สังโยคพิธาน

๏ ขึ้นสังโยคพิธานที่ ๔ ๚ะ

๏ หลวงสารประเสริฐผู้ เพียรพจน์
จัดแบบระเบียบบท บอกไว้
อักษรบ่อนกนกด กกกบสกดฤๅ
หวังเพื่อสอนเด็กไห้ เล่าค้นคิดหา
๏ กนหกกกหกแจ้ง กำจัด
กดอัษฎารัศ รวบไว้
กบเจ็ดหากแจงจัด จำจด เทอญพ่อ
สองแม่กงกมไซร้ สกดใช้งอมอ
๏ แบบพจน์บทภาคนี้ นามขนาน
สังโยคพิธานสาร สืบถ้อย
เปนแบบบอกกุมาร จงหมั่น จำพ่อ
สิทธิรัสดุสร้อย สวัสดิแผ้วพูลเกษม
๏ จำนงจำแนกเบื้อง บรรยาย
ยังเคลื่อนยังคลาคลาย คลาศบ้าง
คำลับศับฦกขยาย เขยื้อนแผ่เผยนา
อย่าเริดอย่าราร้าง เร่งรู้เพียรเรียน
๏ สำเนาเลาเลศเบื้อง บทระบิล
ใดคลาศปราชเชิญฉิน ช่วยชี้
บางพวกพูดแต่นิน ทาเล่นเปล่านา
แผกเยี่ยงปราชก่อนกี้ ค่อยค้านคำขอ

----------------------------

๏ จะรวบรวมตัวอักษร ที่ใช้สกด ในแม่กน กก กด กบ ซึ่งมาในภาษามคธคำบาฬีบ้าง มีมาโดยข้อบัญญัติในภาษาไทย ใช้สืบมาแต่โบราณบ้าง เพื่อให้กุลบุตรสังเกตจำเปนแบบอย่าง ในการจะอ่านจะเขียนให้ถูกถ้วนตามกระบวนอักษร ตามรู้ตามเห็น ภอเปนสำเนาเล่าความ ๚ะ

๏ ญ ณ น ถัดทั้ง ร ล ฬ เฮย
สังกัดต้นตัว น แนะไว้
แม่กนนิพนธ์ภอ สังเกตสกดแฮ
ตัวต่างความต่างให้ คิดเค้ามูลมี

๏ อักษรใช้สกด ในแม่กน ๖ อักษร คือ ญ ๑ ณ ๑ น ๑ ร ๑ ล ๑ ฬ ๑

๏ ตัว (น) เปนตัวสกดสำหรับแม่กน ด้วยเปนคำสามัญ คือใช้ในคำภาษาไทยแท้โดยมาก ถึงคำภาษามคธ ที่สกดตัว (น) ก็มีพ้องกันมาก จะแจกไว้ในข้างน่าต่อไป ๚ะ

๏ ตัว (ญ) สกดเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

กุญชร กัญญา โกญจนาท กัญจุก กาญจน มิ่งขวัญ เข็ญใจ ลำเคญ สำคัญ ใคร่ครวญ นงคราญ ผจญ เชี่ยวชาญ ขอเชิญ ผเชิญ. ปฏิญญา กระตัญญู เด็กดื่มถัญ ไปเทอญ ธัญญชาติ ธัญญาหาร ธัญญลักษณ์ ชำนาญ มีบัญชา ทำบุญ บัญญัติ บัญชร บาญชี ปัญญา ปัญจะ บัญจก เบญจะพิธ เบญจมา ล้างผลาญ วันเพญ สรรพัญญู อภิญญา บริภุญช์ อับปะมัญญา สามัญ สามาญ รามัญ บูชายัญ พยัญชนะ จรูญ จำรูญ หิรัญ ไหรญ เจริญ จำเริญ สราญรมย์ สำราญ ในอะรัญ การุญ ปเรียญ ลัญจกร เลวลาญ ลาญชีพ วิญญาณ วิญญูชน กำสรวญ สัญจร สาบสูญ สรเสริญ ถึงอาสัญ อสัญญี วิสัญญี อาจหาญ ห้าวหาญ ๚ะ

๏ ตัว (ญ) มิใช้ตัวสกด ใช้เปนต้นคำมีมาก คือ ญาติ ปรีชาญาณ เญยยธรรม เปนใหญ่ ผู้หญิง อนุญาต ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ณ) สกด เหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ พระกรรณ ฝูงสกุณ โยคเกณฑ์ กะเกณฑ์ กองกุณฑ์ กุณฑี กรรณิกา ทศกัณฐ ทศกรรฐ พระกัณฐา พระกรรฐา กัณห กฤษณ มีเทศนา ๓ กัณฑ์ พระเดชพระคุณ โทษคุณ เจ้าคุณ โยธีคณ คนจัณฑาล น้ำจัณฑ์ ว่าเล่า แหลกเปนจุณ ทำเปนอาจิณ เมืองปราจิณ ทิศปราจิณ ปรีชาญาณ โพธิญาณ ตัณหา แผลงว่ ดำฤษณา ติณว่าหญ้า ใช้ว่าตฤบตฤณ ต้องราชทัณฑ์ พรหมทัณฑ์ ภาคทัณฑ์ สุบรรณ์ บรรณาการ บรรณศาลา วายปราณ ราชบัณฑิตย พิณพาทย ดีดพิณ ปฎิภาณ กุมภัณฑ์ ราชภัณฑ์ รัตนภัณฑ์ บริกขาระภัณฑ์ สุพรรณ์ โสภณ ประมาณ พระมณเฑียร ปริมณฑล เวลาสายัณห์ แสงอรุณ ดรุณ ตรุณ ทารุณ พิรุณ วะรุณเทวราช เกลื่อนรณ รณรงค์ บุราณ โปราณ เบาราณ พระรัตนกรัณฑ์ โดรณ เลณว่าที่เร้น ปริเวณ สุวรรณ สุวาณว่าสุนักข์ ปราสาณว่าหิน ทิศอิสาณ ทิศทักษิณ ประทักษิณ จำเริญกระสิณ พระอุณหิศ พระอุณณาโลม ๚ะ

๏ ตัว (ณ) ใช้เปนคำมิใช่ตัวสกดก็มีมาก คืออาณาใช้ว่าอาญา อาณัติว่าบังคับ ทิศอาคเณย พระสุณิสา สรณคม คัคณางค์ เปนต้น ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (น) สกด คำที่มาในภาษามคธมีมาก ชักมาไว้เท่านี้ภอเปนแบบอย่าง ๚ะ

๏ พระสกนธ์ เบญจขันธ์ พลขันธ์ พระจันทร์ แก่นจันทร์ อัฒจันฑ์ ประจันตคาม ฝูงชน ประชาชน ชนบท เพดาน พระถันว่านม สถนว่านม ในสฐาน ให้ททาน สมาทาน สโมธาน พระทนต์ ราชธน ประธาน อนนต์ อนันต์ กานนว่าป่า กระบินทร์บุรี สุราบาน ป่าหิมพานต์ พงษพันธุ ราชสัมพันธ์ พระราชนิพนธ์ วิมาน มินว่าปลา เปนชื่อราษี มนตรี เวทมนต์ นิมนต์ ร่ายมนต์ เสนาสามนต์ ราชยาน เวชยันต์ ไพรชยนต์ แยบยนต์ เกษมสานต์ ไพรวัน พระหาวัน ปทุมวัน ปะหานว่าละ สมุจเฉทปะหานว่าละขาด ๚ะ

๏ บันดาคำภาษาไทยคือ กนแต่จะเสร้าโศก กันนินทา กานกิ่งไม้ กินเข้า เปนต้น ใช้ตัว (น) สกดทั้งสิ้น ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ร) สกดเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

บรรณาการ ทำการ อาการ วิการ พิการ ปราการ ทุกประการ งามตระการ ปริษการ อังกูร วรางกูร พุทธางกูร อาเกียรณ์ ใจฉกรรจ์ สังขาร ปริกขาร อังคาร อาคาร โกฐาคาร ภัณฑาคาร กุฎาคาร เภราคาร สัลลาคาร ควรมิควร ศฤงฆาร อาจาร สมาจาร อาจาริย เจียร จำเนียร จากเจียร แก้ววิเชียร ทางกันดาร วิตถาร พิศดาร พระอวตาร พงษาวดาร อาดูร สถิตยเสถียร พระมณเฑียร แก้วไพรฑูรย์ สาธารณ์ ชลธาร ท้องธาร คชาธษร ธารพระกร โรงธารคำนัล สมบูรณ บริบูรณ บริบวณ โพธิสมภาร ยกให้เปนภาร พากเพียร ยักษมาร พระยามาร กุมาร พระพิชิตมาร พงษประยูร เกยูร มายูร ศุภวาร ทิวาวาร พระทวาร ไตรยทวาร ไตรยวาร แก่นสาร พวกอสูร นเรนทรสูร ไอสวรรย์ มไหสวรรย์ ไอสูรย์ มไหสูรย์ แสงสูรย์ พระเศียร เกษียรสมุท อาหาร วิหาร โวหาร บริหาร บรรหาร ประหาร ว่าตี สังหาร หมอโหร พาเหียร โอฬาร เอาธาร มโหฬาร ใจอารย์ เมืองเขมร ราชพรรลภ ๚ะ

๏ ตัว (ร) สกดจำพวกหนึ่ง ไม่มีตัว (อ) แต่อ่านสำเนียงเหมือน (ก อ น) ก็มีมากดังนี้ ๚ะ

๏ อากร ดารากร พระกร พระสี่กร พระศรีกร ศรีสังข์กร ศุภภร ดัษกร จามิกร ทาษกรรมกร นิกร พลนิกร พลากร ไม้ธารพระกร ตรามังกร แสนยากร พระราชลัญจกร ทีวากร ทิพากร ทินกร ภาษกร ว่าพระอาทิตย นิสากร รัชนิกร ว่าพระจันท์ มหาอรรคนิกร มัญเชฐิกากร สัมมัชากร อลงกรณ์ มหาปกรณ์ เครื่องกรรมกรณ์ ทาษกรรมกร สับดปกรณ์ สิงขร ปฏิสังขรณ์ ทูตขร กรุงนคร สาคร รำลคร สัญจร บทจร โคจร เขจร เสดจ์จร อนุจร พนจร พเนจร เคจร คเนจร ฟุ้งขจร กุญชร อรชร สิงหบัญชร บิดร มารดร อัศดร ทิศอุดร บรรจ์ถรณ บรรฐรณ์ สุนทร สาทร อาทร อนาทร อุทร มโหทร จันทร ภูธร มหิธร สาธร ชะโลธร ยโสธร กำธร วิทยาธร อิสินธร ยุคันธร เนมินธร ศศิธร ความอุทธรณ์ คทาธร กินร วานร พานร นิกรนร ข่ายบร ฝ่ายบร อวยพร ประสิทธิพร สยุมพร อัมพร สถาพร ไม้อุทุมพร อาภรณ์ หมู่อมร ภมร มิ่งสมร กลางสมรภูมิ์ ม้วยมรณ์ งามบวร สังวร ถาวร สถาวร นิวรณ์ อาวรณ เกสร ไกรสร ประภัศศร พระแสงศร มหิศร องอดิศร อนุสร สโมสร กาษร เขียนอักษร นางเทพอับศร สมพักศร เทพสังหร พยุหร อุทาหรณ์ บังอร เอวอร ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ล) สกดเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ เลหกล จอมสกล ทั่วสากล กลศึก รูปวิกล จริตพิกล กัลยา เวลากาล เวลาวิกาล กุลบุตร ตระกูล อนุกูล เกื้อกูล บุทคล ทำการมงคล ฤกษศุภมงคล จรดพระนังคัล บังคมคัล โรงคัล เคียมคัล จลวิจล จะลาจล จรจรัล เมืองชลบุรี กระแสชล อัศสุชล ชลไนย เจ้าภูวดล เมทนิดล ภูธราดล พสุธาดล สับดปดล นพปดล ดลว่าถึง กังสดาล ช่องดาล ลั่นดาล อดูลย์ ราษีดุลย์ ต้นตาล น้ำตาล ทางสถล ธนิตสิถิล หวังถวิล ถวัลราช สถล สถุล ภูวมณฑล บริมณฑล แก้วกุณฑล คนจัณฑาล พิดทูล กราบทูล กราบบังคมทูล ข้าทูลลอองธุลีพระบาท โรงธารคำนัล เพชร์นิล มณีนิล นิลรัตน์ นิลวรรณ นิลนนท์ จาบัลย์ พระภูบาล นฤบาล มหิบาล อภิบาล พยาบาล บริบาล มณฑิรบาล พระคชบาล นครบาล กระบิลบ้านเมือง พิบูลย ไพรบูลย ดอกอุบล นิลุบล นิโลศบล จงกลนี เพล็ดดอกออกผล ทำบุญได้ผล ผลาผลไม้ ผาลไถนา พระทศพล เจ้าจุํพล พวกพล ผ้ากัมพล คนพาล อันธพาล พาลมฤค เพิ่มภูล วิมล พิมล นฤมล มลโยธา มลทิน ดวงกระมล โกมล สุขุมาล ดวงมาลย เยาวมาลย มุลนาย ประมูล เค้ามูล มากมูล มวล ยลว่าเหน กังวล ไกวัล รางวัล เถาวัล ชัชวาลย์ สังวาล โกสล กุศล วิสาล ไพสาล โรงศาล โศกศัลย รักษาศีล ศิลปสาตร ตรีศูล ทรงพระสรวล เสรสรวล สำรวล พวกพหล โกลาหล ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ฬ) สกดเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ จักรวาฬ จักรพาฬ พระกาฬ แก้วประพาฬ กาหฬ เกาะสิงหฬ พวกทมิฬ ใจทมิฬ กาฬปักษ จุฬวราภรณ ท้าววิรุฬหก อาสาฬหมาศ ทัฬห์ะ ว่ามั่น มิฬหะ ว่าคูธ วาฬมฤค ๚ะ

๏ จบตัวสกดแม่กน ๚ะ

----------------------------

๏ แต่นี้จะว่าด้วยสกดแม่กก ๚ะ

๏ แม่กกสังกัดตั้ง ตอน (ก)
นับหกยกตัว (ง) เงือดไว้
ก ข อิก ฃ ค ฅ กับ ฆ แฮ
แจกจัดจำกัดให้ เล่าซ้ำจำสอน

----------------------------

๏ ตัว (ก) สกด ใช้ในคำภาษาไทยเปนพื้น แต่คำมคธที่สกดตัว (ก) ก็มีมากดังนี้ ๚ะ

๏ ยาจก เบญจก ปัญจก ผ้าสาฎก อัษฎก ชาฎก ไตรปีฎก ธงบรรฎาก ตรีกะฎก โปดก กรรดึก วิตก ธรรมกะถึก มณฑกว่ากบ ทะลิทก อุทก เหมุทก พรรโษทก ปราทุก สาธก โทษอะธึก วันทระธึก ๚ หัดถาณึก อัศวาณึก ระถาณึก บรรตาณึก เสนา ๔ เหล่า ๚ กะนก ว่าทอง ปัจจะนึก กากะนึก กัลปะนก ช่างกัลบก วิบาก อธิปก วรรณิพก อุประถัมภก นกจากพราก ลามก โอมก บรมธรรมมึก ประดิมุก นายก อรัญญิก ปรตเยก นรก ดารก พิดรก พนจรก เที่ยวจารึก อะดิเรก โอฬารึก ดิลก จับสลาก ๚ ชัลลุก ว่าปิง ๚ สิโลก สารโสลก ในโลก ในโลกย์ แก้วผลึก สาวก สราพก วิเวก นะวก ทศก ผาสุก อภิเศก เศร้าโศก ปฏิคาหก วะลาหก พลาหก มาฬกว่าโรง อุฬุกว่าฤกษ เปนองค์เอก ๚ะ

๏ คำมคธที่สกดตัว (ก) เช่นนี้ยังมีมาก ชักมาไว้เท่านี้ภอเปนตัวอย่าง ๚ะ

๏ ตัว ข ฃ สกดเสียงเดียวกัน เหมือนคำเหล่านี้ น่ามุข จตุรมุข มนตรีมุข รุจิเรฃ เรียนเลฃ สักเลข สรเลข อยู่เปนศุข สัลเลข เดือนไพสาข ทศนัข พระนัขา ๚

๏ ตัว ค ฅ สกดเสียงเดียวกันเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ ปริจาคทาน ปริตยาค คัคณานต์ อัคคี อรรคนี อัคเรศร์ อัคราช อัคมเหษี วรรค พรรค พรรคานต์ พระผู้มีพระภาคย์ เสาวภาคย์ พยัคฆ พยัคฆา /14พยัคฆี เปนยุคคราว กลียุค ไตรดายุค ทวาบริยุค ชลมารค สถลมารค ฝูงพิหค สมะยุคสมะไวย โยคเกณฑ์ มลโยธานุโยค ภาวนานุโยค พระยานาค ต้นบุนนาค เอกอัครมหาบุรุศ ๚ะ

๏ ตัว ฆ สกด เหมือนคำดังนี้ ๚ะ

๏ เมฆ เดือนมาฆ มัฆวาน ชลโอฆ โอฆสงสาร โมฆชน อำนรรฆมณี อำนรรฆรัตน์ มหรรฆภัณฑ์ ๚ะ

๏ คำที่ใช้ตัว ฆ แต่ไม่ใช้ตัวสกด มีอยู่ดังนี้ ๚ะ

๏ โฆส อุโฆส ว่าก้อง อโฆส ว่าไม่ก้อง ฆฏา ว่าหม้อ ฆฤฏา ว่าเปรียง พระสงฆ์ สังฆการี ผูกอาฆาฏ ทีฆะ ทีรฆะ เทียรฆ ว่ายาว นายเทียรฆราษแปลว่าเปนผู้รู้การสั้นการยาว ฆราวาศ นายเพชฆาฏ ศฤงฆาร ไขลมฆาน ไล่พิฆาฏ ๚ะ

๏ บัญญัติคำไทย ๔ คือ ฆ่าตาย เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง เปนแบบใช้มาแต่โบราณ ๚ะ

๏ จบตัวสกดแม่กกเท่านี้ ๚ะ

----------------------------

๏ แต่นี้จะว่าด้วยตัวสกดแม่กด ๚ะ

แม่กดสกดแจ้ง จ ฉ
ช อีก ซ แล ฌ ถัดไซ้
สองวรรคยก ณ น คงนับสิบนา
สิบแปดครบที่ใช้ กับทั้ง ศ ษ ส

๏ อักษรควรใช้สกดในแม่กด ๑๘ อักษร คือ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส ๚ะ

๏ อักษร ๒ ตัว คือ ซ ฑ สำเนียงสกดในแม่กดได้แต่ในภาษาสยามไม่มีที่ใช้ (ฉ) ตัวนี้สกดได้ แต่ต้องรวมกับตัว (จ) เหมือนคำว่า อัจฉา ว่าหมี มัจฉา ว่าปลา อัจฉะรา ว่านางฟ้า สังวัจฉร ว่าปี เปนต้น ๚ะ

๏ (ช) ตัวนี้สกดแต่ลำภังได้ แต่บางคำต้องรวมกับตัว ฌ เหมือนคำว่า คิชฌา ว่าแร้ง อัชฌาไศรย เปนต้น ๚ะ

๏ ท ธ ๒ นี้ ใช้สกดแต่ลำภังได้ บางคำต้องรวมกันทั้ง ท ธ ๒ ตัว เหมือนคำว่า ข้าพระพุทธเจ้า ศักดิ์สิทธิ เปนต้น ๚ะ

๏ (ถ) ตัวนี้สกดแต่ลำภังได้ บางคำต้องรวมกับ ตัว (ต) ดุจคำว่า สมัดถ์ พระหัดถ์ เปนต้น ๚ะ

๏ ตัว (จ) สกดเหมือนคำเหล่านี้ รังเกียจ เกียจคร้าน กลเกียจ เก่งกาจ ใจฉกาจ กิจการ สมเด็จ เสด็จ เผด็จ ประดุจ ตราตรวจ ตำรวจ คำเท็จ ทุจริต ความอุทัจ ทำเปนนิจ เปนปัจจัย ปัจุบัน ปัจุสไสมย เขบจขบวน พจน์ พจนา พจมาน พจนวิลาศ พจนสุนทร อำมาจ คำพุจ อำมาจ มัจจุราช มฤตยุราช วิโรจ ไพโรจ เรืองโรจ ว่ารุ่งเรือง ๚ ศรีวิโรจ เวยยาวัจกร วรรจ เว็จ วรรจมรรค ความสัจ ปีปีศาจ เสรจ สำเร็จ องอาจ อาจหาญ อำนาจ อัจจิ ว่าเปลวไฟ ๚ะ

๏ ตัว (ฉ) สกดแต่ลำภังไม่เหนใช้ มีแต่รวมอยู่กับตัว (จ) ดังนี้ ๚ะ

๏ มัจฉา แผลงว่า มัศยา ว่าปลา ๚ อัจฉา ว่าหมี วินิจฉัย แผลงว่า พินิจจัย ว่าตัดสิน ๚ ปัจฉา ว่าภายหลัง ๚ ปุจฉา ว่าถาม ๚ วิจฉิกะ แผลงว่า พิจิกร แปลว่า แมลงป่อง ๚ เปนชื่อราษี ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ฉ) นี้ ถ้าเปนคำแผลงมาแต่ภาษามคธ ภาษาสังษกฤฏเหนเปน (ศ) โดยมากมีแบบอย่าง เหมือนคำว่า ฉวะ ว่าศพ อัจฉริยะ ว่าอัศจรรย สังวัจฉระ ว่าสมพักศร อัจฉรา ว่านางเทพอับศร เปนต้น ๚ะ

๏ บางคนใช้เขียน นางเทพอักษร เปน (ษ) ไม่ถูกแบบบังคับ ด้วย (ษ) ออกจากตัว (ข) ชอบที่ใช้คำว่า แต่อักษรเท่านั้น ๚ะ

๏ ตัว (ช) สกด เหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ บงกช สุบงกช ดาบกฤช ๚ ขัช ว่าของขบเคี้ยว พลคช พระคชบาล คชสาร ชัชวาลย์ ฤทธิเดช พระทรงเดช พระเดชพระคุณ ทิชคนา เทียวธุช ธวัช นักปราช วานิช พานิช อนุช นงนุช บวช ผนวช พืชพรรณ ๚ อัมพุช อามพุช ว่าบัว ๚ กัมพุช กำพุช เพชรรัตน์ แหวนเพชร์ โภชนาหาร ทิพยโภชน์ สุทธโภชน์ สมโภช ท้าวจัตุรภุช ว่าพรหม พระสุพรรณภาชน์ สรรเพช กำโพช ปราโมช ใช้ว่าปราโมทย เอาชะเปนทยะ สัมชากร ประโยชน์ ทางนับโยชน์ เดือนอาสยุช ๚ บทรัช ว่าธุลีพระบาท ๚ ในรัชกาล ถวัลยรัช ถวัลยราช เทวะราช มะหาราช จักรพรรดิราช พระราชหฤไทย พระราชทรัพย์ นาคราช อัศวราช ๚ วารีช ว่าปลา ๚ สาโรช สโรช ว่าบัว ๚ มาลีลาช ๚ วิชาความรู้ ใช้ว่าวิทยา วิชาจารย วิชาธร วิทยาธร ประวิช ท้าววัชรินทร์ คิดสังเวช คิดสมเพช ๚ เวช ว่าหมอ ใช้ว่าแพทย ๚ ทิช ทวิช ว่าพราหมณ์ว่านก ๚ เภสัช ปริสัช บรรสัช วิสัชนา เสาหัช ว่าคนใจดี เอมโอช ๚ะ

๏ ตัว (ซ) สกดเปนกดได้ แต่ในภาษาไทยไม่มีคำใช้ ๚ะ

๏ ตัว (ฌ) ก็สกดเปนกดได้ ในคำไทยไม่มีที่ใช้ มีชุกชุมอยู่แต่ในภาษามคธ แต่ต้องรวมเข้ากับตัว (ช) เหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ คิชฌะ ว่าแร้ง ๚ เขาคิชฌะกูฎ อัชฌัดติกะ อัชฌัดตะ ว่าภายใน ๚ อัชฌาไสย คำไทยใช้ว่า อัธยาไศรย ๚ อุปัชฌาจาริย คำไทยใช้ว่า อุปัธยาจารย์ ๚ มัชฌิม คำไทยใช้ว่ามัธยม ว่าท่ามกลาง ๚ สัชฌาย คำไทยใช้ว่า สาธยาย ว่าท่องบ่น ๚ อยุชฌิยา ใช้ว่าอยุทธยา อโยทธยา ๚ โพชฌงค ว่าองค์ตรัสรู้ ฯ วัชฌะ ว่านักโทษถึงตาย ๚ เพชฌฆาฏ ว่าผู้ฆ่านักโทษถึงตาย ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ฎ ฏ) สกดร่วมกันมีคำใช้ดังนี้ ๚ะ

๏ แก้วมรกฎ ราษีกรกฎ ปรากฎ กฎหมาย สกฎ ว่าเกวียน สังสกฤษฎ สร้างกุฎิ พระมหามะกุฎ พระมหามงกุฎ เขาตรีกูฎ เขาจิตรกูฎ ล้านโกฎิ สุพรรณจงโกฎ ว่าผอบทอง ผูกอาฆาฎ คิดพิฆาฎ ระชัฎ ว่าเงิน รกชัฎ ป่าชัฎ อนงค์นาฎ นางนาฎ สนมนาฎ สงสารวัฎ อัฎฐา ใช้ว่าอัษฎา เชฎฐา ใช้ว่าเจษฎา ๚ะ

๏ ตัว (ฐ) สกดเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ กาฐ ว่าไม้ โกฐ ว่าคลัง โทษอุกฤษฐ ประดิฐ ช้างสุประดิฐ ท่าราชวรดิฐ วัดราชประดิฐ เมืองอุตรดิฐ กาญจนดิฐ บันสะดิฐบดี ตุฐี แผลงว่าดุษดี ช้างอัฐทิศ ประทุฐร้าย ไชยเชฐ สุระเชฐ ว่าพรหม พระเชฐา อธิฐาน อทิษฐาน มากอะกนิฐ พระกะนิฐา พระภัทรบิฐ ประเสริฐ เสรฐี วิสิฐ วาเสฐ อนุสิฐ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ เบี้ยอัฐ ก่ออิฐ ลาอูฐ พระโอฐ พระโอษฐ ๚ะ

๏ (ฑ) ตัวนี้ที่ใช้สกดแต่ลำภังยังไม่เห็นตัวอย่าง มีอยู่แต่ต้องรวบเข้ากับตัว (ฒ) เหมือนคำว่า วุฑฒ วัฑฒะนะ พัฑฒนา เปนต้น แต่กระบวนใช้คำท่านเอาตัว (ฑ) เปน (ร) หันบ้าง ลดเสียบ้าง จึ่งคงใช้แต่ว่า ไวยวุฒิ แลพิพรรฒมงคล พรรฒนาถาวร พลฤฒาเถ้า วันพุฒ น้ำพระพัฒดังนี้ ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ด) สกด ใช้ในคำไทยโดยมาก และใช้แทนตัว (ตะ) ในคำที่มาแต่ภาษามคธบ้าง คำภาษาไทยคือ หินบด มีดบาด เขียนวาด เรือมาด มารยาด สมุดดำ สมุดขาว คำพูด เปนต้น ๚ะ

๏ คำแปลงมาแต่คำมคธ คือ สมบัติ ปะฏิบัติ บิดา บิดร มารดา มารดร ธิดา นัดดา ภรรดา ธาดา ๚ กานดา วะนิดา ว่านาง ๚ ลัดา ว่าเถาวัน ๚ ธาดา ว่าพรหม เปนต้น ๚ะ

๏ ตัว (ต) สกดเหมือนคำว่า สังเกต พระเกตุ ธุมเกตุ ลิกคิด สงครามครรชิต ไชยวิชิต สยามพิชิต พระพิชิตมาร นิยายนิบาต ไข้สันนิบาต พระสงฆสันนิบาต อสะนีบาต อุกาบาต กระลาบาต สร้างพรต สมมต สมมุต พระนลาต ใช้ว่าวิลาศไม่ถูก สิ้นชีวิต อัศสาสะวาต ปัศสาสะวาต นิศวาต เวรัมภวาต สัถกะวาต สุภาสิต ประกาสิต อาตมภาพ ชวะลิต พระสุคต ๚ะ

๏ คำที่เอา (ต) เปน (ตร) มักมาในที่ตัวตะช้อนในคำบาฬีเหมือน ปัตตะ ใช้ว่าบาตร เปนต้น คือ ขอบเขตร โคตร พิจิตร ไพรจิตร ดวงจิตร เสวตรฉัตร ธงฉัตร พระเนตร ไนยเนตร พระสุพรรณบัตร สัญญาบัตร บาตรเหล็ก บาตรดิน บุตรชาย บุตรหญิง ตาลิปัตร พิตร ว่าของปลื้มใจ ฯ บพิตร นิตยภัตร มาตรา มูตร มิตรสหาย ประจามิตร หมู่อมิตร นฤมิตร นิมิตรฝัน วิตรว่าทรัพย์ ๚ วัตรจรรยา สารเสวตร กระษัตรีย กระษัตร นักษัตร เกษตร พระโสตร พระสูตร อัตรา ยาตรา ยุรยาตร มาตรา ๚ะ

๏ อนึ่งคำที่เอา ตถะ เปน (ตระ) ก็มีอยู่มากหลายคำ คล้ายกับเอา (ตะ) เปน (ตระ) คือ สัตถะ ว่าสาตรา วัตถา ว่าพัตรา อักฃะระสัตถะ ว่าอักษรสาตร ธัมมะสัตถะ ว่าธรรมสาตร เวชชะสัตถะ ว่าเวชสาตร โหราสาสตร ไสยสาตร อย่างเดียวกัน ๚ะ

๏ ชีวิตร พระโสตร ๒ คำนี้ ในคำมคธก็ไม่มีตัว (ตะ) ซ้อนเปนชีวิตะ โสตะ ดังนี้ แต่ใช้เปน ชีวิต พระโสตร ด้วยเอา (ตะ) เปน (ตระ) ฤๅจะลง (ระ) อาคม ยังไม่พบต้นเหตุใช้โดยสังเกตตามๆ กันมา ๚ะ

๏ อนึ่งคำที่แปลงตัว (จะ) เปน (ตยะ) ก็มักมีมาในคำที่ตัว (จะ) ซ้อนกันโดยมาก มีตัวอย่างดังนี้ นิจจะ ใช้ว่า นิตย อาทิจจะ ใช้ว่า อาทิตย สัจจะ ใช้ว่า ความสัตย อะมัจจะ ใช้ว่าอำมาตย นิจจะภัตตะ ใช้ว่า นิตยภัตร มัจจุ ใช้ว่า มฤตยุ แทตย ว่ายักษว่าผี เปนต้น ๚ะ

๏ แลคำว่า สถิตย นี้ ตัวเดิมที่เปนคำมคธก็เปน ถิตะ ลงสะอัพภาสะข้างน่า เปนสถิต ตัว (ย) จะเปนอาคม ฤๅเอา (ตะ) เปน (ตยะ) ยังไม่พบที่มาแห่งใด ปัณฑิตะ บัณฑิตย์ อย่างเดียวกัน ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ถ) สกดเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ ภูวนารถ นฤนารถ กรรมบถ คิดขบถ สบถสาบาล ๚ วายุบถ อนิลบถ อาทีตยบล ว่าอากาศ ๚ พระภัทรบิถ ปัถวี ปัถพี ปราดถนา ปราถนา สามารถ ราชรถ สมมะโนรถ ทางรัถยา ศีลอุโบสถ โรงอุโบสถ พระโอสถ พระหัดถ์ พระหัถ แจ้งอัดถ แจ้งอรรถ แจ้งอัถ ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ท) สกดแต่ลำภังเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ ท้าวบุรินทท บันฦๅสิงหนาท นินนาท นฤนาท นิทร นิทรา ว่านอน ๚ หวานสนิท ทองชมพูนท ทองชมพูนุช ชนบท บทกลอน บาทบท พระบาท พยาบาท ไตรเพท เภทไภย มีประเภท ภัทรมุข ประมาท โกมุท ดอกกระมุท มหาสมุท ทายาท มุสาวาท วิวาท โอวาท อภิวาท ร่ายพระเวท ไสยยะเวท เวทมนต์ ปราสาท นายเนสาท ปสาทเลื่อมใส รดูสารท ๚ะ

----------------------------

๏ จำพวกหนึ่ง สกดรวมกันทั้ง (ท ธ) ดังนี้ ๚ะ พระมณาสมิทธิ์ พระพุทธเจ้า พระพุทธบาท ใจประดิพัทธ นิพัทธกุสล อยุทธยา อโยทธยา ต่อยุทธ ยงยุทธ มหิทธิฤทธิ สัมฤทธิศก สิทธิโชค มหาสิทธิโชค พระประสิทธิ ศักดิสิทธิยกให้เปนสิทธิ ๚ะ

๏ จำพวกหนึ่งออกจาก (ชะ) เปน (ทยะ) บ้าง เอา (อิ) เปน (ยะ) บ้าง ดังนี้ ๚ะ

๏ วิทยา ว่าความรู้ ๚ วิทยาจารย วิทยาธร อัธยาไศรย ปราโมทย พิณพาทย ต้องพิพาทย เปนโจทย อุบาทว ออกจาก อุปัทวะ ๚ะ

----------------------------

๏ ตัว (ธ) สกดแต่ลำภังเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ กริ้วโกรธ จันทรคาธ สุริยคาธ จันทรคราธ สุวิยคราธ จับเปน อัฒคราธ ตรีย์คราธ สรรพคราธ พระยาครุธ พระครุธพาห ทศพิธราชธรรม พิพิธโพคา ไตรยพิธสมบัติ อาพาธ ว่าป่วย ๚ ต้นมะหาโพธิ โพธิญาณ โพธิสมภาร นงโพธ ๚ ว่ากังวน ๚ พยาธิ ไข้เจ็บ สุเมธ อาราธนา ว่าเชิญ ๚ ทรงพระพิโรธ ให้การพิรุธ วิวิธ อาวุธ สรรพาวุธ วชิราวุธ สัตรียาวุธ เดือนอาสาธ บุรพาสาท อุตราสาท ปฐมาสาธ ทุติยาสาธ ๚ะ

๏ ตัว (ศ) สกดแต่ลำภังเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ อากาศ โอกาศ อัพโภกาศ สังกาศ พระโลเกศ ตรีทศ ไทรทศ ทุกทิศ ต่างประเทศ เทศนา พงพนัศ พินาศ ดาบศ เชือกบาศ สมพาศ เสดจ์ประพาศ ตรัสประภาศ ถือเพศ แปลงเพศ จุธามาศ ปรามาศ ๚ ปรักมาศ ว่าเงินทอง ๚ มาศ ว่าเดือน เข้าปายาศ เกรียรติยศ อุปายาศ เอมรศ ของมีรศ พระสุธารศ สุคนธรศ โอชารศ นิราศ ทางทุรัศ ทางทุเรศ รศมี เขาไกรลาศ งามวิลาศ เหนวิปลาศ เปนเลศไนย สังวาศ อาวาศ สุธาวาศ ฆราวาศ บรมนิวาศ พิศวง พิศวาศ วาศนา เสดจประเวศ ของพิเศศ เหลือเศศ โสฬศ พระสาศดา ๚ะ

๏ คำไทยใช้ (ศ) สกดในคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ เพราเพริศ ล้ำเลิศ พิศดู ปราศ บำราศ คลาดลาศ ๚ะ

๏ ทวาทศมาศ ๑๒ เดือน คือ จิตรมาศ เจตรมาศ เดือน ๕ วิสาขมาศ เดือน ๖ เชฐมาศ เดือน ๗ อาสาธมาศ เดือนแปด บูรพาสาธมาศ เดือนแปดก่อน อุตราสาธมาศ เดือนแปดหลัง ปฐมาสาธมาศ เดือนแปดก่อน ทุติยาสาธมาศ เดือนแปดหลัง สาวะนมาศ เดือน ๙ พัทรบทมาศ เดือน ๑๐ อาสยุชมาศ เดือน ๑๑ กรรติกะมาศ เดือน ๑๒ มิคศิรมาศ มฤคศิรมาศ เดือน ๑ บุศยมาศ เดือน ๒ มาฆมาศ เดือน ๓ ผคุณมาศ เดือน ๔ ๚ะ

๏ ตัว (ศ) สกดจำพวกหนึ่ง มีอักษรอื่นเพิ่มท้ายคำดุจคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ นั่งเหนืออาศน์ ราชอาศน์ สิงหาศน์ พระนิเวศน์ ยาพิศม์ อสรพิศม์ ศิศย์ อัศดร อัศว์ อัศวา อัศจรรย์ มหัศจรรย์ พระพิศณุ องค์อดิศร อดิศวร อิศวรกระษัตร อิศเรศร นเรศร นฤเบศร เทเวศร พระอิศวร ประพัศร ๚ะ

๏ อนึ่ง คำที่ใช้ตัว ศ มิใช่ตัวสกด ก็มีมากตามข้อบัญญัติแต่โบราณสืบกันมา เหมือนคำอย่างนี้ ศศิธร เดือนใพศาข ศีศะ พระเศียรเกล้า กุศล ศาลา โรงศาล จำศีล ศิขร ศิงขร ศฤงฆาร พระแสงศร อภิเศก โศกเศร้า โศกศัลย ศึกษา ฃ้าศึก ศิศย์ ยศศักดิ ศักดินา ศักดานุภาพ ศักราช เอกศก โทศก ตรีศก จัตวาศก เบญจ เบญจศก ฉศก สับตศก อัฐศก นพศก สมฤทธิศก อาศรม เศรฐี พระตรีศุลี ๚ะ

๏ ตัว (ษ) สกดแต่ลำภังมีน้อย มักมีตัว (ย) และตัวอื่นเพิ่มท้ายโดยมาก มีตัวอย่างดังนี้ โอภาษ มนุษย บุรุษ บำราษ โทษ ๕ คำนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ (ศ) ไรเกษ พระกฤษณ โกษฐาคาร กฤษณา เจษฎา เชษฐา ชุษณปัก ดำฤษณา ดุษณี ดุษดี ดัษกร ประดิษฐ ประทุษฐร้าย ทฤษดี แผ่นกระดาษ ทาษชาย ทาษหญิง อธิษฐาน อธิฐาน ธาษตรี บุษบ์ บุษบา บุษยา พลอยบุษย์ ปฤษณา ปฤษฎางค์ พรรษ พรรษา ราษตรี รากษษ ฤษยา อัษฎาวุท อัษฐทิศ อัฐทิษ อัษฏงคต อัษฎางค์ อัษฎก อุษณาการ ๚ะ

๏ คำใช้ (ษ) มิใช่ตัวสกดใช้มาตามโบราณ ดังนี้ มุษา แผลงว่ามารษา ฦๅษี พฤกษา ปฤกษา พระอังษา พิพากษา รังษี ราษี ภาษา ภาษี มเหษี หืนหรรษ์ หรรษา ฝูงหงษ์ สุวรรณหงษ์ เชื้อพระวงษ์ ราชวงษ์ สุริยวงษ์ รวิวงษ์ ภาณุวงษ์ บรมวงษ์ บวรวงษ์ วรวงษ์ สัมพันธวงษ์ พระวงษ์เธอ ๚ะ

๏ อนึ่ง พึงสังเกตว่าตัว (ษ) ที่มาแต่ภาษามคธนั้น มักออกจากตัว (ขะ) โดยมากเหมือนคำเหล่านี้ ปักชี ปักษี ปักฃา ปักษา รักขะ รักษ รักขา รักษา รักขะสะ รากษษ รากโษษ ปะระปักขะ ประปักษ์ ปะจักขะ ประจักษ์ รุกฃะ พฤกษ์ รุกขา พฤกษา ยักขะ ยักษ์ ยักขา ยักษา อักขี อากษี สักขี สากษี อักขะระ อักษร สุกกะปักขะ สุกรปักษ์ กาฬะปักขะ กาฬปักษ์ วิทักขะ พิทักษ์ ภักขะ ภักษ์ ภักขา ภักษา ทักขิณ ทักษิณ ปะทักษิณ ประทักษิณ จักขุ จักษุ ภิกขุ ภิกษุ คำเหล่านี้เปนตัวอย่างในคำที่ใช้ (ษ) ๚ะ

๏ ตัว (ส) เปนตัวสกดดังนี้ ๚ะ

๏ นบนมัสการ พัสดุสิ่งของ คนชาติแพสย ตรัส ดำรัส จรัส จำรัส โอรส เอารส ศรีสวัสดิ์ สัสดี สุรัสวดี แสนสาหัส สหรรสกุมาร พระสาสนา พระราชสาสน์ คำที่ต้องใช้ (ส) เปนต้นคำ เหมือนอย่างคำว่า เสนี เสนา โสภา โสภณ โกสุม เกสร สมบัติ เสาร์ สูริยย สวรรค์ สุรา สุรสิทธีสมบูรน สนิท สนม สมัค สะโมสร คำเช่นนี้มีมาานักจะชักมารวมไว้ ก็เหลือประมาณที่จะเขียน พึงเข้าใจว่า นอกจากบังคับที่ใช้ ศ ษ แล้ว ก็ควรใช้ (ส) สิ้น คำภาษาไทยแท้ ก็ควรใช้ (ส) เท่านั้น ถึงในภาษามคธก็มีแต่ (ส) ตัวเดียว ซึ่งเปน ศ ษ นั้น วิธีมาในคำภีร์สังสกฤษฎกับวิธีอักษรสังขยา ซึ่งนับอักษรแทนตัวเลขในคำภิรวชิรสารเปนต้นนั้นนับตัว (หะ) เปนเลฃ ๘ ถ้าไม่มี ศ ษ แล้วตัว (หะ) ก็เปนเลข ๖ หาต้องกับวิธี กะหํปายาไม่ กะหํปายา นี้เปนเลขเรือนพันดังนี้ กะหํปายา$\left. \begin{array}{}\mbox{ } \\[1.4ex]\mbox{ }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ แต่กลับอยู่ตามเลขมคธ ถ้านับอย่างเลขไทยกลับเปนดังนี้ ๑๑๘๑ สำหรับลบพุทธศักราชเปนจุฬศักราช แลบวกจุฬศักราชเปนพุทธศักราชได้ทุกปีไป ๚ะ

----------------------------

๏ คำโคลงบงคับ ศ ษ ส แต่บุราณก็มีมาดังนี้ ๚ะ

๏ รังสฤษดิพระแต่งตั้ง
รังรักษแต่ง ษ บอกแจ้ง
ศักดิ์ส่อ ศ สมมต
ไตรเพทท้าวหากแกล้ง ก่อเกื้อเปนองค์

๏ แลคำหนึ่งอีกว่า ในสอทั้งสาม สอลอแจ่มงาม ว่าไว้เปนกลาง เพราะฉะนี้ ควรเห็นว่าสอลอใช้มาก เปนพื้นในคำมคธแลคำภาษาไทยมากกว่า ศ ษ ๚ะ

๏ แลคำบังคับ ศ ษ ส ในจินดามณีมีมาแต่โบราณท่านแต่งไว้ ก็ควรเปนที่สังเกตคำโดยโบราณคติสืบมาดังนี้ ๚ะ

๏ บังคับ สอ ลอ ๏ สรรเพช สัทธรรม แล สงฆะประเสริฐแก่นสาร สบสูตรสดับนิแลสงหาร แลแพสยสัตยา ๏ โกสุม เกสร สมบัติ แลสวัสดิ์โสภา เสาร์ สูรย์ สวรรค์ แลสุรา สุรสิทธิสมภาร ๚ะ

๏ สมเด็จสหัสนัยเสมอ สีหปราช แลสงกรานต์ สัมฤทธิ สมาธิ สบสถาน สุวภาพสุนทร ๚ะ

๏ สมบูรณ สาครแลสิน ธุสมุทร สมสมร สารถี สมรรถ แลสลอน แลตรัสสละสมาคม เสร็จ เสด็จ แลสังขพัสดุ ดุสิต เสวตร เสวยรมย์ ปราสาท สาตร สัตวสม นักนิสาธุ สงสาร ๚ะ

๏ แสนสนุกนิสาวสุรสนม สดุดิโสตรนมัสการ สอลอทั้งปวงก็บริหาร ณ ประเภทนานา ๚ะ

๏ บังคับศคอ ๏ ไพศาขแลศิขรพิเสศ แลศับทศรัทธา ศัตรู แลศุข สุทธ อาศรภ ไขษย รัศมี ๚ะ

๏ อาศรม ศีล แลศีวา ศรโศตร เศรฐี อากาศ แลพิศมศุลี ยศศักดิ อัศวา ๚ะ

๏ โศฬศ พิเศก แลปีศาจ แลกุศล ศาลา เศริกศรีศรบง แลศีรา ทศศุภศฤงฆาร ๚ะ

๏ ศาโรชโศก แลประเทศ ศศิธรประกาศมาน สอคอนี้ปราชผู้ชำนาญ ก็ประกอบในวาที ๚ะ

๏ บังคับษบอ ๏ บุษยา แลกฤษณ แลฤกษ เกษม กระพัตริย์ษัตรี โอภาษจักษุมหิษีรักษโทษภูษา ๚ะ

๏ อักษร แลรากษษ แลยักษ แลกระเษตรบุษบา พฤกษาฤๅษีบุรุษมา นุษยภิกษุเหาะหรรษ์ ๚ะ

๏ ปักษิมหิษยแลผู้ปราย ธก็ผูกเปนเชองฉันท์สิบ สี่นี้นามคือวสัน ตดิลกโดยหมาย ๚ะ

๏ สบศับทกล่าวนิยมไว้ บมิคลาศมิคลาคลาย เพื่อให้มหาชนทั้งหลาย ผู้จะอ่านจะเขียนตาม ๚ะ บังคับสอลอทั้ง ๓ แบบนี้ ท่านได้จัดเข้าไว้เปนหมู่หมวดดี เปนของบุราณนานมาแล้ว ควรจะนับถือแลใช้ตาม ๚ะ

๏ จบตัวสกดแม่กด เท่านี้ ๚ะ

----------------------------

๏ แต่นี้จะว่าด้วยตัวสกดแม่กบต่อไป ๚ะ

๏ บ ป ผ อีกทั้ง ฝ พ ฟ ภ รวมจัดเอาตอน (บ) บอกแจ้ง เดิมแปดยกตัว (ม) คงเจ็ดนี้นา ใช้สกดแม่กบแกลง กล่าวให้หากเห็น ๚ะ

๏ อักษรใช้สกดในแม่กบ ๗ อักษร บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ๚ะ

๏ ตัว (บ) เปนตัวสกดเดิม ใช้ในคำภาษาไทยทั้งสิ้น คือคำว่า ไสกบ เคี้ยวขบ นำคบ บาญชีงบ เจนจบ ฟันฉับ กำชับ น้ำซับ ไฟดับ ปืนตับ ขู่สำทับ ดังนี้เปนต้น ๚ะ

๏ อนึ่งให้สังเกตรู้ว่า ที่ในคำภาษามคธเปนตัว (ปะ) ตกมาในคำไทยเปนสำเนียงตัว (บ) ไปโดยมาก เหมือนคำว่า ๚ ปะริปาละ บะริบาล ๚ อะภิปาละ อภิบาล ๚ พยาปาทะ พยาบาท ๚ ปะทะ บท ๚ ปาทะ บาท ฯ ปัตตะ บาตร ๚ ปุตตะ บุตร ๚ ปาสะ เชือกบาศ ๚ สุปัณณะ สุบรรณ ๚ สุปินะ สุบิน ๚ วิบากะ วิบาก ๚ ปาปะ บาป ปุญญะ บุญ ปะริปุณณะ บริบูรณ ปะวระ บวร ปะระมะ บรม ปิตา บิดา ปิตุ บิดร เสนาปะติ เสนาบดี อะธิปะติ อธิบดี ปัจจุปันนะ ประจุบัน เปนต้น เปนตัวอย่าง ๚ะ

๏ ตัว (ป) สกดใช้ ในคำที่มาแต่ภาษามคธโดยมากดังนี้ ๚ะ

๏ แสนกัปป แสนกัลป ต้นกัลปพฤกษ อากัปกิริยา สังเขป สมเษป โคปกะ ว่าตาตุ่ม จาป ว่าแล่งธนู ฉาป ว่านกน้อย ชัปนะ ว่ากระซิบ พระสะถูป พระสะดูป มณฑป มรฎป ประทีป เทียนธูป ทำบาป บาปเคราะห์ บาปมิตร รูปพรรณ รูปโฉม รวบสรูป พิลาป ว่าร่ำไห้ สรรลาป ว่าเจรจากัน พิเลป ว่าทา นฬปมัจฉา ว่าปลาแห้งสด วับป วรรป ว่าหว่าน กะสาปะน์ ว่าตำลึง สาปะ ว่าคำสาบแช่ง อัประภาค อัประยศ อัประทรัพย์ อัประลักษณ อัประมาณ ๚ะ

๏ ตัว (ผ) สกดในคำไทยไม่มีใช้ ถึงในคำมคธใช้สกดแต่ลำภังก็ไม่มี ต้องรวบเข้ากับตัว (ปะ) เหมือนคำว่า ปุปผะ คำไทยใช้ บุษบะ มะหัปผะละ มหรรผล เวหัปผะละ เวหรรผล วีปผาระ วิบผาร ปัปผาสะ ผักบัปผาสะ เปนต้น คำเช่นนี้ในมคธคัมภีร์มีใช้มาก ๚ะ

๏ ตัว (ฝ) สกดคำไทยไม่มีใช้ตัว (ฝ) นี้ใช้คำอย่างหนึ่ง คือ ฝีพาย ฝีมือ ฝีปาก ควรสังเกตจำ ๚ะ

๏ ตัว (พ) สกดเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ ๏ กาพยกลอน สามคาหยุต สรวมชีพ สิ้นชีพ ลาญชีพ สมมติเทพย์ วาสุเทพ ของทิพย์ มหาเทพ กองทัพ ม้าสินธพ ม้าเสนธพ มาณพ มานพ สินทรัพย์ ฝูงทานพ พระนพ นพเคราะห์ มหรรณพ อรรณพ นพมาศ ทั่วไตรภพ ราชสมภพ วันสมภพ เจ้าจอมภพ อาภัพ ทั่วอพยพ ท้าวโกรพ รอญราพ ราพนาสูร ท้าววาสพ พระไกรสพ พระบรมศพ พระศพ ปลงศพ คำสารภาพ อาตมภาพ ทรงสุรภาพ คำเสาวภาพ คนสุภาพ .เสพ เสพย ๚ะ

๏ ตัว (ฟ) สกดภาษาไทยไม่มีใช้ ในภาษาอิ่นมีอยู่บ้าง เหมือนคำว่า อาฟริกา ออฟฟิด ออฟิเซอร์ ออฟฟิด ออฟฟิเซอร์ เปนตัวอย่าง ๚ะ

๏ ตัว (ภ) สกดเหมือนคำเหล่านี้ ธาตุโขภ ครรภ เบญจครรภ มีครรภ นภวงษ์ นภดล นภาไลย ปรารภ ได้ลาภ หลงโลภ ใจละโมภ อศุภ ยาวอุสุภ โคอุสุภราช พลอีภเอาธาร นบอภิวาท ราชพรรลภ ๚ จบตัวสกดแม่กบเท่านี้ ๚ะ

๏ เรียงทำร่ำเทียบถ้อย ทางสอน
สังโยคพิธานถอน กลั่นแกล้ง
ไปฟั่นฝ่าเผือกลอน กลบเกลื่อน
จบเสร็จสำเร็จแจ้ง จัดไว้วานจำ

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ