อักษรไทยน้อย
ชาวไทยอีสาน มีอักษรใช้อยู่ ๒ ชนิด คือ อักษรไทยน้อยกับอักษรธรรมอีสาน อักษรไทยน้อยใช้บันทึกเกี่ยวกับคดีโลก ส่วนอักษรธรรมใช้บันทึกเกี่ยวกับคดีธรรม การจดจารึกก็ใช้ใบลาน ตัวอักษรไทยน้อย อาศัยตัวธรรมเป็นปทัฏฐาน แต่รูปร่างของตัวไทยน้อยสูง ตัวไทยน้อย มีไม่ครบ ๓๓ ตัว เพราะตัดตัวซ้ำออกไป ตัวที่ตัดออกไปมีตัว ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ตัวที่เพิ่มเข้ามามี ด บ ฝ ฟ ฮ ส่วนสระ คงมี ๘ ตัว เหมือนตัวธรรม เมื่อต้องการเขียนคำมคธแลคำสันสกฤต ก็จำต้องนำตัวที่ตัดออกไปเหล่านั้นมาเขียน
รูปพยัญชนะอักษรไทยน้อย
ກ | ຂ | ຄ | ງ | ຈ |
ก | ข | ค | ง | จ |
ຊ | ດ | ຕ | ຖ | ທ |
ช | ด | ต | ถ | ท |
ນ | ບ | ປ | ຜ | ຝ |
น | บ | ป | ผ | ฝ |
ພ | ຟ | ມ | ຍ | ຢ |
พ | ฟ | ม | ย | อฺย |
ລ | ວ | ສ | ຫ | ອ |
ล | ว | ส | ห | อ |
ຮ | ||||
ฮ |
พยัญชนะต่อไปนี้ ยกเว้น ฃ ฅ ซ เป็นอักษรธรรมอีสานที่อักษรไทยน้อยยืมมาใช้เขียนบาลี
ᨯ | ᨥ | ᨨ | ຊ | |
ฃ | ฅ | ฆ | ฉ | ซ |
ᩃ | ᨹ | |||
ฌ | ญ | ฏ | ฐ | ฑ |
᪘ | ᨱ | ᨳ | ᨵ | ᨽ |
ฒ | ณ | ถ | ธ | ภ |
ຣ | ᩆ | ᨾ | ᩊ | |
ร | ศ | ษ | ฬ |
รูปอักษรเหล่านี้ สำหรับใช้กับคำที่มี ห นำ
ຫງ | ໜ | ຫົມ | ຫᩫຽ | ຫຽ |
หฺง | หฺน | หฺม | หฺย | หฺญ |
ຫຼ | ຫᩫວ | |||
หฺล | หฺร | หฺว |
สระ ๒๙ ตัว
ອະ | ອາ | ອິ | ອີ | ອຶ |
อะ | อา | อิ | อี | อึ |
ອື | ອຸ | ອູ | ເອະ | ເອ |
อื | อุ | อู | เอะ | เอ |
ແອະ | ແອ | ເອີຍະ | ເອີຍະ | ເອືອະ |
แอะ | แ | เอียะ | เอีย | เอือะ |
ເອືອ | ເອອະ | ເອອ | ອັວະ | ອັວ |
เอือ | เออะ | เออ | อัวะ | อัว |
ໂອະ | ໂອ | ເອາະ | ອອ | ໄອ |
โอะ | โอ | เอาะ | ออ | ไอ |
ໃອ | ເອາ | ອຳ | ເອິ | |
ใอ | เอา | อำ | เอิอ |
รูปตัวเลขไทยน้อย
໑ | ໒ | ໓ | ໔ | ໕ |
๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ |
໖ | ໗ | ໘ | ໙ | ໐ |
๖ | ๗ | ๘ | ๙ | ๐ |
พยัญชนะไทยน้อย การศึกษาอักษรไทยน้อยที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคากนี้ มีพยัญชนะตัวเต็ม ตัวเฟื้อง สระ คำพิเศษ ดังนี้
- พยัญชนะตัวเต็ม คือพยัญชนะที่เขียนเต็มรูป ใช้เป็นพยัญชนะต้น ตัวสะกด และตัวตาม ดังนี้
การใช้พยัญชนะเป็นตัวต้นและตัวสะกด
พยัญชนะไทย | พยัญชนะไทยน้อย | ตัวอย่าง | หมายเหตุ |
ก | ກ | ||
ยังมีเมืองใหญ่กว้างในทีปชุมพู | |||
ก็หากเป็นธรท้าวพระยาเอกตนเดียว | |||
ข | ຂ | ใช้ ก แทน ข | |
ขอให้ลุที่แม้งโดยดั่งปรารถนา | |||
ให้ได้คำสุขสิ่งอินทร์เมืองฟ้า | |||
ค | ຄ | ||
เฮียมจักเอาคุณแก้ว ๓ ประการเป็นที่เพิ่ง | |||
ใช้ ก แทน ค | |||
เฮาจักถามนาโคนาคหลวงในน้ำ | |||
ง | ງ | ||
เฮาหากควรคึดง้อพออฺย้านสั่นสาย | |||
ขงเขตในชุมพูเปรียบสองบ่มีได้ | |||
จ | ຈ | ||
มีทังโฮงใหญ่ตั้งผาสาทจูมคำ | |||
ใช้ ด แทน จ | |||
สรงโสรจเนื้อสองให้ยืนยาว | |||
ช | ຊ | ||
ยังมีเมืองใหญ่กว้างในทีปชุมพู | |||
ใช้ ส แทน ช | |||
เจ้าก็ทสราชแท้ตั้งอฺยู่ตามธรรม | |||
ด | ດ | ||
เขาก็มีคำสุขซู่คนดอมเจ้า | |||
เลยฮอดฟ้าเสมรุตั้งยอดสูง | |||
ต | ຕ | ||
อย่าได้มีพยาธิฮ้ายบังเบียดเถิงตน | |||
ใช้ ด แทน ต | |||
ก็หากยินสนุกล้นยินซะออนจิตทะจอด | |||
ถ | ຖ | ||
แม้นว่าผมเกศเกล้าถวายบาทบูชา | |||
ใช้ ด แทน ถ | |||
นางนาถแก้วประนมนิ้วใส่หัว | |||
ท | ທ | ||
ก็หากเป็นธรท้าวพยาเอกตนเดียว | |||
ใช้ ด แทน ท | |||
ผมเกศเกล้าถวายบาทบูชา | |||
น | ນ | ||
สาวสนมหนุ่มน้อยแฝงเฝ้าสี่พัน | |||
เขาก็สุขยิ่งล้นบุญเจ้าเหลื่อมงำ | |||
บ | ບ | บุญหุ้มเกล้าเสถียรหมั้นหมื่นปี | |
มีหมู่คูเล็กล้อมเวียงหลวงประชิดฮอบ | |||
ป | ປ | ||
มีทังหอขวางตั้งปักตูทวารทังแปด | |||
ใช้ บ แทน ป | |||
เมื่อนั้นเขาก็เห็นฮูปเจ้านามมะหน่อกุมาร | |||
ผ | ຜ | ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้ | |
มีทังโฮงใหญ่ตั้งผาสาทจูมคำ | |||
ฝ | ຝ | ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้ | |
เมื่อนั้นศรีแจ่มเจ้าแพงล้านเล่าฝัน | |||
พ | ພ | ||
พลอยเล่าลงมาเกิดดอมนางเอกราช | |||
ใช้ บ แทน พ | |||
คึดว่าทรงคัพภ์กุมารผู้ประเสริฐจิ่งแล้ว | |||
ฟ | ຟ | ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้ | |
ยอดช่อฟ้าเหลืองเหลื้อมเฮื่อคำ | |||
ม | ມ | ||
บุญมากล้นเหลือพื้นแผ่นดิน | |||
คอมว่าม้มจากท้องพระแม่เทวี | |||
ย | ຍ | ||
นางก็ยินดีได้พระจันทร์เพ็งชมจูบ | |||
หินแก่นกล้าเป็นต้ายกำแพง | |||
อฺย | ຢ | ||
ฝูงคนคึดง้อยินอฺย้านสั่นสาย | |||
เฮ็ดอู่แก้วกุมารน้อยหน่อเมือง | |||
ล | ລ | ||
มีทังเค็งๆก้องฝนลมอากาศ | |||
ใช้ น แทน ล | |||
อวนจิ่งแปงใจคีค้อยทรงศีล ๕ | |||
ว | ວ | ||
มีหมู่คูเล็กล้อมเวียงหลวงประชิดฮอบ | |||
คึดคั่งแค้นหิวไห้ฮ่ำไฮ | |||
ส | ສ | ||
พระก็เทียวสงสารแต่ประถมปางนั้น | |||
มีทังเค็งๆก้องฝนลมอากาศ | |||
ห | ຫ | ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้ | |
บุญหุ้มเกล้าเสถียรหมั้นหมื่นปี | |||
อ | ອ | ||
พลอยเล่าลงมาเกิดดอมนางเอกราช | |||
หลายตัวสารอเนกนองทังม้า | |||
ฮ | ຮ | ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้ | |
ทังคิงนางฮุ่งเฮืองปานแก้ว |
ข้อสังเกต
รูปพยัญชนะตัวเต็มที่ใช้เป็นตัวตามและเป็นรูปเดียวกัน มักใช้ในคำภาษาบาลี เช่น ᨵັມມ= ธัมม ม ตัวแรกเป็นตัวสะกด ม ตัวหลังเป็นตัวตามหรือเรียกว่าตัวสังโยค ในเรื่องพระยาคันคากนี้ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวตามในรูปของภาษาบาลี แต่ในรูปของภาษาไทยมักใช้ในรูปของอักษรควบกล้ำและอักษรนำ และใช้ตัวพยัญชนะต่างรูปกัน ดังนี้
อักษรควบกล้ำ
เหง้า ເຫງາ
หนาว ໜາວ
เหมือย ເໝິ
ใหญ่ ໄຫຽ
เหลื้อม ເຫᩖິອມ
ไหว้ ໄຫວ
อักษรนำ
ถวาย ຖວາຽ
สนม ສມ
สนาม ສາມ
สวัน ສວັນ
- พยัญชนะตัวเฟื้อง คือ พยัญชนะที่นิยมเขียนครึ่งตัว พยัญชนะตัวเฟื้องทุกตัวจะมีรูปแตกต่างจากพยัญชนะตัวเต็ม พยัญชนะตัวเฟื้องใช้เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวตามอักษรนำ พยัญชนะตัวเฟื้องของอักษรไทยน้อยมักเขียนไว้ใต้บรรทัด หรือไม่ก็เขียนบนบรรทัดแต่เขียนติดเป็นรูปเดียวกับอักษรตัวต้น จากการศึกษาอักษรไทยน้อยตัวเฟื้องที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคากนี้ พบว่ามีการใช้ตัวเฟื้องอยู่ ๖ ตัว ดังนี้
การใช้พยัญชนะตัวเฟื้อง
อักษรไทย | อักษรธรรมตัวเต็ม | อักษรธรรมตัวเฟื้อง | เรียกว่า | ตัวอย่าง | คำอ่าน |
น | ນ | | ตีนนอ | ສນ | สนม |
ม | ມ | | ตีนมอ | ຫຶນ | หมื่น |
ย | ຍ | ຽ | ตีนยอ | ຖວາຽ | ถวาย |
ล | ລ | ຼ | ตีนลอ | ເຫີຼອງ | เหลือง |
ส | ສ | | ตีนสอ | ຜາສາ | ผาสาท |
อย | ຢ | | ตีนอย | ຮ | ฮ้อย |
- สระที่ใช้ในวรรณกรรมอีสานส่วนใหญ่มักจะใช้สระทั้ง ๒ ประเภท คือสระลอย และสระจม สระลอย ได้แก่สระที่ใช้เขียนอยู่หน้าคำโดยไม่ต้องใช้ตัว อ เกาะ ส่วนสระจม คือรูปสระที่ต้องเขียนประสมกับพยัญชนะต้น
จากการศึกษาสระในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคากนี้ พบแต่สระจม ไม่พบสระลอย ดังนี้
การใช้สระ
สระไทย | ไทยน้อย | ตัวอย่าง | คำถอด | คำอ่าน | หมายเหตุ |
อะ | ອະ | ພະ | พะ | พระ | |
อา | ອາ | ມາ | มา | มา | |
อิ | ອິ | ເຂິນ | เขิน | เขิน | |
อี | ອີ | ທີ | ที | ที่ | |
อึ | ອຶ | ອຶງ | อึง | อึ่ง | |
อื | ອື | ໝືນ | หมืน | หมื่น | |
อุ | ອຸ | ບຸນ | บุน | บุญ | |
อู | ອູ | ໝູ | หมู | หมู่ | |
เอะ | ເອະ | ເພັງ | เพัง | เพ็ง | สระลดรูป |
เอ | ເອ | ເກັດ | เกัด | เกศ | |
แอะ | ແອະ | ແປະ | แปะ | แปะ | |
แอ | ແ | ແນ | แมน | แม้น | |
เอียะ | ເອີຍະ | - | - | - | ไม่พบการใช้ในเรื่องนี้ |
เอีย | ເອີຍ | ບຍດ ເສັຽ | บยด, เสัย | เบียด, เสีย | |
เอือะ | ເອືອະ | - | - | - | ไม่พบการใช้ในเรื่องนี้ |
เอือ | ເອືອ | ເຄິອ | เคิอง | เครื่อง | ใช้ อิ แทน |
เออะ | ເອອະ | ເຕໍໍະ | เติะ | เตอะ | ใช้รูปสระเอิ+เออะ |
เออ | ເອອ | - | - | - | ใช้รูป เอิ แทน |
อัวะ | ອັວະ | - | - | - | ไม่พบการใช้ในเรื่องนี้ |
อัว | ອັວ | ຊວດ | ซวด | ซวด | |
โอะ | ໂອະ | ມມ | มม | ม้ม | สระลดรูป |
โอ | ໂອ | ໂດຽ | โดย | โดย | |
เอาะ | ເອາະ | ເພາະ | เพาะ | เพราะ | |
ออ | ອອ | ຍອດ | ยอด | ยอด | |
ไอ | ໄອ | ໄຕ | ไต | ไตร | |
ใอ | ໃອ | ໄນ | ไน | ใน | ใช้รูปสระ ไ แทน |
เอา | ເອາ | ເກາ | เก่ | เกล้า | |
อำ | ອຳ | ຄຳ | คำ | คำ (ความ) | |
เอิ | ເອິ | ເຖິງ | เถิง | เถิง |
- คำพิเศษ คือ อักขรวิธีของอักษรไทยน้อยในการเขียนคำย่อซึ่งรูปร่างจะแตกต่างไปจากคำเดิม การเขียนคำย่อหรือคำพิเศษที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคาก มีดังนี้
การเขียนคำย่อหรือคำพิเศษ
คำพิเศษ | คำถอด | คำอ่าน | หมายเหตุ |
ກຸະລຸະທີບ | กุะลุะทีบ | กุกะลุละทีป | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ແກາ | แกกา | แก่กล้า | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ແກັນ | แกัน | แก่น | ใช้ไม้ซัดกำกับในคำที่ประสมด้วยสระ แอ |
ຂາດ | ขฺนาด | ขนาด | ใช้ น เฟื้อง |
ເຂັດ | เขัด | เขต | ใช้ไม้ซัดกำกับในคำที่ประสมด้วยสระ เอ |
ຄາ | คฺนา | คณา (หมู่เนื้อ) | ใช้ น เฟื้อง |
ຊະພຸອມ | ชะพุอม | ซะพู่พร้อม | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ຊະເຫᩖາ | ชะเหฺล์า | เสลา | ใช้ ล เฟื้อง และใช้ไม้กงกำกับ |
ໄດັງ | ไดัง | ได้ดั่ง | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ເຕິະ | เติะ | เตอะ | ใช้รูปสระเอิ+เออะ |
ແຖງ | แถฺลง | แถลง | ใช้ ล เฟื้อง |
ໄທາວ | ไทาว | ไทท้าว | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ບຸະ | บุะ | บุบะ | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ປາຖາ | ปาถฺนา | ปรารถนา | ใช้ น เฟื้อง และไม่มี ร กล้ำ |
ຜຽອງ | ผฺยอง | ผยอง | ใช้ ย เฟื้อง |
ເພິອນ | เพิอน | เพื่อเพื่อน | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ແພນ | แพน | พลแพน | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ເມັຽ | เมัย | เมีย | ใช้ ย เฟื้อง และมีไม้ซัดกำกับ |
ໄມາ | ไมา | ไม่มา | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ເຍິະ | เยิะ | เยอ | ใช้รูปสระเอิ+เออะ |
ລຸະ | ลุะ | ลุละ | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ລີາຽ | ลีาย | ลีล้าย | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ເລັກ | เลัก | เหล็ก | ใช้ไม้ซัดกำกับในคำที่ประสมด้วยสระ เอ |
ລມ | สฺน์ม | สนม | ใช้ น เฟื้อง |
ເສຼາ | เสฺล์า | เสลา | ใช้ ล เฟื้อง |
ເສີ | เสีม | เสมอ | ใช้ ม เฟื้อง และใส่สระ อี ด้วย |
ໝັນ | หฺมัน | หมั่น | ใช้ ม เฟื้อง ใช้ไม้ซัดแทนไม้หันอากาศ |
ໝືນ | หฺมืน | หมื่น | ใช้ ม เฟื้อง |
ໜຸມ | หฺนุม | หนุ่ม | ใช้ น เฟื้อง |
ອັດຖີານ | อัดถีาน | อธิษฐาน | ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว |
ເອັກ | เอัก | เอก | ใช้ไม้ซัดกำกับในคำที่ประกอบด้วยสระ เอ |
ຢານ | อฺยาน | อฺย้าน | ใช้พยัญชนะ ຢ = อฺย |
ຢຸ | อฺยุ | อฺยู่ | ใช้พยัญชนะ ຢ = อฺย |
นอกจากพยัญชนะตัวเต็ม ตัวเฟื้อง สระ และคำพิเศษแล้ว ยังมีตัวเลข เครื่องหมายพิเศษ และเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏอยู่ในเรื่องพระยาคันคากนี้ด้วย
- ตัวเลขที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคาก มีดังนี้
ตัวเลข
เลขไทย | ไทยน้อย | ตัวอย่าง | หมายเหตุ |
๑ | ໑ | ||
๒ | ໒ | ||
๓ | ໓ | ||
๔ | ໔ | ||
๕ | ໕ | ||
๖ | ໖ | ||
๗ | ໗ | ||
๘ | ໘ | ||
๘ | ᪘ | เลข ๘ อีกรูปหนึ่ง | |
๙ | ໙ | ||
๐ | ໐ |
- เครื่องหมายพิเศษที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคาก มีดังนี้
เครื่องหมายพิเศษ
เครื่องหมาย | เรียกว่า | ตัวอย่าง | หมายเหตุ |
| ไม้กง | ເກາ | ใช้ไม้กงในคำที่ผสมด้วยสระเอา |
| ไม้กง | ຕວ | ใช้ไม้กงในคำที่ผสมด้วยสระอัว |
| ไม้กง | ນມ | ใช้ไม้กงในคำที่ผสมด้วยสระโอะลดรูป |
ັ | ไม้ซัด | ສັງ | ใช้ไม้ซัดแทนไม้หันอากาศ |
ັ | ไม้ซัด | ເຂັດ | ใช้ไม้ซัดในคำที่ผสมด้วยสระเอ |
ັ | ไม้ซัด | ແກັນ | ใช้ไม้ซัดในคำที่ผสมด้วยสระแอ |
ໍ | นิคคหิต | ກໍ | ใช้นิคคหิตแทนไม้ไต่คู้ |
ໍ | นิคคหิต | ຂໍ | ใช้นิคคหิตแทน อ |
ໍ | นิคคหิต | ບໍ | ใช้นิคคหิตแทนไม้เอก |
ໍ | นิคคหิต | ໍໍປ | เขียนไว้กลางตัวอักษรเป็นเครื่องหมายว่าเขียนผิด |
໒ | ไม้ยมก | ຢັນ໒ | ใช้รูปเลขสอง |
ᪧ | ไม้ยมก | ຮງᪧ | ใช้เหมือนเลขสองแต่หัวไม่หยักและปลายหางตวัดกลับมาทางหัว |
\ | เส้นขีดเฉียงลง
|
ໄ |
เขียนไว้กลางตัวอักษรเป็นเครื่องหมายว่าเขียนผิด |
x | เส้นกากะบาท | ນxມແມວ | เขียนไว้ใต้ตัวอักษรเป็นเครื่องหมายว่าเขียนตก |
- เครื่องหมายวรรคตอนที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคาก มีดังนี้
เครื่องหมายวรรคตอน
᪥ เครื่องหมายขึ้นต้นเรื่อง
᪪ เครื่องหมายจบวรรค
᪩ เครื่องหมายเขียนก่อนขึ้นคำว่า บัดนี้ ใช้เครื่องหมายนี้ตลอดทั้งเรื่อง