อกันอยู่เมื่อนี้ด้วยกันแล้ว ต่างคนก็ต่างหลบละกันเข้าไปพักในห้องหุรารสถาน คือที่ในโลกหน้าอันแสนไกล แปลว่าตายจากกันสูญ ๆ ไป
บทที่ ๒๖
บัดนี้เหลือแต่พวกชุดเราอยู่ในโลก เปรียบว่าอยู่ในห้องสนุกสนานเพลีดเพลินอึงคนึงอยู่ด้วยกัน คนชุดเก่าหลีกเราหายห่างไปหมด คือตายไปเสียหมดแล้ว แต่ถึงบทเราพิณพาทย์ทำเพลงเดีนก็จับออกเดีนบ้างอยู่แล้ว คือล่วงเข้าปัจฉิมะกับย่ำเข้าไปหาความตายทุกที ชุดใหม่รุ่นหลังก็รุนไล่หลังเข้ามาแทนที่ ธรรมดาโลกเปนอยู่เช่นนี้เสมอ ใม่มีใครหนีพ้นได้
บทที่ ๒๗
คนชุดก่อนก็ลงไปนอนอยู่ในหลุมน่ายเปนดินไป คนชุดใหม่ก็มิใช่จะแผลงฤทธิ์แผลงเดช หนีไปข้างไหนพ้นได้ ชุดหน้าหรือชุดใหม่ ๆ ต่อไปอิกเท่าไร ๆ ก็อย่าคิดเลยว่าจะรอด เปนเช่นกันได้ทุก ๆ ชุด ล้วนฝังดินทับ ๆ ซับซ้อนกันลงไป เล่นตลกถามว่าใครหนอจะเปนคนอยู่ยอด
บทที่ ๒๘
โอมาร์แนะนำว่า มีอไรที่จะจ่ายใช้บำรุงชีวิตให้เปนสุข น่าขวนขวายจ่ายกว้านความสุขเสียก่อนตายเถิด ด้วยธาตุดินก็คงจะรนลงไปยัดเยียดอยู่เปนดิน ดินไม่มีชีวิตเปนชิ้นเปนอันอย่างไรหมด นอกจากสูญ
บทที่ ๒๙
ปลงอนิตยะธรรมสังเวช ว่าเราจะต้องจากวัดจากบ้านจากความทเยอทยาน จากความย่อท้อ จากเพื่อนจากศัตรูแลจากพี่น้อง (บุตร์ภรรยาด้วย) จากตัวคือร่างกายของเราเอง จากความรัก จากความสุขแลจากความโศก จากความได้ยินได้ฟัง จากขับร้อง แลจากเหล้าคือความเมา หลงเสวยกามะสุขสูญสิ้น เปนอันจบกันเท่านั้นเอง
บทที่ ๓๐
บางท่านเตรียมวันนี้ หมายความว่าเตรียมสำหรับจะได้ดิบได้ดีในชาตินี้ บางท่านเตรียมต่อวันพรุ่งนี้ หมายความว่าเตรียมสำหรับได้ดิบได้ดีในชาติหน้า พูดประหนึ่งเทวะทูตร้องตโกนบอกว่าเขลาทั้งเรื่อง ความจริงมันใม่มีสมบัติอไรจะให้รางวัล ทั้งชาตินี้แลชาติหน้าเหมือนหมายดอก หมายความว่านมัศการพระอาหล่าป่วยการเปล่า
บทที่ ๓๑
พูดเปนที่ว่าสาวน้อยนอนหลับอยู่มีเสียงมาร้องตโกนบอกว่า ดอกไม้จะบานต่อเช้า หมายความว่าญาณมนุษย์จะตรัสรู้ได้ ต่อเมื่อทราบธรรมดาโลกะวิสัย พูดต่อไปเปนทีว่าสาวน้อยนางนั้นตกใจสดุ้งตื่นขึ้นมองหา ก็ซ้ำได้ยินเสียงแว่ว ๆ เหมือนใครกระซิบบอกว่า ดอกไม้ที่บานแล้ง ย่อมไม่รู้จักตายอยู่ชั่วนิรันดร หมายความว่าคนที่ตรัสรู้ธรรมดาโลกะวิสัยแล้วใม่รู้จักตาย คือชีวิตใม่รู้สูญ โอมาร์น่าจะเชื่อว่าชิวิตมนุษย์ไม่รู้สูญ แต่ใม่มีพยานยืนยัน จึ่งอุบายพูดประหนึ่งสาวน้อยนอนฝันแกมลเมอ ๆ
บทที่ ๓๒
ตำหนิว่าไฉนนักปราชญ์ยังแค่นเถียงกันถึงเรื่องชาติก่อนชาติหน้าอยู่ได้ จนกว่าขยากจะอุดปากแน่นต้องนิ่งไปเอง คือจนตายก็เอาแน่เอาจริงตรงไหนมิได้ การโง่ที่จะเอาชนะคะคานกันด้วยโง่ฉนี้นั้นดีหรือ
บทที่ ๓๓
ขอให้ฟังคำคัยยาม ขยอกกลืนหรือบ้วนคำนักพรตอื่น ๆ เสียเถีด อย่าถือเอาเปนอารมณ์เลย ความจริงนะมีแต่มีชีวิตเที่ยวว่อนอยู่ในโลก สุดแต่บัจจัยจะปรุงแต่งธาตุให้เปนรูปแลเปนนาม (ใม่ใช่ชื่อคือชีวิต) เท่านั้น ที่แท้ก็นั่นสักแต่ว่าของกลางหมดใม่ใช่ของใคร แต่เกีดมามีชีวิตแล้วก็ย่อมหลงทนงว่าเปนของเรา เปนตัวเปนตนเรา แสดงอนัตระธรรมที่ขีวิตสังขารเปนของกลาง หาใช้าตัวใช่ตนของใครใม่ หากอุปาทานตัณหา อวิชาพาให้ถือมันเอาเอง
บทที่ ๓๔
ร่างกายแลชีวิตเรานี้เปนของเรา หริอมิใช่นั้น ยกไว้ทีเถิด นึกเสียว่าร่างกายแลชีวิตเรานี้ของนายเรา (คือธรรมดาโลกะวิสัย) ท่านมอบให้เราเปนพี่เลี้ยง เราก็จำเปนจะต้องเอาธุระถนอมกล่อมเกลี้ยงประคับประคอง (บำเรอด้วยเบ็ญจพิธะกามะคุณ) ไปจนสุดปัญญา (ด้วยโอมาร์เชื่อว่าธรรมดาร่างกายชีวิตต้องการเบ็ญจพิธะกามะคุณเปนเครื่องบำเรอสุข) สุดจะคิดบิดตกูดทิ้งลูกนายแขวะนายเอาความสุขเฉภาะตนได้ หมายความว่าการฝืนธรรมดาโลกะวิสัยไปบำเพ็ญพรต ใม่บำเรอชีวิตร่างกายด้วยเบ็ญจพิธะกาม โดยเหตุประการใด ๆ ก็ตามฉนั้น เปนการทรยศต่อเจ้านาย คือธรรมดาโลกะวิสัย เห็นแก่ตัวแหวกช่องน้อยหาความสุขแต่เฉภาะตน
บทที่ ๓๕
บุหงาหอมเราถนอมไว้ก็สำหรับเมื่อเราจะได้ดมหอมชื่นใจ ชีวิตเราถนอมได้ ก็สำหรับเพื่อเราจะได้ชื่นชมความสุขปลื้มอกปลื้มใจ จึ่งเตือนอย่าให้ลโมภมากกระเวนกระวายวุ่นกอบโกยสิ่งอื่นเลย หมายความว่าสวรรค์วิมานเพ้อไปเลย เสียแรงเกีดมาชาติหนึ่ง รักขีวิตแล้วจะไปหลงเอาอย่างคนที่เผยย โดยหลงเขลาเอาเรื่องเาราวิไร ชวนแต่ให้หาความสุขบำเรอชีวิตด้วยเบ็ญจพิธะกามะคุณเปนกำไรเท่านั้น
บทที่ ๓๖
เมื่อยังเด็ก ๆ เราก็เอื้อเฟื้อที่จะแสวงหาวิชาสดับตรับฟังคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ แลนักพรตศาสดาต่าง ๆ เพื่อทราบลักษณ์สังสาระวัฎ คือการเวียนตายเวียนเกิด แลอมัตะธรรม หมายความว่าชีวิตคงอยู่นิรันดร เช่นพวกคฤศตังแลอิสลามถือ ใม่ใช่พระนฤพานอย่างพุทธศาสตร์ แลธรรมะนิเทศทั้งปวงจนเกีนพอ แล้วก็คายออกมาเสียช่องเดียวกันกะทางที่กรอกความรู้อย่างใหม่อันวิเศษเฉลีมปัญญานั้นเข้ามาแทนที่
บทที่ ๓๗
เมล็ดอันเปนตัวพืชของพิชานั้น โอมาร์พึ่งครูบาอาจารย์เภาะขึ้นให้ แต่โอมาร์ใช้น้ำพักน้ำแรงของตัวเอง อุตส่าห์รดน้ำจึงได้งอกงามขึ้นเปนต้นได้ โคลงอุทานธรรมเหล่านี้ แต่ละล้วนเปนผลของต้น พิชาที่อุสาหะสงวนปลูกจนโตขึ้นมาออกลูกได้ เมื่อมาก็มาเหมือนน้ำไหลมา เมื่อไปก็ไปเหมือนลมพัดไป
บทที่ ๓๘
บรรยายบทที่ ๓๗ ว่า เราเกีดมาในโลกนี้ทำไม ก็ไม่มีใครรู้จริงได้ มาแต่ไหนก็ไม่มีใครรู้จริงได้ เหมือนน้ำไหลมาแต่ไหนก็เปนเลีกที่ใครจะหยั่งรู้จริง (เห็นแต่มาแต่ธารเขา หรือตกมาแต่ท้องฟ้า แต่ก็ต่อนั้นขึ้นไปอิกเล่า) เมื่อชิวิตจะจากไปก็ไปเหมือนลม เหลือรู้ว่าจะพัดหวนไปข้างไหนบ้าง
บทที่ ๓๙
ป่วยการถามว่ายามชิวิตออกจากร่างกายนี้แล้ว มันจะไปข้างไหน (ถึงถามมันก็ไม่รู้จะเอาอะไรที่ไหนมาตอบได้) ป่วยการซักว่า ทำไมมันถึงจะไปเสียจากร่างกายนี้ ขอแต่เสพเบ็ญจะพิธะกามะคุณปลุกใจให้สำเรีงอยู่จนถึงเวลาตายเถีด ขอสนุกสนานอยู่เสมอ ขี้เกียจชเง้อเจ๋อสวรรค์ เพราะมันใม่มีจริงเช่นหลงตกาย
บทที่ ๔๐
พูดเปนทีว่าจากโลกนี้ไปเที่ยวสวรรค์ทั้ง ๗ ชั้นออกทั่ว (ด้วยสวรรค์แขกอาหรับมี ๗ ชั้น) กระทั่งแท่นทิพอาศน์พระเสาร์ ก็ได้สอึกเข้าไปเฝ้าถึง (พระเสาร์เหมือนท้าวสกรินทร์ คืออพระอินทร์ของแขกอาหรับ) หมายความว่าตรองรู้เสียหมดแล้วว่า สวรรค์แลพระเสาร์มันใม่มีจริง นอกจากลมปั้นขึ้นเพ้อ ๆ เชือกที่ขอดขวางทางหลายเส้นก็แก้คลายออกได้หมด แต่ขมวดโชค คือทำไมอยู่ดี ๆ จึงมียามเคราะห์ดีเคราะห์ร้ายกับขมวดตาย แล้วจะเปนอย่างไรต่อไปนั้นต้นขมองหมดปัญญาแก้ไม่ออก คือใม่รู้จริงแน่ได้
บทที่ ๔๑
ที่ว่ามีประตู แต่ใม่รู้ว่าทำอย่างไร จึ่งจะไขออกได้นั้น หมายความว่าเห็นอยู่ดี ๆ ก็บรรดารให้เคราะห์ดีแลเคราะห์ร้ายประจักษ์ตา แต่ไม่รู้ที่ว่าจะทำอย่างไร ถึงจะปั่นให้โชคดีแลร้ายได้ ที่ว่ามีหน้าซุกอยู่ในโปง แต่สุดจะมองเห็นได้นั้น หมายความว่าเห็นคนตายอยู่ตำตา แต่ไม่รู้ว่าตายแล้วขีวิตเปนอย่างไรต่อไป ไปข้างไหนบ้าง เสียงพูดกันว่า พวกเรา พระเจ้า ออกแส้ร์หนวกหู แต่สักหน่อยพวกเรา หรือพระเจ้า เงียบเสียงหายไปหมด ใม่กล้ากระโตกกระตาก แปลว่าพากันตายไปหมด พระเจ้าหลอก ๆ คุ้มเกรงรักษาใคร ก็ใม่เห็นได้สักหน่อย
บทที่ ๔๒
แผ่นดินใบ้พูดใม่ได้ ทเลบ้าใม่รู้จักเซาคนองคลื่นโพล่งๆ อยู่เสมอนั้น เหมือนกันกะท้องฟ้า น่าจะเปนอยู่ประจำโลกชั่วนิรันดร เวลากลางวันกลางคืนปกโลกเหมือนมุ้ง ผูกครอบลงมาจากพื้นฟ้า หมายความว่า แผ่นดินทเลดแลฟ้าน่าจะเปนของคงอยู่ชั่วนิรันดร แต่ก็ใม่แน่ใจ
บทที่ ๔๓
ทำเปนทูลถามพระเจ้าว่า คนจะไปสวรรค์จะเอาอไรเปนโคมนำทางดี เพราะมวญมนุษย์โง่เขลามืดมลอยู่ในโลกอลเวง ทำเปนว่าพระเจ้าตรัสตอบว่า โคมบอดบอดดี คืออย่ารู้อไรจริงนั่นและ เปนทางไปสวรรค์ละ เพราะรู้จริงมันเข้าแล้วก็มีแต่สูญเปล่าหมด ใม่มีอไรเปนแก่นสารจริงจังอยู่ตรงไหน
บทที่ ๔๔
ทำเปนทีพูดกะโลกว่า เวลามีชีวิตอยู่จะปฏิบัติไฉนจึ่งจะดีสมชีพ ทำเปนเสียงใครกระซิบบอกว่า เวลายังมีชีวิตอยู่ให้รีบโศมนัศ ให้ดื่มความสุขเสมอ ๆ ไว้เถีด เมื่อตายแล้วจะใม่ได้พบเห็นอิกต่อไป
บทที่ ๔๕
โอมาร์ว่าตุ่มดินตอบ ผะชดศาสนาอิสลาม เพราะตุ่มกะคนก็ทำนองเดียวกัน เปนของคนอื่นปั้นให้ เพราะว่ามนุษย์เปนมาเพราะพระเจ้าสร้าง เหมือนช่างม่อปั้นตุ่ม จึ่งแกล้งว่า ชรอยตุ่มทิ่แอบตอบตามบทที่ ๔๔ นั้น คงมีใครสิง มีชีวิตเช่นคนจริงมาสักครั้งหนึ่ง จึ่งรักสนุก อยากหาความสุขฉลองชีวิตอย่างฉลาด ถูกอารมณ์โอมาร์ แลจุ๊บเสียหลายครั้ง
บทที่ ๔๖
กลางวันวันหนึ่ง โอมาร์พูดเปนทีว่าไถลเข้าไปเที่ยวในตลาด เห็นช่างม่อคร่ำกำลังขยำดินเปียก ๆ เคล้าอยู่ เอามือทุบดินถุบ ๆ แลได้ยินดินครางว่า ค่อยพี่ ค่อยหน่อย ขันไหม เปรียบความว่า แม้ก้อนดินเมื่อใครขยำเข้า ก็ยังอาจจะออกเสียงดังออดแอดได้ ผะชดศาสนาอิสลาม ที่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ เมื่อสาบสันข่มเหงหนักเข้า มนุษย์ก็อาจจะออกเต้นหลีกได้บ้างเปนเหมือนกัน
บทที่ ๔๗
ก้อนดินอันเปนธาตุเลวทราม พระเจ้าขยำๆเปนโคลนปั้นมนุษย์ คือพระเจ้าสร้างมนุษย์นี้ มิใช่นิทานแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ บรรพะบุรษย์คือ ปู่ ย่า ตา ชวด หลายชั่วคน เชื่อแลเล่าสืบ ๆ ต่อกันมาจนถึงหูเราดอกหรือ
บทที่ ๔๘
พูดต่อบทที่ ๔๗ ว่า ใม่ใช่อยาดน้ำที่เราสาดรดไม้เลื้อยที่เฉาด้วยถูกไฟเผาลวกข้างล่างนี้ เพื่อให้ไฟอันส้อนซึกอยู่ลึกลับลี้มาไม่มีใครรู้ช้านานดับดอก แปลว่าเปนสักแต่ว่านิทานนึกขึ้นเล่าๆต่อมา ใม่ใช่ความจริงที่จะแก้กังขา หรืออวิชาที่เราเดือดร้อนอยากรู้ความจริงอยู่
บทที่ ๔๙
เหมือนเวลานางสาวน้อยยกถ้วยองุ่นสด อันเปนทิพรศขันซดอร่อยปาก เราจะยอมถ่อมพยศอดเปนจอกเปนถ้วย รององุ่นจิ้มปากให้เจ้าหล่อนซดอร่อยอยู่คนเดียวทนอดอย่างไรได้ หมายความว่ายอมถ่อมตัวเลวยกพระเจ้า ที่ไม่มีฤทธิ์เดชจริงจังแลใม่ใช่เจ้าบุญนายคุณอย่างไร ให้ได้เกียรติยศป่วยการ
บทที่ ๕๐
แกล้งพูดถึงดอกดุลิป คล้ายดอกทุเรียนของไทยเรา ยามเช้ามีน้ำหวานหล่ออยู่ในดอกซดหวานหอมแปล้ม ๆ บอกให้เร่งจิบชื่นใจยามบัจจุสสมัยเถีด อย่าตละ (โลภสวรรค์) เชื่อพระเสียโชคเสียเปล่าเลย ซดเมื่อขว้ำถ้วยเหล้าลงแล้วจะดีที่ไหน เปรียบความว่ากำลังอุดมวัยเชีญเสพเบญจพิธะกามะคุณ อย่าหลงลเมอเชื่อนักพรตจนปัจฉิมะวัยจึงรู้ศึกตัวเลย
บทที่ ๕๑
ขยายความบทที่ ๕๐ ว่า แทนเวลาครู่หนึ่งที่จะนมัศการพระเจ้า จงชิงกอดสาวน้อยชื่นอกชื่นใจก่อนแม่ (คือความตาย) แร่กลับมากอดลูกของแม่เถ้าเถีด กอดหน่อยแล้วก็ปล่อยแขนเจ้า เปนอันกอดครั้งท้ายลาจากกัน หมายความว่าชีวิตมนุษย์อยูใม่ช้าได้เหมือนหวัง ถึงรักแวนรักก็จำต้องลาจากกันไปทั้งรัก
บทที่ ๕๒
เตือนสหายให้เร่งดื่มองุ่น คือบำเรอชีพด้วยเบญจพิธะกามะคุณอย่าพักเลย ด้วยวันคืนสิล่วงไปล่วงไป ถึงตายแต่วานนี้จนพรุ่งนี้ยังไม่เกีด ก็อย่ากลัวเลย ถ้าวันนี้ได้สนุกน้ำใจสำเรีง หมายความมิให้ห่วงโลกหน้ายิ่งกว่าห่วงบำรุงชีพให้บรรเทองสุขในชาตินี้
บทที่ ๕๓
ขณะหนึ่งเราพะวงชีวิตในการทำบุญ หรือขณะหนึ่งเราพะวงชีวิตในการสร้างคุณะประโยชน์ก็ดี ก็เหมือนดาวในท้องฟ้ากับพวกเกวียนเดีนทางในยามราตรี ต่างมุ่งอรุณรุ่งเปนที่ตั้ง แต่ครั้นรุ่งขึ้นแล้วจะมีอไร ก็เปล่าทั้งเรื่อง หมายความว่าทำบุญก็ดีทำคุณก็ดี หวังว่าจะบังเกีดผลให้บรรดุโลกสวรรค์นั้นเหลวเปล่า
บทที่ ๕๔
เราช่วยโลกๆช่วยเลี้ยงบรรโลมชีวิตเราให้ชมชื่นมีความศุข ช่วยพระเจ้าๆดีแต่ช่วยโหมชีวิตเราให้แห้ง (หมายความว่ามีแต่ชอบให้บำเพ็ญพรตงดเสพเบญจพิธะกามะคุณ) หวังสวรรค์เปล่า ๆ เชื่อสวรรค์เปล่า ๆ ใม่มีประโยชน์อย่างใดเลย ใครขืนทิ้งองุ่น (คือเบญจพิธะกามะคุณ) ไปหมกมุ่นแต่ในทางศาสนา ที่เหมือนได้แต่แท้งลูกออกมาเปนแต่ความเท็จ ก็เสียทีเกีดมาชาติหนึ่งเปล่า ๆ
บทที่ ๕๕
น่ากลัวตายน้อยกว่าน่ากลัวเปนๆอยู่ ด้วยตายแล้วทเบียนก็ลบรูปโฉมก็อันตรธาน ความกลุ้มกล้ำในทรวงก็ดับ น้ำทิพก็หยัดยิบๆเปนพรมอยู่ในตัวเองนิรันดร คุ้มชีวิตสงัดแลจำเรีญอยู่มิรู้สิ้นสุด หมายความตามความเห็นของโอมาร์คาดว่าชีวิตมนุษย์มิรู้สูญ ยามออกจากกายแล้วก็ลอยอยู่ชั่วนิรันดร แต่ไม่มีหลักพยานพิศูจน์จึ่งมิกล้ายันยัน
บทที่ ๕๖
เมื่อเราท่านหลบเข้าหลังโปงปิดแล้ว คือตายแล้ว กว่าโลกที่เราอาไศรยจะประลัยกัลบ์ก็ยังอิกช้า ส่วนมนุษย์เกีดแล้วตายเหมือนวิ่งวนเวียนกันอยู่ เช่นคลื่นในมหาสมุทร์ฉนั้น
บทที่ ๕๗
เฆาะคนที่ถือศาสนะลัทธิเชื่อสวรรค์ ว่ามัวง่านใจกลุ้มเปนเกลียวอยู่ทำไมใม่รู้แล้วรู้รอด เดี๋ยวโน่นเดี๋ยวนี่วุ่นอยู่เสมอ มาหาช่องสำเรีงชีวิตให้เปนสุขจะฉลาดกว่า (บำเพญพรต) ดอกกระมัง เหนื่อยเปล่า อยากจะอร่อยสิหลงเขลาไปคว้าเอาฃมมาเคี้ยวทำไม หมายความว่าผลของการนมัศการพระ หรือบำเพ็ญพรตใม่มีผลสวรรค์เช่นหมายดอก ทนลำบากเหลว ๆ เปล่า ๆ
บทที่ ๕๘
เพื่อนรู้ว่าโอมาร์อยู่บ้านเหงาหรือ เปล่าดอกหมู่นี้โอมาร์แต่งงารใหม่ (หมายความว่าถือศาสนาอย่างใหม่) เมียหมันก๋ากั่นแก่ (คือศาสนาอิสลามเปรียบหญิงหมันถึงอยู่ด้วยกันก็ไม่มีบุตร์ เพราะหมายสวรรค์ก็ไม่มีสวรรค์จริง นอกจากเพ้อไปตามความเชื่อหลงๆแต่บุรมสมะกัลป์) ใจขยะแขยง อย่าเสียแล้ว (คือเดีมโอมาร์บำเพ็ญพรตศาสนาอิสลามแล้วศึก) ชื่นชมแต่แม่องุ่นเมียใหม่กระดิกกระดี้รี่รักใคร่ถนอมไว้ชื่นชีวิต (แปลว่าประพฤติแต่บำเรอชีพด้วยเบญจพิธะกามะคุณถ่ายเดียว)
บทที่ ๕๙
ธรรมะอย่างใดว่าสิ่งใด มีก็ดี ใม่มีก็ดี แม้เปนของจริงเช่นทอดบรรทัดเปนแนวจำกัดสูงต่ำ ให้อยู่ที่แจ้งตระหนักแน่ โอมาร์ก็มิพักทยาทแยแสรเหมือนองุ่น (คือเบญจพิธะกามะคุณ) โอมาร์เห็นอไรๆในโลก ใม่สำคัญเท่ากับบำรุงชีวิตให้เสวยสุขโดยชอบธรรม
บทที่ ๖๐
โอมาร์เห็นว่าน่ามนุษย์ผุดเกีดมาแล้ว จะฉลองชีวิตให้สมชาติที่เกีดมา ประพฤติตามความจริงอันลี้ลับอย่างฉลาด อย่ามัวโรเรหลงเลมออยู่เปล่า ๆ ผมเส้นเดียวถ้าฉลาดแล้วอาจจะกั้นปันความเท็จแลความจริงออกเปนคนละแผนกได้ มีชีวิตเจริญอยู่หวังอไร น่ารู้แลน่าเรียนคิดถนอม (เชื่อว่าชีวิตเกีดมาสำหรับสำเริงเบญจพิธะกามะคุณเท่านั้น เปนกำไรแล้วก็ดับสูญ)
บทที่ ๖๑
ความเท็จแลความจริงนั้น ผมเส้นเดียวก็อาจจะสกัดให้จากกันได้ ชีวิตเดียวก็สืบพยานได้ยืดยาว ขอให้ดูเหมือนพระคลังมหาสมบัติของพญามหากษัตริย์ กับดูองค์พญามหากษัตริย์เองด้วยเถีด ก็อาจจะชี้ปัญหาข้อนี้เฉลยได้เด่น ๆ (ใครเปนเจ้าของใครแน่)
บทที่ ๖๒
ใม่ว่าความลึกลับอย่างใดย่อมกลับแจ้งตระหนักด้วยดวงแก้วคือปัญญาคน เมื่อฉนี้ก็ควรเลี่ยงหนีทุกข์ที่พอจะเลี่ยงได้ เยี่ยงปรอดดีคอยดิ้นอยู่ในตัว เลียนมาไถ่มาฮี (มาแลมาฮีเปนมหาอมาตย์นักปราชญ์แขกอาหรับ) แลเห็นเถีด ใครเปลี่ยน (ถานันดรยศ) ใครเตียนสิ้น (พินาศตาย) ท่านตั้งตัวท่านอยู่ได้ (คือเลี่ยงหลีกอลุ่มอล่วย เอาตัวรอดจนตลอดรอดฝั่ง ทั้งยามเปลี่ยนวงค์กษ์ตริย์)
บทที่ ๖๓
บอกว่าเมื่อตรองครู่หนึ่งแล้ว จงเข้าไปห้องหลังจอฉายหนังเถีด ทนนั่งมืดตึดตื้ออยู่จนกว่าโคมฉายจะฉายหนังจะเชีด เวลาไหนเปนอดีตะกาลอยู่นิรันดร ท่านก็ทราบเองแน่ใจ (คือชีวิตเหมือนฉายหนังปรากฏแวบเดียว นิรันตระกาลนั้นก็เวลามืด)
บทที่ ๖๔
ถ้ายังไม่เข้าใจขอให้โดดลงไปชิดดิน แลให้เผ่นขึ้นไปบนฟ้า รู้สวรรค์บิดก็อย่าเก้อ ผะชด วันนี้แน่ใจว่าตัวของเราเปนตัวเราแท้แล้ว จงคอยดูพรุ่งนี้เถีด (อนาคต) เราคงจะต้องเว้นเปนตัวของเราวันหนึ่งแน่
บทที่ ๖๕
กาฬโรคที่มาผจญชีวิตมนุษย์เปนอยู่เสมอเมื่อไร ชุมวันนี้พรุ่งนี้ก็ซาแล้วก็หาย จงหย่อนชีวิตลงไปในควงหนีบให้มันหนีบเถีด เข้ารีตนอกรีตฉนี้และ สนุกสำราญแท้ เปนตัวสวรรค์ละ (หมายความว่า ชีวิตเรามีความทุกข์มารันทำ แต่ใม่ทุกข์ไปเสมอดอก สำเรีงชีวิตด้วยเมาเบญจพิธะกามเถีด ถึงเจ็บแสบบ้างก็ทำเนาเสีย)
บทที่ ๖๖
พูดเหมือนมองเห็นใครแง้มประตูโรงเหล้าโผล่ออกมา รูปสวยราวกับนางฟ้า เดีนล่อย ๆ มา ประคองผะอบองุ่นมาให้ดื่ม (เปรียบเบญจพิธะกามเปนของเมา ๆ หลง ๆ)
บทที่ ๖๗
ตรรกสงเคราะห์วิเคราะห์ด้วยองุ่น (คือเบญจพิธะกามะคุณ) เห็นได้ง่ายกว่าวิเคราะห์ด้วยสวรรค์ ที่ต้องเถียงกันใม่รู้จักจบ นักปราชญ์ผู้ชำนาญการแปรธาตุ ฉลาดหลอกแกล้งล่อให้มนุษย์หลงฉมังนัก ชีวิตตกั่วของเราก็เทศนาเอาให้เห็นเปนประหนึ่งทองคำไปได้
บทที่ ๖๘
พระมหมัดผู้เปนพระเจ้าอันทรงฤทธิ์ชัยชนะโลก ฆ่าคนที่ใม่นับถือเสียเตียน จนคนกลัวฤทธิกลัวภัยต่าง ๆ สั่นสท้านใจเสียเสียหมด ทั้งฆ่าด้วยคมศัสตราวุธ ทั้งฆ่าด้วยพระขรรค์มนต์เอาสวรรค์ลงล่อ
บทที่ ๖๙
เหตุไฉนเชื้อความเชื่อพระเจ้าจึ่งเจรีญนักก็ไม่ทราบ พระเจ้าอาจจะสาปแช่งได้จริง หรือพเอีนเปนประจวบเล่า เถีดพระพรพระสรรเสริญนั้น พอสมมนุษย์จะนิยมได้ แต่ข้อที่พระสาบแช่งต่าง ๆ นั้น ร้ายแก่เลือดเนื้อเหลือกลืนทีเดียว
บทที่ ๗๐
จึ่งได้ขบถยักกระถดมาเลี้ยงชีวิตประสาพอใจ เคยเชื่อพระเจ้า ครั้นเชื่อก็หาให้ผิดไผล้จากโลกะวิสัยไป ด้วยมัวหลงแต่จะคลั่งหวังดื่มสวรรค์วิเศษอยู่แล้ว รศที่หลอกนั้น กลับทำให้หกคเมนลงมาแอ้งแม้งหน้าขยะแขยงนัก (ตัวโอมาร์เองถืออิสลามจนแก่จึ่งได้ทิ้ง)
บทที่ ๗๑
หากศาสนะลัทธิใดสอนให้ทิ้งองุ่น แลสอนให้ทิ้งเสน่ห์ว่าเปนทางนักพรตไปสู่สวรรค์แล้ว น่าสงสัยว่าทางสวรรค์แพรกนั้นจะลวงโลกละกระมัง คมแต่ในฝักครั้นชักออกเหน้า ปราศจากผลที่สมควร
บทที่ ๗๒
น้อยใจที่ศาสนาเอาแต่นรกมาขู่ เอาสวรรค์มาล่อ เห็นแต่มีชีวิตว่ายป้วนอยู่เท่านั้น มีจริงสิ่งเดียว อื่น ๆ ปดทั้งนั้น คือ ดอกไม้ที่บานแล้วไม่รู้จักตายชั่วนิรันดร (หมายความว่าชีวิตคนที่ตรัสรู้แล้ว ย่อมคงอยู่นิรันดร แม้จะแตกออกจากเบญจขันธ์แล้ว)
บทที่ ๗๓
ปลาดมนุษย์นับหมื่น ๆ ไปก่อนตัวโอมาร์ เดีนออกประตูที่มืดตื้อออกไปออกไปแล้ว ใม่เห็นผันศีร์ศะกลับมาสักท่านหนึ่งเลย บอกให้โอมาร์ทราบว่า เมื่อจะไปบ้างจะหมายอไรเปนที่ยึด
บทที่ ๗๔
คำสั่งสอนอย่างดีของนักปราชญ์แลนักพรตที่เกีดก่อนตายก่อนทั้งปวง เอาแต่คลั่งเพ้องมงายเหมือนนิยายปด ๆ ปนโง่ฉงน สอนศิษย์แต่ให้คอยตกายชเง้อแต่หลับ (คือตาย) แล้วก็จะได้ขึ้นสวรรค์เท่านั้น
บทที่ ๗๕
ถ้าชีวิตหลุดพ้นออกจากร่างกายได้ ลอยอยู่บนฟ้าแล้ว ก็สมยศอายใยควรหยิ่งเถีด ด้วยกเลวะรากเราสักแต่ว่าโคลนใม่วิเศษอันใด ควรหน่ายแท้
บทที่ ๗๖
รูปะกายเราคล้ายกะท่อมศาลเจ้า สำหรับเจ้าคือชีวิตสิง คอยให้พญามัจจุราชมาฉีกเนื้อตาย เมื่อชีวิตถูกบีบคั้นสวิงสกายออกจากศาลคือรูปะกายแล้ว ธรรมดาโลกก็รื้อศาลคือรูปะกาย แลปลูกใหม่เอาธุระใหม่สำหรับให้เจ้าคือชีวิตใหม่เข้าสิงใหม่
บทที่ ๗๗
พูดเปนทีลองใช้เจตภูตไปเมืองตาย สืบหลักฐานที่เปนลายลักษณ์อักษรเรื่องตายมาให้แน่ ว่าตายแล้วจะเปนอย่างไรต่อไปบ้าง ทูตที่รักคือเจตภูตหายไปหลายปักษ์ (ตั้งเดือน ๆ) พึ่งกลับมาบอกว่าตัวโอมาร์เปนเปล่า (สูญใม่มีอไร) ทั้งเปนสวรรค์แลเปนนรกด้วย รวมอยู่ในกายตัวเองอันเดียวเสร็จ
บทที่ ๗๘
สวรรค์นั้นก็ปราถนาใดได้สมหวัง นรกก็เงาเขลาเทยอทยานยุ่งร้อนใจปราถนาใดมิได้สมหวัง เปนตัวก็ง่วนซานคลำมืดตกายไปตามเพลง เมื่อผละตัวแล้วตัวก็ลอยหาย (สูญ)
บทที่ ๗๙
ลองคิด ๆ ดูก็ขำสดุดใจด้วยข้อโอวาทมีไว้ว่า ให้เทียบเข็มทิศมนุษย์กับเวลาให้ตรงกันจึ่งจะดี ก็ถ้ายกเข็มเสียจากปฏิทินแล้ว แม้ตายแต่วันนี้จนพรุ่งนี้มิยังใม่เกีดหรือ (แกล้งผะชดศุภาสิตโบราณที่โอวาทไว้ให้ประพฤติตัวสมแก่กาลเวลา)
บทที่ ๘๐
เถีดปล่อยนักปราชญ์อาละวาดโต้เถียงกันเรื่องศาสนาตามใจท่าน เรื่องปราบโลกนั้นรับเปนภาระของโอมาร์เอง จะแอบกรอกแผลงฤทธิ์ใม่ให้น้อยหน้าพระมหมัดทีเดียว (แปลว่าเชื่อว่าธรรมะนี้เปนของประเสรีฐของจริงแท้ ถึงยังใม่กล้าประกาศโลกโต้ง ๆ ได้ก็คงย่อมจะมีวันเฟื่องฟูวันหนึ่ง)
บทที่ ๘๑
ข้างในก็ดี ข้างนอกก็ดี ที่สูงก็ดี ที่ต่ำก็ดี ละล้วนลวงตาสิ้น เหมือนเชีดหนังกลหยอก ๆ โคมฉายหนังก็ดีก็คือดวงอาฑิตย์ที่ส่องโลก เงารูปหนังที่วูบวาบดิ้นรนอยู่ก็ด้วยเดชเผยอกันไม่รู้หยุดรู้หย่อนเท่านั้นเอง
บทที่ ๘๒
ดูลครแล้วนึกขำใจ ฉงนทำไม่แม่เอ๋ย เราก็เล่นลครคนกันอยู่ คึกโลกมิใช่หรือ เปนตลกละ เปนพระละ เปนนางละ อย่างลครเล่นกันอยู่มิใช่หรือพ่อ แปลกแต่ชุดเร็วกะชุดช้ากว่ากันเท่านั้นและขวัญเอ๊ย!
บทที่ ๘๓
เมื่อจิบองุ่นขยิบปากแล้วละก็ ลองพิเคราะห์ผลดูถีว่าเปนอย่างไรบ้าง ถ้าหากว่าเปล่าใม่มีอไรเลย เหล่าโลกทั้งหลายก็เปล่าใม่มีอไรเลยด้วยกันทั้งนั้น ขอให้คิดถึงตัวเถีดว่าตัวคนต่างว่าเปนเช่นไรบ้าง ก็จะต้องรู้ศึกว่า เปนเปล่าเท่านั้นเอง เปนอย่างอื่นน้อยไปอย่างไหนอิกมิได้ (อุทาหรณ์เหมือนดังกินขนมอร่อยอิ่มแล้ว ผลต่อไปเปนอย่างไรบ้าง เปล่าเท่านั้น เพราะฉนั้นใม่ว่าอไรในโลก มันก็หลง ๆ สมมตกันเปนตอเปนตาไปกระนั้นเอง ที่จริงล้วนเหลวเปล่าหมดทุกเรื่อง)
บทที่ ๘๔
ดอกกุหลาบชื่นแฉ่งแดงเรื่ออยู่ตามเวิ้งแม่น้ำแลลลัว องุ่นก็ฉ่ำอกคัยยามผู้ชินชอบดื่มอยู่ ถึงครามฤตยูคือพญามัจจุราชบินเอาน้ำหมึกมากรอก ก็เตรียมตัวเถีด น้ำหมึกก็ดื่มทั้งน้ำหมึกยิ้มแย้มอยู่กระนั้นอย่าต้องสยดสยองอันใดเลย คัยยามสอนโลกว่ายามสุขก็สำเรีงสุข ครั้นถึงยามทุกข์แม้จะถึงตายก็อย่าทุกข์ยิ้มไว้ให้เสมอ กลัวเกรงอไรไปทำไม (เพราะกลัวหรือใม่กลัวก็หนีใม่พ้น)
บทที่ ๘๕
แม้หมออย่างฉลาดแลนักปราชญ์เอก จะเทศนาตามต่างใจต่างหาเหตุมาอ้างฉันใดก็ดี โซ่โลกตลอดพิภพก็ย่อมขึงขมวดตึงเครียดอยู่อย่างเดีมอย่างเดียวใม่มีแปรผัน ใครจะลอดจะข้ามหรือจะแก้ได้เปนไม่มี (หมายความเปนต้นว่าคนเราเกีดแล้วเจริญ ๆ แล้วโทรม ๆ แล้วดับ ๆ แล้วสูญ ตามธรรมดาโลกะวิสัยฉนี้ ถึงใครจะเทศนาอย่างใดทำอย่างใดก็คงเปนอยู่ตามธรรมดาโลกเช่นว่านี้ อยู่ตาชาติ)
บทที่ ๘๖
ตากระดานหมากรุก (มีสีดำแลขาว) ก็เหมือนกลางวันแลกลางคืนวนเวียนกันอยู่ ตัวหมากรุกมนุษย์ชุดพนันขันแข่งก็ย่างแต้มกันไปทางนี้ทางโน้นโผนผันรุกฆาฎกันไปตามฤทธิ์ตามเดช แต่ทั้งข้างชนะแลข้างแพ้ ล้วนใม่พ้นต้องถูกกินแลถูกตั้งใหม่อยู่ร่ำไป (คือต้องเกีดแล้วตาย ใม่เปนอื่นไปพ้นได้)
บทที่ ๘๗
เราเบียดเบียฬเขา ๆ ก็เดือดร้อน เขาเบียดเบียฬเราเรากิเดือดร้อน หมดเบียดเบียฬก็เพราะหมดเงาต่างเบียดเบียฬกันแลกัน เหตุฉนั้นนักปราชญ์จึ่งโอวาทต้อนให้มนุษย์ะโลกละทิ้งทางเบียดเบียฬกันเสีย สุดแต่จะทำได้
บทที่ ๘๘
อยู่ตัวคนเดียวเปลี่ยวชีวิตเอาสุขสบายมิได้ จึงมนุษย์จำต้องอยู่พึ่งหมู่คณะ แบ่งแรงช่วยเกื้อกันแลกันให้เกีดความสุขสำราญด้วยกัน (เช่นเราจะทำนาด้วย ตำเข้าด้วย หุงเข้าด้วย ตกปลาด้วย ทำนาเกลือด้วย ปลูกฝ้ายด้วย ทอผ้าด้วย ฯลฯ เลี้ยงชีวิตคนเดียว จะมีเวลาหาความสุขมาแต่ไหนได้ เราอยู่ด้วยกัน ต่างคนต่างทำมาปันกันจึงพอหาสุขได้) เพราะฉนั้นการเมตากรุณาอนุเคราะห์ต่อกัน เปนของมีคุณหาที่จะเปรียบมิได้ นักปราชญ์จึงโอวาทเชื้อเชีญมนุษย์ะโลก ให้เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันโดยสามัคคี
บทที่ ๘๙
หาสุขจักมีความสุขได้ก็ด้วยมีทุนก่อน หาทุนอย่าหาอย่างรวบรีรวบขวางกว้าน ๆ เข้าไว้เอาสุดแต่จะได้ ด้วยทุนชั่วย่อมส่อชักหนุนให้เกีดผลชั่วฉลองแรง ทุนชอบย่อมตอบผลชอบให้บังเกีดความสุข เหตุหาได้ด้วยดี
บทที่ ๙๐
ถ้าเชื่อเขาว่าใม่ว่าอไร พระเจ้าทรงบรรดารให้เปนหมดทั้งนั้นแล้ว พวกที่นับถือพระเจ้าถวายนมัศการอยู่เสมอ กับพวกที่หุนหันไม่เชื่อใม่นับถือเลย ทำไมพระเจ้าจึงปล่อยให้คนทั้ง ๒ จำพวกเหล่านั้น ต้องเจ็บแลต้องตายเสมอกันเล่า
บทที่ ๙๑
ธรรมดาลูกกลมเช่นตกร้อก็ดี แต่พลอยผสมกลิ้งไปเท่านั้นตอบโต้อไรใครใม่เปนหามิได้ ใครเตะขวาเตะซ้าย ก็เอาแต่กระเด็นไปตามต้อนจะให้ไป พระเจ้าท่านชุ่นให้แล่นเพราะเห็นเคยกระชุ่นแล้ว ก็แล่นไปตามสนาม ท่านรู้ดีว่าเพื่อนจะสท้อนไปท่าไหนบ้างถ้าท่านกระชุ่นท่านั้น (หมายความว่าตามศาสนาอิสลามเชื่อว่ามนุษย์นั้น สุดแท้แต่พระเจ้าจะแต่งให้เปนไปเช่นตกร้อลูกกลม)
บทที่ ๙๒
มือเสมียนที่เอาแต่เขียนหนังสือเรื่อยต่อไปตบึง ถูกหรือผิดก็ไม่คิดกระถดมาขีดแก้ (เปรียบพระเจ้าสร้างแต่มนุษย์เรื่อยมา อไรบกพร่องก็ใม่แก้ไขให้ดีขึ้น) น้ำตาหากล้าหยดลบตัวอักษรที่พระเจ้าเขียนผิดได้ใม่ เอาแต่เขียนต่อฉนี้ดีหรือ
บทที่ ๙๓
กะทะขว้ำเราสำเหนียกกันว่าฟ้าฝังอกฝังใจ เราเกีดเราตายกันในใต้ฟ้า คือกะทะครอบเรานี้ทั้งนั้น ยกมือไหว้อ้อนวอนหาใครช่วยป่วยการเปล่า ๆ ดีแต่มุ่นวุ่นบี้แล้วก็ปั้นอยู่เสมอ ขันสุดใจละ (เย้ยพระเจ้า)
บทที่ ๙๔
โคลนสวรรค์ปั้นมนุษย์คนท้ายขยำ ๆ แล้วก็ควักหนีบเอาชีวิตท้าย ตำลงไป ขุ่ยทิ้งไปตามยะถากรรม เรียกกันว่า วันพระเจ้าทรงพระมหากรุณาทนุกนิมิตร์มนุษย์ เออก็วันพระเจ้าพิภากษา จะยักเรียกได้อย่างไรบ้างเล่าหนอ (เย้ยพระเจ้าอิก)
บทที่ ๙๕
วานนี้กะวันนี้ความคลั่งคลุมหัวใจ พรุ่งนี้กลับมีชัยเฉียบขาด หรือเงียบสงบ หรือทุรนเร่า เราดื่มองุ่นมิใช่ปราถนาจะทราบว่าเรามาจากไหนจึงได้มาเกีด แลมาเกีดทำไมกัน เราดื่มองุ่นมิใช่ปราถนาจะทราบว่าใยจึงตาย แลตายแล้วจะไปสู่สาระทิศใด
บทที่ ๙๖
เอาเถีดเราจะบอกให้ ยามเราผละจากพระหัดถ์พระเจ้าที่ท่านพลุ่ยขว้างผลิวมาแล้วนั้น ท่านจำกัดความประพฤติไว้ทุกฝีก้าว แทบจะกระดิกตัวไปไหนมิรอด กระนั้นเรายังสร่ายกายสร่ายใจใช้ความคิด ฉีกอุ้งอวนที่ท่านดักไว้ออกได้
บทที่ ๙๗
องุ่นเลื่อยตระการร้านองุ่นงามใจเราอยู่ (เชยชมเบญจพิธะกามะคุณสำราญ) เถีดปล่อยโง่ของโซฟี (พระแขกอาหรับ) ให้เกย่งเพ้อสวรรค์อยู่นั่นเถีด ถึงเราเปนธาตุสถุลเลวทราม ก็ยังพอจะแกะเปนลูกกุญแจไขประตูเข้าไปหาความสุขข้างในนั้นได้ ตาครูพระแขกเงิ้มชโงกเข้าไปข้างในมิได้
บทที่ ๙๘
เมื่อทราบจริงว่าสิ่งนี้เปนศรีชีวิตแล้ว ถึงรักถึงชังก็จะขอสู้ทนทอดสู้ ได้เห็นแสงสว่างแวบแปล๊บเดียวในกระท่อมสุรา ก็ยังน่าชื่นชมมากกว่าอยู่ในโบถมโหฬาร แต่มิได้เห็นแสงสว่างเลย (หมายความรู้ว่าเบญจพิธะกามะคุณ เปนตัวกำไรของชีวิตมนุษย์ฉนี้แล้ว ถึงจะสุขบ้างทุกข์บ้างอย่างไรก็ขอสู้ทนทอดเสพแม้น้อยเวลา แลยากจนฉันใดลยังดีกว่าอยู่ในที่ไพโรจอุดมสมบูรณ์ แต่มิได้ประสรบรศกำไรชีวิตเลย)
บทที่ ๙๙
เอามือทิ่มไฟพองปวดแสบ ถึงสวดอ้อนวอนพระเจ้ามือไหว้ปลก ๆ ก็หายใม่ได้ เพราะธรรมดาโลกสุดแท้แต่เหตุผลที่ปัจจัยประกอบกับการที่ทำ ตัวควรพึ่งตัวของตัวเอง ดีกว่าจะไปมัวโง่เชง้อพึ่งพระเจ้าเหลวๆทำไม
บทที่ ๑๐๐
คือพยายามยึดแต่รวังความประพฤติชั่วหรือดีเถีด ว่าประพฤติสิ่งใดเปนประโยชน์ สิ่งใดเปนโทษต่อแผ่นดินที่บังเกีดเกล้าตนมา (เลือกประพฤติแต่ที่ชอบ) เพราะประพฤติชอบย่อมส่อให้ทวีผลเปนความศุขตามผลสวัสดิเต็มที่ ประพฤติความชั่วก็เร้าให้เกีดทุกข์ร้ายสนองผล
บทที่ ๑๐๑
เลีกเบียดเบียฬเพื่อนมนุษย์ แลสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ตามยถาพะลังนี้ นักปราชญ์ศาสนาทุกท่าน (ย่อมแนะนำสั่งสอน) เหมือนเภาะ (ศมอง) เพื่อนโลกให้พากันประพฤติ ชือว่าเฉลีมชาติ (ใม่เกีดมาเปลืองเข้าสุกเปล่า) อย่างดีก็แสวงข้อที่จะเลี้ยงชีพให้สำเรีงสุขยืดยาวสืบไป ใครประพฤติได้เช่นว่าถึงอยู่ดินหรืออยู่ฟ้า (ก็เหมือนกันหมายความว่าจะเปนคนสูงหรือต่ำ) ก็ชื่อว่าเปนศรีมนุษย์
บทที่ ๑๐๒
โลกเรานี้แจ้งชัดว่า รศของความรักนั้นเบรียบประดุจจะรศทิพ ชุบชีวิตมนุษย์ที่รู้จักผูกเสน่ห์ให้สดชื่นสร่างหมางม้านซึมเศร้า ตัณหาหรือราคะจริตนั้น เปรียบสนุกใจเหมือนฤทธิ์ดื่มสุราเมามาย ใม่ใช่ความรักดอก แต่เปนเครื่องกระตุ้นความรักให้เซีบสร้านรักมากขึ้น สบายใจมากขึ้น (ยิ่งกว่าใม่เจือการประเวณี)
บทที่ ๑๐๓
พวกนักบวชก็พากันชวนจะให้ทเยอทยานอยากขึ้นสวรรค์ นักองุ่น (หมายความว่าโอมาร์คัยยาม) ก็ชวนแต่จะดื่มน้ำองุ่น คือเศพเบญจพิธะกามะคุณสำเรีงชีพอยู่ท่าเดียว เตือนเราว่ามัวตลึงอึ้งงันอยู่ทำไมเล่า (ควรจะมาประพฤติอย่างโอมาร์คัยยามด้วย) สวรรค์อยู่ที่ไหนใครอาจจะเห็นได้ด้วยสัตยะญาณจริงหรือ ใครขืนเชื่อโดยเขลาตกายสวรรค์ก็ท้องแขวนเขวผิดทางเสียชาติเปล่า (ด้วยมันเปนของหลอกๆไม่มีผลจริงจัง เหมือนบำเรอชีวิตด้อยเบญจพิธะกามะคุณดอก)
บทที่ ๑๐๔
สวรรค์ตามศาสนากล่าวนั้นเปนอย่างไร สวรรค์ของโอมาร์คัยยาม ก็เปรียบได้ว่ามีแต่จะดีกว่านั้นขึ้นไปทุก ๆ อย่าง (ทั้งทางจริงแลทางได้ความสุขสมชาติเกีดมา) ขืนเชื่อนักบวชไปวุ่นแต่สวดมนต์ปฏิบัติคอยจะขึ้นสวรรค์อยู่ ก็อดเปล่า (ใม่ได้จริง) เชื่อโอมาร์คัยยาม (เสพเบญจพิธะกามะคุณ) ก็มีความปรีดาปราโมทย์ โอมาร์คัยยามท้าได้ว่าลงท้ายเมื่อตาย (ประพฤติอย่างโอมาร์คัยยาม หรือประพฤติตกายสวรรค์ตามศาสนะลัทธิ) ก็เหมือนกันสิ้น (หมายความว่าตายแล้วสูญเปล่าด้วยกันหมด)
บทที่ ๑๐๕
พญายัมชิดเจ้าแผ่นดินแขกที่สิ้นพระชีพแล้ว แม้ถ้ากลับมาเกีดขึ้นใหม่เปนใคร คนนั้นก็รู้ตัวใม่ได้ ทรัพย์สมบัติที่พญายัมชิดมั่งมี สติปัญญาวิชาความรู้ของพญายัมชิดที่ปราชญ์เปรื่อง ก็ใม่ได้มาตกเปนของคนที่ต่างว่าพญายัมชิดกลับมาเกีดใหม่ เพราะฉนั้นก็เห็นได้ว่าไม่มีโชคที่จะใช้ผละคุณผละโทษของชาติโน้น แม้เกีดได้ใหม่ มาสนองในชาตินี้ได้ (หมายความว่าความดีชั่วเราทำในชาตินี้ ที่จริงไปสนองผลแก่เราแม้เรากลับไปเกีดชาติหน้าใหม่อีกใม่ได้จริงดอก)
บทที่ ๑๐๖
การทำทานนั้น ทำทั้งความชั่วแลความดี สุดแต่เหตุแต่ผลลักษณะที่ให้ (แก่คนชนิดไร เช่นให้ทานคนฉกรรจ์ ก็ส่อผลชั่วชักให้คนเกียจคร้านเอาเปรียบ ให้แก่คนชราพิการขัดขวางเลี้ยงชีพตัวเองใม่ได้ ก็ส่อผลชอบเปนบุญกุศล เพราะขึ้นชื่อว่าเปนมนุษย์แล้ว ควรชอบกันเต็มตามกำลังที่พอช่วยได้) บาปก็ดี บุญก็ดี คุณก็ดี โทษก็ดี ของมนุษย์นั้น สักแต่ว่าเปนคแนนของผู้ที่ทำตามยุคนิยมกันอยู่ในเวลาทำนั้น ถ้าหวังชอบแลทำให้ถูกช่องที่ชอบแล้ว การที่ทำชอบนั้นก็ได้ผลคุ้มแรงที่ทำ (หมายความว่าธรรมดาโลกะวัสัยใครทำความดีชั่วอย่างไรก็ดี ผลดีหรือร้ายใม่เสมอกัน สุดแท้แต่ช่องโชก แลอาการที่ทำ เหมาะหรือหาใม่แก่เวลาเท่านั้น)
บทที่ ๑๐๗
หวังใจจะไปท่าน้ำอาบน้ำ ว่ายน้ำเล่นให้สบายใจ (หมายความว่าปราถนาหาความสุข) แล้วอย่างไรเผ่นขึ้นไปใต่กิ่งไม้ตากแดดทนเร่าร้อนอยู่ เชื่อว่าจะชุบโฉมที่เลวให้กลับดีเปนทองอล่องฉ่อง (หมายความว่าไปทรมานกายใจ ใม่เสพเบญจพิธะกามะคุณตามศาสนะลัทธิ นึกว่าจะได้ขึ้นสวรรค์ ที่เปนของใม่มีจริง)
บทที่ ๑๐๘
อยากดื่มน้ำ (คืออยากหาความสุขใส่ชีวิต) แต่ใม่ดื่มดื้อใจ หมายว่าการอดดื่มนั้นจะหายกระหายน้ำ แลจะหายหิวแสบท้อง (ต่อไปทรมานกายใจใม่เสพเบญจพิธะกาม) องุ่นปลื้มใม่ดื่ม ไปตกายจะดื่มเพชร์ที่แข็ง (คือเบญจพิธะกามสำหรับความสุขชีวิตใม่เสพ ไปทรงพรตทรมานฝืนธรรมดา) ใม่ชอบความจริง ชอบอด คอยแตง่ว ๆ อยู่เหลว ๆ เช่นนั้น น่าอายใม่อายหรือ (ที่ละโมบเขลา)
บทที่ ๑๐๙
อยากบาปสาบมนุษย์ให้เปนโขลงแกะ เอาแต่เดีนตาม ๆ กันไปเข้าคอกหรือ สมองมีใยจึ่งใม่ตริตรอง ด่วนใจเร็วไปตามเอาอย่างเขา ชอบผิด น่าจะตริตรองเค้าเงื่อนให้สมงามจริงก่อน จึงค่อยประพฤติตาม (หมายความว่าเปนมนุษย์มีสมองหาควรด่วนเชื่อศาสนะลัทธิอย่างใดตาม ๆ กันไม่ ควรตรองว่าจริงหรือใม่ ให้สมเหตุผลก่อนจึงค่อยเชื่อ)
บทที่ ๑๑๐
ท่านเยาะ (คือคำภีร์โก้ร่านแลไบเบล) ว่ามนุษย์นั้นเคราะห์ร้ายเลวทรามด้วยแรงบาป โทษถูกพระเจ้าสาบแช่งจึ่งเปนเช่นว่า คือขอบเชื่อแต่สิ่งที่เหลือรู้ เหลือจะสรบวิสัยมนุษย์ตามธรรมดาโลกได้ (เช่นเชื่อว่าประพฤติตามศาสนะลัทธิจะได้ขึ้นสวรรค์ ความจริงสวรรค์เช่นว่าใม่มี แม้จะมีความประพฤติเช่นนั้นก็ใม่แน่ว่าเปนทางไปสวรรค์) สิ่งเห็นได้ชัด ๆ กลับติดใจใม่เชื่อ (เช่นบอกว่ากำไรของชีวิตที่เกีดมา คือการเสวยสุขด้วยเสพเบญจพิธะกามะคุณแล้วก็ตายสูญเปล่า)
บทที่ ๑๑๑
ชอบพนันขันต่อฉ้อฉนฉิบหายทรัพย์ (ที่ใม่ดีใม่ควรชอบ) ชอบเชื่อหมอดูทำนายเวลาภายหน้า (ซึ่งหลอกเสียโดยมาก) ชอบหลอกบอกว่ามีสวรรค์ ก็ตกายอยากขึ้นสวรรค์ (ที่ใม่มีจริง) ชอบฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ขบวนเวทมนต์อาคมขลังบ้าระห่ำต่าง ๆ (บรรดาเปนจริงใม่ได้) ฉนั้นดีหรือ
บทที่ ๑๑๒
เราเปนมนุษย์เปรียบเหมือนมงกุฎเฉลีมศักดิ์โลก คือวิเศษกว่าบรรดาสัตว์มีชีวิตทั้งปวง ทำไมพอใจวางตัวดุร้ายให้คนกลัวเกรงอย่างยักษ์ ทำไมพอใจอยากเหาะได้เช่นนกมันบิน ทำไมอยากดำน้ำได้เช่นดังปลา อันเปนสัตว์เดรัจฉานอันว่ายดำไปได้ (หมายความว่าสันชาติมนุษย์ จะสมเกีดมาก็ด้วยได้เสวยสุขบำเรอชีพด้วยเบญจพิธะกาม ไปเปนนักบวชทรมานกายอุตริเปล่า ๆ)
บทที่ ๑๑๓
ไฉนหนอคนเรา ยามมั่งมีศรีสุขปราถนาใดได้สมหวังแล้ว เสียดายชีวิตนัก ยังอยากจะป๋ออยู่ ใม่อยากตายเลย ยามเกีดวิบัติขัดสนหวังใดมิสม หรือรทมด้วยทุกข์ร้อนแล้ว เปนเบื่อชีวิต อยากสลัดชีวิตแลร่างกายหนีไปไหนเสียให้พ้นทุกข์พ้นร้อน
บทที่ ๑๑๔
ชีวิตเปนของศักดิ์สิทธิ์เช่นแก้วสาระพัดนึก ใจนึกจะให้เปนอย่างไหนก็เปนอย่างนั้นได้หมด ฝึกได้อย่างหัดสัตว์เดร์จฉาน (เช่นหัดลิงให้รำ) เล่นได้สนุกใจ คนฉลาดอาจจะปั้นชีวิตให้เปนไปอย่างไรได้ดังประสงค์ทั้งนั้น
บทที่ ๑๑๕
เราควรเลี้ยงชีวิตเราเหมือนพี่เลี้ยงเลี้ยงเด็ก ปางปงอบๆ พิษม์เดือดร้อนก็ต้องคอยปลอบประโลมใจให้ร่าเรีง ปางกำเรีบเสีบสารแผลงฤทธิ์ลเลีงซุกซนก็ต้องคอยขู่บำราบ ปางนอนก็ต้องคอยกล่อมให้หลับไหล ปางหิวก็ต้องคอยป้อนภักษาหารให้อิ่มหนำ
บทที่ ๑๑๖
เราเปนนายหัวใจเรา ชี้นิ้วบงการสั่งให้เปนฉันใดได้เช่นเจ้าเงินบังคับทาษ (มันไปไหนใม่พ้น) แต่เราใม่ใช่นายร่างกายเรา มันเปนราวขนาดลูกจ้างเท่านั้น (ยามมันพิการก็ดี บอบรทมก็ดี บังคับใม่ทำตามก็ได้) ชีวิตเราเหมือนพระเจ้าแผ่นดินเปนเกราชอาจจะบังคับการในกายตัวเราได้เช่นพระมหากษัตริย์มีราชบรรชาราชการในพระราชอาณาจักร์ได้ หาควรจะถ่อมยอมเปนเมืองขึ้น เอาแต่กลัวตื่นหลับหูหลับตาทำอไรไปตาม ๆ เขา ใม่รู้ว่าจริงเท็จชั่วดีอยู่ที่ไหนไม่
บทที่ ๑๑๗
ชีวิตเราเหมือนเรือกำปั่น ใจเราเหมือนลูกเรือ ช่วยกันเดีนเรือ ร่างกายเราเหมือนตัวเรือแล่นทเล (คือเปนอยู่ทุกวันนี้) บรรทุกความทุกข์แลความสุข หมายไปค้าเหล้าเหลว (หมายความว่า สุขทุกข์ล้วนเปนของเมา ๆ หลง ๆ ลวง ๆ ลงท้ายก็เหลวสูญเปล่า หายไปหมดสิ้น)
บทที่ ๑๑๘
เสียดายชีวิตมนุษย์มาพากันเคว้งคว้างอยู่เปล่า ๆ หลงไหลด้วยฤทธิ์ศาสนะลัทธิพาให้เพ้อไปเหมือนบ้า ประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับชีวิตเราก็มีแต่หาความสุขใส่ตน เหมือนอภิเษกชีวิตให้สำเรีงราชสมบัติสุขเท่านั้น พากันหลงคลั่งโดยเขลาชเง้อหาความเท็จทิ้งความจริงเสียอย่างไรเล่า (หมายความว่าเพ้อจะขึ้นสวรรค์ ละความเสวยสุขบำเรอชีวิตด้วยเบญจพิธะกาม)
บทที่ ๑๑๙
สันชาติใจคนเผยอจะหาสุขอย่างเทวะดา แต่สันชาติร่างกายคล้ายสุนักข์ ก็เมื่อกายติดอดักอยู่อย่างเดรัจฉานฉนี้ ใจจะผวาไปขึ้นวิมานมันจะสมได้หรือ เห็นก้อนหินดังจุมปุกอยู่แค่นหยิ่งจะรั้นเอาอย่างใม่กระดิกกระเดี้ยบ้างจะเอาความสุขมาได้แต่ไหนเล่า (เปรียบความว่าคนเกีดมาสำหรับเสวยสุขด้วยเบญจพิธะกามแล้วก็ตายสูญเช่นสุนักข์ ใจอยากทำเยี่ยงเววะดาที่นึกเห็นขึ้นลม ๆ ใม่มีจริง บำเพญพรตจะเอาธรรมวิเศษอย่างใดผิดสันชาติ ก็ไม่มีได้เช่นหวังเหนื่อยเปล่าเท่านั้นเอง)
บทที่ ๑๒๐
องุ่นทิพจิบแล้วจะเปนอย่างไรบ้าง องุ่นโลกก็สบายใจได้เช่นนั้น (หมายความว่าถึงมีสวรรค์ขึ้นไปเสวยทิพยพิมานได้จริงจะรู้ศึกสุขอย่างไร คนเสวยสุขด้วยเบญจพิธะกามอยู่ในโลกก็รู้ศึกสุขเช่นกัน) ถ้วย ๆ เดียวถึงน้ำไหลเชี่ยวมาไม่รู้กี่ลำน้ำก็จุในถ้วยเกินปริ่มขอบมิได้ (น้ำมากกว่าเต็มก็ไหลบ่าไปหมดเปนธรรมดา เหมือนความสุขล้นมาเท่าไรก็มากเสียเปล่า เรารู้ศึกได้เพียงเท่าที่รู้ศึกเท่านั้น มาเสวยสุขเชีงเสพเบญจพิธะกามเถีด) ถึงทุกข์โศกบ้างก็ช่างมัน (ทนเอา) ด้วยใม่รู้ศึกทุกข์โศกแล้วไฉนจะรู้ศึกสุขเกษมได้เล่า
บทที่ ๑๒๑
สันชาติมนุษย์ใม่ใคร่ผิดสัตว์เดรัจฉานนัก ดีที่สมองคิดได้มากกว่าดีกว่ากันเท่านั้น กินนอนร่อนหาสุขก็อย่างสัตว์เดรัจฉานนั้นเอง หากสูงกว่าประณีตกว่า หลงเขย่งเกีนวันชาติจนลอยเคว้งคว้าง (หมายตกายสวรรค์สู้บำเพญพรตทรมานชีวิต) ก็ชวดคว้าความสุขสำหรับชีวิตเกีดมาสำหรับเสวยเท่านั้นเอง
บทที่ ๑๒๒
โลภมากวุ่นมากก็ร้อนใจมาก อยากมีความสุขละอย่าอยากโลภมากวุ่นมากเลยไปเลย จงอยากแต่มักน้อยเถีด ตัวโขนสนุกออกทุก ๆ ฉากก็ชวดได้พักผะคบผงมกาย ง่านเหงื่อไหลใครย้อยไปเปล่า ๆ (เปรียบชีวิตมนุษย์วุ่นเหวไปเปล่า ๆ เมื่อตายแล้วก็สูญเปล่า) เมื่อเลีกแล้ว (คือตายแล้ว) เหลือแต่นึกแต่ฝันโจทกันลเมอ ๆ เท่านั้น
บทที่ ๑๒๓
ซุ่นต่าลผ่านราชสมบัติแม้มไหศวรรย์จะไพโรจน์วิเศษปานใดก็ดี คนขอทาน คนขับเพลงขอทานอันเลวอย่างต่ำช้าปานใดก็ดี ก็ใม่แปลกกัน นอกจากฝันไปภายนอกกระนั้นเอง ล้วนอิ่มมื้อหนึ่ง หลับมื้อหนึ่ง แล้วก็ตายมื้อหนึ่งเสมอกัน
บทที่ ๑๒๔
ตุ่มเตียบที่น้ำเต็มปริ่มขอบปากแล้ว เตีมให้ล้นให้จุกว่าเต็มอิกใม่ได้ ถึงน้ำอิกหมื่นครุแสนครุเทเตีมลงไปใหม่ก็ไหลบ่าสร้าไปอื่นหมด เปรียบประทุกความทุกข์หรือความสุขขนานกันลงไปในทรวงมนุษย์ พอนึกก็รู้สำนึกว่าทุกข์หรือสุขได้ ถ้ามากเกินไปจนล้นเกีนพอนึกได้แล้ว ก็ลลายแผลวหายไปหมด
บทที่ ๑๒๕
คนมีเดชแผลงเดชผล้าผลาญคนให้พินาศ กับคนมีเดชแผลงเดชอนุเคราะห์คนให้มีความสุข เดชสองประการนี้เดชร้ายเหมือนฤทธิ์เหล้า เมาคู่พักเดียวก็สร่างสูญ (คือว่าแผลงเดชได้แต่ชั่วแล่นเวลาทรงเดชอยู่) แต่เดชชอบนั้น ย่อมเชีดชูความชอบอยู่เปนนิตย์ (คือถึงหยุดแผลงเดชแล้ว ผลของความสุขก็เปนที่ชื่นชมนิยมประพฤติกันต่อไป) ฉนี้ อย่างไหนจะดีกว่ากัน
บทที่ ๑๒๖
การสงวนเงินแลการสงวนศักดิ์นั้น อย่างไหนจะดีกว่ากันเล่า โลกว่าการสงวนเงินตำคัญกว่า ฝ่ายธรรมะว่าการสงวนศักดิ์สำคัญกว่า แต่โอมาร์คัยยามโอวาทว่า ชีวิตจะเปนสุขได้โดยสุจริตสมที่เกีดมาชาติหนึ่งได้ด้วยสงวนเงินหรือสงวนศักดิ์ก็ควรสงวนอย่างนั้นเถีด
บทที่ ๑๒๗
ทางไปสวรรค์มีหลายแพรกหลายขบวน คัมภีร์โก้ร่านก็ค้านกันเองออกกลุ้ม (เดี๋ยวอย่างโน้น เดี๋ยวอย่างนี้) ธรรมดาลัทธิของนักบวช มักถนัดเอาชนะขบวนหลอกๆหลงๆ ตัวโอมาร์คัยยามเลีกถือศาสนาเลี่ยงมาอุ้มองุ่น (คือเสวยสุขบำรุงชีพด้วยเชีงบำรุงเบญจพิธะกามคุณ) พ้นภัยสวรรค์ (หรือพ้นต้องทรงพรตทรมานชีพ)
บทที่ ๑๒๘
ทุกเช้าทุกเย็นใม่ได้เว้นนะหมาดนมัศการพระ จนรีดเอาชีวิตโอมาร์คัยยามหรอไปเสียปวดแล้ว หากบุญมาพบองุ่นได้ผวามาดื่มองุ่น (หมายความว่า มารู้ศึกว่าศาสนาเหลวๆ ลวง ๆ ใม่จริง มาเศพเบญจพิธะกามด้วยรูปว่าเปนตัวกำไรของชีวิตแท้) ปล่อยนักบวชให้งมเขลาทรงพรตโกร้อยู่ อด (เสพเบญจพิธะกามเฉลีมสุข) แตง่วๆ แห้งอยู่ (สมน้ำหน้า)
บทที่ ๑๒๙
ปากปงับๆคอยขยับเคี้ยวขนมอันชูชีพอยู่ (เปรียบชีวิตมนุษย์กระหายเสพเบญจพิธะกาม บำเรอชีพตามโลกะกิสัยอยู่) แค่นบอกให้ (เอาขนม) กรอกรูหูเถีดอิ่มสบาย (เปรียบให้ทรงพรตทรมานชีพจะได้ขึ้นสวรรค์) เราเกีดครั้งเดียวน่าหวังฉลองขีวิต ให้ได้เสพรสหรู (ชื่นชีพสมสันชาติ) ก็แค่นขู่แค่นหลอกให้เลมอเชื่อโอวาทเบีงตกายจะเอาสวรรค์โหลอยู่ (คือใม่มีจริง ทรมานกายใจเสียแรงเปล่า)
บทที่ ๑๓๐
ถ้าโอมาร์ คัยยามขี้ปดบ้าง จะมารยาหลอกบอกว่า ใครดื่มองุ่น (เสพเบญจพิธะกาม) จะได้บุญได้ขึ้นสวรรค์ชาติหน้า ด้วยแมวสวรรค์มารับขวัญยื่นคำภีร์โก้หร่านอย่างใหม่ให้ (ผะชดมหมัดที่ประกาศตนว่าเปนทูตพระเจ้า ด้วยพระเจ้าตรัสบอกพระคัมภีร์โก้หร่านให้หาว่าเท็จ) นมัสการพระเจ้าแขกละเปนชั่วช้าบ้าหลังบาปตายแล้วตกนรกทีเดียว
บทที่ ๑๓๑
โอมาร์คัยยามบอกความจริงสิ่งที่ตรองเห็นประจักษ์แก่ญาณได้ (พวกอิสลาม) หนิกลับเห็นว่าโอมาร์คัยยามโง่บ้าง คลั่งบ้าง พูดปลดบ้าง กลับโกรธบ้าง กลับถือเปนโทษผิดบ้าง โอมาร์คัยยามเอ็นดู กลับเกลียดขัง (โอมาร์แสดงว่า) เถีดถึงจะคิดทำร้ายอย่างไรตอบ (ก็ไม่กลัว) เพราะต่อแต่ตายแล้วทำอไรกันอิกใม่ได้ (หมายความว่า ทำร้ายกันได้อย่างที่สุดก็แต่ฆ่าชีวิต เมื่อรู้ว่าตายแล้วสูญ แลใม่เห็นความตายเปนอัศจรรย์แล้ว ก็มิพักเกรงอันใดอิก)
บทที่ ๑๓๒
ยอมคับแค้นใม่ขอยอมตายละ ครั้นลองปล่อยให้อยู่โกฏิปีกลายเปนเบื่อชีวิตอยากตาย ยามเกีดทุกข์ฉุกเฉินเข้ากลับหวลคิดใคร่ฆ่าตัวเสียให้ตาย เพราะฉะนั้น สันชาติใจคนเอาแน่เอานอนมิได้ดอก
บทที่ ๑๓๓
ตัวรักตัวของตัวแล้ว ก็ควรจะรักคนอื่นที่เขาต่างคนก็ต่างรักตัวของเขาด้วยเหมือนกัน อย่างเลวที่สุดก็เกลียดกลัวความทุกข์แลความตาย เราช่วยอนุเคราะห์ท่าน ท่านช่วยอนุเคราะห์เรา เยี่ยงคนครัวเรือนเดียวกัน กลมเกลียวช่วยกันแล้ว โลกจะดีขึ้น ด้วยเดชต่างคนต่างช่วยอนุเคราะห์กันแลกัน ต่างมีความสุขไปด้วยกัน
บทที่ ๑๓๔
การที่ต่างคนต่างคิดอย่างโง่น่าอายที่สุด ว่าตัวของตัวและสำคัญยิ่งกว่าเพื่อนมนุษย์อื่น ๆ หมด ใครฉิบหายตายไปเกลื่อนโลกก็ช่างใคร ขอเอาแต่ตัวของตัวรอดคนเดียวได้เท่านั้นเปนแล้ว ธรรมดาคนมีชีวิตย่อมรักชีวิต การที่บ้าคิดอย่างว่านี้ เปนทางฉิบหายแก่โลก ดีแต่กอดคอพากันวอดลงไปตามกันเท่านั้น
บทที่ ๑๓๕
ไฟไหม้เรือนล้านหลัง กะไหม้หลังเดียว สองอย่างนี้ต่างกันตรงๆเห็นได้จัง ๆ ถึงเสียชีวิตคนคนเดียว แต่ชีวิตคนอื่นรอดได้มากก็ควรยอมเสีย ถ้าต่างมากใจพากันคิดเห็นร่วมกันฉนี้ ก็เหมือนขันเฉนาะบ้านเมืองให้เจรีญบรรลือโลก
บทที่ ๑๓๖
อิศริยคือยศศักดิ์ก็ดี อานุภาพคืออำนาจก็ดี ศฤงฆารคือทรัพย์สมบติก็ดี ที่สุดจนศริราตม์คือร่างกายของตัวเองก็ดี ญาติบริพารคือญาติมิตร์บุตร์ภรรยา และบริวารบ่าวไพร่ก็ดี ยอมเพีกทิ้งหมดแต่อาศน์มรณาศคือเตียงที่นอนตาย ทยานพิโยคแต่เดียว คือตายไปแต่เอกา คุณะฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์คือคุณความดีแลฤทธิ์เดช ความศักดิ์สิทธิ์ฉันใด ๆ หมด (ก็ใช่จะคงอยู่) ย่อมกลิ้งทิ้งเกลื่อนกระเถีดไปขว้างเสียเพียงที่หลุมฝังศพเท่านั้น
บทที่ ๑๓๗
คนวิเศษที่มีอำนาจ มีชื่อเสียงขึ้นยวดยาน (มีรถเปนต้น) แผลงฤทธิ์เดชผลุนผลันตึงตังไปก็ดี คนชั่วช้าทูนกบาล ความจรรไรซุนเซ่อไปก็ดี ไปไหนกันหนอ (วุ่นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นึกว่าจะไปข้างไหนหรือเปล่า หมุนวนไปวนมาก็ไปแค่หลุมฝังศพตัวเองเท่านั้น พอถึงแล้วก็ผละหมด (ทั้งความดีแลความชั่ว) ลงไปนอนขดเหน้าอยู่ในนั้นตามกันใม่เลือกหน้าไหนหมด โอ้อนารถหนอ เหลือแต่ควันฝัน ๆ เลมอพูดกันเพ้อๆเคว้งอยู่เหลวๆเท่านั้นเอง
บทที่ ๑๓๘
ศรีของความชั่วก็ดี ความดีก็ดี มันเปลี่ยนขาวเปนดำได้ (เดี๋ยวว่าชั่วเดี๋ยวว่าดี) กลับไปกลับมาสุดแต่อัคติจะชักให้ป่วนไป ลงต้นเหตุป่วนแล้วผลก็พลอยปั่นผิดไปด้วย (ตามยุคนิยม) ความนิยมติก็ดี ชมก็ดี กว่าจะเอาแน่ได้ต้องนาน ๆ ในหยก ๆ นั้นเปนธรรมดา มักวนป้วนเปี้ยนประจบกันเปนพื้น รู้จริงใม่ได้ดอก
บทที่ ๑๓๙
ความฤศยาอย่างหนึ่ง ความอาฆาฎอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนเสี้ยนคอยสอึกหักอกอยู่เสมอ ความโกรธอย่างหนึ่ง ความโลภอย่างหนึ่ง เหมือนโกบขยากโสโครกเหยอะเปื้อนกาย ความหลงเขลา (ไปตามเขา) นั้นเหมือนเข้าพวงคอโขยกเขยกน่าขยะแขยง ใครรักสอาด รักตัว กระเถิดหรือโหย่งตัวให้พ้นเสียได้แล้ว ใจก็งาม (หมายความว่า อย่าอิจฉา อย่าจองร้าย อย่าโกรธ อย่าโลก อย่าหลงเขลา หลับหูหลับตาเอาเยี่ยงท่าน โดยใม่ตริตรองก่อนนั้น ใจก็เสบย)
บทที่ ๑๔๐
ตายดีก็ดี ตายร้ายก็ดี ตกในต้องจำตายหนหนึ่ง กลัวตายก็ดี ใม่กลัวตายก็ดี ตัวก็ตกายหนีความตายไปข้างไหนใม่พ้น ตายทื่อ ๆ ดื้อด้นเถีด กล้ำขำคมดีกว่า)
บทที่ ๑๔๑
คนตายนั้นคล้ายนอนหลับแล้วใม่ฝัน ละกระมัง (แปลว่าโอมาร์เชื่อฉนั้นแต่ขัดพยานพิศูจน์จึ่งเติมคำว่ากระมังไว้ให้คลอนได้) ย้ายเปนนั้นคล้ายนอนหลับแล้วฝันเห็นคิดฟุ้งวุ่นป้วนอยู่ เวลาว่าง ๆ (พักจากการทำงารหาเลี้ยงชีพ) จงเบีกบานชีวิตรินน้ำองุ่นจิบเจรีญใจเถีด (หมายความว่า เสพเบญจพิธะกาม) ด้วยความสุขก็ดี ความสั่วก็ดี ความดีก็ดี ความชั่วก็ดี ล้วนแต่เปนของเหลวๆ ฮือกันไปชั่วมื้อเดียวเท่านั้นก็สูญเปล่า
บทที่ ๑๔๒
สิ่งซึ่งเปนขวัญโลกเวลากลางวันก็ดวงอาฑิตย์บนฟ้า เวลากลางคืนก็ดวงจันทร์ (ทำให้โลกกลายเปน) ราวลหารหิ้งห้อย ดาวหรือก็อร่ามพร่างท้องฟ้าราวกะพวงเพชร์งามๆ ตัวโอมาร์คัยยามเปรียบประหนึ่งธุลีน้อยแหมะโลกอยู่เท่านั้นควรละหรือจะทนงได้ (ว่าเปนผู้วิเศษเยี่ยงท่านที่แสดงตนว่าเปนศาสดาโลก เพราะจะสู้ดวงอาฑิตย์ดวงจันทร์หรือแม้แต่ดวงดาวก็ใม่ไหว
บทที่ ๑๔๓
สงสารมนุษย์ในโลกแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ เที่ยวเร่ร่อนอ่อนแอพลำโดดเพ้ออยู่ตามกัน เห็นดวงอาฑิตย์ หรืองูอันมีอสรพิษม์ก็นึกขอเปนที่พึ่งตพัดไป (ที่สุดจน) เขาต้นไม้แลไฟ ก็ชเง้อปงกไหว้ (ขอเอาเปนที่พึ่ง) ด้วยกลัวภัย (เพราะฤทธิ์เขลา)
บทที่ ๑๔๔
มนุษย์เองนิมิตรพระเจ้าอันเปนบิดาโลกจุฬามงกุฎสวรรค์ขึ้นลมๆ แล้วจึงสมมตว่าพระอ้าหล่านิมิตร์มนุษย์ใหม่อิกต่อ อิทธิฤทธิ์ (พระอ้าหล่า) ก็ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เอาแต่สาบโลกตลุยไป พระมหมัดแอบไปงัดคัมภีร์โก้หร่านออกอุบายมาอ้าง (ยกตนเปนทูตของพระเจ้า หมายความว่าใม่จริงหมด นึกๆหลอกๆกันทั้งเพ)
บทที่ ๑๔๕
คนทั้งกลัวทั้งเชื่อทั้งนับถือพระมหมัดไปทั้งนั้น ทั่วทิศาภาคพวกอิสลามเลื่ยงลือยำเกรงอ่อนน้อมราบเรียบ ตัวคัยยามศิษย์อิมาม (โนวัฟฟัก) เองยังมือสลามนะหมาดอยู่เสมอ จนองุ่นหนุนย้อมญาณ (คือตรองเห็นศาสนะนัยใหม่) ยั่วให้กล้าใม่นับถือ (ตามกล่าวลวงไว้นั้น ๆ ได้)
บทที่ ๑๔๖
เบญจพิธะกามที่เปรียบด้วยน้ำองุ่นนั้น หวานก็เฉียบฉุนก็เฉียบชักให้เคลิ้ม (หลงไหลเมา) ถ่านที่ร้อนน้อยๆ แม้เหยียบเพลาๆ ลุยโหย่งๆ ก็พอผ่านไปได้ ยั่วเย้าชีวิตเราให้สำเรีงสุข (เปรียบเสพเบญจพิธะกามเหมือนลุยไฟ) ถึงเดือดร้อนบ้างก็พอทน ได้ความสุขดีกว่าใม่ลุยเสียเลย)
บทที่ ๑๔๗
เปนธรรมดาโลกะวิสัย ใช่โอมาร์คัยยามตะกลามหลงเบญจพิธะกามดอก ดื่มองุ่น (เสพกามะรศ) มุ่นอกมุ่นใจทนงร่านสเรีงปลื้มปราโมทย์เพลีดเพลีน ธรรมดาสันนิวาศนี้น่าพิศวงนัก รุนมนุษย์จนจนใจที่จะยิ้มเยี่ยงเอาอย่างผล้าชีวิตให้เฉาใด้ไหว
บทที่ ๑๔๘
เปนคนกะเปนต้นไม้ผิดกัน จักดูดชีวิตมนุษย์ให้กลายเปนง่าวเปนดุ้น ซึมงึมนั่งขรึมติดแตง่วๆอยู่อย่างไรได้ไหว ขู่นรกยกสวรรค์มาล่อ พอคุ้นเรารู้เล่ห์เสียแล้ว ก็เหลือตามทีเดียว
บทที่ ๑๔๙
เราเกีดมาเปนคนก็สำหรับจะเกื้อกูลชีวิตเรา ใม่ใช่เกีดมาสำหรับปะเหลาะหรือขวิดพระเจ้า เราเกีดมาสำหรับเสวยสุขสมมนุษย์อิ่มองุ่น (คืออุดมด้วยเบญจพิธะกามบำเรอ) ป่วยการประคบป่วยการรบเร้าเรียงค้าสวรรค์เหลว ๆ
บทที่ ๑๕๐
ไฟลุกฮือ ๆ ร้อนสำหรับเผาประลัยดอก ใม่ใช่น้ำที่จะให้ชุ่มชื่นได้ องุ่น (คือการเสพเบญจพิธะกาม) ของโอมาร์คัยยามนี้ เปนกำไรสำหรับเฉลีมชีพมนุษย์ ใช่ต้นไม้ใช่ไม้เลื้อยสำหรับเลื้อยชึมงึม (หมายความว่า มนุษย์เกีดมาสำหรับเสวยสุขเชีงบำรงด้วยเบญจพิธะกาม ใม่สำหรับไปบวชบำเพ็ญพรตชึมงึมทรมานกายใจ)
บทที่ ๑๕๑
ล้อ ๆ พระเจ้า เอ๋! มาฉิวกริ้วโอมาร์คัยยามผิดอไร โอมาร์คัยยามใม่รักสวรรค์เพราะเบื่อร้องโล่ๆอยู่เนืองนิตย์ (เพราะนัยว่าบนสวรรค์เทพยดาที่รอบล้อมพระเจ้าร้องเพลงสำเรีงเรื่อย) รักองุ่นคู่ชีวิตจรุงชีพ (หมายความว่า ใม่พอใจไปสวรรค์ พอใจเศพเบญจพิธะกาม) เปนพ่อค้าปิดช่องป้องกัน (มิให้ซื้อคนอื่น) ควรหรือ (หมายความศาสนามีต่างๆเหมือนพ่อค้าหลายห้าง จะห้ามให้ซื้อของแต่ห้างเดียวเปนยุติธรรมหรือ)
บทที่ ๑๕๒
ความกลัวนั้นชั่ว ใช่เปนชิ้น (ที่วิเศษ) เหมือนความอาย การทนง (จองหอง) หนักไป ใม่ใช่ศักดิ์ของลูกผู้ชายเฉลีมชาติ การมื่อทื่อใม่ใช่ซือ (โง่) อุบายลวงๆใม่จริงต่างๆนั้นก็ใม่ใช่ธรรมะ การเห่ออยากขึ้นสวรรค์วุ่นนั้น ก็ไม่ใช่องุ่นที่รัก ซึ่งโอมาร์คัยยามบำรุงเฉลีมชีวิตให้สำเรีง
บทที่ ๑๕๓
การทำดีต่อเก่งก้อกว่าเก่งรบ (ตั้งวิวาท) การวางตัวเปนกลางดีกว่าตึงเครียด แลหย่อนเทีบทาบทบกันสองสายเทียบ ฟุ้งสร้านแพ้ฐานสงบ โลภแพ้พอ องุ่น (การเสพเบญจพิธะกาม) ของโอมาร์คัยยามนั้นว่าที่แท้เลิศฟ้ากว่าสวรรค์ที่ว่า
บทที่ ๑๕๔
ความกตัญญูนั้นเปนเครื่องชูมนุษย์ให้เจรีญยืดยาวไปได้ เปนเครื่องผูกโลก (ให้สมานไมตรีต่อกันเช่น) โพกเครื่องประดับเศียรเปรียบคือความรักให้เปนสง่าราษี การอดทนเหมือนมนต์ถอนพิษม์ผิดสำแลง ความหมั่นเหมือนทหารเอกเข้าล้างขี้เกียจให้การงารหรูคือสำเร็จได้เปนอย่างดี
บทที่ ๑๕๕
ป่วยการไล่ไพร่ฟ้า (ออกจากห้องที่จะพัก) ขึ้นนั่งเอกเขนกเอ้เตอยู่บนเตียงแต่ผู้เดียว (ควรคิดแต่ว่า) ขอพัก (อยู่ในโลกด้วย) สักคน พอหายเหน็จเหนื่อยเมื่อยล้า (สำเรีงสุขไปชั่วชีวิต) นึกเสียว่าเปนแขกแปลกหน้ามาเข้ามาในเมืองใหม่ อาไศรยอยู่พักหนึ่งเท่านั้น เกะกะไปทำไมป่วยการ มิใช่ใครจะอยู่ช้านานไปได้ถึงไหน (แสนกล้า) ก็ชวดกล้าตายตามกันไปหมด
บทที่ ๑๕๖
นับเปนศรีชีวิตขวัญชีวิตแท้ ถ้าใครทำอันใดโดยชอบ (สุจริต) ปลอบใจตัวให้สดไสปราศจากความโศกเศร้า ดำรงชีพอยู่เปนสุขตำราญ ใม่เบียดเบียฬใครๆหมด เปนแต่อนุเคราะห์เขา สมานใจไปจนชีวิตเจ้าจบฉนี้ดีนัก
บทที่ ๑๕๗
ขึ้นชื่อว่ามนุษย์เกีดมาในโลกนี้แล้วเลยไปเปนไม่มี ใม่อนุเคราะห์ก็คงล้างผลาญโลกมื้อหนึ่ง ใครอยากเก่งฉกาจน่าเขย่งแข่งใครคจะสูงกว่ากัน คมกว่า ฉุดขากัน (คร่าคนที่สูงกว่าลงมาให้ต่ำกว่าตัว) ด้วยเปนการรื้อโลกให้มีแต่เตี้ยลงเสียแรงเปล่า ๆ
บทที่ ๑๕๘
ส่วนมหาโจรเที่ยวปล้นฆ่ามหาชนนั้น ด่ากันว่าอุบาทว์ มีกฎพระราชทัณฑ์ฆาฎโทษไว้สำหรับลงโทษ แลมีอาณาพยาบาลคอยปราบป้องกัน ส่วนมหาราชที่ยกทัพหลวงไปราวีมหานครต่าง ๆ ละ ชมกันว่าแกล้วกล้าเรืองวีระเดช เปนพระเกียรติยศกนั้น ขันไหม
บทที่ ๑๕๙
อยากเปนอยู่แล้ว เปนต้องอยากทำการงารเปนเพื่อเลี้ยงชีวิต เมื่อชีวิตเบิกบานแล้ว ก็ควรช่วยอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยอย่างเอื้อเฟื้อเราช่วยท่านท่านช่วยเราอย่างตัวเราช่วยตัวเราเอง ถนอมชีวิตอย่างชีวิตเกื้อกูลชีวิตกัน ดีหาไหนเหมือนได้เล่า
บทที่ ๑๖๐
ขึ้นชื่อว่าความชั่วแล้วคงชั่วอยู่เสมอ ฟื้นเปนความดีไปอย่างไรได้ ถึงว่าดีก็ดีไปฤทธิ์เคลิ้มเขลาหลงไหล ความดีย่อมดีอยู่เสมอ ถึงใครว่าชั่ว ก็คงจะมีวันเยี้มเยื่อให้เห็นว่าดีวันหนึ่งเปนแน่
บทที่ ๑๖๑
ถึงเสื้อเลวเสื้อดามแต่สอาดสรวมสบาย ถึงเรือนเล็กแต่เอาใจใส่พินิจบรรจงจัดเกลี้ยงเกลา ถึงเมียจนแต่น้ำใจเปนมงคลรักใคร่ร่วมใจสามี มีงารทำหน่อย ได้เงินหน่อย เลี้ยงชีพยิ้มเปนสุขริม ๆ กะขึ้นสวรรค์
บทที่ ๑๖๒
ยามตื่นจงฝืนสติยั้งไว้อย่างม้าเวลาตื่น อย่าเฆี่ยนดึงบังเหียนโยยุดไว้ ขืนลเลีงทเล้นโลดเผ่นโผนไป เผื่อตกลงมาเถอะเฮอปวดนัก ยากจักให้เหืยดเคว้งคว้างขวัญบิน
บทที่ ๑๖๓
เมาเหล้าเมาใม่เหมือนเมาเขลา เมายศ เมายอ แลเมาลาภด้วย แต่เมาอื่นหมื่นเมายังทุเลากว่าเมาศาสนา เมาที่สุดสาบมนุษย์ให้ตายเปล่าใม่รู้จักหรู (คือสำเรีงชีวิต ด้วยเบญจพิธะกามะคุณ สมชาติที่เกีดมา)
บทที่ ๑๖๔
เมายศยศช่วยคุ้มตายใครได้มีหรือ เมาลาภลาภก็เปนของเหลวไหลอย่างยืมเขามาใช้ เมายอก็อิ่มยอไปนานหน่อยเท่านั้น เมาองุ่น (คือหลงเบญจพิธะกาม) เถีด ด้วยองุ่นพาปลื้มปลอบใจใกล้ไปสวรรค์
บทที่ ๑๖๕
อกเรากะอกโลกอกเดียวกัน เดี๋ยวก็น่าฝนเดี๋ยวก็น่าหนาวเดี๋ยวก็น่าร้อน เหมือนเรือกำปั่นแล่นไปในท้องทเลหลวงไกลแลใม่เห็นหาด สงบคลื่นพักเดียว ประเดี๋ยวคลื่นก็กลับซัดขยักขย้อนซ้ำพายุสำทับอีกด้วย จะทำไฉนเล่า (ก็ทนไปตามธรรมดาโลกะวิสัยเท่านั้นเอง สุดแล้วแต่มันจะเปนไปตามธรรมดาของมัน)
บทที่ ๑๖๖
หมอวิเศษมียาวิเศษรู้จักรงับโรคใจดับพิษม์แลดับเดือดร้อนได้ ของแสลงที่จะแสลงก็กำจัดเสีย เล้าโลมปลอบใจให้ชื่นชอบ ป้อนเข้าน้ำครำถนอมใจ (ให้เบีกบานจนกว่าจะตาย)
บทที่ ๑๖๗
ต้นไม้นั้นมันก็มีชีวิตเหมือนกันกะมนุษย์ แลสัตว์เดรัจฉาน แต่ใม่มีความคิดตริตรองอันใดได้ สมองสัตว์เดรัจฉานเล่าก็ใม่สามารถ เหมือนสมองมนุษย์ ๆ นับเปนยอดชีวิต ควรหรือจะบีบชีวิตมนุษย์ให้เหี่ยวแกล้วกล้าร่าเรีงไกลจากสำเรีงสุข (คือไปบวชบำเพ็ญพรตเคร่งขรึมเสียทำไม หลงไร้ประโยชน์เปล่าๆ)
บทที่ ๑๖๘
กลัวตายขายศักดิ์ซื้อโลภตะกละอย่างกะสือแทนลโมบสุขจนทิ้งสุขเสียไม่รู้สำนึก เกีดมาชาติหนึ่งก็น่าหมายเปนอิศระสำเรีงชีวิต ไฉนเล่ามาหลงหลอกหลงขู่ คลั่งเฝื่อนคร้ามไปตามๆเขา
บทที่ ๑๖๙
อยู่ก็อยู่ อยู่แล้วละก็ลำพองชีวิตเถีด ตายก็ตาย ตายคนองอย่างยิ้มกริ่ม ตายหรือเปนอย่าเห็นน่ากลัว หรือน่าสนุกอย่างไรเลย มันเปนเรืองเล่นๆ เช่นดื่มน้ำผึ้งมิ้มจิบเข้าไปหวานแปล้ม ๆ ลิ้นอยู่ครู่เดียวก็หาย (เปรียบชีวิตเกีดแล้วมิช้าก็ตาย อไรๆก็หายสูญเหลวลลายไปหมดใม่มีชิ้น)
บทที่ ๑๗๐
ยามเปนอยู่ก็หลงว่าจะอยู่ไปเสมอไม่รู้จักตาย ครั้นเมื่อถึงยามจะต้องตายก็หลงว่าตายไปแล้วคงจะได้ขึ้นสวรรค์ หลงทั้งสองอย่างถีบหัวใจให้ไถลเลยแหล่งที่ควรชีวิตจะได้ความสุข (คือไปเพ้อบำเพญวัตระปฏิบัติตามศาสนะลัทธิงดเสพเบญจพิธะกามบำเรอสุข) ความจริงนั้น ความสุขของชีวิต มันอยู่ชิดดินนี่เอง (คือรูปเสียงกลิ่นรศสิ่งถูกต้องนี่เอง) มัวไปเพ้อเอื้อมจะคว้าเอาอไรอื่นเหลวๆ ที่เขาหลอกก็งมโง่อยู่ทั้งชาติ
บทที่ ๑๗๑
ไหนโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมดาของสังขารร่างกายเอย ไหนความทุกข์โศกที่จะเพ้อคิดไปรันทำให้เอย ไหนโชคเคราห์ดีเคราห์ร้ายจะยั่วโลภะเจตนาให้ฟุ้งซ่านเอย ไหนลาภสักการจะยั่วให้ตะกลามคว้าเอย ไหนนักบวชจะหลง ๆ สั่งสอนเหมือนลวงกดชีวิตให้ปฏิบัติ (เว้นเศพเบญจพิธะกาม) ทรมานชีวิตให้ม่อยอยู่ (เพื่อเพ้อตกายขึ้นสวรรค์) เอย เราจะรอดทุกข์ได้ความสุขมาแต่ไหนเล่า ถ้าใม่ได้องุ่น (คือเบญจพิธะกาม) เหมือนน้องมาถนอมชีวิตให้เกษมสำเรีง
บทที่ ๑๗๒
ความอิจฉาอย่าง ๑ พิษม์ของเวลาที่ล่วงไปล่วงไปอิกอย่าง ๑ ข่มเหงโรมรันสังขารร่างกายเราให้ทรุดโทรมหันหาทางพินาศ ยังความโกรธอย่าง ๑ ความโลภอิกอย่าง ๑ โฉบชีวิตเราให้เพ้อตกายเหลวๆใม่เข้าเรื่อง หากมีองุ่น (คือเบญจพิธะกาม) เปนเครื่องอุ่นชีวิต เปนขวัญชีวิต ช่วยผดุงชีวิต (จึ่งได้หวลมาหาความสุขสำเรีงชีพได้) หาใม่ไฉนเลยเราจะชเง้อพ้นโง่มาประสรบความสุขได้เล่า
บทที่ ๑๗๓
ใครเดีนผิด (คือหลงถือทางที่ผิดธรรมดาโลกะวิสัยตามเปนจริง) จะมามัวอิดเอื้อนลอายใจอยู่ทำไมเล่า ทิ้งทางที่ผิดเสียเถีด ถึงเสียพยศก็ใม่เสียหลายดอก อย่าดื้อไปคลั่ง ๆ เลย เกีดมากะเขาชาติหนึ่ง (ตายแล้วก็สูญ) มิใช่ว่าชีวิตตายแล้วเกีดใหม่อิกได้ (อย่างหลอกให้หลงเพ้อ) เมื่อไร เราแสวงความสุขใส่ตัวชั่วมื้อก่อนตายตามธรรมดาโลกะวิสัยเท่านี้ จะอายใครทำไม
บทที่ ๑๗๔
คำของโอมาร์คัยยาม รำพรรณไว้ยั่วปัญญานักปราชญ์ชวนให้ใฝ่ญาณตริตรอง ด้วยยิ่งตรองก็ยิ่งลึกซึกซึ้ง เปนธรรมะจริงๆ ใม่ใช่โอมาร์หยิ่งนึกขึ้นแค่นคุยเล่นเปนสำบัดสำนวนดอก วานนักอ่านอย่าอึ้ง อ่านแล้วโปรดเฉลียวตรองเอาความจริงให้ประจักษ์ด้วยปัญญาเถีด
บทที่ ๑๗๕
ถ้าใม่ไร้ฉลาดแล้ว หลงลเมออยู่ทำไมเล่า คนเอ๋ยจงถนอมชื่อ ถือตัวให้สมศักดิ์เปนมนุษย์ ไสลูกล้อชีวิตแล่นไปทุกแพรกทุกทาง แหวกแสวงหาความสุขสำเรีงบำเรอชีวิตให้สมชาติที่เกีดมาเถีด แต่ความคดโกงข้อ ๑ ความเบียดเบียฬตนแลผู้อื่นข้อ ๑ แลความหยาบช้าอุลามกอิกข้อ ๑ ขอเสียทีอย่าประพฤติเลย
บทที่ ๑๗๖
ทำเปนพูดกะพระเจ้าว่า สัตว์เข็ญใจ คือมนุษย์ จะต้องใช้นี่อไรถวายพระเจ้าบ้างเล่า บอกหน่อยเถีด พระเจ้าตอบว่าให้ใช้ทองคำ ค่าโคลนที่พระเจ้าชโลมมนุษย์ แล้วเลยมอบเหมาว่ามนุษย์ซื้อขาดไปแล้วนั้น พระเจ้าทวงนี่ที่มนุษย์ไม่เคยเปนลูกนี่พระเจ้าหรือใครมาเลยโอมาร์เหลือจะตอบได้ ด้วยพระเจ้าใช้ค้าลัทธิตู่ฉ้อมนุษย์ดื้อๆฉนั้น จะเปนพระเจ้าที่ไหนได้เล่า
บทที่ ๑๗๗
ขยะแขยงพิษม์สงที่ร้ายกาจอย่างอมหิดเที่ยวพาโลมมุษย์เอาลอย ๆ ยอมอโหสิข้ออยุติธรรมให้เอาเปนแล้วกันไปเสียทีเถีด ศิษย์พระแม้จะโผมาพึ่งเพียงกะท่อมเหล้ายามเมาเฟะ เปนขอเตะแอ๊วออกไปให้พ้นถนนโอมาร์ทีเดียว
บทที่ ๑๗๘
พูดเปนพ้อพระเจ้าว่า พระเอยพระนิมิตร์ข้าเปนคนแล้ว ไฉนจึ่งวางกับวางเหลวกลคอยดักแกล้งปิดตาคร่าให้ไปถึงที่ๆดัก เสมอสร้างลูกมาให้แอ้งแม้งอยู่ในนรกฉนี้จะดีที่ไหน
บทที่ ๑๗๙
พูดพ้อพระเจ้าอิกว่า พระเจ้านิมิตร์ฝูงมนุษย์ด้วยดินเลวๆ แล้วมิหนำซ้ำนิมิตร์อสรพิษม์ตามตอดผล้าผลาญ มนุษย์บาปราวกะฉาบครามเคลอะหน้าเลอะเทอะแล้ว ยังซ้ำต้องให้ขอโทษ พระเจ้าโปรดอภัยให้ขำแต่ข้างเดียวไฉนเล่า (หมายความว่ามนุษย์ไม่มีผิด เพราะจะทำอไรพูดอไรคิดอไรได้ก็เพราะพระเจ้าแต่งให้เปนทุกประการ แล้วยังเหมาว่ามนุษย์ผิดให้ขอโทษ ส่วนพระเจ้าทำมนุษย์เจ็บแสบเปนไรใม่ขอโทษบ้างเล่า)
บทที่ ๑๘๐
เปนวันหนึ่งเมื่อสิ้นแสงอาฑิตย์ ดาวเต็มฟ้า ดวงจันทร์สว่างสวรรค์ยังใม่ขึ้น โอมาร์เดีนโย่ง ๆ ไปสู้โรงงารช่างม่อหวังจะตรวจพลเครื่องดิน ที่เรียงรอบล้อมอยู่ไสว
บทที่ ๑๘๑
โอ่ง อ่าง กะถาง ตุ่มตั้งอยู่เคียง ๆ กัน แว่วเสียงวุ่วเว่าวุ่วเว่าพาวๆเพียงคนพูดกันจ้อ โคลนเท่าแต่กระเสร่าตำเพียงได้เสมอมนุษย์พูดกัน หูโอมาร์ฟังดังล้อ พิลึกในน้ำคำที่พูดคมขันอยู่
บทที่ ๑๘๒
ถลองตลก ถกเรื่องอ้ายตุ่มอ้ายไห บางใบก็พูดได้ บางใบก็พูดไม่ได้ (เหมือนมนุษย์บางคนก็มีความคิด บางคนก็เขลาขลาดนัก นึกสนุกฉุกละหุกสนุกขึ้นมาอย่างไร ลุงโอ่งจึ่งอึงเอ่ยถามอยู่โอ้ว่า “ใครเปนม่อ ใครเปนช่างม่อ” (หมายความว่าถ้าคนเราพระเจ้าสร้างแล้ว ก็ใครสร้างพระเจ้าอิกต่อหนึ่งเล่า)
บทที่ ๑๘๓
เดี๋ยวไหใบทนึ่งตอบว่า “ตัวพี่นั่นและ เคยถูกปั้นด้วยดิน ขันนักหนอ ช่างหั้นเอ๋ยช่างปั้น ปั้นพี่แล้วยังไงกลับยุบพี่กลับเปนดินอิกเล่า” (หมายความขอดข้อนพระเจ้าว่าสร้างมนุษย์แล้วควรจะให้อยู่นิรันดร นี่เดี๋ยวปั้นเดี๋ยวยุบ คือเกีดแล้วก็ตาย)
บทที่ ๑๘๔
ตุ่มใบอื่นยื่นปากว่า “อ้ายเด็กซุกซนมันจึงชอบถ่อยต่อยโถที่มันเคยดื่มปลื้มอกปลื้มใจ เพราะรักจึ่งสมัคทนเหนื่อยนฤมิตร์มาแล้ว กริ้วขึ้นมานิดก็ทำลายเสีย เพราะนึกว่าของๆท่านปั้นเอง ใม่ใช่ยืมใครมาใช้”
บทที่ ๑๘๕
เงียบอึ้งกันไปพักหนึ่งแล้ว กลับเอ่ยโลน ๆ เปนทีล้อ เสียหวดตลกจ่าอวดตะโกนว่า “ท่านยุบเพราะมันเบี้ยวท่านชังว่าตั้งโงนเงนน่าชัง อพิโธ่! เพราะท่านมือสั่นเองหนิกลับย้อนมาโทษเอามนุษย์ถูกหรือ” (หมายความว่าแม้มนุษย์จะทำบาปกรรมอย่างไรเช่นภาชนะดินที่เบี้ยว ก็ใม่ได้เปนเพราะความผิดของตัวเอง เพราะพระเจ้าผู้นั้นเปนผู้ทำเบี้ยวต่างหาก ด้วยในว่ามนุษย์จะทำความดีหรือชั่ว ด้วยกายกรรม วาจากรรม แลมโนกรรม ก็เพราะพระเจ้าแต่งมาทั้งนั้น เหมือนจับมือมนุษย์ให้ทำบาป แล้วพระเจ้ายกองค์ขึ้นเหนือลม โทษเอาแต่มนุษย์ถ่ายเดียวฉนี้ควรละหรือ)
บทที่ ๑๘๖
อ่างเอ่ยว่า “ถึงที่พวกขี้เมาโว ควันนรกปกหน้าโซเสือกเต้น พูดชิ่งหยิ่งโยโสแสนหยาบคาย (ดูหมิ่นใม่เคารพพระเจ้า เปรียบคนที่ใม่นับถือ) ผุย! พระเจ้าก็แค่นจะเว้นลงเทวะทัณฑ์ ปล่อยให้มันเปนคนดีลอยชายอยู่ได้”
บทที่ ๑๘๗
โอ่งถอนใจใหญ่ว่า “เอ้ออกกูเอ๋ย! แห้งเกราะเพราะรักหรูมาถูกท่านทอดทิ้งเรีดราเสีย โปรดหยอดยางให้เซิ่บฉ่างชื่นชูชีวิตมั่งซี จะได้ค่อยคลายหงอยที่ถูกพระเจ้าปิ้งเสียฉี่ๆ กลับคืนเผยอกะเขาได้บ้าง (หมายความว่าถึงที่คนนับถือละยิ่งกดเอา ใม่เปีดขอกรุณาบ้างเลย)
บทที่ ๑๘๘
กำลังตุ่มโอ่งคุยกันนัวโขมงอยู่ ใบหนึ่งมองเห็นดวงจันทร์แสงสลัวแหว่งเว้า โผล่ขึ้นมาลอยวิเวกบนท้องฟ้าอยู่แล้ว ก็หันมาบอกเพื่อนอย่างหยอกยิ้มหัวว่า “ พี่พี่พี่โวย ช่างม่อห่อไหล่หน้าเง้าโชงกถ้าขมึงพึงมาโน่นแล้ว” (หมายความว่าดวงจันทร์เปนปฏิมากรพระเจ้าที่แขกนับถือกันนัก)
บทที่ ๑๘๙
เปนโคลงตอนท้ายโอมาร์จะลาโลก ว่าโอ้องุ่นฉุนชื่นใจเลี้ยงชีวิตโอมาร์ให้สำเรีงยามเปนแล้ว ยามตายจากไปก็ยังสรงสการศพให้อิก ยามลมพัดฉิวๆมาใบก็แกว่งไกงหล่นร่วงลงโรย ขอให้ฝังศพโอมาร์ไว้ข้างๆสวนองุ่นของโอมาร์เถีด จะได้หวานใจ
บทที่ ๑๙๐
ตายแล้วถึงจะฟื้นหรือใม่ฟื้น ฝังสลบไสลอยู่ชั่วนิรันดร เพื่อนรักอยากจักพบก็พบโอมาร์ได้ ต้นพยอมก็ยิ่งยื่นกิ่งอันตระหลบด้วยสุคนธรศโชยมา โรยร่วงพวงกุสุมให้ท่วม แต่ท้าวถึงเศียรศพโอมาร์
บทที่ ๑๙๑
ทรากศพแม้โอมาร์จะตายไปแล้วก็ใม่หม่นหมอง คงหอมฟุ้งแผ่นดินโชยจมูก ใครผ่านไปทางที่ฝังศพนั้น บรรดานักธรรมที่ช่ำเชีงพิสัยแสวงทราบสัตยธรรมอันถ่องแท้ ถึงจักงอดจักเง้าก็ไฉนเลยจักเว้นมองดูได้ (หมายความว่าถึงตัวโอมาร์ตายไปแล้ว อุทานธรรมของโอมาร์ยังปรากฎอยู่ต่างกาย ขึ้นชื่อว่านักธรรมถึงจะใม่เห็นด้วย ใม่เชื่อใม่ศรัทธาก็ที่ไหนจะเว้นอ่านได้เล่า)
บทที่ ๑๙๒
โอมาร์รักเทวะรูป (หมายความว่านับถือศาสนาอิสลาม) มาช้านาน ชวนใจมนุษย์ดุดให้ปรวนเห็นโอมาร์ผวนผิดความจริงไป จึงปลดศักดิ์โอมาร์หมักลงม่อขนันเสียต้น ขายชื่อโอมาร์ลือเหน้า แลกด้วยโคลงเดียวเท่านั้นเอง (โอมาร์ได้ทิฐะธรรมใหม่ทิ้งศาสนาอิสลามเสีย คนหมิ่นว่าใจกลับกลอกเลยเสียชื่อ ใม่มีใครนับถือเหมือนเคยมาแต่ก่อน)
บทที่ ๑๙๓
เดีมโอมาร์ใจทื่อถือมหมัดเปนสรณาคม ปลื้มอกปลื้มใจศรัทธา คราเคร่งครัดอย่างเอื้อเฟื้อจริงจัง ครั้นถึงรดูองุ่นหรูก็ผวามาชิม ชื่นชีวิตโอมาร์สำเรีงอยู่ เชือกที่รัดพระมหมัดผูกสันดารไว้ ก็เรื้อขาดลุ่ยไปเอง โอมาร์จะทำไฉนได้เล่า (เปรียบความว่า ถืออิสลามเพราะโง่ ครั้นฉลาดรู้ว่าเหลวลวง แลประจักษ์ความจริงว่ากำไรของชีวิต มีแต่การเสพเบญจพิธะกามเปนเครื่องสำเรีงอย่างเดียวเท่านั้นฉนี้แล้ว จะละเลยเสียใม่ทิ้งศาสนาอิสลามไฉนได้เล่า)
บทที่ ๑๙๔
ยิ่งดื่มก็ยิ่งปลื้มองุ่นงัวเงียง่านอยู่ สิ้นศรัทธาอันเปนอาภรณ์เพลียหมดก็เลยเพลีดเปลื้องทิ้งเสีย พิศวงรู้ศึกตัวว่าหลงเสียสนัดแล้ว ลงทุนไปไว้เท่าไรได้คืนเพียงเซี่ยวเดียว กระนั้นก็เหลือยั้ง (โอมาร์มีชื่อเสียงที่นับถือศาสนาอิสลาม กระนั้นก็จะใม่หันมาเสพเบ็ญจพิธะกามที่รู้ว่า เปนของประเสร็ษฐ์จริงก็ไม่ไหว เหตุเกรงเสียชาติเกีดมาเปล่า)
บทที่ ๑๙๕
โอ้เพอีนพวงองุ่นทั้งดอกกุหลาบก็โรยราเสียแล้ว ดรุณะรศพจนาโชยก็เชื่อมเศร้า ยังเสนาะอกแต่เสียงนกโหยหวลร่ำรเบงอยู่ว่า เมื่อไหร่ที่ไหนเล่า เจ้าจะฟื้นใหม่ได้อิก ที่โอมาร์เองก็ไม่รู้ (หมายความว่ายามหนุ่มโอมาร์ฟักไฝ่เปนนักบวชศาสนาอิสลามเลีย พึ่งรู้ศึกธรรมะที่จริงหวลมาเสพเบญจพิธะกามปางชราก็ทุพลภาพ กระนั้นก็ยังอุตส่าห์กล้ำกลืนตามประสาใจ เพราะรู้ศึกว่าเกีดมาแล้วชาติหนึ่ง เมื่อไหร่เล่าจะได้เกีดมาประสรบรศอิกหนหนึ่งได้เล่า ก็สู้ทนชื่นใจไปตามยถาพลัง
บทที่ ๑๙๖
ถึงเปลี่ยวก็มีเรี่ยวธารน้ำสดไสน่าสนานชวนชื่นบานอยู่ ถึงชื่นบานเบ่งน้อย ก็พอชักนักเที่ยวที่ไกลๆมาเที่ยวถึงได้ เห็นโอมาร์นอนลห้อยเปนห่วงหวังดี ต่อที่รักอยากให้เปนสุขสำราญอยู่ (หมายความว่าถึงโอมาร์แก่ก็ยังเปนคน แลเปนคนฉลาดรู้จักเลี้ยงน้ำใจเพื่อนมนุษย์ แลมีทรัพย์พอเลี้ยงชีพ ถึงมิน่าชมเชยนักก็ยังพอจะมีคนบางคนชื่นชมรักใคร่ได้ ด้วยโอมาร์มีมิตรจิตแล้ว ไฉนเลยคนด้วยกันจะไร้มิตรใจตอบ โหดเหี้ยมเสียโดดดาอยู่ได้เล่า)
บทที่ ๑๙๗
ถ้าโลกนี้กลับฟื้นเปนโลกนฤมิตร์ใหม่ได้ (คือคนยังใม่คลั่งนับถือศาสนาเหลวไหลฝังสันดาร) โอมาร์ก็เผยอจะหยุดปิดสมุดโชคเสียป่านนี้ได้ คงจะเฉลีมศักดิ์ศักดิ์สิทธิ์ กลับจารึกคุณาธิการประเสริษฐเลีศล้ำฉลองโชค ตัวโอมาร์ก็คงจะกระเดื่องเลื่องชื่อหรูร้อยพันเท่าพันทวีที่เปนอยู่ (คือหมายความว่า เมื่อมาตรัสรู้นวะโลกิยะทิสะธรรมขึ้นใหม่ฉนี้ ก็จะกลายเปนองค์มหาศาสดาเยี่ยงพระเจ้าองค์หนึ่งได้ ด้วยธรรมะเปนของจริงของดีแท้ แต่หากมาอุบัติผิดสมัย ก็จำลี้ลับอับอยู่พักหนึ่ง ซึ่งคงมีวันเฟื่องฟุ้ง เมื่อมนุษย์มีความฉลาดสมชาติยิ่งขึ้นในอนาคตกาล)
บทที่ ๑๙๘
ดีกว่าหลบหน้าจากจำนวนนักปราชญ์ เอ้อนาถครวญสงบอยู่ยามเคราะห์ร้าย แต่รศะธรรมะอันประเสรีษฐ์หยดๆรวมกันเข้าก็อาจจะท่วมเทลได้ สมัยเหลื่อมไป ความสยิ่วเกลียดชังโดยหลงก็คงจะมีวันเสื่อมลง โชคของโอมาร์ในอนาคตก็คงจะอำนวยขวัญโอมาร์มื้อหนึ่ง (โอมาร์ เชือในโลกิยะทิฐธรรมที่ตนตรัสรู้มาก ว่าคงกลับมีวันที่มหาชนนิยมด้วยเปนของวิเศษจริง)
บทที่ ๑๙๙
โอมาร์ปรารกถึงไนซามอุลมุกวิเซียมหาสหายผู้มีอุประการะมาแต่ก่อนเมื่อจะถึงอสัญกรรม ด้วยถูกพวกโจรอ้ายเถ้าเขาเขีน ที่มิใช่ใครอื่นไกลหาไหนมา คือหะซันซับบาร์สหายเก่าพิฆาฎเสียนั้น อนารถใจจึ่งออกอุทานโอวาทว่า การเปนโตเปนใหญ่นั้นหาพ้นภยันตรายได้ไม่ ยศก็ดีหยิ่งก็ดีทรัพย์ศฤงคารก็ดี ย่อมมีเวลาคลายจากรุ่งเรืองลงโทรมทรุดได้ ความกรุณานุเคราะห์ดอกขยายคุณาภินิหารได้ยืนยืดยาวมิรู้สุด อย่าสนิทอย่าห่างวางศักดิ์เปนสายกลางไว้และดีกว่าอย่างอื่นหมด
บทที่ ๒๐๐
คัยยามเปนฉายาของโอมาร์นั้นแปลว่า คนสร้างทัพกะท่อมวิชา โอมาร์แถลงเลศไว้ ที่จะยามโทรมนัศเมื่อปางตกอัประภาค โทษเที่ยวแถลงโลกิยทิฐะธรรมแย้งศาสนาอิสลามนั้นว่า ตัวคัยยามคนสร้างทัพกระท่อมวิชานี้ ผวาพลัดตกเตาโศกลงไปไหม้วอดวาย ตะไกรโชคก็ตัดเชือกชีวิต ที่โยงทัพกระท่อมวิชาทำลายลง ความหวังก็มิสม ซมะนังขายตัวได้เปล่า ๆ ปลกเปลี้ยเสียคนกันเท่านั้นเองเปนจบ
บทที่ ๒๐๑
เสน่ห์ (หมายภรรยา) เอ๋ย ลงอุส่าห์ถนอมโชคของเจ้าให้เสมอใจพี่ (โอมาร์) เถีด เสน่ห์อย่าเศร้าโศกเรื่องโอมาร์มรณาศจากไปเลย ยามตื่น (มีชีวิต) ชื่นชีวิตกันได้ฉันได โอมาร์ก็ถนอมเสน่ห์ฉนั้น (จนสุดกำลัง) ยามหลับ (ตาย) ก็ขอลาหลับ (ตาย) ค้างโลกอยู่ช้า (นิรันดร) เฉลีมนามโอมาร์
บทที่ ๒๐๒
โอมาร์ครอญยามจะลาโลกว่า พระจันทร์บนสวรรค์อันเปนขวัญฟ้านั้น ยามข้างแรมก็แฝงโอภาศ (แหว่ง) พระจันทร์คือความรักของโอมาร์นั้น ส่งแสงสว่างเจื้อยอยู่เสมอ (ใม่มีวันแรม) พระจันทร์บนสวรรค์ถึงยามข้างขึ้นกลับแผลงพราโลก คือแสงสว่างอันประเสรีษฐ์ยิ่งขึ้นได้ แต่พระจันทร์คือความรักของโอมาร์นั้น นับวันเวลาล่วงไป ๆ มีแต่จะล่าเลื้อยหนีเข้าหลืบโลก สูญหายไป
บทที่ ๒๐๓
ก็ฉอ้อนสั่งโลกว่า พระจันทร์เอ๋ยโอมาร์เคยปลื้มอกปลื้มใจแลเห็น สว่างเวี้งสวนยามบุรณะมีแจ่มกระจ่างชื่นใจ เฉลีมขวัญโลกเปนมิ่งขวัญโอมาร์ เอ็นดูโอมาร์แล้ว ไฉนเลย ยามโอมาร์จากโลกไปเสียแล้ว พระจันทร์จึงยังโศกสอื้นเอ่อฟ้าอยู่หาใครอยู่อีกเล่าหนอ
บทที่ ๒๐๔
พระจันทร์บนฟ้าเดีนฟ้างามฉลองบาทเงิน (เปรียบดวงจันทร์เหมือนฝ่าเกือกแตะอันทำด้วยเงิน) ดาวแห่แผ่เต็มฟ้าราวกะหญ้าลาด สำเรีงโลกสร่างโศกน่าสวาดิ์งามเวียงสวรรค์ แต่พระจันทร์โอมาร์ลุยหญ้าพื้นโลกตลิบ ๆ พลิ้วเดียวเลยผลอยหายไปเสียแล้วโฮ
จบรุไบยาตคือกาพย์อุทานธรรม ไถ่จากฝีปากของโอมาร์คัยยาม ยอดกวีผู้ชำนาญนิติศาสตร์ เปนโหรเอก นักปราชญ์เอก รจนาอ้อยอิ่งไว้ เช่นมหรศพสำเรีงเฉลีมเมือง
ฝีพระโอษฐกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ทรงเปลื้องปรุงเนื้อความภาษาอังกฤษเปนไทย ประหนึ่งโกบร้อยพกาเกษรเปนพวงสุมาไลย คล้องใจท่านผู้ที่จะได้อ่านให้เอีบอิ่มอก แลเปนเครื่องภิรมย์จิตสหายกวี ที่จะได้เหลือบมาเห็นยามไม่มีหนังสืออะไรอ่านแล้ว ๚