ภาคผนวกเรื่องวันคาร
ขึ้นบทต้นด้วยคำกลอนตลาดเพิ่งแต่งขึ้นใหม่ มิใช่คำของผู้ประพันธ์ต้นเดิม และเข้าใจว่าพระทุ่มแต่งขึ้นในตอนคัดลอก ในการคัดลอกก็บอกว่า ไม่มีสำเนาคือต้นฉบับแต่อาศัยความจำ คงลงความเห็นได้ว่า เรื่องนี้มีมาก่อน แต่พระทุ่มคัดขึ้นโดยไม่มีต้นฉบับก็คือใช้ความจำนั่นเอง เรื่องวันคารนี้เป็นหนังสืออ่านสนุก ๆ ในสมัยโบราณก็ให้เด็กอ่านเพื่อความชำนาญหนังสือ มิได้หวังทางอื่นมากนัก แต่ก็แซกซ่อนสุภาษิตคติเตือนใจไว้มากเหมือนกัน สำหรับคำที่เป็นภาษาพื้นบ้านนั้น ได้ให้ความหมายพอเป็นที่เข้าใจอย่างกว้างๆ ดังต่อไปนี้
หัวจุกหัวเจ๊กเด็กหัวเปีย | ทั้งหมดนี้หมายถึงเด็ก ๆ เพราะเด็กครั้งนั้นต้องไว้จุกหรือเปียกันจนอายุ ๑๒ ปี จึงจะตัด หัวจุกคือผมที่เว้นไว้กลางกระหม่อนกระจุกเดียวถ้าปล่อยไม่เกล้าจะปรกมาข้างหน้า ผมเปียคือ ผมสองกระจุกเว้นไว้กลางกระหม่อมไม่เกล้าก็จะตกไปสองข้าง หัวเจ๊ก คือผมจุกกระจุกเดียวที่เว้นไว้กลางกระหม่อมค่อนข้างท้ายทอย ถ้าไม่เกล้าจะตกไปข้างหลัง |
คนเพลีย | คือ คนเปลี้ย |
รูปชื่อทุ่มผู้เขียน | บอกตรงแล้ว พระทุ่มเป็นผู้เขียนคัดลอกลงสมุดข่อยนี้ |
ยาเมา | คือ ยาฉุน |
เห็นดู | คือ เอ็นดู |
เนาว์โลกอุดรสถิต | คือ อยู่ในทิศเหนือ ที่นี้กล่าวทิศเพียง ๗ ขาดทิศทักษิณ |
ไม่เซ้าซี้ | ไม่ทู่ซี้ |
ปัญจะพรหมา | จตุรพักตร์พรหมมี อัฏฐนาคะ กุกกุฏสัตตะ ว่าตามกลอนพาไป คงจะเคยท่อง อักขระจารึกยันต์ตรีนิสิงเห จะลงเลขอะไรมีคาถาประจำเลข เลยคล่องปาก ก็กลอนพาไปทั้งนั้น |
คำว่า ดิฉัน | เป็นคำพูดสุภาพที่พูดต่อผู้ที่ตนเคารพ ใช้ทั้งผู้ชายผู้หญิง |
พุงใหญ่ | เป็นภาษาพื้นเมือง ว่ามีครรภ์ |
อะขู อักโข | มากมาย |
ผ่าพุงทั้งเป็น | บุราณไม่มีก็จริง สมัยนี้เรื่องเล็ก |
ทลา ถลา | หมายความถึงถนน ลา ก็เหมือนกัน |
ตำแย | หมอในการเกิดด้วยวิธีผดุงครรภ์แบบโบราณ |
กลบลูก | ทำให้ลูกแห้งหายไปในท้อง |
หาไม่ | ไม่มี |
ควายพ่าน | ควายไม่มีคอกเที่ยวเพ่นพ่าน |
ยุด | ยึด หรือดึงเอาไว้ |
ตาเณรบัว | คือคนที่บวชพระแล้วสึกออกมา ชาวบ้านเรียกว่าเณร เช่น พระบัว สึกมาแล้ว ถูกเรียกว่าเณรบัว จะเรียกว่าทิตต้องบวชนาน ตาเณรบัวหมายความถึงนายบัวคนเก่ารุ่นตา |
ตรัน | เข้าไปเอาไม้หรือมือยันดันเอาไว้ |
กาหลอ | วงดนตรีชะนิดหนึ่ง ใช้เฉพาะงานศพ แบบนางหงษ์ |
บัวปอก | สีของผ้า |
มันขัน | น้ำมันชะนิดหนึ่ง |
เชอ | (กะเชอ) ภาชนะสานด้วยหวายสำหรับผู้หญิงใช้ถือใส่หมากพลูเป็นต้นในการเดินทาง |
มือกุมพัด | ถือพัด เช่นพัดด้ามจิ้ว |
สูมาแลไหรๆ | พวกแกจงมาดูอะไรนี่ซิ |
อีราชา | นางตัวดี |
ไอ้ฉากหัว | เป็นคำด่าของผู้หญิง |
การไหรใคร | ธุระอะไรของใคร |
มาต้า | มาซิ |
อุตตราวัฎศพ | คือแห่ให้ซ้ายแก่เมรุ ตรงกันข้ามกับทักขิณาวัฏ |
ทุมทุม | เป็นอาการที่ไฟลุก |
เวช้า | เวเปล คือ ไกวเปล ช้า คือว่าเพลงกล่อม |
เออนัน | เออหนาน เฮอนัน เป็นคำอุทานอย่างเห็นด้วยเต็มที่ |
หนำนา | กะต๊อบกลางนา ขนำนาก็เรียก |
พรูกเช้า | ต่อโพรก คือพรุ่งนี้ |
ห่อเตาะ | ห่อกาบหมาก |
นายเภา | นายสำเภา |
จืดปาก | คือ กินอาหารไม่รู้รส |
ขรี | ชื่อไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายนนทรี ยอดขวาดเป็นผักได้ |
ตีไม้สีฟัน | ไม้สีฟันโบราณใช้ไม้ข่อยบ้าง สะเดาบ้าง ตีให้เป็นฝอย เหลาอีกข้างให้แหลมสำหรับชำระฟัน ตามวัดมักตีก่อนเข้าพรรษา ถวายอุปัฌาย์ อาจารย์ |
ปลาโคบ | บางทีเรียกปลาโคก เป็นปลาน้ำเค็ม ขนาดเท่ากับปลาทู แต่ตัวสั้นเกล็ดมาก |
ขึ้นเห็ดเหม็ดแล้ว | ขึ้นราหมดแล้ว |
ร้องอีโหย่ | ร้องชโย โห่ฮี้ว ด้วยความร่าเริงหรือคึกคะนอง |
หน้าเท่าด้ง | หน้าบานด้วยความดีใจ |
ช็อง | เป็นอาการที่ปักของแหลมลงไปที่ดิน |
ฝานหอมใส่ | หั่นหัวหอมใส่ |
หอมอาวรณ์ | หอมยวนใจพิลึก |
ช่อกันเข้า | ผูกเข้าเป็นพวง |
ทุ่มไว้ | ทิ้งไว้ |
ใต้ซองหนำ | ซุกซอกไว้ใต้หนำ (กระต๊อบ) |
เปลือกพุกดำ | เปลือกผุจนดำ |
ไม่ลิดก่อน | ยังไม่ปอกเปลือก |
หนังยู่ยี่ | หนังย่นหดเหี่ยว |
ขลุกขลิก | มีอะไรกระทบกุกกิก |
แช | ช้า |
ไว้บนผรา | ผราคือร้านปูฟาก มีอยู่เหนือเตาไฟในครัวชาวบ้านโบราณเกือบทุกบ้าน สำหรับเก็บของที่อาจชื้นเช่นเกลือน้ำตาลพริกขี้หนูแห้งเป็นต้น |
รอดจะกูดหัก | จะกูดคือหางเสือ คานที่ยึดหลักหางเสือหัก |
กูดท้าย | หางเสือเรือ ก็ไหวคือสั่นจนไว้ไม่อยู่ |
เชียง | คือกรรเชียง |
หลักแง้น | หลักหลุดจากฐานกรรเชียงไม่ได้ |
ฉัดเข้าริมฝั่ง | ซัดเข้าริมฝั่ง |
ชบ | ชุบด้วยเวทย์มนต์ จะให้เป็นอะไรตามปรารถนา |
ฉุก | ยุ |
งาย | ครึ่งวัน |
แค่มันขัน | ที่มันนึกสนุกหรือเล่นตลก |
ลงสัน | ตกลง |
เล่า | บอก |
ทำหลาวๆ | ทำผลุนผลัน |
จาบัลย์ | คำกวีเมืองนครแปลว่าพูด |
ปิเหน่ง | ปั้นเหน่ง |
เสือกหน้า | ว่าใส่หน้า |
สา | รู้สึก สาอะไร จะรู้สึกอะไร สากลัว = รู้สึกกลัว |
ลกลก | รีบด่วน |
ถด | ถัดกระเถิบ |
ว่าเจ้าไหมจูงหวากัน | บอกจีนชื่อไหม ให้จูงอั๊วด้วย |
ยักหงาย | หงายหลัง |
ครุบฉวยถูกแค่บั้นขา | ผะเอิญจับถูกกลางขา |
ย็อง ย็อง | เป็นอาการที่วิ่ง |
หลังก็อง | หลังโกง |
หัวเพตรา | หัวคุดทะราดที่เท้า |
ฉีกเรียน | ฉีกทุเรียน |
กุมพรก | ถือกะลามะพร้าว |
ปละหน่วย | ข้างละใบ |
ตีนตรด | ตีนกะจอก คือข้อเท้าซึ่งเคลื่อนไหวไม่ได้ เวลาเดินจรดปลายเท้า |
ตาเณร | ในที่นี้หมายถึงคนแก่ที่ยังบวชเป็นเณร ซึ่งบางคราวเรียกเถน |
เที่ยวโจ่งพลิ่น | เที่ยววิ่งเพ่นพ่านไม่มีจุดหมาย |
เขื่อน ตู | ธรณีประตู |
อะไรฉู้ | อะไรไม่รู้ |
พดงู | ขนดงู คืออาการที่งูม้วนตัวนอนเป็นวงกลมซ้อนเป็นชั้น ๆ เรียกว่างูนอนพด |
ด้งมอน | กะด้งใบใหญ่สำหรับใส่ของตากแดด |
เด็กรื่นๆ | เด็กวัยรุ่น |
พวกโลน | พวกนักขัดคอ เช่นเวลาหนังโนราแสดง มักมีคนดูคอยพูดขัด เรียกว่าพวกโลน |
ไม่สาไหร | ไม่มีรสชาดอะไร ใช้ไม่ได้ |
หมาดเถิด | ประมาทอยู่เถิด |
จะอุก | จะปล้น |
อย่าเน่งเร่งบอก | อย่านิ่งอยู่เร่งบอกมา |
หอบลิ้นล่อ | หอบจนลิ้นห้อย |
ทำปรือ | ทำอย่างไร |
กระหนหาย | กระวนกระวาย |
ขี้เย็น | มักเย็น คือหนาวเร็วกว่าคนอื่น |
สากลัว | รู้สึกกลัว |
ความโกง | ความอวดเก่ง หรือคุยโม้ ยกตนข่มท่าน |
ท้าวพันตา | พระอินทร์ |
เพษณุ | พระพิษณุกรรม |
ยกขึ้น | ตื่นขึ้น ลุกขึ้น |
งูบองหลา | งูจงอาง |
แมงบี้ | แมงปอ |
ถกคอแล | ชูคอขึ้นคอยดู |
ขวยใจ | เป็นห่วงกังวลใจ |
ติดลึ่ง | ออกจะทะลึ่ง |
เมลินเนตร | ลืมตา |
อย่าทำท่านักปรือเหลา | อย่าอวดเก่งนักมิได้หรือ |
เม่า | โง่ ๆ บ้าๆ |
หน้าเหมีย | หน้าสัตว์ตัวเมีย เหมียแปลว่าเพศหญิงใช้กับสัตว์ |
นุ้ย | น้อย |
ปนนั่น | เพียงแค่นั้น |
ไตรใคร | ทำอะไรใครได้ |
ลิงเสน | ลิงชนิดหนึ่ง |
น่าน | เป็นวิเศษณ์ของคำยาว คือยาวรีไปตรง ๆ ยาวมาก |
เร้อ | รื้อ |
ทดทด | อาการของคำว่าสั่น |
กัน | ด้วย ผัวโกรธอย่าโกรธกัน ผัวโกรธอย่าโกรธด้วย |
หะน้ำฉ่า | อาเจียนออกน้ำทะลักออกดังฉ่า |
หราง | ตะราง คุก |
ศรีรักษา | ตำแหน่งขุน |
รุม | ทำพร้อมกันในจุดเดียว กลุ้มรุม |
เรียด | แน่นเรียบ |
ถุ้ง | กะทุ้ง |
รอด | เข้ากับคำว่า ยก แบก หาม พา แปลว่าไหว ยกรอด=ยกไหว แบกรอด=แบกไหว |
ถึงทับ | ถึงกะต๊อบ |
เหล็กเป็น | แม่เหล็ก |
เฉียง | ผ่า |
กุบกับ | รีบร้อน |
นาด | ไกวแขน เดินนาด คือ เดินไกวแขน |
ทีละหา | ทีละหวา |
ดังป็อง | ดังปังใหญ่ ดังโป้ง |
กุมด้ามจ้ง | จับถือด้ามจอบซื่อ ๆ อยู่ |
แย่นั่งท็อง | นั่งกะแทกดังโครม |
ล็อง | สัปปะดน |
สรรพราสา, ราสา | มากเหลือเกิน |
ยู่ยี่ | หน้าหดเหี่ยวจนหมดรูปเดิม |
ยีหน่วยตา | ขยี้ลูกตา |
ขวานถา | ขวานสำหรับถากไม้ |
เม้น | เหี้ยนร่นเข้าไปมาก |
โลน | ทำให้เปลืองของเปล่าโดยใช่เหตุ |
ถูปะเม | ถูส่งเดชไร้ประโยชน์ |
หร่อย | อร่อย |
ขันตะกั่ว ตักตะกั่ว | ขันที่ทำด้วยตะกั่ว เอาไปตักตะกั่วกำลังเหลว เพราะความร้อนนอกจากตักตะกั่วไม่ได้แล้ว ขันก็ละลายเสียอีกด้วย |
ฉากหัว | คำด่าของผู้หญิง |
โม่ | โง่ |
เคอะ | เซอะ |
มัดกะ | บ้าระห่ำ |
ลึ่ง | ทะลึ่ง |
ล็อน | คือประสมทั้ง ๔ อย่างข้างต้น (ล็อนไม่มีใครพูดแล้ว) |
ฟันหาไม่แล้วยังด้น | ฟันไม่มีแล้วยังดุร้าย |
ด้น | ดุ |
ข่มเหง | คือ คุมเหง |
เมลือก | เมือก |
คลำแลเหงือกมังปรือเหลา | คลำดูเหงือกเสียบ้างซี (จะได้รู้ว่าแก่แล้ว) |
เทพนิมนต์ | เทวดาบันดาน |
หนักหู | หนวกหู |
ตัดหัว | คำด่าของผู้หญิง |
มนต์เท่าเถิด | ขอเชิญให้หยุดได้แล้ว |
แลควาย | เลี้ยงควาย เฝ้าดูให้คอยกินหญ้ากินน้ำและปลอดภัย |
หนำร้าย | คือกระต๊อบเก่าแก่ชำรุดกะรุ่งกะริ่ง |
ธำรงชบ | ใช้แหวนชุบให้เป็นของที่ปรารถนา |
มรับ | สำรับ มรับทอง สำรับเป็นภาชนะทอง |
หอมวิไล | หอมน่ากิน น่าพอใจ |
แจกล | กุญแจยนต์ |
เหียบ | เงียบสงบ |
เพรียบ | เงียบอย่างใบไม้ไม่กะดุกกะดิก |
กินแล | ลองกินดู |
ฉาวฉู | ฉาวโฉ่ |
ออโน | เป็นคำทักว่า เอ้า นั่นแน่ |
ลูกหวา | ลูกจ๊ะ |
ใครให้นุ้ยหา | ใครให้เจ้าฮะ |
ไม่ถ้า | ไม่รอ |
ตาว่า หัวมัน | ตาว่าช่างหัวมันเถิด |
เจ้าที่ | พระภูมิ์ เทวดาประจำบ้าน |
ไตร | ทำไม |
ถด | ถัด เขยิบ |
หนม | ขนม |
ชบ | ชุบ เนรมิต |
ใครฉู้ | ไม่รู้ว่าใคร |
ยืนหมัง | ยืนจ้องคอยที จังหมังก็ว่า |
ชะ | กะชาก ดึงเข้ามาโดยแรง |
มือร่า | อ้ามือออก |
แลท่าทาง | ดูมีกิริยาพิกล |
ฮาย | คำอุทาน |
ซาบ | แอบ ซาบบอก แอบกระซิบบอก |
บาย | สบาย |
แล | ดู |
กีด | เกะกะ คับแคบ |
ถดทีหีด | เขยิบเข้าไปทีละน้อยๆ |
หลูมหลาม | ไม่เรียบร้อย เซอะซะ |
เดียวใจ | ในทันใด ประเดี๋ยวเถอะ |
ตัว | เป็นบุรุษที่ ๒ |
เข้าแค่ | เข้าใกล้ |
ยิก | ไล่ |
เร่ง | ยิ่ง เร่งยิกเร่งทำเฉย ยิ่งไล่ยิ่งทำเฉย |
เจ้ย | ช้อน เชย |
ทรามเสียดาย | น่ารัก |
แต่ส่วน | แต่เพียงคนเดียว |
รวย | คือ อ่อนระลวย |
แลทีนางแค่ตัดได้ | ดูซินางที่ตัดได้ |
มิตรไม | มิตรไมตรีนั่นเอง แต่พูดค้างไว้ |
แต่เท้าเที่ยง | จนเวลาเที่ยง |
หลบ | กลับ หลบหลังมา คือกลับหลังมา |
หมัน | บุรุษที่ ๑ หมัน แต่เน้นเสียงให้หนักในบางความหมาย |
ไม่สู้มา | ไม่กล้ามา |
ให้เงยควายยืนเลียเทียน | เทียนคือหวายที่ร้อยจมูกควาย ควายที่ถูกล่ามอยู่กับที่ |
แม่ยัง | ยัง แปลว่ามี แม่ยัง คือมีแม่ = แม่ยังอยู่ |
ลาก | ลากในกรณีฉุดผู้หญิง เรียกว่าลากผู้หญิง ลากลูกสาว |
นอกบ้าน | หมายความถึงบ้านนอกทุ่งนา คู่กับคำว่า ในเมือง |
บถ | สะบถ |
อูชู | สมบูรณ์ มีมาก รสอูชู = กลิ่นหอมยิ่ง |
เกียน | เกวียน |
ฮึงฮัง | กิริยาที่ทำจริงจัง |
คุงคัง | เสียงดังกุงกัง |
ย็องย็อง | อาการที่เดินซึ่งมีอาการสูง ๆ ต่ำ ๆ อย่างเร็ว ๆ |
ข็องข็อง | เสียงไอ |
หบไอ | หยุดไอ |
ด้ง | กะด้ง |
เชอ | กะเชอ (ภาชนะใส่ของ) |
กร้า | ตะกร้า |
ตะบัน | ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ยน แต่นี้บทกวี |
พาไปกัน | พาไปด้วย |
เปลือกย่อน | เปลือกไม้ชนิดหนึ่ง มีรสขวาดแทนหมากได้ |
พลูหนัง | ชื่อพลูชนิดหนึ่ง ไม่นิยมกินนอกจากขัดสน |
มิทุ่ม | มิละทิ้ง |
สอบสองมุม | กะสอบทำด้วยกกหรือกะจูดใบเล็ก ๆ พอใส่ของเต็มแล้วถือได้ ใบแบน ๆ เหมือนกะเป๋าเอกสาร |
ยอมยุมชุมพู่ | พะยอม มะยม ชมพู่ |
กาหลา | สันตะกาลา ต้นคล้ายกะทือแต่โตกว่ามาก ดอกเป็นผัก |
พุดตาลดานงา | พุดตาล กะดังงา (ที่จริงเรียกดังงา) |
เพกา และกง | ชื่อต้นไม้ |
มังค่า | ชื่อต้นไม้ ยอดกินเป็นผักฯ มะค่า |
ตะขรบ | ตะขบ |
ตะขรี | ชื่อไม้ขนาดกลาง |
เหม็งซอ | ต้นไม้ ชิงชี่ |
กิ่งเซ่อ | กิ่งห้อยรุมรู่ เป็นซุ้มที่รกรุงรัง |
ฉาบ | โฉบ เกือบไป ฉาบไข่ = โฉบฉาบใกล้ไข่ |
กะทุงเกรียน | นกกะเรียน |
นกสัก | นกมูลไถ |
อีลุ้ม | นกตะกรุม |
นกชัน | นกอัญชัน |
หักซุ้ม | หักไม้ทำรังคล้ายซุ้ม |
ฟานเต้นเม่นจง | ตามตัวอยู่แล้ว ฟานบางคนว่าเลียงผา |
หมาไน | สุนัขป่าชะนิดหนึ่ง |
ขบทราย | กัดกวางทราย |
แล่น | วิ่ง |
แทงชึง | แทงดังจื๊ก |
ถึงดำ | ขนเม่นสีดำแต่ตอนปลายขาว |
หาวนอน | ง่วงนอน |
คาด | คิดหมายไว้ |
ทอดกลืนคลก | กลืนเสียงดังเฮือก |
ได้แรง | อร่อย ได้แรงอก = อร่อยอก |
เข | ขี่ |
โป | ปู่ |
งามเขี้ยวเข็น | งามจริงจังนัก |
แลทีแค่มันขัน | ดูซิที่มันน่าขำ |
กูมันหลงแล้วไสหมึง | กูมันหลงแล้วละกระมัง |
เมร่อลึ่ง | บ้า + เซอะ = เมร่อ, ลึ่ง = ทะลึ่ง |
หับตู | หับประตู |
แลไหรฉู้ | ดูอะไรไม่รู้จัก |
เฮโลสาละพา | เป็นคำพูดดัง ๆ เวลาทำอะไรพร้อมกัน |
ลาหมาย | ทาปูนหมายไว้ คือทำเครื่องหมายด้วยปูน |
กระหมึง | กระมัง |
----------------------------
พิมพ์ที่โรงพิมพ์บรรณาคม เลขที่ ๕/๓๐ ถ. ถนนประชาสงเคราะห์ สามเสนใน พญาไท พระนคร โทร. 771218 นายอาคม คเชนทร์ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา เม.ย. ๒๕๑๕