๏ คำกลอนเรื่องนี้คิด |
นามขนาน |
เรียกสัตวาภิธาน |
ชื่อพร้อง |
ล่อใจหมู่กุมาร |
มักชอบ สนุกนา |
เด็ก ๆ อ่านจักต้อง |
ยั่วแย้มโอฐสรวล ฯ |
ข้าพเจ้าพระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนาถนิตยภักดี พิริยพาห คิดคำกลอนเรื่องนี้ สำหรับให้เด็กนักเรียนอ่าน คิดเสร็จณวันพฤหัศบดี ขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสิบปีวอกฉศก พ.ศ. ๒๔๒๗ ลงพิมพ์ที่โรงพิมพ์สกูลพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวังในปีนั้นเอง
ประเภทสัตวในโลกมี ๔ จำพวก พหุบาท สัตวมีเท้ามากเกิน ๔ ขึ้นไป เช่น ตะขาบ กิ้งกือ เปนต้นอย่าง ๑ จัตุบาท สัตว ๔ เท้า ดุจ ช้าง ม้า โค กระบือ เปนต้นอย่าง ๑ ทวิบาท สัตว ๒ เท้า คือ มนุษ แล เปด ไก่ นก เปนต้นอย่าง ๑ อะบาทะกา สัตวไม่มีเท้า ดัง งู แลปลา เปนต้นอย่าง ๑ แล้วแบ่งออกเปน ๒ ชนิด คือ ถะละชา สัตวเกิดบนบกอย่าง ๑ ชะละชา สัตวเกิดในน้ำอย่าง ๑ จัดอีก ๒ อย่าง สัตวมีฟองมีไข่ แลไม่ต้องมีฟอง ดังช้าง ม้า โค กระบือ จัดอีก ๒ อย่าง คือ สัตวมีปีกแลไม่มีปีก แลสัตวที่มีปีกนั้นก็จัดเปน ๓ อย่าง มีปีกแขงแรง บินสูงบินไปไกล ๆ ได้ ๑ มีปีกบินได้แต่เตี้ย ๆ ต่ำ ๆ อย่าง ๑ มีปีกบินไม่ได้อย่าง ๑ ฯ
ประเภทสัตวมีเอนกอนันต์ หลายอย่างหลายพรรณมากนัก ในประเทศบ้านเมื่องหนึ่ง ก็มีแปลกออกไปหลาย ๆ อย่าง ในป่าหนึ่งก็แปลกออกไปอย่างหนึ่ง อ่าว ทเล ตำบลหนึ่ง ก็มีแปลกไปอย่างหนึ่ง ในลำแม่น้ำลำหนึ่งก็แปลกไปอย่างหนึ่ง เปนเอนกวิจิตรมากนัก เหลือกำลังที่จะรู้จักให้ทั่วถึงทุกหมู่ทุกเหล่า ข้าพเจ้าขอชักนำเอาแต่ที่รู้จัก ชักมาผูกเปนกลอนไว้สำหรับให้เด็ก ๆ อ่านเล่น ตามลำดับแต่แม่ ก กา ไปเพื่อจะได้สอบอักษรที่เด็กเรียนอยู่นั้น เปนของสำหรับเด็กแรกเล่าแรกเรียน แต่พอได้กว้างขวางในทางที่จะใช้อักษร ท่านทั้งหลายที่เปนผู้ใหญ่รู้หนังสือแล้ว ก็จะบ่นว่าเบื่อหูเบื่อฟัง ไม่มีประโยชน์อะไร ก็ตามแต่จะติจะว่าเถิด ยอมให้ติให้ว่า ชาพเจ้าเปนคนอยากจะคิดจะอ่านอะไร ๆ เล่นต่าง ๆ ตามชอบใจ คิดอะไรได้ก็เก็บเอามาว่าเพ้อ ๆ ไป เมื่อท่านผู้ใดไม่ชอบก็รับทานอภัยเสียเทอญ ฯ
----------------------------
จะกล่าวด้วยสัตวมีเท้ามาก
๏ สัตว พวกหนึ่งนี้ชื่อ |
พหุบา ทาเฮย |
มี เอนกสมญา |
ยอกย้อน |
เท้า เกินยิ่งจัตวา |
ควรนับ เขานอ |
มาก จวบหมื่นแสนซ้อน |
สุดพ้นประมาณ ฯ |
ฉบัง ๑๖๏ สัตวจำพวกหนึ่งสมญา |
พหุบาทา |
มีเท้าอเนกนับหลาย |
|
เท้าเกินกว่าสี่โดยหมาย |
สองพวกภิปราย |
สัตวน้ำสัตวบกบอกตรง |
|
ตะบองพลำใหญ่ยง |
อยู่ในป่าดง |
ตัวดุจตะขาบไฟแดง |
|
มีพิษมีฤทธิเรี่ยวแรง |
พบช้างกลางแปลง |
เข้าปล้ำเข้ารัดกัดกิน |
|
ตะขาบพรรณหนึ่งอยู่ดิน |
พรรณหนึ่งอยู่ถิ่น |
สถานแลบ้านเรือนคน |
|
ตะขาบไต่ขอนซอนซน |
กิ้งกือคลานวน |
แมงมุมขยุ่มหลังคา |
|
แมงป่องจ้องชูหางหา |
สิ่งใดจะมา |
ปะทะก็จะจี้แทง |
|
ตัวแมงกะแท้กลิ่นแรง |
แมงสาบอีกแมง |
กะชอนก็ชอนธรณี |
|
แมงทับวาววับแวมสี |
ดังนิลมณี |
แกมทองระรองเรืองฉาย |
|
แมงค่อมคือแมงทับกลาย |
สีเลื่อมเหลืองพราย |
แต่กายนั้นย่อมกว่ากัน |
|
แมงไยโยงไยพัละวัน |
เปนตาข่ายขัน |
ซึ่งเพื่อดักสัตวบินจร |
|
แมงเม่าบินเข้าไฟฟอน |
ร้อยพันม้วยมรณ์ |
เพราะหมายว่าเภลิงเริงงาม |
|
แมงวันแมงหวี่วู่วาม |
แมงคาเรืองยาม |
ราตรีแลสีเรืองเรือง |
|
แมงป่องช้างตัวเขื่องเขื่อง |
มีชุมข้างเมือง |
มลาวประเทศเขตขัณฑ์ |
|
แมงดาสองเภทสองพรรณ |
คือแมงดาอรร |
ณพแลแมงดานา |
|
แมงภู่ตัวผึ้งภุมรา |
แตนต่อตัวตา |
ปะขาวแลตัวเต่าทอง |
|
แมงปอบินไปเปนกอง |
โฉบแย่งยุงปอง |
เปนเหยื่อแลแย่งกันกิน |
|
หมาร่าเหลือบยุงบุ้งริ้น |
ร่านรุมกันกิน |
โลหิตมนุษย์สุดคัน |
|
ด้วงพร้าวโบยบินผินผัน |
ด้วงโสนดองมัน |
คนมักพอใจรัปทาน |
|
ผีเสื้อใหญ่เล็กสัณฐาน |
ลายหลากตระการ |
สลับวิลัยหลายสี |
|
ตักแตนกายายาวรี |
ใหญ่เล็กมูลมี |
ประมาณก็เหลือคณนา |
|
ตัวเหนี่ยงนิลดำมลกา |
มันคือหมึกทา |
ที่ใสสักหยาดบยล |
|
กลิ้งคี่เกลือกคูธระคน |
สัตวนี้สัประดน |
โสโครกบเกลียดอาจม |
|
เรไรร่ายร้องระดม |
หริ่ง ๆ ระงม |
เพรียกพฤกษที่ในไพรแวง |
|
แม่ม่ายลองในกระแสง |
เสียงแหวดแหวแรง |
ระดมระดื้นพื้นไพร |
|
จักกระจั่นแจ้ว ๆ จับใจ |
จาดจ้าแจ่มใส |
สังคีตประโคมอารัญ |
|
จะร่ำสัตวในไพรสัณฑ์ |
อเนกอนันต์ |
จะนับจะตรวจเหลือตรา |
|
มดแดงแฝงใบพฤกษา |
มดดำคล่ำคลา |
มดดีดอีกมดแดงไฟ |
|
มดตะนอยอีกทั้งมดไร |
ตาลานคลานไว |
มดเป้งมดคันสัญจร |
|
น้ำลายงูเห่าเฝ้าฟอน |
ไต่ตอมตัวหนอน |
มดง่ามก็คลำคลาดิน |
|
ตัวปรวกรังดังศีขริน |
ตัวชันรงค์บิน |
น้ำนองเอนกเลสหลาย |
|
สัตวในกระแสสินธุ์สาย |
มีเท้ามากมาย |
คือปูทะเลปูนา |
|
ปูแสมแลปูอัศวา |
หมู่เปี้ยวกายา |
ใหญ่เล็กหลาก ๆ มากมี |
|
กุ้งใหญ่กุ้งฝอยเคยมี |
กั้งก้ามโตตี |
กระทบกระทั่งกังวาล |
|
พวกสัตวเหล่านี้นามขนาน |
มคธคำขาน |
ว่าสัตวพหุบาทา |
|
มีเท้ามากเกินจัตวา |
คิดประมวลมา |
ไว้ให้กุมารอ่านเขียน |
|
หวังเพื่อสอบทานที่เรียน |
ระมัดระเมียล |
มักง่ายจักต้องตีรัน ฯ |
|
๏ จบสัตวมีเท้ามาก |
มูลหมาย หมู่เฮย |
ลำดับนับเรียงราย |
เรียบไว้ |
นักเรียนทราบบรรยาย |
ยลเยี่ยง อย่างนา |
จำจดบทแบบให้ |
แม่นแม้นคำสอน ฯ |
----------------------------
๏ พวก นี้นามนับอ้าง |
จตุบาท |
สัตว บกสัตวน้ำกลาด |
เกลื่อนด้าว |
สี่ ทั้งป่าบ้านดาษ |
ดาดื่น |
เท้า สี่สำหรับก้าว |
ย่างเยื้องจรจรัล ฯ |
|
สุรางคณางค์ ๒๘๏ ในแม่ ก กา |
จตุบาทา |
ม้าลาจามะรี |
โคกระบือปละ |
ปะทะหมูหมี |
กระแตชะนี |
มีอยู่ในไพร |
|
ปะหมู่หนูผี |
กรู ๆ จูจี๋ |
ในรูไม้ไผ่ |
พะหนูตะเพา |
หนีเข้าไว ๆ |
หนูตะเพาไล่ |
หนูผีหนีคลา |
|
ในชลาลัย |
มีจรเข้ใหญ่ |
เนาในคูหา |
ต่อไปใต้น้ำ |
มีถ้ำเหรา |
เข้าคู่สะขา |
สู่หามาไป |
|
หมู่เหล่าเต่านา |
มีอเนกา |
สริราเยาว์ใหญ่ |
ที่นาป่าอ้อ |
เต่าพอใจไข่ |
ที่เขาเข้าใจ |
หาได้อะโข ฯ |
|
๏ สี่เท้าแม่กน |
เกลากลอนนิพนธ์ |
ประดนในโว |
หารให้ไขคำ |
ลำนำใหญ่โต |
ไว้ให้ดรุโณ |
รู้นัยไขขาน |
|
ชั้นใหญ่ไลย่อน |
มีในป่าดอน |
อะฟริกาสถาน |
ท่านเอามาไว้ |
แดนไทยช้านาน |
ได้เห็นสาธารณ |
สกลภารา |
|
เห็นฟ่านผ่านไป |
บนเนินเขาใหญ่ |
ที่ในวนา |
กระเตนตุ่นอ้น |
เดิรด้นหญ้าคา |
อิเหนเม่นหมา |
ในไล่หมูสมัน |
|
ปะหมู่หมูเถื่อน |
ไคลคลาพาเพื่อน |
มาเกลื่อนไพรวัน |
หาอาหารกิน |
ที่ถิ่นอารัญ |
เวลาสายัณห์ |
ย่ำค่ำคล่ำคลา |
|
หนูจีนเยาว์ๆ |
สินค้าสำเภา |
เขาเอาเข้ามา |
ไว้ในถิ่นเรา |
ชื่อเค้าภาษา |
ต่อพรรณกันมา |
จนกาลนานปี ฯ |
|
๏ แม่กงพรรณา |
จตุบาทา |
ซึ่งบันดามี |
อยู่ในแม่กง |
จำนงวาที |
ช้างในพงพี |
พาโขลงโยงไป |
|
เห็นกวางกลางทุ่ง |
ละมั่งหมู่มุง |
กระทิงวิ่งไขว่ |
คำโองแล่นจิ๋ |
รี่เข้าดงไผ่ |
กินหญ้าไบ่ ๆ |
ยืนเบิ่งดูกัน |
|
เลียงผาโผนเผ่น |
โดนผากระเดน |
เผ่นคล่องว่องครัน |
อิเก้งเริงร้อง |
ก้องพนาวัน |
ป่างบินโผผัน |
ไปพ้นต้นเต็ง |
|
กระจงกระเจิง |
แล่นร่าร่านเริง |
รนร้องเสียงเรง |
ฝูงลิงฝูงค่าง |
ครวญครางแส้เซง |
ดังเสียงละเบ็ง |
บเว้นวันวาร |
|
แล่นไปโหยง ๆ |
นั่นคือโจงโคร่ง |
ทีท่ากล้าหาญ |
ปะรูหนูหริ่ง |
วิ่งไปลนลาน |
กิ้งก่าจัณฑาล |
ท้าสู้ชูเศียร |
|
พังพอนบนพื้น |
แผ่นดินดาดื่น |
จรดลวนเวียน |
ปะงูเห่ากาฬ |
ที่ลานเตียน ๆ |
สู้กันงูเจียน |
จะแพ้พังพอน |
|
จิ้งเหลนหางลุ่น |
อยู่ที่ใต้ถุน |
ครุ่นๆ สัญจร |
อึ่งอยู่ป่ายาง |
อึ่งอ่างซ่อนซอน |
อยู่ใต้ไม้ขอน |
ใต้อ่างวารี ฯ |
|
๏ ชื่อในแม่กก |
ชักมาสาธก |
แยกยกวาที |
จตุบาทา |
บันดาชื่อมี |
ในแม่กกนี้ |
มีพอคณนา |
|
คางคกคางคาก |
ใหญ่เล็กหลาก ๆ |
มากอเนกา |
หนูพุกอยู่รู |
ที่คูคันนา |
อีกนากกินปลา |
กายาเทา ๆ |
|
กะรอกสีแดง |
ส้อนกิ่งไม้แฝง |
โจนแรงไม่เบา |
คนไล่ว้าวุ่น |
กระสุนยิงเอา |
ใหญ่ ๆ เยาว ๆ |
เอามาทุกคน |
|
จิ้งจกตุกแก |
พอใจอยู่แต่ |
ที่เย่าเรือนชน |
จิ้งจกร้องทัก |
คี่มักเปนกล |
ทุกผู้ทุกคน |
มักยั้งฟังการณ์ |
|
สุนักขมีมาก |
ใหญ่เล็กหลาก ๆ |
ทั้งป่าทั้งบ้าน |
หมาจูจิ้งจอก |
ในนอกสาธารณ |
สีแดงสำลาน |
หลาก ๆ มากมี ฯ |
ยานี ๑๑๏ แม่กดกำหนดสัตว |
ซึ่งควรจัดในวาที |
คือชาติราชสีห์ |
ทั้งสี่หมู่อยู่หิมวัน |
อีกเหล่าคชสีห์ |
กายินทริย์ก็เช่นกัน |
แปลกแต่สีสะผัน |
ไปข้างน่ามาข้างหลัง |
ราชสีห์มีกระหนก |
ยอดผันปกปัจฉิมัง |
คชสีห์มีงวงทั้ง |
ยอดกระหนกปกบุรโต |
ทั้งสองสัตวสูงสุด |
ฤทธิรุดม์เลิศเดโช |
ถึงสัตวที่โตๆ |
ก็เกรงเดชเหตุฤทธิแรง |
เภทพรรณราชสีห์ |
จัดเปนสี่ท่านแจกแจง |
ปากหางสี่เท้าแดง |
พื้นเศวตเภทไกรสร |
ปัณฑุระราชสีห์ |
กายามีสีเหลืองอ่อน |
กาฬะมิคินทร |
กายาดำคล้ำหมึกมัน |
เหล่านี้ล้วนกินสัตว |
ใจสมรรถอุต์กกรรศ์ |
แต่เดชยิ่งใหญ่นั้น |
คือไกรสรราชสีห |
อันหนึ่งชื่อว่าติณะ |
เปนสิงหะต่ำฤทธี |
กายาดุจคาวี |
กินเส้นหญ้าเปนอาหาร |
ราชสีหสี่ชนิด |
ที่สถิตยป่าหิมพานต์ |
มีถ้ำที่สำราญ |
เปนสัตวกล้าร่าเริงแรง |
แรดเขมรเรียกระมาด |
เก่งฉกาจชาติกำแหง |
มุทะลุดูตาแดง |
มักไว้ใจใช้ลมฆาน |
อูฐมาแต่เมืองเทศ |
สูงเปนเปรดสัตวใดปาน |
กอหญ้าบนปราการ |
แหงนกินได้สดวกดี |
ชมดเปนสองพรรณ |
อย่างสามัญมากมูลมี |
ชมดชนิดดี |
ชื่อปรากฎชมดเชียง |
ฝูงเขียดกายาเล็ก |
แต่ร้องเซ็กตะเบ็งเสียง |
ดื่นดาดฤดูเผลียง |
กระโดดพล่านที่ธารไหล |
ปาดนั้นกายาเขื่อง |
สีเหลืองๆ ระเรืองไร |
เขฬะเปนฟองใหญ่ |
ที่ใบไม้พอใจจร |
ตะกวดตะเกียกแล่น |
เอามือแผ้นเผ่นเข้าขอน |
สองลิ้นยื่นสลอน |
เข้าซุกซอนในขอนโพรง |
สำเส็ดเปนสัตวแปลก |
พวกเมืองแขกเลี้ยงในโรง |
สีสันเศวตโพลง |
ผ่านด่างเห็นเช่นสุกร ๆ |
๏ แม่กบมีแต่กบ |
เข้าบันจบสมทบกลอน |
กบทูตกระโดดจร |
จับแมงเม่าเอามากิน ฯ |
๏ แม่กมชมชุมพา |
เลียบภูผาน่าศีขริน |
รุงรังทั้งกายิน |
ล้วนแต่ขนย่นยุ่งหยอง |
เห็นหลิ่มในป่าหลวง |
เกล็ดหล่นร่วงเปนกอง ๆ |
คนเก็บเอามากรอง |
ผูกกัณฐาต่างอาภรณ์ |
ลิงลมวิ่งตามลม |
ดูหมุนกลมสมนามกร |
วิ่งหมุนดังภมร |
มักมีในไพรพฤกษา ฯ |
ฉบัง ๑๖๏ ขึ้นเกยเลยกล่าวพรรณา |
จตุบาทา |
ที่นามยันเนื่องเรื่องเกย |
|
ท่านผู้นั่งฟังอย่าเฉย |
ใดผิดที่เคย |
สังเกตในเภทพรรณสัตว |
|
เชิญช่วยติค้านทานทัด |
แลแก้ไขคัด |
ให้ชัดให้ชอบตอบขาน |
|
เสือโคร่งแรงฤทธิห้าวหาญ |
สัตวในดงดาล |
เกรงเดชด้วยเหตุกำแหง |
|
เสือเหลืองเรืองฤทธิรณแรง |
พบกวางกลางแปลง |
เข้าปล้ำขย้ำคอกวาง |
|
เสือดาวก้าวเดิรด้อมทาง |
ปะทะต้นยาง |
ก็ยั้งขยับกลับหลัง |
|
เสือลายตลับแล่นเสริกสัง |
ปีปเปรี้ยงเสียงดัง |
กึกก้องณท้องดงดาล |
|
เสือดำดุจทาหมึกประสาน |
ประดับตัวฟาน |
ก็ฟัดแลกัดฟานฟอน |
|
เสือแผ้วเสื้อปลาล่าจร |
โตรกตรอกซอกซอน |
เที่ยวเสาะเที่ยวเสพมัตสยา |
|
วัวเพลาะเลาะลัดเลียบผา |
วัวถึกเถลิงพา |
พวกเพื่อนมาเกลื่อนกลาดดง |
|
กระต่ายออกเต้นตามพง |
ฟุบแฝงกอปรง |
กระโดดแลโลดลำพอง |
|
ควายเปลี่ยวเที่ยวโดยลำลอง |
ใฝ่ยลฝูงยอง |
ก็ไล่ประชิดขวิดชน |
|
เนื้อทรายเสือกวิ่งสับสน |
ประทะกันกล |
กระบวนอันป่วนไปมา |
|
ฝูงแกะเกาะเลียบเนินผา |
พบพวกแพะมา |
กันโผนกระโจนลองเชิง |
|
เหี้ยเห็นเม่นมาร่าเริง |
หนีเม่นกระเจิง |
เพราะกลัวสลัดขนแหลม |
|
แมวดำขาวด่างดำแซม |
ลายเปนหย่อมแหยม |
ย่อมอยู่กับคนบนเรือน |
|
หนูท้องขาวพบหลบเลือน |
หนีแมวเบนเบือน |
แมวไล่ตะครุบฟบแฝง |
|
บ่ออกนอกทางกลางแปลง |
กลางวันซอกแซง |
ราตรีออกซี้สัญจร |
|
จตุบาทบกบินดินดอน |
คิดกลั่นเกลากลอน |
เลือกคัดที่ชัดสำคัญ |
|
ยังเหลือกว่านี้อนันต์ |
อเนกนับพัน |
จะร่ำก็พ้นพรรณา ฯ |
|
|
สุรางคณางค์ ๒๘๏ สี่ตีนอีกเล่า |
คือจำพวกเต่า |
อยู่ในธารา |
กระดูกกลับออก |
อยู่นอกมังสา |
เต่าตะนุเต่านา |
เต่าดำลำภู ฯ |
|
เต่าเหมนเต่าหับ |
ถ้าคนต้องจับ |
มันหับประตู |
เหมือนปรับสนิด |
มิดไม่มีรู |
ฝูงคนยังสู้ |
เอากินง่ายดาย |
|
เต่าชนิดหนึ่ง |
เรียกเต่าขี้ผึ้ง |
คู่กับเต่าหวาย |
ตะพาบน้ำอยู่ |
คู่กับม่านลาย |
ตัวกริวแหวกสาย |
ชลว่ายตามกราว ฯ |
|
ตัวกระมหันต์ |
กายาใหญ่ครัน |
เขาจับเปนคราว |
ลายเลื่อมเปนมัน |
กระพรรณดำขาว |
กระเหลืองเรืองพราว |
พรายเพริดเฉิดสี |
|
เต่าจะละเม็ด |
พูดจะเปนเท็จ |
ไม่เห็นกายี |
พบแต่ฟองสุก |
คลุกน้ำปลาดี |
มังคุดประชี |
โอชาชวนกลืน |
|
จำพวกเต่านี้ |
ในท้องวารี |
ยังมีดาดื่น |
ไม่รู้ชื่อชาติ |
ไม่อาจยั่งยืน |
ไว้ให้ผู้อื่น |
ท่านร่ำรำพรรณ ฯ |
๏ จบสัตวพวกสี่ท้าว |
สองสถาน |
คือบกอีกชลธาร |
ถิ่นท้อง |
สมญาแยกไขขาน |
คำเรียก ไว้พ่อ |
เด็กนักเรียนสวดร้อง |
เล่นได้โดยสบาย ฯ |
----------------------------
๏ พวก หนึ่งนามมันอ้าง |
ออกไข |
สัตว ทวิบาทไพร |
อีกบ้าน |
สอง บาทแยกมีใน |
กลอนกล่าว นี้นา |
เท้า เปลี่ยนสองเท้าจ้าน |
จัดด้วยเดิรจร ฯ |
ฉบัง ๑๖๏ ทวิบาทจะบอกสำคัญ |
สัตวสองเท้าอัน |
มีเภทพิเศษเปนสอง |
|
คือหมู่มนุษทั้งผอง |
ทั่วพิภพปอง |
ว่าเปนทวิบาทา |
|
ฝูงเบื้อในอรัญญวา |
อีกพวกคนป่า |
ก็ปองเปนสองบาทางค์ |
|
หมู่สัตวเดียรฉานท่านวาง |
ปักษีสรรพางค์ |
คือพวกเป็ดไก่สกุณี ฯ |
|
๏ กกาสกุณาโนรี |
หว้าเปล้าดีปลี |
กาเหว่าแลเค้ากู่กา |
|
พระยาลอคลอเคล้านกชะวา |
ขี้ไถกระทา |
ไก่ป่าแลกาวารี |
|
กระสาสาริกาจระลี |
สู่สำพาที |
ไก่ฟ้าก็ล่าลี้ไป |
|
เขาคูคู่เคล้าเขาไฟ |
คะณาตาไน |
หมู่ไส้ก็ไซ้โลมา |
|
ไก่แจ้ไก่อูอเนกา |
ไก่ตะเพาพา |
คณาเข้าเล้าเคล้าคลอ |
|
กาแกแส้สู่สอ ๆ |
ปะพระยาลอ |
ก็ล่าก็ลี้หนีไป ฯ |
|
๏ สกุณแม่กนนิพนธไข |
คือกระเวนไพร |
กระแวนแลแอ่นวาโย |
|
คิรบูนขมิ้นบินโผ |
ไปกินผลโพ |
กระเตนก็เต้นเวียนวน |
|
เบญจวรรณห้าสีโสภณ |
ร่อนในเวหน |
เข้าคละประทะตีนเทียน |
|
สกุณโกญจากาเรียน |
บินว่อนวนเวียน |
แลร่อนถลาผาโผ |
|
อินทรีกายาใหญ่โต |
มหันต์เดโช |
ปะชนเอาไปบริภุญช์ |
|
ไก่เถื่อนเพื่อนไล่ซอนซุน |
ตีกันชุละมุน |
ชะนะก็ซั้นขันขาน ฯ |
|
๏ แม่กงจำนงไขขาน |
รุ้งแร้งรังนาน |
นางนกลกะทุงค้อนทอง |
|
ยางยูงมุ่งเค้าโมงมอง |
กระลางแล่นลอง |
กระลิงก็ล่าลี้จร |
|
อีโก้งคลิ้งโคลงกินหนอน |
ปะมูลโคฟอน |
กินหนอนก็นอนในฟาง |
|
กินปลิงลงแปลงแฝงทาง |
ระวังไพรคราง |
ครวญคร่ำแลร่ำร้องดัง |
|
ฝูงหงส์ลงเรียงไม้รัง |
แซ่ซ้องประดัง |
ในดงประดู่ดูไสว |
|
กางเขนขนขำอำไพ |
ขุนทองผ่องใส |
ดังนิลมณีนฤมล ฯ |
|
๏ หมู่นกแม่กกอำพน |
ในพื้นอารณ |
อรัญญิกาอาศรัย |
|
นกพริกจากพรากเพรียกไพร |
แสกเสียงเย็นใจ |
กระจอกก็ซอกซ่อนซอน |
|
การเวกแหวกวายุจร |
ในพื้นอัมพร |
แลส่งสำเนี้ยงเสียงหวาน |
|
วายุภักษแสวงภักษาหาร |
บินในคัคนานต์ |
ประทะนกแขวกแถกถา |
|
นกอยกร้องอ๊อกออกถลา |
ปะนกกวักกวา |
เข้ายื้อเข้าแย่งแมงใย |
|
ยางกรอกเกริ่นร้องเกริกไพร |
โพรโดกโดดไว |
บนกิ่งกระโดนโผนโผ |
|
นกฮูกนกตุ๊กใหญ่โต |
นกเงือกผงะโง |
แหงนแง่นเอาผลต้นจันทน์ ฯ |
|
ยานี ๑๑๏ หมู่นกแม่กดมี |
กดเพลิงสีสุกแดงฉัน |
กดปูด ๆ ทุกวัน |
บอกเวลาแห่งสาชล |
ทิ้งทูตไม่ทิ้งเพื่อน |
บินกลาดเกลื่อนบนเวหน |
เป็ดน้ำลงดำวน |
เวนในน้ำดำหาปลา |
หัสดินบินร่ำร้อง |
เสียงกึกก้องท้องพนา |
กระหรอดเร่ร่อนหา |
นางนกพรากจากไกลกัน |
เป็ดไทยไล่เป็ดเทศ |
ผิดสังเกตเภทต่างพรรณ |
แส่ไซ้ไล่พัลวัน |
เป็ดไทยทันพลันจิกตี |
นกหัสดีลึงค์ |
เสียงอึงคะนึงไนเมฆี |
กายางางวงมี |
เหมือนกุญชรช้อนชูเศียร |
สัตวาปะหว้าสุก |
เฝ้าเคล้าคลุกบจากเจียร |
เลือกผลกินจนเตียน |
แล้วบินบากจากหว้าพลัน |
วิหคนกกระหิด |
อวดว่าฤทธิ์แรงแขงขัน |
บินโร่โผผกผัน |
ถูกแผ่นผาน่าสิงขร ฯ |
๏ หมู่นกในแม่กบ |
เข้าบันจบสมทบกลอน |
พิราบพิไรวอน |
เหมือนหนึ่งว่าโสกาลัย |
ตะขาบคาบตะขบ |
คับแคพบแย่งขวักไขว่ |
ตะขาบแค้นขัดใจ |
จิกคับแคแร่รนหนี |
กระจาบไล่กระจิบ |
บินลิบ ๆ เทียมเมฆี |
กระจาบไล่จิกตี |
กระจิบหนีลงดงดอน ฯ |
/*๏ แม่กมชมหมู่นก |
ฝูงพิหคทิชากร |
อิลุ้มซุ่มซ่อนซอน |
ในสุมทุมพุ่มระนาม |
นกคุ่มปากคุ้มงร |
พอใจจรในป่าหนาม |
ใครเลี้ยงไว้ในคาม |
คุ้มเภลิงได้ไม่ไหม้เรือน |
ทุ่งนานกตะกรุม |
มีมากชุมดูกลุ้มเกลื่อน |
ขนเศียรเลี่ยนล้านเลือน |
เหนียงหนังย่นขนสาบสาง |
แอ่นลมชลอลม |
ดูน่าชมเชิดชูหาง |
รำแต้แผ่หางกาง |
แอ่นกายาน่าพิศวง |
กระลุมภูโผผก |
เข้าป่ารกเร้นในพง |
จับแนบแอบอนงค์ |
นางนกคู่อยู่เคล้าคลอ |
นำชมสมบัณฑิต |
สมจริตดูก้อร่อ |
ปีกหางช่างกรีดกรอ |
คอเจ้าชู้รู้ชั้นเชิง |
ฝูงนกสีชมพู |
ไปจับอยู่ที่ซุ้มเซิง |
สีแดงดุจแสงเภลิง |
เริงร้องแซ่แพร่ไพรสณฑ์ ฯ |
๏ แม่เกยหมู่ปักษา |
ค้อนหอยหาปลาในวน |
กระหรอดหัวโขนขน |
ยองหยอยย่องข้องเกี่ยวหนาม |
แซงแซวจับไซ้ขน |
สุ้มซ่อนบนต้นมะขาม |
ชูหางกางปีกงาม |
เมื่อยามบินผินอัมพร |
หัวขวานหัวเหมือนขวาน |
ปากแขงจ้านแหลมงุ้มงอน |
เที่ยวเราะเจาะกินหนอน |
ในพฤกษาพนาศรี |
เค้าแมวมองขะเม้น |
น่าตาเห็นเช่นอย่างผี |
มักเที่ยวในราตรี |
แสวงหาภักษาหาร |
สำเนียงเสียงนกแก้ว |
พลอดแจ้ว ๆ จับใจหวาน |
เพรียกก้องท้องดงดาล |
ดูน่าตื่นพื้นสกุณิน |
ดอกบัวมัวหมู่มุง |
เที่ยวไซ้กุ้งในวาริน |
เวียนกนชลสินธุ์ |
เสียงส้า ๆ ปลาตื่นหนี |
ยางเสวยจับไสว |
ยอดยางใหญ่ในพงพี |
เขาว่าเปนนกดี |
รสมังสาโอชาเหลือ |
อ้ายงั่วดูง่วงเหงา |
จับซบเซาแอบแฝงเฝือ |
จับนิ่งกิ่งมะเกลือ |
แล้วบินกลับลับลิบหาย |
เวลาขมุกขมัว |
ฝูงกระตั้วเต้นกรีดกราย |
ขาวล้วนนวลทั้งกาย |
ไล่กระแตแลสับสน |
ฝูงนกต้อยติวิต |
ร้องหวิด ๆ แล้วบินบน |
เหยี่ยวใหญ่ไล่เวียนวน |
จวนตัวจนด้นหนามหนี |
มุดด้นพ้นเหยี่ยวใหญ่ |
เหยี่ยวตะไกรไล่จิกตี |
หนีเสือปะกุมภี |
แทบชีวีจะวางวาย |
เนินเขาเหยี่ยวนกเขา |
มาจับเจ่าอยู่เรียงราย |
เห็นนกขมิ้นหมาย |
รุมจิกเฉี่ยวเหยี่ยวจัณฑาล |
หมู่นกนอกกว่านี้ |
ก็ยังมีมากสาธารณ์ |
เลือกคัดพอใช้การ |
ให้กุมารอ่านเขียนลอง |
หวังเปนที่สนุก |
โดยทำนุกแลทำนอง |
ตามแบบบทละบอง |
จงตริตรองในวาที ฯ |
๏ จบสัตวสองเท้าเภท |
สองพรรณ |
ชาติมนุษอเนกนันต์ |
นับอ้าง |
ทิชาชาติบินผัน |
โผผก ได้เฮย |
ขาดตกบกพร่องบ้าง |
อย่าค้านคำขนาง ฯ |
๏ สัตว จำพวกนี้น่า |
อัศจรรย์ |
ไม่ น่าจักผายผัน |
เผ่นได้ |
มี ตัวรีดเรียวตัน |
โตเล็ก บ้างนา |
เท้า บมีแต่ใช้ |
ว่ายเลื้อยเสือกคลาน ฯ |
|
สุรางคณางค์ ๒๘๏ อปาทะกา |
ตัวหมู่อยู่นา |
บาทาไม่มี |
ได้แต่เลื้อยคลาน |
เสือกว่ายวารี |
อยู่พื้นปถพี |
กับท้องชลธาร |
|
สองพวกประจำ |
สัตวบกสัตวน้ำ |
จำร่ำไขขาน |
พระยานาคราช |
ต่างชาติตระการ |
งูบริวาร |
อเนกอนันต์ |
|
คืองูเห่าไฟ |
กายาเล็กใหญ่ |
มีพิษมหันต์ |
อีกงูเห่าดง |
พิษยงยิ่งครัน |
งูเห่าหม้อมัน |
ดุจมินหม้อทา |
|
/*งูเหงือกงูหงอน |
งูเห่าปลาช่อน |
รูปร่างอย่างปลา |
งูเห่าตาลาน |
เลื้อยผ้านผ่านมา |
งูทับสมิงคลา |
เรียกว่าทับทาง |
|
งูเห่าปี่แก้ว |
เสียงหริงหริ่งแจ้ว |
เมื่อเวลากลาง |
คืนค่ำย่ำฆ้อง |
เสียงร้องครวญคราง |
แม้ขบใครวาง |
ยาไม่ใคร่ทัน |
|
งูเห่าใบไผ่ |
ปากจิ้งจกไว |
ละม้ายคล้ายกัน |
งูแม่ตางาว |
ตัวยาวใหญ่ครัน |
แสงอาทิตย์นั้น |
เลื่อมแสงแดงสี |
|
งูงอดโจงอาง |
อีกงูกระด้าง |
งูกระปะมี |
ดงเร่วกระวาน |
คนย่านเต็มที |
พิษร้ายราวี |
ไม่มีใครปาน |
|
งูแมวแซวซบ |
อีกงูก้นขบ |
ปล้องขาวปล้องกาฬ |
ปากมีสองข้าง |
หัวหางป้าน ๆ |
มักอยู่ชลธาร |
แฉะฉำน้ำขัง |
|
ลายสาบลายสอ |
ขนดขดงอ |
บนตอไม้รัง |
สายม่านพระอินทร์ |
เขียวสนกายัง |
ชายธงสมิงลัง |
อยู่ยังสาคร |
|
งูแม่นางอาย |
ฉวีสีกาย |
ลาย ๆ เหลืองอ่อน |
กอหญ้าสด ๆ |
มักขดวงนอน |
เอาสีสะส้อน |
มุดเมี้ยนเหมือนอาย |
|
งูลายเข้าตอก |
พื้นดำมีดอก |
ขาว ๆ ประปราย |
ยังงูก้านพร้าว |
ตัวยาวลาย ๆ |
เปนริ้วเปนสาย |
ก้านพร้าวเช่นกัน |
|
งูสามเหลี่ยมใหญ่ |
เห็นคนถือไฟ |
เลื้อยไล่พัละวัน |
ปะคนรู้ดี |
จะหนีไม่ทัน |
ทิ้งไต้ให้มัน |
ฉกไต้ไฟฟอน |
|
งูหลามงูเหลือม |
สีกายลายเลื่อม |
งูเหลือมเหลืองอ่อน |
งูหลามลายมี |
เปนสีด่างด่อน |
เปรียบกับผ้าผ่อน |
ปูมลายคล้ายสี |
|
งูเขียวหางไหม้ |
ต้องสาบของใคร |
หางไหม้อัคคี |
หางลุกดังเภลิง |
เรืองเริงราศี |
เมื่อยามราตรี |
จึงมีแสงไฟ |
|
งูเขียวหนึ่งอยู่ |
ที่เรือนคนผู้ |
ไม่ทำไมใคร |
ไล่่ค้นกินหนู |
ในรูไม้ไผ่ |
คู่วิวาทใหญ่ |
กับอ้ายตุกแก |
|
งูลิงงูไซร |
งูปลาอาศรัย |
อยู่ในกระแส |
งูดินงูปลิง |
เหมือนจริงแท้ ๆ |
งูงวงช้างแช่ |
อยู่ชะลาลัย ฯ |
ยานี ๑๑๏ กกา หมู่ปลามี |
ในวารีคล่ำคลาไคล |
ปลาซ่าแลปลาไหล |
เหล่าโลมาหน้าราหู |
กระดี่ชะโดดุ |
ที่น้ำพุมีปลาหมู |
นะทีมีปลาทู |
นำหมู่ไปในทะเล |
ปลากาดำคือกา |
กระโห้พากระแหเห |
เทโพคู่ปลาเท |
พากุเราเหล่าปลาหมอ |
อ้ายบ้าปะปลาบู่ |
ก็นำหมู่เข้าเคล้าคลอ |
ปลาหน้าราหูรอ |
รีอยู่ท่าชลาลัย |
ปลาสละไม่ละหมู่ |
คลอเคล้าคู่ดูไสว |
เข้าเม่าเข้ามาใน |
หมู่ปลาเป้าเคล้าคลอหา ฯ |
๏ ขึ้นกนค้นนามกร |
วารีจรมีนานา |
ปลาวาร์ณขึ้นในวา |
รีโผเผ่นเล่นชลธาร |
กระเบนก็เบนหนี |
ปลาอินทรีหนีปลาวาร์ณ |
ยี่สนก็ลนลาน |
ลี้กายาในสาคร |
สีกุนวุ่นคว้าไขว่ |
กินไคลไซ้ที่ไม้ขอน |
ปลาแป้นแล่นสัญจร |
เปนหมู่คละปะปนกัน |
ปลาช่อนซ่อนในสวะ |
พอไปปะปลานวลจัน |
เคล้าวนปนพัละวัน |
ตะเพียนผันโผวารี |
ปลาเงินเงื่อนเงินทา |
ดูกายาด่อนใสสี |
เขาว่าปลาผู้ดี |
เอาไว้ยลบนเย่าเรือน |
ไส้ตันไส้ตันตื้น |
ปลาอื่น ๆ ไม่มีเหมือน |
ไส้ตันเล่ห์จะเตือน |
ไห้ขยั้นตันใจจน |
ปลาตีนปีนเล่นลื่น |
ประทะคลื่นตื่นอละวน |
ไถลขึ้นไปบน |
เฉนียรน้ำทำตาแดง ฯ |
๏ แม่กงปลาทุกัง |
แลปลาลังปลาแขยง |
มังกงกะพงแฝง |
ฝั่งสินธูดูเหหัน |
คางเบือน ๆ หาค |
พะแมงภู่เปนคู่ขัน |
ประทะละลานกัน |
คางเบือนผันหันหางจร |
กระทิงกระทั่งฝั่ง |
กระสงสั่งวังไม้ขอน |
นิ่งหน่วงห่วงฟองอ่อน |
จำใจสั่งวังวาริน |
ปลาทองท่องกินไคล |
อยู่ที่ในกระถางดิน |
สีเหลืองเรืองกายิน |
ยลเยี่ยงทองผ่องแสงใส ฯ |
๏ หมู่ปลาในแม่กก |
จะแยกยกออกขานไข |
อิทุกทุกข์ถึงใคร |
จึงชื่อทุกข์ขุกเคืองเข็ญ |
ปลาอุกร้องอุก ๆ |
โดนปลาดุกดิ้นกระเดน |
ดุกด้านออกสร้านเซน |
น้ำใสเย็นเห็นกายิน |
ปลาโคกนูนดังโคก |
ปลาตะโกกดูน่ากิน |
ตะพากบากเบนผิน |
ปะปลาหมึกนึกพรั่นใจ |
คณาฝูงปลาหมึก |
อยู่น้ำลึกทะเลใหญ่ |
กระดองผ่องเปนไย |
เรียกชื่อใช้ลิ้นทะเล |
ฉนากจากเฉนียร |
วนวกเวียนเหียนหันเห |
ถึงน้ำลึกเลเพ |
ก็ผกผันฟันฝ่าชล |
กระบอกเบนบากออก |
โยงชักครอกออกอละวน |
มาปะปลายี่สน |
หนีซ่า ๆ ล่าสลอน |
ลิ้นสุนักข์มักเข้าร้อง |
ที่ใต้ท้องนาวาจร |
หมู่ปลาในสาคร |
อเนกหลากมากมูลมอง ฯ |
ฉบัง ๑๖๏ ปลาในแม่กดบทละบอง |
ปลาในห้วยหนอง |
แม่น้ำแลลำธารา |
|
ปลากดปลากัดอัตรา |
กำพวดกายา |
ใหญ่ยิ่งปลาตีนตาโปน |
|
สลาดเหล่าสลิดโลดโผน |
ปะปลาจวดโจน |
สังขะวาดบคลาศวนวัง |
|
ปลาหลดลอดหมกโคลนฝัง |
ถึงกระนั้นยัง |
ไม่พ้นมนุษขุดกิน |
|
สีเสียดแล่นเสียดวาริน |
ไล่ไซร้ไคลดิน |
กระเดือกแลเสือกแล่นไถล |
|
ปลาแรดเศียรมีนอใหญ่ |
คนมักพอใจ |
เลี้ยงขังกระพังสระศรี |
|
จละเม็ดกระดูกอ่อนดี |
ชาวชลบุรี |
เรียกปลาสุนักข์แหงนดู |
|
ปลาอื่นดื่นในสินธู |
บ่อได้ชื่อชู |
เลือกคัดแตชัดเจนใจ ฯ |
|
๏ แม่กบวาร์ณแกลบมีใน |
ท้องคงคาลัย |
ทะเลอันลึกโอฬาร |
|
ช้างเหยียบในนทีธาร |
ปลาแปบ ๆ ปาน |
คนบีบแลลีบกายา |
|
ปลาอุบร้องอุบ ๆ ปรา |
กฎชื่อลือชา |
ตลอดจนทุกวันวาร ฯ |
|
|
สุรางคณางค์ ๒๘๏ ปลาในแม่กม |
จัดนับนิยม |
ชื่อใช้ไขขาน |
ปลาพรมหนวดพราหม |
เรียกตามโบราณ |
แก้มช้ำคล้ำปาน |
ประหารตบตี |
|
ฉลามหนามหลัง |
ปลากริมริมฝั่ง |
คับขั้งมากมี |
ปลาเข็มเล็มไคล |
ที่ในนาวี |
นักเลงยินดี |
เลี้ยงกัดพนัน |
|
ปลาเสี้ยมหางเสี้ยม |
จิ้มลิ้มจิ๋มเจี้ยม |
เรียกปลาจิ้มฟัน |
จรเข้ดูสม |
กับรูปะพรรณ |
แหลมเสี้ยนสำคัญ |
จิ้มฟันได้จริง ฯ |
|
๏ นามปลาแม่เกย |
ฉันจักเฉลย |
โดยนามทุกสิ่ง |
ขอท่านทั้งปวง |
อย่าท้วงอย่าติง |
ฉันคิดประวิง |
ว่าเล่นเปนกลอน |
|
ในเกยยุบล |
มัจฉาสาชล |
สับสนสัญจร |
คณาปลากราย |
สวายเนื้ออ่อน |
ปลาสร้อยสลอน |
สลับตาเสือ |
|
ดุกอุยอ้ายด้อง |
เที่ยวขึ้นเที่ยวล่อง |
เกี่ยวข้องปลาเขือ |
ดาพลาวยาวใหญ่ |
ไซ้ไคลท้องเรือ |
หัวตะกั่วเจือ |
ปลาซิวแซกแซง |
|
หมู่ปลาหมอเกราะ |
ว่ายวนรนเราะ |
ลงมุดเลนแฝง |
สวายกล้วยฟาด |
สังขะวาดวัดแวง |
อ้ายแก้วเอาแกง |
กินต่างเทโพ |
|
ปลารากกล้วยขาว |
ตัวมันยาว ๆ |
ไม่สู้ใหญ่โต |
กระทงเหวหัน |
ผายผันผกโผ |
แฉลบชะโล |
ธระทึกลึกหลาย |
|
ฝูงเขมาโกรย |
จากถิ่นดิ้นโดย |
ไปโดนปลากราย |
ทบท้นวนแวก |
ฝูงแตกกระจาย |
กระจัดพลัดพราย |
แพร่ท้องชลธาร |
|
เหล่านี้นามปลา |
ฉันชักเอามา |
รวมไว้ไขขาน |
สำหรับหนู ๆ |
พวกหมู่กุมาร |
จะได้เขียนอ่าน |
เพียงพอล่อใจ |
|
ตามลำดับแม่ |
ตั้งต้นนั้นแต่ |
แม่ ก กาไป |
จนถึงแม่เกย |
เฉลยคำไข |
เด็กเชาว์ไว ๆ |
รู้ได้ดี ๆ |
|
อีกสัตวหน้าขว้ำ |
ชุมชาติสัตวน้ำ |
บนบกก็มี |
คือหอยนา ๆ |
ในมหาวารี |
หอยสังข์ใสสี |
เศวตวรรณฉาย |
|
แมงภู่จุบแจง |
กะพงหอยแครง |
หอยเสียบหอยชาย |
กะปุกนางลม |
ปากเป็ดมีสาย |
หอยตาวังลาย |
หอยหลอดนมสาว |
|
พรรณหนึ่งหอยกาบ |
งับ ๆ งาบ ๆ |
สองกาบรียาว |
รอยปากสนิธ |
เปิดปิดเปนคราว |
ภายนอกพรายพราว |
เนื้อในใหญ่หนา |
|
อย่างหนึ่งหอยโข่ง |
รูปร่างโป้งโล้ง |
คอยอยู่ท้องนา |
อย่างหนึ่งหอยขม |
เขางมเอามา |
แช่น้ำทำยา |
แกงกินก็มี |
|
หอยทากคล้ายทาก |
มักมีชุมมาก |
ในดงพงพี |
ไส้เดือนรากดิน |
สัตวกินธรณี |
ตัวแดงยาวรี |
อยู่ที่น้ำครำ |
|
ประดิษฐ์คิดถัว |
จะว่าให้ทั่ว |
ถึงตัวลูกน้ำ |
เกิดในน้ำเน่า |
น้ำขังประจำ |
แลเปนต้นกำ |
เนิดยุงทั้งหลาย |
|
หมู่หนอนนา ๆ |
มีอเนกา |
ตัวขาบตัวลาย |
ปล้องแดงปล้องเหลือง |
เรือง ๆ พราย ๆ |
มีสัณฐานกาย |
รีดเรียวกลม ๆ |
|
ว่าโดยกำเนิด |
หนอนนี้มักเกิด |
ในที่โสมม |
เผ็ดเค็มไม่เลือก |
มันเผือกผลซ่ม |
จนชั้นอาจม |
มีถมดื่นดาย |
|
พวกสัตวเหล่านี้ |
บาทาไม่มี |
บาลีขยาย |
ว่าอะบาทา |
สมญาบ่กลาย |
นักเรียนเด็กชาย |
เชิญดูรู้จำ ๚ะ |
๏ จบสัตวปราสจากเท้า |
ทั้งหลาย |
คิดจัดเปนหมวดหมาย |
หมู่ไว้ |
สำหรับนักเรียนชาย |
เชิญอ่าน เล่นเฮย |
พอเพื่อเปนทางได้ |
คิดค้นคำเติม ๚ะ |
๛ จบ ๛