กัณฑ์ที่ ๓

๏ เต อุโภ อมจฺจา มรณภเยน ภีตา โกโกกสฺส เคหํ คนฺตวา ปุริสํ อาณาเปสุํ คจฺฉ ภเณ ตุริตตุริตํ ราชปุตฺตํ อาเนหิ มยํ อิธาคมาเปสฺสาม ยาว โส ตยา อานีโตติ ฯ

อนุสนธิเทศนามีบุพพาปรสืบเนื่องตามลำดับมา บัดนี้จะได้วิสัชชนาความในหริสตนฺลีโอพรสืบต่อข้อความไป ดำเนินความว่า เต อุโภ อมจฺจา ฝ่ายอำมาตย์ทั้งสองมีความกลัวแต่มรณะภัยเปนกำลัง พากันกลับหลังยังเคหสถาน แล้วใช้ให้นายนักการไปตามเชิญนังกิปุระมาโดยด่วน ๆ ว่าดูกรภณาย ท่านจงรีบไปเชิญเสด็จพระราชบุตรมา เราจักคอยอยู่ที่นี้จนท่านได้เชิญเสด็จเธอมาถึง ส่วนนังกิปุระจำเดิมแต่ได้อนุญาตจากโกโกกามาตย์ให้ปลาศนาการไปให้พ้นติติปุระประเทศ ก็ตระเตรียมกายพร้อมสรรพ แต่ยังต้องยับยั้งคอยนางยัมมะยัมมา อันไปจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ซึ่งจะเปนเสบียงทางที่จะไป โส ตํ านํ ปตฺโต พอนายนักการไปถึงที่นั้นแจ้งว่าโกโกกะอำมาตย์ให้กลับไป ก็มิได้มีความหวาดหวั่นมั่นพระทัยว่า ถ้ามิสมดังมั่นหมายไซร้ ก็จะประหารพระองค์ให้สิ้นพระชนมชีพ จึ่งเสด็จรีบตามนายนักการมา เต ปจฺจุคนตฺวา เมื่อสองอำมาตย์เห็นนังกิปุระเสด็จมาถึงเคหสถาน ก็ชวนกันกระทำปัจจุคมนาการต้อนรับเชิญให้เสด็จนั่งในที่อันควร แล้วถวายอัญชลีกราบทูลว่า ราชกุมาร ข้าแต่พระองค์ผู้เปนพระราชกุมารอันประเสริฐ แต่กาลก่อนข้าพระองค์มิได้ทราบว่าพระองค์เปนพระราชโอรสแห่งพระเจ้ามิกาทุรราช จึงได้มีความประมาทล่วงเกินต่อพระองค์เปนอเนกประการ ด้วยความโฉดเขลาเบาความ ขอพระองค์จงได้ทรงพระกรุณายกโทษแก่ข้าพระองค์สักครั้งหนึ่ง เตสํ วจนํ สุตฺวา เมื่อนังกิปุระราชกุมารได้สดับคำสองอำมาตย์กราบทูลขอพระราชทานโทษฉนั้น จึ่งตรัสตอบว่า แต่อดีตกาลครั้งหนึ่ง เราได้เปนพระราชโอรสแห่งพระเจ้ามิกาทุรราชชีปนาธิบดี แต่บัดนี้เราเปนบุรุษย์ถึงซึ่งความมรณะแล้ว เหตุฉนั้น โทษอันใดซึ่งท่านได้กล่าวขอต่อเราบัดนี้ เรามิได้มีความรังเกียจแลถือโทษต่อท่านทั้งหลายอย่างใดเลย เมื่อเราเปนผู้ถึงซึ่งความมรณะแล้วฉนี้ ท่านทั้งหลายยังมีความปราถนาอันใด ซึ่งจะพึงกล่าวแก่เราอิกเล่า สองอำมาตย์จึงกราบทูลเหตุการณ์ซึ่งพระราชบิดาดำรัสถามหาพระองค์ ด้วยทรงพระอาลัยเปนกำลัง ตลอดจนดำรัสจะให้สังหารชีวิตตนทั้งสามตามพระราชกำหนดบทพระอัยการข้อที่ทำอันตรายแก่พระราชโอรส แล้วพากันทูลวิงวอนเชิญเสด็จให้ไปเฝ้าพระราชบิดา ชนทั้งสามนั้นจะได้พ้นพระราชอาญาแห่งพระเจ้าชีปนราช นงฺกิปุโร ฝ่ายนังกิปุระได้สดับคำสองอำมาตย์กราบทูลฉนั้น จึ่งดำรัสถามว่า นางกติจฉกามาในกระบวนเสด็จด้วยฤๅไม่ สองอำมาตย์แลนางปีติสิหิงค์มิได้ทราบเหตุซึ่งมีมาแต่หลังประการใด ก็กราบทูลว่านางกติจฉกามาโดยเสด็จพระเจ้ามิกาทุรราชด้วย แลมีความปราถนาอันยิ่งใหญ่ที่จะได้เห็นพระองค์ เมื่อนังกิปุระได้ทรงทราบฉนั้น ก็ทรงพระโทมนัศอัดอั้นในพระหฤทัย จึ่งตรัสว่าถ้ากระนั้นไซร้ เราก็มิยอมที่จะไปเฝ้าพระราชบิดา ถ้าแลท่านจะยอมให้นางยัมมะยัมมาไปด้วยเราดังที่อนุญาตแต่ก่อนแล้วไซร้ เราก็จะพานางไปให้ลี้ลับตามสัญญา ถ้าท่านจะมิยอมให้นางไปแลจะให้ไปเฝ้าพระราชบิดาไซร้ เราก็มิได้มีอาลัยแก่ชีวิตจะทำลายตนให้ถึงแก่ความตายในกาลบัดนี้ เต ตสฺส วจนํ สุณนฺตา เมื่อชนทั้งสามได้สดับคำนังกิปุระตรัสดึงดันไปฉนี้ ก็มีความสนเท่ห์ใจ ชวนกันกราบทูลถามนังกิปุระก็ดำรัสแจ้งความแต่หนหลังให้ทราบทุกประการ แล้วจึ่งดำรัสสั่งว่า สเจ ผิแลว่าถ้าจะให้เราไปเฝ้าพระราชบิดาไซร้ ท่านทั้งสองผู้หนึ่งผู้ใด จงไปเล้าโลมนางกติจฉกาให้ยอมเปนภริยาก่อนแล้วเราจึ่งจะไป ถ้ามิได้ฉนั้นไซร้เราจะสังหารชีวิตเราเสียในบัดนี้ มิยอมไปเฝ้าพระราชบิดาเลยเปนอันขาด ฝ่ายสองอำมาตย์เมื่อได้สดับดังนั้น จึ่งปฤกษากันว่าการอันนี้เห็นจะมิตกลง ด้วยนังกิปุระมีพระหฤทัยมั่นคงมิได้อาลัยแก่พระชนมชีพ จำเราจะต้องเร่งรีบไปเล้าโลมนางกติจฉกาให้ยินยอมเปนภริยาเสียโดยเร็วจงได้ เอวํ มนฺตยิตฺวา เมื่อปฤกษากันแล้วดังนั้น โกโกกะอำมาตย์ก็รีบไปสู่สำนักนางกติจฉกา

สา โสกาภิภูตา ฝ่ายนางกติจฉกาตั้งแต่ทราบว่านังกิปุระสิ้นพระชนมชีพแล้วก็มิได้มีความสบาย นางตั้งแต่โศกเศร้าโศกาดุร พิลาปรำพรรณเพ้อไปด้วยวาจา ว่า อโห เอกาหมสฺมิ โออาตมนี้ผู้เดียวแล้วหนอ เหตุไฉนจึงยังมีชีวิตอยู่เล่า มม จิตฺตํ พนฺธิตํ วิญญาณแห่งเรามีเครื่องพันธนาการอันเปนของร่างกายได้จำไว้มั่นเสียแล้วหนอ ปริฬาหวูปสมนํ ความรงับสิ้นกระวนกระวายของเรานี้มีแต่ความตายอย่างเดียวจะเปนผู้ให้ได้ อาคมนาปนํ การที่ต้องคอยเปนคำตัดสินการที่ต้องมีชีวิตอยู่เปนการลงโทษแก่ตัวเราแท้จริงหนอดังนี้เปนต้น แลพรรณาต่อไปเปนอเนกประการ โกโกกามจฺโจ ครั้นเมื่อโกโกกะอำมาตย์ได้สดับคำนางกล่าวร่ำไรด้วยความโศกฉนั้น ก็เข้าไปกล่าวพาดพันด้วยวาจาอันไพเราะห์ว่า ภทฺเท ดูกรเจ้าผู้มีภักตร์อันเจริญอันตัวเรานี้แลเปนผู้มีความปราถนาจะใคร่ได้อยู่ร่วมคู่ด้วยเจ้า ประฏิบัติบำรุงรักษาให้มีความสุขสืบไปดีกว่านังกิปุระซึ่งมิได้มีความอาลัย แล้วแลหลีกไปในทุระสถานจนถึงแก่กาลชีพประลัย เจ้าจะมานั่งเศร้าโศกอาลัยอยู่ไม่ต้องการ ฝ่ายนางกติจฉกาได้สดับวาจาที่โกโกกะอำมาตย์พูดเกี้ยวพานฉนี้ก็ยังมิได้มีความยินดี ด้วยอาลัยนังกิปุระเปนกำลัง โกโกกะอำมาตย์จึ่งได้ผูกพันธ์คำขับขึ้นปลอบประโลมนางว่า

เอวํ สุตํ มยา ภทฺเท อตีเต กิร วฏฺฏโก
เอกิสฺสํ วฏฺฏกี ยํปิ ปฏิพทฺธมโน รโต
สมฺมุฬโห อติราเคน ตสฺสํ สํวาสกามโก
ตสฺสา กุลาวกาสนฺน มุเข นิสชฺช วฏฺฏโก
วิวิธปฺปิยวาจาย ปโลเภติ อเนกธา
กามสํโยคยุตฺตาย สุฏฺุตรํ อยาจิ โส
สา วฏฺฏกี อนิจฺฉนฺตี ตสฺส กุทฺธา อกามินี
ปริภาสติ วาจาย มมฺมจฺเฉทกรายปิ
ทุกฺขี นตฺตมนํ ปตฺโต สวฏฺฏโกติทุมฺมโน
โสกาตุเรน สาตุโร ชีวิเต จ นิราลโย
อสฺสาสํ สนฺนิรุมฺหิตวา ภูมิยํ ปติโต มโต
มยิ ภทฺเท สเจ เมตฺตึ อนาทราว ฉินฺทสิ
อสฺสาสํ สนฺนิรุมฺหิตฺวา

มริสฺสํ วฏฺฏโก ยถา ๚

เอวํ สุตํ มยา ภทฺเท อตีเต กิร วฏฺฏโก

ดูกรเจ้าผู้มีภักตร์อันเจริญ เราได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในกาลปางก่อน ยังมีนกกระจาบผู้ตัวหนึ่ง

เอกิสฺสํ วัฏฺฏกียํปิ ปฏิพทฺธมโน รโต

มีใจประฏิพัทธ์ยินดีในนางนกกระจาบตัวหนึ่ง

สมฺมุฬฺโห อติราเคน ตสฺสํ สํวาสกามโก

นกกระจาบผู้ตัวนั้นหลงใหลแล้วด้วยความกำหนัดอันยิ่งเกิน จะใคร่อยู่ร่วมสมัคสโมสรด้วยนางนกนั้น

ตสฺสา กุลาวกาสนฺน- มุเข นิสชฺชวฏฺฏโก

จึ่งบินขึ้นไปจับที่ปากรังแห่งนางนกกระจาบนั้น

วิวิธปฺปียวาจาย ปโลเภติ อเนกธา

เล้าโลมด้วยวาจาอันเปนที่ตั้งของความรักมีประการต่าง ๆ โดยอเนกนัย

กามสํโยคยุตฺตาย สุฎฺุตรํ อยาจิ โส

แลได้วิงวอนขอการสมัคสังวาส ด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยกามะสังโยคซึ่งอ่อนหวานเปนอย่างยิ่ง

สา วฏฺฏกี อนิจฺฉนฺตี ตสฺส กุทฺธา อกามินี

ส่วนว่านางนกกระจาบนั้น มิได้มีความปราถนาที่จะสมัคสังวาสด้วยนกกระจาบผู้นั้น เพราะมิได้มีความรักใคร่ในนกกระจาบผู้นั้น ให้พิโรธโกรธเคืองไม่พอใจที่จะฟังถ้อยคำซึ่งเล้าโลมนั้น

ปริภาสติ วาจาย มมฺมจฺเฉทกรายปิ

จึ่งปริภาสตัดพ้อด้วยถ้อยคำที่เปนเครื่องทำลายความรัก ให้นกกระจาบผู้นั้นทราบว่าตนมิได้มีความรักใคร่

ทุกฺขี นตฺตมนํ ปตฺโต สวฏฺฏโกติทุมฺมโน

นกกระจาบผู้นั้น ครั้นได้ฟังถ้อยคำที่นางนกกระจาบตัดพ้อฉนั้น ก็เกิดความทุกข์โทมนัศ

โสกาตุเรน สาตุโร ชีวิเต จ นิราลโย

มีใจอันกระสับกระส่ายมิได้เปนสุข เพราะความเศร้าโศกเสียใจ มิได้อาลัยในชีวิต คิดว่าเมื่อมิได้นางนกกระจาบนี้แล้ว ทำลายขันธ์เสียดีกว่า

อสฺสาสํ สนฺนิรุมฺหิตฺวา ภูมิยํ ปติโต มโต

ก็กลั้นลมอัสสาสะประสาสเสียมิให้หายใจได้ ก็ถึงชีวิตันตรายตกลงณพื้นแผ่นดิน

มยิ ภทฺเท สเจ เมตฺตึ อนาทราว ฉินฺทสิ

ดูกรเจ้าผู้มีภักตร์อันเจริญ ถ้าเจ้ามิได้มีความเอื้อเฟื้อ ตัดความไมตรีในเราเสียจริง ๆ แล้วไซร้

อสฺสาสํ สนฺนิรุมฺหิตวา มริสฺสํ วฏฺฏโก ยถา

เราก็จักกลั้นลมอัสสาสะประสาสเสียให้ถึงชีวิตักษัย เหมือนหนึ่งนกกระจาบผู้ที่ทำลายขันธ์ฉนั้น

สา คีตวจนํ สุตฺวา ครั้นเมื่อนางกติจฉกา ได้สดับคำขับแห่งโกโกกะอำมาตย์ ก็มีจิตรประวัติยินดี จึ่งมีวาจาซ้ำถามว่า คำซึ่งท่านกล่าวขับเปรียบมาฉนี้ เพื่อจะให้เราเปนที่เชื่อมั่น ว่าถ้าแลเรามิโอนอ่อนยินดีด้วยท่านไซร้ ท่านจะกลั้นอัสสาสะประสาสให้สิ้นชีพเสียกระนั้นจริงแลฤๅ โกโกกะอำมาตย์ก็ตอบคำยืนยันว่า ถ้าท่านมิได้มีความอาลัยเราแล้วไซร้ เราก็มิได้อาลัยแก่ชีวิต คิดจะทำลายชีพเสียดังคำขับฉนั้น ครั้นเมื่อนางกติจฉกาได้สดับวาจาโกโกกะอำมาตย์กล่าวเปนคำยืนยันมั่นคงดังนี้ ก็ยิ่งมีความยินดียินยอมเปนภริยา สมความปราถนาแห่งโกโกกะอำมาตย์

ราชา ภตฺตกิจฺจํ กตฺวา ฝ่ายว่าพระยาชีปนะราช เมื่อเสด็จเข้าที่เสวยสำราญพระราชหฤทัยแล้วก็เสด็จออกจากราชมาฬกสถิตย์ยังน่าพลับพลา จึ่งดำรัสสั่งให้หาตัวโกโกกะอำมาตย์กับปุรพาหะเสนาบดี อิกทั้งนารีปีติสิหิงค์เข้ามายังน่าพระที่นั่ง กติจฺฉกาปน ส่วนนางกติจฉกาที่ได้ยินยอมเปนภริยาโกโกกะอำมาตย์ มีความสดุ้งหวั่นหวาดเกรงพระเจ้ามิกาทุรราชจะสังหารชีวิตผู้ซึ่งเปนที่รักแห่งตน นางจึงรีบจรดลยังที่เฝ้า ถวายวันทนาการแล้วก็ซบเกษลงโสกาพิไรร่ำ กล่าวถ้อยคำกราบทูลว่า เทว ข้าแต่พระองค์ผู้เปนสมมติเทวราช ข้าพระองค์นี้มีกรรมมิได้รองพระบาทราชโอรสแห่งพระองค์ ตั้งแต่เสวยทุกขเวทนามาช้านาน บัดนี้พระราชกุมารก็สิ้นพระชนมชีพ ข้าพระองค์ก็จะได้เสวยแต่ความทุกขเวทนาไปจนกาลอายุปริจเฉท เพราะเหตุฉนี้ ข้าพระองค์จึงได้มีความยินยอมพร้อมใจ จะใคร่เปนภริยาแห่งโกโกกะอำมาตย์ ขอพระองค์จงอย่าได้พิฆาฏเสียให้สิ้นชีพเลย จะเปนความทุกข์อันยิ่งใหญ่ซึ่งจะมีซ้ำมาใหม่แก่ข้าพระองค์ ขอจงได้ทรงพระกรุณายกโทษไว้สักครั้งหนึ่ง เทอญ

เอวํ วุตฺเต เมื่อนางกติจฉกากราบทูลวิงวอนอยู่ฉนี้ พระเจ้าชีปนาธิบดีจึงดำรัสว่า การซึ่งจะไม่พิฆาฎฆ่าผู้ทำให้พระราชโอรสเปนอันตราย เปนการล่วงข้ามเสียซึ่งกฎหมายสำหรับพระนครดูมิควรการ เรามิสามารถจะพระราชทานโทษอันนี้ได้

ตสฺมึ ขเณ ในขณะนั้น ส่วนว่านังกิปุระราชโอรสได้ทราบข่าวสารว่า นางกติจฉกายินยอมพร้อมใจเปนภริยาแห่งโกโกกะอำมาตย์ก็ทรงชื่นชมยินดี จึ่งชวนนางยัมมะยัมมามายังที่เฝ้าพระราชบิดา ถวายวันทนาการแล้วเฝ้าอยู่เฉพาะหน้าพระที่นั่ง แล้วกราบทูลว่า ตาต ข้าแต่พระองค์ผู้เปนพระบรมชนกนารถ ข้าพระบาทผู้เปนพระราชโอรสแห่งพระองค์ ยังดำรงชีพอยู่มาเฝ้าพระบาทณกาลบัดนี้

โส ราชปุตฺตํ ทิสฺวา ฝ่ายพระเจ้ามิกาทุรราชได้ทอดพระเนตรเห็นพระราชโอรสยังดำรงชนมชีพก็ทรงชื่นชมโสมนัศเปนกำลัง ดำรัสสั่งให้หาเข้ามาใกล้ แล้วทรงยกพระหัตถ์ปรามาศลูบพระปฤษฎางค์ พลางทรงพระกำสรดสอื้นไห้ พระราชโอรสแลนางยัมมะยัมมาผู้เปนพระสุณิสาศรีสใภ้ก็โศกาดุรพิลาป ครั้นค่อยคลายความโศกแล้ว พระเจ้ามิกาทุรราชดำรัสถามเหตุการณ์ตามที่เปนมาแต่หลัง ราชปุตฺโต ฝ่ายว่าพระราชบุตรก็กราบทูลพระราชบิดา พรรณาข้อความถี่ถ้วนทุกประการ

ราชา ตมตฺถํ สุตฺวา ครั้นเมื่อพระเจ้ามิกาทุรราชได้สดับถ้อยคำแห่งพระราชโอรส พรรณาถึงความทุกข์ยากซึ่งมีมาแต่หนหลัง ก็ทรงสังเวชสลดพระหฤทัย จึ่งดำรัสให้ยกโทษโกโกกะอำมาตย์แลบุรพาหะเสนาบดี กับทั้งนารีปีติสิหิงค์เสีย เหตุด้วยพระราชบุตรมิได้สิ้นพระชนม์เช่นกราบทูลแต่หลัง เน สหวาสํ กปฺเปสิ จึ่งดำรัสสั่งให้โกโกกะอำมาตย์กับนางกติจฉกาสำเร็จความอยู่เปนภริยาสามีกันตามประสงค์ แล้วพระองค์ก็ให้ตกแต่งมรรคา ดาษดาไปด้วยธงชัยธงประฎากดุจวันนักขัตฤกษ์อันใหญ่ แล้วก็ให้รับนางยัมมะยัมมาอันเปนสุณิสาศรีสใภ้ ขึ้นสู่สีวิกากาญจน์แห่ห้อมด้วยอเนกบริวาร พระองค์ก็เสด็จเลิกพยุหโยธาทัพกลับคืนยังสถานโตกิยะราชธานี แล้วให้ตั้งการพระราชพิธีวิวาหมงคลอภิเศกพระราชโอรสกับนางยัมมะยัมมา ให้มีการมหรศพนา ๆ เนกประการ แล้วก็เสด็จเสวยสมบัติสำราญพระหฤทัย อยู่ในกรุงโตกิยะราชธานีแว่นแคว้นแดนชีปนะทวีป ด้วยประการฉนี้

พระคันถรจนาจารย์ ผู้เรียบเรียงพระคัมภีร์ หริสตนฺลีโอพร เมื่อได้แสดงนิทานวจนะจบลงแล้ว จึ่งได้กล่าวคาถาลงไว้ในท้ายนิทานนี้ว่า

อาทิโต ยาว โอสานา อเนกาการสฺหิตํ
วิทิตฺวาน อิมํ วตฺถุํ สาตฺถานตฺถฺจ ตตฺตโต
ตสฺสตฺถํ สาธนตฺถาย สุณนฺตุ ภาสิตํ อิมํ
ลาเภ ยเส ปสํสายํ สุเข จ อิฏฺภาคิเย
ติพฺพาสาว ปวตฺตนฺติ โลกสมึ โลกิยา นรา
อลาภาย สนินฺทาสุ ทุกฺเข จานิฏฺภาคิเย
นิพฺพิณฺณาว น อิจฺฉนฺติ เอสา โลกสฺส ธมฺมตา
ตถา อิฏฺํ อธิคนฺตุํ อนิฏฺ ฺจ อเปตเว
ปิเหนฺติ ปริสปฺปนฺติ สพฺเพ นราธ โลกิกา
ตณฺหุปาทานสมฺภูตา ตณฺหุปาทานปจฺจยา
เตสํ อิจฺฉา สมุปฺปนฺนา จิตตํ เตสํ ปสยฺหติ
เอวฺหิ ติพฺพราสาว อิฏฺานิฏฺเสุ กามกา
อตฺตโน จ ปเรสฺจ สุขทุกฺขูปทายกํ
นานากิจฺจํ ปโยเชนฺติ วตฺถุมฺหิ ทีปิตํ ยถา
ยฺจ หิตฺจ สาธุฺจ ยฺจาหิตํ อสาธุกํ
สพฺพเมว วิจาเรตฺวา โสตวนฺโต สุพุทฺธิกา
สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสนฺติ หิตาหิตฺจ ตตฺตโต
ทุกฺขา มุจฺจนกิจฺจํ ยํ ยฺจ กิจฺจํ สุขาวหํ
เตสํ มคฺคํ วิจาเรตฺวา ปฏิปชฺชนฺติ มชฺฌโต
ทุจฺจริตานุคํ จิตฺตํ อติจฺฉฺจาปิ สาธุกํ
อปฺปมาเทน วิขมฺเภตวา สมํ จิตฺตํ กโรนฺติ เต
อติจฺฉาย ปิเหนฺเตหิ อิฏฺเ อิจฺฉานุเคหิ จ
อนิฏฺา โมจนตฺถาย อากงฺขนฺเตหิ สพฺพทา
ยถิจฺฉํ อิชฺฌนตฺถาย ยุฺชนฺเตหิ อเนกธา
อตฺตโน จ ปเรสฺจ กตํ ปจฺฉานุตาปนํ
ทุกฺขโทสภยานฺจ สพฺพถา คมนฺชสํ
ยถาวุตฺตํ นิโยเชนฺตา ปปฺโปนฺติ กิตฺตกํ สุขํ
อากาเรน สเมเนว มชฺฌตฺตํ ปฏิปนฺนกา
สุนฺทรํ อธิคจฺฉนฺติ สุขํ โมทํ พหุตฺตรํ
ตสฺมา สาธุชนาเนกา ปณฺฑิตา อตฺถทสฺสิโน
อิมํ วตฺถุํ สุณิตฺวาน วิทิตฺวา จ ตทตฺถโต
โปราณกมนุสฺสานํ ปุพฺพาจิณฺณํ ยถา กถํ
สาวชฺชฺจานวชฺชฺจ มิจฺฉาสมฺมาปโยชนํ
สุขุมโต อเวกฺขิตฺวา ยุตฺตายุตฺตฺจ ยุตฺติโต
ทฬฺหํ มนสิ กาตพฺพํ ยถา สาธุฺจ สาธุกํ
ยํ ปสฺเส สุกตํ สาธุํ ยฺจานวชฺชกํ กตํ
สทา ตนฺตํ ยถาโยคํ เอกํเสน ปโยชเย
สพฺพิฏฺลาภกามสฺมึ อนิฏฺปริวชฺชเน
ปวตฺตาติจฺฉสมฺภูต- โทสาติกฺกมิตุํ นโร
มชฺฌโตเยว อตฺตานํ ปติฏฺาเปยฺย ปณฺฑิโต
อตฺตโน สุขมาเนตุํ ยํเว สมตฺถมายตึ ๚
อาทิโต ยาว โอสานา อเนกาการสฺหิตํ
วิทิตฺวาน อิมํ วตฺถุํ สาตฺถานตฺถฺจ ตตฺตโต

บัณฑิตยชนทั้งหลายได้รู้แจ้งซึ่งนิทานเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง อันประกอบด้วยอาการต่าง ๆ สังเกตกำหนดรู้อาการที่เปนประโยชน์แลไม่เปนประโยชน์ ตามท้องเรื่องนิทานโดยถ่องแท้แล้ว

ตสฺสตฺถํ สาธนตฺถาย สุณนฺตุ ภาสิตํ อิมํ

ขอจงสดับภาสิตนี้ เพื่อจะชักสาธกเนื้อความของเรื่องนั้นต่อไป

ลาเภ ยเส ปสํสายํ สุเข จ อิฏฺภาคิเย
ติพฺพาสาว ปวตฺตนฺติ โลกสฺมึ โลกิยา นรา

อันว่านรชาติทั้งหลายผู้เปนโลกิยชนในโลกนี้ย่อมมีความปราถนาอันแรงกล้าที่จะใคร่ได้ประสบลาภแลยศ ความสรรเสริญแลความสุข

อลาภาย สนินฺทาสุ ทุกฺเข จานิฏฺภาคิเย
นิพฺพิณฺณาว น อิจฺฉนฺติ เอสาโลกสฺส ธมฺมตา

เบื่อหน่ายไม่พอใจในการที่จะขาดลาภแลยศแลต้องนินทาประสบความทุกข์ทั่วหน้า ข้อนี้เปนธรรมดาของโลก

ตถา อิฏฺํ อธิคนฺตุํ อนิฏฺฺจ อเปตเว
ปิเหนฺติ ปริสปฺปนฺติ สพฺเพ นราธ โลกิกา

เมื่อเปนเช่นนั้นย่อมเกิดความทยานดิ้นรนเพื่อจะประสบพบสิ่งที่พึงใจ แลจะหลีกให้พ้นสิ่งซึ่งตนไม่ปราถนา

ตณฺหุปาทานสมฺภูตา ตณฺหุปาทานปจฺจยา
เตสํ อิจฺฉา สมุปฺปนฺนา จิตฺตํ เตสํ ปสยฺหติ

ความอยากของนรชาติทั้งหลายเหล่านี้ อันตัณหาแลอุปาทานให้เกิดขึ้นพร้อมแล้วมีตัณหาแลอุปาทานเปนปัจจัย เกิดขึ้นพร้อมแล้ว จึ่งครอบงำจิตรให้เปนไปในอำนาจแห่งความทยานอยากดิ้นรนนั้น

เอวฺหิ ติพฺพราสาว อิฏฺานิฏฺเสุ กามกา

เพราะเหตุที่นรชาติทั้งปวงมีความปราถนาอันแรงกล้าในสิ่งที่พึงปราถนาแลไม่พึงปราถนาฉนี้

อตฺตโน จ ปเรสฺจ สุขทุกฺขูปทายกํ
นานากิจฺจํ ปโยเชนฺติ วตฺถุมหิ ทีปิตํ ยถา

จึงได้ประกอบกิจต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่ตนแลผู้อื่นเปนเหตุ ให้ได้สุขบ้างทุกข์บ้าง ดังนิทานซึ่งได้แสดงมาฉนี้

ยฺจ หิตฺจ สาธุฺจ ยฺจาหิตํ อสาธุกํ

กิจอันใดที่ดีทำประโยชน์ให้สำเร็จได้ แลกิจที่เลวทรามไม่อาจทำประโยชน์ให้สำเร็จได้ก็ดี

สพฺพเมว วิจาเรตฺวา โสตวนฺโต สุพุทฺธิกา
สมฺมปฺฺาย ปสฺสนฺติ หิตาหิตฺจ ตตฺตโต

บัณฑิตยชาติผู้ได้สดับตรับฟังมาแล้ว ได้พิจารณาดูกิจทั้งปวงนั้นทั่วถึงแล้ว ย่อมเหนได้ตามความเปนจริงด้วยปัญญาอันชอบ

ทุกฺขา มุจฺจนกิจฺจํ ยํ ยฺจ กิจฺจํ สุขาวหํ
เตสํ มคฺคํ วิจาเรตฺวา ปฏิปชฺชนฺติ มชฺฌโต

กิจใดที่อาจจะให้ผู้ประพฤติพ้นจากความทุกข์ก็ดี กิจใดที่อาจจะนำความสุขมาให้แก่ผู้ประพฤติก็ดี ก็ย่อมพิจารณาตรวจดูหนทางของกิจนั้น ๆ แล้วปฏิบัติโดยสถานกลาง

ทุจฺจริตานุคํ จิตฺตํ อติจฺฉฺจาปิ สาธุกํ
อปฺปมาเทน วิขมฺเภตวา สมํ จิตฺตํ กโรนฺติ เต

จิตรที่ไปตามความทุจจริตฤๅจิตรที่ทำประโยชน์ให้สำเร็จ แต่เปนไปตามความปราถนามากก็ดี บัณฑิตยชาติเหล่านั้นย่อมข่มเสียได้ด้วยความไม่ประมาท แล้วแลทำจิตรให้เสมออยู่ มิได้พิโรธในความทุกข์แลอนุโรธในความสุข ตั้งจิตรเปนอุเบกขา

อติจฺฉาย ปิเหนฺเตหิ อิฏฺเ อิจฺฉานุเคหิ จ
อนิฏฺา โมจนตฺถาย อากงฺขนเตหิ สพฺพทา

ผู้ที่ทยานใจเพราะความปราถนามาก แลผู้ที่ไปตามความปราถนาในอิฏฐารมณ์ จำนงหวังเพื่อจะพ้นจากอนิฏฐารมณ์อยู่ในการทั้งปวง

ยถิจฺฉํ อิชฺฌนตฺถาย ยุฺชนฺเตหิ อเนกธา
อตฺตโน จ ปเรสฺจ กตํ ปจฺฉานุตาปนํ

ผู้นั้นประกอบเพื่อความสำเร็จตามความปราถนาอยู่โดยอเนกประการ ก็ประพฤติกิจที่ชั่วมีประการต่าง ๆ ซึ่งเปนเครื่องเร่าร้อนตามเมื่อภายหลังแก่ตนแลผู้อื่น

ทุกฺขโทสภยานฺจ สพฺพถา คมนสํ
ยถาวุตฺตํ นิโยเชนฺตา ปปฺโปนฺติ กิตฺตกํ สุขํ

แลเปนทางเครื่องทำตนและผู้อื่นให้ถึงทุกข์โทษภัยโดยประการทั้งปวง ผู้ที่ประพฤติกิจชั่วดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ไม่ถึงความสุขสักเพียงใด

อากาเรน สเมเนว มชฺฌตฺตํ ปฏิปนฺนกา
สุนฺทรํ อธิคจฺฉนฺติ สุขํ โมทํ พหุตฺตรํ

ส่วนบัณฑิตยชาติผู้ปฏิบัติตนเปนปานกลางโดยอาการอันเสมอเหล่านั้น ย่อมบันลุความสุขความบันเทิงใจที่ดียิ่ง มากกว่าความสุขที่ผู้ประพฤติชั่วเหล่านั้นบันลุถึง

ตสฺมา สาธุชนาเนกา ปณฺฑิตา อตฺถทสฺสิโน
อิมํ วตฺถุํ สุณิตฺวาน วิทิตฺวา จ ตทตฺถโต

เหตุการณะดังนั้น สาธุชนผู้ดำเนินด้วยปรีชาเปนอันมาก ซึ่งเปนผู้เห็นอำนาจแห่งประโยชน์ เมื่อได้สดับความตามนิทานโอพระนี้ แลมีความรู้จริงเห็นแจ้งในเนื้อความเปนจริงแล้ว

โปราณกมนุสฺสานํ ปุพฺพาจิณฺณํ ยถากถํ
สาวชฺชฺจานวชฺชฺจ มิจฺฉา สมฺมาปโยชนํ

ความประพฤติที่โบราณกะชนได้ประพฤติมาแล้วแต่ในกาลก่อน ที่มีคุณและโทษชอบแลผิดประการใด

สุขุมโต อเวกฺขิตฺวา ยุตฺตายุตฺตฺจ ยุตฺติโต
ทฬฺหํ มนสิ กาตพฺพํ ยถา สาธุฺจ สาธุกํ

ควรจะพิจารณาดูให้ลเอียดให้ควรแก่การที่จะเปนได้แล้วทำไว้ในใจให้มั่นว่า ประพฤติอย่างไรเปนความดีที่ควรประกอบ ประพฤติอย่างไรไม่เปนความชอบที่ควรประพฤติ

ยํ ปสฺเส สุกตํ สาธุํ ยฺจานวชฺชกํ กตํ
สทา ตนฺตํ ยถา โยคํ เอกํเสน ปโยชเย

เมื่อได้เห็นว่ากิจใดเปนการดีไม่มีโทษแล้ว ควรประพฤติแต่กิจนั้นถ่ายเดียว

สพฺพิฏฺลาภกามสฺมึ อนิฏฺปริวชฺชเน
ปวตฺตาติจฺฉสมฺภูต- โทสาติกฺกมิตุํ นโร

ให้พ้นจากโทษที่จะเกิดขึ้นเพราะความปราถนายิ่งปราถนาเกิน ซึ่งเปนไปในความใคร่เพื่อจะได้อิฏฐารมณ์ทั้งปวง แลเปนไปในความปราถนาที่จะหลีกจากอนิฏฐารมณ์

มชฺฌโตเยวอตฺตานํ ปติฏฺาเปยฺย ปณฺฑิโต
อตฺตโน สุขมาเนตุํ ยํเว สมตฺถมายตึ

พึงตั้งตนไว้ในสถานกลาง ซึ่งเปนทางที่อาจจะนำความสุขอันประเสริฐมาให้แก่ตนภายหน้าด้วยประการฉนี้

วิสัชนามาในหริสตนฺลีโอพร สิ้นเนื้อความเพียงเท่านี้ เอวังก็มี ด้วยประการฉนี้

----------------------------

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ