พิศาลการันต์

๏ เรียงเทียบเรียบถ้อยถ่อง ทางบรรพ์
นามพิศาลการันต์ เรื่องนี้
เขียนตัวแต่บอสรร เสียงอ่าน
ควรจะชักเช่นชี้ เชิดอ้างอย่างเห็น
๏ อักษรบ่อนนี้ชื่อ การันต์
คือบอกตัวสำคัญ เพิ่มท้าย
หากเติมเพื่อเพ็ญผัน ตามพากย์
เปลี่ยนๆเวียนยักย้าย ย่อมสร้อยเศศเสริม ๚ะ

๏ วิธีใช้ถ้อยคำขบวนหนึ่ง มีอักษรเพิ่มไว้ข้างท้ายคำแต่มิใช่ตัวสกด เติมลงไว้เพื่อจะใช้เต็มคำซึ่งมาแต่ภาษามคธ แลเสียงภาษาอื่นบ้าง เสียงไทยอ่านไม่ตลอดไปถึงจึ่งลงไม้ ไว้เปนที่สังเกตว่าไม่อ่าน ควรเรียกชื่อว่าการันต์ ยักย้ายตามตัวที่เติมท้ายคำ คือ (ก) การันต์ (ข) การันต์ (ค) การันต์ เปนต้น ชักมาเทียบไว้เปนตัวอย่างดังนี้ ๚ะ

----------------------------

๏ (ก) การันต์ มีตัว (ก) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า บัลลังก์ เขาวงก์ คลองมหาวงก์ ๚ะ

๏ (ข) การันต์ มีตัว (ขป เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า แตรสังข์ ความทุกข์ วิมุติวิโมกข์ อาภรณพิโมกข์ สังฆปาโมกข์ ทิศาปาโมกข์ สุนักข์ ๚ะ

๏ (ค) การันต์ มีตัว (ค) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า พระขรรค์ พระโพชฌงค์ ท้าวภุชงค์ อัษฎงค์ ปฤษฎางค์ อัษฎางค์ คัคณางค์ ไตรเวทางค์ เพทางค์สาตร์ อนงค์ สรรพางค์ เภิกภังค์ พวกพรรค อุโมงค์ ตุรงค์ จตุรงค์ จตุรางค์ สาวสุรางค์ รังสรรค์ สวรรค์ พระองค์ ดาบศสรภังค์ ตรียางค์ ไตรยางค์ ธาตุวิภังค์ พระราชประสงค์ ต้องประสงค์ รณรงค์ พระธำมรงค์ ลายเบญจรงค์ ๚ะ

๏ (ฆ) การันต์ มีตัว (ฆ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า พระสงฆ์ นางพยักฆ์ อำนัคฆ์มณี พระชงฆ์ ๚ะ

๏ (จ) การันต์ มีตัว (จ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า ใจฉกรรจ์ พลสกรรจ์ ๚ะ

๏ (ช) การันต์ มีตัว (ช) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า กษิรามพุภุญช์ พระบทวะลัญช์ สาขภัญช์ ๚ะ

๏ (ฑ) การันต์ มีตัว (ฑ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า กองกุณฑ์ โยกเกณฑ์ กะเกณฑ์ ต้องราชทัณฑ์ พรหมทัณฑ์ ภากทัณฑ์ เกาทัณฑ์ ราชภัณฑ์ รัตนภัณฑ์ มหัคฆภัณฑ์ วรภัณฑ์พลากร เขาสัปตบริภัณฑ์ ราชาภิมณฑ์ พระรัตนกรัณฑ์ มีมหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ ของบูชากัณฑ์ ๚ะ

๏ (ณ) การันต์ มีตัว (ณ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า พระกฤษณ์ อลงกรณ์ พระยากรณ์ อธิกรณ กรรมกรณ์ สับดปกรณ์ มหาปกรณ์ อาเกียรณ์ ปฏิสังขรณ์ จิตรวิจารณ์ บรรจถรณ์ บรรฐรณ์ มากสาธารณ์ ความอุทธรณ์ สมบูรณ์ บริบูรณ์ สุพรรณ์ ผิวพรรณ์ พราหมณ์ อาภรณ์ ม้วยมรณ์ อารมณ์ ศุภลักษณ์ อาลักษณ์ อัปลักษณ์ สุวรรณ์ อาวรณ์ นิวรณ์ อุทาทรณ์ ดำฤษณ์ มเหยงคณ์ ๚ะ

----------------------------

๏ (ด) การันต์ มีตัว (ดิ) การันต์ คือคำว่า รามเกียรดิ์ สมบัดิ์ วิบัดิ์ ปฏิบัดิ์ จักรพรรดิ์ บำเรอภักดิ์ สวามิภักดิ์ พูลสวัสดิ์ จิตรประวัดิ์ ยศศักดิ์ ผู้สูงศักดิ์ บันดาศักดิ์ ต้องโมกชศักดิ์ เปนยุกดิ์ธรรม์ พระปริยัดิ์ สวดญัดิ์ ราชาณัดิ์ อภิรัดิ์ โพธาภิรัดิ์ ๚ะ

----------------------------

๏ (ต) การันต์ มีตัว (ต) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า ศกกันต์ เกษากันต์ สงกรานต์ พรรคานต์ พระทนต์ พระสุทนต์ อนนต์ อนันต์ เวทมนต์ รับนิมนต์ ท้าวสามนต์ เสนาสามนต์ แยบยนต์ เลขยันต์ เวชยนต์ ไพรชยันต์ จาตุรนต์ จาตุรันต เขาหิมวันต ป่าหิมพานต เกษมสันต เกษมสานต โทษมหันต พระอรหันต ฤดูเหมันต ฤดูคิมหันต ฤดูวษันต ๚ะ

๏ (ถ) การันต์ มีตัว (ถ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า พระบรมัถ์ พระหัดถ์ พระหัถก็ใช้ แจ้งอัดถ์ แจ้งอัถก็ใช้ ศุภอัดถ์ สุนทรอัดถ์ ดาษเดียรถ์ คำภีร์สาราดถ์ ๚ะ

----------------------------

๏ (ท) การันต์มักมีตัว (ร) แถมด้วยเหมือนคำเหล่านี้ พระจันทร์ อัฒจันท์ เอกฉันท์ คำฉันท์ บดินทร พระนนท์ เมืองนนท์ ธรณินทร์ ธรเณนทร์ ภูเบนทร์ นฤเบนทร์ องค์อำมรินทร์ ท้าววัชรินทร์ ท้าวศักรินทร์ พระภูมินทร์ ภูบดินทร์ กรุงรัตนโกสินทร์ ราชวรินทร์ พิเรนทร์ อำมเรนทร์ พระที่นั่งอำมรินทร์ สีขรินทร์ มเหศวรมหินทร์ พระอินทร์ จ้าแจ่มอินทร์ องค์อำมรินทร์ อมรินทร์ก็ใช้ บรมินทร์ บรเมนทร์ มหิศวรินทร์ ๚ะ

๏ (ธ) การันต์ มีตัว (ธ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า พระสกนธ์ เบญจขันธ์ พวกพลขันธ์ นครเขื่อนขันธ์ พระสุคนธ์ เสาวคนธ์ พระราชสัมพันธ์ พระราชนิพนธ์ คำประพันธ์ เผ่าพันธุ กระแสสินธุ ชลสินธุ เอกพินธุ ทวิพินธุ บริสุทธ์ อนุสนธิ์ปฏิสนธิ์ สัมฤทธิ์ ศักดิสิทธิ์ ประสิทธิ์ พระฤๅษีสมมิทธิ์ เรืองฤทธิ์ โมหันธ์ มืดมหันธ์ ๚ะ

๏ (น) การันต์ มีตัว (น) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า แก้วแกมกาญจน์ แก่นจันทน์ ท้าวสุทัศน์ วันอุบาสน์ พระไตรยรัตน์ เพชรรัตน์ เนาวรัตน์ นพรัตน์ พงษกมลาศน์ พระราชนิเวศน์ บรมนิวาศน์ พระราชสาสน พระที่นั่งสิงหาศน์ เสด็จนังเหนืออาศน์ สำนักนิ์ พำนักนิ์ ทำนุกนิ์ สนุกนิ์ ไวพจน์ พากย์พจน์ เพี้ยนพจน์ ชาญเชาวน์ เขาคันทมาทน์ ๚ะ

๏ (บ) การันต์ มีตัว (บ) แติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า บัวบุษบ์ ๚ะ

๏ (ป) การันต์ มีตัว (ป) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า พระทรงศิลป ธนูศิลป แสนกัลป ๚ะ

๏ (พ) การันต์ มีตัว (พ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า ทิศบูรพ์ เบื้องบรรพ์ ทุกสิ่งสรรพ์ หนังสือพิมพ์ สบสรรพ์ ๚ะ

๏ (ภ) การันต์ มีตัว (ภ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า ราษีกุมภ์ จตุสดมภ์ พนสดมภ์ อุประถัมภ์ ปรารมภ์ โกสุมภ์ สยามูปสดัมภ์ ๚ะ

๏ (ม) การันต์ มีตัว (ม) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า พระชนม์ พระทรงธรรม์ สารกรมธรรม์ ใจอาธรรม์ เปนศัจธรรม์ เปนยุติธรรม์ พิศม์สำแลง ยาพิศม์ อสรพิศม์ เปนไข้พิศม์ ทฤฆายุศม์ ๚ะ

๏ (ย) การันต์ มีตัว (ย) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า กลอนกาพย์ อัศจรรย์ มหัศจรรย์ พระอาจาริย์ พระเจดีย์ สถิตย์ ของทิพย์ หมู่เทพย์ ราชโยธาเทพย์ พระอาทิตย์ แทตย์ อินทรีย์ มนุษย์ เปนนิตย์ เนืองนิตย์ บทภาชนิย์ อภิวาทวันทนิย์ พลอยบุษย์ จาบัลย์ เดือนบุษย์ พิบูลย์ พจนพากย์ ตำราแพทย์ คนชาติแพสย์ พระภาคย์ เสาวภาคย์ มหาอำมาตย์ โยธามาตย์ ดวงมาลย์ เยาวมาลย์ ปราโมทย์ อภิรมย์ บุรุษย์ บุรีรมย์ รื่นรมย์ สำราญรมย์ มฤตย์ อำมฤตย์ ทั่วโลกย์ วรวากย์ ชัชวาลย์ ท้าวโกษีย์ กรุงกระษัตรีย์ ไอสูรย์ ไอสวรรย์ แสงสูรย์ บังสูรย์ แก้วไพทูรย์ สินทรัพย์ คนมีทรัพย์ เปนสิศย์ โศกศัลย์ อดุลย์ บัณฑิตย์ คำสัตย์ อาสัตย์ ซื่อสัตย์ คำโจทย์ พิณพาทย์ ๚ะ

๏ (ร) การันต์ มีตัว (ร) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า แหวนเพชร์ คัมภีร์ คำภีร์ ธรรมลังการ์ เทเวศร์ นเรศร์ อิศเรศร์ วันเสาร์ สายสิญจนสูตร์ ยัญญสูตร์ พระสูตร์ วิสูตร์ วิสูตร์วารี ศีเสวตร โหราสาตร์ สารสาตร์ หมู่อมิตร์ ประจามิตร์ มิตร์สหาย พระราชอาณาจักร์ อัฒจักร์ วรจักร์ สิงคโปร์ นำเบอร์ ออฟฟิเซอร์ ๚ะ

๏ (ล) การันต์ มีตัว (ล) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า ไมล์ ๔๗ เส้น โมล์แบบหล่อตัวอักษร ๚ะ

๏ (ว) การันต์ มีตัว (ว) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า อุบาทว์ ราชรบาทว์ ของรบาทว์ ทรงพระเยาว์ ย่อมเยาว์ เกลือสินเธาว์ หมู่สัตว์ พลอัศว์ หรัศว์ ม้าเซ็กเธาว์ ๚ะ

๏ (ษ) การันต์ มีตัว (ษ) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า ประจักษ์ ปรตยักษ์ พิทักษ์ ประปักษ์ ชุศณปักษ์ สุกระปักษ์ กาฬปักษ์ กฤษณปักษ์ ไพรพฤกษ์ พระยายักษ์ บริรักษ์ เทพารักษ์ สุรารักษ์ ปารลักษ์ อาลักษ์ ศิวโมกษ์ ปาโมกษ์ โมกษ์บริสุทธ ตระกุลวงษ์ สุริยวงษ์ รวิวงษ์ ภาณุวงษ์ เชื้อพระวงษ์ พระยาหงษ์ หื่นหรรษ์ อานิสงษ์ ปราสงษ์ ไตรยางษ์ ๚ะ

๏ (ห) การันต์ มีตัว (ห) เติมท้ายไม่อ่าน คือคำว่า สับดาห์ ว่าเจ็ดวัน พลพาห์ ศรีสุริยพาห์ พระครุธพาห์ พระสมุห์ สมุห์บาญชี เมาโมห์ มาห์ พลพยูห์ ทรงพระดำริห์ ดาบโลห์ อุสาห์ทำ เวลาสายัณห์ พระสุณห์ ดาวพระเคราะห์ สงเคราะห์ อนุเคราะห์ สนเทห์ พระเทห์ ท้าววิเทห์ เลห์กล น่าราหุ แท่นคฤห์ เมืองราชคฤห์ มนต์เสนห์ ๚ะ

๏ จบเสร็จสำเร็จแก้ การันต์
พึงพิศฉบับบรรพ์ แบบเบื้อง
ภอเปนนุสนธิ์สรรพ์ สาวสืบ ไปนา
หวังผดุงเด็ดเปลื้อง ปลดชั้นเชิงเขลา

๏ คำที่ต้องใช้ไม้ ๊ ๋ ซึ่งเปนภาษาไทยบ้าง ภาษาอื่นบ้าง มักตกอยู่ในอักษรกลางโดยมาก กับคำที่ต้องใช้ไม้ ๘ ชักให้เปนสำเนียงสั้นทั้งคำไทยแลภาษาอื่นก็มีมาก จะรวบรวมมาไว้พอกุลบุตรได้สังเกตจำเปนแบบอย่างดั่งนี้ ๚ะ

๏ คำไม้ตรีเรียงตามอักษร ๚ะ

๏ กุ๊กกู๊ ทำเก๊ แขกชื่อโก๊ จีนเก๊า น้ำกุ๊น องแต้กุ๊น สามก๊ก สี่กั๊ก ดังกึ๊ก ไก่ร้องกุ๊กๆ ต้องเก๊ก เสื้อยักเก๊ก ติดคอแก๊ก น้ำก๊อก ก๊าด เสื้อสะก๊อด เปดร้องก๊าบๆ หมวกแก๊บ เรียกเปดกิ๊ว ๆ เฉาก๊วย กวนเกี๊ย ๚ะ

๏ จุ้นจู๊ ขงจู๊ อาเจ๊ เจ๊สั่ว เจ๊าโล่ อย่างนั้นและจ๊ะ จุ๊น ว่าเรือ เจ๊ง จิ้งจกทักจ๊ก ๆ หนูร้องจิ๊ก ๆ อาเจ๊ก น้ำไหลโจ๊ก ไก่ร้องจ๊อก ดังจ๊วก ดังเจี๊ยก ดังเจื๊อก นกร้องจิ๊บ ๆ หอยจู๊บแจง ลูกไก่เจี๊ยบ คะจุ๊ย รำจ๊อย เจี๊ยจิ๊ว เจี๊ยปึ้ง ๚ะ

๏ แขกชื่อโต๊ ยวนชื่อด๊ก เด๊ก ว่านอน โด๊ก ว่าพ้อม ตะด๊อก ว่านกกะทุง ด๊อก ว่าชายพก ด๊อก ว่าสุนักข์ อันเดีด ว่าเต่า ด๊ด ว่าเผา อันด๊าด ว่าลิ้น ด๊าด มอญว่าน้ำ ด๊อด ว่าร้อยกรอง มาด๊บ ว่าสุมทุม กันโด็บ ว่าตักแตน ตะเดี๊ยบ ว่าลิ่ม เต๊ ว่าเปล่า สลักเต๊ ว่าใบชา อาเต๊า ต๊วน ว่าอ่อน เตื๊อน ว่าทันกัน ตุ๊ง ว่าเชิงช้า เล่าเต๊ง กระโต๊งโห่ง ตีดังต๊ก ๆ ตั๊ก ว่าตึก ไก่กระต๊าก อกเต้นตึ๊ก ๆ ตุ๊กแก ตู๊ก ว่าเก็บไว้ ตู๊ก ว่าเรือ นกตู๊ก มีกงเต๊ก ตีต๊อก เตี๊ยะ ตั้งโต๊ะ ตังโต๊ะ ๚ะ

๏ บี๊ ว่าเข้าสาน เต้บี๊ ว่าใบชา พะบู๊ จีนบู๊ เบ๊จี๋ บ๊ะ ว่าลุกลาม อุบ๊ะ บ๊ก๊ ว่าตำ บั๊ก ว่าหัก บุ๊ก ว่าหนังสือ แบ๊ก ว่าแตค ดังเบือก บั๊ด ว่าหาย ว่าอาหาร บ๊าก ว่าขอรับ โบ๊ด ว่าเรือ โบ๊ย ว่าซื้อ เกี้ยมบ๊วย ร้องอุเบ๊อะ อำเบ๊าะ ว่าเส้นด้าย ๚ะ

๏ ปี ว่าพิศม์ กำปี ว่ากุ้งฝอย ดีดดังปุ ปุ๊ ว่าเดือด ว่าผ่า กระดาษปุ๊นหนึ่ง จีนชื่อเปี๊ยน จึงเปี๊ยน ว่าพาน เปือน ว่าพันกัน กระดาษปึ๊งหนึ่ง ดังปั๊ก ปั๊ก ว่าสดึง มิศป๊าก แน่นปึ๊ก เสียงเป๊ก ดังโป๊ก นายป๊อก อ้ายป๊อกแป๊ก ป๊อก ว่าแขนคอก เด็กเปี๊ยกๆ ปี๊ดเขียนหนังสือ ดำปึ๊ด ขาดปุด ปิ๊บ ว่ากระโดด ต่อยปั๊บ ดังป๊าบ เสือร้องปิบเปิ๊บ แมวร้องป๊าว เป๊ะๆ อาแป๊ะ ทำโป๊ะ ๚ะ

๏ ร้องอ๊อ อื๊อ เอ๊ แอ๊แห้ โอ๊ อ๊ะ ดังอั๊ก เสียงอึ๊ก เซยเอ๊ก ดังแอ๊ก ร้องโอ๊ก นกร้องอ๊อก ไก่ร้องเอี๊ยก กลืนเอื๊อก เรอเอิ๊ก นายอ๊อด ลั่นเอี๊ยด เต็มอึ๊ด ร้องอ๊อบ ร้องเอ๊ะ ๚ะ

๏ คำไม้ตรีจบแต่เท่านี้ ๚ะ

----------------------------

๏ คำไม้จัตวาเรียงตามอักษรดังนี้ ๚ะ

๏ อาก๋อ เก๋งก๋า กี๋ตั้งโต๊ะ อากู๋ เดินเก๋ เถ้าแก๋ ไก๋เก๋อ ขนมโก๋ เก๋า ว่าลิง โดนกั๋ง ร้องเก๋ง ก่อเก๋ง ก๋วยเตี๋ยว หงอยก๋อย ๚ะ

๏ ทำหน้าจ๋อ ขานจ๋า วิ่งจี๋ จีนจู๋ แดดแจ๋ ปลาเจี๋ยน จ๋ง จังจ๊ะ โจ๋งถิ่ง นายจ๋อง หน้าจิ๋ว นางแจ๋ว หน้าจ๋อย จับเจี๋ยว ทำปั้นเจ๋อ จั๋ว วันจื๋อ ๚ะ

๏ ดูดู๋ สักประเดี๋ยว ๚ะ

๏ บ้อต๋อ จู๊ยตี๋ เจี๊ยแต๋ ต๋ง ติ๋งติ่งติ้ง คุยบ๋อ ดำปิดปี๋ เมาเป๋ ขาเป๋ เนียมแป๋ ผมไป๋ นายโป๋ กระเป๋า นายปั๋ง ปาปัง ขาดปึ๋ง ร้องป๋องเป๋ง หล่นปุ๋ม ๆ ขาดปุ๋ย นายเป๋อ หน้าเป๋อเหล๋อ ๚ะ

๏ แทงอ๋อ ร้องอ๋า ร้องอี๋ ขนมอี๋ ร้องอึ๋ ร้องอือ จีนอู๋ จ๊ะเอ๋ ร้องโอ๋ ใบตั้งโอ๋ เอ๋าเหลง ร้องอ๋ะ นายอั๋น แพรปกเอี๋ยน แต๊ะอั๋ง จีนอ๋อง น้องเอ๋ย โอ๋ย นายอ๋อย เอ๋อ เอ๋ะ ๚

๏ วิ่งกร๋อ เสียงแกร๋ นอนโกร๋ ใบไม้โกร๋น ๚ะ

๏ บินปร๋อ วิ่งปรื๋อ เสียงแปร๋ ช้างร้องแปร๋น ปรั๋งประ ๚ะ

๏ จบคำใช้ไม้จัตวาเท่านี้ ๚ะ

----------------------------

๏ อักษรควรใช้ไม้ ๘ ชักเปนคำสั้นเหมือนคำเหล่านี้ ๚ะ

๏ ดังแก็ก สะเก็ด เก็บไว้ ๚ะ

๏ เกิดเข็ญ ด้ายสองเช็ด เข็ดหลาบ ปักเข็ม สนเข็ม ๚ะ

๏ ลำเค็ญ สังเค็ด เค็จฉาเค็จฉะ ทางท่อง ฯะ

๏ เง็น เงิน็ กินเง็ก แง็ก บีบเสียแง็ดเดียว เจ็ดวัน เจ็บแสบ ๚ะ

๏ เช็กชัน เช็ดล้าง ๚ะ

๏ น้ำกระเซ็น เจ้าเซ็น ไม้เซ็น แส้เซ็ง ร้องออกเซ็ก ๚ะ

๏ กระเด็น ไม้เต็ง เด็กๆ เสด็จ ขาดเด็จ สมเด็จ เผด็จ ๚ะ

๏ โฮเต็ล เบาเต็ง ใส่ไม่เต็ม ๚ะ

๏ คำเท็จ ไม้คะเน็ด ตกเบ็ด เบ็ดเสร็จ เขบ็จขบวน ๚ะ

๏ หากเป็น เป็ด ๚ะ

๏ วันเพ็ญ บำเพ็ญ สำเพ็ง นายเพ็ง แหวนเพ็ชร เพ็ดไม้ เมืองเพ็ชรบุรี ๚ะ

๏ พวกเม็ง เม็ดใน เวลาเย็น สำเร็จ ๚ะ

๏ แลเล็ง ใหญ่เล็ก มหาดเล็ก กำปั่นเหล็ก ตับเหล็ก ลอดเล็ด เรียงเล็ต ตัดเล็บ เล็บเต็อแนนต์ และเล็ม ล่าเล็ม ๚ะ

๏ เว็จ จะเหว็จ นายเส็ง ใบเสร็จ เส็บเต็มเบอร์ ๚ะ

๏ แลเห็น เก็บเห็ต ลูกเอ็น เส็นเอ็น เสียงเอ็ด เอ็มเปรอ ๚ะ

๏ เสื้อกุยเฮ็ง หมูแฮ็ม ๚ะ

๏ จบคำไม้ ๘ เท่านี้ ๚ะ

----------------------------

๏ อนึ่งเครื่องหมายที่ใช้ในอักษรไทยมีหลายอย่าง กุลบุตรควรสังเกตจำให้รู้ทั่วถึง ไม้ตีนกา ๋ นี้ แต่โบราณมา ใช้เปนไม้โทอย่าง ๑ นักปราชภายหลังจัดเปนไม้จัตวา สำหรับชักเสียงสูง ในอักษรกลางอย่าง ๑ ใช้กาหมายอักษรที่เขียนตกเขียนพลั้ง เหมือนว่า ข้าพเจ้านายพุดเปน ๋บุตร นายเพ็ง เช่นนี้อย่าง ๑

เครื่องหมายรูปอย่างนี้ ฯ สำหรับใช้ไปยาล ในคำว่า ทูลเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ กรุงเทพฯ พณฯ เปนคำย่อย่นไว้ เมื่ออ่านต้องอ่านเต็มความ ทูลเกล้าฯ อ่านว่าทูลเกล้าทูลกระหม่อม โปรดเกล้าฯ อ่านว่าโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กรุงเทพฯ อ่านว่า กรุงเทพมหานคร พณฯ อ่านว่า พณหัวเจ้าท่าน อย่างนี้ก็มีที่ใช้มาก ๚ะ

คั่น ๚ อย่างนี้ สำหรับใช้ที่สิ้นข้อความตอนหนึ่ง ๚ะ ที่ใช้วงไว้บางแห่งต้องการอ่าน บางที่เขียนผิดไปวงเสียไม่ต้องการอ่าน เหมือนคำว่าตัว (ก) ควบกับตัว (ล) อย่างนี้ต้องการอ่าน แต่วงไว้เปนที่สังเกตให้รู้ว่าเปนตัวแปลก ที่วงเสียไม่อ่านนั้น คือเขียนคำเกินไปบ้างเขียนผิดความไปบ้าง วงทิ้งเสียไม่อ่าน เหมือนคำว่า ข้าพเจ้านายสี่พี่นายสน มาให้การต่างฟ้องแก่ท่าน (ตระลาการ) ขุนศรีธรรมราช ใจความว่า ๚ เช่นนี้เปนตัวอย่าง ๚ะ

----------------------------

๏ สังโยคไวพจน์ทั้ง การันต์
สามเรื่องเรียงรวมกัน เล่มนี้
เพียรคิดรวบจัดสรร สาวสืบไว้นา
ใดคลาดปราชโปรดจี้ จดแต้มเติมเขียน
๏ ตรีจัตุไต่คู้ควบ กับคำ
คิดเพิ่มเติมประจำ ท่อนท้าย
หมั่นดูจวบเดียงสำ เหนียกแม่นไม้เฮย
คำเปลี่ยนแปลกคล้ายๆ อย่าเคลิ้มคลำฉงน
๏ อนุสาศน์สอนเสร็จสิ้น สารแสดง
จำแนกจำนงแจง แจกไว้
คลี่คลายบ่เคลือบแฝง เผยแผ่
เพื่อส่ำกุมารได้ เล่ารู้ดูเขียน ๚ะ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ