ภาคคำอ่านปัจจุบัน
พระยาคันคาก
บัดนี้ เฮียมจัก | วันทาไหว้ | พุทโธ (ธรรมดวงยิ่ง) |
ขอให้ | บุญหุ้มเกล้า | เสถียรหมั้นหมื่นปี |
แม้นว่า | ผมเกศเกล้า | ถวายบาทบูชา |
นาโถสุด | ยอดญาณไตรแก้ว | |
อย่าได้ | มีพยาธิฮ้าย | บังเบียดเถิงตน |
อนตายสัง | อฺย่ามีมาต้อง | |
เฮียมจัก | เอาคุณแก้ว | ๓ ประการเป็นที่เพิ่ง |
ขอให้ | ลุที่แม้ง | โดยดั่งปรารถนา |
ให้ได้คำสุข | สิ่งอินทร์เมืองฟ้า | |
ข้าจัก | เล่าภาคพื้น | ปางก่อนโพธิสัตว์ นั้นเนอ |
พระก็ | เทียวสงสาร | แต่ปฐมปางนั้น |
ยังมี | เมืองใหญ่กว้าง | ในทีปชุมพู |
ชื่อว่า | เมืองอินตา | เขตขงตระการกว้าง |
ยังมี | ราชาไท้ | เสวยเมืองนครราช |
ทัง[๑]แท่นแก้ว | เป็นเจ้าแผ่นดิน | |
ก็หาก | เป็นธรท้าว[๒] | พระยาเอกตนเดียว |
ขงเขต | ในชุมพู | เปรียบสองบ่มีได้ |
มีหมู่ | คูเล็กล้อม | เวียงหลวงประชิดฮอบ |
หินแก่นกล้า | เป็นต้ายกำแพง | |
มีทัง | หอขวางตั้ง | ปักตูทวารทังแปด |
ยอดช่อฟ้า | เหลืองเหลื้อมเฮื่อคำ | |
มีทัง | โฮงใหญ่ตั้ง | ผาสาทจูมคำ |
ภายในมี | แท่นคำพอฮ้อย | |
มีทัง | กาลังฟ้า | แก้วเทวีเทียมพ่าง |
สาวสนมหนุ่มน้อย | แฝงเฝ้าสี่พัน | |
มีทัง | เสเนศพร้อม | หลายส่ำประนมเนือง |
หลายตัวสาร | อเนกนองทังม้า | |
เจ้าก็ | ทศราชแท้ | ตั้งอยู่ตามธรรม |
ภูธร | เป็นราชา | อฺยู่ทรงศีลห้า |
ก็เพื่อ | สมภารหลาย | ข่มแข็งเขาอฺย้าน |
ทุกประเทศท้าว | มาส่วยสินทอง | |
ยูท่าง | ทรงคำสุข | ส่วยไฮรือไฮ้ |
แม้นว่า | ฝูง(ไพร่)น้อย | เดียรดาษชาวเมือง ก็ดี |
เขาก็ | มีคำสุข | ซู่คนดอมเจ้า |
แม้นว่า | เสนาไท้ | แข็งเมืองต่างราช ก็ดี |
เขาก็ | สุขยิ่งล้น | บุญเจ้าเหลื่อมงำ แด่ท้อน ฯ |
บัดนี้ จักกล่าวเถิง | ราชาไท้ | นามหน่อโพธิสัตว์ |
พระก็ | ทรงวิมาน | อฺยู่สวรรค์เมืองฟ้า |
มีหมู่ | นารีแก้ว | สาวสนมสามหมื่น |
งามยิ่งย้อย | แฝงเฝ้าแก่นาง[๓] | |
ยามเมื่อ | นาง[๔]ใหญ่ขึ้น | อายุฮอดพันปี |
เจ้าก็ | จุติตาย | จากสวรรค์เมืองฟ้า |
พลอยเล่า | ลงมาเกิด | ดอมนางเอกราช |
ใช้ชาติเจ้า | เวรฮ้ายแต่หลัง | |
พอเมื่อ | บาผยองเข้า | สู่ฮูทวารทางปาก |
เมื่อนั้น | ศรีแจ่มเจ้า | แพงล้านเล่าฝัน |
ฝันว่า | พระจันทร์แจ้ง | เฮืองแสงพอเที่ยง |
เสด็จแต่ฟ้า | ทะยานย้ายล่วงลง | |
ตกถืกห้อง | ผาสาทเทวี | |
นางฮีบ | ทวายมือฮับ | ฮีบโจมเอาได้ |
นางก็ | ยินดีได้ | พระจันทร์เพ็งชมจูบ |
แล้วบ่ช้า | นางเจ้าเล่ากิน | |
ค้อมว่า | กินฮอดท้อง | ใสอยู่ฮง ๆ |
ทังคิงนาง | ฮุ่งเฮืองปานแก้ว | |
ฝูงหมู่ | ดาวอฺยู่ฟ้า | เสด็จด่วนลงมา |
เต็มวิมาน | แห่งนางเฮืองแจ้ง | |
ซ้ำเล่า | ผันผยองขึ้น | เวหาอากาศ |
เลยฮอดฟ้า | เสมรุ[๕]ตั้งยอดสูง | |
ฝันว่า | นางทำถีบ | เขาเสมรุเซท่าว |
เลยเกิด | เป็นดอกไม้ | นางแก้วทัดทัง[๖] |
พอยามน้อย | ทะยานลงเถิงแท่น | |
ฝูงหมู่ | เสเนศท้าว | ทังค้ายแห่แหน |
พอเมื่อ | นางฝันแล้ว | ยามแถใกล้ฮุ่ง |
เลยเล่า | ขุกลุกตื่นแล้ว | นางแก้วฮํ่าเพิง |
นางก็ | ดูหลากแท้ | ในเหตุคำฝัน |
เจ้าฮีบ | ทูลภูธร | หน่อเมืองพอแจ้ง |
เมื่อนั้น | ภูชัยท้าว | พระยาเอกราชา |
พระก็ | ผายปัญญา | ส่องหวนเห็นแจ้ง |
บัดนี้ | บ่โช[๗]ฮ้าย | ด้วยเหตุคำฝัน เจ้าเฮย |
นางจัก | มีปุตโต[๘] | เกิดมีในท้อง |
อันว่า | ปุตโตนั้น | ลูกนางผู้ประเสริฐ จิ่งแล้ว |
บุญมากล้น | เหลือพื้นแผ่นดิน | |
เจ้าอฺย่า | คึดยากแค้น | การสิ่งสันใด พี่ท้อน |
อวนจิ่ง | แปงใจคี- | ค้อยทรงศีล ๕ |
หากจัก | ลุละลาภได้ | แก้วกิ่งกุมาร พี่แล้ว |
เฮาจัก | ทรงคำสุข | เพิ่งบุญบาท้าว |
ค้อมว่า | ภูมีท้าว | แถมพรแล้วอฺย่า |
นางนาถแก้ว | ประนมนิ้วใส่หัว | |
ขอให้ | ได้ดั่งเจ้า | ปงอาชญ์มีธรรม |
อนตายสัง | อฺย่ามีมาต้อง | |
เมื่อนั้น | หลายวันได้ | สิบเดือนคัพภ์[๙]แก่ มานั้น |
ศรีแจ่มเจ้า | กุมารน้อยเกิดมา | |
ค้อมว่า | ม้มจากท้อง | พระแม่เทวี |
ฝูงหมู่ | สาวสนมมา | ฮับโจมเอาเจ้า |
ก็หาก | เอาผืนผ้า | แผ่นคำตุ้มห่ม |
เฮ็ดอู่แก้ว | กุมารน้อยหน่อเมือง | |
เมื่อนั้น เขาก็ | เห็นฮูปเจ้า | นามหน่อ[๑๐]กุมาร |
เป็นโฉมสัตว์ | คากคำตัวน้อย | |
เขาก็ | แซว ๆ ท้วง | ทังหัวเสียงสนั่น |
อันนี้ | ฮูปแจ่มเจ้า | กุมารน้อยต่างคน |
ก็หาก | งามซวดแท้ | ผิวดั่งฉันคำ |
ติท่อ | มาเป็นสัตว์ | คากคันตัวน้อย |
ค้อมว่า | เขากล่าวต้าน | เตียนฮูปกุมาร ดั่งนั้น |
เมโฆ[๑๑]บด | มืดมัวควงฟ้า | |
มีทัง | เค็ง ๆ ก้อง | ฝนลมอากาศ |
ตีฟาดไม้ | ไควค้อมซู่ลำ | |
คื่น ๆ ก้อง | ฟ้าเผลียงดินเฟือน พุ้นเยอ | |
ธรณีไหงหงั่น[๑๒] | ปิ่นเวียนปานบ่าง | |
ฝูงหมู่ | คนท่าวล้ม | ไหแตกเป็นกะจวน |
ก็เพื่อ | บุญบาศรี | ข่มคนทังค้าย |
อันนี้ | เตชะเจ้า | กุมารคันคาก จิ่งแล้ว |
ฝูงคนคึดง้อ | ยินอฺย้านสั่นสาย | |
แต่นั้น | มาดา[๑๓]ไท้ | เทวีตนแม่ |
คึดคั่งแค้น | หิวไห้ฮํ่าไฮ | |
คึดว่า | ทรงคัพภ์ | กุมารผู้ประเสริฐ จิ่งแล้วนา |
สังหาก | เป็นตัวสัตว์ | ต่างคนเดเจ้า |
ว่าจัก | ปุนปองเลี้ยง | บ่เป็นคนดา[๑๔] จักเพิ่ง ดอมนั้น |
เมื่อนั้น[๑๕] | ไหลล่องน้ำ | เสียแท้ก็อีดู |
เมื่อนั้น | โฉมเสลาน้อย | กุมารคันคาก |
เจ้าก็ | ปากกล่าวต้าน | จีจ้อยดั่งคน |
ทานโทษท้อน | พระแม่ชีวิต ข้อยเฮย | |
ขอให้ | มาดา อด | อีดูเอาเลี้ยง |
อันนี้ | เวรหลังข้อย | นำมาใช้ชาติ จิ่งแล้ว |
คันว่า | เลี้ยงใหญ่แล้ว | เมื่อหน้าหากจักเห็น แม่เฮย |
เมื่อนั้น | มาดาได้ | ยินคำลูกกล่าว |
คึดค้อย ๆ | ยินคำอีดู | |
แม่ก็ | ทวายมืออุ้ม | เอามาชมจูบ |
อรอิ่นอ้อย | สิงเจ้าค่อยโซม | |
แม้นว่า | สายใจเจ้า | เป็นโฉมคันคาก ก็ดี |
แม่จักเลี้ยง | แพงล้านบ่วาง | |
พอแต่ | ออด ๆ ต้าน | เว้าม่วนอรชร ก็ดี |
แม่หาก | ยินดีดอม | อ่อนหูคีค้อย |
เจ้าแม่ | อย่าโศกง้อ | การสิ่งสันใด แม่เทิ้น |
อวนหาก | มีวรรณงาม | ดั่งคำเหลืองเข้ม |
เมื่อนั้น | ปิตาไท้ | ราชาเอกฮาช |
เจ้าก็ | ตกแต่งพร้อม | คนเฝ้าอฺยู่แหน |
เลือกเอา | ฝูงแม่เลี้ยง | นมตูมเต็มงาม |
มาปุนปัว | พระยอดนางพอฮ้อย | |
เมื่อนั้น เจ้าก็ | ทันมาพร้อม | หูฮากาสโยค[๑๖] |
เจ้าก็ | ปงอาชญ์ให้ | ทวยดูเจ้าอ่อน |
ยังจัก | ดีรือฮ้าย | กุมารนั้นเกิดมา นี้เด |
สูอย่าช้า | ดูแล้วฮีบทูล | |
เมื่อนั้น | หมอโหรพร้อม | ดูกงเขียนขีด |
ท่อว่า | โชคอ่อนน้อย | ยังล้าวกว่าคน |
อันหนึ่งว่า | ปุตโตน้อย | กุมารอันเกิดมานี้ |
ดีขนาดแท้ | บุญล้นกว่าคน | |
ติแต่ | โฉมเสลาน้อย | เป็นโตคันคาก |
ก็หาก | เป็นแต่น้อย | เมื่อหน้าหากจักดี พระเฮย |
โฉมเสลาน้อย | คืออินทร์เหลาหล่อ | |
เถิงขวบ | สิบสี่เข้า | พอแล้วหากจักเฮือง หั้นแล้ว |
ท้าวนี้ | บ่ใช่ผู้ | ผลา[๑๗]ผ่อนบุญอฺยุด |
ตั้งหาก | แนวสัพพัญญู | เกิดมาคูณค้ำ |
อันแต่ | ชุมพูพื้น | จักรวาลในโลก เฮานี้ |
หากจัก | ทรงสืบสร้าง | เป็นเจ้าผู้เดียว |
พระอฺย่า | คึดยากง้อ | การสิ่งสันใด |
เฮาถ้า | ทรงคำสุข | เพิ่งบุญบาท้าว |
เมื่อนั้น | ราชาท้าว | ฟังคำหมอกล่าว |
พระก็ | ชมชื่นต้าน | ยอย้องว่าดี |
เมื่อนั้น พระก็ | ถมคุณหมู่ | หมอโหรคิ้วเสี่ยง |
เงินสี่ฮ้อย | ยอให้บ่ขีน | |
หมอลาจากเจ้า | ก้มขาบสามที | |
โจมบายเอา | เลิกลาลงห้อง | |
เมื่อนั้น | บาคานได้ | สิบสามปีมาฮอด |
ศรีแจ่มเจ้า | บาท้าวใหญ่มา | |
เมื่อนั้น | ท้าวอฺยากได้ | เมียมิ่งมาชม |
ทูลราชา | พ่อตนทูลไหว้ | |
ทานโทษท้อน | พระเพิ่งชีวิต | |
ขอกูร์ณา | พระโผดปรานีข้อย | |
บัดนี้ ข้อยก็ | คึดอฺยากได้ | ผาสาทเสาเดียว |
กับทัง | สาวสนมมา | นั่งเฝือแฝงข้าง |
เมื่อนั้น | ภูธรท้าว | จารจาดอมลูก |
อันว่า | โฉมฮูปเจ้า | ยังล้าวกว่าคน พ่อเด |
อันว่า | เอาสาวน้อย | กุมารลูกเพิ่นมา นั้นเด |
ก็บ่ | มีประโยชน์แท้ | นอนเฝ้าเปล่าดาย |
อันว่า | โฉมฮูปเจ้า | ยังเป็นคันคาก |
เจ้าก็ | อย่ากล่าวท้อน | คำนั้นบ่คือ |
ท้าวก็ | ออด ๆ ต้าน | ดอมพ่อทังตรอม |
ขอแก่ | เหลือหัวพระ | โผดตนตัวข้อย |
ผิว่า | หลิงโฉมข้อย | เหมือนคือพระกล่าว จิ่งแล้ว |
บ่กว่าล้ำ | บุญข้าหากจักเห็น หั้นท้อน | |
ยามใด | เถิงระดูล้ำ | ฝนฮวายฮำแผ่น- ดินนั้น |
เต็มทุกค้าย | แคมห้วยฝั่งเพียง | |
บัดนี้ ข้อยจัก | ปุนแปงตั้ง | ผาเอฺย็นแพงพิง |
ผิว่า | ยังแก่กล้า | คูณค้ำหากจักเห็น พ่อเฮย |
เมื่อนั้น | ปิตาต้าน | โลมบาอ้อยอิ่น |
เจ้าก็ | ยังหนุ่มน้อย | ผญาล้ำฮีตคลอง แท้นอ |
แม้นว่า | สายใจเจ้า | เป็นคนโฉมสะอาด เมื่อใด |
พ่อจัก | เวนมอบบ้าน | เมืองให้แก่บา |
เมื่อนั้น | โฉมเสลาน้อย | กุมารคันคาก |
ลาจากไท้ | ทูลนิ้วเลิกลา | |
บาก็ | แยงบ่อนเจ้า | เทิงแท่นเตียงคำ |
ทรงบรรทม | อฺยู่พลอยนอนแล้ง | |
พอเมื่อ | เถิงตูดตั้ง | เท่าฮอดกองเดิ๊ก |
ยามกลางคืน | พักคนนอนพร้อม | |
ท้าวก็ | อธิษฐานไหว้ | อินตาผายโผด |
หลิงโลกเอฺยี่ยม | เห็นข้อยอฺยู่พลอย | |
อันหนึ่ง | บุญก่อสร้าง | หลายชาติปารมี ก็ดี |
พันตาตรัส | ช่อยปองคูณค้ำ | |
ค้อมว่า | ท้าวกล่าวแล้ว | หงัด[๑๘]อฺยู่อธิษฐาน |
หินศิลา | แห่งอินทร์เลยกระด้าง | |
เมื่อนั้น | เทวราชไท้ | อินตาตนประเสริฐ |
พระก็ | หลิงโลกเอฺยี้ยม | เห็นท้าวอฺยู่พลอย |
อินทร์จิ่ง | เสด็จจากฟ้า | เฮ็วฮีบลงมา |
พระก็ | แปงวิมานคำ | ก่อสูงเสาแก้ว |
ลวงขวางได้ | พันวาเป็นเขต | |
ยอดช่อฟ้า | สูงได้หมื่นวา | |
เจ็ดประการแก้ว | พิฑูรย์เป็นยอด | |
สัพพะ[๑๙]ฮูปพร้อม | ลายล้วนเฮื่อเฮือง | |
เดียรดาษพร้อม | ดวงดอกบัวเคื้อ | |
กินรีอฺยอง | เบ็งชรฟ้อน | |
กินรีพร้อม | กินนะรอนฟ้อนม่าย | |
เทริดปิ่นเกล้า | สังวาลเหลื้อมเฮื่อเฮือง | |
ฝูงหมู่ต้น | กาลพฤกษ์ดูตระการ | |
วัตถังทิพย์ | ห้อยแขวนตระการผ้า | |
ภายบนกั้ง | พิดานเดียรดาษ | |
ซะพาดพร้อม | พาเข้าเครื่องกิน | |
พื้นลวาดแก้ว | ปูแผ่นมหานิล | |
ภายในมี | แท่นคำพอฮ้อย | |
มีมวลพร้อม | หอสรงสระเกศ | |
น้ำดอกเทศ | เต็มไว้อ่างคำ | |
คันว่า | ริจนาแล้ว | อินตาเฮ็วฮีบ |
ผันหอบอุ้ม | เอาเจ้าใส่ใน | |
อินทร์ก็ | วางบาไว้ | เทิงหมอนเหนือแท่น |
ท้าวก็ | หลับปิ้ง ๆ | บ่มีฮู้เมื่อคิง |
อินทร์จิ่ง | เอานางแก้ว | อุดรกุรุทีป[๒๐] |
มาให้ท้าว | เฮียงซ้อนแนบนอน | |
วางนางไว้ | เทียมบาคันคาก | |
เจ้าก็ | เสด็จด่วนขึ้น | เมือฟ้าสู่สวรรค์ |
เมื่อนั้น | นางคานแก้ว | อุดรกุรุทีป |
ปลุกแจ่มเจ้า | บาท้าวตื่นตน | |
ท้าวก็ | ลุกล่ำเอฺยี้ยม | เอฺยี้ยมเบิ่งหลิงดู |
ก็จิ่ง | เห็นนางงาม | อฺยู่เฝือแฝงข้าง |
เห็นทัง | ผาสาทกว้าง | ตระการแท้ชั่วพัน |
ท้าวจิ่ง | คึดสลาดฮู้ | บุญมากอธิษฐาน |
ก็จิ่ง | ถามนางงาม | ซู่อันดูถ้วน |
อันนี้ | เมืองสวรรค์รือ | เมืองคนภายลุ่ม นางเฮย |
ข้อยก็ | เห็นหลากแท้ | นางนี้ลูกใผ |
อันหนึ่ง | ผาสาทกว้าง | คือดั่งเมืองสวรรค์ |
แม้นว่า | ตนนางงาม | ดั่งสาวสวรรค์ฟ้า |
เมื่อนั้น | แพงแสนแก้ว | อุดรเลยกล่าว |
บอกเหตุให้ | บาท้าวซู่อัน | |
อันนี้ | เมืองอวนแท้ | นครหลวงพระพ่อ ตนแล้ว |
อินทร์หาก | ทรงสืบสร้าง | แปงอวนแท้แล้ว |
ข้อยก็ | เนาอฺยู่ห้อง | หนแห่งอุดร ที่พุ้น |
อินทร์หาก | ไปเอามา | ให้อวนจิ่งแท้ |
ข้อยหาก | เป็นเมียเจ้า | ภายหลังหลายชาติ จิ่งแล้ว |
บัดนี้ | ซ้ำส่งให้ | เทียมเจ้าแทบซะนอน |
เมื่อนั้น | ท้าวเล่าต้าน | ฮับพากย์คำนาง |
เฮียมหาก | ยินดีดอม | เมื่อยมโนดอมน้อง |
ก็หาก | ยินดีโดย[๒๑] | ดอมนางดูประเสริฐ |
ก็จิ่ง | เลิกคราบไว้ | คือเสื้อนุ่งทรง |
ท้าวก็ | แยงอ่างน้ำ | ทิพย์พระโผดอินตา |
บาไทเลย | อาบองค์งามแย้ม | |
บรบวนแล้ว | เสด็จมาเถิงแท่น | |
ผ้าทิพย์ท้าว | บายได้นุ่งทรง | |
กับทังเสื้อ | แหวนเทริดสังวาล | |
นางจิ่ง | เอาของมาลา | กลิ่นหอมถวายท้าว |
บาไทท้าว | บายเอาทัดเกศ | |
จันทะคาดคู้ | โฮยเฮ้ากลิ่นหอม | |
อันว่า | สองแจ่มเจ้า | มีฮูปเสมอกัน |
คือดั่ง | อินตาห้อม | สาวสวรรค์เมืองฟ้า |
เมื่อนั้น | ศรีเสลียวท้าว | กุมารคันคาก |
บาก็ | อุ้มแจ่มเจ้า | นางน้อยจูบชม |
เมื่อนั้น | สองชมซ้อน | เสน่หากลั้วกลิ่น |
ฮักฮูปน้อง | กันแล้วเล่าดม | |
ดมแล้วหมด | กะบวนซ้ำพัดจูบ | |
หมดประโยชน์เจ้า | บาท้าวคากคำ | |
บัดนี้ | บุญคุณท้าว | อินตาลงโผด |
อย่าได้ | ไคลคลาดแคล้ว | เสถียรหมั้นหมื่นปี |
สองก็ | อิ่น ๆ อ้อย | อ้อยอิ่นชมออย |
สองเสน่หา | กอดกันอํ่าอิ่ง | |
เป็นดั่ง | ไหมคำฝั้น | สองแกวกล่อม |
คือดั่ง | ติดจีบไว้ | กะแจหมั้นกล่อมกัน |
ดีแก่ | สองแพงซ้อน | ยินซะออนอิดอ่อน |
ยูท่าง | ชมกลิ่นซ้อน | ประโลมซ้อนช่างซอน |
ก็หาก | ยินสนุกล้น | ยินซะออนจิตทะจอด |
ยินฮัก | ยินสะบั้น | ประสงค์ฝั้นดั่งฝัน |
ฮักบ่ | มีอิ่มซ้อน | ซ้อนไขว่พันธะนัง |
ซ้ำซาก | จวบการเสน่หา | |
ดั่งจัก | เพทรวงม้าง | ทุกเที่ยง |
หลิงบ่แล้ว | จิตทะจอดการเสนห์ | |
สองเพิ่งแพง | กล่อมบรรจ์ยินบั้น | |
มักเมื่อย | ในมะโน | อึนเอ้าขาแดด- เดือนหก |
ว่าจัก | กลืนทังกลม | ก็ใช่การกินได้ |
ดีแก่ | สองเสนห์ฝั้น | พันธนังฮ้อยฮอบ |
บีบนวดคั้น | นาวน้อยนิทเนียน | |
เลยเล่า | เถิงเที่ยงค้าย | ใกล้ฮุ่งอรชร |
ฟังยิน | กุฎโฏตบปีก | ขานขันสูรย์แปง[๒๒] |
เมื่อนั้น | สองแจ่มเจ้า | ลุกอาบสรงสี |
บรบวนทรง | แท่นคำเฮียงพร้อม | |
ของทิพย์พร้อม | เลยเกิดเต็มพา | |
ยูท่าง | สองนงแพง | นั่งเสวยกินพร้อม |
พอเมื่อ | สองเสวยแล้ว | ขันสลาเฮียงพ่าง |
คันว่า | เคี้ยวหมากแล้ว | ชมซะอิ่นต่อกัน |
แต่นั้น | ชาวเมืองพร้อม | หลิงเห็นผาสาท |
หลังใหญ่ตั้ง | กลางคุ้มเฮื่อคำ | |
เขาก็ | แซว ๆ ท้วง | ทังเมืองดาสนั่น |
บ้างพ่อง | ปบแล่นเต้น | มาฟ้าวล่ำแยง |
อือทือพร้อม | ชาวเมืองมาเบิ่ง | |
ทุกพร่ำพร้อม | เลยย้องว่างาม | |
อันนี้ | อินตาปั้น | วิไชยยนต์หลังใหญ่ จิ่งแล้ว |
สุดชั่วอฺยื้อ | เต็มขาวแห่งตา | |
เป็นที่ | อัศจรรย์แท้ | ลือชาในโลก |
เฮาหาก | ควรคึดง้อ | พออฺย้านสั่นสาย |
แต่นั้น | ฝูงก่งท้าว | พระยาเอกราชา |
พระก็ | ลีลาเสด็จ | ออกชานมนเอฺยี้ยม |
ก็จิ่ง | เห็นแจบแจ้ง | ราชาสลบตื่น |
ดูหลากเหลื้อม | คำย้อยเฮื่อเฮือง | |
อันนี้ | วิไชยแก้ว | กุมารคันคาก จิ่งแล้ว |
พระก็ | เสด็จด่วนฟ้าว | ไปขึ้นล่ำแยง |
แม้นว่า | เทวีแก้ว | มาดาตนแม่ ก็ดี |
ก็หาก | ชมชื่นขึ้น | ไปพร้อมพร่ำกัน |
แม้นว่า | สาวสนมพร้อม | นารีใช้ช่วง ก็ดี |
ชมชื่นขึ้น | มวลพร้อมพร่ำกัน | |
กับทัง | เสนาพร้อม | พลหลวงแสนโกฏิ |
ก็หาก | ชมชื่นพร้อม | กันขึ้นซู่คน |
เมื่อนั้น | ภูธรขึ้น | หอปรางค์ผาสาท |
ฮอดที่เค้า | ปักตูแก้วป่องลม | |
พระก็ | หลิงล่ำอฺยี้ยม | เห็นแท่นบัลลังก์ |
เลียนเป็นถัน | ฮูปฮอยพอฮ้อย | |
ผาสาทกว้าง | ได้ชั่วพันวา | |
คอยดูสุด | ชั่วตาเต็มอฺยื้อ | |
พระก็ | ยินขามเอฺยี้ยม | มหานิลใสส่อง |
คือดั่งน้ำ | วังกว้างเลิกใส | |
เจ้าจิ่ง | ตรัสส่องฮู้ | แก้วแก่นมหานิล |
ก็จิ่ง | แข็งใจยก | ย่างไปทังอฺย้าน |
แม้นว่า | สาวสนมพร้อม | เทวีตนแม่ ก็ดี |
ก็หาก | หลิงล่ำเอฺยี้ยม | ทังอฺย้านสั่นสาย |
แม้นว่า | พลแพนพร้อม | เสนาแสนโกฏิ ก็ดี |
ยกย่างขึ้น | ทังอฺย้านหอดหาย | |
เมื่อนั้น | ภูธรท้าว | เลยเห็นสองอ่อน |
นั่งแท่นแก้ว | งามแย้มเกิ่งกัน | |
ก็หาก | งามเสมอแต้ม | รือใผปูนเปรียบ ได้นั้น |
คือสิ่ง | เทพธรท้าว | ลงแต้มใส่กัน |
อันหนึ่งคือสิ่ง | เกิดแต่ฟ้า | เสด็จลอดลงมา |
เขาก็ | หลิงดูเลิศ | กอตาพอกระด้าง |
เมื่อนั้น | ราชาขึ้น | เมื่อเทิงเถิง ๆ แท่น |
สองแจ่มเจ้า | ประนมไหว้พ่อตน | |
พระจิ่งต้าน | ถามอ่อนทังสอง | |
อันว่า | กุมารเป็นลูก | ลูกเฮารือเจ้า |
ท้าวก็ | ยอมือไหว้ | ขานคำพระพ่อ |
ข้อยหาก | เป็นลูกเจ้า | บุญกว้างที่เซ็ง |
อันนี้ | วิมานแก้ว | พระยาอินทร์ผายโผด |
พระหาก | นีรมิตให้ | คืนนี้ซู่อัน พระเฮย |
แม้น | กุมารีแก้ว | นางงามเฮียงคู่ กันนี้ |
อินทร์หาก | เอาแต่ก้ำ | อุดรพุ้นให้อวน แท้แล้ว |
ยามแต่กี้ | ข้อยเป็นโฉมคันคาก | |
บัดนี้ ข้อยก็ | ละคราบไว้ | เสียแล้วหล่าโฉม พระเฮย |
แต่นั้น | พระพ่อเจ้า | ซวางกอดกุมาร |
ยินดีชม | ชื่นจาดอมดัง | |
ทวายเอาอุ้ม | กุมารเชยจูบ | |
บัดนี้ | ศรีแจ่มเจ้า | แพงล้านฮูปงาม |
อันว่า | เทวีแก้ว | มาดาตนแม่ |
อุ้มเอา | ลูกสะใภ้ | นางแก้วจูบชม |
บัดนี้ | บุญมีได้ | นางงามผู้ประเสริฐ จิ่งแล้ว |
มาอยู่ซ้อน | เทียมท้าวทูนทรวง | |
แม้นว่า | ฮ้อยขวบเข้า | อย่าขาดพระไมตรี แม่ท้อน |
เจ้าจ่ง | ยินแสนปี | อฺยู่เฝือแฝงท้าว |
แม่ก็ | หนํ่า ๆ ตาม[๒๓] | ดอมอ่อนประโลมขวัญ |
ซํ้าเล่า | โซมเอาบา | ลูกชายถนอมไว้ |
อันว่า | ฮูปแจ่มเจ้า | ยามเป็นคันคาก |
เจ้าจิ่ง | เอามากู | แม่เห็นหลิงเอฺยี้ยม |
ท้าวก็ | บายเอาได้ | คราบคำคันคาก |
ให้แก่ | พระแม่เจ้า | บายได้เบิ่งดู |
ก็หาก | ยาบ ๆ เหลื้อม | คือแผ่นจังกรคำ |
นางก็ | พือหลิงคึง | แผ่ดูคือเสื้อ |
นางจิ่ง | เอาแพงไว้ | เป็นของซะงาน[๒๔]ชม |
อันนี้ | ของหลากแท้ | คูณคํ้าจิ่งมี เจ้าเฮย |
เมื่อนั้น | ศรีเสลียวแก้ว | กุมารคันคาก |
ท้าวก็ | บายเอาผ้า | ผืนดีอินทร์ทอด |
ให้แก่ | สาวพี่น้อง | ประสงค์เอ้นุ่งทรง |
อันว่า | พระพ่อเจ้า | พระแม่ทังสอง ก็ดี |
ยูท่าง | ขนเอาเมือ | ใส่เยียเหลือล้น |
ท้าวก็ | ทานเขาให้ | เสนาทุกหมู่ |
ฝูงไพร่พร้อม | เอาแล้วขาบลง | |
ฝูงหมู่ | พลแพนพร้อม | อนันต์นองแสนโกฏิ ก็ดี |
เขาก็ | ยูท่างได้ | ทรงเอ้ซู่คน |
ฝูงหมู่ | คนทุกข์ไฮ้ | ขนเอาเต็มหาบ |
เขาหาก | สุขยิ่งล้น | บุญเจ้าเหลื่อมงำ |
ท้าวก็ | สะสว่างให้ | เป็นทานอันประเสริฐ |
ก็บ่ | มีห่อนเสี้ยง | ยังล้นอฺยู่เลิง |
เมื่อนั้น ขุนก็ | ยินดีล้น | ทังเมืองชมชื่น |
เขาก็ | ปะไว้ | หลาฝ้ายบ่เข็น |
แม้นว่า ฝูงหมู่ | เชื้อส่ำน้อย | หมู่สาวฮาม ก็ดี |
เขาก็ | ยินดีสุข | ยื่นมือเหียนก้อย |
เมื่อนั้น | นางแพงแก้ว | อุดรลุกุทีป[๒๕] |
ตักหม้อเข้า | ยอไปทานท้อน | |
ฝูงหมู่ เสนา | ทังพลแพน | ก็หากกินเต็มท้อง |
เดียรดาษล้น | ฝูงหมู่คนขอ | |
ยูท่าง | ยอไปทาน | ให้เขาฝูงไฮ้ |
แม้นว่า | เอาไปให้ | เขาเอาพอหาบ ก็ดี |
เข้าก็ | เต็มปากหม้อ | เหลือล้นอฺยู่เลิง |
เมื่อนั้น | ฝูงไพร่พร้อม | เดียรดาษชาวเมือง ก็ดี |
เขาก็ | วางนาเสีย | บ่ไถสูนกล้า |
เขาก็ | ทรงผืนผ้า | อาภรณ์ทิพย์ท้อน |
ยูท่างเอ้ | ประสงค์หลิ้นอฺยู่เลิง | |
เมื่อนั้น | ผู้ผ่านพื้น | พระยาเอกราชา |
พระก็ | เตือนเสนา | ซู่คนเพรียงพร้อม |
บัดนี้ เฮาจัก | เวนเมืองให้ | ราชาคันคาก จิ่งแล้ว |
ฝูงไพร่น้อย | มาพร้อมซู่คน | |
เถิงเมื่อ | วันพุธเช้า | โยคยามดี |
เฮาจัก | เชิญกุมาร | สู่หอสรงน้ำ |
เมื่อนั้น | เสนาพร้อม | ประนมมือโดยอาชญ์ |
ทังไพร่ฟ้า | โฮมพร้อมซู่คน | |
พอเมื่อ | เถิงยามเช้า | มหาไชยโยคใหญ่ |
จัดซู่ท้าว | โฮมพร้อมซู่แดน | |
เมื่อนั้น | ปลูกยอขึ้น | หอไชยเดียรดาษ |
พิดานมุง | ฮ่มเพียงกางกั้ง | |
หื่นหื่นพร้อม | เดียรดาษพลแพน | |
สน ๆ | ปลูกหอสรง | ผาสาททางเลยแล้ว |
เขาก็ | ลีลาขึ้น | เมื่อเทิงก้มขาบ |
ฮาธนา | พระย่ำเกล้า | บาท้าวสู่หอ |
เมื่อนั้น | สองแจ่มเจ้า | เสด็จสู่หอสรง |
คื่น ๆ ก้อง | เสพนันเนือง[๒๖] พุ้นเด | |
พอเมื่อ | สองกษัตริย์เข้า | หอสรงเฮียงคู่ |
อินทราชท้าว | ยอน้ำทิพย์สรง | |
พระก็ | ยอออมเที่ยน | คันทีหอมกลิ่น |
สรงโสรจเนื้อ | สองให้ยืนยาย[๒๗] | |
เมื่อ[๒๘] | อินทร์สรงแล้ว | เสด็จเมืออากาศ |
เมื่อนั้น | ปิตาไท้ | มาดาแก้วเล่าสรง |
ฝูงหมู่ | ทังหลายพร้อม | สรงลงแล้วอฺย่า |
สองแจ่มเจ้า | ยัวรย้ายออกมา | |
เมื่อนั้น | สองเสด็จขึ้น | เมือเทิงเถิงแท่น |
เสียงเสพเท้า | คุงฟ้าคื่นเคง | |
ฟังยิน | คื่น ๆ ก้อง | เสียงขลุ่ยขานเพลง พุ้นเยอ |
อรชรซอ | พาทย์พิณแคนไค้ | |
ฟังยิน | แถเหินก้อง | เวหาว้อนว่อน พุ้นเยอ |
เสียงพาทย์ฆ้อง | ดังห้าวกล่อมระบำ | |
ทุกที่พร้อม | เสียงเสพนนตรี พุ้นเยอ | |
สลอนนัน | กล่อมนันอ้ออิ่ง | |
สองก็ | ยินสนุกล้น | ทรงปรางค์ผาสาท |
คือดั่ง | สุขอฺยู่ห้อง | วิมานฟ้าฝ่ายสวรรค์ |
เมื่อนั้น | ภูธรท้าว | ราชาเอกราช |
พระก็ | เวนมอบบ้าน | เมืองให้แก่บา |
กับทัง | เสนาพร้อม | พลแพนแสนโกฏิ |
ทังหมู่ช้าง | ตัวห้าวหมื่นปลาย | |
ถวายแก่ | ภูชัยท้าว | เป็นใหญ่ในมนุษย์ |
บาจ่ง | เป็นราชา | เขื่อนแข็งเมืองบ้าน |
กับทัง | กัลยาแก้ว | สาวสนมฝูงหนุ่ม |
นับเลือกได้ | งามย้อยสี่พัน | |
ถวายแก่ | ศรีแจ่มเจ้า | ผู้ประเสริฐลือเกียรติ์ |
บาจิ่ง | ชมเสน่หา | ซู่คนนางน้อย |
แต่นั้น | ราชาไท้ | ปิตาตนพ่อ |
พระจิ่ง | หาชื่อท้าว | คูณค้ำนั่งเมือง |
ชื่อว่า | ราชาท้าว | พระยาหลวงคันคาก |
แม้นว่า | นาโคพร้อม | นาคีครุฑนาค ก็ดี |
เขาก็ | ออกจากน้ำ | มาไหว้บาทคำ |
ก็หาก | เอาหมู่แก้ว | สัพพะสิ่งเงินคำ |
นำมาถวาย | แก่บาบุญกว้าง | |
แม้นว่า | สกุณีพร้อม | สกุณากกแขก ก็ดี |
บินคาบได้ | ฮวงเข้าขาบถวาย | |
ขนใส่เล้า | พระบาทภูธร | |
เต็มเยียหลวง | หมื่นหลังพันเลา | |
ทุกสิ่งพร้อม | เผิ้งต่อแตนเหลือง ก็ดี | |
เขาก็ | เอาฮวงฮัง | ซู่ตัวถวายเจ้า |
แม้นว่า | เสือโคร่งพร้อม | เสือเหลืองลายผ่าน ก็ดี |
เขาก็ | เอาหมู่กวาง | คาบถวายเจ้า[๒๙] |
แม้นว่า | หมีเหมือยเหม้น | พึงคณาเอิกด่าง ก็ดี |
เขาก็ | ขบคาบไม้ | มาแล้วถนอมถวาย[๓๐] |
แม้นว่า | กบเขียดพร้อม | คณาอึ่งในดง ก็ดี |
เขาก็ | มาถวายตัว | เสพนันเนืองฮ้อง |
แม้นว่า | พลายสารช้าง | ฉัททันต์ขาวเผือก ก็ดี |
ก็หาก | เดินไพรมา | ซู่ตัวหุ้มเจ้า |
เดียรดาษพร้อม | แปดหมื่นสี่พันตัว | |
เทวดานำ | ขวี่มาถวายเจ้า | |
แม้นว่า | อัสสาม้า | ตัวงามขาวเผือก ก็ดี |
ทะยานตนมา | ดุ่งเดินหาเจ้า | |
นับอ่านได้ | แปดหมื่นพันปลาย | |
เทวดาทรง | ขวี่มาถวายเจ้า | |
ฝูงหมู่ | เงินคำพร้อม | เป็นลำบุออก[๓๑] |
เวียนแวดล้อม | เป็นต้ายอฺยู่สลอน | |
แม้นว่า | กงจังแก้ว[๓๒] | เป็นดั่งกงเกวียน |
เทวดา | นำมาถวาย | แห่งศรีจอมเจ้า |
เมื่อนั้น | ราชาไท้ | พระยาหลวงคันคาก |
พระก็ | เนากงจักร | ขวี่ผันทะยานผ้าย |
ผันผาดอ้อม | ขงเขตชุมพู | |
ก็บ่ | มีนานสัง | ดั่งลมยามน้อย |
เลยเสด็จเข้า | ขึ้นมาผาสาท | |
พระก็ | ลงจากแก้ว | จักรไว้ที่สูง |
ยาบ ๆ เหลื้อม | จักรส่องเฮืองแสง | |
เป็นดั่ง | กงตาตาวัน | เมื่อยามยังเช้า |
บ่ได้ทุกข์ไฮ้ | สัพพะสิ่งเงินคำ | |
เทวดานำ | มาถวายเจ้า | |
ยูท่าง | บาไทท้าว | ประสงค์ทานทุกสิ่ง |
ฝูงไพร่น้อย | เหลือล้นฮั่งมี | |
เขาก็ | แซว ๆ พร้อม | สาธุการเสียงสนั่น |
ทุกท่านไท้ | ยอย้องว่าดี | |
เขาก็ | สุขยิ่ง | เทวดา |
ตั้งว่า | บุญเฮามี | ก็จิ่งเห็นสองเจ้า |
แม้นว่า | พระพ่อเจ้า | ทังแม่เกษิมดี |
ก็หาก | ศรัทธาสุข | เพิ่งบุญบาท้าว |
แม้นว่า | ฮ้อยประเทศท้าว | เมืองส่วยหลายพระยา ก็ดี |
เขาก็ | สาธุการดอม | เพิ่งบุญบาท้าว |
ฝูงหมู่ | เสนาพร้อม | พลแพนแสนโกฏิ |
เขาก็ | มาอฺยู่เฝ้า | แฝงเจ้าอฺยาลือ[๓๓] |
เจ้าบ่ | คึดยากง้อ | เมืองอื่นมาเล็ว |
ยินสำบายบาน | ดั่งสวรรค์เมืองฟ้า | |
คนยืนได้ | แสนปีเป็นเขต | |
ยูท่าง | ยืนอฺยู่หมั้น | ดอมดั่งลูกเมีย |
อันว่า | คำตายนั้น | บ่มีใผฮู้ข่าว เสียแล้ว |
ยูท่าง | เอ้โอดอฺย้อง | สงวนเหล้นบ่าวสาว |
นับแต่ | ภูธรท้าว | เสวยเมืองเป็นใหญ่ |
ฮ้อยขวบเข้า | ระดูตั้งถ่ายปี | |
เมื่อนั้น | อุบาทว์ฮ้อน | ปางก่อนกรรมเวร |
มาถองเถิง | ถืกบาไทท้าว | |
คือว่า | บังเกิดแล้ง | ได้ขวบเจ็ดปี |
ฝนบ่ | มาฮวายฮำ | ไค้ฟังดูดายแห้ง |
ฝูงหมู่ | ชลธีน้ำ | วังหลวงเขินขาด |
ฝูงหมู่ | แม่น้ำน้อย | เลยแห้งเปล่าดาย |
เมื่อนั้น | อุกขลุกฮ้อน | เป็นควันเมฆ |
คือดั่ง | ไฟหากไหม้ | แม่น้ำทังฮ้อนแผ่นดิน |
เมื่อนั้น | ซะพาดพร้อม | ฝูงหมู่เสนา |
เขาก็ | ทูลราชา | พระยองยอดเมืองเป็นเจ้า[๓๔] |
บัดนี้ ฝนบ่ | มาอฺยาดย้อย | ฮำแผ่นธรณี |
พริกพลูเลย | เหี่ยวตายเสียเสี้ยง | |
สันใดให้ | ฝนลงฮำแผ่น ดินนี่ | |
บ่กว่าเจ้า | ผายเผี้ยนส่องญาณ หั้นท้อน | |
ฝูงข้า | ทูลบาทพื้น | ย่ำขม่อมภูธร |
ก็หาก | เหลือคำคึด | บ่ถองเถิงฮู้ |
เมื่อนั้น | ราชาไท้ | พระยาหลวงคันคาก |
เจ้าก็ | ปงอาชญ์ต้าน | เสียงห้าวบ่กลัว |
อันว่า | ฮากเมืองนี้ | มีฝนเป็นฮาก สูเฮย |
คันว่า ฝนบ่ | ลงอฺยาดย้อย | เมืองบ้านมุ่นกะจวน |
อันว่า | แก่นเมืองนี้ | แม่นหลาวแหลมง้าวหอก จิ่งแล้ว |
ยามเมื่อ | เศิกต่างบ้าน | ชิงแท้ยาดเล็ว |
อันว่า | หูเมืองแม่น | เทวดาเจ้าเข็ด |
ยามเมื่อ | เป็นเหตุฮ้อน | เขาฮู้ก่อนเฮา |
อันว่า | ตาเมืองได้ | หมอโหรคิ้วเสี่ยง |
เขานั้น | เป็นผู้กั้ง | บังไว้ขอบเมือง |
อันว่า | ฝาเมืองได้ | คาเมบ้านนอก |
เขานั้น | เป็นผู้กั้ง | บังไว้ขอบเมือง |
อันว่า | เขื่อนเมืองได้ | แก้วสามประการเป็นที่เพิ่ง |
คือว่า | แม่นพระเจ้า | พระธรรมแห่งพระสังฆ์[๓๕] |
อันว่า | ใจเมืองได้ | ลูกสาวพระยาใหญ่ |
นางจัก | มีลูกเต้า | เป็นเชื้อสืบสาย |
อันว่า | พระยาแดดได้[๓๖] | พระยาหลวงเสวยราชย์ |
ยามเมื่อ | บอกเวียกบ้าน | การอฺย้าวไพร่เมือง |
อันนี้ | คลองประถมเถ้า | บุฮาณสอนสั่ง |
สูจ่ง | จำจื่อไว้ | เมื่อหน้าอฺย่าลืม |
อันว่า | เจ้ากล่าวต้าน | ฮีตฮ่อมคลองสัน |
ฝูงเสนา | จื่อจำคำไว้ | |
บัดนี้ | บังเกิดแล้ง | ได้ขวบเจ็ดปี |
เฮาจัก | ถามนาโค | นาคหลวงในน้ำ |
อันว่า | พระยานาคนั้น | จบเพททรงฤทธี แท้แล้ว |
เขาจัก | ทำฉันใด | ก็หากเป็นฉันนั้น |
เขาก็ | ยังเอาแก้ว | เงินคำมาสว่าย เฮานี่ |
กูจัก | ไปเถียวถอง | ถามแท้เหตุฝน |
ค้อมว่า | จารจาแล้ว | ภูธรเสด็จด่วน |
บาก็ | เลยขึ้นแก้ว | จักรแผ้วเผ่นไป |
จักรไป | ผ่านน้ำ | สมุทรใหญ่วังหลวง |
เป็นเพื่อ | เตโชจักร | บ่ไหลแปวน้ำ |
เลยล่วงเข้า | เมืองนาคนาโค พุ้นเยอ | |
เขาก็ | เห็นภูธร | ขาบทูลทังอฺย้าน |
นาคก็ | ทูลถวายไหว้ | ภูธรมาฮอด สังนี่ |
รือว่า | เป็นเหตุฮ้อน | การเจ้าเยื่องใด |
เมื่อนั้น | ราชาเจ้า | พระยาหลวงคันคาก |
ไขพากย์ต้าน | เสียงห้าวบ่กลัว | |
บัดนี้ เฮาก็ | เคืองใจด้วย | วุดทะ[๓๗] ฝนเขินขาด จิ่งแล้ว |
เฮาจิ่ง | มาฮอดเค้า | ถามแท้บ่อฝน |
ใผหาก | ยังย่อมฮู้ | อันที่ฝนตก |
ชื่อว่า | มาภายบน | แต่เทิงเมืองฟ้า |
นาโค | เคยเมือฟ้า | หาแถนฮู้เหตุ ฝนตี๊ |
อันว่า | หากยังย่อมฮู้ | แถลงถ้อยอฺย่าบัง |
เมื่อนั้น | นาคกล่าวต้าน | แถลงบอกภูธร |
อันว่า | จอมหัวไป | องค์เดียวบ่ควร นาเจ้า |
ข้าจัก | เล่าภาคพื้น | หมายบอกภูธร |
อันชลธาร์ | บ่อฝนมีแท้ | |
ทันที่ยอด | เขาเสมรุอันอยู่ จิ่งแล้ว | |
บัวรภัณฑ์ | แวดล้อม | ระวังอ้อมดั่งเดียว |
อันว่า | เขาเสมรุนั้น | ลำสูงสุดยอด |
แปดหมื่น | สี่พันโยชน์แท้ | เป็นด้ามแต่สูง |
ดอยสันตะ[๓๘] | บัวรภัณฑ์นั้น | ยังสูงเพียงถอง |
ลำดับ | ลงซู่ถ้าน | เหมือนด้ามลูกแคน |
บัวร- | ภัณฑ์หนึ่งนั้น | สูงถองเขาเสมรุ |
ที่นั้น | เมืองพระยาแถน | อยู่เสวยสมสร้าง |
คันว่า | เมือฮอดฟ้า | ขอดอมน้ำบ่อ |
แถนบ่ | มีขีนสัง | หากจักปงลงให้ |
ยังมีแท้ | สระคุงคาอันหนึ่ง | |
แถนก็ | เป็นผู้เค้า | สงวนหลิ้นส่วงเฮือ |
ยามเมื่อ | ฮ่วน ๆ ฟ้า | ปีใหม่เดือนหก |
นาคเมือเถิงแถน | กล่าวขอดอมน้ำ | |
พระยาแถนเจ้า | บ่มีขีนพระยานาค | |
ให้นาคหลิ้น | ตีน้ำแกว่งหาง | |
สน ๆ พร้อม | พึงคณาพระยานาค | |
ตีฟาดน้ำ | สงวนหลิ้นเพื่อนกัน | |
สระใหญ่กว้าง | เฮียกชื่อคุงคา | |
ก็จิ่ง | เพพังลง | ซู่คันเป็นก้อน |
ในเมื่อ | ลมแข็งกล้า | คือคมมีดขุด |
ก็เล่า | เลยหอมอุ้ม[๓๙] | ยอถิ้มใส่เสมรุ |
ก้อนน้ำค้าง | ฟาดเหลี่ยมเขาเสมรุ | |
ก็หาก | เค็ง ๆ ดัง | แตกกะจวนทลายฟ้ง |
ก็จิ่ง | ตกลงฟ้ง | ธรณีในโลก เฮานี่ |
คนจิ่งเอิ้น | เป็นน้ำห่าฝน | |
อันว่า | ฟ้านั้น | ยังต่างนิทาน |
ยังว่า | เทวดานางน้อย | เมขลาฤทธีกล้า |
ยามเมื่อ | ฮวง ๆ ฟ้า[๔๐] | ปีใหม่ตั้งมา |
นางจิ่ง | ยินดีชม | ชื่นสงวนคำหลิ้น |
นางจิ่ง | อฺย้อนหน่วยแก้ว | ลูกประเสริฐเผลียงไป |
นำห่าฝน | แสงเหลื้อม | |
ยังมี | พระยายักษ์ผู้ | อาคมจบเพท ธนูนั้น |
มันก็ | ยอปืนทอง | แกว่งยิงเอาแก้ว |
ปืนบ่ | ถองถืกแก้ว | นางน้อยเมขลา สังเลย |
ลวดซอด | ผันลงมา | ผ่าเผลียงลำไม้ |
แต่นั้น | มนุสสาเชื้อ | ฝูงคนในโลก เฮานี้ |
เฮียกว่า | ฟ้าผ่าไม้ | มีแท้เที่ยงจิ่ง เจ้าเฮย |
คันว่า | พระยานาคต้าน | เว้าเหตุคลองฝน ดั่งนั้น |
ราชาพระ | โจทย์ถามหาข้อ | |
เป็นสังแท้ | วันสา[๔๑]ฝน | บ่ฮำแผ่นดินนี่ |
นาคบ่ | มีชื่นได้ | ลอยหลายดั่งนั้นรือ |
เมื่อนั้น | พระยานาคต้าน | หมายบอกภูธร |
บัดนี้ | พระยาแถนกัน | บ่ให้ลอยลงหลิ้น |
แม้นว่า | ฝูงนาคพร้อม | ขึ้นเหนี่ยวหลายที ก็ดี |
พระยาแถนเลย | เคียดฟุนจาข้า | |
เมื่อนั้น | พระกล่าวต้าน | ถามนาคสองที |
เป็นสังแถน | จิ่งมาหวงไว้ | |
เมื่อนั้น | นาคกล่าวต้าน | หมายบอกตามมี |
แถนก็ | มีใจขม | แก่พระอวนจอมเจ้า |
แถนว่า | สมภารเจ้า | ภูธรแข็งข่ม จิ่งแล้ว |
มนุษย์ | ในโลกล้ำ | ทังค้ายส่วยไฮ |
แถนก็ | วิตกด้วย | ภูธรสุขลื่น |
ก็จิ่ง | หวงห้าม | น้ำฟ้าบ่ให้ลง |
ค้อมว่า | นาคกล่าวแล้ว | พระบาทหลิงเห็น |
ก็จิ่ง | ถามนาโค | นาคีที่ทางทันเค้า |
เมืองแถนพุ้น | หนทางยังฮอด รือบ่ | |
นาคกล่าวต้าน | ทางขึ้นบ่ห่อนมี พระเฮย | |
เอฺยียวว่า | จบเพทเพี้ยง | ไปเทิงอากาศ บ่ฮู้ |
อันว่า | ทางไต่พื้น | เทียวขึ้นบ่ห่อนมี พระเฮย |
จักทรงจักรแก้ว | ผันไปยังฮอด รือบ่ | |
นาคว่า | ฮอดแต่เจ้า | พระองค์นั้นผู้เดียว |
ใผจัก | มาปุนแพ้ | พระยาแถนนั้นบ่มีแล้ว |
แถนจบเพทเพี้ยง | คำฮู้ศาสตร์ศิลป์ | |
คันว่า | นาคกล่าวเว้า | ฮู้เหตุทางไกล |
ภูธร | ทรงคำคึด | อฺยู่สึงหลึงคะนิงฮู้ |
พระจิ่ง | ปงคำให้ | นาโคพระยานาค |
สูจ่ง | แปงหนทาง | ก่อหินคูนขึ้น |
พอให้ | สูงเพียงพื้น | จอมเขาแถนอยู่ นั้นเทิ้น |
ก็จัก | นำหมู่ช้าง | พลขึ้นผาบเล็ว |
เฮาจัก | เตือนป่าวพร้อม | พระยาปลวกทังหลาย |
ให้เขา | มาพลันตีเปือง | ช่อยเฮาคูนขึ้น |
เมื่อนั้น | นาโคเจ้า | โดยคำพระบาท |
พระฮีบ | ทรงกงจักร | ต่าวคืนเมือบ้าน |
เมื่อนั้น | กงจักรแก้ว | ผันคืนโดยฮีบ |
ฮอดฝั่งน้ำ | เซายั้งหลิ่งชัน | |
พระจิ่ง | บายเอาค้อน | มาตีจูมปลวก |
เตชะนำ | เฟือนขึ้นทั่วดิน | |
เมื่อนั้น | พระยาปลวกอฺย้าน | ฟ้าวออกมาเปือง |
หลายพลมา | โกฏิแสนเหลือล้น | |
เขาก็ | ทูลชุลีไหว้ | พระยาแถนคันคา[๔๒] |
เป็นเหตุฮ้อน | การเจ้าเยื่องใด พระเฮย | |
เมื่อนั้น | ภูธรเตือน | ป่าวพลพระยาปลวก |
บัดนี้ | เหตุว่าแล้ง | เมืองบ้านขาดฝน |
สูจ่ง | เอากันพร้อม | คูนทางดอมนาค ภายพุ้น |
แทบที่ใกล้ | เสมรุพุ้นขอกดอย | |
อฺย่านานแท้ | เฮ็วพลันคูนฮีบ | |
ให้ถีบขึ้น | เถิงฟ้าฮอดแถน | |
เฮาจัก | ยอพลขึ้น | เล็วแถนมีอฺย่อน สูเฮย |
ให้แถน | ส่วยน้ำฟ้า | เมืองบ้านชุ่มเอฺย็น |
แต่นั้น | พระยาปลวกพร้อม | โดยอาชญามี |
เขาก็ | เอากันไป | ก่อคูนมีช้า |
ยาบ ๆ พร้อม | คณาปลวกในชุมพู | |
ยน ๆ หลาย | บ่อาจสังขยาได้ | |
แต่นั้น | ภูมีไท้ | เสด็จคืนโดยฮีบ |
เถิงที่ | ผาสาทกว้าง | เซายั้งคอง |
เมื่อนั้น | หื่น ๆ พร้อม | พระยานาคในสมุทร |
ดูเหลือหลาย | บ่อาจสังขยาได้ | |
เขาก็ | ผันผยองอุ้ม | ภูดอยหลายหน่วย |
ติดต่อตั้ง | กันขึ้นก่อสูง | |
ปลวกก็ | ขนดินขึ้น | ถมทางนำนาค |
ดูแก่นหมั้น | เหมือนเพี้ยงดั่งภู | |
นับแต่ | แปงทางได้ | สามปีทัดเที่ยง |
ก็จิ่ง | เพียงจอมดอย | ฮอดเมืองแถนพุ้น |
ค้อมว่า | บรบวนแล้ว | ทังหลายเสด็จพราก |
นาคก็ | มาขาบไหว้ | ทูลเจ้าบอกแถลง |
เมื่อนั้น | ภูมีเจ้า | พระยาหลวงคันคาก |
เจ้าก็ | ฮับพากย์ต้าน | ยอย้องว่าดี |
เมื่อนั้น | โง่ง ๆ ฆ้อง | พระยาหลวงเตือนป่าว |
จัดบ่าวพร้อม | พลตื้อฮีบพลัน | |
สน ๆ ใช้ | ให้ถีบอาชาไนย | |
ยน ๆ ไป | ซู่พระยาอย่าช้า | |
สมประมาณได้ | เจ็ดวันมาฮอด | |
ทุกพร่ำพร้อม | อย่าช้าซู่พระยา | |
หื่น ๆ พร้อม | พลมากเหลือหลาย | |
เขาก็ | นองพลมา | ดั่งทรายไหลแล้ง |
เจ็ดหมื่นพร้อม | ปลายสี่พันพระยา | |
ในชุมพู | หากมาดูถ้วน | |
ใผบ่ | ขัดแข็งได้ | โดยเปืองภูวนาถ |
มาฮอดเจ้า | จอมไท้คันคากคำ | |
อันจัก | สังขยาได้ | พลแพนมีมาก |
นับอ่านได้ | แสนตื้อติ่วอักโข | |
นับแต่ | กุญชโรช้าง | พลายสารแสนโกฏิ |
มามากล้น | สามตื้อแปดอักโข | |
ซะเพิกพร้อม | เต็มแผ่นธรณี | |
อือทือมา | มืดมัวมีมั้ว | |
ซะเพิกช้าง | สารเผือกฉัททันต์ | |
แปดหมื่น | สี่พันตัว | เครื่องคำดาห้าง |
พลหรม้า | ลาวังแฮงขาวเผือก | |
ผันเผ่นเต้น | ดั่งลม | |
นับอ่านได้ | แปดหมื่นสี่พันตัว | |
เฮืองงามคือ | เครื่องคำดาห้าง | |
คันว่า | โฮมไพร่พร้อม | หาโยคยามดี |
เถิงเมื่อ | ยามอุทธังราชา | พระยอดเมืองยัวรย้าย |
พระก็ | เอานางแก้ว | อุดรไปพ่าง |
ขึ้นเหนือหลังสาร | ฮ่วมบาไทท้าว | |
ฟังยิน | คื่น ๆ ก้อง | กลองเสพสะบัดไชย พุ้นเยอ |
ยน ๆ ยวง | ฮ่มขาวกางกั้ง | |
หลิงเห็น | พาบ ๆ เหลื้อม | ปะคือขาวไปก่อน พุ้นเยอ |
นาคา | ไปภายบน | บอกทางทันเค้า |
เมื่อนั้น | พระยาครุฑพร้อม | ทังสังข์ไปก่อน |
ทะยานป่อมลม | ก่อนบาบุญกว้าง | |
บินบนพร้อม | พึงคณานกป่า ก็ไป | |
เขาก็ | บินแวดล้อม | พระยาเจ้าครุฑหลวง |
ฝูงหมู่ฮ้าย | เผิ้งต่อแตนเหลือง ก็ไปนัน | |
เขาก็ | ขันอาสา | ก่อนบาบุญกว้าง |
อือทือพร้อม | บินบนมัวมืด | |
คื่น ๆ ก้อง | ควงฟ้าฟั่งเฟือน | |
บินสอดแส้ว | คณามอดหัวสิน ก็ไป | |
เขาก็ | ขันอาสา | ซู่ตัวมีอฺย้าน |
ฝูงหมู่ | จังไฮฮ้าย | เสือเหลืองเสือโคร่ง ก็ไป |
คุมมุมหมี | หมู่เหมือยเห็นอ้ม | |
ทังหมู่เหม้น | คอก่านกังลิง ก็ไป | |
ชะนีโตนขว้าง | ควงไปนำไม้ | |
อาสาพร้อม | ทุกตัวมีอฺย่อน | |
เตอะปากฮ้อง | เสียงห้าวแล่นไป | |
เมื่อนั้น | เสิน ๆ ย้าย | พลหลายย้ายย่าง |
คนคั่งล้น | ทางกว้างคั่งระวัง | |
ฟังยิน | คื่น ๆ ก้อง | เสียงเสพนนตรี พุ้นเยอ |
ควน ๆ นัน | คื้นเคงคุงฟ้า | |
ฝูงหมู่เจ้า | พระยานาคคนดี | |
ถือธนูทอง | แห่พระองค์ขวาซ้าย | |
หลิงเห็น | หื่นหื่นพร้อม | พระยาใหญ่เมือง พุ้นเยอ |
เขาก็ | ทรงพระยาสาร | แห่พระองค์หลังหน้า |
พระผ่อเอฺยี้ยม | เดียรดาษโยธา พุ้นเยอ | |
มณฑลคับ | แผ่นดินดาฟื้น | |
ฝูงหมู่ | นำหลังนั้น | พึงคณากบเขียด |
ฝูงหมู่ | บินผ่านฟ้า | พระยาเจ้าครุฑทอง |
ฝูงหมู่ | หัสดีลิงค์พร้อม | พึงคณาแง้วถ่าว ก็ไป |
กาแลฮุ้ง | คณากี้ก่างแซว | |
ฝูงหมู่ | นำปลายไม้ | ยลลิงคณาค่าง ก็ไป |
หางก่านพร้อม | เห็นเหม้นหมู่ชะนี | |
เสือโคร่งเขี้ยว | คณาหมีเหมือยป่า ก็ไป | |
เขาก็ | นำไต่พื้น | ดูเฮื่ออยู่หลัง |
มณฑลกุ้ม | นำตีนภูวนาถ หมู่นั้น | |
ให้ฮ่มกว้าง | กางกั้งมืดมัว | |
ทันที่ | แสนถันช้าง | งาขาวเดียรดาษ |
ยาบ ๆ พร้อม | กางกั้งฮ่มเพียง | |
เขาก็ | อาสาพร้อม | ขันต่างภูวนาถ |
ต้านต่อช้าง | แถนฟ้าบ่กลัว | |
ซะเพิกช้าง | ขาวเผือกทังมวล | |
ก็หาก | เป็นเสนา | แห่พระองค์เฟือนฟื้น |
ทันที่ | ฮง ๆ เหลื้อม | เจ็ดประการแก้วกู่ |
อันนั้น | ผาสาทตั้ง | หลังช้างแห่งพระองค์ |
กับทัง | อุดรแก้ว | กัลยาเทียมพ่าง |
สองแจ่มเจ้า | ทรงช้างฮ่วมกัน | |
ทันที่ | ซะพู่พร้อม | ด้ามหอกคอคำ |
ทวายยองขาว | แห่พระองค์ไปหน้า | |
ฝูงหมู่ | คนเซ็งชั้น | ชั้นขาลายเขียดตะปาด |
เขานั้น | เป็นเล็กน้อย | คนชั้นแนบใน |
ทันที่ | ยน ๆ ย้าย | ปะคือไชยไปก่อน |
งามซะล้าย | ทังเอ้เครื่องขาว | |
อันว่า | พระยานาคเจ้า | อันอยู่ในสมุทร ก็ไป |
นิมิต | เป็นฉันคน | แห่พระองค์หัวหน้า |
อันว่า | ปิตาไท้ | มาดาพ่อแม่ พระองค์นั้น |
สองเถ้า | ยังอฺยู่บ้าน | ปุนป้องนั่งเมือง |
เมื่อนั้น | ภูธรท้าว | เสด็จไปโดยด่วน |
เถิงที่เค้า | ทางขึ้นฮอดภู | |
พระก็ | ให้หมู่ช้าง | ม้าขึ้นเนืองนอง |
แซว ๆ คน | ชี่นชมปีนขึ้น | |
บัดนี้ เฮาจัก | เห็นเมืองฟ้า | พระยาแถนเสวยอฺยู่ จิ่งแล้ว |
ขอให้ | มีโชคแพ้ | เทม้างหมู่แถน |
เฮาจัก | เอานางฟ้า | เป็นเมียสมเสพ จิ่งแล้ว |
ยูท่างกลั้ว | สาวฟ้าอิ่มกอใจ | |
เพิ่นก็ | ผากฏแท้ | สาวสวรรค์งามยิ่ง |
คิงอ่อนอ้อน | ปานฝ้ายดีดผง | |
เฮาจัก | ชมจูบแก้ม | จันทะแจ่มเสน่หา |
ยูท่าง | ชมเสน่หา | ยอดนางกัลยาแก้ว |
อันนี้ | โยธาต้าน | จากันเว้าพากย์ |
ทุกปากเว้า | สงวนหลิ้นโกกความ | |
พอเมื่อ | ไหลหลามขึ้น | เมื่อภูสุดผ่อ |
เถิงที่ | สูงแปบฟ้า | หลิงเอฺยี้ยมควันคิ้ว |
เมื่อนั้น | พระบาทเจ้า | คอยผ่อเหลียวลง |
เห็นชุมพู | ทีปเฮาดูน้อย | |
พระก็ | หลิงแลก้ำ | สมุทรหลวงแสนย่าน |
ยาบ ๆ เหลื้อม | แสงแก้วส่องเขียว | |
หลิงเห็น | บัวรภัณฑ์ซ้อง | เป็นถันเดียรดาษ พุ้นเยอ |
เวียนแวดอ้อม | เสมรุตั้งอฺยู่กลาง | |
ฝูงไพร่พร้อม | ทุกหมู่โยธา | |
เขาก็ | คอยตาลง | ซู่คนหลิงเอฺยี้ยม |
เขาก็ | แซว ๆ ท้วง | นันเนืองเสียงสนั่น |
มีแม่น้ำ | ทังห้าแง่อโนม | |
น้ำก็ | ไหลหลามอ้อม | เขาเสมรุสามฮอบ |
แล้วจิ่ง แตกออก | เป็นแม่น้ำ | ทังห้าหว่างดอย |
เมื่อนั้น | หลายวันได้ | หลายคืนมาฮอด |
มาสืบมื้อ[๔๓] | ประมาณได้สี่เดือน | |
ก็เล่า | สูงผอกพ้น | บ่เห็นทีปชุมพู |
คอยลง | เป็นบดมืด | มัวมีมั้ว |
แล้วเล่า | เถิงถีบฟ้า[๔๔] | เมฆอ้อมหนาวเอฺย็น |
คอยลงสุด | ชั่วตาเขียวสิ้ว | |
นับแต่ | เดินดุ่งดั้น | ขึ้นสู่เมืองแถน |
นาน ๓ ปี | ก็จิ่งถองเถิงไท้ | |
เมื่อนั้น | ภูมีไท้ | เถิงเมืองแถนใหญ่ |
พระก็ บอกให้ | ครุฑนาคพร้อม | แปงตั้งก่อเวียง |
เมื่อนั้น | ครุฑนาคพร้อม | โดยอาชญ์ภูมี |
เขาก็ | นีรมิตเป็น | เวียงหินก่อกลม เลยแล้ว |
มีทัง | คูเล็กล้อม | ตีนเวียงประชิดฮอบ |
หินแก่นกล้า | เป็นต้ายกำแพง | |
นาคก็ | นีรมิตตั้ง | โฮงใหญ่มุงคำ |
ทางยาวพอ | หมื่นวาพันฮ้อย | |
บรบวนแล้ว | ภูมีเซาจอด | |
แก้เครื่องช้าง | เฮียงฮ้านย่างเชิง | |
พระก็ | ลีลาย้าย | เมือโฮงเถิงแท่น |
ศรีแจ่มเจ้า | นางแก้วนั่งแฝง | |
ดีแก่ | ยาบ ๆ เหลื้อม | ทุกหมู่มุนตรี |
เสนาเนือง | แห่พระองค์ขวาซ้าย | |
คื่น ๆ ก้อง | เสียงเสพนนตรี | |
ออระควนนัน | คื้นเคงคุงฟ้า | |
เมื่อนั้น พระก็ | เตือนเขาให้ | ยิงซะบูน้ำมอกใหญ่ |
เสียงสนั่นเท้า | เมืองกว้างแห่งแถน | |
เมื่อนั้น | พระยาแถนท้วง | ใผยิงน้ำมอกใหญ่ |
ฮอยว่า | เศิกใหญ่เข้า | เมืองบ้านแห่งเฮา แล้วรือ |
เขาก็ | แซว ๆ ท้วง | ทังเมืองฟ้าวฟั่ง |
แถนจิ่ง | ใช้ถีบม้า | ไปเอฺยื้ยมล่ำดู |
ยาบ ๆ เต้น | ม้าแล่นสน ๆ | |
เขาก็ | ไปเถิงถอง | เบิ่งเห็นเวียง |
เขาก็ | เห็นหลายล้น | เต็มนาท่งใหญ่ |
ช้างคื้นเค้า | ทังม้า........ | |
............ | .....................[๔๕] | ถามดูหาเหตุ |
สูนี่ | ลุกประเทศด้าว | ชั้นชื่อชุมพู พุ้นแล้ว[๔๖] |
มาถองเถิง | ต่อเล็วแถนเจ้า | |
เมื่อนั้น | ทูตาก้ำ | พระยาแถนถามถี่ |
อันว่า | ผู้แห่งเหง้า | สูนั้นชื่อใด |
เมื่อนั้น | พลหาญเจ้า | จอมเมืองคันคาก |
ต้านกล่าวต้าน[๔๗] | เสียงห้าวบอกกลอน | |
ชื่อว่า | ราชาไท้ | พระยาหลวงคันคาก จิ่งแล้ว |
จักรแผ่นแผ้ว | ไชโยแพ้หมู่แถน | |
เมื่อนั้น | ทูตาก้ำ | พระยาแถนถามที่ |
สูหาก | มาเคียดให้ | ตูแท้เยื่องใด |
สูหาก | เนาอฺยู่ห้อง | หนที่ชุมพู ที่พุ้น |
สังหากเล็ว | แห่งตูภายพี้ | |
เมื่อนั้น | โยธาก้ำ | พระองค์หลวงคันคาก |
บอกเหตุให้ | ฮู้ฮ่างคำผิด | |
สูหาก | ปะบุฮาณ | บนำคำเถ้า |
ยามเมื่อ | บุพเพพุ้น | พระยา........ |
...น้ำฟ้า[๔๘] | ลงให้ซู่ปี | |
บัดนี้ | มาให้แล้ง | ได้ขวบเจ็ดปี หนี้แล้ว |
ตูจิ่ง | มาเถิงสู | แป่เพเมืองบ้าน |
อันว่า | เป็นแถนแท้ | คลองบุฮาณสังบ่จื้อ จำนั้น |
บัดนี้ ตูจัก | ฟันแป่ม้าง | เมืองบ้านแห่งสู |
เมื่อนั้น | ทูตาก้ำ | พระยาแถนกุมเคียด |
เขาก็ | เลยตอบถ้อย | คำแม้งส่งเสียง |
ตูหาก | เนาอฺยู่ฟ้า | ทศราชตามธรรม |
บ่ได้ | เป็นทาสา | แต่งฝนสูแท้ |
อ้างว่า | สูดีแท้ | ชนพลายตูก่อน |
อฺย่าได้ช้า | วันหน้าจิ่งกุม | |
ค้อมว่า | ทูตาตอบถ้อย | ม้าแล่นพลันคืน |
นำทางเถิง | ฮอดแถนเถียงถ้อย | |
อันว่า | ทม ๆ ฟื้น | กลางนายิงน้ำมอก |
หากแม่น | เจ้าลุ่มฟ้า | เมืองล้านที่คน[๔๙] พระเฮย |
ชื่อว่า | ราชาไท้ | พระยาหลวงคันคาก |
จักรแผ่นแผ้ว | ไชโยแพ้หมู่แถน ว่าอั้น | |
เขาก็ | ขมเคียดให้ | พระบาทองค์แถน |
ก็เพื่อ | ชาวชุมพู | ห่างฝนเขินแล้ง |
บัดนี้ เขาก็ | ยอพลขึ้น | มาเล็วพระราช จิ่งแล้ว |
ผัดผาบม้าง | เมืองบ้านมุ่นทลาย ว่าอั้น | |
แถนก็ | ฟังพากย์ถ้อย | ข้ามหาดทูตา |
พระก็ | กำมือตี | พาดหมอนพุนฮ้าย[๕๐] |
บัดนี้ ก็จัก | ไปเล็วท้าว | ราชาคันคาก จิ่งแล้ว |
สังมา | ดูง่ายแท้ | งานพ้นบ่อฺยำ |
คู่คน | คู่ใหญ่แท้ | ตามเหตุสมภาร |
มาฮ่าว | ทำผวนผิด | โอดสะหาวโงงแง้น |
ลือว่า หากทรง | ฤทธีล้ำ | ในกงชุมพูทีป จิ่งรือ |
สังบ่ | ตกแต่งให้ | เป็นน้ำห่าฝน นี่เด |
เฮาก็ | เป็นใหญ่แท้ | เสวยราชย์ตามคลอง |
บ่ได้ | เป็นทาสา | แต่งฝนเขานั้น |
โอดว่า | กะดัดแท้ | ปีนภูมาสู้ กูนี่ |
กูจัก | ฟันแป่ม้าง | บายถิ้มกื่งลง |
ค้อมว่าแล้ว | ฆ้องป่าวตีเตือน | |
สน ๆ | ทันเสนา | ฮีบโฮมอย่าช้า |
เมื่อนั้น | แถนเลิงพร้อม | แถนลอแถนหล่อ ก็มา |
คื่น ๆ พร้อม | พลตื้อติ่วอักโข | |
ซะเพิกช้าง | งาขาวเดียรดาษ พุ้นเยอ | |
อาชาไนย | แสนโกฏิกือกองล้น | |
ซะพู่พร้อม | เตือนแต่งเดาดา | |
ฝูงหมู่ | ไทผาลา | หอกเกียงหลายตื้อ |
ฝูงหมู่ | สีฮงพร้อม | ซะบูหลวงเคงคื้น |
ฝูงหมู่ | ไทหน้าจ้าง | ธนูแก้วศาสตร์ศิลป์ |
มาพร่ำพร้อม | ฝูงหมู่ชาวแถน | |
เขาก็ | มาเปืองเฮ็ว | ฮีบโฮมมีช้า |
อันว่า | ไทชาวก้ำ | ชุมพูเมืองลุ่ม ภายพุ้น |
เขากล่าวกล้า | ดาห้างว่าซิชน | |
เฮาบ่ | มีหนอฺย้าน | ชาวคนเมืองลุ่ม |
ตั้งบ่ | เห็นงึดง้อ | สังแท้ท่อใย |
เอฺยี่ยวว่า | อินทร์อยู่ฟ้า | ลงโผดชุเขา[๕๑] บ่ฮู้ |
ตามแต่ | คนชุมพู | บ่มีกลัวอฺยุดอฺย้าน |
คันว่า | ฮมพลแล้ว | พระยาแถนหาโยค |
เถิงเขต | ยามมหาไชย | ก็จิ่งไปจิ่งแท้ |
ผ่อดู | ขัตฤกษ์ฟ้า | ถืกหน่วยมังคะละ |
หมอโหรทวย | แม่นพระองค์จิ่งแท้ | |
บัดนี้ | ขัตฤกษ์ฟ้า | ถืกหน่วยมหาไชย แท้แล้ว |
ดีแต่ | ชนหัวที | เทื่อลุนเขาแพ้ |
อฺย่าได้ | ดนชนหลาย | บ่มีไชยแล้ว |
ดีแก่ | ชนแต่เค้า | เฮาแพ้เพิ่นรือ พระเฮย |
อันว่า | ให้ดีแท้ | ยั้งอฺยู่วันลุน ก่อนเทิ้น |
หากจัก | มีไชยแข็ง | ข่มไปเขาอฺย้าน |
พระก็ | แพ ๆ ต้าน | สุราพาด่วน |
รือจัก | อดอฺยู่ได้ | การฮ้อนดั่งไฟ |
บ่ใช่ | คลองอันช้า | เอฺย็นใจอฺยุดอฺยู่ ท่านเฮย |
เหตุว่า | เสิกใหญ่เข้า | จนใกล้ยาดเมือง ท่านเฮย |
เขาจัก | ม้างเฮา | เมื่อวันใดบ่ฮู้ |
ควรเฮา | ยอพลไป | ต่อเล็วดูท้อน |
ค้อมว่า | กล่าวต้าน | เสด็จจากพรากจารจา |
ภูธร | ทรงพลายสาร | ออกเวียงยกย้าย |
ฟังยิน | คื่น ๆ ก้อง | สะบัดไชยเตือนป่าว พุ้นเยอ |
ฝูงหมู่ | เสเนศพร้อม | ทังค้ายแห่แหน |
หลิงเห็น | ไย่ไย่เปือง | ปะคือปลิวไปก่อน พุ้นเยอ |
ฝูงหมู่ | ไทฮ่มพร้อม | กางกั้งมืดมัว |
ฟังยิน | งง ๆ ฆ้อง | ต่อยตีเตือน พุ้นเยอ |
สน ๆ พลาย | ออกปักตูละวังกว้าง[๕๒] | |
เนืองนันแส้ | อาชาไนยหือละแห่น | |
ชาด ๆ ช้าง | เสถียรฮ้องคื้นเคง | |
หลิงดู | มาบ ๆ เหลื้อม | ฟ้อนดาบลาคำ พุ้นเยอ |
สน ๆ ปบ | แล่นนำตีนช้าง | |
พอเมื่อ | เถิงท่งกว้าง | คอยผ่อเห็นเวียง พุ้นเยอ |
พระก็ | เตือนโยธา | แต่งอฺยายขวาซ้าย |
อันว่า | หัวขวาให้ | ชนขวาอฺย่าอฺย่อน |
ก้ำปีกซ้าย | ชนซ้ายอฺย่าหน | |
สูจ่ง | จ่นกันเข้า | ผาลาเลียนไขว่ |
ช้างสืบช้าง | เลียนถ้านอฺย่าหน | |
แม้นว่า | เดียรดาษล้น | ฝูงหมู่ธนูทอง ก็ดี |
สูจ่ง | เอากันยิง | อฺย่าเซายามน้อย |
แม้นว่า | อาฮงพร้อม | ซะบูทองน้ำมอกใหญ่ ก็ดี |
ให้สู | ยัดแก่งแก้ | ตำแหน้นผ่าเผลียง |
ค้อมว่า | ผู้ผ่านพื้น | พระยาใหญ่แถนหลวง |
อฺยายพลแพน | อเนกนองกองกล้า | |
เมื่อนั้น | อือทือก้ำ | พระยาหลวงคันคาก |
เจ้าก็ | จำหมอโหร | บอกยามไปหน้า |
ยาบ ๆ แส้ | ไปก่อนปะคือไชย | |
ฝูงหมู่ | ไทเอาการ | ฮ่มขาวกางกั้ง |
ซะเลิกช้าง | ขาเผือกฉัททันต์[๕๓] | |
ภูธร | ทรงตัวกลาง | ใหญ่สูงพระยาช้าง |
เนืองนันอ้อม | ภูมีแสนโกฏิ | |
หลายส่ำชะ | สารต้นเฮื่องา[๕๔] | |
ทังมวลพร้อม | เป็นกำลังแสนโกฏิ | |
แสนส่ำช้าง | สลอนล้ายเฮื่องา | |
นาคนั้น | โยธาก้ำ | ราชาพระคันคาก |
เขาก็ | นีรมิตให้ | เป็นช้างโกฏิกือ |
เมื่อนั้น | นาคาเจ้า | ยิงธนูผายออก |
ฝูงหมู่ | บินผ่านฟ้า | พระยาเจ้าครุฑทอง |
สน ๆ พร้อม | พึงคณาแฮ้งถ่าว | |
ฝูงหมู่ | กาแลฮุ้ง | ฝูงเผิ้งต่อแตน |
นอกนั้น | อือทือพร้อม | หมีเหมือยเสือโคร่ง |
เสียงปีบฮ้อง | ทังอ้าวคื่นเคง | |
นอกนั้น | สน ๆ เต้น | คณาเห็นหางก่าน |
คื่น ๆ เค้า | คณาเนื้อโคร่งลิง | |
อันที่ | สุดภายซ้อย | พึงคณากบเขียด |
เสียงคื่นเค้า | เขาฮ้องมี่นัน | |
เมื่อนั้น | องค์กษัตริย์ไท้ | ราชาพระคันคาก |
บอกให้ | กบเขียดฮ้อง | โตนเต้นคาบเล็ว |
เมื่อนั้น | หื่นหื่นพร้อม | ฝูงเขียดคณากบ |
เขาก็ | เลยแล่นเต้น | เฟือนฟื้นแผ่นดิน |
เมื่อนั้น | พระยาจันเจ้า | กบหลวงอวนก่อน |
พระยา | แสนอึ่งเพา | ตีฆ้องป่าวพล |
อันว่า | คนเซ็งชั้น | ขาลายเขียดตะปาด |
ขบแข้วฮ้อง | ในบังกล่าวหาญ | |
บ่อาจ | คัณนาได้ | เหลือหลายคับท่ง |
มัวมืดเข้า | เสียงฮ้องคื้นเคง | |
เมื่อนั้น | แถนเลิงพร้อม | แถนหลวงแถนหล่อ |
อันนี้ สัตว์แต่ | ใต้ลุ่มฟ้า | มาพร้อมซู่ตัว แท้นอ |
เมื่อนั้น แถนก็ | ฮวายมนต์ให้ | เป็นงูเดียรดาษ |
เพินพึงคอ | แล่นนำ | |
เขาก็ | เพินคอขึ้น | เหลียวหากบเขียด |
เลยเล่า | สับตอดได้ | กลืนเข้าฟั่งเฟือน |
แต่นั้น | กบเขียดอฺย้าน | ปบพ่ายพังคืน |
ก็เพื่อ | เห็นงูหลาย | คาบกลืนดาเสี้ยง |
แดนแต่ | พระยาแถนฮ้าย | ฮวายมนต์ให้งูไล่ กินนั้น |
เดี๋ยวนี้ | งูจิ่งได้ | คู่นั้นสืบมา |
เมื่อนั้น | ราชาไท้ | พระยาหลวงพระคันคาก |
พระก็ | บอกหมู่ฮุ้ง | คณาแฮ้งหมู่กา |
สูจ่ง | ไปอย่าช้า | สับตอดกินงู พุ้นเนอ |
เขาก็ | บินบนไป | มืดมัวทังค้าย |
เถิงที่ | งูแถนพุ้น | เลยกุมสับตอด |
ยาบ ๆ พร้อม | คณาแฮ้งหมู่แหลว | |
ดำปั่งปี้ | คณากาแฮ้งถ่าว | |
เขาก็ | สับตอดได้ | กินไส้แห่งงู |
แดนแต่ | กาแลฮุ้ง | กินงูอุบาทว์ ปางนั้น |
เดี๋ยวนี้ | ฮุ้งแลแฮ้ง | จิ่งได้คู่นั้น สืบมา |
เมื่อนั้น | พระยาแถนเจ้า | หลิงเห็นดูหลาก |
พระก็ | จบเพทพร้อม | คำฮู้ศาสตร์ศิลป์ |
พระจิ่ง | ฮวายมนต์ให้ | เป็นหมาตัวใหญ่ |
ยาบ ๆ เต้น | ทังค้ายเห่าหอน | |
เมื่อนั้น | หมาคะโยงเต้น | คาบคอแฮ้งแกว่ง |
บ้างพ่อง | ขบคาบได้ | ทังแฮ้งหมู่กา |
เมื่อนั้น | ฝูงหมู่แฮ้ง | กาพ่ายพังคืน |
เขาก็ | เห็นหมาหลาย | คาบกินดาเสี้ยง |
เมื่อนั้น | ราชาไท้ | ภูมีคันคาก |
พระก็ จำหมู่ | เห็นก่านพร้อม | คณาเนื้อค่างลิง |
สูจ่ง | ไปอย่าช้า | ขบต่อเล็วหมา พุ้นเนอ |
เขาก็ | โดยราชา | ฮีบพลันโตนเต้น |
เมื่อนั้น | สน ๆ พร้อม | พึงคณาลิงค่าง |
หางก่านพร้อม | เห็นอ้มหมู่ชะนี | |
เขาก็ | อือทือเข้า | หาหมาแถนใหญ่ |
ทม ๆ เต้น | แผ่นนาผงกลั้ว | |
เห็นผันเข้า | ทะยานคาบหางหมา | |
หมาคะโยงสับ | คาบคอเห็นทื้น | |
ตีนเห็นถีบ | ทำตาหมาบอด ก็มี | |
ฝูงหมู่ | เห็นก่านเข้า | ขบก้นแห่งหมา |
ฝูงหมู่ | ลิงกังอฺย้าน | คอยไกลปบพ่าย |
บ้างพ่อง | ขึ้นต้นไม้ | คอยเอฺยี้ยมเบิ่งหมา |
เมื่อนั้น | หมาลวดแพ้ | ฝูงหมู่ลิงกัง |
ทม ๆ ปบ | แล่นคืนทังฟ้าว | |
แดนแต่ | หมาแถนไล่ | ลิงกังเห็นพ่าย ปางนั้น |
เดี๋ยวนี้ | หมาจิ่งได้ | คู่นั้นสืบมา |
เมื่อนั้น | เคืองใจเจ้า | พระยาหลวงคันคาก |
พระก็ | บอกอาชญ์ให้ | เสือพร้อมหมู่หมี |
สูอย่าช้า | ไปเปืองแวนเทียว | |
ขบคาบเคี้ยว | หมาพุ้นแห่งแถน | |
เมื่อนั้น เขาก็ | โดยอาชญ์เจ้า | ฮีบแล่นสน ๆ |
พึงคณาไป | หมื่นตัวเหลือล้น | |
เมื่อนั้น | หื่นหื่นพร้อม | ฝูงหมู่คณาเสือ |
เสือ | ทังหมีเหมือย | ฮีบชิงกันเข้า |
เถิงที่ | หมาแถนพุ้น | เสือคะโยงขบคาบ |
ดึงจีกทื้น | กลืนเข้าฮอดพุง | |
ลางตัวเต้น | แล่นผ่าถันกลาง | |
คะโยง | คะยันเต้น | ขบแก่หมู่หมา แถนทื้น |
เมื่อนั้น | หมาแถนอฺย้าน | ปบหนีพังพ่าย |
เสือปีบฮ้อง | ทางก้นแล่นนำ | |
เลยเล่า | ดับหายเสี้ยง | หมาแถนเสียสว่าง |
มุดมอดเมี้ยน | ตายเสี้ยงบ่หลอ | |
แดนแต่ | เสือขบเสี้ยง | หมาแถนตายไขว่ ปางนั้น |
เดี๋ยวนี้ | เสือจิ่งได้ | คู่นั้นสืบมา |
เมื่อนั้น | เคืองใจเจ้า | พระยาแถนเห็นหลาก |
เห็นหมู่ | เสือโคร่งเค้า | หลายตื้อโกฏิกือ |
เขาก็ | ยาบ ๆ เต้น | มาสู่โยธา |
เมื่อนั้น พระก็ | ฮวายมนต์เป็น | ตำชานกางกั้ง |
เมื่อนั้น | เสือโคร่งเข้า | ไปในถืกตำชานนั้น |
คื่น ๆ ก้อง | เสียงฮ้องอยู่ใน | |
เมื่อนั้น | แซว ๆ ก้ำ | พระยาแถนฮ้องโห่ |
เขาก็ | ถือหอกง้าว | ทวนอ้อมไล่แทง |
เมื่อนั้น | เสือท่าวล้ม | ตายไขว่ขีนนอง |
ฝูงหมู่ | เสือเหมือยหมี | แล่นคืนทังฟ้าว |
แดนแต่ | พระยาแถนข้า | เอาเสือถืกตำ ปางนั้น |
คนจิ่งได้ | คู่นั้นสืบมา | |
เมื่อนั้น | เคืองใจเจ้า | พระยาหลวงคันคาก |
พระก็ | จัดหมู่เผิ้ง | จังไฮฮ้ายหมู่แตน |
สูจ่ง | อย่าได้ช้า | บินสอดเวหา |
ไปขบพล | หมู่แถนภายพุ้น | |
เมื่อนั้น | หื่นหื่นพร้อม | เผิ้งต่อแตนเหลือง |
เขาก็ | บินเวหา | สอดไปเฟือนฟื้น |
เถิงที่ | พลแถนพุ้น | อือทืออฺยายทั่ว |
ขบหมู่ | คนแลช้าง | ทังม้าแตกกะจวน |
บ้างพ่อง | ถิ้มหอกง้าว | ฟ้าวแล่นซัดเสีย ก็มี |
บ้างพ่อง | เมามัวปัด | ป่ายเสียโตนเต้น |
บ้างพ่องเต้น | โตนลงน้ำท่วน ก็มี | |
ลางพ่อง | ผ้าจุ่มน้ำ | ปกลี้อยู่ใน |
ช้างม้าฮ้อง | เสียงสนั่นเนืองนัน | |
เมื่อนั้น พระยา | ตกคะมะอฺย้าน | ใจฟ้าวฟั่งเฟือน |
เมื่อนั้น พระก็ | ฮวายมนต์ให้ | เป็นไฟลนลาบ |
คื่น ๆ เค้า | ควันกุ้มทั่วเมือง | |
เมื่อนั้น | ฝูงต่อเผิ้ง | อฺย้านสั่นบินคืน |
ทม ๆ ไฟ | ไล่นำควันกุ้ม | |
แดนแต่ | ไฟแถนไหม้ | เป็นไฟจุดต่อ ปางนั้น |
คนจิ่งได้ | คู่นั้นสืบมา | |
เมื่อนั้น | ไฟแถนกุ้ม | มาจญฮ้อนเดือด |
พระคันคากเจ้า | เลยฟ้าวฟั่งเฟือน | |
เมื่อนั้น ครุฑก็ | ถุยถ่มน้ำ- | ลายเกิดเป็นฝน |
ทม ๆ ตก | หลั่งลงนานเอื้อน | |
เมื่อนั้น | ดินนองน้ำ | ไฟแถนมุดมอด |
แฮ่งเกิด | เป็นแม่น้ำ | ไหลถ้วมถมแถน |
เมื่อนั้น | แซว ๆ ก้ำ | พลแถนไหลล่อง |
บ้างพ่อง | ขึ้นง่าไม้ | ทังอฺย้านสั่นสาย |
เมื่อนั้น แถนจิ่ง | ยิงธนูเปือง | อาคมไกวแกว่ง |
ยิงบาดแม้ง | ชี้ซื่อครุฑทอง | |
ปืนเสวงขึ้น | เมือบนเคงคื้น | |
ครุฑก็ | อ้าปากไว้ | ปืนเจ้าฮีบกลืน |
เมื่อนั้น | ปืนซอดก้น | ครุฑออกเป็นไฟ |
ไปลามเผา | แห่งพลแถนฮ้อน | |
ขี้ครุฑ | ตกถืกช้าง | ฮ้องล้มท่าวทังอฺยืน |
พลแถน | นองกันตาย | ดั่งหินกลางแก้ง |
แถนจิ่ง | ฮวายมนต์ขึ้น | เป็นผามเหล็กแผ่น |
มุงหุ่มกั้ง | บังไว้ซู่ภาย | |
เมื่อนั้น | แถนเลิงพร้อม | แถนลอแถนหล่อ |
พระก็ | ฮีบเป่าช้าง | ทังม้าเทียวคืน |
เมื่อนั้น | แถนยิงเปือง | ธนูทองเป็นแฮด |
แฮดก็ | ปากฮ้อง[๕๕] | ไฟไหม้ลุกไป |
ลามไหม้[๕๖] | พลหลวงพระคันคาก | |
มุดมอดเมี้ยน | ตายเสี้ยงจุ่มจม | |
เมื่อนั้น | เคืองใจเจ้า | พระองค์หลวงคันคาก |
พระยานาคเกี้ยว | ขบได้ฮีบกลืน | |
นาคก็ | กลืนออกก้น | เป็นหน่วยซะบูหลวง |
กลอยแฮงฟัน | เบ่งไปดังฟื้น | |
ถืกช้างม้า | ฝูงหมู่พระยาแถน | |
กองกันตาย | อเนกนองเหลือล้น | |
แถนจิ่ง | ฮวายมนต์เป่า | พลคืนฉันเก่า |
เมื่อนั้น | พระบาทเจ้า | แถนฟ้าแกว่งธนู |
พระก็ | ยิงซะบูทอง | ขงเขตจักรวาล |
เค็ง ๆ ดัง | คื้นคือคุงฟ้า | |
ปืนผันเกี้ยว | เทิงบนอากาศ | |
บังเกิด | เป็นหอกง้าว | ลงพื้นเสียบคน |
เมื่อนั้น | เค็ง ๆ ก้ำ | พระยาหลวงคันคาก |
ตายล่าวล้ม | เลียนพร้อมพร่ำกอง | |
ครุฑจิ่ง | คึงปีกกั้ง | เป็นแผ่นกระดานหิน |
เมื่อนั้น | ราชาไท้ | เวสสุวัณตนใหญ่ |
เจ้าก็ | ฮวายมนต์อฺยำ | เป่าคนคืนพร้อม |
เมื่อนั้น | พระยานาคเจ้า | เลยถั่งลมดัง |
เป็นแปวลุก | ดั่งไฟขวานฟ้า | |
ทม ๆ ไหม้ | พลแถนตายจุ่ม | |
ช้างแลม้า | แถนล้มอเนกนอง | |
เมื่อนั้น | แถนฮวายมนต์ให้ | เป็นฝนแสนห่า |
ไฟนาค | มุดมอดเสี้ยง | ไปแล้วอฺยู่เอฺย็น |
แถนจิ่ง | ฮวายมนต์กั้ง | เวียงหินประชิดฮอบ |
แล้วจิ่ง | เป่าช้างม้า | พลตื้อลุกคืน |
เมื่อนั้น | ราชาให้[๕๗] | พระองค์หลวงคันคาก |
พระบ่ช้า | ไกวเปืองแกว่งธนู | |
พระก็ | ยิงไปให้ | เป็นขวานฟ้าผ่า |
ตำถืกต้อง | เวียงแก้วแห่งแถน | |
ปืนเหาะอ้อม | ผันผาวยังหิน[๕๘] | |
เค็ง ๆ ดัง | คือเสียงฟ้า | |
เมื่อนั้น | ผ่าเมฆล้อม | เวียงหินกระจัดแตก |
ผงเผ่าไหม้ | เสียแล้วเปล่าเอฺย็น | |
ปืนซ้ำ | ทม ๆ เข้า | หาพลแถนพ่าย |
ถืกช้างม้า | พลล้มไขว่ขีน | |
แล้วเล่า | ผันผยองเกี้ยว | คืนมาแหล่งเก่า |
พระบาทเจ้า | ใจห้าวชื่นชม | |
เมื่อนั้น | แถนผ่อเอฺยี้ยม | มนต์เป่าพลคืน |
ผันตนเถิง | ขี่พลายไสเข้า | |
แถนก็ | โจก ๆ ฮ้อง | หาพระยาคันคาก |
บัดนี้ เชิญพระ | มาต่อช้าง | กันท้อนสว่างกอใจ |
อันอาคมนี้ | สองเสมอโสภา[๕๙] กันแล้ว | |
บ่ลื่นด้าม | เสมอแท้ท่อกัน | |
เมื่อนั้น | ราชาไท้ | พระองค์หลวงคันคาก |
พระก็ | ออกปากง้ำ | คิงก้าวกล่าวหาญ |
ใผจัก | มาอฺยุดอฺย้าน | ตีนมือสบโบก นั้นเด |
มือหาก | มีห้านิ้ว | บ่มีอฺย้านอฺย่อนใผ |
ค้อมว่า | พระกล่าวแล้ว | เสด็จขวี่คอพลายสาร |
พลายสารไป | ต่อแถนบ่มีอฺย้าน | |
เสนาพร้อม | นำพระองค์แหนแห่ | |
บฮู้ | กี่โกฏิตื้อ | เหลือล้นติ่วตง |
เมื่อนั้น | แถนแยกช้าง | ไสต่อภูธร |
สองแฮงฮบ | ผ่าชนเสถียรฮ้อง | |
ช้างต่อช้าง | แฮงหากค่ากัน | |
แถนก็ | ยอขอตี | ผ่าเผลียงเปืองล้ำ |
ตำเทริดเจ้า | พระยาหลวงคันคาก | |
หมวกแตกฟ้ง | นายท้ายแกว่งสะเด็น | |
เมื่อนั้น | แปดหมื่นพร้อม | ปลายสี่พันพระยา |
โฮมกันชน | เผือกสารแถนเจ้า | |
เมื่อนั้น | พระบาทเจ้า | อฺยุดอฺยู่บ่มีไชย |
ถอยพลายสาร | หมูบหลังคึงไว้ | |
เมื่อนั้น แถนก็ | มีไชยแพ้ | ตีหัวพระคันคาก |
เลยลวด | สับแยกช้าง | คืนตั้งแกว่งขอ |
แข็งบ่ | หลายตัวแท้ | มาชนโฮมฮ่อ กูนี้ |
หลางจัก | เสียราชา | คอบขอกูแท้ |
โอดว่า | หาญดีแท้ | มาชนสองเล่า ดูท้อน |
สังมา | ถอยฮีบอฺย้าน | หนีฟ้าวเทียวคืน นีเด |
มันหาก | ลือกูแท้ | แถนหลวงจบเพท จิ่งแล้ว |
ใผผู้ | ต้องต่อหน้า | กูแท้หลางจักตาย |
เมื่อนั้น | ราชาไท้ | พระองค์หลวงคันคาก |
ทวายมือ | คลำดูหัว | ใค่เหมือนจูมฆ้อง |
พระก็ | แข็งใจต้าน | จาแถนทังสั่น |
เทื่อนี้ | โชคท่านแล้ว | อย่าได้โอดสะหาว |
ยังจักเห็น | มื้ออื่นแท้ | วันลุนท่านจ่งเบิ่ง ดูท้อน |
อันนี้ เคราะห์คราส | กูไป่มั้ว | เหมือนซิซ้ำส่งปี |
ค้อมว่า | จารจาแล้ว | ตาวันตกต่ำ |
เอากัน | พรากซู่ก้ำ | ไหลเข้าสู่เวียง |
แถนก็ | ไหลพลเข้า | ในเวียงหมดหมู่ |
หินแก่นกล้า | ตันไว้ปองทวาร | |
คื่น ๆ ก้อง | ยิงหน่วยซะบูหลวง | |
เสนาแหน | อฺยู่ยามตีฆ้อง | |
พระยาแถนเจ้า | ลีลาเถิงแท่น | |
สนม | ทังเทวี | แวดระวังเลียนซะล้าย |
เมื่อนั้น | ภูธรท้าว | พระองค์หลวงคันคาก |
พระก็ | ไสสั่นช้าง | เฮียงฮ้านจอดพลาย |
พระก็ | ลีลาขึ้น | เมือเทิงเถิงแท่น |
ศรีแจ่มเจ้า | นางแก้วอฺยู่แฝง | |
พระก็ | ฮวายมนต์กั้น | กะดานหัวอันใค่ |
ค้อมว่า | มนต์ถืกต้อง | หัวเจ้าแลบงาม |
แดนแต่ | ภูมีต้อง | คันขอหัวใค่ ปางนั้น |
หัวคัน-คากจิ่ง | ได้เยื่องเค้า | คู่นั้นสืบมา |
ยังใค่ | เป็นอ้อล้อ | ทันที่กระดานหัว แท้แล้ว |
ก็จิ่ง | เป็นแนวนาม | ซู่ตัวเดี๋ยวนี้ |
เขาหาก | เป็นวงศาเชื้อ | ภูธรประเหียรฮูป มีแล้ว |
เฮาถ้า | หลิงผ่อเอฺยี้ยม | หัวนั้นใค่จิ่ง แท้แล้ว |
เมื่อนั้น | ผู้ผ่านพื้น | พระคันคากราชา |
พระก็ | เตือนโยธา | ซู่ตนยั้งพร้อม |
บัดนี้ | จักบอกให้ | คณามอดหัวสิน |
สูจ่ง | ไปกินเสีย | เครื่องเคราแถนพุ้น |
สูจ่ง กัดหมู่ | คันขอช้าง | พระยาแถนทังหอก |
ฝูงหมู่ | ด้ามดาบง้าว | กินเสี้ยงอฺย่าหลอ |
กินทัง | สายธนูหน้า | ทังปืนทุกสิ่ง |
สูอฺย่าช้า | เดี๋ยวนี้ฮีบไป | |
เมื่อนั้น | หื่นหื่นพร้อม | คณามอดหัวสิน |
เขาก็ | พึงคณาไป | เทียวพลันมีช้า |
เขาก็ | อือทือเข้า | ไปในเวียงใหญ่ |
กัดดาบด้าม | ขอช้างเครื่องเครา | |
เขาก็ | กินเสียเสี้ยง | ธนูศิลป์สายก่ง |
ฝูงด้ามมีดพร้า | คันจามพร้อมหอกแหลม | |
ฝูงหมู่ | พลแถนพร้อม | เอากันหลับอฺยู่ |
มอดก็ | ยูท่างเคี้ยว | กัดแห้นเครื่องเครา |
แดนแต่ | มอดกัดเสี้ยง | ของแถนทุกสิ่ง ปางนั้น |
เดี๋ยวนี้ | มอดจิ่งได้ | คู่นั้นสืบมา |
แม้นว่า | เห็นเครื่องไม้ | สัพพะสิ่งของเฮือน ก็ดี |
เขาก็ | พากันกัด | ซู่ตัวกินเสี้ยง |
ก็จิ่งได้ | นามกรเชื้อ | เขามาว่ามอด จิ่งแล้ว |
เห็นว่า[๖๐] | แถนมอดเมี้ยน | ปางนั้นคอบเขา |
คันว่า | เขากัดเสี้ยง | ของแถนทุกสิ่ง |
เขาจิ่ง | บินสอดแส้ว | คืนแล้วคอบพระองค์ |
บัดนี้ ฝูงข้า | ไปกินเสี้ยง | ของแถนทุกสิ่ง |
พระจิ่ง | หลิงล่ำเอฺยี้ยม | ยามเช้าเมื่อวัน หั้นท้อน |
เมื่อนั้น | พระบาทเจ้า | ฮับพากย์พลอยจา |
ดีท่อ | ขันอาสา | แก่กูตัวกล้า |
ดีแก่ | สุริเยศขึ้น | เลียบขอบเขาทอง พุ้นเยอ |
ฮง ๆ ใส | ส่องมาเฮืองแจ้ง | |
เมื่อนั้น | ภูธรท้าว | เตือนพลเฮ็วฮีบ |
สูอฺย่าช้า | วันนี้โชคมี | |
นาคจ่ง | มาคาบท้าย | ขวี่ฮ่มเฮาพระองค์ หนี้เทิ้น |
จิ่งจัก | ทรงกำลัง | ผูกแถนเอาได้ |
ให้ท่าน | ถือเอาบ่วง | มุงคุลนาคบาศ ดีเนอ |
ดาถ้าคล้อง | แถนแท้เมื่อชน | |
คันว่า | เฮากลอยเปือง | ขอคำตีผ่า แถนนั้น |
ท่านอฺย่าช้า | พลันถิ้มใส่คอ | |
ซ้ำพันเกี้ยว | ดึงแก่เอาเนอ | |
อย่าได้ช้า | เปืองแท้ฮีบเมือ | |
ค้อมว่า | เจ้ากล่าวแล้ว | เสด็จออกผานผาน |
นาคาทรง | ฮ่มพระองค์ถือท้าย | |
อันว่า | ปาสาบ่วง | ของดีนาคบาศ |
พระยานาคเจ้า | ถนอมไว้บ่วาง | |
เมื่อนั้น | โยธาพร้อม | นันเนืองแหนแห่ |
ทุกซู่ด้าน | ขวาซ้ายเกิ่งกัน | |
ดีแก่ | เค็ง ๆ ก้อง | สะบัดไชยตีป่าว |
ยาบ ๆ ฟ้อน | ปะคือด้างดาบไชย | |
สน ๆ แส้ | อาชาไนยหือละแห่น | |
เผียง ๆ ช้าง | เสถียรฮ้องคื้นเคง | |
ทม ๆ ก้อง | เวหาอากาศ | |
ชาด ๆ ช้าง | หลายตื้อเฮื่องา | |
พระก็ | ไหลพลเข้า | จนเวียงแถนใหญ่ |
เมื่อนั้น | แถนตื้นท้วง | ตีฆ้องฟั่งเฟือน |
บัดนี้ | เศิกใหญ่เข้า | คับแผ่นธรณี |
มาสู้รบ | ต่อเล็วนากว้าง | |
เมื่อนั้น | แถนฟาดฆ้อง | ตีป่าวงง ๆ |
เสนาเนือง | อเนกนองเหลือล้น | |
แต่นั้น | แถนโยงย้าย | อือทือย้ายออก |
พระบาทต้าน | โยงก้อยส่งเสียง | |
มาเยอเจ้า | ราชาคันคาก มาเทิ้น | |
กูหาก | เห็นแต่กี้ | เชิงผู้คากคำ |
กูหาก | บ่มีอฺย่อนอฺย้าน | ท่านท่อใยยอง หนึ่งนั้น |
สังฮ่าว | มาหาญตาย | ต่อกูภายพี้ |
กูหาก | ให้บาดค้อน | หมวกแตกเต็มหัว |
ละก็ ยังไป่ | โยมถวายเทียน | ว่าซิเล็วผองเมี้ยน |
ค้อมว่า | แถนกล่าวแล้ว | เสด็จขวี่คอพลาย |
พระก็ | คึงขอคำ | แกว่งเฟือนฟายฟ้อน |
บัดนี้ กูจัก | ทำแข็งให้ | เอาหัวมานั่ง |
สังหาก | ดูง่ายแท้ | งานพ้นบ่อฺยำ นี่เด |
อันแต่ | ใต้ลุ่มฟ้า | กูห่อนกลัวใผ |
แม้นจัก | ยอทังธรณี | บ่กลัวอฺยำอฺย้าน |
เมื่อนั้น | ผาน ๆ ช้าง | พระยาแถนไสออก |
ฝูงหมู่ | เสเนศพร้อม | พอตื้อแห่พระองค์ |
ฟังยิน ๆ ก้อง | ยิงหน่วยซะบูหลวง | |
เสียงคนนัน | โห่นันฟีฟื้น | |
ยินเนืองนันแส้ | อาชาไนยหลายแกว่ง | |
คื่น ๆ ช้าง | อนันต์ตื้อติ่วอักโข | |
ฟังยิน | เผียง ๆ ช้าง | เดียรดาษเต็มนา |
แถนก็ | ไสพลายหา | ต่อพระองค์ทังเอิ้น |
มาเยอเจ้า | พระองค์หลวงคันคาก | |
เทื่อนี้ | ปะไป่ไว้ | สองเจ้าต่อกัน |
ใผอฺย่า | มาชนช้าง | หลายพลายฉันเก่า นั้นเทิ้น |
แม้นว่า | มีโชคแพ้ | เมื่อหน้าก็บ่ลือ |
เมื่อนั้น เขาก็ | วะหว่างไว้ | สองพระบาทกุมกัน |
ฝูงหมู่ | เสนาคอย | เบิ่งดูสองก้ำ |
เมื่อนั้น | สาน ๆ ช้าง | คาอฺยู่ถูกัน |
ใผบ่ | หนพอสะ | เกิ่งกันคาจุ่ง |
เมื่อนั้น | สาน ๆ ช้าง | สองพระยาฮ้องฮ่วน |
งาซัดซอง | งวงเกี้ยวไขว่กัน | |
ช้างต่อช้าง | ค้ำอฺยู่กุมกัน | |
ใผบ่ | หนหนีใผ | เกิ่งกันแฮงล้ำ |
เมื่อนั้น | พระยาแถนเปือง | ขอคำเผลียงผ่า |
พระคันคากเจ้า | ขวางด้ำฮับทัน | |
เมื่อนั้น | ขอแถนค้าน | เด็นลงตกลุ่ม |
พระคันคากเจ้า | ยอง้าวแกว่งเผลียง | |
ตำเทริดเจ้า | พระยาแถนกระจัดแตก | |
พระยานาค | ถิ้มบาศบ่วง | พลันคล้องถืกคอ |
นาคก็ | คึงชักทื้น | บ่วงบาศซ้ำพลัน |
พระยาแถน | ยอมือนบ | ว่าโยมพระองค์แล้ว |
นาคบ่ช้า | เกี้ยวกอดซ้ำพลัน | |
ตีนทำมัด | ไหลฮอมฮิงหมั้น | |
ราชาไท้ | พระองค์หลวงคันคาก | |
พระก็ | กำสองมือ | ตีหูฮับกันสองเบื้อง |
ลือว่า | แถนหลวงกล้า | ชนพลายดีขนาดว่า |
ก็สังว่า | ตกบาดช้า | เอาได้ดั่งแลน นี้เด |
มันหาก | ลือกูแท้ | พระองค์หลวงคันคาก |
ชื่อว่า | จักรแผ่นแผ้ว | ไชโยแพ้หมู่มาร |
โอดว่า | ดีกะกัดแท้[๖๑] | สะหาวความแข็งข่ม กูนี่ |
ก็จัก | ผูกจุ่มน้ำ | ทังปิ้งจี่จืน |
เมื่อนั้น แถนก็ | วอนวานไหว้ | ขอเป็นเมืองส่วย พระองค์อวนท้อน |
ข้าจัก | แต่งน้ำฟ้า | ลงให้คู่ปี |
เมื่อนั้น | ราชาเจ้า | พระองค์หลวงจักรแผ่น |
ปากกล่าวต้าน | เสียงห้าวบ่กลัว | |
ดี ๆ แล้ว | พระยาแถนเชยด้าม กูเฮย | |
มึงหาก เป็นข้อย | แต่งน้ำฟ้า | กูแท้แต่ประถม |
เมื่อนั้น | โยธาเบื้อง | พระยาแถนพังพ่าย หนีแล้ว |
ก็เพื่อ | เพื่อน ๆ อฺย้าน | ข้าเสียแท้แล้ว |
คืนทม ๆ ถิ้ม | วางเสียหอกดาบ | |
ก็เพื่อ | เพิ่นหากแพ้ | แถนเจ้าแห่งเขา |
เพิ่นผูกคอเจ้า | พระยาแถนซ้ำแก่ ไปนั้น | |
อันจัก | มีชีวัง | บ่หวังเสียท้อน |
ค้อมว่า | หมดพลแล้ว | ปักตูหินอัดแจบ |
เขาจิ่ง | ทูลเทวี | พระยอดเมืองตงแจ้ง |
บัดนี้ | ตกถ่อยช้า | พระบาทเสียไชย แท้แล้ว |
เพิ่นก็ | ชนพลายเปือง | เกือบกวมเอาได้ |
เขาก็ | ปากกล่าวต้าน | พระยาแถนซ้ำแก่ ไปแล้ว |
อันจัก | มีชีวัง | อฺย่าหวังเสียท้อน |
แม้นว่า | มุงคุลช้าง | ตัวพระองค์ทรงขวี่ ชนนั้น |
เขาก็ | กุมเกือบอ้อม | เอาได้พาบพระองค์ |
เมื่อนั้น | เทวีแก้ว | พระยาแถนล้มท่าว |
นางก็ | กลิ้งเกลื่อนไห้ | หาเจ้าพระยอดเมือง |
แม้นว่า | สาวสนมพร้อม | โฮงชาวสามหมื่น ก็ดี |
เขาก็ | หิวหอดไห้ | หาเจ้าอฺยู่สลอน |
แม้นว่า | เสนาท้าว | โยธาฮ้อยโกฏิ ก็ดี |
เขาก็ | ชลเยศย้อย | ดอมเจ้าซู่คน |
เมื่อนั้น | หื่นหื่นก้ำ | พระยาหลวงคันคาก |
เขาก็ | ผูกศอกแปะ | แถนเจ้าใส่กำ |
ยอใส่ช้าง | เขนคำทังศอก คานั้น | |
เขาก็ | นำเอาเมือ | สู่เมืองแถนเถ้า |
ราชาไท้ | พระองค์หลวงคันคาก | |
เขาก็ | ทรงสะอาดช้าง | พลตื้อแห่ระวัง |
พระก็ | ค่อยเสด็จเท้า | เวียงแถนปักตูใหญ่ |
เขาก็ | หับแจบไว้ | ปักตูกว้างบ่ไข |
กูบ่ | กลัวเกรงอฺย้าน | พระองค์หลวงคันคาก |
เพราะว่า | พลยึ่งเข้า | ลีล้ายข่มเหง |
เมื่อนั้น | ผู้ผ่านพื้น | จักรแผ่นเมืองคน |
พระก็ | จบเพทพร้อม | คำสู้ซู่อัน |
พระก็ | ทรงพระกรไกว | แกว่งธนูเผลียงม้าง |
ปืนก็ | ไปเหาะอ้อม | ขงขอบจักรวาล |
เค็ง ๆ ดัง | ดังแปกคือเสียงฟ้า | |
แล้วเล่า | จิ่งลงตำ | คือขวานฟ้าผ่า |
ถืกหมู่ | พลายแถนม้าง | พุ้นมุ่นทลาย |
เมื่อนั้น | เวียงแถนล้ม | เพพังเป็นเผ่า |
ทังแปดชั้น | เลยม้างแป่แปน | |
ปืนแสวงเกี้ยว | คืนหาแหล่งเก่า | |
พระบาทเจ้า | บายได้ใส่ถง | |
เมื่อนั้น | หื่นหื่นพร้อม | ฝูงหมู่โยธา |
เขาก็ | เอาราชา | สู่โฮงแถนเถ้า |
เมื่อนั้น | ภูมีไท้ | ราชาคันคาก |
พระก็ | พับจอดช้าง | เฮียงฮ้านย่างเชิง |
พระก็ | ลีล้ายขึ้น | โฮงหลวงหลังใหญ่ |
แยงแท่นแก้ว | แถนพุ้นนั่งเทิง | |
ฝูงหมู่ | เสนาล้อม | แสนถันแหนแห่ |
ทุกท่วยไท | ทังค้ายขาบทูล | |
นางงามแก้ว | อุดรเทียมพ่าง | |
สองแจ่มเจ้า | หลิงเอฺยี้ยมซู่ภาย | |
เห็นหมู่ | เงินคำแก้ว | ของแถนเดียรดาษ |
สัพพะสิ่งล้น | รือไฮ้อเนกนอง | |
พระก็ | เตือนเขาให้ | ฮักษาแถนอฺย่าให้ปล่อย |
สูจ่ง | ใส่ซิกหมั้น | คาค้อมใส่คอ |
เชือกเหล็กพร้อม | บ่วงบาศนาคา | |
เอามาเฮียง | แทบเสาจำไว้ | |
เขาก็ | ผูกมัดไว้ | เทิงโฮงแหนแห่ |
ถือหอกง้าว | ระวังล้วนหมื่นถัน | |
เมื่อนั้น | เทวีแก้ว | พระยาแถนตกแต่ง |
สาวสนม | หนุ่มน้อย | นางฟ้าสี่พัน |
ยอถวายเจ้า | พระราชาคันคาก | |
ขอแลก | ชีวิตข้อย | แพงล้านพระยอดเมือง |
กับทัง | เงินคำแก้ว | เจ็ดประการแสนโกฏิ |
ถวายแก่เจ้า | บุญกว้างโผดผาย | |
กับทัง | ช้างม้าพร้อม | นับอ่านแสนตัว |
ถวายภูธร | อีดูอย่าข้า | |
เมื่อนั้น | องค์กษัตริย์เจ้า | ราชาพระคันคาก |
ไขปากต้าน | เสียงห้าวบ่กลัว | |
ดี ๆ แล้ว | เทวีคึดแม่น คลองแล้ว | |
เฮาบ่ | ได้ซิข้า | เอาไว้แต่งฝน |
เฮาก็ | ผูกมัดไว้ | สมพอตามโทษ |
คันว่า | ม้มโทษแล้ว | ซิวางให้แก่นาง |
เห็นว่า ท่านบ่ | แต่งน้ำฟ้า | ฝนขาดเจ็ดปี หนี้แล้ว |
เมืองชุมพู | ไขผงทรายแล้ง | |
บัดนี้ เฮาจัก | ผูกแถนไว้ | เจ็ดวันตามโทษ ก่อนแล้ว |
นางอย่า | ได้โศกฮ้อน | เฮาซิให้นั่งเมือง |
เมื่อนั้น | มาย ๆ หน้า | พระราชเทวี |
จารจาเสียง | อ่อนหวานคีค้อย | |
ทานโทษท้อน | พระเพิ่งชีวิต ข้อยเฮย | |
ขอกูร์ณา | โผดผายปางนี้ | |
อันว่า | ทังเมืองไว้ | ถวายพระองค์เสวยราชย์ จิ่งแล้ว |
แม้นท่อ | ได้ชีวิตเจ้า | แถนฟ้าอฺย่าตาย |
ค้อมว่า | นางกล่าวแล้ว | ก้มขาบ ๓ ที |
ยอมือทูล | ใส่หัวลาเจ้า | |
นางก็ | ลีลาขึ้น | หอปรางค์ผาสาท |
คึดคั่งแค้น | ดอมเจ้าพระยอดเมือง | |
เมื่อนั้น | สุริโยค้อย | เมื่อแลงแล้วค่ำ |
สาวสนม | หนุ่มน้อย | แฝงเฝ้า ๔ พัน |
ออดหลอดเนื้อ | คีงอ่อนกลมงาม | |
ภูธรชม | ซู่นางสาวฟ้า | |
เมื่อนั้น | แปดหมื่นพร้อม | ปลายสี่พันพระยา |
ยูท่าง | ชมเสน่หา | กล่อมชมสาวฟ้า |
แม้นว่า | โยธาท้าว | เนืองนองแสนโกฏิ ก็ดี |
ยูท่าง | สมเสพซ้อน | สาวฟ้าอิ่มกอใจ |
แม้นว่า | ครุฑนาคเจ้า | จบเพทมีฤทธี ก็ดี |
นิมิต | เป็นคนดี | เสพสมสาวฟ้า |
เมื่อนั้น | เหิงนานได้ | เจ็ดวันทัดเที่ยง |
พระจิ่ง | ให้นาคแก้ | บาศบ่วงคอเถ้าแห่งแถน |
เมื่อนั้น | ภูธรท้าว | ราชาคันคาก |
พระจิ่ง | วางโฮงทอง | ให้แถนเป็นเจ้า |
พระก็ | โดยเสด็จยั้ง | ทันที่หอสนาม |
เสนานำ | เฝ้าพระองค์หลายตื้อ | |
อันว่า | กัลยาแก้ว | อุดรเทียมพ่าง |
สนมหนุ่มน้อย | แฝงเฝ้าสี่พัน | |
พระก็ | ทรงแท่นแก้ว | ในที่หอสนาม |
ดีแก่ | ควน ๆ นัน | เสพระบำเฟือยฟ้อน |
เมื่อนั้น | หื่นหื่นพร้อม | ฝูงหมู่ชาวแถน |
เขาก็ | เนืองนันมา | สู่ขวัญแถนเจ้า |
ซะพู่พร้อม | ฝูงหมู่เสนา | |
เขาก็ | เดาดาตก- | แต่งเฝ้าปรางค์ซ่า |
สม ๆ พร้อม | ยินดีชมชื่น | |
บัดนี้ | หายเคราะห์แล้ว | เสถียรหมั้นหมื่นปี |
เสนาพร้อม | เนืองนันแสนโกฏิ | |
เขาก็ | มาพร่ำพร้อม | กินเหล้าสู่ขวัญ |
แถนก็ | ทรงแท่นแก้ว | เสวยราชย์ยินดี |
ขัวขัวเสียง | กล่าวจาจงอ้าง | |
คึดจัก | มรณาแท้ | ปางกูชนเพิ่น กี้นา |
เพิ่นก็ | กุมผูกได้ | ว่าซิข้าอี่หลี |
บัดนี้ | เพิ่นโผดเลี้ยง | ให้นั่งเสวยเมือง |
ควรที่ | เดาดาตก- | แต่งฝนอฺย่าคร้าน |
เมื่อนั้น | เสนาพร้อม | ทูลถวายทูลบาท |
พระอฺย่า | คึดยากก้ำ | สังแท้แต่งฝน |
แม้นท่อ | ไตรยะจัดเจ้า[๖๒] | กูร์ณาผายโผด ปางนี้ |
บุญพระ | ยังค่อยตุ้ม | คูณแท้จิ่งบ่ตาย |
อันว่า | ภูธรท้าว | ราชาพระคันคาก |
หาก | ทศราชแท้ | ยังฮู้อีดู |
ผิว่า | พระบ่เลี้ยง | จักข้าฟันเสีย ดั่งนั้น |
ก็บ่ | มีใผหาญ | ตอบมือพระองค์ได้ |
บุญพระ | ยังสมสร้าง | ภายหลังหลายชาติ |
จักได้ | สุขอฺยู่สร้าง | เกษิมแม้งสืบเมือง |
บรบวนแม้ง | คูณขวัญแล้วอฺย่า | |
แถนก็ | ไปขาบไหว้ | พระองค์เจ้าที่สนาม |
ยาบ ๆ แส้ | ถือเครื่องขันคำ | |
เสนานำ | แห่พระองค์พอล้าน | |
แถนก็ | ไปฮอดแล้ว | ยูนั่งทูลมือ |
ขอแก่ | เหลือหัวพระ | สั่งสอนตนข้า |
เมื่อนั้น | ภูมีเจ้า | พระองค์หลวงคันคาก |
พระก็ | ไขพากย์ต้าน | เสียงห้าวบ่กลัว |
ดี ๆ แล้ว | พระยาแถนคึดแม่น | |
เฮาจัก | บอกกล่าวต้าน | เตือนเถ้าจื่อจำ |
ชาติที่ | เป็นแถนห้าง | ฮักษาคนเมืองลุ่ม จิ่งดาย |
พระจิ่ง | หลิงโลกเอฺยี้ยม | การฮ้ายแลดี |
คันหาก | เห็นเหตุต้อง | เคราะห์ถืกคนใด ดั่งนั้น |
ท่านจ่ง | ทำเป็นการ | ให้เข็ญเขาฮู้ |
เขาจัก | หาหมอแก้ | บูชาเอาโชค |
เสียเคราะห์ฮ้าย | เสถียรหมั้นอฺยู่ยืน | |
อันหนึ่ง | ท่านอฺย่าห้าม | ฝูงนาคในสมุทร |
ให้เขา ไปเถิง | สระคุงคา | ดีดหางลอยหลิ้น |
แดนแต่ | นาคาหลิ้น | ฝนนองลงอฺยาด |
ทุกขวบแท้ | ระดูล้ำแม่นปี | |
อันนั้น | เป็นฝนฟ้า | ฮำนาเมืองลุ่ม |
ฝูงหมู่ | ต้นเข้ากล้า | เขียวซ้องชื่นบาน |
เขาจิ่ง | ยินดีย้อง | หาคุณมีมาก |
เพราะว่า | แต่งน้ำฟ้า | ฝนให้ชุ่มอึน |
อันว่า | ชุมพูล้ำ | สัพพัญญูลงเกิด ท่านเฮย |
คนจิ่ง | ได้สืบสร้าง | บุญค้ำมากหลาย |
เขาจิ่ง | เห็นคุณเจ้า | พระยาแถนฮักษาโลก |
เขาก็ | หมายอฺยาดน้ำ | นำให้ตอบคุณ |
ท่านจัก | ยืนอฺยู่สร้าง | เสวยเมืองแถน |
ยูท่าง | ทรงคำสุข | เพิ่งบุญนำให้ |
อันหนึ่งท่านหาก | จบเพทเพี้ยง | สัพพะสิ่งอาคม ก็ดี |
อย่าได้ | ทำสะหาวง้ง | ว่าตนเป็นกะด้อ |
อันว่า | นักปราชญ์ฮู้ | ฮีตฮ่อมคลองธรรม ก็ดี |
เพิ่นหาก | ยังควรอำ | บ่มีสะหาวแง้น |
กลัวแต่ | โพยภัยต้อง | ภายลุนเป็นโทษ ท่านเฮย |
แม้นว่า | ตัวหากฮู้ | อำไว้ก็จิ่งดี |
อันที่ | ศาสตร์เพทพร้อม | จบแจบอาคม ก็ดี |
ใผบ่ | มีเห็นใผ | ต่างครูก็ยังล้าว |
ตัวหาก | ดีกะดัดแท้ | อาคมก็ยังต่าง กันดาย |
เพิ่นผู้ | จบเพทพร้อม | ก็ยังฮู้กลัวโต บ่ฮู้ |
ดีท่อ | ทำตัวน้อย | คือปอมมอมม่อ |
ทำเพศ | เป็นสิ่งอฺย้าน | เขานั้นเผื่อพอ |
ฝูงหมู่ | ครุฑนาคนี้ | จบเพททรงฤทธี แท้ดาย |
อฺย่าได้ | ลวนเขาหลาย | หากควรอฺยำอฺย้าน |
หลอนท่อ | เป็นสัตว์แท้ | วงศาภายต่ำ |
เขานี่ | จบเพทแท้ | ฤทธีกล้าเกิ่งอินทร์ |
เฮาผู้ | องค์กษัตริย์เชื้อ | เป็นพระยาคันคาก ก็ดี |
ยังย่อม | ทำเพศน้อย | ประมาณด้ามดั่งปอม |
ยามเมื่อ | ออกจากห้อง[๖๓] | พระแม่มาดา ก็ดี |
ยังเล่า | เป็นโฉมสัตว์ | คากคำตัวน้อย |
เป็นแต่ | อาจิณผู้ | มีผญาจบเพท จิ่งแล้ว |
ยามเมื่อ | บุญส่งให้ | ประจญแพ้ทั่วแดน |
คันว่า | พระกล่าวต้าน | สอนสั่งยังแถน ดั่งนั้น |
แถนก็ | ยอมือนบ | ใส่หัวจำไว้ |
พระก็ | ซ้ำกล่าวต้าน | เตือนบอกพระยาแถน |
ท่านจ่ง | ลงไปฝัง | เข้านาฮวงพั้ว |
เมื่อนั้น | แถนโดยไหว้ | ราชาพระคันคาก |
พระจัก | มักเข้าพั้ว | ฮวงนั้นค่าใด |
อันหนึ่ง | เม็ดเข้านั้น | ให้ใหญ่ปานใด |
ขอให้ | ภูมีหมาย | บอกปุนเป็นด้าม |
ค้อมว่า | แถนกล่าวแล้ว | นบบาทภูธร |
พระยาเห็นเลย | กล่าวขานต่างเจ้า | |
อันว่า | พีชะเข้า | ฮวงยาวเทิงแผ่น- ดินพุ้น |
ให้ค่า | หางข้อยน้อย | ปานนั้นก็หากเพิ่ง พระเฮย |
เมื่อนั้น | ภูมีท้าว | โกธาเลยด่า |
อันว่า | บักค้างอฺย้าง | มึงซิต้านก่อนกู นี่เด |
เมื่อนั้น | เห็นหลบอฺย้าน | ทูลมือตอบหมอบ |
เหมือนดั่ง | ฟ้าผ่าแล้ง | เลยซิซ้ำผ่าหัว |
เมื่อนั้น | พระยาเสือต้าน | ถวายพระองค์หวนแม่น |
ให้ค่า | หางข้อยน้อย | ปานนี้ก็หากพอ พระเฮย |
เมื่อนั้น | ภูนีเจ้า[๖๔] | โกธาซ้ำด่า |
อันว่า | บักเค้าเม้า | มึงฮู้สิ่งใด นี่เด |
เมื่อนั้น | เสือหลบอฺย้าน | หมอบอฺยู่โคมโมม |
ปานดั่ง | เอาขวานสับ | ผ่าหัวตายกระด้าง |
เมื่อนั้น | องค์กษัตริย์ไท้ | ราชาพระคันคาก |
หมายบอกให้ | แถนฮู้ฮ่างประมาณ | |
อันว่า | เม็ดเข้าก้อน | ให้เกิดเต็มนา |
ลวงยาวฮวง | ใหญ่ฮีจิ่งแท้ | |
ให้ค่า | สามวาแงน[๖๕] | เฮาพระองค์คันคาก จิ่งเทิ้น |
ปานดั่งนั้น | สมแท้ฮีตคลอง | |
เม็ดใหญ่ | ท่อหมากพร้าว | ต้นท่อลำตาล ท่านเฮย |
ก็จิ่ง | สมพระองค์เฮา | อฺยืดยาวจิ่งแท้ |
อย่าให้คน | หาบเอามาเล้าแค[๖๖] แถนเฮย | |
เม็ดใด | หล่นจากขวั้น | ให้มาเล้าซู่ฮวง |
ยามเมื่อ | เถิงระดูถ้วน | ปีเดือนเข้าแก่ มานั้น |
ปลูกแต่เล้า | ดาถ้าโต่งเอา | |
คันว่า | หล่นจากขวั้น | เสด็จด่วนสน ๆ |
คือดั่ง | มีวิญญาณ | หากมาหาเล้า |
ค้อมว่า | ภูมีต้าน | หมายแถนบนบอก ฉันนั้น |
แถนก็ | ทูลบาทพื้น | จอมเจ้าว่าโดย |
ข้าจัก | ตกแต่งพร้อม | ทุกสิ่งคลองเมือง หั้นแล้ว |
ตามดั่ง | คำภูมี | ใส่หัวจำไว้ |
แถนก็ | ลาบาทเจ้า | ลุกเลิกมาโฮง |
เสนานำ | แห่แถนเถิงห้อง | |
แถนก็ | ทรงแท่นแก้ว | เสวยอฺยู่สมสุข |
สาวสนมพอ | หมื่นนางแฝงข้าง | |
เทวีแก้ว | นางงามทังแปด | |
มาแวดล้อม | แฝงเฝ้าป่ำรือ | |
ยาบ ๆ เหลื้อม | ไกวแกว่งจำมร | |
นนตรีดัง | ดังคือเสียงฟ้า | |
แดนแต่ | ภูมีไท้ | พระองค์หลวงคันคาก |
พระก็ | จำผูกเถ้า | แถนฟ้าใส่คา |
บัดนี้ | นามกรท้าว | พระยาตนเสวยราชย์ ก็ดี |
เฮาจิ่ง | ได้เยื่องเค้า | คู่นั้นสืบมา |
หื่น ๆ พร้อม | ฝูงหมู่ชาวชุมพู | |
เขาก็ | ทูลพระองค์หลวง | ด่วนคืนเมือบ้าน |
เมื่อนั้น | ภูมีท้าว | พระองค์หลวงคันคาก |
พระจิ่ง | เตือนไพร่น้อย | ดาห้างซู่คน |
บัดนี้ เฮาก็ | มีไชยแพ้ | พระยาแถนขอส่วย จิ่งแล้ว |
สูอฺย่าช้า | ดาห้างเครื่องเครา | |
กูจัก | โดยเสด็จแล้ว | ลงเมือชุมพูทีป |
สูห้างช้าง | ดาเนื้อฮีบลง | |
เมื่อนั้น | คื่น ๆ ก้อง | กลองเสพสะบัดไชย |
เสนาเนือง | ออกอวนอฺยั้งถ้า | |
พระบาทเจ้า | เสด็จขวี่พลายสาร | |
ทังนางงาม | ฮ่วมพระองค์หลังช้าง | |
ฝูงหมู่ | สาวสนมเจ้า | โฉมงามเหมือนหล่อ |
พระก็ | เอาแต่ฟ้า | ลงพร้อม ๔ พัน |
ฝูงหมู่ | รัตนังแก้ว | เจ็ดประการแสนโกฏิ |
ยูท่าง | ขนใส่ช้าง | ลงพร้อมพร่ำพระองค์ |
แม้นว่า | เสนาท้าว | พลหาญอนันต์เนก ก็ดี |
เขาก็ | เอานางงาม | ซู่คนเป็นเหง้า |
ก็หาก | งามยิ่งแย้ม | สาวหนุ่มเมืองสวรรค์ |
ยูท่าง | เอาเป็นเมีย | ซู่คนลงพร้อม |
ลางคนได้ | เมียสองสามสี่ ก็มี | |
บ้างพ่องได้ | เมีย ๕ กล่อมนอน | |
อันว่า | เงินคำแก้ว | เมืองแถนมีมาก |
ยูท่าง | ขนใส่ช้าง | ลงพร้อมซู่ตัว |
เขาก็ | ยินดีได้ | ของแถนสัพพะสิ่ง |
แก้วลูกล้วน | งามล้นเฮื่อแสง | |
เมื่อนั้น | ยาบ ๆ แส้ | ไหลหลั่งลงพุ้นเยอ |
สน ๆ เขา | แห่พระองค์ขวาซ้าย | |
ยาบ ๆ กั้ง | เดียรดาษฮ่มขาว | |
ฝูงหมู่ | ชาวเมืองแถน | ล่ำคอยพอซะพัน |
คือดั่ง | อินตาเจ้า | ควงสวรรค์ซักซาด |
แม้นว่า | นางนาถเจ้า | เทียมข้างเกิ่งกัน |
จันที | หลิงล่ำเอฺยี้ยม | ตั้งบ่เปิดกอตาคอย แท้นอ |
ตั้งว่า | สมภารเฮา | ก็จิ่งเห็นสองเจ้า |
เมื่อนั้น | ภูมีย้าย | โยธาลงฮีบ |
ยาบ ๆ แส้ | ลงพร้อมพร่ำมวล | |
นับแต่ | เหิงนานได้ | สามปีทัดเที่ยง |
ก็จิ่ง | ลงฮอดห้อง | เมืองบ้านทีปคน |
พระก็ | ไหลพลเข้า | เมือเวียงเซาจอด |
แก้เครื่องช้าง | เซาฮ้านย่างเชิง | |
ทรงแท่นแก้ว | เทิงอาสน์บรรทม | |
สาวอุดร | พ่างเฮียงเทียมข้าง | |
สาวสนมพร้อม | โฉมงามเดียรดาษ | |
วงแวดล้อม | แฝงเฝ้าแกว่งวี | |
อามาตย์พร้อม | เดียรดาษนันเนือง | |
ควน ๆ เสียง | เสพนันเนืองก้อง | |
เมื่อนั้น | ปิตาไท้ | มาดาพ่อแม่ |
มาแวดล้อม | ชมเจ้าลูกคิง | |
มารือเจ้า | สายใจเจ้าแม่กูเฮย | |
เผือเถ้าอฺยู่บ้าน | คองเจ้าพร่ำนาน | |
คึดว่า | แถนผาบแพ้ | มุดมอดเสียไชย ว่ากอ |
บัดนี้ | คืนมาหา | ฮอดเฮือนเห็นหน้า |
เมื่อนั้น | ภูมีเจ้า | จารจาพ่อแม่ |
เป็นเพื่อ | บุญแจ่มเจ้า | องค์เถ้าเหลื่อมงำ |
ข้อยก็ | มีไชยแพ้ | พระยาแถนโอยอ่อน แม่เฮย |
ข้อยก็ | ผูกได้ | แถนฟ้าใส่คา |
แถนก็ | โยมอฺย่อนอฺย้าน | เสียชีพชีวังมุด |
วานโยม | ขอส่วยเฮาภายพี้ | |
ข้อยจิ่ง | กูร์ณาเลี้ยง | วางแถนปะปล่อย |
แก้บาศบ่วง | เสียแท้จากคอ แท้แล้ว | |
แถนก็ | โดยอาชญ์ข้อย | กลัวแต่สมภาร แม่เฮย |
ว่าจัก | ปุนแปงตก- | แต่งฝนลงให้ |
ว่าให้ | กูร์ณาเลี้ยง | ชาวคนเมืองลุ่ม |
กับทัง | แต่งน้ำฟ้า | ลงให้ใส่นา ว่าอั้น |
บัดนี้ | อย่าเคืองง้อ | การสังจักสิ่ง แม่แล้ว |
เฮาจัก | สุขอฺยู่สร้าง | เมืองบ้านแต่งทาน พ่อเฮย |
เมื่อนั้น | พระพ่อเจ้า | ทังแม่มาดา |
ก็หาก | ยินดีบาน | ชื่นจาดอมเจ้า |
ดีเสียแล้ว | สายใจเจ้าพ่อ กูเฮย | |
เผือเถ้า | สุขอฺยู่ย้อน | บุญเจ้าเหลื่อมงำ |
เทื่อนี้ เจ้าจ่ง | ยินอฺยู่สร้าง | เสวยราชย์เป็นพระยา |
เทียรฆาคง | ต่อถองเถิงเถ้า | |
จงให้ | ยืนอฺยู่หมั้น | ได้ขวบแสนปี |
ทรงคำสุข | เกิ่งอินตาไท้ | |
ค้อมว่า | พระกล่าวต้าน | ถนอมลูกถวายพร |
เมื่อนั้น | บุตรพระ | ว่าดี ๆ แล้ว |
แม้นว่า | สองพระองค์เจ้า | ปิตาพ่อแม่ ก็ดี |
จ่งให้ | ยืนยิ่งล้ำ | แสนเข้าขวบปี |
เมื่อนั้น | พ่อแม่ต้าน | โลมลูกประขวัญ |
พอยามเลย | เลิกลาลงห้อง | |
แต่นั้น | เถิงเดือน ๕ | เป็นระดูปีใหม่ |
ฮ่วน ๆ ฟ้า | ดังห้าวคื้นเคง | |
ซวาด ๆ น้ำ | ฝนหลั่งไหลตก | |
ชลธาร์ไหล | มากมาเหลือล้น | |
แถนจิ่ง | เอาเข้าฟ้า | เมืองเทิงลงปลูก |
เต็มท่งกว้าง | เพรียงพร้อมทั่วนา | |
ซะพาดพร้อม | เข้าเกิดเต็มนา | |
เป็นกอกก | ใหญ่สูงเขียวซอง | |
กกใหญ่ | ท่อต้นพร้าว | สูงชั่วปลายตาล |
เมื่อนั้น | ชาวชุมพู | เล่าเห็นจาต้าน |
เฮาควร | เอาขวานพร้า | ฟันกกป้ำคอน เอาท้อน |
จิ่งจักได้ | กินเข้าแห่งแถน | |
เมื่อนั้น | เถิงระดูล้ำ | เดือนสิบ ๒ เข้าโค่ง |
เม็ดใหญ่ | ท่อหมากพร้าว | ฮวงก้อนท่อฮีน |
เมื่อนั้น | ภูมีไท้ | ราชาพระคันคาก |
พระก็ | เตือนไพร่น้อย | แปงเล้าซู่คน |
เข้าหาก | หล่นจากขวั้น | เสด็จด่วนสน ๆ |
มาเต็มเยีย | กื่งกองเหลือล้น | |
อันนี้ เป็นแต่ | บุญจอมเจ้า | ราชาคันคาก จิ่งแล้ว |
ฝูงหมู่ | เขาไพร่น้อย | ยอย้องขอบคุณ |
ปางนั้น | คนยืนได้ | แสนปีทัดเที่ยง |
ท่อแต่ | สุขฮ่วมเอื้อม | บุญเจ้าซู่วัน |
เมื่อนั้น | ปิตาไท้ | มาดาตนแม่ พระองค์นั้น |
อายุ | เถิงแสนปี | จิ่งมรณาเมี้ยน |
๒ เถ้า | ลดคราบแล้ว | เมือเกิดเมืองสวรรค์ |
ยูท่าง | ทรงคำสุข | อฺยู่เทิงเมืองฟ้า |
เมื่อนั้น | ราชาไท้ | พระองค์หลวงคันคาก |
พระก็ | ยืนแสนปี | ก็จิ่งมรณาเนื้อ |
ทังนางแก้ว | เมียขวัญกับปะทีป | |
๒ แจ่มเจ้า | ตายพร้อมพร่ำกัน | |
๒ ก็ | ละคราบแล้ว | เมือเกิดเมืองสวรรค์ |
ยูท่าง | ทรงคำสุข | อฺยู่เทิงเมืองฟ้า |
คันว่า | หมดบุญเจ้า | ราชาพระคันคาก ยามใด |
ฝูงหมู่ | ของทิพย์นั้น | หายเสี้ยงบ่มี |
เมื่อนั้น กาละ | นับมื้อส้วย | หลายปีเป็นอันต่าง ไปนั้น |
คนก็ | บังเกิดคร้าน | แปงเล้าบ่ทัน |
พอเมื่อ | เข้าแก่พร้อม | สุกเฮื่อเต็มนา ดั่งนั้น |
คนจิ่ง | บายเอาขวาน | ควาฟันเสาเล้า |
(เข้า)ก็ | หล่นจากขวั้น | มาถึงเต็มเฮือน |
คนก็ | หาทางเซา | อฺยู่นอนบ่มีได้ |
เมื่อนั้น | คนผู้คร้าน | ผญาผ่อนบุญอฺยุด |
พลอยเล่า | โกธาแฮง | ฟักฟันกองเข้า |
แถนจิ่ง | หลิงล่ำเอฺยี้ยม | พลอยเห็นคนถ่อย ฝูงนั้น |
แถนก็ | คึดเคียดให้ | คนฮ้ายบาปหนา |
แถนจิ่ง | บ่ลงปลูกเข้า | เม็ดใหญ่เมืองคน |
ก็จิ่ง | ออละหายเสีย | บ่มีเดี๋ยวนี้ |
เม็ดเข้า | ท่อหมากพร้าว | บังเกิดออละหาย |
ดับคอบ | คนทำบาป | หนาจังไฮฮ้าย |
ปางเมื่อ | บุฮาณเถ้า | ก็ยังเห็นมีแด่ |
ก็ย่อม | แพงใส่เล้า | ขวัญเข้าสืบมา |
อันนี้ บ่ใช่ | สัพพะฮ่าวหลิ้น | เขียนขีดเป็นสาร เจ้าเฮย |
ตั้งหาก | เป็นนิทาน | แต่ธรรมพระองค์เจ้า |
อันว่า | ภูธรท้าว | พระยาหลวงคันคาก ปางนั้น |
ขึ้นฮอดฟ้า | ปางนั้นโลกลือ | |
อันว่า | วัลลีพั้ว | พวงเครือเขากาด ปางนั้น |
เลยเกิด | เกี่ยวพันขึ้น | ฮอดแถน |
ก็เพื่อ | ภูทางนั้น | เป็นดินฝังฮาก |
เครือใหญ่เกี้ยว | พันขึ้นโยดยาว | |
เมื่อนั้น | ฝูงหมู่เชื้อ | พระยาใหญ่เมืองคน |
ก็จิ่ง | นำทางภู | ซู่คนเมือฟ้า |
เจ้าก็ | เฮียนมนต์แก้ว | นำดอมแถนทุกสิ่ง |
เลยลวด | จบเพทพร้อม | มนต์แก้วศาสตร์ศิลป์ |
ก็จิ่ง | ลงสู่ห้อง | หิมพานต์จบเพท |
รัสสีก็ | สอนมนต์อฺยำ | สืบมาปางนั้น |
แม้นว่า | สังคีบเจ้า | ทังอ่อนสิมพลีจัน ก็ดี |
ขาก็ | ทรงอาคม | ศาสตร์ศิลป์ครูเค้า |
ก็เพื่อ | รัสสีเจ้า | ปิตาตนพ่อ |
ได้แต่ฟ้า | ครูเค้าสืบมา | |
แม้นว่า | พระกึดพร้อม | พระพานจบเพท ก็ดี |
รัสสี | สอนสั่งให้ | คำฮู้ซู่คน |
แม้นว่า | พระยากาบิน | ผู้ลือชาจบเพท ก็ดี |
รัสสีก็ | สอนสั่งให้ | คำฮู้ซู่คน |
แม้นว่า | ทุกธรท้าว | ทรงแผ่นชุ....[๖๗] |
เขาก็ | ทรงอาคม | เกิ่งกันดูล้น |
เขาก็ | บังเกิดกล้า | อ้างโอดอาคม ก็ดี |
ใผบ่ | มีอฺยำใผ | ท่อแข่งเล็วสะหาวแง้น |
เมื่อนั้น แถนก็ | หลิงเห็นหมู่ | อาธรรมฝูงบาป |
แถน | คึดเคียดให้ | คนฮ้ายบาปหนา |
แถนจิ่ง | ยิงธนูม้าง | เสียภูเขากาด |
เลยท่าวล้ม | กะจวนฟ้งทั่วชุมพู | |
ฝูงหมู่ ผาตั้ง | ในชุมพู | เดียรดาษปางนี้ |
หากแม่น | ภูเขากาด | ปางนั้นแป่เพ |
อันว่า | นิทานเค้า | ทางภูเขากาด เจ้าเฮย |
ห... แม่น[๖๘] | ทางคันคากเจ้า | ปางนั้นแต่ประถม |
อันว่า | บุพเพพื้น | หนังสือคันคาก จิ่งแล้ว |
อันนี้ | นักปราชญ์เจ้า | ปางนั้นแต่ประถม |
อันนี้ | ประถมเถ้า | ในธรรมล้ำสุด จิ่งแล้ว |
มีใน | ห้าสิบชาติพุ้น | องค์เจ้าเทศนา แท้แล้ว |
บัดนี้ เฮาจัก | ชักอตีตะให้ | เทียมโลกลื...........ฮย[๖๙] |
ใผผู้ | มีปัญญา | จื่อจำเอาไว้ |
อันว่า | ราชาไท้ | พระยาหลวงเอกฮาช ปางนั้น |
หากแม่น พระยา | ศรีสุทโธเจ้า | .................................... |
......... | .................. | ....................................[๗๐] |
หากแม่น นางศรี | มหามายา | แม่พระองค์จิ่งแท้ |
อันว่า | เทว......... | .................................... |
..................[๗๑] | อุดรกุรุทีป ปางนั้น | |
หากแม่น | นางแว่นฟ้า | สุนธราแท้แล้ว |
อันว่า | ราชาเจ้า | พระยาหลวงคันคาก ปางนั้น |
หากแม่น | พระโคตะมะเจ้า | ....................................[๗๒] เจ้าเฮย |
อันว่า | เสนาพร้อม | โยธาแสนโกฏิ ปางนั้น |
หากแม่น | บริษัททังสี่ | เ...................................[๗๓] เจ้าเฮย |
บัดนี้ | นัตถิเสี้ยง | ชุยชะโกสุดยอด เสียแล้ว อีสาวเฮย |
..................[๗๔] ยามกองแลงแลเจ้าเฮย เดือน ๘ แฮม ๑๒ ค่ำ วัน ๓ ปี.........[๗๕] กัณหาเป็นผู้เขียน ขอให้ได้อานิสงส์มาก ๆ ก็ข้าเทิ้น..........[๗๖]
[๑] ที่ถูกควรเป็น“ทรง”
[๒] อ่านว่า “เป็นทอนท้าว”
[๓] คำว่า “นาง” ที่ถูกควรเป็น “บา”
[๔] ที่ถูกควรเป็น “บา”
[๕] อ่านว่า”สะเมน”
[๖] ที่ถูกควรเป็น “ทัดทรง”
[๗] คำว่า “โช” นี้ที่ถูกควรเป็น “โชค”
[๘] คำว่า “ปุตโต” หมายถึง “ลูกชาย”
[๙] คำว่า “คัพภ์” หมายถึง “ครรภ์”
[๑๐] อ่านว่า “นามมะหน่อ”
[๑๑] คำว่า “เมโฆ” นี้ แปลว่า “เมฆ”
[๑๒] ต้นฉบับเขียนว่า “ไหงร”
[๑๓] คำว่า “มาดา” นี้แปลว่า “แม่” มาจากคำว่า “มาตา” ในภาษาบาลี
[๑๔] เข้าใจว่าผู้จารคงจารตก
[๑๕] ที่ถูกควรเป็น “เมื่อจัก”
[๑๖] ที่ถูกควรเป็น “หูฮากาลโยค”
[๑๗] ที่ถูกควรเป็น “ผญา”
[๑๘] คำว่า “หงัด” นี้ย่อมาจากคำว่า “สงัด”
[๑๙] “สัพพะ” แปลว่า “ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกสิ่ง, ทุกอย่าง”
[๒๐] ต้นฉบับเขียนว่า “อุดอนกุะลุะทีป”
[๒๑] น่าจะเป็น “ยินดีได้”
[๒๒] น่าจะเป็น “สูรย์แจ้ง”
[๒๓] ที่ถูกควรเป็น “หนํ่า ๆ ต้าน”
[๒๔] น่าจะเป็น “สงวน”
[๒๕] ที่ถูกควรเป็น “อุดรกุรุทีป”
[๒๖] ที่ถูกควรเป็น “กลองเสพนันเนือง”
[๒๗] ที่ถูกควรเป็น “สองให้ยืนยาว”
[๒๘] ที่ถูกควรเป็น “ค้อมเมื่อ”
[๒๙] ที่ถูกควรเป็น “คาบมาถวายเจ้า”
[๓๐] ที่ถูกควรเป็น “มาแล้วน้อมถวาย”
[๓๑] ต้นฉบับว่า “บุะออก”
[๓๒] ที่ถูกควรเป็น “กงจักรแก้ว”
[๓๓] ที่ถูกควรเป็น “แฝงเจ้าปำรือ”
[๓๔] ที่ถูกควรเป็น “พระยอดเมืองเป็นเจ้า”
[๓๕] ที่ถูกควรเป็น “พระธรรมแลพระสงฆ์”
[๓๖] ที่ถูกควรเป็น “พยับแดดได้”
[๓๗] ที่ถูกควรเป็น “วุฏฐิ” (ฝน)
[๓๘] ที่ถูกควรเป็น “ดอยสัตตะ”
[๓๙] ที่ถูกควรเป็น “เลยหอบอุ้ม”
[๔๐] ที่ถูกควรเป็น “ฮ่วน ๆ ฟ้า”
[๔๑] ที่ถูกควรเป็น “วัสสา” (ฝน)
[๔๒] ที่ถูกควรเป็น “พระยาหลวงคันคาก”
[๔๓] ที่ถูกควรเป็น “มื้อสืบมื้อ”
[๔๔] ที่ถูกควรเป็น “เถิงกีบฝ้า”
[๔๕] ที่.....ไว้เพราะใบลานถูกหนูกัดขาด ควรเติมดังนี้ “ทังม้าเนกนอง แต่นั้น แถนจิ่ง เอ่ยปากต้าน ถามดูหาเหตุ”
[๔๖] ข้อความตรงนี้เข้าใจว่าผู้จารคงจารตก ควรเพิ่ม ดังนี้ “สูนี้ ลุกประเทศด้าว ไหนแท้บอกมา ตูนี่ ลุกประเทศด้าว ชั้นชื่อชุมพู พุ้นแล้ว”
[๔๗] ที่ถูกควรเป็น “ปากกล่าวต้าน”
[๔๘] ใบลานขาดหาย ควรเติม ดังนี้ “พระยาแถนหลวง ปุนน้ำฟ้า”
[๔๙] ที่ถูกควรเป็น “เมืองล้านทีปคน”
[๕๐] ที่ถูกควรเป็น “ฟาดหมอนฟุนฮ้าย”
[๕๑] ที่ถูกควรเป็น “ลงโผดชุมเขา”
[๕๒] ที่ถูกควรเป็น “ออกปักตูวังกว้าง”
[๕๓] ที่ถูกควรเป็น “ซะเพิกช้าง ขาวเผือกฉัททันต์”
[๕๔] ที่ถูกควรเป็น “หลายส่ำช้าง สารต้นเฮื่องา”
[๕๕] ที่ถูกควรเป็น “อ้าปากฮ้อง”
[๕๖] ที่ถูกควรเป็น “ลามไปไหม้”
[๕๗] ที่ถูกควรเป็น “ราชาไท้”
[๕๘] ที่ถูกควรเป็น “ผันผ่ายังหิน”
[๕๙] ที่ถูกควรเป็น “สองเสมอโสพาบ”
[๖๐] ที่ถูกควรเป็น “เหตุว่า”
[๖๑] ที่ถูกควรเป็น “ดีกะดัดแท้”
[๖๒] ที่ถูกควรเป็น “ไตรยะจักรเจ้า”
[๖๓] ที่ถูกควรเป็น “ออกจากท้อง” คำว่า “ท้อง”และ “ห้อง” นี้ในภาษาบาลีใช้คำเดียวกันคือคำว่า “คพฺภ”
[๖๔] ที่ถูกควรเป็น “ภูมีเจ้า”
[๖๕] ที่ถูกควรเป็น “สามวาแขน”
[๖๖] ที่ถูกควรเป็น “หาบเอามาแล้วแด่”
[๖๗] ใบลานขาดหาย ควรเป็น “ทรงแผ่นชุมพู”
[๖๘] ใบลานขาดหาย ควรเป็น “หากแม่น”
[๖๙] ควรเพิ่มเป็น “ลือชา เจ้าเฮย”
[๗๐] ใบลานขาดหาย
[๗๑] ใบลานขาดหาย
[๗๒] ควรเพิ่มเป็น “ปางนี้สืบมา”
[๗๓] ควรเพิ่มเป็น “เป็นเหล่าบริวาร”
[๗๔] ควรเพิ่มเป็น “ริจนาแล้ว”
[๗๕] ใบลานขาดหาย
[๗๖] ควรเพิ่มเป็น “นิพฺพานปจฺจโย โหตุ”