๒๖๒ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีขาลอัฐศก

มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศแก่ชนทั้งปวง บรรดาที่นับถือพระพุทธสาสนา แลธรรมเนียมปีเดือนวันคืน อย่างเช่นใช้ในเมืองไทยให้ทราบทั่วกันว่า ในปีขาลอัฐศกนี้ วันพุธเดือนห้าแรม ๑๑ ค่ำ เปนวันมหาสงกรานต์ พระอาทิตย์จะขึ้นราษีเมษในเวลา ๗ ทุ่มกับ ๓๖ นาฑี วันพฤหัสบดี วันศุกร เดือน ๕ แรม ๑๒ ค่ำ แรม ๑๓ ค่ำ เปนวันเนา วันเสาร์เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ เปนวันเถลิงศก ขึ้นศักราชใหม่ ๑๒๒๘ ในวันศุกรเวลา ๑๑ ทุ่มกับ ๔ นาฑี ๑๒ วินาฑี วันเสาร์เปนหน้าวันนั้นต้องว่าวันเถลิงศก เพราะคัมภีร์โหรนับต้นวันแต่เที่ยงคืนก่อนเช้านั้น เพราะฉนั้นในปีนี้ การทำบุญแลเล่นนักษัตรฤกษ์สงกรานต์เปน ๔ วันตามเคยมีมาแต่ก่อนในลางปี

ปีนี้สงกรานต์นามกรอย่างไร ทรงพาหนะอะไร ภักษาหารอะไร ถืออะไร จะว่ามาก็ไม่ต้องการ ใครจะใคร่ทราบก็มาดูรูปที่แขวนไว้ในพระบรมมหาราชวังเทอญ

ลักษณะจดหมายวันคืนเดือนปีใช้ดังนี้ คือเดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำ จดหมายลงชื่อปีในที่ทั้งปวง ให้ว่าปีขาลยังเปนสัป๑๕ตศก ถ้าจดจุลศักราชด้วยให้วางเปน ๑๒๒๗ อยู่ ตั้งแต่วันเสาร์เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ ไปถึงวันพฤหัสบดีเดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ ซึ่งเปนวันตรุษสุดปีขาลนี้ให้ใช้ว่าปีขาลอัฐศก ลงเลขจุลศักราชว่า ๑๒๒๘ แก้เลข ๑๕ ตามปีแผ่นดินซึ่งเขียนไว้บนศกนั้น เมื่อเปลี่ยนอั๑๖ฐศกแล้ว ให้เขียนเลข ๑๖ ไปกว่าจะเปลี่ยน๑๖ศกใหม่เถิด

ในปีขาลอัฐศกนี้ วันจันทร์เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ วันหนึ่ง วันอาทิตย์เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำวันหนึ่ง เปนวันประชุมถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

วันศุกรเดือน ๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เปนวันจะได้ทำพระราชพิธีจรดพระนังคัล ให้ราษฎรลงมือทำนาภายหลังวันนั้น คือตั้งแต่วันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำไป ห้ามมิให้ลงมือทำนาก่อนนั้นเข้ามาตลอดพระราชอาณาเขตร ฤๅในวันศุกรเดือน ๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำนั้น จะทำได้แต่แรกนากรุงเก่าแห่งเดียว

วันวิสาขบูชาที่ถือตามธรรมเนียมในพระอรรถกถา ว่าเปนวันประสูติแลได้ตรัสรู้แลปรินิพพานของพระพุทธเจ้านั้น ปีนี้นักษัตรฤกษวิสาขบุรณมีไม่มีในเดือน ๖ เพราะเดือนนั้นวันเพ็ญไม่ถึงฤกษวิสาข จะไปได้ฤกษวิสาขบุรณมีต่อวันอังคารเดือน ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ในกลางเดือน ๖ นั้นมีแต่ราชการฉัตรมงคล คือในพระบรมมหาราชวังนี้ จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท วันเสาร์เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ วันอาทิตย์เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม วันจันทร์เดือน ๖ แรมค่ำหนึ่ง เปนการมงคลสำหรับพระราชวังตามปี

ในปีขาลอั๑๖ฐศกนี้ มีอธิกมาสๆ ตกในเดือน ๕ แต่ให้เรียกเดือน ๘ เปนสองหน เปนเดือนถ้วนทั้งสองเดือนตามเคย

เมื่อเขียนเลขครุเดือน ๘ ก่อน ให้เขียนเลข ๘ เลขเดียวแล้วกาหมายไว้ข้างล่างดังตัวอย่างนี้    ให้รู้ว่ามีเดือน ๘ หลัง ในเดือน ๘ หลังนั้นเลข ๘ เปนสองตัวซ้อนกันไว้ท้ายครุดังตัวอย่างนี้ เถิด

ใน ๑๙ ปีมีอธิกมาส ๗ ครั้ง จัดเปนระยะๆ เปนอัตราเสมอไป คือนับตั้งแต่ปีกำหนดว่าเปนต้นอย่างปีชวด๑๔ฉศกไป อธิกมาสมีในปีที่ ๓ ที่ ๖ ที่ ๙ ที่ ๑๑ ที่ ๑๔ ที่ ๑๗ ที่ ๑๙ ว่าโดยย่อย่นเข้า ก็ควรว่าอธิกมาสในปีที่ ๓ เว้น ๒ ปีบ้าง มีในปีที่ ๒ เว้นปีหนึ่งบ้าง ที่ว่าเว้นสามปี ๆ จึงจะมีอธิกมาสครั้งหนึ่งนั้น เปนคำชาววัดๆ เถนๆ ไม่รู้จักอะไรไม่ควรเชื่อฟัง เคยใช้อย่างนี้แต่โบราณมาอย่าสนเท่ห์เลย

ในปีขาลอั๑๖ฐศกนี้ วันเสาร์เดือน ๘ อุตราษาฒ แรมค่ำหนึ่งเปนวันเข้าปุริมพรรษา วันอาทิตย์เดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำเปนวันเข้าปัจฉิมพรรษา เพราะเดือนนั้นจะเปนวันเพ็ญ แต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำ วันพฤหัสบดีเดือน ๑๑ ขึ้น ๙ ค่ำ เปนวันเฉลิมพระชนม์พรรษาในพระบรมมหาราชวัง ตามกำหนดสุริยคติกาล

วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้นค่ำหนึ่ง เปนวันพระราชพิธีจองเปรียงยกโคม วันอาทิตย์เดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำ เปนวันลดโคม ให้พระราชวงศานุวงศ์ แลข้าทูลลอองธุลีพระบาท แลราษฎรบรรดาซึ่งจะยกโคมลดโคม รู้แล้วทำตามกำหนดนี้

วันศุกรเดือน ๑๒ แรมค่ำหนึ่ง เปนวันชีพ่อพราหมณ์จะได้ทำพระราชพิธีกฤติเกยาณหอพระเทวสถาน

ถ้าจะทำพิธีมาฆบูชาในปีนี้ ตกในวันจันทรเดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ชีพ่อพราหมณ์จะได้ทำพิธีศิวาราตรีในหอพระเทวสถานด้วย

พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน ๒ ครั้ง คงทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ แลขึ้น ๔ ค่ำ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตามเคยทุกปี

แลพระราชพิธีคงทำในวันแรม ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ๓ ราตรี ให้เปนการเสร็จในวันขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ลอยพระประทีปในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แรมค่ำหนึ่งทั้งเดือน ๑๑ แลเดือน ๑๒ เปน ๖ วัน

พระราชพิธีตรียัมพวายเริ่มแต่วันขึ้น ๗ ค่ำเดือนยี่ ไปจนวันแรมค่ำหนึ่ง เดือนยี่ ๑๐ ราตรี แลพระราชพิธีตรียัมพวายเริ่มแต่วันแรมค่ำหนึ่งเดือนยี่ไป การเปนเสร็จต่อวันแรม ๕ ค่ำเดือนยี่ ๕ ราตรี

แลพระราชพิธีสัมพัจฉรฉิน คงทำแต่วันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ไป ๔ ราตรี ๕ วัน การเปนเสร็จในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ตามเคยเหมือนอย่างทุกปี ยั่งยืนไม่ยักเยื้อง

ในปีขาลอั๑๖ฐศกนี้ วันพฤหัสบดีเปนวันธงไชย วันอังคารเปนวันโลกาวินาศ วันพุธเปนวันอุบาสน์ วันอาทิตย์เปนวันอธิบดี

อนึ่งวันอุโบสถ เปนที่รักษาอุโบสถศีลแลทำมหาธรรมสวนะ ซึ่งผิดกับวันที่นับว่าวันอุโบสถ ฤๅวันพระตามเคย รู้ด้วยกันในชาวสยามทั้งปวงนั้น ในปีขาลอั๑๖ฐศกนี้ มี ๑๒ วัน คือวันศุกรแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือน ๘ อุตราษาฒ วันเสาร์ขึ้น ๗ ค่ำ ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันอาทิตย์แรม ๗ ค่ำ ในเดือน ๙ วันจันทร์แรม ๑๔ ค่ำ ในเดือน ๑๐ วันอังคารขึ้น ๗ ค่ำ แลขึ้น ๑๔ ค่ำวันพุธแรม ๗ ค่ำ ในเดือน ๑๑ วันศุกรขึ้น ๑๔ ค่ำ แลวันเสาร์แรม ๗ ค่ำ ในเดือนอ้าย วันจันทร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ แลวันอังคารแรม ๗ ค่ำ ในเดือน ๓ รวม ๑๒ วันเท่านี้ เปนวันรักษาอุโบสถแลมหาธรรมสวนะโดยตรง นอกจาก ๑๒ วันดังว่านี้แล้ว ก็คงต้องในวันตามเคย คือวันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แลแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำ ในเดือนถ้วน ฤๅแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาดทุกเดือน ตลอดชั่วปีคงที่ต้องกันอยู่ วันศุกรเดือน ๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำ พระอาทิตย์เวลาเที่ยงตรงศีร์ษะ ประเทศบางกอกขาขึ้นไปเหนือ วันพฤหัสบดี เดือน ๘ ปฐมาษาฒ ขึ้น ๙ ค่ำ พระอาทิตย์เที่ยงสุดทางเหนือจะกลับลงใต้ เปนอายันตสงกรานต์เหนือเข้าวัสสันตฤดู วันจันทร์เดือน ๘ ปฐมาษาฒ แรม ๕ ค่ำดวงพระอาทิตย์เปนเล็กที่สุด เพราะขึ้นอุจเปนสฏสีติ ฤๅพสุสงกรานต์เหนือ วันพฤหัสบดีเดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ พระอาทิตย์เที่ยงตรงศีร์ษะ ประเทศบางกอกขาลงไปใต้ วันอาทิตย์เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พระอาทิตย์เที่ยงถึงกึ่งกลางทางที่โอนไปเหนือไปใต้ เปนสามัญสงกรานต์ เข้าสารทรดูวันศุกรเดือนอ้ายขึ้น ๑๔ ค่ำ พระอาทิตย์เที่ยงสุดทางใต้ เข้าสิสิรรดู วันอังคารเดือนอ้ายแรม ๑๐ ค่ำ พระอาทิตย์ดวงโตที่สุด เพราะตกนิตย์เปนสฏสีติสงกรานต์ หรือพสุสงกรานต์ใต้ วันนั้นเรียกว่าสงกรานต์ฝรั่ง เพราะศักราชฝรั่งขึ้นเปน ๑๘๖๗ ว่านี้พอให้คนใกล้ๆ ฝรั่งได้รู้ ผู้ว่าจะได้ถือศาสนาฝรั่งหาไม่ วันพุธเดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ พระอาทิตย์เที่ยงขึ้นมาถึงกึ่งกลางทางที่จะโอนไปเหนือไปใต้ ชื่อสามัญสงกรานต์ เข้านิทาฆะรดู อนึ่งวันเวลาพระอาทิตย์ยกเปลี่ยนขึ้นราศีใหม่ ซึ่งเรียกว่าสงกรานต์เดือน ในปีขาลอัฐศกนี้ พระอาทิตย์ขึ้นราศีเมษตั้งแต่วันพุธเดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำ เวลา ๗ ทุ่มกับ ๓๖ นาฑีอยู่จนวันเสาร์เดือน ๖ แรม ๑๓ ค่ำ เวลาค่ำแล้ว ๔ ทุ่มกับ ๔๘ นาฑี ในเดือนนี้ วันขึ้น ๖ ค่ำ วันแรม ๖ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปอยู่ราศีพฤศภจนวันพุธเดือน ๘ ขึ้นค่ำหนึ่ง เวลาเช้า ๓ โมงกับ ๓๖ นาฑี ในเดือนนี้ วันขึ้น ๔ ค่ำ แรม ๔ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปราศีเมถุนจนวันเสาร์เดือน ขึ้นสองค่ำ เวลาสองยามในเดือนนี้วันขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปอยู่ราศีกรกฎจนวันเดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ เวลาบ่าย ๒๔ นาที ในเดือนนี้ วันขึ้น ๖ ค่ำ วันแรม ๖ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ ยกไปสู่ราศีสิงห์ จนวันเสาร์เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่ำ เวลาบ่าย ๒ โมงกับ ๔๘ นาที ในเดือนนี้วันขึ้น ๑๐ ค่ำวันแรม ๑๐ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปอยู่ราศีกันย์ จนวันจันทร์เดือน ๑๑ ขึ้น ๖ ค่ำ เวลา ๘ ทุ่ม ในเดือนนี้วันขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ เปนวันดิถีมหาสูญแล้วยกไปอยู่ราศีตุลย์ จนวันพุธเดือน ๑๒ ขึ้น ๗ ค่ำ เวลา ๒ ยามกับ ๒๔ นาฑี ในเดือนนี้วันขึ้น ๑๒ ค่ำ แรม ๑๒ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปอยู่ราศีพิจิก ในวันศุกรเดือนอ้ายขึ้น ๗ ค่ำเวลาบ่าย ๒๔ นาฑี ในเดือนนี้วันขึ้น ๑๐ ค่ำ แรม ๑๐ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปอยู่ราศีธนู จนวันเสาร์เดือนยี่ขึ้น ๗ ค่ำ เวลาบ่าย ๒ ทุ่มกับ ๒๔ นาฑี ในเดือนนี้ วันขึ้น ๒ ค่ำ วันแรม ๒ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปอยู่ราศีมังกร จนวันจันทร์เดือน ๓ เวลาย่ำรุ่ง ในเดือนนี้ วันขึ้น ๑๒ ค่ำ แรม ๑๒ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปอยู่ราศีกุมภ์ จนวันอังคารเดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ เวลา ๒ ยาม ในเดือนนี้วันขึ้น ๔ ค่ำ แรม ๔ ค่ำ เปนดิถีมหาสูญ แล้วยกไปอยู่ราศีมิน จนวันศุกรเดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีเถาะยังเปนอัฐศกอยู่ ในเดือนนี้วันขึ้น ๒ ค่ำแรม ๒ ค่ำเปนดิถีมหาสูญ แลซึ่งกล่าวมานี้เพื่อจะให้ท่านทั้งปวงได้รู้เทียบเคียงน้ำฝน แลน้ำมากน้ำน้อย ในปีหลังกับปีประจุบันนี้เปนประโยชน์ เพราะการซึ่งจะเทียบเคียงนั้น จะคิดแต่ง่ายๆ สั้นๆ แต่เพียงเดือนต่อเดือน คือเดือน ๗ เดือน ๘ ในปีหลังมาเทียบเคียงกับเดือน ๗ เดือน ๘ ในปีนี้ แลเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ ในปีหลังมาเทียบเคียงกับเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ ในปีนี้ ดังนี้จะเปนแน่ไม่ได้ ต้องเทียบเดือนตามระยะพระอาทิตย์ยกดังกล่าวแล้ว จึงจะแน่ได้

ท่านผู้ต้องการจะหาฤกษดีวันดี เมื่อรู้วันพระอาทิตย์ยกเปนวันห้ามการมงคลทั้งปวงแล้ว จะได้หลีกเลี่ยงเสียแลจะได้ประพฤติการมงคลในวันอื่นๆ นอกจากวันดังว่านี้

ว่าตามอธิกมาส โดยอธิกมาสตก ในปีขาลอัฐศกนี้ อธิกมาสตกในเดือน ๕ นึกว่าเหมือนเดือน ๕ เปนสองหน ผู้จะหาฤกษหายามที่ต้องการให้ถูกแท้ จะต้องคิดว่าเดือน ๖ เหมือนเปนเดือน ๕ เพราะวันเพ็ญเดือน ๖ พระจันทร์ยังไม่ถึงวิสาขนักษัตรฤกษ กระทำวิสาขบูชาก็ยังหาชอบไม่ ต่อวันเพ็ญเดือน ๗ จึงได้วิสาขนักษัตรฤกษควรทำวิสาขบูชา ว่าตามตำราที่แท้ อธิกมาสปีนี้ เหมือนหนึ่งเดือน ๕ สองหน เดือน ๗ มีนักษัตรฤกษเหมือนเดือน ๖ เดือน ๘ มีนักษัตรฤกษเหมือน ๗ ต่อเดือน จึงจะตรงเปนเดือน ๘ แท้ แต่อย่างธรรมเนียมลัทธิในสยามประเทศนี้ แลเมืองอื่นๆ เปนอันมาก บรรดาที่ใช้เดือนตามทางพระจันทร์แต่โบราณมา ดูทวีที่จะเห็นว่านักษัตรฤกษอื่นไม่สำคัญมากนัก สำคัญอยู่แต่วันเข้าพรรษามากกว่านักษัตรฤกษอื่น ก็ถ้าจะเรียกชื่อเดือนเปนสองซ้อนสองหน ในเดือนต่างๆ ที่อธิกมาสตก ก็จะเปนที่คนชาวบ้านชาวเมืองโง่เขลาจะจำยากไป จึงเรียกชื่อเดือนซ้ำเปนสองหนฉเพาะแต่ในเดือน ๘ ทุกคราวอธิกมาส เพื่อจะมิให้คลาดวันเข้าพรรษา ผู้ซึ่งจะหาฤกษงามยามดีให้ถูกต้องแท้ จงผ่อนผันดูแลราศีพระอาทิตย์ แลฤกษพระจันทร์ตามปฏิทินโหรให้สมควรเถิด

วันจันทร เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาลอัฐศก ศักราช ๑๒๒๘ แต่เวลาพลบค่ำไปจะเห็นขอบพระจันทรหมองอยู่ข้างทิศบูรพา เยื้องอิสาณ ครั้นถึงเวลา ๗ นาฬิกากับ ๑๐ นาฑีแต่เที่ยง คือใกล้เวลาทุ่มหนึ่ง จึงจะเห็นพระจันทร์ขาดขอบเปนแหว่งแท้ ต่อเวลา ๘ นาฬิกากับ ๙ นาฑีแต่เที่ยงคือเวลา ๒ ทุ่ม กับบาทหนึ่ง พระจันทร์จะเปนสรรพคราธสิ้นดวง ครั้นเวลา ๘ นาฬิกากับ ๓๖ นาฑีแต่เที่ยง คือยามหนึ่งกับ ๖ บาท พระจันทร์จึงคลายเห็นดวงออกมาข้างทิศหรดี ต่อเวลาตี ๑๐ นาฬิกากับ ๓๕ นาฑีแต่เที่ยง คือ ๔ ทุ่มกับ ๖ บาท พระจันทรจึงจะเปนโมกษบริสุทธิ์บริบูรณ์เต็มดวงแต่จะหมองไป

วันอังคาร เดือน ๓ แรม ๑๔ ค่ำ ปีขาลอัฐศก ก็เปนคราวจะมีสุริยุปราคา แต่ยังหาได้คำณวนเลอียดทันเวลาลงพิมพ์ไม่ แคลงอยู่ว่าจะไม่เห็นที่กรุงเทพฯ ด้วยหวุดหวิดอยู่ ถ้าจะเห็นก็เล็กน้อย เวลาบ่ายโมงเศษฤๅ ๒ โมงยังไม่ได้ทำเลขเลอียดเลย

วันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีขาลอัฐศก จะมีจันทรุปราคาจะจับแต่ในเวลาบ่าย ไม่เห็นเมื่อจับจะเห็นต่อเมื่อเวลาจะปล่อยจะคลายในเวลาทุ่มหนึ่งเขามา ยังหาได้ทำเลอียดไม่ เมื่อทำเลอียดได้ความว่าเปนคราธอย่างไร จะปล่อยจะคลายกันเวลาไร จึงจะลงพิมพ์ประกาศมาครั้งหลัง ราชการอื่นๆ มากไม่มีช่องจะคำณวนเลย จะให้โหรคำณวนก็หยาบนักเอาแน่ไม่ได้

วันจันทร์ เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ เวลา ๕ ทุ่มเศษเกือบ ๒ ยามวันหนึ่ง วันอาทิตย์เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำเวลา ๘ ทุ่มเศษวันหนึ่ง ในสองวันนี้ ดาวพระเสาร์จะเข้าในพระจันทรเปนแน่ เข้ามาในด้านตวันออกแล้วจะออกไปด้านตวันตก ใครๆ ได้เห็นแล้วอย่าตื่นถามพูดซุบซิบกันไปต่างๆ สำคัญผิดๆ เพราะเปนคราวดาวเดือนเดินตรงทางร่วมกันก็บังกันโดยธรรมดาอย่างนั้นเองไม่เปนเหตุการอะไร

เมื่อวันคืนเดือนปีล่วงไปๆ ดังนี้ อายุของมนุษย์ทั้งปวงในโลกครั้งนี้ประมาณ ๘๐ ปีแลต่ำลงมากว่านั้นก็หมดไปสิ้นไป ใกล้ต่อเวลาที่จะถึงแก่ความตายเข้าไปทุกวันๆ สั้นเข้าไปทุกเวลา ความตายไม่เลือกหน้าว่าผู้ใด เปนคนจนคนมีผู้ดีแลไพร่ชาวบ้านชาววัด ไม่ล่วงพ้นจากความตายได้เลย ก็แลสัตว์ทั้งปวงมนุษย์ทั้งปวงย่อมรักชีวิตหมดด้วยกัน กลัวตายไม่อยากตายเปนธรรมดา ถึงกระนั้นก็ไม่ล่วงความตายไปได้ตามปราถนา ชีวิตของมนุษย์ทั้งปวงของสัตว์ทั้งปวงน้อยนักน้อยหนามีแต่หมดไปสิ้นไป เหมือนหนึ่งน้ำในแม่น้ำน้อยในคราวระดูแล้ง มีแต่แห้งไปหมดไปถ่ายเดียว ก็อายุของมนุษย์ทั้งหลายสัตวทั้งหลายน้อยนัก ควรที่ผู้เปนคนดีมีปัญญาจะพึงเบื่อหน่ายเกลียดชัง แล้วรีบเร่งประพฤติการดีการชอบ ที่เปนที่ตั้งสุขประโยชน์แก่กันให้มากโดยเปนการเร็วการด่วน เหมือนคนที่ศีร์ษะเพลิงไหม้ รีบร้อนหาน้ำเครื่องเย็นดับเพลิงในศีร์ษะนั้น การประพฤติชอบดี เปนคุณเปนประโยชน์แก่กันแลกัน ซึ่งสำเร็จเปนที่พึ่งพำนักของสัตว์ทั้งปวง ที่นักปราชญ์เปนอันมากเห็นว่าชอบดีพร้อมกันนั้น คือความเมตตากรุณาแลสงเคราะห์อนุเคราะห์เผื่อแผ่ความสุขให้แก่กัน ทั้งในหมู่มนุษย์แลหมู่สัตว์ แลตั้งตนไว้ให้เต็มพร้อมด้วยความดีความชอบ๑๐ อย่าง คือไม่ฆ่าสัตว์เปนให้ตาย ไม่ลักฉ้อทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดในที่ๆ ไม่ควรล่วง เปนผู้ถือสัตย์ไม่กล่าวเท็จฬ่อลวงให้ผู้อื่นหลง ไม่พูดยุยงส่อเสียดให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน ไม่พูดคำหยาบให้เจ็บร้อนใจผู้อื่น ไม่พูดเพ้อเจ้อเปล่าจากประโยชน์ ไม่มุ่งหมายอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยความมักได้ ไม่มีผูกใจเจ็บจนถึงแช่งให้ผู้นั้นตาย ย่อมตริตรองด้วยปัญญาที่ชอบ ไม่ถือมั่นตามความเห็นผิดทางดีทางชั่ว การประพฤติชอบดี ๑๐ อย่างดังว่ามานี้ เปนความดีความชอบมีสำหรับโลกตั้งอยู่เสมอ จะมีผู้ถือก็ดีไม่มีใครถือก็ดี ก็คงมีอยู่อย่างนั้นไม่แปรผันยักเยื้องเปนอย่างอื่นไปเลยเปนอันขาด

แลการฆ่าสัตว์นั้น ว่าตามพระราชบัญญัติในพระพุทธสาสนาเปนอย่างอุกฤษฐก็ปรับโทษหนักโทษเบาตามที่เปนมนุษย์เปนสัตว์ดิรัจฉาน แลห้ามมิให้ตัดฟันต้นไม้กอหญ้า ห้ามมิให้ขุดให้เผาทำแผ่นดินให้กำเริบอนุโลมตามลัทธิชนบางจำพวก ซึ่งถือกันในที่บางแห่งว่าเปนบาป เพราะถือว่าต้นไม้ว่ากอหญ้าแลแผ่นดินมีชีวิตรู้เปนรู้ตายเหมือนกัน

บางพวกถือว่า ฆ่ามนุษย์มีชาติเสมอกับตนรู้จักสุขรู้จักทุกข์เหล่าเดียวกันจึงเปนบาป ฆ่าสัตว์อื่นนอกนั้นไม่มีบาป ลัทธิคนสองพวกนี้ไม่ต้องกัน แก่งแย่งกันอยู่ดังนี้ นักปราชญ์ผู้มีปัญญาเปนอันมากใคร่ครวญเทียบเคียงดูเห็นว่า สัตว์มีชีวิตแล้วใครฆ่าก็เปนบาปสิ้น แต่ว่าสัตว์มีคุณมากบาปมาก มีคุณน้อยบาปน้อย ต้องฆ่าด้วยการขวนขวายจัดหาเตรียมการมากก็บาปมาก น้อยก็บาปน้อยโดยสมควร ในการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของหวงแหนไม่ยอมให้นั้น เมื่อว่าตามบัญญัติในพระพุทธสาสนา ก็ปรับโทษหนักโทษเบาตามสิ่งของของมนุษย์ที่มีราคามากราคาน้อยตามสมควร แต่ฝ่ายในของสัตวชาติอื่นจากมนุษย์ไม่ว่าไว้ แต่เมื่อว่าด้วยการที่ควรประพฤติทั่วไปในโลกแล้ว ผู้มีปัญญาใคร่ครวญดู ก็เห็นว่าของที่มีเจ้าของหวงแหนแล้วจะมากจะน้อยก็ดี ต้องคงเปนบาปสิ้น เพราะเจ้าของเขาไม่ยอมให้ เพราะฉนั้นการที่เว้นจากถือเอาของที่เจ้าของหวงแหนเปนทางแห่งความดีความงามในโลกแท้ ผู้มีปัญญาเห็นพร้อมกันว่าเปนกุศล ก็การประพฤติผิดในที่ไม่ควรล่วงเล่า เมื่อพิเคราะห์ดูเจ้าผัวไม่อยากจะให้หญิงผู้เปนเมียไปรักใคร่ปะปนกับชายอื่น หญิงผู้ภรรยาเล่าพอใจจะให้ผัวร่วมรักอยู่แต่กับตน บิดามารดาญาติพี่น้องฝ่ายหญิง ก็ไม่อยากจะให้หญิงผู้บุตรแลที่เปนญาติพี่น้องไปคบหากับชายอื่นนอกจากชายผู้เปนเจ้าของ ฤๅในการกำหนดตามที่ตั้งไว้ในบางประเทศ เมื่อชายมาประพฤติคงที่อยู่ตามประสงค์ดังว่านั้นก็เปนอันผูกพันรักษาจิตร ผัวเมียบิดามารดาญาติพี่น้องไว้ไม่ให้กำเริบร้าวรานเกิดฉะเลาะวิวาท ให้พรักพร้อมเปนสุขในการงานนั้นๆ เมื่อมาเลมิดจากที่ว่านั้น ก็เปนเหตุให้กำเริบจิตรร้าวรานเกิดฉะเลาะวิวาทวุ่นวาย ไม่พรักพร้อมในกิจการ จึงเห็นว่าการประพฤติผิดในที่ไม่ควรล่วงเปนบาป การงดเว้นจากประพฤติผิดดังว่ามานั้นเสียได้ เปนความดีความชอบในโลก การเจรจาคำเท็จเล่า เมื่อว่าตามบัญญัติในพระพุทธสาสนา ก็ปรับโทษหนักโทษเบาตามความล่วงการผิดพุทธบัญญัติ ถึงนักปราชญ์ก็เห็นต้องกันว่าเปนบาปแท้ เพราะฬ่อลวงให้ผู้ฟังทราบความผิดไปสำคัญผิดไปแต่ความจริง พูดคำส่อเสียดพูดคำหยาบคายพูดคำเพ้อเจ้อ ทั้ง ๓ นี้ เพราะมีโทษทำผู้พร้อมเพรียงให้แตกร้าว ให้ผู้ฟังเกิดความเจ็บช้ำใจด้วยเครื่องที่ไม่พอประโยชน์ ทำให้ผู้ฟังเสื่อมการงานเสียประโยชน์ที่จะได้ทำ นักปราชญ์จึงเห็นพร้อมกันว่าเปนบาป ความโลภอยากได้ของผู้อื่นนัก คิดจะเอามาเปนของตนเสียถ่ายเดียว ไม่คิดขอแลซื้อหาแลกเปลี่ยนตามสมควร ความประทุษร้ายผูกใจเจ็บ ดำริห์แช่งสัตว์นั้นๆ มนุษย์นั้นๆ ซึ่งตนไม่ชอบใจ คิดจะให้สาบสูญจะไม่ให้มีตัวอยู่ได้ แลความเห็นผิดจากต้นเหตุของบุญของบาป เห็นส่วนผิดว่าเปนชอบ เห็นส่วนชอบว่าเปนผิด ความเห็นว่าทางความดีทั้ง ๙ ไม่เปนความดี ทางความชั่วทั้ง ๙ ไม่เปนความผิด จึงให้เกิดความอยากได้ แลความประทุษร้ายแรงกล้า จนล่วงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในที่ไม่ควรล่วง พูดเท็จส่อเสียดหยาบคายเพ้อเจ้อมากมูล จะเสื่อมสูญจากทางชอบทางผิดทุกประการ เพราะฉนั้นนักปราชญ์ผู้มีปัญญา ได้ทราบตามความชอบความผิดดังว่ามานี้ว่าเปนเหตุแห่งทางที่ไม่ดีไม่ชั่วแล้ว จงประพฤติตนให้ดำรงอยู่ในความดีความชอบ ละเว้นความผิดความชั่ว อันเปนทางจะให้โทษที่ชั่วเสียให้ห่างไกล ด้วยความไม่เลินเล่อในที่ทุกแห่ง ในการที่จะพึงทำทุกประการนั้น เทอญ

อนึ่งการแสวงหาแลการถือสาสนา ซึ่งจะเปนที่พึ่งของตนในชาตินี้ชาติหน้า ก็เปนการดีสมควรเปนที่ยิ่งแล้ว ควรที่ท่านทั้งปวงทุกๆ คนจะตริตรองใคร่ครวญด้วยปัญญาตนเอง เมื่อเห็นประจักษ์ว่าสาสนาใดในหมู่ใดพวกใดจะเปนที่พึ่งได้ควรแก่ปัญญาแล้ว ก็จงถือแลปฏิบัติตามสาสนานั้นโดยน้ำใจตนเอง อย่าถือด้วยการตื่นการเกณฑ์แลการเล่าฦๅ แลว่าธรรมเนียมเคยถือสืบๆ มา ฤๅอ้างการที่ไม่เห็นประจักษ์มาว่ามาขู่ให้กลัวให้ดีใจ ก็อย่ามีความพิศวงต่อเหตุต่างๆ แล้วถือตามทำตาม เมื่อได้ที่พึ่งที่นับถืออันงามดีสมควรแล้ว จงประกอบความเลื่อมใสให้มากจึงปฏิบัติตามก็มีความเจริญดีแก่ตนทุกคนๆ นั้นแล

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ