จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

๑) วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๐ เวลาเช้า ๒ โมง ๓๕ นาฑี ลงเรือออกจากท่าพระ เรือไฟลากเรือพ่วง ๖ ลำ เช้า ๕ โมง ๔๕ นาฑี ถึงวัดปรมัย จอดเรือกินเข้า

เวลาบ่ายโมงกับ ๔๕ นาฑีออก เวลาย่ำค่ำครึ่งหยุดจอดนอนที่วัดบางคล้า ในแม่น้ำแควสีกุก

๒) วันที่ ๑๘ ออกจากวัดบางคล้า เวลาเช้า ๔ โมง ที่ออกสายไปเพราะพระสถิตย์ให้เรือกลับไปเอาของที่บางกอก พึ่งมาถึง เวลาย่ำเที่ยง ๒๕ นาที หยุดกินเข้าที่วัดบางปลาหมอ เมื่อหยุดเห็นสูรจับครึ่งดวงแล้ว จะจับเมื่อไรไม่ทราบ เพราะกำลังเรือเดินไม่มีที่ดู แลเครื่องดูก็ไม่มีด้วย ออกจากวัดบางปลาหมอ บ่าย ๒ โมง ๑๕ นาที ถึงวัดป่าโมกเวลาทุ่มหนึ่งกับ ๔๐ นาทีจอดนอน

๓) วันที่ ๑๙ เช้าขึ้นดูวัด ในพระอุโบสถ มีจาฤกว่าดังนี้ :–

๏ ศุภมัสดุ ๒๒๗๑ ศก อัชสงงวัดฉระวิศาคะยะมาตศุคปักษอัถมีดิดถีจันทวาล พระบาทพระศรีสรรเพช สมเด็จเอกาทศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว พระเจ้าประสาททอง พระเจ้าช้างเมิยมพระเจ้าช้างเผือก ทรงทศพิธราชธรรม กอปรด้วยพระเดชฤทธิสิทธิ์ศักกิษฤษดิรักษสังหารวิศาลวิสุทธอุดมํบรํมจักรพรรดิษรธระธรรมิกราชาธิราชอันประเสีรดิ์ เสด็จพระราชดำเนิรตริธานรานิกรวรมุขมนตรีพิริโยธา ขึ้นมายกชลอพระพุทธไสยาศน์ ณ อารามตำบลป่าโมขซึ่งจะเถิ่งแก่อุทกอันตรายขึ้นมาจากฝง่งคงคา สิ้นมรรคาสี่เส้นสี่วา จึ่งให้ถาปนาพระมหาวิหารพระพุทธไสยาศน์ไว้ ณะ โบรานาวาศอันชื่อวัดตลาดในสถานที่นี้แล้ว จึ่งมีพระราชโองการมานพระบันทูลว่ารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมส่งงแก่พระราชสงครามว่า พระวิหารเก่าอันโบราณถาปนาไว้ในอารามวัดตลาดนี้ ฝาผนังแล หลังคาพระวิหารนน้นทำรุททรุดโทรม และพระพุทธรูปในพระวิหารนนั้นเสร้าหมองนัก และให้เร่งฤ้ๅพระวิหารนน้นลงจ–ให้ถาปนาเปนพระวิหารอุโบสถไว้สำหรับพระสงฆ์กทำอุโบสถานิกำม์สืบไปในอนาคตกาล และครั้นฤ้ๅพระวิหารเก่านน้นลงสำเร็จแล้ว ครั้นถึงอัชสงงวัดฉระเชษถมาตกาลปักษปัญจมิดิดถี อาทิตยวาลเพลารุ่งเก้านาลีกา ๗ บาด กอปรด้วยศุภนักขัตสกุณนิมิตรอันประเสรีดิ์ จึ่งพระบาท สํมเด็จบรมนารถบรํมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จแรกถาปนาพระมหาวิหารอุโบสถนี้แล้ว จึ่งมีพระราชโองการมาลพระบันทูลดำรัสสง่งแก่เจ้าพญาศรีธรรมธิราชแลพระศริมโหสถ ให้ทำเปนพระดำราจาริกลงในแผ่นสีลาไว้ในพระมหาวิหารอุโบสถนี้เพื่อจะให้เปนประโยชน์แก่พระภิขุสงฆ์อันเปนพระพุทโธรศให้จำเริญในพระสาศนาสืบไปตราบเท้า ๕๐๐๐ พระพรรษาว่า พระสงฆ์อันจกระทำอุโบสถาทิกำม์ในพระมหาวิหารอุโบสถนี้ ถ้าและพระสงฆ์ผู้เปนอธิการ แลพระสงฆ์อันเปนอันดับในอารามนี้ก็ดี แลพระสงฆ์ ณ อารามอื่นแลจมากทำอุโบสถานิกำม์ในอารามพระพุทธไสยาศนนี้กดี ให้ประพฤติตง้งอยู่ในจตุปาวิสุทสินตามพระวิไนยบันยัตติ์ แลประนิบัตเปนเอกจิตรเอกฉันทพร้อมกันตามพุทโธวาท จึงให้กทำอุโบสถาทิกำม์ในพระมหาวิหารอุโบสถหลวงนี้ ถ้าและสงฆ์รูปใดแลมิได้ทำตามพระวิไนยพระพุทธเจ้าบันทูลแลรู้ในใจเองแล้ว อย่าได้เข้าในพระวิหารอุโบสถหลวง ณ อารามนี้ตราบเท้า ๕๐๐๐ พระพรรษา ถ้าและพระสงฆ์รูปไดสำเร็จกิจแล้วใส้ให้ตรวจน้ำสิโนทกถวายพระราชกุศลจงทุกวันอุโบสถนนั่น ๚๛

จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

กับได้ถ่ายลายเสาโบสถ์พระนอนมาด้วย เปนลายฉลุแบบทรงเข้าบินกนก เปนทีว่าเทพประนม อยู่ในกระดาษแก้วเก็บไว้ต่างหาก

วัดป่าโมกนี้ สร้างเมื่อจุลศักราช ๑๐๙๐ ในแผ่นดินท้ายสระ ถึงปีนี้ (จุ ๑๒๖๓) มีอายุ ๑๗๓ ปี มีการก่อสร้างเก่า ๓ หลัง คือ – พระวิหารอุโบสถหลังหนึ่ง หลังคาสองชั้นเครื่องประดุ มีเพิงหน้า มีหินจาริกอักษร (เหมือนข้างหน้า) อยู่ขวาประตู ตัวไทยเก่าคล้ายย่อที่ปีน แต่ไม่มีหนามเตย พระในโบสถ์ใหญ่แต่ไม่งาม ๆ วิหารพระพุทธไสยาสน์หลังหนึ่ง หลังคาสองชั้นเครื่องประดุ มีเพิงหน้า องค์พระยาว ๑๒ วาเศษ (พระครูป่าโมกบอก) ผ้าทิพที่ถ่ายมานี้อยู่ที่หมอนหนุนพระเกษ ด้านหลังมีซุ้มลายปั้น พระครูบอกว่าเดิมมีแผ่นศิลาจาริกเหมือนในวิหารอุโบสถ แต่มีคนมาลักทำลายด้วยคิดว่ามีเงินข้างใน หินแตกป่นหมด การนานมาแล้ว ทวยที่ถ่ายมานี้ ถ่ายจากวิหารนี้ วิหารอื่นก็เช่นกัน แปลกที่บากกนกบ้างเล็กน้อย ฯ วิหารเขียนอีกหลังหนึ่ง ทำทำนองเดียวกับวิหารอื่น แต่เปนของซ่อมใหม่เสียแล้ว คงเเต่ทรงเท่านั้น ที่เรียกวิหารเขียน เพราะเขียนข้างใน เปนเรื่องชาฎก ฝีมือราวแผ่นดินพระนั่งเกล้า, ฤๅพระจอมเกล้า, ข้างในมีพระปาลิไลยองค์นิดหนึ่ง กับพระอื่นด้วย พระครูป่าโมกบอกว่าวิหารนี้ ผู้เถ้า กล่าวว่าเปนตำหนักเจ้าแผ่นดิน (ท้ายสระฤๅบรมโกษ ?) แล้วจึงมาแปลงเปนวิหาร ดูชอบกลอยู่หน่อยที่พระไม่สมโบสถ์ แลว่าบานมุกที่เอาลงไปไว้ที่วิหาร ๓ อย่าง คือ – ๑) พระบาท ๔ รอยทำด้วยศิลา อยู่ในมณฑป แต่เดี๋ยวนี้แก้เปนวิหารเสียแล้ว ๒) เตียง ใหญ่เท่าพระแท่นแว่นฟ้า มีสิงห์ลูกแก้วบัวหงายหน้ากระดาน มีกระจังบัดตินยาน มีพนักมหวด พระครูป่าโมกว่าเดิมอยู่ในวิหารเขียน ภายหลังจึงยกมาไว้ที่การปเรียญ ถ้าเปนดังนั้น จะต้องว่าเปนพระแท่นบรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน จึงจะสมกับที่ว่าวิหารเขียนเปนตำหนัก ๓) มีรูปยักษยืนหน้าธรรมาศน์คู่หนึ่ง สลักดีลายดี ทีแปลกเก่ามาก ขอพระครูให้แล้ว ขากลับจะมาเอา ออกเรือเวลาเช้า ๔ โมง กับ ๓๔ นาฑี ถึงเมืองอ่างทองย่ำเที่ยง กับ ๒๐ นาฑี หยุดกินเข้า

เวลาบ่าย ๒ โมง ๕๗ นาฑีออก ถึงตำบลหลักฟ้าใต้ไชโย เรือไฟติด ต้องแจวไป จนเวลาย่ำค่ำ ๒๐ นาฑี ถึงวัดสระเกษไชโย จอดขึ้นไหว้พระแล้วนอนที่นั้น

เวลาค่ำประมาณ ๒ ทุ่มเศษรัปประทานอาหารอยู่บนศาลาหน้าวัดสระเกษไชโย นายพร้อม ภรรยาชื่อบุญ จอดแพค้าขายเสื้อผ้าแลด้ายอยู่หน้าวัดได้นำดอกไม้ธูปเทียนมาถวายตัวเปนมหาดเล็ก

อนึ่งได้ความจากผู้ใหญ่บ้านที่ไชโย ว่าเมืองเก่าร้างอยู่ชายป่าทางไปสุพรรณมีแห่งหนึ่ง ตำบลนั้นเรียกว่ากำหยาด

วันที่ ๒๐ เช้าไปเที่ยวฝั่งตวันออก ขึ้นที่วัดไชยภูม แล้วบุกไปเที่ยวตามไร่แลป่าละเมาะ พบพระเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง อยู่กลางป่าละเมาะ ไม่มีวัดเนื่องด้วย เหนจะเปนธาตุเจดีย์ สูงประมาณ ๓ วา มีสิ่งที่แปลกกว่าธรรมดา คือบัลลังก์เปนสิงห์ ได้เขียนถ่ายมา (ดูหน้าข้างหลัง) แล้วกลับมาเรือ ขึ้นไปหาปลัดเมืองสิงห์ ซึ่งเขามารับถึงเมื่อคืนนี้ เพราะตำบลไชโยนี้ เปนปลายแดนเมืองสิงห์ พูดจาปราไสยกันแล้ว เลยไปนมัสการพระใหญ่ในวิหาร แล้วกลับมาเรือ

เวลาเช้า ๓ โมง ๔๕ นาฑี ออกเรือจากวัดสระเกษไชโย เวลาเที่ยงแล้ว ๒๐ นาฑี จอดพักกินเข้าที่ศาลาวัดพรหมเทพาวาศ เขตรเมืองพรหม ฤๅวัดชลอนก็เรียก เจ้าอธิการบอกว่าเปนวัดพระพิมลธรรม (อ้น) สร้าง ในอุโบสถพระประธานจดหมายระยะทางไปพิษณุโลกเปนฝีมือพระองค์ประดิษฐ เจ้าอธิการว่าแต่เดิมพระองค์หน้าเปนพระประธานอยู่ เจ้าของเห็นเล็กไปจึงทำใหม่ ได้ตรวจดูพระองค์ที่ว่าเปนพระประธานเก่านั้น เห็นเปนพระเก่า หุ่นหล่อแกนะขี้รัก ฝีมือปั้นลายดี จึงได้จำลายผ้าทิพมาเขียนไว้ดูนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ที่จำมาเขียนไว้เพราะชอบใจสองอย่าง อย่างหนึ่งกรวยล่าง ลายเข้าเหมาะ เปนทีว่าชายกรุย กับลายลูกฟักก้ามปู เปนลูกฟักก้ามปูจริง ถูกกับชื่อ ในลูกฟักฝังกระจกขาว การที่ต้องตรวจพระองค์นี้เมื่อเจ้าอธิการบอกแล้วจึงเห็นของดีนั้น เพราะพระองค์นี้ห่มผ้าเห็นแต่พระเศียร เวลาบ่าย ๒ โมง ออกจากวัดชลอน ประเดี๋ยวหนึ่งก็ถึงอำเภอพรหม เขาปลูกปรำไว้รับ แต่หาได้แวะไม่

เวลาบ่าย ๓ โมง ๓๕ นาฑี ถึงเมืองสิงห์ แวะขึ้นเยี่ยมผู้ว่าราชการ แลดูเมือง เวลาบ่าย ๔ โมง ๑๐ นาฑี ออกจากเมืองสิงห์ แต่มาหยุดซื้อฟืนเติมเสียเหนือเมืองอีกหน่อย จนบ่าย ๔ โมง ๒๕ นาฑีจึงไป เวลาย่ำค่ำถึงบ้านสมรรคเรือไฟติด ต้องแจวไป ถึงวัดกดังงาหยุดผูกเรือไฟ ลากมาถึงวัดบ้านไร่เวลาทุ่ม ๑๕ นาฑี จอดนอน เวลาที่เดินเรือมานั้น ถูกฝนเล็กน้อยหลายพัก ครั้นเวลา ๕ ทุ่มเศษฝนตกหนาเม็ดอยู่จนเวลาเท่าใดไม่ทราบเพราะว่าหลับ

๕) วันที่ ๒๑ เช้า ๒ โมงเศษ ลงเรือเล็กล่องน้ำข้ามฟากไปขึ้นวัดสิงห์อยู่ฝั่งตวันตก ไม่มีอะไรเปนวัดอย่างเลว มีกฏิจากการปเรียญจาก จึงเดินเลียบฝั่งขึ้นไปเหนือน้ำ ๗๐ เส้น ถึงวัดยางแวะเข้าเที่ยว ได้นกดินปั้นตัวหนึ่งที่หลังโบสถ์ เปนของเก่าควรจำ เห็นจะเปนนาคปัก สังเกตไม่ได้ด้วยโบสถ์เก่าพัง โบสถ์ที่มีอยู่เปนโรงอุโบสถทำใหม่ พระสถิตย์ไปเที่ยวยิงนกกลับมา เอาเรือตามขึ้นมารับ ลงเรือออกไปเวลาเช้า ๓ โมงครึ่ง

เวลาเช้า ๔ โมง ๕๕ นาฑี ถึงเมืองอินทบุรี เลยไปไม่ได้แวะ

เวลาเที่ยง ๒๐ นาฑี ถึงวัดใหม่สุทธาวาศ อีกคนหนึ่งบอกว่าวัดเสือข้าม หยุดจอดกินเข้า เวลาบ่าย ๒ โมง ๑๖ นาฑี ออกไปถึงที่ว่าการอำเภอสรรพยา เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ แต่ไม่ได้แวะขึ้นไปเลยมาถึงเมืองไชยนาทเวลา ๑ ทุ่ม ๕ นาฑี เวลาที่เดินเรือมานั้นฝนตกประปรายมาจนถึงเมืองไชยนาท ได้ขึ้นไปบนปรำที่พัก ทักถามผู้ว่าราชการเมือง แล้วผู้ว่าราชการเมืองกลับขึ้นไปครู่หนึ่งฝนจึงขาดเม็ด พักนอนอยู่ที่นี้

๖) วันที่ ๒๒ เวลาเช้า ๒ โมง ขึ้นเดินตามถนนขึ้นไปเหนือน้ำ จนถึงโรงไปรสนีย์โทรเลข ขึ้นดูโรงไปรสนีย์โทรเลข แลได้ตกลงกับพระยาสุริยพิไชย ว่าเวลาเมื่อที่ว่าการเมืองได้ตั้งขึ้นแล้ว จะย้ายออฟฟิศไปปลูกใหม่ในหมู่ที่ว่าการเมือง ดูแล้วกลับมาบ้านพระยาสุริยพิไชยครู่หนึ่ง แล้วลงเรือไฟไปขึ้นดูวัดพระบรมธาตุใต้เมืองลงมาคุ้งหนึ่ง อยู่ฝั่งตวันตก วัดนี้เปนวัดเก่า มีพระธาตุเล็กสูงประมาณ ๔ วา รูปเปนหน้าบรรพ์ชั้นสิงห์อย่างปรางค์ ฐานสองชั้นเปนฐานบัลลังก์ องค์เปนต่อมน้ำ ยอดมีบัวกลุ่มดอก ๑ แล้วมีปลี พุ่มเข้าบินเปนรุ่มร่ามไม่เข้าแบบ แปลว่าเปนของใหม่ คนไม่เปนทำ หลังพระธาตุมีแผ่นศิลาจาฤกหนังสือขอม แปลร้อย มีใจความว่า – มหาพัทธะ (วัดอะไรไม่เห็นถนัดได้) ในเมืองไชยนาท มาไหว้พระธาตุ ได้คิดอ่านจะปฏิสังขรณ์ จึงไปเรียนแก่เจ้าทิพมน แลทำการปฏิสังขรณ์เสร็จถึงกำหนดปิดทอง จึงไปบอกเจ้าทิพมน เจ้าทิพมนจึงขึ้นมาปิดทองพระบรมธาตุ ณ วัน ๖ ๗ ค่ำ ปีรกานพศก พระพุทธศักราช ๒๒๖๐ จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก**พระวษา ตอนตรงนั้นสิ้นทองเท่านั้น ฯลฯ – จะคัดลเอียดไม่ได้ เพราะหนังสือมาก ทั้งแลไม่ใคร่เห็น จะต้องเสียเวลาวันยังค่ำ พระยาสุริยพิไชยรับว่าจะคัดให้ เมื่อคิดหักพุทธศักราชเปนจุลศักราช ๑๐๗๙ ตกในแผ่นดินขุนหลวงท้ายสระ ถึงเดี๋ยวนี้เปน ๑๘๔ ปี มีรฆังอีกใบหนึ่งจาฤกไว้ที่ปากเปนอักษรไทยอย่างวัดป่าโมกว่า – ศุภมัศดุ พุทธศักราช ๒๒๗๐ ปี กับ ๒ เดือน กับ ๒๘ วัน ในวัน ๓ ๑๔ ๘๘ นักสัตวสำฤทธิศก – แก่กว่าวัดป่าโมกปี ๑ อนึ่งโบสถ์วัดนี้เปนโบสถ์เก่าเครื่องประดุ แต่ซ่อมแซมใหม่ วิหารก็เหมือนกันไม่มีสิ่งดีที่ควรจำ แต่ก็ไม่เสียเปล่า มาจับได้ว่านกที่เอามาจากวัดยางเมื่อวานนี้ เหนจะเปนหัวช่องพนักหน้ามุข ดังเช่นที่เขียนไว้นี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ที่วัดนี้เขาทำเปนนาค แต่คนไม่เปนปั้นซ้ำเสียแล้ว ที่วัดโน้นก็มีพนักเช่นเดียวกัน แต่จับไม่ได้เพราะพัง ถ้าเปนการถูกดังเดา นกนั้นต้องเปนมังกร จึงจะมีตัวยาวทับหลังพนักไปได้ นี่เปนวิธีมาจากเขมร ที่พนักเปนนาคเลื้อย ดูแล้วกลับลงเรือมาปรำที่พัก ออกเรือไปต่อไปเวลาเช้า ๔ โมง ๕๐ นาฑี เวลาเที่ยงอยู่ในกลางทางฝนตกมาก อนึ่งลืมจดไป เมื่อขึ้นดูวัดพระบรมธาตุ เอาโคมปรุดินปั้นมา ๒ ใบ จะไปฝากกรมหลวงประจักษใบหนึ่ง เวลาบ่ายโมง ๓๕ นาฑีถึงธรมามูล หยุดจอดกินเข้า แล้วขึ้นเขาวัดธรมามูล วัดนี้อยู่ที่ไหล่เขา แปลนวัดมีกำแพงแก้วรอบ หน้ามีโบสถ์ เปนโบสถ์โถง เสาอิฐหลังคาเครื่องประดุ มุงกระเบื้องกูบ พระประธานเปนพระหล่อแบบข้างแม่น้ำนครไชยศรี คือทีเขมรมีกรอบหน้า เสมาหินทรายแดง ดอกไม้กนก ถัดโบสถ์มาข้างหลังมีศาลาเจ๊ก ต่อศาลาเจ๊กเปนวิหาร เช่นเขียนแปลนไว้นี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

๑) พระธรรมจักร เปนพระยืนผลักมือขวา กลางใจมือมีตราบัว เรียกว่าตราธรรมจักร พระนี้ทำด้วยอิฐปูนก่อติดกับฝามีครึ่งซีก เปนพระฝีมือเก่า แต่ทีหลังในโบสถ์ ในการตีตราธรรมจักรไปคนละอันสองอันนั้น ทำให้มือพระหักต้องเอาเหล็กทำหลักค้ำไว้ ตราธรรมจักรรูปร่างอย่างนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก (๒) พระบาททำด้วยศิลา ลายลักษณ์สลักโปนรูปกลมตามวงจักร ศิลารอยพระบาทแผ่นนี้เก่ามาก (๓) บันไดขึ้นวิหารใหญ่ชั้นใน ในวิหารชั้นในนี้มีพระใหญ่นั่งองค์หนึ่ง แลมีพระเล็ก ๆ มาก ประมาณไม่ถูก ท้ายวิหารไม่สู้แน่ตามแปลน เปนแต่เขียนเดา จะเข้าไปดูให้ถึงเหม็นขี้ค้างคาวนัก ข้างนอกก็รก แลเหนไม่มีสิ่งสำคัญอะไร จึงมิได้พยายามที่จะดู หลังวิหารนี้มีพระเจดีย์ใหญ่ มีฐานประทักษิณ มีพระเจดีย์เล็กล้อม พระเจดีย์เหล่านี้รูปไม่งาม รฆังคอหลิม ๆ ดูแล้วกลับมาลงเรือ

เวลาบ่าย ๓ โมง ๓๔ นาฑี ออกเรือไป บ่าย ๕ โมง ๒๔ นาฑี ถึงคุ้งตเภา เขาปลูกปรำไว้รับ แต่ไม่ได้แวะ ที่นี้คืออำเภอมโนรมณ์ ที่ว่าการมาตั้งที่นี้ มีบ้านมาก เวลาบ่ายฝนตกหนาเม็ด

เวลาย่ำค่ำ ๓๐ นาฑีจอดเรือกินเข้าที่แพลอยหน้าวัดศรีเจริญคงคาราม มีผู้ใหญ่บ้านแลลูกบ้านมาจัดการจุดไฟที่หน้าวัด แต่ตะเกียงที่ใส่น้ำมันจุดไฟของผู้ใหญ่บ้านนั้นกระทำด้วยไม้ไผ่เขียวตัดขังข้อใส่น้ำมันดังตัวอย่างนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก เวลาที่กินเข้าอยู่นั้นฝนตกหนักอยู่ประมาณ ๓ ทุ่มเศษฝนจึงซา

๗) วันที่ ๒๓ พฤษภาคม เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๕๕ นาฑี ลงเรือเล็กไปขึ้นหาดเกาะศิลาดาน เดินเล่นสุดเกาะก็ลงเรือพายข้ามฟากไปขึ้นฝั่งแม่น้ำข้างตวันออกเหนือวัดท่าขอม แล้วเดินตามทางริมฝั่งน้ำบ้าง ลึกหน่อยบ้าง เข้าหลังเกาะเทโพไปออกหัวแหลม ตำบลบ้านต้นไซร ดูที่เขาเตรียมจะทำพลับพลา มีดงมม่วงที่น่าอยู่สบายดี แล้วเดินเลยไปจนถึงวัดใหญ่เข้าวัดก็พอเห็นยานมาศหักทิ้งอยู่ข้างกฏิพระ ฐานสิงห์สองชั้น แล้วหน้ากระดานบัวหงาย ข้างบนมีกงมีพนัก มีคานพร้อม เปนของเก่าทรงงาม ถามพระว่าสำหรับหามอุปปัชฌาลงโบสถ์เวลาบวชนาค แลว่าของนี้อยู่มานานแล้วในวัดนี้ เมื่อครั้งพม่ามาตีกรุง มาถึงวัดนี้ได้เหนยานมาศนี้งาม เข้าใจว่าหุ้มทอง เอาดาพฟันลงที่กงพิสูทธดูเห็นว่าเปนไม้ปิดทองก็เลยไป รอยดาพยังมีปรากฏอยู่ที่กง เรื่องราวอันนี้จริงเท็จอยู่แก่ผู้กล่าว แต่น่าประหลาดที่มามีของงามอยู่ที่นี่ ไม่สมกับวัดที่จะมีของอย่างนี้ เพราะวัดอยู่ข้างเลว ได้ให้ช่างทหารในของเรา (พระวิสูตรโยธามาตย์ ซึ่งขึ้นมาด้วย จะไปทำพลับพลาที่มณฑลพิษณุโลก) ถอดออกเปนชั้น ๆ เพื่อบันทุกลงเรือ เว้นแต่คานละไว้ เพราะไม่ตกลงกันที่จะเอามา ว่าไม่สำคัญ แล้วได้ไปดูโบสถ์ โบสถ์นี้เล็กแลทรงอย่างเลว ไม่มีอะไรน่าดู มีแต่สิ่งหนึ่งซึ่งทำให้ใจแน่เข้า ในการที่ทำฐานสิงห์รับเสาเปนของไม่ขัด ในโบสถ์มีพระหลายองค์เปนอิฐปูนไม่น่าดู มีพระทรงเครื่องเล็กหล่อ เครื่องทำด้วยทองเหลืองแผ่นตัดตัวแล่นซ้อน อย่างเช่นเคยเห็นที่วัดโบสถ์ ตำบลสามเสนกรุงเทพ ฯ องค์หนึ่ง ได้เก็บเอามาด้วย ขุนอาทรเอาพระขัดสมาธิมารวิไชยมาองค์หนึ่ง เปนพระหล่อเล็ก ฝีมือพวกศุโขไทย ส่วนพระสถิตย์ขึ้นเที่ยวยิงนกที่หลังวัดศรีเจริญคงคาราม (ชื่อธรรมดาเรียกวัดตาแผ้ว) กลับมาแล้วถอยเรือตามมาหยุดรับที่วัดใหญ่ จึงกลับลงเรือ ขนยานมาศลงบันทุกเรือ เวลาเช้า ๔ โมง กับ ๕๐ นาฑี ออกเรือไป เมื่อล่วงมาแล้วจึงมาเกิดเสียดายคานขึ้นมา ว่าถ้าเอาไปด้วยดีกว่า จึงทำใจไว้ว่ากลับมาจะมาแวะเอา เวลาเที่ยง ๗ นาฑี ฝนตกอยู่ ๘ นาฑีหยุด ถึงบ้านท่าน้ำอ้อยเวลาเที่ยง ๑๕ นาฑี จอดหยุดกินเข้า

เมื่อหยุดจอดที่นี้ มีเรื่องปลาดได้รู้อย่างหนึ่ง คือยายแก่ชาวบ้านมาหา สนทนาอะไรกันต่างๆ แล้ว แกถามข้าวครัวพ่อ ค่าของแกหาเข้าใจไม่ จึงได้ถามแกว่าขรั่วพ่ออะไร แกว่าขรัวพ่อเงิน จึงบอกกับแกว่าไม่พบ แลถามแกว่าไปไหน แกว่าไปกรุงเทพ ฯ ถามว่าไปทำไม แกจึงเล่าให้ฟังว่าขรัวพ่อได้ทุกข์ คือไปบวชนาคเขา มาถึงคุ้งตเภา พวกกรมการเรียกให้แวะ ขรัวพ่อไม่แวะ กรมการจึงด่าแลด่านั้นไม่รู้จักหยุด ขรัวพ่ออยากจะรู้ว่าเหตุไรจึงด่าไม่หยุดก็แวะเข้าจอดที่วัดขี้เหล็ก แลถือเทียนออกมาถาม พวกด่าก็เอาอิฐประเคนลงไปถูกพุงขรัวพ่อแลลูกศิษย์ ลูกศิษย์จึงขึ้นตีกับพวกกรมการ ต่างคนต่างเจ็บ เขาจับไปให้ศาลพิพากษา ศิษย์คนที่ตีต้องพิพากษาให้จำคุก ศิษย์อื่นให้ปล่อยขรัวพ่อจึงต้องไปตาม แลขรัวพ่อก็ได้แก้เผ็ดอย่างดีเหมือนกัน คือยุกระบัตรเมืองมโนรมณ์ขี่ม้าใส่หมวกใส่เกือกเข้าไปในวัด พระออกห้าม ยุกระบัตรกล่าวขัดแขงว่าแต่ที่มณฑลกูยังขี่ได้ พระจึงจับยุกระบัตรไว้จะทำโทษ พวกยายแก่อุบาสิกาพากันขอโทษไม่สำเร็จ ท่านปลัดว่าเขาไม่เห็นแก่ขรัวพ่อจะไว้ใย จึงจับยุกระบัตรเฆี่ยนเสีย

เวลาบ่าย ๒ โมง ๒๐ นาฑี ออกจากบ้านน้ำอ้อยไป ถึงเมืองพยุหคีรีเวลาบ่าย ๓ โมง ๗ นาฑี ผู้ว่าราชการเมืองได้จัดทำปรำไว้รับแต่ไม่ได้แวะเลยไป ถึงตำบลบ้านตานิวเวลาย่ำค่ำ ๓๕ นาฑี หยุดจอดนอน แต่ไม่ได้นอน เพราะจอดฝั่งตวันออก ฝีพายไม่มีที่นอนด้วยไม่มีหลังคาอาไศรย กินเข้าแล้วเวลา ๒ ทุ่ม ๕๐ นาฑี ต้องถอยข้ามฟากไปนอนฝั่งตวันตก ด้วยมีบ้านเรือนพออาไศรยได้ คิดระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่วัดตาแผ้ว จนถึงบ้านตานิว วัดตามแผนที่ได้ ๙๕๐ เส้น

กำหนดระยะทางนี้ ควรจะจดให้รู้ทุกวันแต่ไม่ทันคิดได้ พึ่งคิดได้วันนี้ จึงจะจับจดย้อนต้นไปแต่ต้นทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะแผนที่ไม่ได้เอามา จะจดได้ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มา คือวันที่ ๒๑ ตั้งแต่วัดบ้านไร่ถึงไชยนาท ทาง ๑๑๙๐ เส้น วันที่ ๒๒ ตั้งแต่ไชยนาทถึงวัดตาแผ้ว ทาง ๘๓๐ เส้น

๘) วันที่ ๒๔ เช้าโมง ๑ กับ ๓๕ นาฑี ขึ้นหาดเกาะตานิว พบหลวงขจรจอดเรืออยู่ เลยพากันเดินขึ้นตลิ่งฝั่งตวันตก เลียบตลิ่งไปจนถึงโตรกพระ มีที่ว่าการอำเภอ เขาปลูกปรำไว้รับ เดินผ่านที่ว่าการอำเภอไปวัดโพธิ์ลังกา ท่านสมภารรู้จักออกต้อนรับ พาเข้านั่งในโรงเรียน ที่รู้จักเพราะเคยไปอยู่บางกอก วัดนี้ว่าเปนวัดเก่า แต่ไม่มีอะไรเก่า เขาว่าโบสถ์เก่าแลพระเจดีย์พังลงแม่น้ำหมด แลนายอำเภอว่าวัดทองอยู่หลังบ้านเปนวัดเก่า จึงเข้าไปดู เห็นหาเก่าจริงแท้ไม่ ไม่มีอะไรดูกลับมา พอพระสถิตย์เอาเรือตามมาถึงพอดี อำเภอโตรกพระนี้แขวงนครสวรรค์ ทางเดินวันนี้ ๒๒๐ เส้น ไปวัดทองไม่ได้นับ อำเภอประมาณว่า ๑๐ เส้น เวลาเช้า ๔ โมง ๑๙ นาฑี ออกเรือจากวัดโพธิ์ลังกา เวลาเช้า ๕ โมง ๓๓ นาฑี เรือติดที่บ้านหว้า ต้องเข็นอยู่ครู่หนึ่งจึงออกเรือต่อไป เวลาบ่าย ๑ โมง ๔๕ นาฑี ถึงมณฑลนครสวรรค์ ได้แวะจอดเรืออยู่ในปรำที่พักแล้วกินเข้าในปรำนั้น ให้เรือไฟไปซื้อฟืนที่ปากน้ำโพ เรือไฟไปติดหาด ต้องเข็นต้องอะไรกัน เลยช้า เวลาจนบ่าย ๔ โมงก็ยังไม่กลับมา พระยาราชพงษาก็หน่วงเหนี่ยวหนัก ที่จะให้ค้างที่นี่ ก็ต้องเลยตกลง เพราะจะไปก็ไม่ได้ถึงไหนแล้ว

เวลาบ่าย ๕ โมง ๒๐ นาฑี ลงเรือพระยาราชพงษาข้ามไปขึ้นฝั่งมณฑล พระยาราชพงษาจัดรถแลม้ามารับ ได้ขึ้นรถไปกับพระยาราชพงษาแลพระวิสูตร ไปดูปากน้ำโพ มีหมู่บ้านร้านตลาดตั้งอยู่เปนอันมาก ที่ฝั่งตวันตกของแม่น้ำปิง (แควน้อย) ร้านตลาดกำลังรื้อกจุกกจุยแลสร้างใหม่ ด้วยพระยาราชพงษาจัดการขยายถนนเปน ๔ วา เที่ยวดูร้านตลาดแลหมู่บ้านแล้ว เดินกลับมาพักอยู่ที่บ้านจีนสมบุญ เปนพ่อค้ารับสินค้าระหว่างกรุงเทพกับมณฑลพายัพ ตั้งอยู่หน้าวัดโพธาราม ที่หัวแง่ปากน้ำทีเดียว เหตุซึ่งมาพักที่นี่เพื่อคอยเรือ ซึ่งพระยาราชพงษาจัดมาจะรับไปดูทางน้ำ สักครู่ใหญ่เรือมาถึง จึงลงเรือแล้วขึ้นไปดูตามลำน้ำแควใหญ่ มีแพจอดอยู่มาก แต่ข้างฝั่งตวันตกมีแพมาก บนตลิ่งไม่มีบ้านเรือนนัก เพราะพื้นดินต่ำ ข้างฝั่งตวันออกมีแพน้อยเเต่บ้านเรือนมาก เพราะเปนท้องคุ้งน้ำแรง แลที่ดินพื้นสูง ในที่นี้ความหนาแน่นของบ้านเรือนพวงแพ ดูคล้ายคลองบางกอกน้อย (กรุงเทพ) เว้นแต่กว้างกว่าคลองบางกอกน้อยหน่อย น้ำในแควใหญ่นี้ลึกแลไหลอ่อนหน่อย แต่น้ำในแควน้อยตื้นแลไหลแรงมาก ดูลำน้ำไปจนอีก ๒ เลี้ยวจะถึงปากน้ำเชิงไกร เกือบสุดหมู่บ้านก็กลับ ให้เรือไฟมณฑลลากมา ถึงปรำที่พักที่เกาะเห็ดเวลาทุ่ม ๑ กับ ๕๐ นาฑี กินเข้าเย็นแล้วนอน

ระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่บ้านตานิวแขวงพยุห จนถึงที่พักเกาะเห็ด หน้าที่ว่าการมณฑลนครสวรรค์ เปนทาง ๕๔๐ เส้น

อนึ่งลืมจดไป เมื่อไปดูบ้านปากน้ำโพนั้น ได้แวะดูออฟฟิศไปรสนียโทรเลขด้วย ตั้งอยู่ติดวัดโพธารามข้างเหนือ เปนออฟฟิศฝากระดานมุงกระเบื้อง เล็กไม่พอการแลทั้งชำรุดโซเซเสียแล้วด้วย พระยาราชพงษาคิดจะย้ายมาทำที่ใหม่ข้างใต้ ใกล้กับตลาดที่คิดจะทำขึ้นใหม่กับโรงบ่อน ต่อที่ว่าการมณฑลขึ้นไปโทรเลขสายอ้าไหล่ หลวงขจรได้พาดูแล้วจากออฟฟิศนี้ ไปถึงบ้านตานิวที่พักเมื่อวานนี้ ปักเสาใหม่เดินฝั่งตวันตกตามความเห็นข้าหลวงเทศา แล้วจะข้ามที่พยุหะไปเข้าทางเดิม

๙) วันที่ ๒๕ ลาพระยาราชพงษาแล้ว ออกเรือไปเวลาเช้า ๓ โมง ๒๕ นาฑี ถึงปากน้ำโพเข้าแควใหญ่เวลาเช้า ๔ โมง ๑๒ นาฑี เวลาเช้า ๔ โมง ๔๗ นาฑี ถึงปากคลองบรเพ็ด ๔ โมง ๕๕ นาฑี ถึงปากน้ำเชิงไกร เวลาเที่ยง ๒๔ นาฑี ถึงบ้านดงสวาดหยุดจอดกินเข้ากลางวัน

เวลาบ่ายโมง ๕๕ นาฑี ออกเรือ ถึงที่ว่าการอำเภอพันลาน เวลาบ่าย ๒ โมง ๔๕ เขาปลูกปรำไว้รับ แต่ไม่ได้แวะ เลยไปอีก ๕ นาฑี ถึงคลองลัดราชพงษา พระยาราชพงษาขุดคลองลัด ตำบลบ้านพันลานนี้เมื่อก่อนหน้าน้ำนี้น้ำเดียวเดี๋ยวนี้กว้างถึง ๑๕ วา เรือเข้าในลัดได้เปรียบเวลาชั่วโมง ๑จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก บ่าย ๓ โมง ๓๒ ถึงวัดสิงหนารายน์ ใกล้ปากน้ำเกยไชย แวะขึ้นดูไม่มีอะไรไม่เปนรศ แล้วลงเรือเล็กไปในวัดบรมธาตุ ที่ปากน้ำเกยไชย ไม่มีอะไรไม่เปนรศเหมือนกัน เหตุที่แวะ ๒ วัดนี้ เพราะพระยาไชยนาทบอกว่า เสนาบดีมหาดไทยเสด็จมาทอดพระเนตรโปรด มาสอบถามตาอำเภอพันลานก็เลยกทุ้งว่าวัดเก่านักด้วย ที่จริงก็เก่าจริง แต่เก่าไม่เก่ง เวลาบ่าย ๔ โมง ๓๕ นาฑี ออกเรือไป เวลาบ่าย ๕ โมง ๔๒ นาฑี ถึงบ้านดงพิกุลเกือบปลายเขตรนครสวรรค์ หยุดจอดนอนที่นี้

ระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่เกาะเห็ดนครสวรรค์ ถึงบ้านดงพิกุล เปนทาง ๑๑๐๐ เส้น

วันนี้ได้ยินนกรวังไพร (เสือขบ) ร้อง ฟังชัดดีเสียงมีโน้ดดังนี้

จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

๑๐) วันที่ ๒๖ เวลาเช้า ๒ โมง ๑๓ นาฑี ออกเรือจากบ้านดงพิกุล เวลาเช้า ๕ โมง ๒๐ นาฑี ถึงบางมูลนาค แขวงพิจิตร หยุดจอดที่ปรำเขาปลูกไว้รับ แลขึ้นไปบนตลิ่ง เห็นมีคนแต่งตัวยุนิฟอม กางเกงน้ำเงินแก่ เสื้อสีเทา ใส่หมวกแก๊ปทรงหม้อตาล จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกจะนึกว่าทหารก็สงไสย ด้วยทหารเลิกแล้ว จะนึกว่าตำรวจภูธรก็เห็นยุนิฟอมแปลกมาก แลไม่ผึ่งผาย ครั้นขึ้นไปจึงถามนายอำเภอ ได้ความว่าเปนพวกกำนัลผู้ใหญ่บ้าน เส้นผ่านหน้าอก ๓ เส้นเปนกำนัล ๒ เส้นเปนผู้ใหญ่บ้าน เส้นเดียวเปนสารวัด ยุนิฟอมนี้ผิดกว่ามณฑลชั้นในมาก ขึ้นดูที่ว่าการอำเภอกำลังย้ายมาจัดตั้งทำการใหม่จากที่ว่าการเก่า ที่ทำการไปรสนีย์ก็รวมอยู่ที่นี้ด้วย หลวงชำนาญ นายอำเภอ ว่าจะสร้างออฟฟิศไปรสนีย์โทรเลขใหม่ในเร็ว ๆ นี้ แล้วไปดูวัดบางมูลนาค ไม่มีอะไร มีแต่พระบ้านหล่อ อันเปนการน่าประหลาดที่มาเที่ยวไกลมาก ออกจากวัดไปดูดงกล้วยข้างท้ายบ้าน ซึ่งนายอำเภอเห็นควรเปนที่ตั้งพลับพลา เวลาเที่ยงกลับมาแพพัก กินเข้ากลางวัน พอกินแล้ว พระยาเทพาเมืองพิษณุโลกมาถึงมาหา ได้นั่งสนทนากัน พระยาเทพาเอารูปพระชินราชมาให้ ๕ รูป รูปพระชินราชถ่ายต่ำรูป ๑ รูปพระชินราชถ่ายตรงรูปหนึ่ง รูปพระชินราชจำลองถ่ายตามที่ได้ปั้นแก้เปนลำดับไป ๓ รูป ได้ให้พระวิสูตรเดินขึ้นไปดูที่เหนือบ้านอีกตำบลหนึ่ง เผื่อจะทำที่ปลูกพลับพลาดีกว่าข้างท้ายบ้าน พระวิสูตรว่าดีกว่า มีต้นไม้หลายอย่างค่อยเปนที่ร่มเย็น จึงได้ปฤกษากันพร้อมด้วยพระยาเทพาตกลงเอาที่นั้น

เวลาบ่ายโมง ๔๐ นาฑี ลาพระจารุมัย ซึ่งเขาได้มาส่งแต่นครสวรรค์แล้ว ลงเรือออกจากบางมูลนาค (ฤๅเมืองภูม) เอาเรือพระยาเทพาพ่วงไปด้วย มาตามทางเห็นตเข้ ๒ ตัว เวลาบ่าย ๕ โมง ๕๑ นาฑี ถึงวัดไทรโรงโขนแขวงพิจิตร หยุดจอดเพื่อพักนอน เวลายังมีจึงขึ้นไปบนวัด ท่านสมภารมาสวดชยันโตรับ จึงแวะหาปราไสยท่านเล็กน้อย วัดนี้เปนวัดสร้างใหม่สิ่งปลูกสร้างแต่ล้วนไม้ไผ่ทั้งสิ้น อุโบสถไม่มี ใช้แพเปนโบสถ์นทีสีมา สิ่งที่น่าดูคือต้นไทรยที่เปนหลัก ชื่อไทรโรงโขน เปนต้นไทรต้นหลายต้น แต่กิ่งขึ้นเชื่อมติดกันหมด ดูประหนึ่งถ้ำน้ำย้อย ต้นเปนชั้นเชิงสลับกันดุจฉากโรงโขน จึงเรียกว่าไทรโรงโขน ค่ำกลับลงมากินเข้าแล้วนอน

ระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่ดงพิกุลแขวงนครสวรรค์ อำเภอพันลาน จนถึงบ้านไทรโรงโขน แขวงพิจิตร อำเภอภูม ทาง ๑๐๙๐ เส้น

๑๑) วันที่ ๒๗ เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๒๕ นาฑี ขึ้นเดินเล่น ตั้งแต่วัดไทรโรงโขนเลียบฝั่งตวันออก ไปจนถึงบ้านหาดแตงโม ทาง ๘๐ เส้น หยุดที่บ้านชาวบ้าน ให้เขาหั่นยาให้ดู แลแผ่ตากให้ดู เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๕๗ พระสถิตย์พาเรือออกไล่ไป ถึงบ้านหาดแตงโม เวลาเช้า ๒ โมง ๔๐ นาฑี เรียกให้หยุดลงเรือไปต่อไป ในแม่น้ำแควใหญ่นี้ หาสู้จะมีหาดเหมือนตอนแต่ปากน้ำโพลงไปไม่ ได้ยินนกร้องรวังไพรร้องอีก โน้ดผิดกว่าวันก่อน วันก่อนมี ๓ โน้ด วันนี้มี ๒ โน้ดจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก เวลาเช้า ๓ โมง ๓๐ นาฑี ถึงด่านตพานหิน มีดินตามขวางกลางน้ำ ทรายขึ้นพอกผสมเปนหาดขวางแม่น้ำอยู่ ๒ ตอน มีร่องเล็กริมตลิ่ง ต้องแก้เรือออกเสียบ้าง เพราะว่ายาวนักจะฟาดตลิ่ง พ้นแก่งแล้วจึงผูกเข้าพ่วงใหม่ เรือไฟลากต่อไป ครั้นเวลาเช้า ๔ โมง ๒๐ นาฑี ฝนตกหนาเม็ดหยู่ ๒๐ นาฑีจึงซา แล้วเมื่อเช้า ๕ โมง ๔๐ นาฑีตกอีกครู่หนึ่งจึงซา

เวลาเที่ยง ๕๒ นาฑี ถึงบ้านศิศะดง หยุดจอดกินเข้ากลางวันที่วัดศิศะดง ฝั่งตวันตกตรงบ้านศิศะดงข้าม วัดนี้เปนวัดไม้ไม้ ไม่มีอะไรมีแต่พระบ้านหล่อไฟไหม้ดำกองเปนพเนิน กินเข้าแล้วเวลาบ่าย ๒ โมง ๒๘ นาฑีออกเรือต่อไป เมื่อใกล้จะถึงที่ว่าการตกประปรายอีกจนถึงที่ว่าการเมืองพิจิตร เวลาย่ำค่ำตรงได้จอดเรืออยู่หน้าแพซึ่งผู้ว่าราชการเมืองจัดไว้สำหรับพัก เปนแพที่ทำเตรียมสำหรับเปนพลับพลา มีกรมการมาคอยหา ได้ขึ้นไปออกขุนนาง พระยาเทพานำให้รู้จักทั่วกัน ค่ำกินเข้าแล้วนอน

ระยะทางเดินเรือวันนี้ ตั้งแต่วัดไทรโรงโขน ถึงเมืองพิจิตร ทาง ๑๑๖๐ เส้น เห็นจรเข้ ๕ ตัว

๑๒) วันที่ ๒๘ เวลาเช้าโมงเศษ ขึ้นบกไปดูที่ทำพลับพลา ตกลงเอาบ้านยกระบัตกับผู้พิพากษา ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ว่าการเมืองกับตลาด แล้วดูตลาด กำลังทำใหม่ แล้วขึ้นม้าซึ่งพระยาเทพาจัดมานั้นไปบึงสีไฟ ลงเรือเล็กพายไปดูในบึง ดูเขาลงอวน แลดูเขาแทงปลา แลดูที่ปลูกบัว มีบัวมากแต่จมน้ำเสียมาก เพราะสนุ่นถูกลมพัดไปปะเสีย บัวที่ปลูกชาวบ้านว่ามี ๔ ชนิด เก็บได้สามคราว คราวที่ ๑ เปนบัวแก่เร็ว เรียกชื่อบัวสายลาด ขึ้นพอพ้นน้ำก็แก่เก็บได้ คราวที่ ๒ เปนบัวแก่ กลางเรียกชื่อบัวกระโดงไชย สูงน้ำมากจึงแก่ กับบัวกระโดงเตี้ย สูงน้ำประมาณศอกหนึ่งแก่เก็บได้ คราวที่ ๓ เปนบัวแก่ช้า เรียกบัวจีโบ ว่าหลุบเหมือนผมฝรั่ง เที่ยวยิงนกเก็บบัวซื้อปลาแล้วกลับมา ขี่ม้าอ้อมไปดูท้ายเมือง ถึงที่ว่าการศาลอำเภอแล้วเลี้ยวมาถนนหน้าเมือง หยุดที่วัดท่าหลวง แต่พระยาเทศามาตั้งชื่อใหม่ว่าวัดราษฎร์ประดิษฎาราม (โซด) เข้าไปดูในวัด กำลังพระครูวิจิตรเจ้าวัดลากเสามากองไว้จะทำการปเรียญ เสาไม้เตงถากแปดเหลี่ยมใหญ่เหลือเกิน ทั้งนี้ก็เปนปาฏิหารให้เห็นว่าคนนับถือมาก แลได้ไปดูพระขัดสมาธิเพชร ตั้งไว้ที่ศาลา พระยาเทพาบอกว่าเจ้าคุณเทศาเอามาแต่วัดนครชุมที่เมืองเก่า เดิมคิดว่าจะเอาลงไปทูลเกล้าฯ ถวาย แต่เห็นทองบาง จะขัดไม่ได้จึงพักไว้ พระองค์นี้เปนพระทรงสั้นพวกเชียงแสน ทรงก็เข้ากันสั้นพร้อมดี แต่ไม่สู้งามนัก พระยาเทพาว่าคนในเมืองเก่านับถือมาก สาบาลกันก็ฉเพาะหน้าขรัวพ่อเพชรองค์นี้เปนเชื่อได้ คนพิจิตรนับถือเท่าชาวพิษณุโลกนับถือพระชินราช เมื่อยกมาชาวบ้านร้องไห้รงมไป แล้วไปดูโบสถ์โกโรโกเตไม่มีอะไร แล้วไปเยี่ยมโรงเรียนมีเด็กมาก ออกจากวัดไปดูตราง มีนักโทษมานั่งอยู่หน้าตราง ผู้คุมเป่านกหวีดแต่ไม่เห็นเปนผลอไร แล้วต้องบอกว่าคุกเข่าพนมมือ จึงเข้าใจว่าที่เป่านกหวีดนั้น ตั้งใจจะให้คนโทษกระทำคำนับ ตรางสอาดดี ออกจากตราง ไปดูออฟฟิศโทรเลข แลดูที่ว่าการเมือง แล้วกลับที่พักเวลาเช้า ๔ โมง ๕๕ นาฑี พักอยู่ครู่หนึ่ง พอพร้อมกันเวลาเช้า ๕ โมง ๒๓ นาฑี ออกเรือจากเมืองพิจิตร เวลาบ่ายโมง ๑๙ นาฑี ถึงวัดท่าฬ่อ หยุดจอดกินเข้ากลางวัน

เวลาบ่าย ๓ โมง ๑๕ นาฑี ออกเรือจากวัดท่าฬ่อไป ครั้นเวลาบ่าย ๓ โมง ๕๔ นาฑี มาถึงที่บ้านดานเรือติดหาดอยู่ ๓ นาฑี จึงหลุดจากหาด ถึงตำบลย่านยาว เวลาบ่าย ๔ โมง ๒๘ นาฑี เรือติดหาดอยู่อีก ๒๕ นาฑี จึงหลุดผูกลากต่อไป

เวลาย่ำค่ำ ๓๓ นาฑีถึงวัดสนามคลีจอดนอน ระยะทางเดินเรือวันนี้ตั้งแต่ที่ว่าการเมืองพิจิตรถึงวัดสนามคลี ทาง ๖๔๐ เส้น ที่นี่ยุงไม่มี ด้วยฝั่งตลิ่งเปนทิวไม้ใหญ่ไม่มีพง เพราะเปนแม่น้ำเก่า ที่พิจิตรยุงชุม ด้วยริมตลิ่งเปนพงสูง เพราะเปนคลองขุดใหม่ เรียกคลองเรียง พ้นแม่น้ำพิจิตร (แควกลาง) มาแล้ว จึงค่อยมีทิวไม้ พงนั้นมีมาแต่ชุมแสงจนเกือบสิ้นแดนพิจิตร ในแขวงพิจิตรนี้ดินดีสำหรับเพาะปลูก เว้นแต่จะปลูกได้แต่ไม้ล้มลุก เพราะน้ำท่วม ไม้ที่เปนแก่นสารปลูกไม่ได้ ถึงที่ดินดีกระนั้นก็ดี ที่ก็ยังเปนป่าพงมากเพราะคนมีน้อย คนมีชีวิตรอยู่ในเรือมาก จอดเข้าที่ไหนก็ขึ้นปลูกกระท่อมที่นั้น แล้วก็ถางพงทำไร่ไปบ้าง ถูกกะเกณฑ์อะไรหนักเข้าก็ละที่นั้นเสีย ลอยเรือไปเที่ยวหาที่แผ่นดินใหม่ ที่เงียบ ๆ ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน ที่แผ่นดินช่างหาง่ายจริงๆ ไม่ต้องซื้อไม่ต้องจับจองไม่ต้องแย่งกัน มิใช่ที่เลวเปนที่ดีด้วย เพราะอำนาจคนไม่มีสมกับที่เท่านั้น

๑๓) วันที่ ๒๙ เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๘ นาฑี ขึ้นดูวัดสนามคลี เปนวัดไม่มีโบสถ์ ไม่มีอะไร แต่ไม่โทรมนัก สิ่งที่ก่อสร้างเปนไม้จริงมุงกระเบื้อง ตำบลสนามคลีเปนแขวงพิษณุโลกต่อกับพิจิตร วัดมีทั้งสองฟากตรงกัน เรียกวัดสนามคลีด้วยกัน ที่จอดเรือนี้จอดวัดฝั่งตวันตก ดูวัดแล้วเลยเดินเลียบไปตามทางริมลำน้ำบ้าง ลึกเข้าไปบ้าง ดูชาวบ้านเขาตำชัน ชันนั้นคือยางเตงรัง มันไหลออกมาเองตามธรรมดาของมัน กรังย้อยอยู่ตามต้น ไปแกะเอามาแล้วก็ตำให้ลเอียดเท่านั้น ขายกันชั่งละสลึง แล้วดูเขาทำน้ำมันยาง เขาขายกันปิ๊บละ ๖ สลึง ปิ๊บน้ำมันปิโตรเลียมเปนเครื่องตวง เดินต่อมาเห็นเขากำลังทำถนนใหม่ที่ริมน้ำ เอาไม้กระบอกทั้งลำบ้างซีกบ้าง ทอดเปนคันแล้วเอาไม้ไผ่ปักกันขุดดินข้าง ๆ ถมจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ไม่เปนของถาวรที่จะอยู่ไปได้หลายวัน ด้วยไม้ไผ่จะผุแลน้ำจะเซาะตลิ่งพัง ตลิ่งแถวเมืองเหนือนี้หวังไม่ได้ว่าจะเปนอย่างไร บางทีพังน้อย บางทีพังมากปีละวาสองวาก็มี เรือนพังลงน้ำไม่รู้ตัวเหมือนธรณีสูบที่อย่างเก่งตำบลดงชะพลู แขวงนครสวรรค์ ในฤดูน้ำพังวันละวาก็ได้ ที่งอกก็งอกมากเหมือนกัน ปีละ ๒ วา ๓ วาก็ถึง ไม่ใช่งอกเปนเลนอย่างบ้านเรา งอกสูงต่ำกว่าแผ่นดินเก่าสักศอกเดียวเท่านั้น ที่เปนเช่นนี้ก็เพราะอำนาจน้ำไหลแรง แลดินมีทรายปนร่วนหน่อย ไม่เหนียวเหมือนดินบางกอก เดินมาถึงวัดย่านยาว หยุดดูวัด ไม่มีอะไร แต่ไม่ใช่วัดอย่างเลว เปนเครื่องไม้จริงมุงกระเบื้องมาก พอได้ยินหลอดเรือไฟ รู้ว่าเรือตามมาแล้ว จึงลงมาคอยอยู่ท่าวัด พระสถิตย์ออกเรือตามมารับแต่เวลาเช้า ๒ โมง ๗ นาฑี พอถึงวัดย่านยาวรอเรือรับ จึงได้ลงเรือเล็กของพระมาขึ้นเรือใหญ่ เวลาเช้า ๒ โมง กับ ๕๑ นาฑี แล่นเรือต่อไป เดินเล่นวันนี้ แต่วัดสนามคลีถึงวัดย่านยาว ระยะทาง ๑๐๐ เส้น เวลาเช้า ๕ โมง ๕๖ นาฑี ถึงปากพิง เขาทำปรำไว้รับ หยุดจอดกินเข้ากลางวันที่นั้น ที่ตำบลนี้ มหาดไทยกะมาแต่กรุงเทพ ว่าให้ทำที่พลับพลาแรม แต่พระยาเทพาไม่เห็นด้วยว่ากระชั้น แต่ปฤกษากับพระวิสูตรว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่ตรงที่ทำปรำนี้ใช้ไม่ได้ด้วยเปนกลางทุ่ง แลน้ำก็วน พระวิสูตรจึงไปกับพระยาเทพาข้างเหนือน้ำ ด้วยเห็นมีต้นไม้ใหญ่ ไปเห็นที่เหมาะ เปนที่สูง อยู่ฝั่งตวันตก น้ำไม่ท่วม มีต้นมขามมม่วง อยู่ห่างตลิ่งประมาณ ๑๐ วา แลน้ำอับจอดเรือได้สบาย จึงตกลงเอาที่นี้ทำพลับพลา ได้สั่งกรมการให้ถางแล้ว

เวลาบ่ายโมง ๕๐ นาฑี ออกเรือจากปากพิงต่อมาถึงวัดสกัดน้ำมัน เวลาบ่าย ๕ โมง ๔๗ นาฑี จอดนอน ระยะทางเดินเรือวันนี้ตั้งแต่วัดสนามคลี ถึงวัดสกัดน้ำมัน ทาง ๙๘๐ เส้น ขึ้นไปคุยกับสมภารครู่หนึ่งแลมากินเข้าแลนอน

๑๔) วันที่ ๓๐ เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๓๔ นาฑี ขึ้นไปดูวัดสกัดน้ำมัน วัดนี้ค่อนข้างดี มีโบสถ์หลังหนึ่งกับวิหารหลังหนึ่ง อยู่ไกลน้ำประมาณ ๑๐ เส้น กุฎีแลการปเรียญอยู่ริมน้ำ ที่กุฎีกับโบสถ์ห่างกันมากนี้ เพราะตลิ่งงอก กุฎีต้องเลื่อนมาอาไศรยแม่น้ำ โบสถ์เปนของเก่า เดิมโถงเสาไม้เครื่องประดุ ภายหลังท่านอาจารย์สมภารเก่าปฏิสังขรณ์เปนฝาอิฐ วิหารดูใหม่กว่าหน่อย เปนฝาอิฐเครื่องประดุ ลายหน้าบรรพ์ตามช่องไม้ สลักเปนดอก ๔ กลีบ ดูก็ดีเหมือนกัน ง่ายกว่าลายกนก เหมาะสำหรับทำวัดบ้านนอกจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ที่ในโบสถ์มีหนังสือเรียนห่อใส่สาแหรก แขวนไว้กลุ่มหนึ่ง ห่อหนึ่งผ้าห่อเปนของเก่ามาก เนื้อผ้าเปนด้ายหยาบอย่างผ้าลาย ลายพื้นเปนทรงเข้าบินเทพประนม แย่งนาคพื้นแดง ขอบเปนลายลูกฟักก้ามปู เข้าใจว่าเปนผ้าเกี้ยวโบราณทำเมืองไทย อายุก่อนรู้จัก สั่งทำเมืองจีน ได้เก็บเอามาด้วย ลงเรือออกจากวัดสกัดน้ำมัน เวลา ๒ โมงเช้า ๓๙ นาฑี ไปพิษณุโลก

เวลาเช้า ๔ โมง ๔๕ นาฑี ถึงเมืองพิษณุโลก จอดที่แพหน้าที่ว่าการมณฑลซึ่งเขาจัดไว้รับ ระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่วัดสกัดน้ำมัน ถึงเมืองพิษณุโลก ทาง ๓๐๐ เส้น ขึ้นดูที่ว่าการมณฑล เห็นในห้องรับแขกมีของเก่า ๆ หลายอย่างซึ่งเขาเก็บมาจัดไว้ ที่ดีคือยักษ์ดินเคลือบ มีครึ่งตัว เครื่องผ้าพิฤกมาก จะต้องถ่ายมาดูเมื่อมีเวลา มีช่อฟ้าวิมานเคลือบ นาคปักเคลือบ อิฐเสี้ยวสำหรับก่อเสา มีตราประจำ คือ ตราช้างบ้าง ตราบัวกอบ้าง ตราบัวบานบ้าง ตรานกบ้าง มีศิลาจาฤกแผ่นหนึ่ง หนังสือขอมแปลร้อย จะคัดมาทีหลังเมื่อมีเวลา เวลาเที่ยง ๕ นาฑีกลับมาที่พัก

เวลาบ่าย ๔ โมง ๔๐ นาฑี ไปวัดมหาธาตุ อยู่ฝั่งตวันออกตรงข้ามกับที่ว่าการมณฑล นมัศการพระชินราช แล้วดูธรรมาศน์เทศ ธรรมาศน์สวด ดูเรือนแก้ว สิ่งทั้งปวงเหล่านี้ ล้วนเปนของดีอย่างเอก ไม่เคยพบเคยเห็น จะพรรณาก็จะมากความรัก คิดว่าจะพรรณาเวลาอื่น เพราะจะดูอีก ดูวันนี้เปนการรีบๆ ผ่าน ๆ แลจดหมายเวลาจะนอน คงจะหยาบไปมาก ไม่สมกับของดี ดูในวิหารแล้ว มาดูรูปพระชินราชจำลอง ติเตียนปฤกษากับหลวงประสิทธิ์ปฏิมาอยู่จนจวนค่ำ แล้วดูบานประตูมุก ดูพระเบียงนอก รเบียงใน ดูวิหารพระชินศรีจำลอง ดูพระมหาธาตุ ดูพระสิทธารถ แล้วเลียบไปข้างโบสถ์มาหน้าวิหารพระศาสดา แล้วมาดูพระเหลือ ลืมไป ดูวิหารพระชินศรีแล้ว ดูมณฑปด้้วย ได้ไม้สลักหัวนาคจำแลง ทีจะเปนหัวบรรไดธรรมาศน์อันหนึ่ง ได้นาคปักเปนหัวมังกรทำด้วยดินเคลือบอันหนึ่ง เวลาทุ่ม ๑ กลับมาถึงเรือ

พอกินเข้าแล้ว พระยาเทพามาบอกว่า มังคละมาแล้ว ลืมเล่าถึงมังคละไป คือวันเมื่อพักอยู่ที่ไทรโรงโขน ได้ยินเสียงไกล ๆ เปนกลองตีเปนเพลง แต่จะสังเกตว่าเปนอะไรไม่ได้ รุ่งขึ้นกำลังเดินเรือมาตามทาง ได้ยินอีกหนหนึ่ง ที่นี้ใกล้ เขาแห่นาคกันอยู่ริมตลิ่ง แต่ไม่แลเห็นว่าอะไร เพราะพงบังเสีย นึกเอาว่าเถิดเทิง เพราะได้ยินฆ้องแลกลองโครม ๆ แต่ก็ผิดกว่าเถิดเทิงเลวอยู่มาก ก็นึกเสียว่าเถิดเทิงบ้านนอกมันคงลักขูอยู่เอง ครั้นมาจอดที่วัดสกัดน้ำมัน ได้ยินอีกไกลไกล จึงได้ถามท่านสมภารว่าอะไร ท่านสมภารอธิบายว่าปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า มังคละ พระยาเทพาอยู่ที่นั่นด้วย ก็เลยอธิบายว่าเปนกลองคล้ายสองหน้า มีฆ้องมีปี่พาทย์ชนิดนี้เล่นไม่ว่าการมงคลแลการอัปมงคล หากันวันกับคืนหนึ่ง เปนเงิน ๗ ตำลึง จึงได้ขอให้พระยาเทพาเขาเรียกมาตีให้ฟัง เมื่อเขาจัดมาแล้วเขาจึงมาบอก ได้ขึ้นไปดูมังคละ ทีแรกตีเพลงนมยานกทกแป้งฤๅอะไรแป้ง จำไม่ได้ถนัดที่เขาบอก เครื่องมังคละนี้ เปนเครื่องเบญจะดุริยางค์แท้ มีกลองเล็กรูปเหมือนเถิดเทิงแต่สั้น ขึงหนังหน้าเดียวมีไม้ตียาว ๆ (ที่หมาย ๑)จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ตรงกับ “วาตต” ใบหนึ่ง มีกลองขึงสองหน้าเหมือนกลองมลายู เปนตัวผู้ใบหนึ่ง ตรงกับ “วิตตํ” เปนตัวเมียใบหนึ่ง ตรงกับ “อาตตวิตตํ” มีไม้ตีตรงตรง (ที่หมาย ๒) กลองสามใบนี้ ต้องหุ้มผ้าดอกเหลือไว้แต่หน้า เพราะว่าฝีมือขึ้นแลฝีมือทำหุ่นดูไม่ได้ แลมีปี่คันหนึ่ง ตัวเปนทำนองปี่จีน ลิ้นเปนปี่ชวา ตรงกับ “สุสิรํ” มีฆ้องแขวนราว ๓ ใบ เสียงต่าง ๆ กัน ตรงกับ “ฆนํ” เสียงเพลงนั้นเหมือนกลองมลายู เข้ากับกลองเล่าโก๊ว ไม่น่าฟัง แปลว่าหนวกหู เพลงปี่ก็ไม่อ่อนหวาน เปนทำนองลูกเล่นอะไรอันหนึ่ง ฆ้องก็ตีพร้อมกันโครม ๆ แปลว่ากึกก้องมากกว่าเพราะ ลองให้ตีดู ๒ เพลง หนวกหูเตมที เลยให้อัฐไล่มันไปบ้านแล้วกลับลงมานอน

๑๕) วันที่ ๓๑ เวลาเช้า ๒ โมง ๑๐ นาฑี ข้ามฟากไปขึ้นท่าวัด ขี่ม้าไปดูสระแก้ว ทางสักร้อยเส้น สระแก้วนั้น อยู่หลังเมืองซีกแม่น้ำฝั่งตวันออก ตัวสระแก้วเปนบึงใหญ่ แต่กบิปิดน้ำเสียหมด แลไม่ใคร่เห็นน้ำ ริมบึงมาข้างกำแพงเมืองขุดทางน้ำลดเลี้ยวไว้ดินเปนเกาะเปนทางมายืดยาว กลางเกาะหมู่เหล่านั้นมีวัดอยู่ในเกาะ วิหารเกาะหนึ่ง เจดีย์เกาะหนึ่ง แลเปนฐานอิฐ ๆ อะไร อีกเกาะหนึ่งก็ไม่ทราบ ที่แลเห็นแต่เท่านี้ บางทีจะมีอะไรอีกที่เห็นไม่ได้ เพราะรกนัก สระแก้วนี้ ไม่ใช่อื่นไกล คือเปนที่เล่นเรือในฤๅดูน้ำ ตามธรรมเนียมแต่ก่อน เช่นภูเขาทองกรุงเก่า แลมหานาควัดสะเกษกรุงเทพนั้นเอง ที่นี่ได้กะไว้เปนที่ประพาศแห่งหนึ่ง ดูแล้วกลับทางเดิม ตามทางที่ไปมานี้ เปนทางเก่า มีวัดร้างตามทาง เห็นจะหลายวัด ฤๅวัดเดียวใหญ่ ดังเกตไม่ถนัดเพราะขี่ม้าผ่านรีบแลเมื่อกลับมา แวะเลียบกำแพงเมืองไป เพื่อดูกำแพงป้อมแลประตู ได้เห็นป้อมริมน้ำแห่งหนึ่ง ไม่เห็นอะไร เห็นแต่ทีกลม ๆ แล้วผ่านประตูไปแห่งหนึ่ง เห็นเปนแต่ช่องไม่มีซุ้ม รกเข้าไม่ได้ พระยาเทพาว่าประตูทวาย แลพระยาเทพาอธิบายรูปเมืองให้ฟังดังที่ได้เขียนแผนที่ไว้นี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ตามที่บอกเล่าประกอบกับที่ได้เห็นด้วยตาบ้าง ดูแผนที่กรมแผนที่บ้าง ที่เส้นแดงเปนทางที่ได้เดิน ช่องประตูทวายเข้าไม่ได้ ต้องเลยไปหน่อย เข้าทางกำแพงพัง แลเดินตามถนนสายกลาง เลี้ยวแวะไปข้างขวาเห็นวัดวัดหนึ่ง พระยาเทพาว่าเรียกวัดใหม่ แต่ว่าใหม่ก่อนทวดของเรา โบสถ์อิฐเครื่องประดุ ไม่มีพระอยู่แล้ว แล้วเดินวกไปในหมู่บ้าน ดูบ้านเรือนราษฎร เปนอย่างจนที่สุด แลตั้งอยู่ในวัดร้างด้วย ดูก็ดีไม่เสียที่เปล่า ออกจากหมู่บ้านก็เข้าท้ายวัดราษฎร์บูรณะ๑๐ พอถึงหลังโบสถ์ โบสถ์ก็ดูดจี๋ต้องลงจากม้าเข้าทางหลังโบสถ์ บานประตูสลักลายดอก ๔ กลีบ ฝีมือดี แต่ลายเปนตามธรรมเนียม ผนังในโบสถ์เขียนรามเกียรติ์ แต่ไม่สู้เก่านัก แลไม่สู้เปนนัก มีพระประธานใหญ่แต่ไม่เก่ง มีพระเล็กน้อยมาก เสาแลเครื่องบนทาดำทาแดง ปิดทองลายฉลุ แต่ไม่ใช่ลายเก่า เปนปฏิสังขรณ์ใหม่ แต่ผนังโบสถ์แลตัวไม้เครื่องบนเก่า เปนเครื่องประดุช่อฟ้าปูน ออกจากโบสถ์ พระยาเทพาชวนไปดูการปเรียญ แต่ไปไม่รอด เพราะอ้ายธรรมาศน์เก่าที่ศาลาข้างโบสถ์มันเหนี่ยวเอาไปดูมัน ธรรมาศน์นั้นเก่ามากทีเดียว ทีก็เปนซุ้มเกี้ยวยอดมันพังทิ้งอยู่ข้างล่างเหลือชั้นเดียว ฐานก็ไม่แปลกจากที่เคยเห็น คือสิงห์แขวนขานาคต่อ แต่ข้างล่างจะเปนอย่างไรอีกไม่ทราบ เพราะสูญเสียหมดแล้ว มาแปลกอยู่ที่ไม่มีกระจังบัดตีนยาน ใช้อ้ายหยัก ๆ สำหรับหลังซุ้มประตูแทน เช่นเขียนตัวอย่างไว้ดูนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก แลมีกวางทรงเครื่องหักอยู่ตัวหนึ่ง สำหรับเปนบันไดรองท้าวขึ้นบนธรรมาศน์ ทั้งกวางทั้งธรรมาศน์ ลายเก่าเปนดอกไม้กนกทำนองเดียวรุ่นเดียวกับพนักธรรมาศน์ ที่เก็บมาแต่วัดในที่เมืองสมุทรปราการแต่ก่อนนั้น ดูธรรมาศน์แล้ว ไปดูการปเรียญทีก็เหมือนโบสถ์ เครื่องประดุฝาอิฐ แต่ฝาก่อทีหลัง เดิมเปนเสาไม้ เปนศาลาโถง ฝาเขียนประถมสมโพธิ แต่ไม่เก่าแลไม่เก่ง มีพระงามพอใช้องค์หนึ่ง หน้าตักสัก ๒ ศอก ออกจากการปเรียญไปวัดนางพญา๑๑ ดูรฆังใหญ่ ปากกว้างประมาณ ๒ ศอก เปนรฆังญวนทำด้วยเหล็ก แล้วไปดูวิหาร เลวกว่าวัดราษฎร์บุรณะหน่อยหนึ่ง ออกจากวัดนางพญา ขึ้นม้าไปดูประตูผี ประตูนี้ก็เปนแต่ช่องอยู่เท่านั้น เห็นไม่ได้ว่ารูปประตูเปนอย่างไร ออกไปนอกประตูแล้วกลับทางเก่า แวะวัดมหาธาตุ ดูวิหารพระศาสดา ดูวิหารพระเจ้าเข้านิพาน ดูอุโบสถ จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกดูกุฎพระกัจจาย ที่นี่มีระฆังแขวนอยู่ใบหนึ่ง เปนระฆังทำคราวเดียวกับที่วัดพระบรมธาตุไชยนาท มีอักษรจาฤกว่า – สุภมัศดุพุทธศักราช ๒๒๗๐ ปี กับ ๑๑ เดือน กับ ๒๑ วัน ในวัน ๑ ๑๑ ๖ ค่ำ ปีวอก นักสัตวสำฤทธิศก – มีอายุแก่กว่าวัดบรมธาตุไชยนาท ๒ เดือน แลระฆังที่วัดบรมธาตุไชยนาทขาดหู ที่นี่มีหูต่อเปนที่พอใจมาก ด้วยเห็นขัดข้องมานานแล้ว ที่หูเดิมของรฆังเปนนาค ๔ สาย ข้างบนมีจุก ที่ร้อยกันมาก็เอาโซ่ร้อยนุงนังเข้าไปเหลว ๆ อย่างนั้น ไม่งามไม่ควรกันเลย นี่เข้าง่าย ปลดง่ายทุกอย่าง จึงต้องเขียนไว้ดู** หูต่อที่มีรูปครุฑนั้นทำด้วยทองหล่อ ขอรับขอสับโซ่ทำด้วยเหล็กเหนียว หลังพระกัจจาย มีคานหามยานมาศอันหนึ่ง ทีชอบกลดี ผิดกว่าที่ได้มาจากวัดใหญ่ แต่ทรงไม่งามกว่าวัดใหญ่ คิดว่ากลับมาจากเหนือจะเขียนไว้ดูเหมือนกัน ออกจากกุฎพระกัจจาย ไปดูองค์พระธาตุ แล้วไปดูงานจำลองพระชินราช สิ่งทั้งหลายในวัดมหาธาตุซึ่งไปดูแลไม่ได้อธิบายนั้น คิดจะหาเวลาอธิบายทีหลัง เมื่อได้ทำแปลนมาเขียนไว้ด้วย ดูงานจนเวลาเช้า ๕ โมง ๔๕ กลับมาที่พัก

เวลา ๒ ทุ่ม ๔๐ นาฑี ไปวัดมหาธาตุ ในการพิธีวิศาขบูชา พระสวดมนต์จุลราชปริต พระสวดจบแล้ว กลับที่พักเวลา ๔ ทุ่ม ๑๓ นาฑี

๑๖) วันที่ ๑ มิถุนายน รศ๓๔ ๑๒๐ เวลาเช้า ๒ โมง ๐๒ นาฑี ข้ามไปวัดมหาธาตุ ตักบาตรแลเลี้ยงพระ ในการพิธีวิศาขบูชา แลพูดการงานกับหลวงประสิทธิปฏิมา (เหมาะ) ด้วย พระอนุโมทนาแล้วกลับที่พักเวลาเช้า ๓ โมง ๐๕ นาฑี

ครั้นเวลาเช้า ๔ โมง ๑๕ นาฑี ขึ้นม้าหน้าที่ว่าการมณฑลไปเที่ยวดูเมืองฝั่งตวันตก ไปตามถนนคลองสุภา ข้ามกำแพงเมืองแลดูไปสุดถนนลงที่คลองบ้านคลอง ซึ่งถ้าไม่บอกว่าคลองแล้วรู้ไม่ได้ เพราะเปนแต่แอ่งอยู่หน่อยเดียว ปลายคลองว่าไปออกวัดจันทร์ พระยาเทพาอยากจะขุด แต่กลัวแม่น้ำในเมืองตัน ทางในเมืองเปนบ้านคนโซม ๆ นอกกำแพงเมืองเปนทุ่งนา ไม่เห็นมีวัดร้าง สังเกตว่าแต่เดิมมาฝั่งตวันตกนี้ คงเปนฝั่งที่ไม่เจริญกว่าฝั่งตวันออก เมื่อไปสุดถนนคลองสุภาแล้ว เลี้ยวเลียบคันคลองไปข้างใต้ ดูหมู่บ้านคลอง บ้านแถวนี้ดูค่อยบริบูรณ์หน่อย ราษฎรใจบุญมาก ระยะสองสามเส้น มีศาลาแห่งหนึ่งจดหมายระยะทางไปพิษณุโลกเปนที่พักคนเดินทาง แลเลี้ยงพระมีเทศน์เสมอ เมื่อไปวันนี้ก็พบกำลังเลี้ยงพระอยู่แห่งหนึ่ง หว่างศาลามีบ่อน้ำ แต่น้ำไม่ใคร่มี ไหลมาช้า ๆ คนตักต้องคอยนาน ๆ ดูไปสิ้นหมู่บ้านแล้วย้อนกลับมาทางเดิม เลียบคันคลองขึ้นไปข้างเหนือ จนถึงปากคลองมีหมู่บ้านตลอด หมู่บ้านทั้งตอนเหนือตอนใต้ตั้งอยู่สองฟากคลอง มีต้นมพร้าวแลอื่น ๆ มาก เปนบ้านสวน ที่ปากคลองมีวัด เรียกว่าวัดยาง แวะเข้าไปดูหน่อย ในหอไตรมีตู้ ๔ ใบ ใบหนึ่งรดน้ำเปนเทวดายืน ฝีมือเก่ามากหน่อย ใบหนึ่งเปนเทวดาเดินเขียนเก่า อีกใบหนึ่งรดน้ำเปนเรื่อง มือช่างทำที่กรุงเทพ อีกใบหนึ่งทองทึบ ตู้เหล่านี้ไม่มีฝีมือดีแปลกปลาดอะไร แล้วไปดูโบสถ์ แลดูการปเรียญ ไม่มีอะไร แลการก่อสร้างก็ไม่สู้เก่า เปนฝากระดานแปตะแคง ดูวัดยางแล้วขึ้นม้าเลียบมาตามถนนริมน้ำ ข้ามกำแพงเมืองเข้ามา กำแพงเมืองทางนี้ถามพระยาเทพาไม่ได้ความว่ากะไร ว่ายังไม่ได้เที่ยว แต่สังเกตตาดูเห็นโอนไป แลปลายตกเฉลงตแลงแกง สังเกตได้ว่าเปนรูปตโพน มีทำนองอย่างเช่นเขียนไว้ข้างบนนั้น๑๒** กำแพงเมืองที่มีอยู่นั้นไม่สูง เห็นจะถูกรื้อมาแล้ว เมื่อได้ข้ามกำแพงมาตามถนนริมน้ำถึงหน้าโรงเรียนหมออเมริกัน จึงเข้าข้างโรงเรียน มุดรกเข้าไปดูวัดราชประดิษฐาน วัดนี้มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลาง เปนพระเจดีย์กลม มีมุข ๔ ทิศ บทหลังซุ้มมีพระเจดีย์เล็ก ทำนองเหมือนศรีรัตนเจดีย์ มีคูหาทลุเข้าในองค์ได้ข้างด้านใต้ ข้างในมืดนัก ข้างตวันออกองค์พระเจดีย์ มีอุโบสถพัง ไม่มีพระพุทธรูป ใครจะยกเอาไปไหนเมื่อไรไม่ทราบ มีแต่เสมาใหญ่มาก ข้างตวันตกองค์พระเจดีย์ มีวิหารพัง มีพระพุทธรูปปูน ดูวัดนี้แล้วกลับทางเดิม มาเข้าถนนริมน้ำเลียบลงต่อมาอีกหน่อยถึงบ้านพระปูควัน เข้าในบ้านแล้วบุกรกไปทางหลังบ้านเพื่อจะดูวัง ได้ข้ามกำแพงชั้นนอกแลชั้นในเข้าไปทางด้านตวันออก เข้าใจว่าเปนทางหน้าวัง แล้วข้ามกำแพงชั้นในแลชั้นนอกข้างทิศตวันตกออกไปนอกวัง ดูหนองสองห้อง เปนสระใหญ่กลางมีโคกเปนเกาะ ขุนศรีเทพบาลบอกว่าผู้ใหญ่เขาว่าเปนที่ตั้งพลับพลา ข้อนี้มีความเชื่อทีเดียว ด้วยเหมือนกันกับพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาศน์ท้ายสระกรุงเก่าทีเดียว ผิดแต่ที่กรุงเก่าเปนตามขวาง ที่นี่เปนตามยาว ด้วยอำนาจมีเกาะขวางกลาง ทำให้ทางน้ำด้านกว้างของสระแคบแลดอนเสียแล้วทางหนึ่งด้านข้างกำแพงนั้นด้วย จึงได้มีสัญญาเห็นเปนสองสระ เรียกหนองสองห้อง เปนชื่อชาวบ้านตั้งภายหลัง ด้านยาวของสระข้างตวันตก มีลำรางเล็กไปออกคลองมดัน ต้องเปนท่าที่ไขน้ำที่เกาะตรงปากท่อ มีต้นไทรต้นหนึ่ง ขุนศรีเทพบาลว่ากรมหลวงประจักษเมื่อเสด็จหนองคายครั้งแรก ได้เสด็จมาผูกชิงช้าประทับอยู่ที่นี้ ได้ขอให้ขุนศรีเทพบาลช่วยวัดแปลนวังให้ มีขนาดดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกแต่จะถูกผิดประการใด ขุนศรีเทพบาลรับผิดชอบ เปนที่น่าสงไสยอยู่ว่าสระสองห้องนั้น คงเปนที่ประทับสำราญพระไทย อันแวดล้อมไปด้วยพฤกษชาติเปนสวน ควรจะอยู่ในกำแพงวัง นี่เหตุไรจึงอยู่นอกกำแพงวัง แต่ว่าไม่ได้ บางทีจะมีกำแพงโอบมาอีก เปนที่ส่วนเพิ่มเติมบวกเข้ากับวังในภายหลังก็เปนได้ แต่จะดูอะไรก็ไม่เห็น เพราะรกเหลือเกิน กำแพงที่มีอยู่อย่างไรตามที่เขียนไว้นั้น ดูเห็นไม่ใคร่ได้ เพราะเหลืออยู่เตี้ยไม่ใคร่พ้นยอดพง เห็นจะถูกรื้อเหมือนกัน ที่เขียนไว้เปนวงเปนกงนั้น ตามที่ขุนศรีเทพบาลแกได้บุกไปเห็น บางทีกำแพงส่วนที่ล้อมสระจะมี แกไม่ได้บุกไปดูก็ได้ แลพระยาเทพาบอกว่าได้เห็นแต่ก่อนที่ในวังนั้น มีอิฐก่อเปนห้องๆ เหมือนกทงนา แต่จะอยู่ตรงไหนจำไม่ได้เสียแล้ว ตามที่พระยาเทพาว่านั้น งามจะเปนฐานท้องพระโรง เพราะท่วงทีที่ว่าเหมือนกับปราสาทวิหารสมเด็จกรุงเก่าที่เคยได้เห็นมา ได้ขอให้พระยาเทพาค้นดู ถ้าพบอ้ายสิ่งที่ก่ออิฐให้ถางไว้ ดูแล้วกลับทางเดิมเข้าถนนริมน้ำเลียบลงมาที่ว่าการมณฑล ถึงที่พักเวลาเที่ยง ๒๖ นาฑี

เวลาค่ำ ๒ ทุ่ม ๔๘ นาฑี กินเข้าแล้วข้ามไปวัดมหาธาตุ ฟังเทศปฐมสมโพธิในการวิศาข แลเดินเทียนด้วย ในการวิศาขที่นี่ พระยาเทพาจัดอุดหนุน ในพระวิหารมีเทศปฐมสมโพธิอย่างพิสดาร พระหลายองค์ผลัดกันขึ้นเทศต่อ ๆ กัน แต่จะยังรุ่งฤๅอย่างไรไม่ทราบ ศาลาหน้าวิหารมีปี่พาทย์ เปนของข้าหลวงเทศาจัดไว้ ว่าเปนคนในเมืองนี้เอง กระบวนเล่นเอาอย่างคอนเสิดเจ้าพระยาเทเวศร๑๓ ขึ้นม้าตีเต็มที่ แต่งตัวคล้ายทหาร ใส่กางเกงดำเสื้อขาว หมวกแก๊บทรงหม้อตาล แต่เสื้อจะมีอะไรประดับประดาบ้างดูไม่เห็นเพราะอยู่ข้างมืด แต่ดูไกลไม่ผิดทหารมหาดเล็ก ตีเล่นเปนพัก ๆ เสมอไป ในวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน ได้ยินเสียงประโคมมังคละ ถามพระยาเทพา ว่ามีสวดแลเมื่อจบประโคมมังคละ เมื่อฟังเทศน์อยู่ได้แอบดูอะไร ๆ บ้าง เห็นจาฤก ๒ แห่ง นอกจากที่บานประตูมุก ซึ่งทำในแผ่นดินขุนหลวงบรมโกษ อันได้เห็นแต่วันแรกถึงแล้วนั้น จาฤกแห่งหนึ่งอยู่ที่ขื่อเฉลียงชั้นสุด มีความว่า จีนอิ่มขุนอุดมจินดาทับภรรยากับทายกทั้งหลาย พร้อมกันปฏิสังขรณ์พระอุโบสถแลกุฏพระกัจจาย ในพุทธศักราช ๒๓๗๖ ปี แลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตปฏิสังขรณ์วิหารพระชินราช ได้ปฏิสังขรณ์ในพุทธศักราช ๒๓๘๐ ความพิสดารจะได้คัดต่อภายหลัง หักด้วยกหังปายา เปนจุลศักราช ๑๑๙๕ แล ๑๑๙๙ จาฤกอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ราวธรรมาศน์เทศน์ มีความทำนองเดียวกัน ขุนอุดมกับทายกออกทรัพย์ซ่อมธรรมาศน์ ในพุทธศักราช ๒๓๙๘ คิดเปนจุลศักราช ๑๒๑๗ ปี ท่านขุนอุดมผู้นี้ควรจะมีอนุสาวรีย์ไว้ในวัดนี้ เพราะวัดนี้อยู่ให้เราได้เห็นเพราะท่านขุนอุดมผู้นี้ จาฤกที่ธรรมาศน์เทศน์นี้ ก็จะได้คัดมาลงทีหลังเหมือนกัน เวลา ๔ ทุ่ม ๑๐ นาฑี กลับมานอน

คำจาฤกในแผ่นศิลา ซึ่งอยู่ในห้องรับแขกที่ว่าการมณฑลพิษณุโลก (ดูหน้า ๒๓) นายคุ้มผู้คุมขุดได้ในพระเจดีย์วัดเสือ อยู่ฝั่งตวันออกเมืองพิษณุโลก ได้มาไม่เต็มแผ่นมีความดังนี้๑๔

จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก๏ สุพภมัสดุ ๑๔๗๐

นักษัตรมาคมาสีเอกดิฏฐีเกิด

กาลเมื่อสถาปนาได้เชฐริก (=ฤกษ)

เพลาอุสาโยค แลพุทธ

ศักราชใด้ ๒๐๘๒ พระพรรสา

มหาเถรศรีพงศชา* ช่าง (?) อุบาศก

?? ชาทายกมหาพรหมกุมาร

ชาทายก

๏ สัพ์พัญ์ญูดัญ์ญาณปวรสีสํ

นิพ์พานารัม์มณํปวร ???

ธัม์มจักขุสมัน์ตจัก์ขุ ปัญา (จัก์ขุ)

///// หมายว่าแตก ? ยังสงไสย

* กัมภุชพากย์ ว่าเปน

๑๗) วันที่ ๒ เวลาเช้า ๒ โมงกับ ๗ นาฑี ออกเรือจากพิษณุโลกขึ้นไปตามลำน้ำ เวลาเช้า ๔ โมงกับ ๔๘ นาฑี ถึงปากน้ำแยกแควน้อย เวลาบ่ายโมง ๔ นาฑี ถึงวัดท่าช้าง หยุดจอดกินเข้ากลางวัน เวลาบ่าย ๒ โมง ๓๐ นาฑีออกเรือไป

เวลาบ่าย ๔ โมง ๗ นาฑี มีลมพายุฝนพัดผ้าขาวม้านายหว่างปลิวลงน้ำไป ได้ร้องโวยวายขึ้นให้คนเรือพระสถิตย์ช่วยเก็บ ครั้นเก็บได้แล้วเชือกหัวเรือของพระสถิตย์ซึ่งผูกติดกับเชือกมะลิลาใหญ่กลับขาด หัวเรือตากออกไป คนเรือช่วยกันขลุกขลัก ผูกได้แล้วเรือไฟลากต่อไปได้ครู่หนึ่งฝนตกหนาเม็ดอยู่ ๓๐ นาฑีจึงซา

เวลาบ่าย ๕ โมง ๕๐ นาฑี ถึงที่ว่าการอำเภอพรหมภิรามจอด เมื่อเวลากินเข้า ได้ถามพระสถิตย์ว่าเสียงอึงอะไรกันเมื่อเรือไฟลากมาเรือ พระสถิตย์ตอบว่า คนถือท้ายเรือพระสถิตย์ตกน้ำไปเมื่อลมพายุพัด หาใช่เชือกผูกเรือขาดไม่

เมื่อเรือถึงแพที่พัก หน้าที่ว่าการอำเภอพรหมภิรามจอดแล้ว ได้ขึ้นไปบนที่ว่าการ พวกกรมการมารับ พระบริรักษโยธีปลัดเทศาได้แนะนำให้รู้จักแล้ว ดูที่ว่าการอำเภอ ดูที่พักโทรศัพท์ แล้วเดินตามถนนเลียบริมน้ำฝั่งตวันออก ไปดูภูมิฐานบ้านเรือน แลดูที่ปลูกพลับพลาด้วย ที่ดินตำบลนี้งาม มีต้นไม้มาก มีต้นส้มงาม ๆ แลมม่วง ขนุน ข้างหลังมีตาลแลป่าไผ่ เวลาย่ำค่ำ ๔๙ นาฑี กลับที่พักนอน

ระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่เมืองพิษณุโลก จนถึงอำเภอพรหมภิราม ทาง ๑๑๘๐ เส้น อนึ่งเวลากลางวันมากเกินเหตุ เวลาย่ำค่ำ ๒๐ นาฑี ดวงอาทิตย์จึงลับไม้ เวลาทุ่ม ๑ กับ ๒๕ นาฑี จึงสิ้นแสงอาทิตย์

๑๘) วันที่ ๓ เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๕๕ นาฑี ลงเรือเล็กไปขึ้นฝั่งตวันตก เดินไปตามถนนริมฝั่งน้ำ ถึงวัดสนามไชยตำบลบ้านหนองแขม ทาง ๑๔๐ เส้น หยุดพักอยู่ ส่วนพระสถิตย์ไปยิงนกกลับมาเพลา ๒ โมงกับ ๔๗ นาฑี ออกเรือตามมา ถึงวัดสนามไชยเวลาเช้า ๓ โมง ๔๕ นาฑี จึงได้ลงเรือเล็กมาขึ้นเรือใหญ่เดินต่อไป วัดสนามไชยเปนวัดไม่เก่า ไม่มีอะไรดู เวลาเที่ยงกับ ๒๕ นาฑี ถึงบ้านท่างาม ฤๅอ้ายง่าม จอดหยุดกินเข้าที่ปรำเขาทำได้รับ

เวลาบ่าย ๒ โมง ๒ นาฑีออกเรือไป เวลาบ่าย ๓ โมง ๑๐ นาฑี เข้าแดนเมืองพิไชย เวลาย่ำค่ำถึงเมืองพิไชย หยุดจอด ณ ที่พักซึ่งเขาทำไว้รับที่ฝั่งตวันตก เยื้องที่ว่าการเมืองข้ามขึ้นไปข้างเหนือหน่อย ขึ้นไปหากรมการที่เขามาคอยรับบนแพ แล้วกินเข้านอน ระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่อำเภอพรหมภิราม มาถึงเมืองพิไชย ทาง ๑๑๙๐ เส้น

๑๙) วันที่ ๔ เวลาเช้า ๒ โมง ๓๐ นาฑี ข้ามฟากไปขึ้นดูที่ว่าการเมือง ที่ว่าการนี้ตั้งอยู่ในที่ต่ำกพักที่สองของตลิ่งซึ่งงอกใหม่ พระสีห์สงครามผู้ว่าราชการ ว่าหน้าน้ำน้ำท่วม ห่างอยู่คืบหนึ่งจะถึงพื้นชั้นบน แต่ที่นี้เดี๋ยวนี้ก็กลับพังแล้ว ในสามน้ำที่แล้วมานี้พังราว ๒ เส้นจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ดูที่ว่าการแล้ว เดินขึ้นบนตลิ่งเก่ากพักที่หนึ่ง มีถนนเลียบไปตามตลิ่งเก่า บ้านช่องริมถนนอยู่ข้างคึกคักมีภาคภูม แต่เปนบ้านขุนนางโดยมาก** เดินไปตามถนนขึ้นเหนือน้ำถึงวัดโพธาราม มีโบสถ์เก่าหลังหนึ่ง อายุรุ่นทางพิษณุโลก ฝาก่อ แต่หลังคาเปลี่ยนใหม่เปนแปตะแคงเสียแล้ว เดิมคงเปนเครื่องประดุ ข้างโบสถ์มีนาคปักเก่าทิ้งอยู่ ๒ ตัว ทำด้วยดินเคลือบขาวเขียนลายดำ เปนนาคสามเศียรตัวหนึ่ง เปนหัวมังกรอย่างที่ได้ที่วัดมหาธาตุพิษณุโลก มาเห็นสองแห่งเข้านี้แล้ว ต้องถอนคำที่กล่าวไว้ในหน้า ๑๐ ซึ่งว่าเปนหัวช่องพนักหน้ามุขนั้นเปนผิด หัวมังกรที่วัดโพธารามนี้ ชำรุดมากกว่าที่ได้มาแล้ว จึงไม่ได้เอามา เอาแต่หัวนาคสามเศียรมา ออกจากวัดโพธาราม เดินต่อไป ถึงวัดมหาธาตุ เปนวัดถือน้ำ มีวิหารอยู่ริมถนน ไม่สู้เก่านัก แต่ก็ไม่ใหม่ พระยาอุตรกิจว่าพระยาพิไชย (กต่าย) ทำ โบสถ์ไม่เห็น ว่าอยู่ในเข้าไป เดินต่อไปถึงวัดร้าง พระยาอุตรกิจว่าชื่อวัดสมป่าน เห็นกำแพงเมืองเก่า มาขาดลงน้ำเพราะตลิ่งพัง พระยาอุตรกิจว่าแนวกำแพงมีเนื่องเข้าไปหลังบ้านตกทุ่งนา มีประตูเมืองยังปรากฏอยู่ที่ใต้วัดหน้าพระธาตุมาหน่อยหนึ่ง เรียกประตูพิกุล กำแพงเมืองเนื่องไปถึงวัดหน้าพระธาตุ แต่ว่าต้นไม้ขึ้นคลุมหมด เห็นอะไรไม่ได้ ตั้งแต่กำแพงขาดที่วัดสมป่านขึ้นไปประมาณ ๑๐ เส้น ถึงวัดหน้าพระธาตุ ซึ่งแต่เดิมนึกว่าเก่า เพราะพระสีหสงครามว่ามีพระโต ราษฎรนับถือมาไหว้ทุกปีในฤดูตรุสสงกรานต์ เปนวัดเก่าสำคัญของเมืองนี้ แต่เมื่อได้เห็น เห็นไม่สมเปนวัดหน้าพระธาตุแลเก่าเลย มีโรงอุโบสถหลังหนึ่ง เสาไม้โทรม ๆ มีวิหารหลังหนึ่ง ผนังก่ออิฐยังไม่ได้ถือปูน หลังคามุงแฝก ในวิหารมีพระก่อองค์ใหญ่ หน้าตัก ๑๑ ศอก ขื่ออยู่เพียงคอ ฝีมือปั้นดูเหมือนทำเมื่อวานซืนนี้ ดูแล้วกลับลงเรือ ซึ่งให้มาจอดคอยรับอยู่หน้าวัด เวลาเช้า ๓ โมงกับ ๒๗ นาฑี ออกเรือไป ทางที่เดินวันนี้ ๔๐ เส้น เวลาย่ำเที่ยง ๓๗ นาฑีถึงวัดเต่าไหอยู่ฝั่งตวันตก แขวงอำเภอตรอน หยุดจอดกินเข้า

เวลาบ่ายโมง ๔๗ นาฑี ออกจากวัดเต่าไห ถึงที่ว่าการอำเภอเมืองตรอน เวลาบ่าย ๓ โมง ๘ นาฑี ได้ขึ้นไปดูที่ว่าการอำเภอ แล้วพระวิสูตรไปตรวจที่จะทำพลับพลาประทับแรม ที่นี่เขาปลูกปรำรับ

เวลาบ่าย ๕ โมง ๗ นาฑี ออกเรือจากที่ว่าการอำเภอเมืองตรอน

เวลาย่ำค่ำ ๔๐ นาฑี ถึงวัดวังแดงจอดนอน ระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่ที่ว่าราชการเมืองพิไชย ถึงบ้านวังแดง อำเภอตรอน เปนทาง ๘๗๐ เส้น

๒๐) วันที่ ๘ เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๕๘ นาฑี ขึ้นเดินเลียบตลิ่งฝั่งตวันขึ้น ตั้งแต่หน้าวัดวังแดง ถึงหัวแหลมบ้านวังแดง ทาง ๒๕ เส้นเท่านั้น พระสถิตย์เอาเรือไฟไล่หลัง ๑๕ นาฑี พอทันที่นี้ กลับลงเรือ เช้า ๒ โมงกับ ๓๐ นาฑีมุ่งไปอุตรดิฐ เวลาเช้า ๔ โมง ถึงปรำที่พักร้อนซึ่งเขาทำไว้รับที่ตำบลท่าตอง แลนำขึ้นท่วมพื้นหมด ไม่ได้แวะเพราะไม่ถูกเวลาจอด เวลาเช้า ๔ โมง ๒๐ นาฑีเรือติดหาดที่ตำบลป่าเต้า ต้องเข็นอยู่ ๘ นาฑีหลุดไปได้

เวลาเช้า ๕ โมง ๔๕ นาฑี ถึงอำเภออุตรดิฐจอดเรืออยู่ในปรำที่พัก แล้วขึ้นไปทักถามผู้ว่าการบนตำหนักที่พักแล้วพักอยู่ที่นั้น ระยะทางเรือเดินวันนี้ ตั้งแต่วัดวังแดงถึงอำเภออุตรดิฐ เปนทาง ๔๔๐ เส้น

ที่พักซึ่งเขาจัดไว้รับที่อำเภออุตรดิฐนี้ แปลนเขาดีพอใช้ จึงได้เขียนลงไว้ด้วยจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก เสียอยู่นิดที่จัดไขว้ไป ห้องนอนควรจะอยู่ทางห้องกินเข้า แลห้องกินเข้าควรจะอยู่ทางห้องนอน**

เวลาบ่าย ๓ โมง ขี่ม้าขึ้นไปตามถนนริมน้ำ ดูตลาดท่าอิฐ ซึ่งอยู่เหนืออุตรดิฐหน่อยหนึ่ง ที่แท้จริงอุตรดิฐไม่มีคนมากเท่าท่าอิฐ แลท่าอิฐนั้นควรจะเปนเมือง เมืองทั้งปวงในมณฑลพิษณุโลก เมืองไหนจะดีเท่าอุตรดิฐไม่มี เปนเมืองทีโคราช เปนที่รวมทางที่มาแต่ที่ดอน คือแพร่ น่าน เปนต้น มาสู่อุตรดิฐเปนท่า ที่บ้านร้านตลาดหาได้จับบางแต่ตามลำน้ำเช่นเมืองอื่นไม่ คับคั่งแน่นหนาประดุจตลาดน้อยกรุงเทพ เวลานี้ที่ตลาดกำลังทำโรงร้านใหม่เพราะขยายถนน โรงร้านนั้นทำด้วยไม้เปนสองชั้น มีความเสียใจที่ใช้ทั้งสองชั้นไม่ได้ตลอดปี เวลาน้ำมาชั้นล่างท่วม ต้องขายชั้นบน กลายเปนตลาดริมคลองไป เหตุเพราะที่เมืองอุตรดิฐเปนที่งอก แผ่นดินเปนกพักสองชั้นอย่างเมืองพิไชยเกือบทุกแห่ง แนวตลิ่งแม่น้ำเก่ากว้างมาก แต่เดี๋ยวนี้แม่น้ำแคบเข้ามาก ที่บนตลิ่งเก่านั้นสูงน้ำไม่ท่วม แต่ตลาดจะขึ้นไปตั้งอยู่ไม่ได้เพราะไกลน้ำ พ่อค้าก็คือจีน รับสินค้าบางกอกไปขาย มีพวกดอนลงมาซื้อบรรทุกต่างไป แลรับของสินค้าดอนขายผู้ล่องกรุงเทพ

ดูตลาดแล้วเลยไปดูวัดท่าเสา อยู่ริมแม่น้ำเหนือท่าอิฐขึ้นไปอีก วัดนี้เก่ามาก แต่ฝีมือไม่สู้ดีนัก มีโบสถ์หลังหนึ่ง ผนังก่ออิฐ หลังคาเครื่องประดุ หลังคามุขลดตั้งเตาหม้อ อย่างศาลาลูกขุน มีแปลกกว่าที่เห็นมาก็ที่เชิงชายสลัก ที่หน้ากระดานก็คงหน้ากระดาน ที่บัวสลักเปนกลีบบัวกรวยเชิง พระประธานในโบสถ์เปนพระขัดสมาธิเพชร ว่าเอาลงไปกรุงเทพไว้วัดเบญจมบพิตรแล้ว ยังมีหอไตรอีกหลังหนึ่ง ชั้งล่างเปนเสาก่อสี่เหลี่ยมมีบัวปลายเสา ข้างบนเสาไม้ฝากระดาน หลังคาเครื่องประดุ มุขลดมีเตาหม้ออย่างศาลาลูกขุนเหมือนโบสถ์ แต่ไม่ใช้สาหร่ายรวงผึ้ง ใช้กระจังรูปใบเสมาห้อย ลืมไป ที่โบสถ์ก็ไม่ใช้สาหร่ายรวงผึ้งเหมือนกัน ใช้กระจังรวน แต่ตัวกลางกับตัวหน้าเตาหม้อใหญ่กว่าตัวอื่น ในหอไตรมีตู้หนังสือ ๔ ใบ ทองทึบใบหนึ่ง รดน้ำ ๓ ใบ ไม่สู้เก่า เขียนมาแต่กรุงเทพ ตู้หนังสือสวด ๒ ใบ ใบหนึ่งใหม่ลายรดน้ำ อีกใบหนึ่งเก่าลายกำมลอ แต่ว่าไม่เก่ง หีบหนังสือ (รูปหีบถ่าน) มี ๕ ใบ ลายรดน้ำอย่างเก่า ๆ ทั้งนั้น ได้ขอเอามาใบหนึ่ง เปนลายกนกทีเทศ อย่างครูวัดเซิงหวาย ใต้หอไตรนี้มีของสำคัญคือยานมาศแห่พระ มีถึงสองอัน ยานมาศที่นี้สูงมาก หลังคานมีตัวนาค ฐานเปนสิงห์สองชั้นแล้วบัวหงาย สูงจนตีนต้องมีบัวรองสองอันรูปไม่ผิดกัน แต่คันในผิดกัน รูปมีทำนองดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก แต่กงไม่สู้แน่ เดาผสมไว้ เพราะของเดิมหัก ไม่มีผีอยู่พอจะเทียบได้ ลายที่คันในควรสังเกตมีสองสามอย่าง คือ ๑ บัวหลัง สิงห์กลับขึ้น เช่นเขียนรูปไว้นี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ๒ ที่อกไก่สลัก ชั้นล่างเปนแข้งสิงห์ ชั้นบนเปนกลีบบัวเช่นเขียนไว้นี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ๓ บัวหงายอันหนึ่งบากรวนกลีบห้ามกลางกลับลง แปลกจากที่เคยเห็นอยู่ แต่ว่าเหลว อีกอันหนึ่งกลีบแซกเปนตัวผักบุ้งก้านขด เช่นเขียนไว้ทั้งสองอย่างนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก นอกจากนี้ยังมีการปเรียญใหญ่หลังหนึ่ง รูปร่างอึดทึดดูไม่งามเลยแต่เก่ามาก ข้างในมีธรรมาศน์สวด ธรรมาศน์เทศน์เก่าๆ แต่ทรงไม่งาม มีแปลกแต่ตัวลำยองธรรมาศน์สวดทำสดุ้งสองชั้นดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ก็ไปได้ไม่ขัด อีกอย่างหนึ่งลืมกล่าวไปด้วยเรื่องช่อฟ้า บรรดาวัดเก่าข้างเหนือนี้ ทำช่อฟ้าใบรกาปูนอย่างไม้เกือบทั้งสิ้น แต่คอก่งไม่กินกับคันบวยทั้งนั้น โบสถ์วัดนี้ก็เช่นนั้น มีรูปดังนี้ เว้นแต่หอไตรเปนรูปอื่น มีส่วนคอยาว แลยอดสั้นทำนองนาคเขมร พุงนกกจาบก็ไม่มี รูปเปนดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกเห็นจะเก่ามากกว่า ดูวัดท่าเสา ฤๅนัยหนึ่งเรียกวัดใหญ่นี้แล้ว กลับทางเดิม มาที่พัก แล้วเลยลงไปดูที่ทำพลับพลาจนถึงวัดท่าข่อย เลือกได้ที่ริมทางไปพระแท่น เสร็จแล้วกลับมาที่พักในเวลาจวนค่ำ ระยะทางแต่ที่พักขึ้นไปวัดท่าเสาฤๅวัดใหญ่ ทาง ๑๐๐ เส้น แต่ที่พักลงไปวัดท่าข่อย ทาง ๔๕ เส้น

๒๑) วันที่ ๖ เวลาเช้า ๒ โมง ๒๐ นาฑี ขึ้นม้าออกจากที่พัก ลงไปตามถนนริมน้ำ เลี้ยวเข้าทางแยกไปพระแท่นศิลาอาศน์ ท้ายวัดท่าถนน ฤๅวัดบางเตาหม้อก็เรียก หนทางเปนป่าตลอด เวลาเช้า ๒ โมง ๕๐ นาฑี ถึงวัดมหาธาตุเมืองทุ่งยั้ง วัดนี้ท่วงทีเก่ามาก แต่เปนรอยได้ซ่อมไว้ค่อนข้างใหม่ มีพระวิหารใหญ่หลังหนึ่ง ผนังอิฐเครื่องประดุทรงแจ้มาก ลายหน้าบรรพ์กลางเปนรูปสัตว์หิมพานต์อยู่ในช่องลูกฟัก บรรพ์รเบียงสลักเปนเรื่องรามเกียรติชุดสหัศเดชะ ผนังในเขียนเรื่องเงาะ โดยอรรถที่กล่าวกันว่า เมืองทุ่งยั้งนี้เปนเมืองเจ้าเงาะ บานประตูเขียนรดน้ำ, เปนเทวดา ประหนึ่งว่าจะเปนจตุโลกบาล แต่ก็ไม่ใช่ แต่ใช่ว่าทำโดยความรู้พิเศษอะไรก็หาไม่ ทำโดยถ่ายมาจากวิหารยอดวัดพระเชตุพนกรุงเทพ ไม่ถ้วนเท่านั้น เห็นได้ว่าฝีมือเขียนทั้งปวงได้ทำแผ่นดินพระนั่งเกล้า ได้สอบถามพระอุตรดิฐดู บอกว่าผู้ใหญ่เล่าว่า พระนั่งเกล้ารับสั่งให้พระยาท้ายน้ำ พระยานครสวรรค์ พระยาอุตรดิฐ มากระทำการปฏิสังขรณ์ จะเปนปีไรแลไม่เห็น ยังซ่อมชั้นใหม่ดูเหมือนเมื่อวานซืนนี้ก็มีในภายนอก พระอุตรดิฐว่าหลวงคลัง เดิมชื่ออิน เปนชาวสวรรคโลกมาปฏิสังขรณ์พระในวิหาร มีพระปูนองค์ใหม่ไม่งามอยู่ประจำที่ กับพระหล่อเล็ก ๆ มากกว่ามากงามก็มีไม่งามก็มี หักก็มี ดีก็มี ได้เลือกพระยืนหักเอามาองค์หนึ่ง เพราะทรงดี พระดีมีองค์หนึ่ง สูงประมาณ ๓ ศอก เปนพระทรงเครื่อง เครื่องทำด้วยทองเหลืองแผ่นตัดซ้อนตัว ประณีตมาก แลปิดทองก็งาม มุขหลังพระวิหาร มีรูปพระศรีอารย์เก่าเหมือนกัน แต่องค์พระเกลี้ยงเกลี้ยง ไม่ปลาดอะไร ดีที่ฐานทำลายทองเหลืองแผ่นตัดซ้อน เปนกนกงามนัก หลังพระวิหารมีพระธาตุ สูงเห็นจะเกือบ ๒๐ วา เปนรูปพระเจดีย์พม่าใหม่อล่องฉ่อง พระสีหสงครามว่า พระธาตุเดิมเล็ก นี่เขาทำบวกเข้าใหม่ พึ่งแล้วเมื่อสองเดือนนี้ ช่างพม่ารับจ้างทำอย่างพม่า พร้อมทั้งประตูกำแพงแก้วด้วย รูปร่างที่ทำใหม่ก็ดีอยู่ ข้างเบื้องซ้ายแห่งวิหารใหญ่ มีโบสถ์หลังหนึ่ง แต่ไม่ใหญ่โต ฝาอิฐเครื่องประดุเก่าแต่ได้ซ่อมเสียใหม่เช่นวิหารแล้วเหมือนกัน พระประธานในโบสถ์เปนพระเก่าพอดูได้ ฝีมือช่างไม่มีอะไรที่จะควรกำหนดจดจำ ท่านเจ้าอธิการวัดนี้ได้ให้หนังสือตำนานพระแท่นสำหรับได้ตรวจดูรู้เรื่องผูกหนึ่ง เพราะท่านทราบข่าวที่ได้ถามเรื่องกับพระยาจางวางเมืองอุตรดิฐ ในตำนานนั้น มีข้อความเพ่นพ่านไม่สู้ติดต่อกัน แลเปนเปลือกมากกว่าเนื้อ คิดว่าจะย่อความมาจดไว้กันลืมต่อภายหลัง ในตำนานนั้น กล่าวถึงวัดมหาธาตุนี้ ว่าพระยาศรีธรรมโศกราชผู้ครองเมืองศุโขไทย ได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดิน แล้วก่อพระธาตุไว้เบื้องบน ถ้ำนั้นมิใช่ถ้ำภูเขา คือขุดหลุมฝังพระธาตุแล้วก่อรวบทับไว้เบื้องบน ผูกภาพยนตร์ไว้รักษา มิให้มีผู้ทำอันตรายได้ การนี้ได้ทำพร้อมด้วยพระอรหันต์สาวกพระพุทธเจ้า องค์พระธาตุเดิมรูปร่างเปนอย่างไร ถามพระสีหสงคราม บอกว่ารูปเหมือนฝาชี หมดปัญญาที่จะรู้สึกได้

ออกจากวัดมหาธาตุเพื่อจะไปพระแท่น เขาชี้ให้ดูหลุมคลีเจ้าเงาะ จะเปนหลุมเขาเจาะทำอะไรแต่ก่อนสักอย่างหนึ่ง ที่มาเปนของปลาดอยู่ได้นั้น เพราะพื้นแถวนั้นเปนศิลาแลงดาษ แล้วมีหลุมเปนรู ๆ ฤๅบางทีจะเปนเองได้ไม่ต้องเจาะกระมัง

ข้ามเนินไปลูกหนึ่งถึงวัดพระยืน อยู่บนเนินอีกลูกหนึ่ง มีมณฑปอยู่หลังเดียวพังกโรกะเร ไม่ได้แวะเลยไปพระแท่นก่อน

ลงจากเนินวัดพระยืนก็ขึ้นเนินพระแท่น มีวิหารหลังหนึ่ง ชอบกลมาก รูปร่างนั้นเก่า ฝาอิฐหลังคาแปเหลี่ยมแต่วางตะแคง แต่เมื่อดูข้างในเห็นเปนเครื่องประดุ จึงเข้าใจได้ว่าไขราเห็นจะผุแล้วซ่อมต่อใหม่ แต่ช่างลักขู ต่อตะแคงเสียอย่างเดี๋ยวนี้ วิธีลดมุขก็ชอบกล มุขหน้าลดลงมากจนทำลายหน้าบรรพ์ชั้นบน ได้อย่างมุขเด็จ แต่จะเรียกมุขเด็จไม่ได้ ด้วยมีพาไลเท่าใน ลวดลายนั้นป่นปี้ เห็นได้ว่าทำเปนการซ่อมติดต่อกันหลายหน คือหน้าบรรพ์นอกเปนลายจีน ในประธานเปนพระจีนมีสาวกสองข้าง พาไลยเปนปลากินสาหร่ายแลอื่นๆอีก ขี้เกียจจดจำ แต่ล้วนเปนลายข้างจีนทั้งนั้น คงจะมีช่างจีนอะไรมาซ่อมสักคราวหนึ่ง หน้าบรรพ์ในเปนลายไทยก้านขด ปลายออกเปนภาพ ดอกใบเปนกนกแกมช่อไม้ พระเจ้าห้าพระองค์ ฝีมือไม่เก่งแลไม่สู้เก่า ช่อฟ้าใบรกาก็ไม่ใช่ปั้นปูนอย่างเก่า ทำด้วยไม้อย่างไม่ดีในกรุงเทพ แต่ทวยเก่า รูปอย่างใช้ทุกวันนี้ แต่ไม่มีกนกหลัง เพราะทวยตั้งชันมากด้วยเชิงชายสั้นกนกหลังเข้าไม่ได้ ซุ้มประตูเปนซุ้มจรณำตามธรรมเนียม แต่ทรงเปนอย่างเก่า ลายบรรพเปนเทพประนมมีกนกแทรกนิดหน่อย บานประตูเปนบานสลักอย่างสวรรค์เช่นบานพระวิหารวัดสุทัศน์กรุงเทพ ข้างลาวเขาเรียกว่าแกะ เพราะเขาทำด้วยพร้าเล่มเดียวเท่านั้น บานประตูนี้ ได้ตั้งใจมาแต่กรุงเทพว่าจะดูเพราะมีคนเคยบอกว่าสลักงามนัก แต่เมื่อได้ดูแล้วออกเสียใจ ที่มันไม่งามเหมือนคาดหมาย คือลายก็ไม่สู้ดี ฝีมือแกะก็โปนเกินเหตุแลหยาบ ไม่ใช่แกะในตัวแท้ ต่อบ้าง ความโปนนั้นหนาเต็มเช็ดหน้า ตัวลายนั่น ล่างที่สุดเปนยักษสามตัวแบกฐานปัทม์ บนฐานปัทม์มีก้านขดงอกขึ้น ๖ ขดวงเดียว เรียงกันขึ้นไป ปลายขดล่างออกเปนรูปครุฑจับนาค ขดที่ ๒ เปนกินนรรำ ขดที่ ๓ เปนหัวคชสีห์ ขดที่ ๔ เปนกินนรรำ ขดที่ ๕ เปนหัวราชสีห์ ขดที่ ๖ เปนกินนรรำ รูปกินนรแลครุฑเปนอย่างเก่าชั้นสรวมเทริด ที่ก้านลาย มีกาบเปนหน้าคาบบ้าง เปนตัวผักบุ้งบ้าง ใบเปนใบไม้รูปเซ่อๆ อย่างใบมม่วงเรานี่เอง ไม่เปนลายที่คิดยากน่าชมเลย อกเลาเปนรูปเทพประนมมีสินเทา ต่อซ้อนกันเปนรักร้อย เทพประนมสรวมเทริดประจำยามอกเลาไม่ยกเปนหน้าตรง หลบเหลี่ยมตามรูปอกเลาทั้งท้ายแลหัวกลางด้วย ผนังโบสถ์เขียนเรื่องปฐมสมโพธิ์ เปนฝีมือบ้านนอก ดูไม่สู้เก่า แต่จะราวคราวไหนประมาณไม่ถูก เพราะยังไม่คุ้นเคยกับมือบ้านนอก

ตัวพระแท่นศิลาอาศน์นั้น ประดิษฐานอยู่ท่ามกลางวิหารภายในบุษบก พระแท่นนั้นมีขนาดวัดได้กว้าง ๒ เมตร ๑๔ เซนต์ ยาว ๓ เมตร ๔๙ เซนต์ มีความเสียใจที่ไม่ใช่ศิลา เปนก่อด้วยอิฐปูนเปนฐานบัลลังก์ทำลายอย่างปั้นไม่เปน ปิดทองล่องชาดพื้น ข้างบนปิดด้วยแผ่นโลหะปิดทอง กลางเจาะรูปเปนที่ทิ้งเงินเรี่ยรายลงในพระแท่น พระอุตรดิฐว่าศิลาอยู่ข้างใน เขาก่อปูนเสริมไว้ข้างนอก อาจจะเห็นได้ในรูที่ทิ้งเงิน จึงได้เอาไม้ติดเทียนส่องลงไปดูก็เห็นแต่อิฐ เปนรอยขุดเปนบ่อไว้พอที่จะขังเงินไว้ได้ เมื่อสิ้นฤดูนมัศการแล้ว ว่าเอาไม้ติดขี้ผึ้งจิ้มเอาเงินขึ้นมา กรมการรวบรวมไว้จัดการปฏิสังขรณ์ บุษบกที่ทรงพระแท่นนั้น ทรงดูได้ คนเปนทำ เปนของรุ่นเก่าด้วย เสาไม้สิบสองนั้นเปนมุมละ ๓ เสา ตั้งห่างกัน เหมือนธรรมาศน์เทศน์ที่วัดมหาธาตุพิษณุโลก ดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก เดี่ยวเสาสั้น ยอดทรงแจ้สมกันดี แต่ลายซ่อมใหม่เสียมากแล้ว แลถึงลายเก่าก็จะไม่สู้เก่งอะไรนัก ข้างหัวพระแท่นมาข้างหน้าวิหารมีโต๊ะหมู่ตั้งเครื่องบูชาอย่างจีนๆมาก มีโกฐกดูกตั้งอยู่ด้วยใบหนึ่ง เห็นจะเปนท่านผู้ปฏิสังขรณ์ ที่ตอกหน้าบรรพ์ไว้เปนเจียกนั้น หลังพระวิหารยกเปนแท่นมีพนัก แลผนังเจาะเปนคูหา บรรจุพระเต็มไปหมดทั้งบนแท่นแลในคูหา งามก็มีไม่งามก็มี พระบ้านหล่อกรุงเทพก็มี ภายนอกวิหารด้านข้างซ้าย ทำเปนมุขเล็กยื่นออกไป อย่างปอติโคของเรือนฝรั่ง ในนั้นมีกะโถนหินตั้งไว้ใบหนึ่ง ปากกว้างประมาณศอกหนึ่ง ว่าเปนบ้วนพระโอฐพระพุทธเจ้า แลมีกุฎอีกหลังหนึ่งอยู่ริมนั้นแต่ห่างออกมาติดกับกำแพงแก้ว ในนั้นมีพระหัก ๆ เล็ก ๆ มาก ข้างขวาวิหารมีต้นพุทราต้นหนึ่ง เรียกว่าพุทราห้อยบาตร จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกพระแท่นศิลาอาศน์นี้ แต่เดิมเข้าใจว่าเปนพระแท่นที่ปรินิพพานประมูลพระแท่นดงรัง แต่ที่จริงหาใช่ไม่ เปนพระแท่นที่มานั่ง ในตำนานมีความว่า เมื่อพระกุกกุสนท์เสวยพระชาติเปนไก่ พระโกนาคมเสวยพระชาติเปนนาค พระกัสสปเสวยพระชาติเปนเต่า พระโคดมเสวยพระชาติเปนโค พระศรีอาริยเสวยพระชาติเปนราชสีห์ ทั้งห้าสัตว์ได้มาจำศีลที่ภูเขาซรอกขณะเดียวกัน แลมีปราถนาอย่างเดียวกันที่จะเปนพระพุทธ จึงทำสัญญาต่อกันว่าถ้าได้สำเร็จเปนพระพุทธเมื่อใดจะมายังที่มงคลสถานนี้ เพราะฉนั้นเมื่อพระกุกกุสนท์ได้ตรัสเปนพระพุทธ จึงเสด็จมาประทับที่ภูเขาซรอกนี้ แลต่อมาเสด็จทุกพระองค์จนถึงพระโคดมได้ตรัสก็เสด็จมา พวกชาวบ้านเอาเผือกมันมาถวายพระรับใส่บาตรแล้วให้พระอานนท์ พระอานนท์จึงไปจัดอาศน (เห็นจะห้อยบาตรที่ต้นพุทราตรงนี้) เสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าจึงเสด็จขึ้นประทับบนศิลาอาศน์ กระทำภัตากฤตย์เสร็จแล้วแย้มพระโอฐ พระอานนท์ทูลถาม จึงทรงทำนายอะไรเหลวๆ ดังจะได้เก็บความมาลงทีหลังจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

นอกบริเวณพระแท่น มีการปเรียญหลังหนึ่งเก่าเหมือนกัน เปนเครื่องประดุ กำลังเขาย้ายสร้างใหม่เพราะเสาเก่าขาด โบสถ์เดิมจะมีฤๅไม่มีไม่ทราบ แต่โบสถ์เดี๋ยวนี้เปนโรงอุโบสถ นั่นก็มีกุฎีเครื่องผูก มีพระสงฆ์ ๒ องค์เท่านั้น

คอยจะกินเข้าแต่เข้ายังไม่สุก จึงย้อนไปดูวัดพระยืน น่าจะไม่ใช่วัด มีแต่มณฑปหลังเดียว หลังคา ๔ ชั้นมุงกระเบื้องเคลือบ ยอดมีพรหมภักตรอยู่ในเชิงบาตรที่กลีบเหมแทนเหม ทรงไม่งาม ข้างในมณฑปตรงกลางมีฐานอย่างพระยืนไม้สิบสอง บนฐานมีรอยพระบาทคู่ทำด้วยปูน ด้านหลังมีฐานชุกชี มีพระต่างๆ ตั้งยัดเยียดไว้มาก หลังมณฑปข้างนอกมีพระเจดีย์เล็กๆสามองค์ ว่าพม่ามาทำไว้ จริงเท็จอยู่แก่ผู้กล่าว วัดพระยืนนี้ในตำนานกล่าวว่าพระเสวยแล้ว มายืนทอดพระเนตรหนองน้ำแลสัตว์ต่างๆ ในป่ามาเฝ้า ทรงแย้มพระโอฐ พระอานนท์ทูลถาม ตรัสทำนายอะไรเหลวๆเหมือนกัน ดูแล้วไปกินเข้ากลางวันที่วัดพระแท่น

เวลาบ่าย ๒ โมง ๒๐ นาฑี กลับจากวัดพระแท่น ลงทางข้างเหนือที่จะไปเมืองลับแล อ้อมเนินกลับมาเข้าทางเดิม เพื่อจะดูเมืองทุ่งยั้ง เขาว่ายังมีคูเห็นได้ แลว่ามีหลายเมืองด้วย ว่าเปนเมืองเขยทั้งหกแลเงาะ แต่เมื่อมาเขาชี้ให้ดูว่าคูเมือง ก็ไม่สู้เต็มใจยอมเชื่อ เพราะดูมันเหมือนท้องร่องสวน กลัวจะเปนทางน้ำไหลตามธรรมดา ในตานานว่าเมืองทุ่งยั้งนี้ เพราะเปนที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์มายับยั้ง จึงได้นามว่าทุ่งยั้ง เมื่อมาตามทางถูกฝนนิดหน่อย เวลาบ่าย ๒ โมง ถึงที่พักอยู่นอน

ระยะทางเดินแต่ที่พักถึงพระแท่นศิลาอาศน์ ทาง ๑๗๐ เส้น

๒๒) วันที่ ๗ เวลาเช้า ๒ โมง ๓๐ นาฑี ขึ้นม้าไปเมืองลับแล อันตั้งอยู่บนแผ่นดินดอนข้างตวันตกเฉียงเหนือของเมืองอุตรดิฐ ระยะทาง ๒๐๐ เส้น เวลาเช้า ๓ โมง ๒๐ นาฑีเข้าเขตรลับแล พระอุตรดิฐอำเภอลับแลมารับ เวลาเช้า ๓ โมง ๔๐ นาฑี ถึงที่พักซึ่งเขาทำไว้รับที่เขาจำศีล จึงลงหยุดพักที่นั้น เขาจำศีลนี้ เปนกองหินหักกับดิน ไม่สูงอะไรนัก เขาถางไว้เกือบจะเหลือแต่ดิน เพราะคิดจะทำศาลอำเภอ เขากะจะทำพลับพลารับเสด็จที่นี้ด้วย เมื่อหยุดอยู่ ณ ที่พักเขาเอาชาวบ้านมาขับรำให้ฟัง ชาวบ้านนี้เปนลาวพุงดำเต็มตัว แปลว่าสาดมาแต่แพร่แลนครลำปางกับน่าน วิธีขับมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งร้องเล่นคนเดียว ผู้หญิงกับผู้ชายว่าโต้กัน เรียกว่า “ว่าเล่น” อีกอย่างหนึ่งร้องเข้าขลุ่ยสามเลา บางทีรำด้วย เรียกว่า “ซอ" หยุดพักครู่หนึ่งแล้ว ขึ้นบนเขาจำศีล ดูกะที่ปลูกพลับพลา ขาขึ้นขึ้นทางใต้เลยข้ามลงข้างเหนือ เดินตามถนนที่เขาตัดไว้ ถูกฝนเลยแวะหนีเข้าวัดบ้านนาโป่ง เปนวัดเก่าแต่เปนวัดป่า ไม่มีอะไรที่พึงชม ในโบสถมีพระหัก ๆ ล้ม ๆ เห็นเรือนแก้วหลังพระเล็กอันหนึ่งเปนของหล่อ แต่พระหายเสียแล้ว เปนของที่รูปแปลกอยู่สักหน่อย แลคล้ายซุ้มพระชินราชด้วย จึงเก็บเอามาด้วย เพื่อจะดูทีแก้ซุ้มพระชินราช ซึ่งข้างตอนล่างยังเห็นไม่เข้าที เข้าใจว่าถูกรื้อทำปุแปงเข้าไว้ พอฝนหายเขาเอาม้าไปรับ จึงขึ้นม้ากลับมาที่พักกินเข้ากลางวัน แล้วพระอุตรดิฐนายอำเภอพาเที่ยวดูบ้านเมือง ซึ่งเขาได้ตัดทางใหม่ไว้เปนอันมาก แต่สพานยังไม่แล้ว ต้องขี่ม้าลงห้วยเปนพื้น ภูมิฐานบ้านเมืองลับแลนี้ งามนักแล เที่ยวสนุกมาก พื้นที่เปนที่ราบบ้าง เปนเนินบ้าง มีเขาใหญ่ซับซ้อนอยู่ไกลๆ ชาวบ้านทำนาบ้าง ทำไร่บ้าง ทำสวนบ้าง สวนนั้นหาได้เหมือนกรุงเทพไม่ จะเรียกว่าป่าต้นผลไม้ก็ได้ มีหมาก มพร้าว ทุเรียน แลอะไรๆ ขึ้นยัดเยียดกันอยู่บนแผ่นดินราย ๆ เมื่อมานี้กำลังเปนฤดูทุเรียนสุก มีกลิ่นข้าพเจ้าเห็นว่าเหม็นตลอดไปทั้งนั้น ในหมู่ไม้เหล่านั้น มีเรือนชาวบ้านเรี่ยรายไป เห็นจะมากหลังคาเรือนนัก ประมาณไม่ถูก เพราะดูไม่ทั่ว แต่กระนั้นลงจากม้ายังเกือบก้าวขาไม่ออก ความงามนั้นเกิดแต่ที่สลับซับซ้อนกัน ที่ดินเปนนาไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ถึงสวน ประเดี๋ยวเปนเนิน มีวัดมีไร่ต่างๆ ประเดี๋ยวเปนเขาเปนป่าไม้ มีห้วยลดเลี้ยวไปตามซอกเขา แลเข้าสวนเข้านา ว่าถ้าราษฎรต้องการน้ำก็ทำฝายกันน้ำประเดี๋ยวก็ล้นเข้านา ถ้าที่สวนนาอยู่ห่างเขาขุดลำรางไปเรียกว่าเหมือง นาสวนไร่เนินเขาสลับซับซ้อนคั่นกันไปไม่มีที่สุด จึงดูงามนัก เมื่อเที่ยวอยู่นั้น ถูกฝนตกหนักเปียกชุ่มจนเลยแห้งไปกับตัว ประมาณไม่ถูกว่าสิ้นทางเท่าใด พระอุตรดิฐว่าที่พามานี้เปนแต่พอสมควร แต่กระนั้นยังเมื่อยแย่ มาถึงบ้านจีนทองอิน เขาชวนให้พักจึงได้หยุดพักเพราะเมื่อยนัก ลงจากม้าเกือบก้าวขาไม่ออก จีนทองอินคนนี้ เปนจีนพ่อค้า หากินทางทำภาษีด้วย เปนคนเจ้าหน้าอยากต้อนรับแขก แกจัดลูกไม้หมากพลูมาเลี้ยง แลเกณฑ์ให้เซนชื่อในสมุดเยี่ยมเยียนด้วย พักหายเหนื่อยแล้วขึ้นม้ากลับมาที่พัก ถึงเวลาบ่าย ๕ โมง ๑๕ นาฑี อยู่นอน

๒๓) วันที่ ๘ เวลาเช้า ๒ โมง ลงเรือเล็กออกจากที่พัก ขึ้นไปตามลำน้ำ จอดที่วัดป่ากล้วย ฝั่งตวันออกแม่น้ำ ขึ้นม้าตัดทางตรงไปเมืองฝาง ตามทางตอนริมตลิ่งเปนป่าพง ลึกเข้าไปเปนป่าเตงรังตลอด ทางเปนน้ำเปนโคลน เพราะเมื่อคืนนี้ฝนตกยังรุ่ง ม้าวิ่งได้บ้าง ไม่ได้ต้องเดินไปบ้างในที่ต้องลุยน้ำ ตอนจวนถึงเมืองฝางเปนป่าแดงเพราะใกล้แม่น้ำ เวลาเช้า ๔ โมง ๔๐ นาฑีถึงวัดฝาง หยุดยังที่โรงพัก เขาทำไว้รับที่หน้าวัดฝางนั้น เข้าไปดูในวัด มีพระวิหารหลังหนึ่งอุโบสถหลังหนึ่ง กุฎพระกัจจายหลังหนึ่ง พระธาตุองค์หนึ่ง ของใหญ่มีเท่านี้ของเล็กมีพระบาทแลพระเจดีย์อะไรอีกจำไม่ได้ถนัด เพราะเห็นไม่สำคัญ สิ่งเหล่านั้นมีที่ตั้งดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกแผนที่วัดฝาง

พระวิหารมีรูปร่างเปนโรงอย่างแจ้ ฝาอิฐ หลังคาเครื่องประดุ แต่ทำอย่างทราม ไม่มีลวดลายอะไร เปนต้นว่าหน้าบรรพ์ก็กระดานกรุเปนลูกปกนเฉยๆ ทวยก็ไม่มี ท่วงทีจะเปนซ่อมใหม่ ผู้ซึ่งไม่มีกำลังทำ ที่ว่าซ่อมใหม่นี้จะได้ใหม่เมื่อวานซืนนี้หามิได้ ใหม่หลายสิบปีทีเดียว ช่อฟ้าเปนรูปดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ทำด้วยไม้กร่อนผุแล้ว ที่ว่าซ่อมใหม่นั้นเพราะเห็นฝีมือไม่ทันบานประตู บานประตูงามนักสลักเปนลายทรงเข้าบินแถวกลาง ช่องข้างเปนก้านขดปลายเปนหางโตแซกแทนดอกซีก ตัวลายปิดทอง พื้นประดับกระจก คันเปนกนกแลตัวผักบุ้ง ควั่นท้องลึกอย่างเก่า เช่นไม้ลายหน้าบรรพ์ที่เอามาแต่โคราช ดอกทรงเข้าบินแลดอกหางโตติดนอก ยกลอยทีเดียว ตัวการสลักไม่สูงนัก เข้ากันหมดงามจริงๆ ดอกทรงเข้าบินแลดอกหางโตบากย้ายทุกทีดีดีทั้งนั้น แต่ไม่เข้าทำนองที่เราทำกันทุกวันนี้ รูปกนกมันสั้นอ้วน แลพลิกหยักเข้าในมาก อกเลาทำนองเดียวกับบานวิหารพระแท่นศิลาอาศน์ เทพประนมสรวมเทริดเหมือนกัน ภายในวิหารมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่บนฐานชุกชีเปนประธานองค์หนึ่ง ใหญ่หัวถึงหลังคา เห็นจะเปนก่อรูปไม่งาม แลมีพระหล่อใหญ่น้อยตั้งยัดเยียดไว้เปนอันมาก

พระธาตุเปนรูปพระเจดีย์กลมเรานี่เอง ตั้งบนเขียงสามชั้น สูงสุดยอดประมาณ ๑๒ วา ยอดที่สุดเปนฉัตร ทรงงามดี เส้นเข้าออกยัดแรงมากผิดกว่าที่เคยเห็นมา รูปค่อนข้างเพรียว ทีไม้เรียวหวดฟ้า ไม่ใช่ลังกาแท้

อุโบสถฝาก่ออิฐหลังคาเครื่องประดุ รูปก็ทีเก่า แต่ดูเหมือนจะได้ซ่อมใหม่เสียแล้วเหมือนกัน เห็นซุ้มหน้าต่างปั้นเปนทีฝรั่งพระนั่งเกล้า มีอรหันต์แบกบานประตูสลักงามอีก แต่พิจารณาดูเห็นเปนของเอามาแต่อื่นตัดใส่เข้า ลายกลางเก่ากว่าลายขอบ ลายกลางนั้นเดิมคงเปนบานใหญ่ มีตัวทรงเข้าบินกลาง ก้านขดออกสองข้างปลาย ก้านเปนหัวสัตว แต่ถูกผ่ากลางทำเปนสองบาน สลักขอบประกอบเอาใหม่ แลตัดข้างบนทิ้งเสียด้วย สลักเปนกนกไม่เปนแทรกช่องไฟไว้ ขดที่มีอยู่บัดนี้ ๔ ขด ขดลายปลายเปนหน้าสิงห์ ขดที่ ๒ หน้าคชสีห์ ขดที่ ๓ หน้าราชสีห์ ขดที่ ๔ เปนหน้าหงษ์ มีกนกออกม้วนตามคางเหมือนครูบานมุก กนกก็ดี แต่ก็เปนแต่ตามธรรมเนียม หูไม่ผึ่ง โบสถ์หลังนี้ทำแปลกกว่าที่เคยเห็นมา ตรงที่ตั้งพระทำมุขเล็กฝากกับประธานโบสถ์อย่างโบสถ์ฝรั่งดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกเมื่อดูตามแผนที่ดูโก้ดี บางทีจะทำให้สงไสยว่าหลังคากระเปาะเล็กจะเปนอย่างไร ไม่เปนการปลาดเลย คือตัดหลังคาพาไลยมุขลดเสียเหลือแต่ผนังในประธาน ดูสูงโทงเทงไป เขาเอาบัวห้ามกลางไว้อย่างตึก ๒ ชั้น ดูก็ขัดกับตัวโบสถ์อยู่อย่างนั้น ไม่เก่งอะไร โบสถ์นี้แลเปนที่ตั้งพระฝาง ซึ่งเอาลงไปกรุงเทพไว้ที่วัดเบญจมบพิตรนั้น เปนที่น่าปลาดใจอยู่ที่บนชุกชี มีพระประธานอื่นเปนเจ้าของครองโบสถ์ แลมีพระเล็กน้อยอาไศรยอยู่บนชุกชีด้วยมาก พระฝางนั้นตั้งไว้กับพื้นตรงปากช่อง ถ้าวัดนี้ทำสำหรับพระฝาง ฤๅพระฝางทำสำหรับวัดนี้แล้ว พระฝางคงจะต้องขึ้นแท่น เพราะเปนพระสำคัญ ที่ไม่ได้ขึ้นแท่นนี้ ทำให้สงไสยไปว่าจะยกมาแต่ที่อื่น เอาไปกรุงเทพแต่องค์พระ ฐานยังตั้งอยู่ที่เดิม แกนฐานทำด้วยไม้ ลายทำด้วยทองเหลืองแผ่นตัดแล่นซ้อนตัวประดับเข้ากับไม้ ลายงามเสมอด้วยเครื่องทรงพระ เพราะเปนฝีมือรุ่นเดียวกัน ลายฐานพระฝางนี้มีแปลกอยู่สองอย่าง ตัวห้ามครีบสิงห์ที่ท้องต่อขา ทำเปนดอกใหญ่ปิดนอกลวดดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก กับมีแปลกที่ผ้าทิพอีก ๒ อย่าง คือผ้าผืนบนที่ห้อยมุมลงนั้นไม่เอา ใช้เฟื่องแทน กับที่ผ้าชายสั้นชั้นล่าง ทำเปนนกคาบชายผ้าเสีย แลทำหลายชั้นซ้อนกันลงมาเปนแถวดังเขียนไว้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ดูเปนเค้าเช่นนี้ ได้เก็บหัวนกที่ตกร่วงอยู่มาด้วยสองอัน ดูฝีมือลายฐานพระนี้ค่อนมาข้างชั้นเรา ๆ ที่อย่างดี ไม่ใช่ฝีมือชั้นบานวิหาร เพราะฉนั้นจึงสันนิฐานในใจว่าพระฝางเกิดทีหลังวัดฝาง จะว่ากระไรก็แล้วแต่จะโปรด

อนึ่ง ที่หน้ากุฎีมีระฆังใบหนึ่ง เก่าทีเดียว เสมอด้วยบานประตู แต่ฝีมือเลวกว่าบานประตูมาก สิ่งที่ควรจดจำในระฆังใบนั้น ก็มีแต่บัลลังก์เปนไม้สิบสอง ซึ่งเปนการผิดกว่าระฆังทั้งปวงซึ่งเคยเห็นมาแล้ว

ทีนี้จะกล่าวถึงเรื่องตีผึ้ง คือเมื่อดูพระวิหาร ได้เห็นผึ้งจับอยู่ที่แปไขราสองรัง เปนผึ้งหลวง จึงได้ไล่เลียงกรมการเขาดูด้วยเรื่องผึ้ง ประเดี๋ยวพระสีหสงครามไปได้ความมา ว่าผึ้งจับอยู่ที่ต้นสำโรงริมวัดนั้น ๓ รัง จึงเดินไปดู ที่จริงมีถึง ๔ รัง รังใหญ่ประมาณ ๒ ศอก ฤๅย่อมสักหน่อย จึงบังเกิดมีความปราถนาที่จะดูตีผึ้งขึ้นมา ก็ถามเขาว่าคนตีผึ้งเปนมีฤๅไม่มีในบ้านนี้ เขาว่ามี แลถามเขาว่าจะจัดการตีให้ดูได้ฤๅไม่ เขาว่าได้ เขาก็ไปจัดการ เราจึงกินเข้ากลางวัน พอกินแล้วก็พอเขาจัดการแล้วพอดี จึงได้ไปดูเขาทำการ คนทำการมีสองคน เรียกว่า หมอ (ตีผึ้ง) คนหนึ่ง เปนคนขึ้นต้นไม้ทำการตีผึ้ง อีกคนหนึ่งเรียกว่าหมอเดิม เปนคนถือเชือกแลคอยส่งของ หมอตีผึ้งมีย่ามตพาย ในย่ามมีเครื่องมือ คือขวาน ลูกทอย แลผ้าคลุมหัวทำด้วยผ้าป่านย้อมตโก ที่ตรงหน้าถักด้วยป่านเส้นใหญ่ เปนตาข่ายตาเล็ก แลย้อมตโกเหมือนกัน เพื่อกันผึ้งต่อยในเวลาทำการ เครื่องมืออันนี้ก็คืออย่างกระโปรงสรวมหัวสำหรับหัดฟันแทงดาบของฝรั่งนั้นเอง เว้นแต่ทำเอาอย่างป่าๆ เมื่อลงมือทำการทีแรก หมอพนมมือนึกอะไรในใจ กราบต้นไม้ที่จะขึ้นทำการสามที แล้วเด็ดใบไม้ต้นอะไรที่อยู่ใกล้มือนั้น ๖ ใบ ควักลูกทอยกับขวานออกมาจบ แล้วเอาใบไม้ ๖ ใบซ้อนทาบต้นไม้ลงที่โคน เอาทอยตรึงใบไม้ตอกเข้าไปสามกึกติดกับต้นไม้ แล้วก็เอาหางเชือกที่หมอเดิมถือนั้นข้างหนึ่งพันคอเข้าก็ปีนพะองซึ่งพาดทาบกับต้นไม้ไว้นั้นขึ้นไปแลร้องสั่งหมอเดิมว่าระวังอย่าให้คนข้ามเชือก มีอธิบายว่าถ้าข้ามเชือกแล้วหมอถูกผึ้งต่อย เมื่อหมอขึ้นสุดพะอง จึงควักลูกทอยมาตอกเข้าไป ถูกทอยนั้นเหลาด้วยไม้ไผ่สด รูปร่างเปนอย่างมีดสามหมุดแต่ไม่ยาวนักราว ๘ ฤๅ ๙ นิ้ว ตอกเข้าไปเห็นดื่มแน่นสนิทดี มือซ้ายก็จับลูกทอยที่ตอกนั้น ก้าวท้าวขึ้นปลายพะอง แล้วมือขวาควักลูกทอยมาอีก เอาสักเข้ากับต้นไม้พอติด แล้วตอกเข้าไปเช่นว่ามาแล้วนั้น แล้วก็เอามือจับลูกทอยที่ตอกใหม่นั้นโหนตัวขึ้นไป แลก้าวเท้าขึ้นไปบนลูกทอยที่ตอกทีแรก ทำดังนี้ขึ้นไปจนถึงค่าคบ ลูกทอยหมดย่ามหมอเดิมก็เอาลูกทอยใส่ถังผูกหางเชือกให้ หมอตีผึ้งก็ชักขึ้นไปถ่ายใส่ย่ามเพื่อทำการต่อไป การที่ต้องตอกทอยนี้ เพราะต้นไม้ที่ผึ้งจับนั้นจับที่ต้นใหญ่จนไม่รู้ที่จะโอบจะจับปีนขึ้นได้อย่างไร จึงตอกทอยต่างคั่นพะอง พอที่จะจับจะก้าวขึ้นไปได้ จะผูกพะองขึ้นไปต้นไม้ก็สูงนัก ๒ คนกำลังไม่พอทำพะองให้ถึงที่ทำการได้ เพราะจะต้องแบกไม้ไผ่หลายสิบลำไม่ไหว ถึงหากว่าจะทำได้โดยไม้ไผ่มีข้างนั้นก็ดี ก็ยังเสียแรงมากกว่าวิธีตอกทอย แต่วิธีตอกทอยน่ากลัวมาก แต่หากเขาเปนคนกล้าแลเคยจึงทำได้ การที่ปีนพะองเสียก่อนนั้นเพราะพะองมีอยู่แล้วพาดไว้ที่นั้น กันเปลืองลูกทอย ที่มีพะองอยู่เพราะต้นไม้ต้นนี้เขาได้ทำมาแล้วแต่ปีก่อน ลูกทอยก็มีตลอด แต่ไม่เอา เมื่อตอกทอยใหม่แล้วต่อยเก่าหักทิ้งหมด เพราะกลัวหลงเหยียบลูกทอยเก่าเมื่อขาลง ลูกทอยไม้ไผ่ค้างปีแห้งกรอบจะหักตกตาย เมื่อหมอขึ้นได้ถึงค่าคบ ได้ถูกทอยเพิ่มเติมแล้ว ก็ตอกต่ายตามกิ่งต่อไป เมื่อถึงกิ่งที่แยกจะไปตรงผึ้งจับ หมอไหว้แล้วเสกในใจเอาขวานสับกิ่งไม้ที่ผึ้งจับสามที อธิบายว่าสกด แล้วตอกทอยบนหลังกิ่ง ต่ายไปจนถึงที่ตรงผึ้งจับอยู่ท้องกิ่ง ฝ่ายข้างหมอเดิมทำคบจุดไฟไว้อันหนึ่งด้วยใบไม้มัด ยาวประมาณสามศอก จุดไฟเสร็จ แล้วผูกหางเชือกข้างล่าง ส่วนหมอตีผึ้งเตรียมตัวสรวมเกราะหัวแล้วชักเอาคบขึ้นไป ความเข้าใจของเราคิดว่า จะเอาคบลนผึ้งให้หนีไปด้วยอำนาจควันแลไฟ แต่ผิดถนัด เมื่อหมอได้คบแล้ว เอาคบเวียนประทักษิณตัวเองสามรอบแล้วร้องว่า “ขัดเจ้านาย ไม่ได้ดอกเว้ย” แล้วก็เอาคบกวาดตัวผึ้งที่รัง อย่างเอาไม้กวาดกวาดผงฉนั้น คราทีนั้นเจ้าผึ้งก็บินออกจากรัง ไปบินเพ่นพ่านอยู่เปนกลุ่มๆ ประเดี๋ยวก็ไปหมด จะได้ต่อยหมอหามิได้ อนึ่งลืมกล่าวไป เครื่องมือของเขายังมีเสื้อกางเกงอีกสำรับหนึ่ง ว่าทำด้วยผ้าป่านย้อมตโกกันผึ้งต่อย แต่วันนี้ไม่ได้ใช้เพราะหาไม่ทัน เอาเครื่องแต่งตัวผู้ใหญ่บ้าน (อย่างเขียนไว้หน้า ๒๐) ทำด้วยผ้าลายสองใช้แทน เมื่อตัวผึ้งไปแล้วหมอก็ทิ้งคบเสีย โรยเชือกมาผูกเอาถังขึ้นไป หักรังพาดบนกิ่งไม้ ปาดหัวน้ำใส่ถัง เอารังทับบนโรยกลับลงมาให้ เปนเสร็จการ แลเขาว่าถ้าหมอจะกินน้ำผึ้ง ต้องเส้นนางไม้ก่อนจึงจะกินได้

ดูตีผึ้งแล้วลงไปท่าน้ำกะที่ปลูกพลับพลาพร้อมด้วยพระวิสูตรแล้ว เลยลงเรือซึ่งกรมการเขาจัดไปรับ เวลาบ่าย ๓ โมง ๓๕ นาฑี ออกเรือจากท่าวัด ล่องดูลำน้ำตลอดมา มีบ้านคนน้อยที่สุด เวลาย่ำค่ำ ๔ นาฑี ถึงที่พักอุตรดิฐขึ้นจากเรือ

อนึ่ง ลืมจดไป ได้เอาพระยืนเล็กมาจากวิหารวัดฝาง ๒ องค์ แต่พระสถิตย์เอามามาก ดูเหมือน ๔ องค์

ระยะทางไปเมืองฝางวันนี้ ทางขาไป ๖๐๐ เส้น ทางขากลับ ๗๖๐ เส้น

๒๔) วันที่ ๙ เช้าไม่ได้ไปเที่ยวไหน เพราะต้องรีบทำแปลนพลับพลาอุตรดิฐให้พระวิสูตรไว้ ด้วยพรุ่งนี้จะไปเมืองด้ง หลวงชำนาญมาหา เอาเงินฟ้าผ่าเยิ้มติดกันมาให้ เล่าว่าเมื่อวานนี้เวลาบ่ายโมงฝนตก นายร้อยโคต่างซึ่งคุมกองโคมาตั้งพักอยู่ที่หาดหน้าวัดป่ากล้วยเรียกลูกกองยกต่างผูกหลังโคจะพาหนีฝน ขณะนั้นฟ้าผ่าลงมาถูกนายร้อยกับโคตัวหนึ่งตาย เงินอยู่ในกระเป๋านายร้อย ๒๐ บาทเยิ้มติดกันเปนตั้งๆ หลวงชำนาญแลกมาให้ตั้งหนึ่งติดกันสามบาท แต่ใส่กระเป๋าเสื้อไว้ ทำเสื้อตกหลุดเสียบาทหนึ่ง แลบอกว่าวันนี้จะมีมวยที่วัดไผ่ล้อมในงานสลากพัตร ถามว่าจะไปดูฤๅไม่ จึงบอกเขาว่าไม่ไป เพราะนัดกับพระครูอุตรดิฐไว้เมื่อท่านมาหาเมื่อคืนนี้ ว่าจะไปเยี่ยมท่านที่วัดบางเตาหม้อ เขาจึงว่าถ้าดังนั้นจะเอามวยไปมีที่วัดบางเตาหม้อ เขาก็ลากลับไปจัด เวลาเย็นเขามาตาม พอแผนที่พลับพลาแล้ว เวลาบ่าย ๕.๑๐ จึงไปวัดบางเตาหม้อ ฤๅวัดท่าถนนก็เรียก ดูมวย ๘ คู่ ต่อยเกี้ยวมากจริงน้อย เข้าต่อยผลัดกันทีละคู่อย่างโคราช สามพักเลิก ดูมวยแล้วขึ้นไปหาพระครูอุตรดิฐบนกุฎี แล้วไปดูโบสถ์เปนของทำใหม่ แล้วเดินไปตามถนนดูที่ปลูกพลับพลา แล้วเดินเลยลงไปตามถนนริมน้ำ คิดว่าจะไปดูวัดกลาง เขาว่าเก่า แต่ไปไม่ถึงเพราะจวนมืดเสียแล้ว ถึงวัดท่าข่อยกลับที่พัก ถึงเวลาย่ำค่ำ ๕๕ นาฑี ทางแต่ที่พักไปวัดท่าข่อย ๔๕ เส้น

๒๕ ) วันที่ ๑๐ เวลาย่ำรุ่ง ๕๐ นาฑี ขึ้นม้าออกจากที่พักเพื่อจะไปเมืองด้ง เดินทางเมืองทุ่งยั้ง ถึงวัดมหาธาตุ แยกทางลงข้างซ้ายมือเข้ารกไป ม้าปีนขึ้นบนกองแลง พระอุตรดิฐว่ากำแพงเมืองทุ่งยั้ง จริงเท็จอยู่กับพระอุตรดิฐ แต่กองแลงไปเปนป่าดง คราทีนั้นเจ้าเหลือบก็ออกมาจากดง กัดเอาเจ้าม้า บางทีคนด้วย แต่ม้ามากกว่า หลวงชำนาญเขาให้แส้หางม้ามาใช้อันหนึ่ง ด้วยรู้ว่าเหลือบชุม จึงเอาแส้ปัดให้ม้าไป แต่ไม่หวาดไหว มาหนักเข้า แต่แรกที่แห้งจึงขับม้าวิ่งไป ถึงที่น้ำขังแลที่โคลนให้ม้าเดินไป ด้วยกลัวล้มหกคเมน ครั้นเหลือบมาหนักเข้า เอามันมาไว้ให้เดินไม่ได้ มันวิ่งเสียเต็มฝีตีนทุกตัว ตัวม้าตัวคนเต็มไปด้วยเหลือบ คนที่ไม่ได้มีเครื่องกันแข้งถูกเหลือบกัดหน้าแข้งป่น ส่วนตัวข้าพเจ้าใส่บู๊ดยาว นึกว่าจะกันได้ แต่หาไม่ มันคลานลงไปทางปากบู๊ดกัดเอาแข้งแลน่องเข้าได้เหมือนกัน กลับอร่อยหนักขึ้นอีก ทำอะไรมันไม่ได้ ต้องเอาด้ำแส้กทุ้งนอกบู๊ดให้มันบี้ตาย พระยาสวรรคโลกแกเห็นกสับกส่ายเต็มที แกจึงแนะนำว่าไปข้างหลัง ค่อยยังชั่ว จึงได้หยุดไล่เจ้าพวกม้าบ่าวทั้งหลายให้ไปหน้า เราลงมาเดินข้างหลังแทนบ่าว สบายจริง ๆ มันรุมกัดอ้ายม้าที่ไปหน้า ๆ เปนกลุ่ม ๆ ถึงม้าที่รั้งท้ายเบาทีเดียว ครั้งนี้มาเห็นคุณแส้หาง ได้เห็นคนเก่า ๆ เขาขี่ม้าถือแส้ขน ออกเคยนึกติเขาว่าไม่เข้าการ ตีม้าไม่ได้ไม่มีประโยชน์ แต่ที่แท้เขาถือด้วยความเคยที่เขาได้เดินทางป่าในการทัพศึกเปนต้น ถูกเหลือบกัดมามากแล้ว ได้นึกทำในใจไว้ ว่าถ้าใครจะมาเดินป่านี้ จะช่วยแนะนำเขา ให้หาแส้หางม้ามาใช้อย่างธรรมเนียมโบราณ เมื่อม้าพาวิ่งมาพ้นป่าดง เข้าป่าเตงรังแลป่าแดงจึงซา เวลาเช้า ๓ โมง ๓๗ นาฑี ถึงศาลาหนองไผ่ที่ต่อแดนอุตรดิฐกับอำเภอด้ง เมืองสวรรคโลก ทางแต่ที่พักอุตรดิฐมาถึงศาลาหนองไผ่ ประมาณ ๖๐๐ ฤๅ ๗๐๐ เส้น ปลงม้าหยุดพักที่ศาลาเพื่อจะกินเข้ากลางวัน แต่สเบียงประทุกช้างมายังไม่ถึง จึงต้องนอนคอยอยู่จนเวลาบ่ายโมง ๓๒ นาฑี ช้างจึงมาถึง ออกอ่อนใจมากในการคอยนาน ที่กะมาแต่อุตรดิฐคิดว่าจะถึงก่อนเที่ยงสักหน่อย ก่อนช้างนิด แต่ผิดหมด เหตุว่าม้าถูกเหลือบไล่ จึงได้ถึงเร็วมาก ส่วนช้างช้าเพราะมันมาหลายตัวชวนโอ้เอ้ แลออกสายไปกว่าที่กะด้วย

กินเข้าแล้ว เวลาบ่าย ๓ โมง ๑๕ นาฑีออกจากหนองไผ่ไปเมืองด้ง ทางตอนนี้ลำบาก เปนโคลนมากแลรกมากด้วย ไม่สู้มีเหลือบไล่ด้วย ม้าก็อ่อนลงด้วย จึงเดินได้ช้าเต็มที ตามทางที่เดินมา เปนป่าดงป่าแดงป่าเตงรังทั้งนั้น จะหาบ้านสักแห่งหนึ่งที่ไม่มี จนเย็นจึงตกทุ่งแม่น้ำพิษณุโลก ในทุ่งนั้นที่ใกล้กับหลังบ้านหาดเชี่ยว ที่สมมตเปนเมืองด้งนั้น ชาวบ้านทำนาไว้บ้าง ค่อยออกชื่นใจหน่อย เมืองด้งเก่าว่าอยู่ในที่เขาล้อมเปนขอบเหมือนกด้ง อยู่เหนือหาดเชี่ยวขึ้นไป เปนทำเลไม่บริบูรณ์แลไข้ชุม จึงเลื่อนมาตั้งอำเภอด้งเสียที่หาดเชี่ยว ขี่ม้าต่ายคันนาไป เพราะเขากำลังไถใหม่เปนโคลนอยู่ จนเวลาย่ำค่ำ ๔๒ นาฑี จึงเข้าท้ายบ้านหาดเชี่ยว หมู่บ้านตั้งเรียงกันไปตามริมน้ำ เรือนยัดเยียดกันเหลือเกิน พลเมืองเปนลาวพุงขาว เรือนก็อย่างลาว ข้ามหมู่บ้านไปออกถนนริมแม่น้ำสวรรคโลก เลียบลงไปตามฝั่งตวันออกของแม่น้ำ จนเวลาทุ่ม ๑ ถึงที่ว่าการอำเภอด้ง เขาจัดที่ไว้ให้พักในนั้น ก็ได้ขึ้นที่พัก เมื่อมาตามทางถูกฝนเปียกหมด พอถึงที่พัก ต้องวิ่งซื้อหาผ้านุ่งมาผลัด เพราะผ้านุ่งประทุกช้างยังมาไม่ถึง คอยอยู่จนเวลายาม ๑ กับ ๓๕ นาฑี ช้างจึงมาถึง ได้กินเข้าถึง ๔ ทุ่มแก่ๆ เกือบ ๕ ทุ่ม ทางเดินวันนี้แต่ที่พักอุตรดิฐ มาถึงที่ว่าการอำเภอด้ง ทางประมาณ ๑๔๐๐ เส้นเศษ กินเข้าแล้วเขาเอาแคนมามีให้ฟัง ฟังได้ครู่เดียวต้องลานอนเพราะอ่อนใจเต็มที

๒๖) วันที่ ๑๑ เวลาเช้า ๔ โมง ๔๐ นาฑี เดินขึ้นไปตามถนนริมน้ำเข้าดูบ้านลาวหาดเชี่ยว ดูเขาทอผ้า แลซื้อผ้า ดูเขาตำเข้า ๖ คนไล่กัน ประเดี๋ยวได้ครก แล้วผ่านเข้าดูวัดโพไซร มีโบสถ์ทำอย่างลาวเปนโบสถ์ก่ออิฐ แต่ทรงไม่งามควรจำ บนเปนอย่างเล็กสูงโทงเทง ช่อฟ้านาคปักทีจีนครึ่งไทยครึ่ง ก็ทำนองที่มีเขียนไว้ในสมุดคาเนีย๑๕ ซึ่งไปเที่ยวทางโขง ไม่เห็นเปนประโยชน์ที่จะจำ แลไม่ชวนใจให้จำ จึงไม่ได้จำไว้ เดินเข้าบ้านต่อไป ดูเขาทอผ้าซื้อผ้า แลดูเขาตีเหล็กแต่ไม่ได้ซื้อเครื่องเหล็ก ที่แท้จริงตำบลหาดเชี่ยวนี้เปนที่ตำบลตีเหล็กขาย มีมีดต่างๆเปนต้น เปนตำบลที่มีชื่อเสียงในการตีเหล็ก แต่พเอิญเวลานี้ไม่มีขาย ไม่มีใครว่าให้ทำก็ไม่ใคร่ทำ เที่ยวดูเต็มพักแล้วกลับที่พักเวลาเที่ยง ๕ นาฑี กินเข้ากลางวัน

เวลาบ่าย ๒ โมง ๓๕ นาฑี ออกจากที่พักอำเภอด้ง ขี่ม้าไปตามถนนริมแม่น้ำฝั่งตวันออก ลงไปถึงท่าบ้านป่ายาง อำเภอเขาจัดเรือมาคอยรับข้ามฟาก ปลงม้าเอาเครื่องลงเรือ ไล่ม้าข้ามน้ำไป พวกเราก็ลงเรือข้ามไปขึ้นฟากตวันตก ผูกม้าแล้วขี่ม้าเลียบทางริมฝั่งลงไป เข้าในเมืองสวรรคโลกเดิม ทางประตูไชยพฤกษ์ เลียบไปตามชายเชิงเทินกำแพงด้านริมน้ำ ถึงช่องตรงแก่งหลวง ปีนเทินกำแพงขึ้นดูแก่งหน่อยหนึ่ง เปนแก่งหินขวางตลอดแม่น้ำ แล้วเลียบเชิงเทินกำแพงต่อลงไป ดูกำแพงแลวัดร้างที่อยู่ริมทาง ขณะวิ่งไปนั้นพระเทพนรินทร์อำเภอเมืองขี่ม้านำ แกเปนคนสูงอายุศีรศะล้านด้วย ม้าไปเหยียบดินพรุหล่มลงไป แกก็หกคเมนลงไปข้างหัวม้า น่าเวทนาแก แต่พระยาสวรรคโลกอยู่ข้างหลังเลยล้อส่งว่า “ตีลังกาหงายท้อง ลุกขึ้นหัวแดง” จะหัวเราะเสียให้ได้ แต่เกรงใจแก ต้องอดทน พระสีหสงครามถามว่า “เจ็บมากฤๅขอรับ” แกตอบว่า “เจ็บขอรับ แต่ไม่สู้กระไร” แกก็ขึ้นม้า แต่อาการดูขัดมาก ไปอีกหน่อยหนึ่งถึงทางลัดท่าข้ามวัดน้อย ซึ่งจะไปตำบลบ้านท่าไชย ซึ่งเรียกว่าเมืองเก่า แต่ไม่ได้ลัดไป เลยเลียบทางริมน้ำไปดูวัดพระปรางค์ ถึงในเวลา ๔ โมง ๔๕ นาฑี เที่ยวดูวัดพระปรางค์แลศาลพระร่วง วัดพระปรางค์นี้เปนวัดดีมากในเมืองสวรรคโลก แต่ดูอย่างรีบร้อนไม่ถ้วนถี่ เพราะจะรีบไปที่พักเมืองเก่า แล้วจึงจะมาดูซ้ำในวันหลัง จะได้จดจำให้ลเอียด เวลาบ่าย ๕ โมง ๕๕ นาฑี ออกจากวัดพระปรางค์ เลียบลงมาตามทางถนนริมน้ำ ถึงที่พักบ้านท่าไชยเมืองเก่า ซึ่งเขาจัดไว้รับนั้นในเวลาย่ำค่ำ ๓๐ นาฑี ขึ้นพักบนที่พัก เวลาทุ่ม ๒ ช้างสเบียงจึงมาถึง ทางเดินวันนี้เท่าใดไม่ทราบ ประมาณราว ๖๐๐ เส้นได้กมัง

๒๗) วันที่ ๑๒ เวลาเช้า ๒ โมง ๔ ขึ้นม้าออกจากที่พัก เลียบถนนริมน้ำขึ้นไป ถึงทางลัดก็ลัดไปตามทางไปวัดน้อยท่าข้าม แล้วเลียบเชิงเทินไปตามทางที่มาวันก่อน ออกประตูไชยพฤกษ์ (อาจารย์เทียรบอก) แล้วตรงไปที่ข้ามบ้านป่ายางเมื่อวันก่อน แต่ไม่ข้าม เลียบขึ้นไปตามชายไผ่ริมน้ำ ตรวจดูเตาทุเรียง คือเตาทำถ้วยชาม จนเกือบถึงบ้านอ้อ หยุดที่เตาถ้วยชามแห่งหนึ่งในเวลาเช้า ๔ โมง ๓๐ นาฑี พระสีหสงครามว่าเปนเตาใหม่ยังไม่มีใครขุดค้นหาถ้วยชาม พระสีหสงครามได้จัดคนมาขุด มีคนผู้หนึ่งเรียกว่าอาจารย์เทียร เปนนายงานชี้ให้ขุดค้น อาจารย์เทียรคนนี้จะเปนอาจารย์อะไรไม่ทราบ ได้ความว่าเปนคนบวชนานสึกมาได้สามปี เปนคนมีศรัทธาแลเปนคนเที่ยวมาก ชอบดูของเก่า ๆ แลหาของเก่า ๆ ที่จมดินจมทราย มีถ้วยโถโอชามแลเงินตราเปนต้น ขายเลี้ยงชีวิตร พระสีหสงครามจึงเอาตัวมาให้ชี้ขุด ตัวอาจารย์เองก็ขุดด้วย

บัดนี้จะได้กล่าวถึงเตาทุเรียงที่เผาเครื่องกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ นั้น ตัวเตาตามที่เมื่อผ่านไปนั้น ก็เหมือนจอมปลวกโต ๆ เรียงกันไปเปนแถวในที่ริมแม่น้ำ ตั้งแต่ริมกำแพงเมืองขึ้นไปจนถึงบ้านอ้ออำเภอด้ง ตามแถวเตานั้น มีหลุมใหญ่น้อยรอยคนขุดคุ้ย แลเกลื่อนกลาดไปด้วยชามแตกบ้าง บุบบี้บ้าง ติดกันบ้าง กับทั้งดากใหญ่น้อยสำหรับรองชามเมื่อเผาเคลือบ รูปดากก็เหมือนดากพุ่มแต่กลางกลวง ทำด้วยดิน กับทั้งอิฐเตาหัก ๆ ด้วย รูปเตาจะเปนอย่างไรไม่ทราบ ไม่มีเวลาขุดดู ที่พระสีหสงครามว่าเตาใหม่ยังไม่มีใครขุดนั้นก็หาใหม่จริงไม่ ที่แท้คือคนขุดรู้การเข้าเขาไม่ขุด แต่ก่อนคนขุดยังไม่รู้ไปขุดเอาเตาเข้าไม่ได้อะไร ตามคำอธิบายของอาจารย์เทียรว่าขุดในเตาสองเดือนก็ไม่ได้อะไร ในเตานั้นมีแต่ทรายอ่อนกับดากรองชาม ชามมีอยู่แต่ที่ข้างเตา เปนที่โรงเขาเก็บถ้วยชาม เมื่อได้ความดังนี้ก็สันนิฐานได้ ว่าอาจารย์เทียรเดาต่อด้วยไม่เก่ง ที่แท้จริงเตาเปนที่เขาเผาชามขาย เผาแล้วก็ขายไปจะมีชามอยู่ในเตาไม่ได้ ที่ข้างเตาซึ่งมีชามนั้นไม่ใช่โรงเก็บ เปนกองชามเคลือบเสียเสียแล้ว ขายไม่ได้เขาทิ้งกองไว้ บรรดาของที่ขุดได้จะได้มีของดีบริสุทธิ์สักสิ่งเดียวที่ไม่มี ที่ว่าดีก็คือชำรุดน้อยเท่านั้น ที่คุ้ยพบวันนี้ที่จัดว่าดีไม่แตกหักสองสิ่ง คือนกกระจีบตัวหนึ่ง กปุกอะไรนิดหนึ่งใบหนึ่ง เสียผิวมีรอยติดกับใบอื่นเมื่อเคลือบ แกะออกจากกันน้ำยาใบอื่นกระเทาะติดมา ต้องเห็นได้แท้จริงว่าเปนของเสียแล้ว ด้วยมีของกองเปนพยานอยู่อย่างหนึ่ง แลคิดเห็นอีกอย่างหนึ่งว่าชามก็เปนทรัพย์ ถ้าเปนของดีอยู่ในโรง คงจะมีคนเอาไปเปนอาณาประโยชน์หมด ที่ไหนจะทิ้งอยู่จนดินทับถม ให้เราผู้เกิดทีหลังเปนหลายร้อยปีได้มาขุดค้นเอาไปเปนอาณาประโยชน์ สิ่งที่เปนเครื่องกระเบื้องเคลือบในแถวนี้ สังเกตเห็นทำของ ๔ ประเภท คือภาชน์ มีถ้วยชามกปุกขวดเปนต้น อย่างหนึ่ง ตุกตาเด็กเล่นฤๅถวายเจ้าอย่างหนึ่ง รูปภาพใช้ในการก่อสร้างอย่างหนึ่ง กระเบื้องเคลือบมุงหลังคาอย่างหนึ่ง เนื้อเครื่องเคลือบก็เปนสองอย่าง ภาชนถ้าเปนชามทำด้วยหินผสมเปนเนื้อถ้วยอย่างจีน บางทีกปุกแลตุกตาเล็กก็ทำด้วยเนื้ออย่างนั้นบ้าง ถ้าเปนของใหญ่ของใช้การหยาบแลของเลวใช้ดิน แต่เปนดินชนิดหนึ่งที่เผาสุกแล้วสีม่วงแขงแกร่ง ดากรองชามก็ใช้ดินอย่างนั้น เขาใช้รองเมื่อเคลือบ เพื่อให้ไฟเดินได้รอบตัว แลน้ำเคลือบไม่อาบติดกับพื้นที่วางอย่างนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก เมื่อได้มาเห็นกระเบื้องเคลือบมุงหลังคาที่นี่ ทำให้มีความรู้ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ว่าความรู้ของเราที่เข้าใจว่ากระเบื้องเคลือบมุงหลังคาเกิดแผ่นดินบรมโกษ ตามพงศาวดารกล่าวว่า ตาขุนฤๅหลวงจันท์อะไรจำไม่ได้ ได้คิดทำถวายมุงหลังคาวัดบรมพุทธารามเปนครั้งแรกนั้นผิด ที่จริงมีมาก่อนนานแล้ว ได้เก็บเอากระเบื้องเคลือบที่เตาทุเรียงมาด้วยแผ่นหนึ่ง เตาทุเรียงทั้งหลายที่ตั้งติดต่อกันอยู่นี้ คงเปนทำเลที่บ้านทำถ้วยชามกระเบื้องเคลือบขาย อย่างบ้านหล่อบ้านบุของเราในกรุงเทพฉนั้น

เตาทุเรียงแปลว่ากระไร ถามอาจารย์เทียร เล่ามูลเหตุให้ฟังว่า สมเด็จพระร่วงเจ้า ได้นางลอองสำลี ธิดาพระเจ้ากรุงจีนมาเปนมเหษี เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งธิดามานั้น ได้ส่งช่างใหญ่ในกรุงจีนมาด้วยสองคน ชื่อพระยาธรรมราช เปนช่างก่อสร้าง ๑ ชื่อพระยาทุเรียง เปนช่างทำเครื่องใช้ ๑ พระยาธรรมราช ได้ทำการก่อสร้างเปนอันมาก มีวัดวาอารามที่งามที่ใหญ่หลายแห่ง ส่วนพระยาทุเรียงได้จัดทำสิ่งต่างๆ มีจัดให้ทำเครื่องกระเบื้องถ้วยชามเปนสิ่งสำคัญ เพราะเหตุฉนั้นจึงได้ตั้งชื่อไว้ในเตาถ้วยชามให้เรียกว่าเตาทุเรียง

ดินซึ่งเอามาปั้นถ้วยชามนั้น เอามาแต่หนองพังงา ซึ่งเดี๋ยวนี้ชาวบ้านเรียกว่า ทุ่งพง่า มูลเหตุที่ดินจะดีนั้น เพราะพระอินทร์เอาน้ำทิพย์มาเทลง คือว่าเดิมทีเมื่อจะสร้างเมืองสวรรคโลกนั้น พระอินทร์นัดกำหนดไว้ ว่าอีก ๗ วันจะเอาน้ำทิพย์มารดกำแพงเมืองให้เปนมงคล ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ก็ไม่เห็นพระอินทร์ลงมา เหตุว่าวันในเมืองสวรรค์ไม่เท่ากับวันในเมืองมนุษย์ แต่มนุษย์ไม่รู้จึงว่าพระอินทร์โกหก ฝ่ายพระอินทร์รู้โดยทิพญาณแล้ว เมื่อครบ ๗ วันก็นำเอาน้ำทิพย์ ๗ กระออมลงมาประดิษฐานยังยอดเขาอินทราช (อยู่ตรงข้ามเมือง) แต่จะได้รดน้ำทิพย์ที่กำแพงตามสัญญาหามิได้ เหตุด้วยมนุษย์หมิ่นประมาทเสียแล้ว จึ่งเอาน้ำทิพย์กระออมหนึ่งเทลงในบ่อแก้ว อีกหกกระออมเทที่หนองพังงา เพราะฉนั้นดินในหนองพังงาจึงดี ทำถ้วยชามได้ สิ้นคำอธิบายอาจารย์เทียรเท่านี้

เวลาบ่าย ๓ โมง ๔๐ นาฑี กลับจากเตาใหม่มาตามทางเดิม แวะดูที่เตายักษ์ ซึ่งพระสีห์สงครามจัดให้คนมาขุดค้นรอท่าไว้แต่เช้า เตายักษ์นั้น คือมีคนขุดหาถ้วยชามแต่ไม่ได้ถ้วยชาม พบแต่รูปยักษ์ไม่ชอบใจ จึงทิ้งไว้ไม่เอาไป ภายหลังข้าหลวงเทศามาตรวจมณฑลพบเข้า จึงเอาไปมณฑล ตามที่ว่านี้ คือ ยักษ์ครึ่งตัวซึ่งอยู่ที่ว่าการมณฑล อันได้กล่าวแล้วในหน้า ๒๓ นั้น มีแต่ครึ่งตัวท่อนล่าง เขาว่าแต่เดิมได้เต็มตัว แต่เมื่อผู้ขุดไม่ต้องประสงค์ทิ้งไว้ ก็มีผู้เคาะเล่นแตกเสียหมด แต่ข้าพเจ้าไม่เชื่อ นึกว่าเปนของเสียแล้วเขาทิ้งไว้ข้างเตาเช่นถ้วยชาม ที่แท้ไม่ใช่เตายักษ์ ควรจะเรียกว่าเตารูปภาพ เพราะไม่ใช่มีแต่ยักษ์ ได้เห็นที่เขาขุดได้แต่ก่อนทิ้งเกลื่อนกลาดไว้นั้น เข่าเทพประนมก็มี แต่มียักษ์แตกอยู่หลายท่อน คือหัวแตกสองหัว แต่ไม่มีเนื้อหน้า ตัวท่อนบนแตกสองตัว กับอะไรต่ออะไรอีกหลายอย่างจำไม่ได้ ไม่เปนชิ้นเปนอัน ที่ขุดได้วันนี้ ตัวท่อนล่างตัวหนึ่ง แต่แตกตั้ง ๑๐ ท่อน แลฝีมือทำก็ไม่เก่งอะไร จึงไม่ได้เอามา เห็นป่วยการ ดูแล้วออกจากเตายักษ์ กลับตามทางเดิม มาถึงวัดตีนเขา ชื่ออย่างเพราะเขาเรียกวัดคีรีเชิงเขา ไม่สู้ไกลจากที่พักนัก ได้แวะเข้าไปดู ก็เปนวัดเก่าอยู่ มีโบสถ์หลังหนึ่ง เล็กนิดเดียว ฝาก่อหลังคาเครื่องประดุ แต่ได้ซ่อมใหม่เสียแล้ว มีวิหารเล็กอยู่ข้างขวาโบสถ์หลังหนึ่ง เปนโถงครึ่งหนึ่ง มีฝาครึ่งหนึ่ง มีพระพุทธรูปใหญ่น้อยมากกว่ามาก พระสถิตย์เก็บเอามาหลายองค์ บนการปเรียญมีธรรมาศน์เทศน์อันหนึ่ง เปนธรรมาศน์ยอด ไม่สู้เก่าแลไม่สู้งาม มีธรรมาศน์สวดอันหนึ่ง ไม่มีหลังคา เปนฐานบัลลังก์ท้องไม้สูงแขวะเปนช่องฟัก ข้างบนมีพนัก ตัวไม้หนาหนักใหญ่ สลักลายทั้งตัว ลายเก่ามากเกินจำ เปนกนกฤๅใบไม้กลาย ๆ มีภาพด้วย เปนภาพชั้นสวมเทริด ตัวลายปิดทองพื้นล่องชาด ไม่งดงามอะไรที่ควรถ่ายถอน และมีคานหามอีกอันหนึ่ง ลายจะพิสดารอย่างไรฤๅไม่นั้นไม่ทราบ อยู่บนขื่อแลไม่เห็น เห็นแต่ทรง ก็ทำนองเดียวกับที่วัดใหญ่ท่าเสาเมืองอุตรดิฐ ซึ่งเขียนไว้ในหน้า ๓๙ แปลกแต่ฟันเปน กระเปาะฉ้อเปนทีไม้สิบสองดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก เวลาบ่าย ๕ โมง ๕๕ นาฑี ออกจากวัดตีนเขา กลับมาที่พัก ถึงเวลาย่ำค่ำ ในเวลาค่ำวันนี้ อำเภอเขาจัดเพลงมามีให้ดูอย่างที่เรียกว่า เพลงอ้ายเป๋ มีปี่พาทย์ด้วย แต่เสียใจ ที่คนซึ่งมาเล่นหาสู้จะเปนไม่ ร้องติดกุกกัก แลคำแก้ไม่กินกัน ถูกฮาค่าที่เซอะพักเดียวเลิก

๒๘) วันที่ ๑๓ เวลาเช้า อาจารย์เทียรมาหา เอาของเก่า ๆ ที่แกหาได้ไว้มาให้ คือ –

๑ พระพิมพ์รูปแผ่นกระเบื้องจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ดินแดง มีรูปพระ ๕๕ องค์ ว่าได้มาแต่วัดพระปรางค์

๒ พระพิมพ์รูปงบน้ำอ้อย ดินแดง มีรูปพระ ๒๕ องค์ครึ่ง ว่าได้มาแต่วัดดอนลานเหนือเตาทุเรียง

๓ พระพิมพ์รูปจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ดินแดง มีรูปพุทธาวตาร กับพระเปนเจ้าอีก ๒ ว่าได้มาแต่วัดโขน อยู่ข้างร้องตาเต็ม นอกเมืองสวรรคโลก ข้างทิศพายัพ

๔ พระพิมพ์รูปจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ดินดำ มีรูปพระเจ้าองค์เดียว ว่าได้มาแต่วัดสระสี่เหลี่ยม อยู่ที่เชิงเขาวัดโพธิ์ลังกา

กับเครื่องกระเบื้องเคลือบ ได้มาแต่เตาทุเรียง ๑๐ ชิ้น มีถ้วยน้ำพริก ๒ ตะเกียง ๓ ขวดจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ๒ รูปควาย ๑ ช้างมีหมอ ๑ สุนักข์นั่ง ๑

ยังคนอื่นเขาได้ให้ของอีกหลายอย่าง ยังไม่ได้จดไว้ลืมเสีย เมื่อได้จดของอาจารย์เทียรนี้ จึงนึกได้ว่าควรจะจดไว้ให้หมด ของเก่าแก่ก็มี จะได้รู้ประเภทที่มาแห่งของเก่า เพราะฉนั้นจะได้จดส่วนที่ล่วงแล้วมารวมไว้ที่นี้ด้วย คือ

วันที่ ๘ เวลาค่ำ พระครูอุตรดิฐ วัดบางเตาหม้อ ฤๅ วัดท่าถนนก็เรียก ได้มาหายังที่พัก เอาพระขัดสมาธิเพชรมาให้องค์หนึ่ง เปนพระเก่าแต่ไม่เก่ง หน้าตัก ๗ นิ้วกับกเบียด

วันที่ ๙ เวลาค่ำ นายเบี้ยวชาวบ้าน อยู่ฝั่งตวันออกเมืองมาถวายตัว แลให้พระขัดสมาธิเพชรองค์หนึ่ง หน้าตัก ๒ นิ้วกึ่ง ดูเปนฝีมือลาว กับพระพิมพ์ มีรูปพระสามองค์ เทวดาสองเรียงกันเปน ๕ มีเรือนแก้วเปนทรงปรางค์ กลีบขนุนเปนรูปพระด้วย

วันที่ ๑๑ ที่เมืองด้งเวลาเช้า หลวงเทพนรินทร์ นายอำเภอด้ง ให้ชามสังกโลกใบ ๑ หัวนาคปักสังกโลกหัว ๑ พระพิมพ์ดอนลานแขวงรแหง ดินดำ มีรูปพระองค์เดียวอยู่ในรัตนาคาร ภายใต้โพธิ์บัลลังก์องค์หนึ่ง มีดหัวงามทำที่บ้านหาดเชี่ยว ๒ เล่ม หมดผู้ให้ที่ล่วงมาแล้วเท่านี้

เวลาบ่ายโมง ๔๓ นาฑี ออกจากที่พัก ขี่ม้าเลียบถนนริมน้ำขึ้นไป เข้าทางลัดวัดน้อยท่าข้าม แล้วเลียบเชิงเทินไปเกือบถึงแก่งหลวง แวะเข้าทางซึ่งเขาตัดไว้ บากเข้าไปกลางเมือง ดูวัดช้างล้อม วัดนี้เห็นมีวิหารหลังหนึ่ง อุโบสถหลังหนึ่ง พระเจดีย์องค์หนึ่ง วางท่าดังที่เขียนไว้นี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก วิหารแลอุโบสถนั้น ไม่ได้ไปดูใกล้ ๆ เพราะพังไม่มีอะไรดู มีแต่เสา ๘ เหลี่ยมโด่ ๆ อยู่เท่านั้น ได้ดูแต่พระเจดีย์ เปนพระเจดีย์ใหญ่สูงประมาณ ๒๐ วา ฐานล่างมีช้างล้อมปั้นครึ่งตัวฝังกับฐาน ฐานชั้นสองมีรูปพระนั่งปั้นหลังติดฐานอยู่ในซุ้มรูปเสมา ชั้นสามจึงเปนฐานพระเจดีย์ รูปพระเจดีย์ก็เปนพระเจดีย์ลังกา ไม่ประหลาดอะไร หว่างช้างมีเสาโคมกั้นทุกตัว เปนเสาปูนก่อ มีบัวปลาย รอบพระเจดีย์มีกำแพงแก้วล้อม มีประตู ๔ ทิศ บนหลังประตู มีพระปรางค์สามองค์ รูปร่างน่าเกลียด ฝีมือวัดนี้เก่าไม่เก่ง

ออกจากวัดช้างล้อม ไปขึ้นเขา ดูวัดบนเขา มีพระเจดีย์ใหญ่ แต่ย่อมกว่าวัดช้างล้อมหน่อย แลฐานเขียงมีแต่ชั้นเดียว หน้าพระเจดีย์มีวิหารใหญ่ มีพระพุทธรูปปูนองค์หนึ่งใหญ่ หน้าวิหารทางลงก่อด้วยแลงเปนบันได ที่เชิงบันไดมีอ่างน้ำ ๔ เหลี่ยมรี ก่อด้วยอิฐถือปูน สำหรับล้างเท้าเมื่อขึ้นไหว้พระเจดีย์ จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกสถานที่นี้อาจารย์เทียรเรียกว่า วัดสุวรรณคีรีบรรพต ดูชื่อหรูหราอย่างเขลาดี ไม่เต็มใจที่จะรับชื่อนี้เลย กลับลงมาจากเขายอดนี้แล้ว อาจารย์เทียรจะพาขึ้นอีกยอดหนึ่ง ว่าเรียกวัดพนมเพลิง เราออกเหนื่อยในการขึ้นเขา จึงถามแกว่ามีอะไร แกว่าก็คล้าย ๆ อย่างนี้ แต่เล็กกว่าแลพังมากกว่า เมื่อได้รับคำอธิบายดังนั้นก็เลยเชื่อว่าคงไม่มีอะไรจะดูจำ จึงเลยกลับไปวัดช้างล้อม เพื่อจะขึ้นม้าไปดูที่อื่นต่อไป ภายหลังเมื่อได้พบพระยารณไชยชาญยุทธ จางวางเมืองศุโขไทย บอกว่าวัดซึ่งอาจารย์เทียรเรียกวัดสุวรรณศรีบรรพตนั้นแลคือวัดพนมเพลิง เขานั้นเรียกเขาพนมเพลิง เขาอีกยอดหนึ่งซึ่งไม่ได้ขึ้นไปนั้น เรียกเขาลอองสำลี ที่อาจารย์เทียรว่ามีวัดบนยอดนั้น เรียกวัดพนมเพลิงนั้นไม่ใช่วัด เปนศาลเทพารักษ แต่เดิมมีรูปเทพารักษ หล่อด้วยทองสำฤทธิ์ ๔ รูปตั้งเรียงกัน องค์สูงประมาณศอกคืบ มีอาการนั่ง องค์ต้นมีอักษรจาฤกนามว่า “พระสุธรรมราชา” เปนรูปชาย องค์ที่สองจาฤกว่า “พระพันวษา” เปนรูปหญิง องค์ที่สามจาฤกว่า “เจ้าดาพทอง” เปนรูปชาย องค์ที่สี่จาฤกว่า “เจ้าลอองสำลี” เปนรูปหญิง แต่เดี๋ยวนี้สูญหายไป ใครทำลายเอาทองไปเสียไม่ทราบ เมื่อได้ทราบความดังนี้ออกเสียใจที่ไม่ได้ขึ้นไปดูท่าทางท้องที่ศาลนั้นเสียเลย แลรูปทั้ง ๔ ชื่อนั้นจะหมายความว่าเปนใคร พระยาจางวางก็ไม่รู้ เมื่อคิดดูเห็นชื่อเจ้าลอองสำลีนั้น ตรงกับที่อาจารย์เทียรว่าเปนลูกเจ้าเมืองกรุงจีน ซึ่งเปนมเหษีพระร่วง แต่ทำไมไม่มีรูปพระร่วงซึ่งควรจะมีไพล่ไปมีแต่มเหษี แต่เปนแน่ธรรมดาความเล่านิทานย่อมจะเลอะเทอะผิดความจริงมาก จะต้องเชื่อพระยาจางวางมากกว่าอาจารย์เทียร เพราะเปนคนแก่อายุ ๗๔ ปี ได้เห็นรูปแลหนังสือด้วยตา อาจารย์เทียรมีอายุแค่ ๔๓ ปี นิทานที่ว่าก็เปนแต่ฟังมาจากคนแก่เล่า เค้าท่วงทีเจ้าลอองสำลีที่แท้จะเปนเมียเจ้าดาพทอง พระพันวษาน่าจะเปนเมียพระสุธรรมราชา พระสุธรรมราชากับเจ้าดาพทอง น่าจะเปนเจ้าผู้ปกครองสวรรคโลก ในคราวที่เมืองจำเริญที่สุดเพราะท่านทั้ง ๒ นั้นปกครอง เปนที่นิยมนับถือของชาวเมือง จึงได้ทำรูปขึ้นไว้บูชา จะว่าเจ้าดาพทอง เปนลูกพระสุธรรมราชาก็ทีจะเหมาะ

ขึ้นม้าออกจากวัดช้างล้อมไปดูวัดพระเจดีย์ ๗ แถว ในวัดนี้มีพระเจดีย์ใหญ่เปนหลักอยู่องค์หนึ่ง มีวิหารอยู่หน้าพระเจดีย์หลังหนึ่ง นอกนั้นมีพระเจดีย์เล็ก ๆ เปนอันมาก มีที่ตั้งดังนี้ ที่ชื่อว่าพระเจดีย์ ๗ แถวนั้น จะรับนับให้ครบเท่าชื่อไม่ได้ ฤๅจะมีอีกกี่แถวต่อไปไม่ทราบ แลไม่เห็นรกนัก แลจะมีอะไรอีก เปนต้นว่าโบสถ์ จะอยู่ที่ไหนเห็นไม่ได้ พระเจดีย์ในวัดนี้ เขาทำยักย้ายมาก พระมหาเจดีย์นั้นรูปแปลก ไม่เคยเห็นมีในเมืองใดหมดที่ได้เคยไปมาแล้ว ฐานเปนแว่นฟ้าสามชั้น ชั้น ๔ โกลนทรงทีเปนองค์ปรางค์ แต่ในแขวะคูหายอดเปนทรงพุ่มเข้าวรรษา ยอดคล้ายพระเจดีย์ลังกา มีรูปดังเขียนไว้นี้แต่เฉพาะองค์จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ฐานแว่นฟ้าไม่ได้เขียนเพราะไม่แปลก พระเจดีย์รูปนี้ควรจะเรียกได้ว่ารูปทนาฬ พระเจดีย์บริวารเล็กๆนั้น ทำยักย้ายแปลกๆมาก แต่ทุกองค์ตอนล่างมักทำเหมือนปรางค์ มีคูหาจตุรมุข บางทีชั้นเดียว บางทีซ้อนสองชั้น ยอดเปนรูปทนาฬ อย่างองค์ใหญ่เช่นเขียนไว้นี้โดยมากจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก บางทีก็เปนยอดปรางค์บ้าง ยอดพระเจดีย์ลังกาบ้าง หน้าพระมหาเจดีย์มีวิหารใหญ่พัง เปนเสาลอยมุขหน้าในประธานมีฝา วัดพระเจดีย์ ๗ แถวนี้ อยู่ติดกับวัดช้างล้อมข้างด้านบุรพทิศ

ออกจากวัดพระเจดีย์ ๗ แถว ผ่านวัดมหาธาตุไป เห็นมีแต่วิหารใหญ่หลังหนึ่ง มีเสาโด่เด่อยู่ในรก รูปร่างจะเปนอย่างไรไม่ได้แวะ เขาว่าไม่มีอะไร วัดมหาธาตุนี้ ตั้งอยู่ติดกับวัดพระเจดีย์ ๗ แถวข้างด้านบุรพา แต่ซัดไปข้างเหนือหน่อยหนึ่ง

พ้นวัดมหาธาตุไป ถึงวัดสมเด็จเจ้าพระยา ติดกับวัดมหาธาตุข้างเบื้องบุรพา เห็นวิหารหลังเดียว นอกกว่านั้นรกเห็นว่ามีอะไรอีกไม่ได้ วิหารนั้นเปนวิหารมีฝามุขหน้าโถง ทำฝีมืออย่างวิจิตร เสาแลฝ้าปั้นลายทั้งนั้น ฝ้าแบ่งเปนช่องเหมือนทำด้วยไม้เปนลูกปกน ในช่องลูกฟักปั้นลายก้านขดดอกไม้ กลางมีภาพตัวหนึ่ง หน้าต่างทำเปนอย่างหน้าต่างลูกกรง มีส่วนกว้างมากกว่าสูง ลายกรอบหน้าต่างปั้นเปนลายลูกฟักก้ามปูดอกไม้ ลายลูกกรงปั้นเปนรักร้อยดอกไม้ มีประจำยามอย่างอกเลา แต่ไม่เพล่เหลี่ยม เสาในประธานกลม อาจารย์เทียรว่ามีลายเหมือนกัน แต่กระเทาะเสียหมดแล้ว เสานอกเหลี่ยม มุมเปนรักร้อยดอกไม้ กลางเปนลายรักร้อยใหญ่ ดูชอบกลอยู่ จึงได้ถ่ายมาลงไว้นี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ลายนี้ดอกบัวใหญ่ทำด้วยดินเผา ใบแทรกปั้นด้วยปูน

ออกจากวัดสมเด็จเจ้าพระยาทางตวันออก ห่างไม่ถึง ๑๐ วาก็ถึงกำแพงเมือง ด้านนี้มีกำแพงอยู่สูง เห็นได้ถึงโคนใบเสมา ว่ารูปใบเสมาเปน ๔ เหลี่ยม แล้วเลยออกประตูเมืองไป อาจารย์เทียรว่าชื่อประตูรามณรงค์ นอกกำแพงมีคู ถัดคูออกไปริมทางข้างประตูนั้นมีสระใหญ่ คล้ายสระสองห้องพิษณุโลก แต่ไม่มีใครรู้ว่าอะไร แล้วเดินเลยวกไปข้างเหนือ ข้ามกำแพงหลังเมืองห้องกลางไปทางเหนือ ออกทางหลังกำแพงริมน้ำที่ท่าประดู่ กลับทางเดิมมาแวะดูพระพุทธรูปที่วัดตลิ่งชัน แล้วมาที่พัก ถึงเวลาบ่าย ๔ โมง ๓๐ นาฑี วัดตลิ่งชันเปนวัดใหม่ไม่มีอะไร

ทีนี้จะกล่าวถึงภูมิฐานแห่งเมืองสวรรคโลก เมืองนี้ได้ย้ายไปสามหนแล้ว ตัวเมืองเดิมทีเดียวเปนอย่างเมืองจริง เคยเจริญมากมาแต่ก่อน ตั้งอยู่ฝั่งขวาแห่งแม่น้ำยม ฤๅแม่น้ำธานีก็เรียก มีกำแพงก่อด้วยศิลาแลงอย่างแน่นหนา อยากจะพิจารณาให้รู้แน่ว่ารูปร่างเมืองเปนอย่างไร แต่ตรวจดูไม่ได้ด้วยไม่มีเวลาพอ ถ้าจะตรวจจริงแล้วจะต้องใช้เวลาแลแรงมาก เพราะร้างรกเหลือประมาณ จึงได้ เดินดูแต่เท่าที่จะดูได้ง่าย ๆ สังเกตเห็นกำแพงเมืองแบ่งเปนสามห้อง มีทำนองเช่นเขียนไว้ในแผนที่นี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก กำแพงที่ลงเส้นดำหนักไว้นั้น เปนส่วนที่ได้เห็นด้วยตาเอง ว่ามีแน่ดังนั้น ส่วนที่ลงเส้นขาด ๆ ไว้นั้น เปนส่วนที่เขียนประมาณตามความคาดคเนอาไศรยแนวกำแพงที่ได้เห็นบ้าง ตามที่มีคนบอกเล่าบ้าง กำแพงห้องที่ ๑ ข้างเหนือน้ำ ชาวเมืองเขาเรียกกำแพงชั้นใน กำแพงห้องที่ ๒ ซึ่งอยู่กลาง เขาเรียกกำแพงชั้นกลาง ห้องที่ ๓ ซึ่งอยู่ท้ายน้ำ เขาเรียกกำแพงชั้นนอก ทางที่ได้เดินดูก็เดินตามเส้นแดง๑๖ซึ่งได้เขียนไว้ในแผนที่ ตามวันที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เส้นแดงลิ้นจี่๑๗หมายเปนทางเดินที่เขาเดินกันอยู่ เส้นแดงชาด๑๘หมายเปนทางเดินที่ตัดใหม่เพื่อไปดูของเก่า ๆ ในเมืองนั้น

เปนการน่าคิดอยู่มาก ที่เมืองได้แบ่งเปนสามห้องนี้ว่าจะเปนมาอย่างไร ห้องที่หนึ่งได้เห็นสองด้าน คือด้านริมน้ำกับด้านตวันออก ด้านริมน้ำมีตัวกำแพงที่อย่างสูงก็เพียงหลังเชิงเทิน ที่เตี้ยก็เปนแต่มูลดิน พอสังเกตได้ว่าเปนแนวกำแพงหักพังเปนท่อนเปนตอนเตี้ยบ้างสูงบ้าง ตีนเชิงเทินตอนข้างเหนือน้ำมีคู จะสำหรับอะไรไม่ทราบ ฤๅคลองหลอดก็จะเปนได้ กำแพงด้านตวันออกมีอยู่สูงถึงเชิงใบเสมา ไม่มีเชิงเทิน ในกำแพงห้องที่ ๑ นี้ มีวัดอยู่มาก แลเปนวัดใหญ่ๆ ด้วย มีต้นไม้ใหญ่มาก ถึงแก่ราษฎรได้ตัดฟันชักไปลงท่าประดู่ เปนไม้กระยาเลยทั้งนั้น ดูเหมือนหนึ่งว่ากำแพงห้องที่ ๑ นี้จะใหญ่มากกว่าห้องอื่น พระเทพนรินทร์ว่าได้วัดแต่ก่อน มีขนาดดังนี้ ด้านริมน้ำ ๒๓ เส้น ๙ วา ด้านตวันตก ๓๓ เส้น ด้านใต้ ๒๔ เส้น ด้านตวันออกเฉียงใต้ ๑๔ เส้น ด้านตวันออก ๑๙ เส้น กำแพงเมืองห้องที่ ๒ ได้เห็นสามด้าน คือด้านริมน้ำ มีเหมือนห้องที่หนึ่ง ด้านตวันออกเห็นแต่เปนคันริมทางที่ผ่านไป ด้านใต้ก็เห็นแต่เปนคันริมทางที่ผ่านไปเหมือนกัน ในกำแพงห้องที่ ๒ นี้ มีวัดแล้ววัดเดียว พื้นที่ก็ไม่ใคร่มีต้นไม้ใหญ่ เปนที่นา มีราษฎรทำบ้าง ปนอยู่กับป่าแดง กำแพงห้องที่ ๒ นี้มีรูปแคบยาว กำแพงห้องที่ ๓ ได้เห็นสองด้าน คือด้านริมน้ำ มีเหมือนห้องที่ ๑ แต่มีนิดเดียว กว่านั้นเห็นจะพังลงน้ำ ด้านตวันออกเห็นแต่เปนคันดินอยู่ริมทางผ่าน แต่บางทีไม่ใช่กำแพงก็เปนได้ เพราะไม่เห็นไส้ว่าเปนอิฐฤๅแลง ในกำแพงห้องที่ ๓ นี้ มีวัดเก่าๆมากเหมือนห้องที่ ๑ เว้นแต่มีวัดใหญ่อยู่วัดเดียวแต่วัดพระปรางค์เท่านั้น นอกนั้นเปนวัดเล็กๆทั้งสิ้น กำแพงห้องนี้จะใหญ่เล็กอย่างใดสันนิฐานไม่ได้ แม่น้ำคงจะได้กัดพังเสียมาก พื้นที่รกหนักเหมือนกัน แต่ไม่สู้มีต้นไม้ใหญ่มากเหมือนห้องที่ ๑ ตามความสังเกตเห็นดังนี้ จึงมีความเห็นว่าที่เมืองเปนสามห้องฉนี้ น่าที่เดิมทีที่นี้จะเปนสองเมือง คือข้างเหนือน้ำเมืองหนึ่ง ใต้น้ำเมืองหนึ่ง ภายหลังจึงเชื่อมกลางให้ติดสองเมืองเปนเมืองเดียวกัน เหตุที่เห็นเช่นนี้ เพราะห้องกลางไม่มีสิ่งสำคัญเปนเครื่องหมายแห่งความเปนบ้านเมืองเสมอด้วยสองห้องข้างหัวท้ายเช่นกล่าวมาแล้วนั้น แต่ทำไมเดิมจึงจะได้เปนสองเมืองมาอยู่ชิดๆกันฉนั้นก็ว่ายาก จะคิดว่าเดิมตั้งเมืองหนึ่งก่อน ภายหลังไม่ชอบใจด้วยเหตุอะไร ๆ แล้วสร้างขึ้นใหม่ฉนั้นก็ไม่ได้ เพราะสังเกตฝีมือที่ทำไว้ในวัดซึ่งมีอยู่ทั้งสองห้องนั้น เปนฝีมือเก่าเสมอกัน จะเปนได้ฤๅไม่ถ้าหากเมืองศุโขไทยเปนเมืองหลวง พระเจ้าแผ่นดินเมืองนั้นจะสร้างเมืองทั้งสองนี้ให้ลูกท่านอยู่ติดๆ กัน เปนอย่างสเคลเล็กๆ คิดดูอยู่ข้างจะอึดอัด แต่ที่คิดว่าเปนสองเมืองแต่เดิมนั้น เปนอันแน่ใจ ไม่มีสงสัยเลย พงศาวดารเหนือว่ากระไรในการสร้างเมืองนี้ก็จำไม่ได้ จำได้แต่เงา ๆ ว่าบาธรรมราชตั้งบ้านอยู่ที่นี้ แลมีกษัตริย์อะไรมา รับสั่งปรารภกับบาธรรมราช แลบาธรรมราชได้ยินเปนจะให้สร้างผลาโอ ความรู้สึกของชาวเมืองเหนือนี้ จะได้รู้สึกว่าเมืองนี้เดิมเปนสองเมืองนั้นหามิได้ แต่รูปร่างเมืองสับสนไม่เรียบร้อยนั้นรู้สึก จนมีนิทานประกอบ อาจารย์เทียรเล่าว่า กำแพงเมืองสวรรคโลกนี้ ทำตามรูปลูกประคำของพระฤๅษีสัชนาลัย ซึ่งเปนครูของบาธรรมราช พระฤๅษีจัดการให้บาสร้างเมือง บาจึงปฤกษาพระฤๅษีว่าจะสร้างรูปร่างเมืองอย่างไรดี พระฤๅษีไม่บอกได้ จึงกระทำเสี่ยงทายอธิฏฐานว่า ถ้ารูปใดจะเปนมงคล จะโยนลูกประคำขึ้นไป ขอให้ตกลงมาเปนรูปอย่างนั้น แลก็โยนขึ้นไป จึงตกลงมาเปนรูปเกะกะอย่างเช่นรูปกำแพงซึ่งเปนอยู่ บัดนี้ ที่บาธรรมราชได้ถ่ายสร้างไว้ตามรูปวงลูกประคำ ต่อนี้ไปก็ไปเข้าเรื่องพระอินทร์จะเอาน้ำทิพย์ลงมารดกำแพงเช่นกล่าวมาแล้วในเรื่องเตาทุเรียง หน้า ๖๐ นั้น ความพิสดารกว่านี้ได้ฟังจากพระยาจางวางศุโขไทย ว่าเดิมพระฤๅษีสัชนาไลยจำศีลอยู่ที่เขาพนมเพลิง ภายหลังจึงคิดอ่านให้บาธรรมราชสร้างเมือง ว่าจะเกิดยุคเข็ญ น้ำท่าจะเปนน้ำเมา จะเกิดศึกสงคราม ที่อันจะสร้างเมืองนั้น เห็นว่าที่เขาพนมเพลิงนั้นเปนไชยภูมดีควรสร้างเมือง พระฤๅษีจึงย้ายไปอยู่เขารังแร้ง ที่เขาพนมเพลิงนั้นจึงสร้างขึ้นเปนเมือง เมื่อพระฤๅษีเห็นเมืองเรียบร้อยบริบูรณ์ดีแล้ว จึงได้เชิญพระบรมธาตุที่เขารังแร้งมาบรรจุไว้ในสำเภาทอง ลอยไว้ในสระฤๅอ่างทองใต้ดิน แล้วสร้างพระมหาธาตุไว้เบื้องบน (วิธีบรรจุตรงกับที่มีในพงศาวดารเหนือ) พระมหาธาตุนั้น คือพระปรางค์ที่วัดพระปรางค์ท้ายเมือง ความข้อนี้ก็มาเปนพยานในการที่ว่าเดิมเปนสองเมือง ในกำแพงเมืองห้องที่ ๑ วัดมหาธาตุก็มี วัดพระปรางค์นี้ก็เปนวัดมหาธาตุอีก ก็ต้องเปนวัดสำหรับเมืองห้องที่ ๓ วัดมหาธาตุจะมีสองวัดในเมืองเดียวกันไม่เคยได้ยินแบบฉบับ

ถ้าผู้ใดไม่รู้ความ ตั้งใจจะไปดูเมืองสวรรคโลกที่พรรณามานี้ในเมืองสวรรคโลกจะไม่ได้พบเลย เพราะเมืองได้ย้ายไปเสียถึงสามครั้งแล้ว เมืองสวรรคโลกที่ว่าบาธรรมราชสร้างนี้ เปนเมืองเดิมทิ้งร้างเสียแล้ว แต่ไม่รู้ว่าทิ้งเพราะเหตุอะไร ชื่อที่นั้นก็ไม่มีเรียกต้องตั้งเอาเองเรียกว่าเมืองร้าง เมืองได้เลื่อนลงมาตั้งใหม่ที่บ้านท่าไชยเปนเมืองครั้งที่ ๒ บัดนี้เรียกว่าเมืองเก่า อยู่ใต้เมืองร้างลงมาคุ้งน้ำหนึ่ง ที่เมืองเก่านั้นบ้านช่องก็มีมาก แต่ทิ้งอีก บัดนี้ตั้งวังไม้ขรเปนเมืองสวรรคโลก อยู่ใต้เมืองเก่าลงไปมาก เปนเมืองครั้งที่ ๓ แต่เหตุที่ย้ายครั้งนี้ได้ความ พระยาสวรรคโลกบอกว่าพระยาสวรรคโลกที่ชื่อนาคบ้านอยู่วังไม้ขร ได้เปนพญาขึ้นก็ว่าราชการอยู่ที่บ้าน วังไม้ขรจึงเปนเมือง นี่ก็ตามแบบเก่าที่เลว ตั้งออฟฟิศที่บ้าน เปนแฟชเนเบิลอยู่คราวหนึ่ง

ในเพลาค่ำวันเดียวกันนี้ พระเทพนรินทร์ อำเภอเมืองเก่าได้ให้ชามสังคโลกบุบติดกัน ๒ ใบชิ้นหนึ่ง กับพร้าหัวงามทำที่หาดเซี่ยว ๒ เล่ม

๒๙) วันที่ ๑๔ เวลาเช้า ๒ โมง ๔๕ ขึ้นม้าออกจากที่พักไปดูวัดพระปรางค์ซ้ำอีกทีหนึ่ง ถึงในเวลาเช้า ๓ โมงกับ ๑๐ นาฑี เที่ยวดูอะไรๆ ที่ยังดูไว้เมื่อวันแรกถึงไม่ถ้วนถี่ จะได้พรรณาในบัดนี้ตามที่ได้เห็นทั้งสองวันนั้นต่อไป

จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกแผนที่วัดพระปราง เมืองสวรรคโลก

สิ่งทั้งปวงในวัดพระปรางค์ มีที่ตั้งดังนี้ พระปรางค์เปนหลักสำคัญในวัดนี้ มีขนาดสูง พระเทพนรินทร์อำเภอเมืองบอกว่า ๒๐ วา นพศูลต่างหาก เปนแบบอย่างชั้นกรุงเก่า ที่กระเดียดมาข้างเราเดี๋ยวนี้ มากกว่าไปข้างเขมร ทรงงามที่หนึ่ง ชนะที่ได้เคยเห็นมาแล้วทุกแห่ง ไม่จำเปนต้องบอกรูปในที่นี้มากนัก เพราะรูปถ่ายพระปรางค์องค์นี้ มีอยู่ที่บ้านแล้ว คูหาปรางค์ด้านตวันออกชักยาว มีบันไดขึ้นทางหลังวิหารใหญ่ ที่ประตูคูหาชั้นนอก มีบานไม้สลักรูปเทวดายืน รูปร่างคล้ายบานมณฑปวัดพระศรีสรรเพชกรุงเก่า ซึ่งเอาไปไว้ยังมิวเซียมกรุงเทพ แต่นี่ยังเก่ากว่านั้นอีก นุ่งผ้ารุ่มร่ามทีใกล้เขมร ไม่กระเดียดมาข้างภาพเราทุกวันนี้เลย ไม่เปนความรู้อะไรนักได้ จึงไม่ได้คัดมา ในเข้าไปยังมีประตูอีกชั้นหนึ่ง แต่มีบานเดียว หักตแคงพิงอยู่ ตรวจดูไม่มีลายสลักลายเขียน เปนแต่ลงรักไว้ ทีใครจะซ่อมคราวใดแต่ไม่สำเร็จ เพดานในองค์ปรางค์หลุดลงมาตแคงอยู่ สลักลายกลางเปนดอกบัวบาน กรอบเปนดอกไม้ หูช้างเปนรูปเทพประนมต่อกับดอกไม้ เปนลายทำเก่า แต่ไม่ดุดันอะไร กลางห้องพระปรางค์ มีพระเจดีย์เล็กรูปทนาฬอย่างวัดพระเจดีย์ ๗ แถว เห็นจะเปนที่บรรจุพระบรมธาตุ แต่มีนักเลงขุดแล้ว องค์พระปรางค์ตั้งอยู่บนฐานเขียงสูง มีพระรเบียงเปนเพิงหน้าเดียวแอบอยู่กับฐานเขียง โดยรอบ เว้นแต่ที่บันไดขึ้นพระปรางค์ แลมีวิหารทิศทั้ง ๔ ทิศพระปรางค์ ข้างด้านตวันออกมีพระวิหารใหญ่ มีพระประธานใหญ่อยู่กลางองค์หนึ่ง พระยืนอยู่ข้างละองค์ ต่อไปพระลีลาอีกข้างละองค์ เปนแถวหนึ่ง ๕ องค์ ก่อด้วยอิฐปูนทั้งสิ้น นี่เปนพระประจำที่ นอกนี้ยังมีพระชำรุดอีกหลายองค์ ศิลาทรายบ้าง ทองเหลืองบ้าง หักล้มทิ้งอยู่เกลื่อนกลาด เห็นว่าจะเปนพระจรมาแต่รเบียง ที่ของท่านไม่ได้อยู่ที่นั่น ข้างด้านใต้ด้านดวันตกแลด้านเหนือ มีวิหารเล็ก มีพระปูนเปนประธานวิหารละองค์เดียว ทั้ง ๔ วิหารนั้น มีพระรเบียงเชื่อมถึงกันอีกชั้นหนึ่ง มีพระหักๆนั่งอยู่บ้าง มีงามมากองค์หนึ่ง อยู่ข้างวิหารด้านเหนือ แต่พระเพลาชำรุด มีกำแพงแก้วล้อมพระปรางค์โดยรอบ มีประตูด้านหน้ากับด้านหลัง กำแพงทำด้วยแลง เหลาเปนเสากลม ปักเรียงอย่างเขื่อนแต่ชิดกัน มีแลงอกไก่ทับหลังประตูเปนหลังคายาว มีมุขลด ช่อฟ้าปั้นลม กลางหลังคามียอดปรางค์แขวน เพล่เอามุมออกจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก รูปมีอยู่แล้วที่บ้าน ไม่ต้องเขียนถ่ายไปดู ต้องเขียนมาดูแต่ลายหน้าบรรพ์ เปนรูปราชสีห์ เห็นมันเก่าพิฤกดี เอาแต่หัวมันมาดูเล่นจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก มันก็ทรงเรานี่เอง แต่มีเขา มันไถลไปข้างเขมร สิงห์เขมรมีเขาเหมือนกัน แต่นี่มันดีที่มีสร้อยคอด้วยถูกตำราดี ของเราเหลว มุมกำแพงแก้วข้างในด้านหลัง มีพระเจดีย์ลังกาเล็กมุมละองค์ มุมกำแพงแก้วด้านหน้าข้างซ้าย มีกุฎพระนาคปรก หลังมีพระเจดีย์ลังกา ๒ องค์ ใหญ่ ๑ เล็ก ๑ มุมขวามีกุฎพระนั่ง แต่จะเปนกิริยาอะไรไม่เห็น อิฐหลังคามันพังทับลงมาเสีย หลังกุฎมีพระเจดีย์ลังกาองค์หนึ่ง หน้าวิหารใหญ่มีอ่างน้ำทำด้วยแลงขุดทั้งแท่ง ปากกว้างประมาณ ๓ ศอกใบหนึ่ง ตั้งตแคงอยู่ ที่อยู่ของมันจะอยู่ตรงนั้นฤๅมาแต่อื่นก็ไม่ทราบ แลจะใช้สำหรับอะไรก็ไม่ทราบ จะเปนอ่างล้างเท้าเมื่อจะเข้าไปนมัศการพระในวิหารจะได้ฤๅไม่ก็ไม่แน่ รอบกำแพงแก้วข้างในมีเสาปักรายอยู่ชิดกำแพงโดยรอบ คอเสาปั้นเปนลายแปลก ๆ กัน เปนต้นลายนาคเกี้ยว แลเปนภาพเรื่องก็มี บัวปลายเสาเปนบัวบัลลังก์ แลต่อบัลลังก์ขึ้นไปยังมีอะไรอีกหน่อยแต่หักเสีย เขาว่าเปนเสาโคม ดูก็เข้าที ในหนังสือเก่าๆมักกล่าวถึงเสาไต้ นี่จะเปนเสาสำหรับตามไต้ก็ได้กระมัง นอกกำแพงแก้วล้อมพระปรางค์ออกมาข้างหลัง มีกำแพงทำด้วยหินแลงตัดเปนแท่งเหลี่ยมปักเปนเขื่อนอีกวงหนึ่ง บรรจบกับกำแพงแก้วพระปรางค์ ในวงนั้นมีพระเจดีย์รูปร่างพิกล เหมือนหนึ่งจะเปนพระเจดีย์ลังกา แต่ไม่แน่ เพราะเห็นไม่ถนัด ด้วยปูนแตกเหลือแต่อิฐ รูปมีทำนองดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก แปลว่ายอดทลาย ฉัตรยอดนั้นพระผู้วิเศษปักไว้ เรื่องพระผู้วิเศษจะได้เล่าภายหลัง เมื่อจะได้กล่าวถึงเสาธงผู้วิเศษ พระเจดีย์องค์นี้ เรียกว่า “โมคคัลลาน์ เจดีย์” ว่าเปนที่บรรจุธาตุพระโมคคัลลาน์ เหตุมีตำนานว่าเมืองสวรรคโลกนี้ เปนบ้านเดิมที่เกิดแห่งพระโมคคัลลาน์ หลังพระเจดีย์นี้ มีวิหารหลังหนึ่ง มีพระประธานปูนใหญ่องค์หนึ่ง หลังวิหารมีเสาโด่เด่ สังเกตได้ว่าเปนโรงอีกหลังหนึ่ง นึกว่าศาลา แต่ฤๅจะเปนอะไรไม่ทราบ แลดูไม่เห็นมีพระในนั้น นอกกำแพงแก้วล้อมพระปรางค์ออกมาข้างหน้า มีคันดินพอสังเกตได้ว่าเปนกำแพงอีกวงหนึ่ง บรรจบกับกำแพงแก้วพระปรางค์ ในวงนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง มีพระประธานปูน มีเสมาล้อม ตรงหน้าพระอุโบสถออกไปนอกกำแพง มีมณฑปมุงกระเบื้องสียอดหักอยู่หลังหนึ่ง ว่าเปนศาลพระร่วงแลพระฦๅ มณฑปนี้ไม่สู้ชำรุดนักเพราะไม่สู้เก่า แลดูเหมือนจะได้มีผู้ซ่อมอยู่บ้าง เพราะถูกหวยรวยไป ในศาลมีรูปสองรูป เปนรูปพระห้ามสมุทรปั้นไม่เปน พระเศียรทรงฝาละมี ว่าเปนรูปพระร่วงองค์หนึ่ง พระฦๅองค์หนึ่งเดิมเปนงาต่างหาก นี่ใครหล่อใหม่ไม่ทราบ บนฐานชุกชีที่รองรูปนั้น มีตุกตาต่าง ๆ อย่างถวายเจ้าอเนกอนันต์ กับที่ประตูมีว่าวห้อยต่องแต่งอยู่มาก ในวัดนี้นอกจากศาลพระร่วงแล้ว หลังคาไม่มีเลยพังหมดแล้ว ถึงกระนั้นก็ดี วัดนี้ยังเปนอย่างที่ชำรุดน้อยกว่าทุกๆ ในเมืองสวรรคโลกบรรดาที่เปนวัดเก่า พระพุทธรูปในวัดนี้ มีคนใจบุญคนหนึ่ง ได้กระทำการปฏิสังขรณ์ ด้วยอาการที่เก็บเอาพระหักๆ ไปแก้ไข องค์หนึ่งไม่มีพระเศียร องค์หนึ่งไม่มีพระองค์ แต่ขนาดเท่ากันก็เอาติดต่อกันเข้าด้วยปูน ที่พระหัตถ์พระบาทขาดควรเหลาด้วยไม้ต่อก็ใช้ไม้ ที่ควรใช้ปูนปั้นก็ใช้ปูน แล้วลงรักปิดทองเหลืองอร่าม รวมตั้งไว้ในโรงปลูกขึ้นในลานวัด เคียงกำแพงแก้วพระปรางค์ข้างซ้าย การนี้ทำด้วยเรี่ยราย หลังโรงพระบุรณะนี้มา มีเสาหงษ์ยาวประมาณ ๒๕ วา ทอดอยู่ตลอดลานวัด เคียงกำแพงแก้ว โมคคัลลาน์เจดีย์ข้างซ้าย ต้นเสาร้อยอยู่กับเสาตเกียบปักอยู่สุดเขตรหลังวัด มีเสาปั้นจั่นสูงปักอยู่คู่หนึ่ง พระสีหสงครามบอกว่าเสาธงนี้ เปนของพระผู้วิเศษทำขึ้นเพื่อจะสำแดงปาฏิหารให้คนนิยม แต่เมื่อยกปั้นจั่นคนตายสามคน จึงยังเปนการที่จะต้องจัดแก้วิธีการยกเสาใหม่ พอประจวบท้องตรามีไปให้จับตัวผู้วิเศษส่งมากรุงเทพ ก็จับส่งมาเสีย การจึงค้างอยู่ เมื่อได้พิจารณาดูเสาธงนั้น ก็เห็นว่าจะยกขึ้นไม่ได้ ด้วยใช้ไม้เสายาวประมาณต้นละ ๔ วา โตประมาณ ๔ กำ ต่อกันอย่างนี้เปนหลายต่อจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ถึงยกขึ้นได้ก็หัก พระองค์นั้นจะมาแต่ไหนไม่ทราบ มาอยู่ที่วัดพระปรางค์ ปรารภว่าจะยกเมืองสวรรคโลกให้รุ่งเรือง จะซ่อมวัดพระปรางค์ เขาถามว่าจะเอาเงินที่ไหนทำ ก็ว่าถ้าทำเงินก็มีเอง แลมักจะพูดอะไรให้ไม่ใคร่จะได้ความชัดมากๆ ราษฎรเดาว่าเปนพระร่วงมาเกิด พากันแตกตื่นนิยมมาเปนศิษย์หาฤๅอุบาศกฤๅบ่าวมากมายหลายพันคน ท่านผู้วิเศษนั้นจึงจะได้ทำการยกเสาธงใหญ่เปนผเดิมให้สมควรแก่ฤทธิเดช เกณฑ์ศิษย์หาอุบาศกช่วยกันทำ พอยกปั้นจั่นก็ล้มทับตายสามคน ผู้วิเศษว่าให้เอาใส่โลงทิ้งไว้เถิด แล้วมันก็เปนขึ้นเอง กิติศรัพท์ที่คนตื่นแตกเข้าหามากนั้นลงไปถึงกรุงเทพ จึงมีตราสั่งขึ้นมาให้จับตัวส่งลงไป การที่จะจับนั้นจับที่วัดพระปรางค์ไม่ได้ถนัด เพราะกลัวศิษย์หาจะฆ่าตาย เพราะขรัวสั่งว่ากระไรก็เปนนั่น พวกเหล่านั้นล้วนพากันกระด้างกระเดื่อง ไม่ฟังบังคับเจ้าเมืองกรมการ จึงต้องหลอกเอาท่านขรัวลงไปที่เมืองใหม่วังไม้ขรจับกันที่นั่น

โอลืมจดไปหน่อย พระปรางค์ในวัดนี้ได้สังเกตชั้นมาว่าจะจดไว้ด้วย เพราะชั้นมักจะทำต่างๆ กัน มีอย่างไรบ้างจะได้รู้ไว้ พระปรางค์องค์นี้ มีชั้นบัญชร ๕ ชั้น ชั้นที่ ๕ บังลังก์เพล่เหลี่ยมออกหาวงกลม เหม ๓ ชั้น บัวต้นเสาปลายเสาแลฐานในองค์ฟันแปลกอยู่หน่อยเช่นนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ต้นเสาปลายเสานั้นเหนได้ว่าที่ฟันหลายชั้นเพราะเปนของใหญ่ ถ้าไม่ฟันหลายชั้นก็ดูเยิ่นไป ฐานในองค์ เมื่อดูเขียนฉนี้ก็เห็นขัดทรง แต่เมื่อดูองค์จริงไม่เห็นขัดเลย เพราะองค์อยู่สูง เขียงที่ยื่นอยู่นั้นฐานบัลลังก์บังหมดไม่แลเห็น เห็นเหมือนหนึ่งมีเชิงบาตรององค์อยู่บนฐานบัลลังก์สามชั้นเท่านั้น

เวลาเช้า ๓ โมง ๕๐ นาฑี กลับจากวัดพระปรางค์ แวะดูวัดชมชื่น อาจารย์เทียรแนะนำว่ามีลาย แต่เมื่อไปดูลายก็มีจริง แต่ว่าแตกเหลือเปนกระบ่อนกระแบ่น ดูรู้ไม่ได้ว่าท่าทางเปนอย่างไร ลวดลายนั้นอยู่หน้าคูหาใหญ่ ข้างในคูหามีพระประธานก่อใหญ่ แต่ดูไม่ออกว่าคูหานั้น จะเปนเรือนแก้วตั้งพระอยู่ในวิหาร ฤๅคูหาจะเปนประธานของวิหาร มีมุขเข้าชนกับคูหาก็ไม่ทราบ เพราะว่ารกนักแลไม่เห็น หลังวิหารมีพระเจดีย์ลังกาองค์หนึ่ง มีคูหา ๔ ทิศ แต่ออกทแยงทางทิศน้อย วัดชมชื่นนี้อยู่ริมทางที่กลับจากวัดพระปรางค์มาที่พัก อยู่ในกำแพงเมืองห้องที่ ๓ ดูอยู่ครู่เดียวไม่เห็นอะไรแล้วก็กลับที่พัก เลยลงไปตามถนนริมน้ำทีเดียวไม่แวะที่พัก เพื่อจะไปให้ถึงเมืองสวรรคโลกใหม่ที่วังไม้ขรวันวัน

เมื่อได้เขียนภูมิฐานเมืองสวรรคโลกแล้ว จึงได้พบในพงศาวดาร ซึ่งกล่าวถึงเมืองสวรรคโลก เมื่อพระนเรศวรเสด็จมาตี ในจุลศักราช ๙๒๖ มีชื่อประตู ๔ ประตู ทำให้ยิ่งสงไสยชื่อประตูที่อาจารย์เทียรบอกหนักเข้า ในพงศาวดารมีว่า พระนเรศวรตรัสให้เข้าตีเมืองสวรรคโลกทางประตูสามเกิด ประตูหม้อ ประตูสพานจันทร์ เผาป้อมชั้นนอกประตูสามเกิดแต่เข้าไม่ได้ โหรทูลทำนายว่าถ้าตีทางทิศอุดรแหลมจึงจะได้ จึงโปรดให้ถอยทัพไปปล้นทางประตูดอนแหลมก็เข้าเมืองได้ดังนี้ ประตูดอนแหลมคงอยู่ทางวัดพระปรางค์เปนแน่ ประตูหม้อ คิดว่าช่องที่ออกไปเตาทุเรียง เพราะว่าที่แถวนั้นคงเปนบ้านทำหม้อทำชาม เช่นเดาไว้นั้น ประตูสพานจันทร์ ประตูนั้นคงจะมีสพานข้ามแม่น้ำ ถ้าจะคเนว่าอยู่ตรงไหน ก็จะต้องเดาว่าอยู่ที่แก่งหลวง เพราะเปนที่ตื้น อาจจะทำสพานได้ง่าย ประตูสามเกิดนั้นไม่มีเค้าจะเดา แต่ประตูเหล่านี้คงจะอยู่ใกล้แม่น้ำทั้งสิ้น เพราะในพงศาวดารว่าพระนเรศวรเสด็จครั้งนั้น ตั้งทัพ ณ วัดไม้งาม วัดนี้เขาว่าอยู่ฝั่งตวันออก ตรงวัดน้อยข้าม คงข้ามเข้าตีที่ใกล้ที่สุด

ลืมไปอีกอย่างหนึ่ง เมื่อดูวัดพระปรางค์อยู่นั้น อาจารย์เทียรมาหา เอาดอกไม้ธูปเทียนมาถวายตัวเปนข้า กับเอาเงินตราโบราณมาให้ ๗ ก้อน คือเงินบาทบาท ๑. ตราอะไรไม่ทราบ แลไม่เห็นลบถมหนัก จะต้องหาอาจารย์ดู เปนเงินคดด้วงก้อนเดียวสองตรา เงิน ๒ สลึง ๓ ก้อน ตราช้างสังข์ ๒ ตราช้างกับอะไรอีกสองตราไม่ทราบ ๑ จะต้องหาอาจารย์ดูเหมือนกัน เงินสลึงตราช้างสังข์ ๒ เงินเฟื้องตราอะไรไม่รู้ ๑ จะต้องปฤกษาอาจารย์เหมือนกัน เงินเหล่านี้แกว่าแกหาได้ที่สวรรคโลกนี้เอง

ในหนทางแต่เมืองเก่าไปวังไม้ขรนั้น มีบ้านคนเกือบจะตลอดทาง ว่างเปนที่รกน้อย เวลาเช้า ๕ โมง ถึงวัดทุ้งยาง หยุดพักม้าครู่หนึ่งแล้วไปต่อไป เวลาเช้า ๕ โมง ๔๕ นาฑี ถึงเมืองสวรรคโลกใหม่ ซึ่งตั้งที่วังไม้ขร ลงเรือข้ามไปขึ้นที่ว่าการเมืองซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตวันออก ขึ้นดูที่ว่าการเมือง แล้วไปตรวจออฟฟิศโทรเลข แล้วไปขึ้นที่พักเวลาเที่ยงกับ ๕ นาฑี ที่พักที่นี้ เขาจัดศาลซึ่งได้ปลูกสร้างพึ่งแล้วใหม่ยังไม่ได้ใช้นั้นเปนที่พัก

เวลาบ่าย ๕ โมง ๔๕ นาฑี ออกจากที่พัก เดินไปเยี่ยมพระยาสวรรคโลกที่บ้าน อยู่ใต้ที่พักไปหน่อย แล้วเดินกลับย้อนขึ้นไปตามถนนริมน้ำ แวะวัดสว่างอารมณ์ เพราะธรรมาศน์ยอดซึ่งอยู่บนการปเรียญมันเตะตา น่าปลาดอยู่ที่วัดนี้เปนวัดใหม่ ไม่มีอะไร แต่เหตุใดจึงมามีธรรมาศน์เก่า พระยาสวรรคโลกบอกว่ายกเอามาแต่วัดตีนเขาที่เมืองเก่าก็เปนที่พอใจ ธรรมาศน์นั้นก็ไม่แปลกปลาดอันใดในทรวดทรง ยอด ๔ ชั้นฐานมีสิงห์มีครุฑแบกอย่างที่มีโดยมาก เว้นแต่ฟันทรงเรียบดี มีสิ่งที่แปลกก็คือกระจังฐาน ตัวมุมฟันเปนนาคสามเศียรโกลนทุกชั้น แต่ดูก็ไม่สู้งามกระไรนัก มีสิ่งที่ชอบใจอยู่ ๒ อย่างที่คิดจะรวบรวมไว้ดูที่แปลกๆกัน คือลายลูกฟักก้ามปูกับทวย ที่ในธรรมาศน์นั้นดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

ขณะเมื่อมองดูอะไรต่ออะไรอยู่ในการปเรียญนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ขุนอาทรตาดี สอดเข้าไปเห็นหัวยักษ์ใต้ชั้นไว้พระ ควักเอาออกมาดู เปนหัวยักษ์เคลือบ ซึ่งทำที่เตาทุเรียงมีเพียงคอ มียอดสามยอด เล็กลิเสียยอดหนึ่ง เขี้ยวลิข้างหนึ่ง ปีกไก่ลิข้างหนึ่ง นอกนั้นยังดี น่าดูเต็มทีเก่าไม่เคยเห็น เห็นมาก่อนแต่ตัวหน้าไม่เคยเห็นแลอยากเห็น ก็มาได้สมใจนึก ออกดีใจมาก ถามท่านพระครูเจ้าวัดว่าได้มาแต่ไหน ท่านว่าสมีเพชรเอามา จะได้มาแต่ไหนไม่ทราบ สมีเพชรคนนี้ เดิมอยู่เมืองสิงห์ ขึ้นมาหาไม้ที่สวรรคโลกเพื่อไปทำวัด มาจอดอยู่ที่แก่งหลวงนาน ภายหลังต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิก ได้ตำแหน่งที่สมีเพชร พักอยู่ข้างใกล้เตายักษ์ ให้นึกไปว่าเห็นจะได้จากเตานั้นเอง จึงได้ขอหัวยักษ์นั้นแก่ท่านพระครูเอามาเสียด้วย

ออกจากวัดสว่างอารมณ์ไปดูโรงเรียน ออกจากโรงเรียนไปดูภูมิเมืองตามถนนริมน้ำ ขึ้นไปจนเหนือถนนแยกไปพิไชย เวลาจวนค่ำเดินกลับมาถึงที่พัก เพลาทุ่ม ๑ กับ ๑๕ นาฑี

เวลาค่ำวันนี้เขามีเพลงอย่างอ้ายเป๋ให้ดู วันนี้เล่นคอยยังชั่วหน่อย พระครูกับปลัดวัดสว่างอารมณ์มาเยี่ยมด้วยในค่ำวันนี้

ลืมจดไปอีกอย่างหนึ่งแล้ว เมื่อดูวัดพระปรางค์เมื่อเช้านี้ ได้เห็นลูกปราลีเคลือบแตกตกอยู่ในวิหารใหญ่ใบหนึ่ง นึกว่าลูกมหวด แต่คิดๆท่าที่ใส่มหวดไม่ถูก ครั้นเที่ยวบุกดูอื่นต่อไปจึงได้พบยอด แลพบตัวลูกที่ยังมีขาง่ามสำหรับคร่อมกับอกไก่ ได้ติดต่อกะทรงดู คงจะเปนเช่นเขียนไว้นี้เมื่อมันยังไม่แตก จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกเขาเคลือบขาวทั้งตัว เว้นแต่ขาง่ามไม่ทาน้ำเคลือบถึง เห็นจะฝังในปูนที่ถืออกไก่

๓๐) วันที่ ๑๕ เวลาเช้า พระปลัดวัดสว่างอารมณ์มาหา เอาพระหล่อของเก่าอาการมารวิไชยมาให้ พระองค์นี้งามมาก มีที่เสียที่ไหล่ต่ำไปกว่ากันข้างหนึ่ง ถ้าหาไม่จะเปนพระที่พอใจทีเดียว มีขนาดหน้าตักคืบหนึ่งพอดี กับพระยาสวรรคโลกให้มีดเหน็บหาดเซี่ยว หลวงปลัดก็ให้มีดเหน็บหาดเซี่ยว กับกรมการใครอีกคนหนึ่งจำไม่ได้ให้มีดเหน็บหาดเซี่ยวกับผ้าเช็ดหน้าลาวทำที่หาดเซี่ยว รวมกันเปนมีด ๑๓ เล่ม ผ้าเช็ดหน้า ๑๑ ผืน

เวลาเช้า ๒ โมง ๔๔ นาฑี ออกจากที่พัก ไปลงเรือที่หน้าท่า ล่ำลากรมการที่เขาช่วยเหลือส่งเสียแล้ว เวลาเช้า ๒ โมง ๔๙ นาฑี ออกเรือล่องตามลำน้ำไปเมืองศุโขไทยใหม่ ซึ่งตั้งยังบ้านธานี เวลาเที่ยง ๒ นาฑี ถึงสำโรง ซึ่งแต่ก่อนเปนเมืองศรีสำโรง บัดนี้จัดเปนอำเภอสำโรง จอดที่พักแรมเขาจัดไว้รับ หยุดกินเข้ากลางวัน

เวลาบ่าย ๒ โมง ๔๕ นาฑี ออกจากที่พักสำโรง ล่องลงไปตามลำน้ำ แม่น้ำตอนนี้มีบ้านเรือนห่าง แลแม่น้ำตอนทับผึ้งแคบมาก อย่างที่แคบที่สุดเพียง ๕ วาก็มี แลคดมากด้วย เขาว่าแม่น้ำตรงนี้เปลี่ยนแปลงมากเสมอด้วย เวลาทุ่ม ๑ กับ ๙ นาฑี ถึงเมืองศุโขไทยใหม่บ้านธานี จอดเรือยังแพที่พัก ซึ่งเขาจัดไว้รับหน้าที่ว่าการเมือง พักนอนอยู่ที่นั้นคืนหนึ่ง

๓๑) วันที่ ๑๖ เวลาเช้า ๓ โมง ๔๕ นาฑี ขึ้นเดินตามถนนริมน้ำลงไปข้างใต้ ดูภูมิลำเนาเมือง มีบ้านร้านตลาดไม่สู้มากนัก คนน้อยกว่าที่วังไม้ขรเมืองสวรรคโลกมาก ถึงวัดราชธานีแวะเข้าดู วัดนี้พระยารณไชยชาญยุทธ จางวางเมืองศุโขไทยสร้าง มีโบสถ์หลังหนึ่ง วิหารหลังหนึ่ง เปนฝีมือไม่เก่า ไม่มีสิ่งที่ควรชมอย่างใด มีสิ่งที่ควรดูอยู่แต่พระพุทธรูป คือว่าพระยาจางวางไปขนเอามาแต่เมืองเก่า แต่ล้วนเปนพระหักเกือบจะทั้งสิ้น ที่นับว่าดีก็เพียงชำรุดเล็กน้อย แล้วมีตาปขาวของท่านคนหนึ่งเปนช่างซ่อม เอาพระเศียรองค์หนึ่งไปต่อกับองค์หนึ่งที่พอเข้ากันได้ ซ่อมพระหัตถ์พระบาททุกอย่างแล้ว ปิดทองไว้เอี่ยมสอาด การซ่อมพระที่นี้ ก็เหมือนกับที่วัดพระปรางค์เมืองสวรรคโลก เขาว่าคนที่ทำที่วัดพระปรางค์เปนลูกศิษย์ตาปขาวคนนี้ มีความพอใจที่จะทำอย่างนี้ พระพุทธรูปที่ตาปขาวได้บุรณะไว้นี้ ตั้งไว้ในโบสถ์แลวิหารเต็มไปทั้งนั้นมากกว่ามาก ไปดูๆ ไม่ชอบใจสักองค์หนึ่งที่ซ่อมแล้ว ชอบองค์หนึ่งก็มีแต่พระเศียร เขายังไม่ได้บุรณะ จึงเก็บเอามาด้วย ในเมืองศุโขโทยแลสวรรคโลก จะหาพระหล่อที่ไม่ชำรุดได้โดยยากที่สุด เพราะเก็บเอาไปกรุงเทพหมดนานแล้ว ออกจากวัดไปดูที่ว่าการอำเภอ แล้วไปดูที่ว่าการเมืองกับศาล ซึ่งกำลังทำใหม่ พื้นสูงจากดิน ๓ ศอก แต่กระนั้นก็อยู่ข้างยอบแยบ เพราะเมืองนี้ตลิ่งต่ำมาก ถึงฤดูน้ำน้ำจะร่อพื้น ห่างเพียงคืบเดียวเท่านั้น กลับจากที่นั้นมายังที่ว่าการเก่า พูดกับพระยาศุโขไทยครู่หนึ่งด้วยเรื่องราษฎรร้องทุกข์ แล้วกลับลงแพที่พักเวลาเช้า ๔ โมง ๔๕ นาฑี

กินเข้ากลางวันแล้ว เวลาบ่าย ๒ โมง ๒๐ นาฑี ลงเรือออกจากแพที่พัก ไปเข้าคลองท่าหินจอดท่าเขาทำให้เปนที่ขึ้นในเวลาบ่าย ๒ โมง ๓๐ นาฑี ขึ้นม้าไปเมืองศุโขไทยเก่า ตั้งอยู่ฝั่งตวันตก ระยะทางห่างจากแม่น้ำ ๒๘๐ เส้น ถึงเมืองศุโขไทยเก่าในเวลาบ่าย ๓ โมง ๔๓ นาฑี ขึ้นพักบนที่พักซึ่งเขาจัดไว้รับ พระยารณไชยชาญยุทธจางวางเปนผู้ต้อนรับ เพราะเปนคนชำนาญเมืองเก่ามากกว่าคน แลเปนคนชอบเที่ยวเมืองเก่า แต่ก่อนมาท่านเคยมาถือศีลที่นี่ทุกอุโบสถ แลบัดนี้ถึงกับมาซื้อสวนมพร้าวปลูกเรือนอยู่ในเมืองเก่านี้ ได้มาอยู่ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เดือนก่อน แลตั้งกองพยายามทำแผนที่เมืองคิดจะทูลเกล้าฯ ถวาย เพราะเห็นว่านานไปก็จะรู้อะไรไม่ได้เข้าทุกที ท่านได้เอาแผนที่ซึ่งทำไว้มาให้ดู แลปฤกษาว่าจะควรถวายได้ฤๅไม่ แผนที่นั้นได้ทำโดยอุตสาหะ วัดอย่างลเอียด แต่การทำเปนอย่างความรู้ข้างไทย อยู่ข้างได้แองเกิลไปหมดทุกอย่าง ถึงกระนั้นก็ยังเปนดีมาก จึงได้แนะนำเต็มที่ให้ท่านถวาย คงจะเปนสิ่งที่พอพระราชหฤทัยมาก แลได้ขอคัดท่านมาด้วยฉบับหนึ่ง ตามที่ได้เขียนลงไว้นี้ จะได้เปนทางที่ทำให้เข้าใจดีเมื่อจะได้กล่าวต่อไปถึงการที่ไปเที่ยวในสถานที่เหล่านั้น

จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

เวลาบ่าย ๔ โมง ๔๕ ออกเดินไปดูตระพังทองซึ่งอยู่ข้างที่พัก ตระพังเปนภาษาเขมร เห็นจะแปลว่าสระ ตระพังทองเปนสระกว้างประมาณ ๔ เส้นครึ่งสี่เหลี่ยม กลางมีเกาะกว้าง ๒ เส้นสี่เหลี่ยม ในเกาะมีวัดเรียกว่าวัดกระพังทอง มีพระเจดีย์ลังกาสูงประมาณ ๑๒ วาอยู่กลาง ข้างหน้าด้านตวันขึ้น มีวิหาร ข้างหลังด้านตวันตกมีโบสถ์ ข้างข้างทั้งด้านเหนือแลใต้มีพระเจดีย์เล็กๆ เรียงเปนแถวทั้งสองด้าน อย่างที่เขียนไว้ในแผนที่เมืองศุโขไทย หน้า ๘๑ นั้น สิ่งทั้งปวงเหล่านั้น แต่ล้วนชำรุดพังเคทั้งนั้น แต่โบสถ์ได้มุงหลังคาแฝกไว้ ท่านพระยาจางวางท่านจัดการ เพราะวัดนี้ท่านได้จัดเปนที่พักรักษาอุโบสถของท่าน มีกระท่อมน้อยปลูกลงในตระพังข้างหลังเกาะหลังหนึ่ง เปนที่ท่านอยู่จำศิล แลท่านได้ชักชวนพระมาอยู่ ปลูกกุฎีแฝกไว้ข้างเกาะด้านเหนือหลัง ๑ ให้พระอยู่ แต่ไม่ใคร่สำเร็จ เพราะพระที่มาอยู่ทนจู๋ไม่ไหว อยู่หน่อยแล้วก็ไป จะว่าหากินไม่ได้ก็ใช่เชิง เพราะบ้านคนในเมืองเก่านี้ก็มี จะเปนด้วยพวกในเมืองนี้จนไม่มีอะไรให้กิน ฤๅมันเปลี่ยวไม่สนุกโปกฮาก็ไม่ทราบ พระจึงไม่อยู่ แต่เมื่อเวลาไปคราวนี้พระมีอยู่ ท้องตระพังมีน้ำเฉาะแฉะ มีหญ้าและอ้ายรกๆ ต่างๆ ขึ้น น้ำใช้ไม่ได้

ดูตระพังทองทั่วแล้ว เดินกลับมาออกถนนใหญ่ คิดว่าจะไปวัดมหาธาตุ แต่ฝนข่มเหงต้องกลับคืนเข้าที่พัก แต่ไม่ข่มเหงมากนัก

เวลาบ่าย ๕ โมง ๕๐ ฝนหาย ออกเดินแต่พวกเรา ไปดูวัดมหาธาตุ วัดนี้เปนวัดสำคัญในเมืองนี้ ที่มีเรื่องซึม ๆ เกี่ยวอยู่ คือ ๑ พระศรีสากยมุนีที่วัดสุทัศน์เดิมอยู่ที่นี้ แลขอมดำดินก็อยู่ที่นี้ แต่แผนที่วัดจะเปนอย่างไรไม่สามารถจะสังเกตเห็นได้ ดูไปทางไหนก็มีแต่พระเจดีย์กับกุฎพระพุทธรูป เบียดเสียดเยียดยัดกันเต็มไปทั้งนั้น ไม่เปนท่องเปนแถวที่จะสังเกตได้ ถึงว่าวัดนี้เก่าแล้ว ชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว จนไม่มีหลังคาดูเลยก็จริง แต่สังเกตสิ่งที่ก่อสร้างซึ่งยังเหลือ ก็เห็นได้ว่าสิ่งเหล่านั้นหาได้สร้างคราวเดียวกันไม่ เพิ่มเติมเปนคราวๆไม่รู้จักหยุด เขาช่างตั้งใจจะสร้างวัดนี้วัดเดียวเสียจริงๆ จะเอาไม่ให้มีที่แผ่นดินว่างเลยให้ได้ แผนที่วัดมหาธาตุนี้ ซึ่งพระยาจางวางได้เขียนไว้ ดูเห็นก็หาสู้จะถูกไม่ แต่จะติว่าผิดที่ไหนก็ยาก มีพระเจดีย์ออกเต็มไปทั้งวัดคล้ายตาเห็นเหมือนกัน ตกลงต้องยอมว่าถูก จะพูดมากไปถึงแผนที่วัดก็ป่วยการเสียเปล่า จะจดหมายแต่ที่ได้เห็นได้ดูจำเพาะสิ่งสำคัญดีกว่าจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

ตามที่ได้ดูวันนี้ คือดูพระมหาธาตุ องค์พระมหาธาตุเปนรูปพระเจดีย์ทรงทนาฬ ตั้งบนชั้นแว่นฟ้า ๓ ชั้น อย่างพระมหาเจดีย์ ที่วัดพระเจดีย์เจ็ดแถว อันได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หน้า ๖๕ นั้น เว้นแต่พระมหาธาตุที่นี่ใหญ่สูงกว่าหน่อย แลบนฐานเขียงมีปราสาทยอดพระเจดีย์ล้อมอยู่ ๘ องค์ ๘ ทิศ เว้นแต่พระเจดีย์จะเปนรูปอะไรไม่ทราบ ด้วยพังลงมาเสียเกือบหมดแล้ว แต่คฤห์ยังดี ตัวลำยองมีลายปั้นอย่างเก่ากนกผักกูด แต่ไม่เก่งเข้าลายก็ไม่สู้ดี เปนต้นว่าที่ตัวลำยองต่อหางหงษ์ ปั้นรูปกินนรประนมทับซ้อนไว้ ไม่เข้ากับอะไร แต่ตั้งใจจะยักย้ายเหมือนกัน เปนต้นว่าช่อฟ้าทำตามธรรมดาก็มี ทำเปนหน้าขบตัวลำยองอย่างชวาก็มี ในซุ้มคูหาช่องคฤห์ปั้นรูปพระลีลาบ้างยืนบ้างทุกคูหา ที่ฐานเขียงเห็นจะมีลายทั้งนั้นทีเดียวเหมือนกัน เห็นแห่งหนึ่งมีรูปพระสาวกเดินประนมมือเปนแถวอยู่สามองค์ แต่จะว่าปั้นไว้ตรงไหนไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ารูปฐานเขียงฟันอย่างไร ด้วยอิฐปูนดินถมทับเปนกองสยุมภูเสียมาก รอบฐานเขียงพระมหาธาตุ มีพระรเบียงล้อม พังหมดต้องพิจารณาจึงรู้ ด้านใต้ด้านตวันตกด้านเหนือมีวิหารทิศ เห็นแต่ฐานปัทม์ ด้านหน้าตวันออกเปนวิหารใหญ่ พังเหลือแต่เสา ก่อด้วยศิลาแลง เปนเสาสิบแถว ๔ ห้อง แปดแถว ๔ ห้อง หกแถว ๓ ห้อง สี่แถว ๒ ห้อง สองแถวห้อง ๑ ที่ทำลดกันดังนี้ก็เปนความจำเปน ด้วยวิหารกว้างหนัก ต้องลดแก้หน้าให้เล็กจึงจะดูทรงงามได้ เขาว่าพระศรีสากยมุนีเอาไปจากวิหารนี้ ดูที่ในประธานวิหารตอนใน เห็นมีรอยอิฐหักๆ กองอยู่ แต่ไม่มากนัก สูงจากพื้นวิหารเล็กน้อย จะว่าฐานที่ตั้งพระศรีสากยมุนีฤๅอะไรก็ตาม ข้างกองอิฐนั้นลับเข้าไปทางเสาเฉลียง มีเจว็จรูปพระลีลาปั้นด้วยปูนสูงประมาณ ๖ ศอกอยู่ข้างซ้ายองค์หนึ่ง ข้างขวามีเจว็จปั้นรูปพระนั่งสูงประมาณ ๓ ศอก แต่มีรอยปูนพอกแก้เปนเจว็จใหญ่เสียแล้ว แต่เจว็จใหญ่พังจึงเห็นเจว็จเล็กเดิมซึ่งอยู่ใน เจว็จใหญ่จะเปนรูปพระลีลาเหมือนข้างซ้ายฤๅอย่างไรไม่ทราบ นอกจากนี้ยังมีพระเศียรพระองค์พระหล่อทิ้งเกะกะอยู่บ้างไม่เปนที่เปนทาง ในเวลาเที่ยวดูอยู่นี้ พระยาศุโขไทยตามมาอธิบายอะไรต่างๆ ให้รู้ด้วย ที่หน้าวิหารทิศใต้ มีฐานก่อด้วยแลงอันหนึ่ง เห็นจะเปนฐานพระเจดีย์ ที่ข้างฐานนั้นมีหินก้อนหนึ่ง ที่ว่าเปนขอมดำดินมาเพื่อฆ่าพระร่วงโผล่ขึ้นครึ่งตัวถามหาพระร่วงต่อตัวพระร่วงเอง พระร่วงจึงสาปให้คาแผ่นดินอยู่ครึ่งตัวกลายเปนหิน แต่บัดนี้ไม่คาเสียแล้ว ขึ้นอยู่บนแผ่นดินเต็มตัว เพราะหลวงสารสาสน์ (เยรินี) มาขุดเอาขึ้นไว้ การที่ขุดขึ้นนั้น เห็นจะเพราะอยากรู้ว่าหินอะไร เดิมมันจมดินอยู่แลลึกด้วย เพราะถูกคนต่อยเอาไปเปนเครื่องราง หลวงสารสาสน์ก่อนที่จะขุด คงนึกว่าเปนหินรูปพรรณอะไรอย่างหนึ่ง แต่ขุดขึ้นมาแล้วคงเสียใจ ด้วยยังคงไม่รู้ว่าอะไรอยู่นั่นเอง จะว่าก้อนหินธรรมดาก็ใช่ จะว่ารูปพรรณอะไรก็เชิง มันเปนอย่างนี้ จดหมายระยะทางไปพิษณุโลกถ้าเปนรูปพรรณก็งามจะเปนองค์พระ ที่รักแร้วิหารทิศด้านหลังพระมหาธาตุ มีมณฑปพระสาวสิบห้าอยู่ทั้งสองรักแร้ มณฑปนั้นมีแต่ผนัง หลังคาพังหมดแล้ว พระสาวสิบห้าปีนั้นเปนพระยืน ก่อติดกับผนัง สูงประมาณ ๔ ฤๅ ๕ วา องค์ในมณฑปซ้ายนั้น มีอาการยืนทอดสองมือ องค์ในมณฑปขวาเห็นจะยืนยกมือหนึ่ง เพราะเห็นมือข้างซ้ายหักเพียงข้อศอก มีรูไม้แกนปักที่ผนังตรงข้อศอกนั้น ที่เรียกชื่อว่าสาวสิบห้าปีนี้ จะหมายความว่างามเหมือนสาวอายุสิบห้าปี ฤๅว่าสาวคนหนึ่งอายุ ๑๕ ปีเปนผู้สร้าง ฤๅว่าพระนี้จะสูงเท่ากับสาวขนาดอายุสิบห้าปีก็ไม่แน่ ถามพระยาศุโขไทยก็ไม่ทราบ สิ่งซึ่งกล่าวมานี้ แต่ล้วนได้พิจารณามาโดยถ่องแท้ แลเห็นว่าล้วนเปนของเก่าเดิม อันได้สร้างตามความคิดที่ปรุงสำหรับกับพระมหาธาตุนั้น จึงได้จำแผนที่มาเขียนลงไว้ข้างหน้า ๘๓ นอกจากนั้นมีพระเจดีย์เล็กๆ เก่าบ้างใหม่บ้างสร้างติดต่อกันไปอีกมาก แต่ล้วนไม่มีคอมมันเซนศ์โดยมาก ไม่ได้กำหนดใจจำมาเขียนด้วย ได้มาอย่างเดียวแต่วิหารหน้าวิหารพระศรีสากยมุนี ซึ่งเขียนไว้ในแผนที่นั้นด้วย หมายเลข ๙ ที่ได้มานั้นก็ได้ด้วยความรำคาญใจ มิใช่จำมาด้วยความจับใจ เปนตัวอย่างให้เห็นว่านั่นเปนการก่อสร้างอย่างไม่มีคอมมันเซนศ์อย่างหนึ่ง ที่ไปก่อวิหารลงบังหน้าวิหารใหญ่ห่างสัก ๒ ศอก เท่านั้นจะดีอย่างไรก็ไม่เข้าใจได้ ฤๅวิหารหน้านั้น เวลาทำใหม่ ๆ จะงามดีกว่าวิหารใหญ่ก็ไม่ทราบ แต่เมื่อดูนั้นพังเสียเกือบหมดแล้ว มีแต่ฐานกับพระประธานปูนพัง แต่ถึงจะงามอย่างไรเมื่อใหม่ๆ ก็ดี แต่สิ่งของที่ใช้ก่อสร้างน้ำเนื้อสู้เก่าเขาไม่ได้ ชำรุดเร็วมากกว่ามาก เที่ยวดูได้เท่าที่พรรณามานี้ ตวันเย็นมากจึงเดินกลับมา พบท่านพระยาจางวางที่ในวัง ท่านรู้ว่าไปเที่ยวท่านตามไป ท่านชี้ให้ดูสระในวัง แลกำแพงวังชั้นในแลชั้นนอกด้านข้างตวันออก กำแพงวังนั้นจะเปนอย่างไรก็ไม่ทราบ เห็นเปนแต่ดินเปนคันอยู่สูงประมาณศอกเศษเท่านั้น แล้วพากันเดินกลับมา เวลาทุ่ม ๕ นาฑีถึงที่พัก ยังไม่ทันมืดดี

๓๒) วันที่ ๑๗ เวลาเช้า ๓ โมง ๑๐ นาฑี ท่านพระยามาพาเดินไปดูวัดมหาธาตุอีก เพราะเมื่อวานนี้ดูยังไม่หมดที่ดี เดินผ่านตระพังทองไปตามทาง เข้าในวังทางด้านตวันออก แวะบุกเข้ารกไปทางซ้ายมือ ขึ้นดูเนินปราสาทฤๅโคกปราสาทก็เรียก ที่แท้จะได้เปนเนินฤๅโคกอย่างชื่อนั้นหาไม่ มีอิฐก่อเปนฐาน เบื้องบนที่สุดฐานยังเห็นหน้ากระดานบัวหงายอยู่บ้าง แต่ตอนล่างดินถมไม่เห็นหมด เมื่อได้ตรวจดูเห็นเปนแต่ฐาน ๔ เหลี่ยมยาว โดยยาวประมาณ ๒๐ วา กว้างประมาณ ๑๐ วา ด้านสกัดอยู่ทิศตวันขึ้นแลตวันตก ตั้งอยู่ตรงหน้าวิหารพระศรีสากยมุนีทีเดียว แต่ด้านไหนจะเปนหน้าเปนหลังก็ไม่ทราบ ด้วยไม่มีอะไรเปนที่สังเกต ไม่เห็นท่าทีย่อเปนจตุรมุขฤๅอะไรเลย แต่ที่จะเปนปราสาทอย่างว่าก็ยังสงไสย ด้วยไม่ใช่เมืองหลวง ฤๅถ้าจะมีชั้นก่อนก็คงเปนปราสาทไม้ ปลูกบนฐานนี้ ฐานนี้จะเปนฐานชาลาเท่านั้น ได้เก็บอิฐที่นี้มาดูแผ่นหนึ่ง เพราะมันเล็กและบางผิดกว่าที่เคยเห็นมา

ออกจากโคกปราสาทบุกเข้าทางเดิม ข้ามกำแพงชั้นในแลชั้นนอกของวังข้างด้านตวันตก แวะดูสระที่อยู่รหว่างวังกับวัด ขุดลึกเปนหลายวาแต่ไม่มีน้ำ

แล้วเดินเลยเข้าวัดมหาธาตุไปดูพระเจดีย์ใหญ่อีกองค์หนึ่ง อยู่ริมกำแพงวัดข้างทิศใต้ พระยาศุโขไทยว่ามีรูปนารายน์ แต่เมื่อไปดูเห็นหาใช่นารายน์ไม่ เปนรูปยักษ์นายมี ๔ กร ยักษ์บ่าวแบกอะไรอันหนึ่ง ซึ่งมันพังเสียแล้ว รูปนี้อยู่ชิดพื้นดิน ตัวยักษ์บ่าวจมดินอยู่ครึ่งหนึ่ง ลองคุ้ยลงไปดู เห็นฝีมือมันเก่าเต็มที รุ่นเดียวกับยักษ์เตาทุเรียงสวรรคโลก ออกอยากได้ไปดูตัวเปนตัวอย่าง จึงขอให้พระยาศุโขไทยช่วยขุดเซาะออกให้ รูปยักษ์นี้เดิมทีสำคัญว่าเปนมารแบกฐานเขียงแห่งพระเจดีย์ เพราะมันอยู่ชิดดิน เขาปั้นไว้บนเสาเข้าใจว่าเตาหม้อฐาน ที่ช่องท้องไม้รหว่างเสาเขาปั้นเปนช้างครึ่งตัวยัดไว้หันหน้าออกมา เหมือนกับวัดช้างล้อม จึงทำให้เข้าใจว่าเปนฐานแท้ ๆ แต่เมื่อขุดลงไปเหลือบางนิดเดียว กลายเปนพนักประทักษิณพระเจดีย์ไป รูปยักษ์ก็คืออยู่ที่เสากำแพงแก้วแบกไม้ทับหลัง รูปช้างอยู่ที่ช่องลูกฟัก พระเจดีย์องค์นี้เดิมทีน่าจะประณีตหนักหนาอยู่ เพราะพยานมีที่พนักประทักษิณ ทำประณีตเช่นนี้ เว้นแต่ในเวลานี้ไม่มีอะไรดูเลย ตอนบน หักทำลายลงมาหมด มีแต่ฐานก่อด้วยแลง เปนเขียงซ้อนกันขึ้นไปสองชั้น แล้วมีฐานเขียงก่ออิฐซ้อนขึ้นอีกชั้นหนึ่งก็หมด ฐานทั้งสามชั้นนั้นเปนเขียงแท้ จะหาว่าบัวสักนิดหนึ่งก็ไม่มี ไม่ย่อไม้ด้วย ไม่รู้ว่าเดิมเขาจะเล่นกันท่าไร จะปั้นภาพปั้นลายดะขึ้นไปบนเขียงอย่างนั้นกระมัง ไม่มีปูนติดอยู่ให้เดาเลย ที่ฐานชั้นล่างของพระเจดีย์นี้ มีรูปพระใหญ่ก่อฝากไว้ครึ่งซีกกับฐาน มีอาการเปนพระนั่ง แต่หักหกคเมนลงมาหมดแล้วทั้ง ๔ ด้านครึ่งตัว หน้าพระออกมามีเสาอยู่ เห็นได้ว่าเปนวิหารทิศเปนคฤห์ออกจากฐานพระเจดีย์ ที่ตั้งแห่งพระเจดีย์องค์นี้ ดูเห็นได้ในแผนที่เมืองศุโขไทยหน้า ๘๑ อยู่เบื้องขวาแห่งพระมหาธาตุ เปนพระเจดีย์ใหญ่รองพระมหาธาตุ ในวัดมหาธาตุนั้น

การตัดรูปยักษ์ ได้ละไว้ให้พระยาศุโขไทยทำการอยู่ พระยาจางวางนำออกประตูหลังวัดไปดูตระพังเงิน ซึ่งอยู่หลังวัดมหาธาตุนั้น ท่วงทีก็คล้ายกับตระพังทอง แต่รูปสระเปนสี่เหลี่ยมยาว มีส่วนกว้างประมาณ ๓ เส้นครึ่ง ยาวประมาณ ๖ เส้นครึ่ง เกาะกลางเล็ก มีวัดในเกาะอย่างตระพังทอง แต่ไม่ได้บุกข้ามเข้าไปดู เรียกวัดตระพังเงิน แผนที่ตระพังเงินนี้มีปรากฏอยู่ในแผนที่เมืองศุโขไทย หน้า ๘๑ แล้ว

เดินเลี้ยวจากทางข้างตระพังเงินไปข้างซ้ายเขาตัดใหม่ สำหรับให้ไปดูวัดศรีสวาย ตั้งตรงมุมวัดมหาธาตุข้างตวันตกเฉียงใต้ห่างประมาณ ๓ ฤๅ ๔ เส้น วัดศรีสวายนั้นมีกำแพงแลงล้อมรอบ กลางมีอุโบสถ หลังอุโบสถมีพระปรางค์สามยอด ข้างขวาอุโบสถมีบ่อน้ำบ่อ ๑ ถัดบ่อไปมีวิหารหลังหนึ่ง หลังพระปรางค์มีกำแพงแก้วกั้นจดหมายระยะทางไปพิษณุโลกนอกกำแพงแก้วมีสระใหญ่ แต่ไม่มีน้ำขังอยู่ แผนที่วัดนั้นเปนเหมือนเช่นเขียนไว้นี้ แผนที่วัดศรีสวาย ศุโขไทย วัดนี้ชอบกลมาก เปนสิ่งที่น่าพิศวงยิ่งนัก แต่ก่อนที่จะจดหมายความลเอียด จะต้องเขียนแผนที่โบสถ์แลพระปรางค์ขยายใหญ่ให้เห็นชัดเจนก่อนดังนี้

จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

แผนที่โบสถ์วัดศรีสวาย ศุโขไทย

เส้นที่ขีดชัดนั้น เปนเส้นที่มีอยู่เห็นถนัด เส้นที่ขีดประปรายไว้นั้น เปนเส้นที่คาดคเนว่าจะเปนอย่างนั้น ด้วยอาศัยเหตุต่าง ๆ ความปลาดของวัดศรีสวายนี้ ทีแรกเมื่อได้เข้าประตูหลังวัด ข้ามสระไป ก็ได้เห็นพระปรางค์สามยอดเดี่ยวเสาสั้นนิดเดียว ยอดข่มอยู่เปนกองสองกอง แต่นึกได้ว่ากรมขุนสรรพสิทธิ์เคยเล่าให้ฟัง ว่าวัดศรีสวายนี้ มีปรางค์ปราสาทจมดิน เขาเล่ากันว่าเปนปราสาทที่อยู่เจ้าแผ่นดินศุโขไทยแต่ก่อน แลพระเจ้าแผ่นดินองค์นั้น ประพฤติตนอุตริ ธรณีจึงสูบเอาปราสาทจมลงไป เสาพระแท่นในปราสาทยังมีปรากฏอยู่ พระองค์ท่านเที่ยวทอดพระเนตรดู เห็นพระองค์หนึ่งนั่งบนฐาน แต่มีผู้ขุดฐานทลุ เห็นมีขาพระยืนลงไปในฐาน ขานั้นนุ่งห่มอย่างเทวรูป จึงรู้ว่าพระนั้นเดิมเปนเทวรูป แล้วถูกบวชเปนพระภายหลัง เมื่อได้เห็นเหตุนี้ประกอบกับท่วงทีสถานที่ ก็สันนิฐานได้ว่า วัดนี้เดิมเปนเทวสถาน แล้วมาแก้เปนวัดภายหลัง เสาพระแท่นนั้นคือว่าเสาสำหรับผูกชิงช้าหงษ์ จะเปนปราสาทที่อยู่เจ้าแผ่นดินไม่ได้ ด้วยเล็กเกือบนอนเหยียดไม่ได้ เมื่อนึกถึงความที่กรมขุนสรรพสิทธิ์เล่าให้ฟังได้ฉนี้ จึงตกลงใจว่าเดี่ยวเสาสั้นเพราะดินถมอยู่ แต่เมื่อได้เดินเข้าไปดูใกล้ กลับได้เห็นฐานปรางค์ยังมีอยู่เหนือดินหน่อยหนึ่ง ยังเห็นหน้ากระดานบัวหงายได้ถนัด ความตกลงใจมาแล้วก็กลับอีก เพราะว่าดินถมหาได้ท่วมถึงเสาไม่ เดี่ยวเสาก็ยังคงเปนสั้นอยู่นั่นเอง กับทั้งคฤห์ก็ไม่มีด้วย ที่ออกหลังคาคฤห์เกลี้ยงโล้นอยู่ เห็นว่าคงมีอะไรต่อ จึงเหลียวหาก็พอเห็นเสายังมีตั้งอยู่หลังปรางค์ยอดกลาง จึงเข้าใจได้ว่ามีหลังคาคฤห์โถงต่อทุกองค์ทางมุขหลังแลมุขข้าง เช่นที่ขีดเส้นประปรายไว้ในแผนที่ ส่วนมุขที่ต่อกันก็เชื่อมเปนมุขกระสัน ในคูหาที่ออกคฤห์นั้นมีเทวรูปปั้นไว้ด้วยปูนติดกับฝา แต่ว่าแตกทำลายเสียเห็นแต่รอยที่ผนัง มีคราบปูนเปนทีเทวรูป เว้นแต่คูหาหลังปรางค์องค์กลางยังไม่พังถึงฉนั้น เปนแต่ฝนกัดแง่งอนแห่งรูปให้พังเลื่อนลาดไปบ้างเท่านั้น เมื่อมีเทวรูปประจำทิศดังนี้ หลังคาคฤห์ทำโถงดูก็เหมาะดี เปนที่เข้าบูชาได้สดวก เมื่อได้ตรวจดูข้างหลังแล้วจึงอ้อมมาดูข้างหน้า เห็นมีผนังโรงใหญ่ ก่อเอาหลังชนหน้ามุขปรางค์องค์กลาง บังปรางค์เสียดูสิ้นงามทีเดียว จึงคิดว่าอ่อนี่เปนโบสถ์ก่อขึ้นด้วยไม่มีความคิดภายหลังเมื่อแปลงเทวสถานเปนวัดนั้น แต่เมื่อได้เข้าประตูข้างไปดูข้างใน ไม่เห็นมีพระพุทธรูป มีแต่แท่นอิฐก็เข้าใจว่านั่นเปนฐานพระ องค์พระจะยกเอาไปอื่นเสียแล้ว เดินเลี้ยวเข้าไปหลังแท่นอิฐ เห็นมีช่องคูหาเข้าในปรางค์องค์กลางได้ จึงมุดเข้าไปแลลงไปด้วย ในองค์ปรางค์พื้นเปนดินปนขี้ค้างคาว มีเสาปลายเม็ดทรงมันปักอยู่ที่มุมหลังมุมละต้น เหมาะดีที่จะเปนเสาชิงช้าหงษ์ตามที่กรมขุนสรรพสิทธิ์เดา เมื่อได้เห็นเสาชิงช้าก็ทำให้เกิดสงไสยขึ้นอีก ว่าเสาชิงช้ายังอยู่เช่นนี้ น่าที่เวลาที่เปลี่ยนเปนวัดจะไม่นานนัก ไม้เสาชิงช้าของฝ่ายไสยสาสตร์ยังไม่ทันผุ ก็เหตุไฉนโบสถ์ที่สร้างสำหรับฝ่ายพุทธศาสน์ภายหลังจะชำรุดมากยิ่งไปกว่า อนึ่งเล่า ถ้าโบสถ์ได้สร้างสำหรับพุทธศาสน์แล้ว ก็ไม่จำเปนที่จะต้องเจาะคูหาให้เนื่องเข้าในปรางค์เทวสถานได้ ฤๅถ้าทำให้เนื่องแล้วก็จะต้องถอนเสาชิงช้าทิ้งเสีย ตั้งพระพุทธรูปฤๅก่อพระเจดีย์ขึ้นในนั้นจึงจะควรการ นี่หาได้ทำเช่นนั้นไม่ น่าที่โบสถ์หลังนี้จะเปนโรงพิธีพราหมณ์เนื่องด้วยเทวสถานก็ได้ จึงได้ย้อนกลับออกมาดูผนังโบสถ์ กลับเห็นพิสดารไปอีก ตอนสองห้องข้างหลังก่อด้วยแลง มีหน้าต่างลูกกรง แต่อุดเสียแล้วด้วยอิฐ หน้าต่างนั้นลงไปเตี้ยนั่งอยู่กับพื้นดิน อีกสามห้องตอนข้างหน้าก่อด้วยอิฐ ห้องหนึ่งตัดเปนประตูมีทับหลังหิน อีกสองหลังทาเปนหน้าต่างลูกกรง มีส่วนสูงหน้าต่างตอนสองห้องข้างหลังประมาณ ๒ ศอก จึงทำให้เข้าใจว่าอ้ายสองห้องข้างในนั้นเปนโรงพิธีพราหมณ์ ทำรุ่นเดียวกับองค์ปรางค์ อ้ายสามห้องตอนหน้านั้นแลคราวแก้เปนโบสถ์ จึงเดินเลยออกประตูหน้าไปดู เห็นเปนมุขโถงต่อออกไปจากหน้าโบสถ์อีก ๔ ห้องมีเฉลียงด้วย เสากลมก่อด้วยแลง ที่ช่องเสาห้องที่ ๒ นับแต่ผนังโบสถ์ออกไป มีก่อเปนแท่นย่อหงอกแหงกยัดไว้ในช่องเสา ท่าทางจะเปนออลตาอย่างฝรั่งเสียให้ได้ พิจารณาดูเห็นมียอดหักลงมากลิ้งอยู่ข้างหลังเปนยอดปรางค์ แต่บากเปนกลีบบัวสับกันตลอดถึงนพศูล กลางกลีบมีเทพประนม ริมบากแข้งสิงห์ แลมีนาคปักปั้นอย่างเขมรตกอยู่หลายอัน ได้เก็บมาด้วยอันหนึ่ง เพราะเขาปั้นดี เมื่อเห็นดังนี้ก็เข้าใจว่าเปนเรือนแก้วที่บูชาอะไรอันหนึ่ง ดูประตูหน้าโบสถ์ เขาทำเปนซุ้มจรณำตรีมุข ซึ่งเหมือนกับที่ได้เคยให้ตัวอย่างให้เขาทำกักษันตรังคราวหนึ่งแล้ว แต่ช่างเขาไม่ทำ เพราะเขาจะเห็นว่าเปนความคิดบ้าฤๅอย่างไร แลที่จริงเมื่อคิดครั้งนั้นก็ยังไม่เห็นที่ไหน นึกพุ่งไปไปแท้ ๆ เมื่อมาเห็นเหมือนกับที่เขาทำที่นี่ออกดีใจว่าความคิดเราไม่บ้าพ้นไปจากแบบโบราณ แต่ที่นี่เขาไม่ได้เจาะทั้งสามช่อง เจาะแต่มุขกลางเปนช่องประตู มุขข้างนั้นเจาะเปนคูหาลวงปั้นภาพไว้ในคูหา แต่ว่าพังเสียเห็นเปนแต่เหมือนรูปโกลนมีเหลืออยู่ครึ่งตัวตอนบน แต่แรกนึกว่าพระ แต่เมื่อพิจารณาไปตลอดแขน ซึ่งมีเห็นได้อยู่เพียงข้อศอก จะคิดว่าเปนพระยืนทำอาการอย่างใดที่จะเข้าแบบก็ไม่ได้ ด้วยกางแขนมากกว่าที่จะเปนห้ามสมุทรห้ามญาติ ฤๅอุ้มบาตรถวายเนตรรำพึงลีลาอะไรได้สักอย่างเดียว แขนมันกางออกทีโขน ๆ แต่ไม่สู้แท้นัก ถ้าแท้ก็จะเลยเดาว่าเซี่ยวกาง แต่ยักษ์เฝ้าประตูนั้นเปนไม่ได้เลย เพราะทรงมันไม่อั้น ค่าที่ทีมันไม่โขนแท้แลทรงเพรียว จึงต้องเดาว่าเปนเทวรูป เมื่อเห็นเปนเทวรูปแล้ว ความคิดที่คิดว่าอ้ายสามห้องโบสถ์ตอนหน้าทำสำหรับเปนโบสถ์ฝ่ายพุทธศาสน์นั้นก็ผิดอีก ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ต้องการจะทำเทวรูปที่หน้าโบสถ์อีก ตกลงเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าอ้ายสามห้องโบสถ์ที่ต่อใหม่นั้น ก็ทำสำหรับข้างฝ่ายไสยสาสตร์นั้นเองไม่เกี่ยวกับพุทธศาสน์เลย จึงหันกลับเข้าไปค้นที่แท่นพระในโบสถ์อีก เพื่อจะหาพยานว่าจะมีรอยพระพุทธรูปฤๅไม่ เพราะอะไรๆ ที่เห็นก็กลับกลายเปนไม่เปนวัดเสียหมดแล้ว ที่นี้ได้พบโยนีศิลาที่รองศิวลึงค์ จมรกอยู่ที่หน้าแท่นนั้นอีก ทีนี้เลยเชื่อใจแน่ว่าที่นี่เปนเทวสถานแท้ไม่ใช่วัด เดินย้อนออกมามุขโถงหน้าโบสถ์อีก ด้วยสงไสยออลตาเล็กว่าจะเปนที่บูชาอะไร ดูก็คิดไม่ออก เลยเลี้ยวออกข้างเฉลียงโบสถ์ข้างขวา เห็นออลตาอีกอันหนึ่ง ก่อด้วยแลงขวางเฉลียงเปนประจันห้องเฉลียง ตรงรหว่างที่โบสถ์กับมุขโถงต่อกัน แต่ฐานออลตาอันนี้จมดิน เห็นแต่คฤห์เรือนแก้วโผล่ขึ้นมาจากพื้น ข้ามไปดูข้างซ้ายก็มีเหมือนกัน สันนิฐานเห็นได้ ว่าปรางค์ปราสาทใหญ่ทั้งสามข้างหลังโบสถ์นั้น ต้องเปนสถานของพระศิวะ วิษณุ และคเณษตามแบบ โบสถ์นั้นเปนโบสถ์พราหมณ์ที่กระทำพิธีบูชา ที่มุขโถงหน้านั้นเปนที่คนผู้มากระทำพลีกรรมได้นั่งพัก ออลตาคือสถานเล็กอีกสามสถานนั้น ก็คงเปนสถานของเทวอะไรเตี้ยๆ สามตัวมีเทวนันที คือโคอุสุภราชเปนต้น แต่จะจำหน่ายให้หมดไม่ได้ ด้วยสิ้นความรู้ แต่คเนได้ว่าสถานเล็กในประธานมุขโถงคงเปนสถานของเทวดาน้อยที่เกี่ยวข้องด้วยพระอิศวรซึ่งอยู่สถานกลาง แลการทำพิธีบูชาสถานน้อยนั้นก็ทำในประธานมุขโถงนั้น สถานน้อยข้างซ้ายขวา ก็คงเปนสถานเทวดาซึ่งเกี่ยวด้วยพระนารายน์แลวิคเณษนั้น จะว่าสถานครุฑกับหนูก็จะได้กระมังถ้ากลางเปนโค สถานเล็กซ้ายขวานั้น ก็คงกระทำการบูชาในเฉลียงมุขโถงทางซ้ายแลขวานั้น มาบังเกิดวิมุติกังขาขึ้นที่สถานใหญ่ซ้ายขวา ที่กระทำการบูชาจะอยู่ที่ไหน ไม่ได้มีช่องเนื่องในโรงพิธีใหญ่ด้วย จึงได้เดินไปพิจารณาช่องคูหาหน้าสถานใหญ่ขวาดู เห็นมีมุขกสันต่อออกมาแต่คูหาปรางค์ แต่มาด้วนเปนรอยขาดอยู่ ดูต่อมาก็เห็นเปนแต่อิฐแลดินมูลๆ รู้ไม่ได้ว่าอะไร เห็นแต่เส้นฐานภายนอก รอยแลงก่อเปนบรรทัดไปตั้งแต่มุขกระสัน มาย่อหักเปนมุมลดย่อไม้ที่ตรงผนังโบสถ์เก่าใหม่ต่อกัน แล้วบรรทัดฐานแลงนั้นไปบรรจบกับเสาเฉลียงมุขโถงหน้าโบสถ์นั้น เห็นเท่านี้ยังไม่พอที่จะรู้ได้ จึงข้ามไปดูข้างสถานซ้าย สถานข้างนี้มุขกระสันไม่มี พังเสียแล้วแต่มีผนังที่ต่อกับมุขกระสันให้เห็น ซึ่งข้างขวาได้พังเสียแล้วนั้น เปนผนังเนื่องมาแต่ผนังด้านหุ้มกลองหลังโบสถ์ ที่สุดผนังนั้นยังมีหัวนาคปักอยู่ ปั้นปูนรูปอย่างเขมร หัวนาคปักนี้อยู่เตี้ยเพียงหัว มือคลำถึง จึงรู้ว่าเปนผนังสกัดรเบียงของโบสถ์ ก่อด้วยแลงเหมือนกัน แต่บรรทัดฐานรเบียงไม่มีเห็นเหมือนข้างขวา แต่คงสันนิฐานได้ว่า รเบียงแห่งโบสถ์นี้ คงจะได้กั้นเปนห้องทึบเพียงบรรทัดฐานที่ย่อเลี้ยว เปนห้องที่ทำการบูชาสองสถานสองข้าง เมื่อดูตามแปลนก็เปนโรงพิธีที่ทำการบูชาสามห้องเรียงกันตรงปรางค์ปราสาททั้งสามซึ่งเรียงกันอยู่นั้น รูปพระปรางค์ทีเขมรครึ่งไทยมีรูปถ่ายอยู่ที่บ้านแล้วไม่ต้องจำลองทรงมา ลายปั้นมีชั้นเดียวแต่ล่าง แลมีจำเพาะกลีบขนุนกับบรรพ์แถลง กลีบขนุนตัวริมเปนรูปภาพอะไรยุ่งๆดูไม่ใคร่เห็นเพราะอยู่สูงคิดว่ารูปกินนร กลีบขนุนตัวกลางเปนรูปครุฑจับนาคขี่หัวกาญ นาค ๒ ตัวขึ้นสองข้างทำนองนี้ เห็นเข้าทีดีอยู่จึงหามาเขียนไว้ดูเล่นกันลืม กลีบขนุนพระปรางค์ วัดศรีสวาย ศุโขไทยกลีบขนุนพระปรางค์ วัดศรีสวาย ศุโขไทย บรรพ์แถลงนั้นที่เปนรูปพระทำให้ความสงไสยเรื่องเคยแก้เปนวัดฤๅไม่กลับมาอีก นึกถึงพระที่กรมขุนสรรพสิทธิ์ว่าเทวรูปบวชนั้นเที่ยวหาก็ไม่เห็น ต่อเมื่อภายหลังเมื่อเที่ยวดูเขียนแผนที่ลงสมุดในกระเป๋าจึงได้เห็น คือเทวรูปซึ่งอยู่ในคูหาทิศข้างหลังปรางค์องค์กลางนั้นเองเดิมเปนเทวรูปยืน แต่เมื่อซ่อมภายหลังคราวดินถมปรางค์สูงเสียแล้วก็หาได้ขุดดินหารดับพื้นเดิมไม่ ก่อบวกเชิงเสมอดินใหม่เปนฐานบัทม์ขึ้นท่วมหน้าขาเทวรูป แล้วเลยแก้ขาเทวรูปเปนนั่งขัดสมาธิ์ ยังคงเปนเทวรูปอยู่นั่นเองหาใช่พระไม่ กรมขุนสรรพสิทธิ์สังเกตพลาดไปหน่อย เมื่อได้เห็นฐานปรางค์ที่แก้ใหม่นี้เปนที่พอใจมาก ด้วยสิ้นสงไสยในข้อเดี่ยวเสาสั้นว่าเดิมหาสั้นไม่ มันจมดินเสีย ซ่อมแซมภายหลังเอาแต่พอได้พอดีจึงเสียทรงอยู่ องค์กลางสูงถึง ๙ วา เปนเสาอยู่ ๓ ศอกเท่านั้น ดินถมเสียมากโขทีเดียว ทำให้เปนที่พิศวงมาก ว่าทำไมดินจึงถมเสียมากดังนั้น พระสถิตย์เดาว่าสระหลังเทวสถานนั้นขุดทีหลัง เมื่อครั้งท่านผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งคิดจะซ่อมแปลงเมืองศุโขไทยให้ตั้งอยู่มั่นคง เมืองอยู่ที่ดอน จึงคิดขุดสระในเมืองให้มากมีตระพังต่างๆเปนต้น กับสระนี้เพื่อว่ามีศึกมาติดเมือง คนในเมืองจะได้ไม่อดน้ำ เมื่อทำการสร้างสระนั้น ความประสงค์มุ่งหน้าแต่ฉเพาะการสู้ศึกฝ่ายเดียว หาได้คิดถึงการวัดฤๅเทวสถานไม่ เพราะฉนั้นการขุดสระที่หลังเทวสถานนี้ จึงทิ้งมูลดินถมเทวสถานเสีย ตามที่พระสถิตย์ว่าฉนี้ ดูก็ชอบกลอยู่ แต่เมื่อสังเกตดูในพื้นเทวสถานทั่วไปก็ดูเรียบเสมอกัน ไม่ได้สูงนักที่องค์ปรางค์ ซึ่งหากว่าถ้าเปนเช่นพระสถิตย์ว่าควรจะสูงเปนโคกจำเพาะองค์ปรางค์ นี่ออลตา ๒ อันข้างหน้าก็จมดินด้วยเหมือนกัน ถ้าจะว่าเกลี่ยทั้งเทวสถานดูมูลดินจะไม่สู้พอด้วย กับถ้าเปนดังนั้นเมื่อเข้าเขตรเทวสถาน จะต้องเห็นว่าเทวสถานอยู่บนเนิน นี่ก็หารู้สึกว่าพื้นสูงไม่ ดูเหมือนราบเสมอกับภายนอก แต่ข้อคัดค้านเช่นนี้ข้าพเจ้าเองก็หามีข้อความเห็นแก้ไขไม่ว่าเทวสถานจมดินด้วยเหตุอะไร ที่ว่ากรณีสูบก็ไม่เชื่อด้วย แลที่จมดินนั้นก็หาได้จมทั่วไปไม่ จมอยู่แต่ปรางค์ใหญ่ ๓ องค์ กับผนังโบสถ์ ๒ ห้องที่ต่อกับปรางค์กับทั้งออลตาสถานน้อย ที่เฉลียงมุขโถงทั้ง ๒ ข้างเท่านั้น ตัวมุขโถงแลออลตากลางมุข กับผนังโบสถ์ ๓ ห้องที่ต่อกับมุขโถงหาได้จมดินไม่ เพราะเหตุฉนั้นจึงได้เห็นว่าเทวสถานนี้ หาได้ทำทีเดียวพร้อมกันหมดไม่ ได้ทำติดต่อเพิ่มเติมเปนคราวๆ คิดว่า ๔ คราว คือทีแรกจะทำแต่ปรางค์ปราสาทสามองค์เท่านั้นก่อน ที่คิดเห็นฉนี้ เพราะเหตุโบสถ์ที่ต่อเข้าไปนั้นต่อไม่ดี แลทำให้เสียความงามของปราสาทนั้นด้วย แต่โบสถ์ตอนสองห้องในนั้นก็ดูเก่ามากเหมือนกัน แลจมดินเหมือนกับปรางค์ จะวินิจฉัยเปนแน่นอนว่าทำคนละคราวก็ยาก ปรางค์ก่อด้วยอะไร สิ่งที่ใช้ก่อจะเหมือนกับผนังโบสถ์ฤๅไม่ก็ไม่เห็น เพราะปูนถือยังดีอยู่ ถึงหากว่าโบสถจะทำทีหลังก็จะไม่ช้ากว่ากันเท่าใดนักเพราะจมดินด้วยกัน ฉนั้นจึงได้แบ่งอายุเทวสถานนี้เปน ๓ ตอน คือตอนเก่าปรางค์ปราสาทสามองค์ กับโบสถ์สองหลัง กับออลตาริมอีกสองอัน ซึ่งก่อด้วยแลงแลจมดิน อันได้แรเส้นตรางไว้ในผนังที่แผนที่ อายุตอนกลางคือมุขโถง ก่อด้วยแลงเหมือนกัน เว้นแต่ไม่จมดิน จึงเห็นว่าทำทีหลัง ส่วนที่ได้แรเส้นหน้าเดียวไว้ในแผนที่ มุขโถงนี้เดิมทีคงจะทำเปนศาลาที่คนมาบูชาพัก อายุตอนหลังคือโบสถ์ตอนสามห้องข้างนอก กับออลตากลางในมุขโถง ซึ่งก่อด้วยอิฐอันได้จุดกระไว้ในผนังที่แผนที่ โบสถ์ตอนนอกนอกนี้ คงจะได้ต่อภายหลังเมื่อการบูชาในเทวสถานนี้มีมาก โบสถ์เก่าไม่พอ จึงรื้อผนังหน้าโบสถ์เก่าก่อใหม่ต่อให้ยาวไปชนศาลา เลยเอาศาลาเปนมุขโถงหน้าโบสถ์ทีเดียว ออลตากลางในมุขโถงนั้นก็ทำขึ้นให้คงจะแทนออลตาเก่าซึ่งคงจะมีอยู่ตรงประตูกลางของโบสถ์ กีดจึงรื้อเสีย ท่าทางของการก่อสร้างไม่มีท่วงทีเปนวัดเลยเช่นนี้ จึงได้แสดงความสงไสยแก่พระยาจางวาง แต่ท่านไม่ยอม ยืนยันว่าเปนวัด ท่านนำไปดูเสมาศิลาซึ่งหักทิ้งอยู่ในรกข้างโบสถ์ข้างซ้ายเปนปรูพ ถึงได้เห็นเช่นนั้นก็ยังไม่ลงใจเปนวัดแน่ เพราะเสมานั้นก็เห็นอันเดียว แลไม่มีฐานที่ตั้ง เปนของหักมาทิ้งอยู่ ใครจะเอามาแต่ไหนทิ้งไว้ก็ได้ เอาเถอะเสียแรงผู้ใหญ่ว่าเปนวัด จะยอมหน่อยก็ได้แต่เพียงว่าถึงได้เปนก็ไม่ได้เปนมานาน แลสิ่งที่ก่อสร้างทั้งปวง คนที่นับถือพระพุทธจะได้ทำหามิได้เลย เปนแต่มาปราบดาภิเษกเอาเท่านั้น อ้อเห็นจะว่าเกินไปสักหน่อย บางทีจะได้ทำแท่นพระเสียปูนสักสองปุ้งกี๋ ในการที่ไล่เทวรูปออกเสียจากที่ ยกพระอะไรมาตั้งแทนองค์หนึ่ง แท่นนั้นคงจะแตกพังต้องซ่อมแซมเยียวยาบ้าง

ดูเทวสถานศรีสวายพอใจแล้ว กลับเดินมาทางเดิม เข้าทางเก่าข้างตระพังเงิน เดินตรงไปทางตวันตก ดูประตูอ้อ ซึ่งเปนประตูหลังเมืองด้านตะวันตก กับทั้งป้อมกำแพงที่นั่นด้วย กำแพงเมืองมีสามชั้น เห็นเปนแต่มูลดิน จะเปนกำแพงเดิมก่อแล้วพังเสีย ฤๅเขาจะเล่นเทินดินอย่างฝรั่ง เช่นลพบุรีก็ไม่ทราบ งามจะเล่นอย่างฝรั่ง ด้วยเทินดินลดเปนคั่น ๆ เทินชั้นในสูง ๓ วา ประตูอ้อตัดเทินออกไป มีอิฐก่อกันข้างช่อง แต่ข้างบนจะมีซุ้มฤๅเปนอย่างไรไม่ทราบ ไม่มีเสียแล้ว หน้าประตูมีป้อมขวางบังช่องประตูอยู่ ป้อมนั้นก็เห็นเปนแต่เนินดินเหมือนกัน สูง ๑๐ ศอก เทินชั้นกลางอยู่นอกป้อมออกไปสูง ๖ ศอก เทินชั้นนอกสูง ๕ ศอก แผนที่มีชัดอยู่แล้วหน้า ๘๑ กำแพงเมืองนี้น่าที่จะทำไม่สู้นานนัก จะนึกให้เปนพระนารายน์เสียให้ได้ เพราะมันเปนทีอย่างฝรั่ง ฤๅไทยโบราณเขาจะรู้จักทำเหมือนกันก็ไม่รู้ จะว่าไปกลัวผิดเพราะรู้ไม่ถึงการ ดูแล้วกลับมาที่พัก ถึงในเวลาเที่ยง ๕๐ นาฑี กินเข้ากลางวัน

/*๑๐๒*/เวลากินเข้าแล้ว นายเตง เปนคนบ้านอยู่ในเมืองริมที่พักนั้นเอง มาหาแลเอาของมาให้ คือพระหล่อหน้าตัก ๔ นิ้วเศษองค์ ๑ ไม่เก่งอะไร กระปุกสังกโลกใบ ๑ หัวกล้องเคลือบปั้นอย่างไทยแท้อัน ๑ อ้ายหัวกล้องนี่ดีมาก ของเหล่านี้เขาได้ในศุโขไทยนี่เอง พระยาจางวางบอกว่าเตาเคลือบที่ศุโขไทยนี้ก็มีเหมือนสวรรคโลก ได้พบแล้วอยู่ข้างวัดพระไพรหลวง นอกเมืองข้างตวันออกเฉียงเหนือ

เวลาบ่าย ๔ โมง ๓๕ นาฑี ขี่ม้าออกจากที่พัก พระยาจางวางนำไปดูวัดราษฎร์บูรณะ อยู่เคียงกับวัดมหาธาตุไปข้างเหนือ วัดนี้มีพระเจดีย์ใหญ่ สูงมีขนาดดูเหมือนจะเสมอด้วยพระมหาธาตุ ฤๅยิ่งกว่าอีก แต่ไม่พิสดารอะไร เปนพระเจดีย์ลังกาเราธรรมตา วัดนี้แผนที่เปนอย่างไรก็ไม่ทราบเพราะรกนัก เห็นแต่เมื่อเข้าไปข้างซ้ายมีพระเจดีย์ใหญ่ ข้างขวามีวิหารพังเท่านั้น น่าจะมีอะไรที่น่าดู เพราะเปนวัดคู่แข่งกับวัดมหาธาตุ แต่ว่าข้อนข้างรกมาก แลที่ไปมันออกเปนกระบวรแห่ ใช่โอกาศที่จะซุกซนค้นหาอะไรอยู่สักหน่อย

ออกจากวัดราษฎร์บูรณะข้ามลงตะควน ซึ่งอยู่ต่อกับวัดราษฎร์บูรณะไปข้างเหนือ เปนสระล้อมวัดเหมือนตระพังเงินตระพังทองฉนั้น แต่ตะควนนี้ดอนเสียมากกว่าตระพังทั้งสองนั้น แลเกาะก็ลาดลบลงด้วย เห็นได้ไม่ใคร่ชัดเหมือนตระพังทอง พระยาจางวางว่าในเกาะนั้นตอนหน้ามีวัด ตอนหลังมีสระในเกาะอีก แลเกาะในสระนั้นมีเกาะอีกชั้นหนึ่ง แลในเกาะในนั้นยังมีสระอีกชั้นหนึ่ง เปนสระสามชั้น เห็นจะเปนที่ปลูกหอไตรในนั้น แผนที่เขียนไว้ในแผนที่เมืองศุโขไทยมีอยู่แล้ว ตะควนจะแปลว่าอะไรแลภาษาอะไรเหลือรู้ ควรจะเรียกตระพังเหมือนกัน ทำไมจึงเรียกตะควนก็ไม่มีใครบอกได้

ข้ามพ้นตะควนไปหน่อยหนึ่งถึงศาลเจ้าพระประแดง อยู่มุมตะควนข้างตวันออกเฉียงเหนือ เปนปรางค์เขมรแท้ ก่อด้วยแลง มีฐานสูง มุขหน้ายาว มีบันไดขึ้น แต่ยอดพังลงมาเสียแล้ว แผนที่เปนดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก หันหน้าไปตวันออก พระประแดงจะแปลว่ากระไรก็ไม่รู้ ตำแหน่งขุนนางเราก็มี ประแดงจันทรอักษร แลยังมีกุมฤแดงอีก จะเปนคำเดียวกันฤๅไม่อย่างไร ถ้าเปนคำเดียวกัน จะเปนศาลทำให้แก่พระบาทกุมฤแดงอัศ ศรีสัชนาไลย ผู้เปนโอรสพระบาทกุมฤแดงอิสฤไทไชยเชษ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในหลักศิลาจาฤกอักษรเขมร ซึ่งเอาไปจากศุโขไทยนี้ ไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้นได้ฤๅไม่ อ้ายหลักนั้นเอาไปจากตรงไหนสืบไม่ได้ความ ถ้าหากว่าเอาไปจากเขตรศาลนี้ จะต้องยืนยันว่าถูก

ออกจากศาลพระประแดงไปดูประตูศาลหลวง ชื่อนี้เห็นจะออกจากอยู่ใกล้ศาลพระประแดงนี้เอง ประตูนี้ก็เหมือนประตูอ้อซึ่งไปดูเมื่อเช้า มีเทินสามชั้น แลมีป้อมขวางประตูเหมือนกัน

ออกประตูศาลหลวงไปอีกไม่สู้ไกลนัก ถึงวัดษีชุม ฤๅฤษีชุม อยู่นอกเมืองข้างเหนือ วัดนี้มีมณฑปใหญ่อยู่กลาง มีวิหารอยู่หน้า มีพระเจดีย์เกศะอยู่ข้างซ้าย แผนที่เปนดังนี้จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก มณฑปใหญ่นั้นหลังคาไม่มีแล้ว ที่ฝาผนังมณฑปร่องใน มีช่องเข้าข้างแผละขวาประตู มีบันใดขึ้นไป มีช่องหน้าต่างข้างขวาพระช่องหนึ่ง หลังพระช่องหนึ่ง บันไดไปสุดบนปลายผนังหลัง ขึ้นไปเดินบนปลายผนังเล่นได้ ช่องเข้าในผนังนั้นเต้ยต้องมุด ไม่สามารถจะทนคลำขี้ค้างคาวเข้าไปได้ บนช่องหน้าต่างข้างขวามีผโองพาดไว้ แต่ก็ไม่พอใจที่จะขึ้นเหมือนกัน พระสถิตย์กล้าหาญดันขึ้นไปก่อน แล้วขุนอาทรกับอ้ายหว่างขึ้นตามไป อ้ายพุ่มตามขึ้นไปบ้างขาสั่นดก ๆ พากันทักว่าปอดเสีย มันเถียงว่าไม่เสีย แต่ทีหลังต้องคลานลงทางปากช่องล่าง ไม่ลงผโอง พระสถิตย์บอกข่าวลงมา ว่าแผ่นหินเพดานบันได จาฤกเปนรูปคนนั่งไหว้หมาฤๅเนื้อ ได้ไล่เลียงกันอยู่นานว่ารูปร่างอย่างไรเพื่อจะใคร่รู้เก่าใหม่ก็ไม่ได้ความเข้าใจดี จะขึ้นดูเองก็อาการหนัก จึงได้ขอต่อพระยาจางวางให้ช่วยเอากระดาษทาบถอนถ่ายให้เปนตกลงกัน ในมณฑปนั้นมีพระก่อใหญ่หน้าตักสัก ๕ วาได้องค์หนึ่ง แต่ไม่งามเลย พระภักตร์แตกพังออกมา เห็นพระเนตรเก่าซึ่งปั้นไว้ชั้นในไม่ได้ที่สูงบ้างต่ำบ้างสักห้าชั้น หน้ามณฑปมีฐานอิฐ เห็นจะเปนวิหาร ข้างมณฑปมีพระเจดีย์ ไม่เปนเรื่องที่ควรจะดู

ออกจากวัดฤษีชุม กลับมาแวะดูวัดพระไพรหลวง อยู่ใกล้ ๆ กับวัดฤษีชุมนั้นเอง วัดนี้มีพระปรางค์สามยอดอีก งามทีเดียวด้วย เก่ามากทีเดียวด้วย เปนปรางค์เขมรแท้ แต่ไม่ได้ทำด้วยหินทราย ก่อด้วยแลงปั้นปูน รุ่นเดียวกับปรางค์สามยอดที่เมืองลพบุรี ทีจะเปนเทวสถานเช่นศรีสวายอีก แต่เห็นอะไรที่จะเดาไม่ได้ เพราะรกเขาไม่ได้ถางเลยอย่างหนึ่ง เวลาจวนค่ำรำไรอย่างหนึ่ง ไม่เปนโอกาสที่จะดู แต่สิ่งที่ก่อสร้างไว้ในวัดนี้มีมาก แต่ก็พังเสียมากกว่าวัดศรีสวาย ปรางค์สามยอดนั้นก็เหลือแต่ยอดซ้ายข้างเหนือองค์เดียว ยอดกลางกับยอดซ้ายข้างใต้พังเหลือแต่แลงกองอยู่เท่านั้น น่าเสียดายที่ดูไม่เห็นเสียแล้วต้องกลับ

ออกจากวัดพระไพรหลวงคืนเข้าเมือง พระยาจางวางพาเดินทางอื่นผ่านตระพังสอมา ท่านชี้ให้ดูว่ามีสระรอบ มีเกาะกลาง แลมีวัดกลางเกาะ อย่างตระพังทอง ตระพังเงิน แต่ความจริงไม่ค่อยจะแลเห็นพอที่จะเล่าได้ว่าเปนอย่างไร เห็นแต่หญ้าเปนพงอยู่ในที่ต่ำ ทีก็เห็นจะเหมือนเช่นที่ท่านพระยาจางวางเขียนลงไว้ในแผนที่ ซึ่งได้คัดมาลงไว้ในสมุดนี้หน้า ๘๑ กลับถึงที่พักเวลาทุ่ม ๑ กับ ๕ นาฑี

เวลาค่ำกินเข้าแล้ว ท่านพระยาจางวางมาหา คุยอะไรกันเล่น ท่านให้พระพิมพ์ ๒ องค์ เปนพระองค์เดียวนั่งในเรือนแก้ว ฝีมือไม่สู้ดี เปนพระหาได้ในเมืองนี้ กับเข้าตอกพระร่วงห้าหกก้อน ดูประหนึ่งว่าจะเปนแร่โลหธาตุอะไรสักอย่างหนึ่ง มีสันฐานเปนแท่งสี่เหลี่ยม เนื้อเกลี้ยงดำเปนมันแขง ว่าเปนของมีบนลานพระบาทใหญ่ อยู่บนเขานอกเมืองทิศตวันตก แลคำเล่าออกเปนกายสิทธิ์ ว่าเปนของไม่รู้จักหมด เก็บกันว่าหมดแล้ว ไปวันอื่นก็ได้อีก แลเปนยาศักดิ์สิทธิ์ด้วย แก้พิษม์สัตว์ขบแลต่อย เช่นตขาบแมงป่องได้ วิธีใช้นั้นเอาฝนทา ถ้าฝนแล้วออกเปนสีแดง น่าจะเปนแร่เหล็ก กลับไปบางกอกจะต้องหาอาจารย์ให้ตรวจดูว่าทีจะเปนอะไร

๓๓) วันที่ ๑๘ เวลาตื่นนอนเช้า พระยาศุโขไทยเอาหม้อกรันมาให้ ๓ ใบ เปนหม้อที่ตั้งใจทำอย่างประณีตภาษาบ้านนอก เขาทำที่บ้านทุ่งหลวง อยู่ใต้เมืองศุโขไทยฝั่งตวันตก หม้อใหญ่กระพุงเกือบ ๒ ศอกเขาก็ทำมีชุม พระสีหสงครามให้มาแต่วังไม้ขรก็มี

เวลาเช้า ๒ โมงครึ่งจะไปเที่ยว พระยาศุโขไทยเอารูปภาพที่พิมพ์มาจากศิลาจาฤกที่วัดฤษีชุมมาให้ มีรูปหลายแผ่น เปนรูปเก่าชั้นขัดสมาธิ์ไหว้ ต้นไม้รูปดอกเห็ดได้เก็บมาด้วยหมดแล้ว

เวลาเช้า ๒ โมง ๔๕ ขึ้นม้าไปเที่ยว ท่านพระยาจางวางพาไปดูวัดใหม่ ใหม่ก็แต่ชื่อ ที่จริงเกือบพังหมดแล้ว วัดนี้ตั้งอยู่ข้างซ้ายวัง จะมีอะไรบ้างไม่ทราบ ให้เห็นแต่วิหารหลังเดียว วิหารหลังนี้สูงมาก มีฐานประทักษิณชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงถึงฐานวิหาร ฐานในประธานมีชั้นหน้ากระดานแลชั้นสิงห์ แล้วเสาตั้งขึ้นไปบนชั้นสิงห์ ส่วนฐานมุขลดเอาสิงห์ซ้อนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง ถึงฐานมุขเด็จเอาสิงห์ซ้อนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง ตกลงฐานวิหารนี้ไม่มีอะไรนอกจากชั้นหน้ากระดานกับสิงห์ เสาตั้งบนสิงห์ทั้งนั้น เปนพยานเข้ามาอีกว่าที่คิดเอาเสาตั้งหลังสิงห์นั้นไม่บ้า สิ่งที่ปลาดใจที่แห่งนี้ก็คือชั้นฐานซ้อนขึ้นข้างปลาย ผิดกว่าที่เคยรู้เห็นมาซึ่งเขามักจะกลับลดลง ประสงค์จะให้เข้ากับหลังคาเพราะว่าหลังคาลดลงทุกที ที่ซ้อนฐานขึ้นหลังคาลดลงนี้ มันจะไม่กัดกันเปนไฟไปฤๅ แต่ถ้าทำหลังคาให้หน้าเปิดมากทีเดียวจะได้กระมัง ดูหน้ามุขวิหารคล้ายหน้ามุขปราสาทเพราะมีหน้าสิงห์ แต่บนมุขเด็จเอาพระปรางค์ขึ้นไปก่อไว้องค์หนึ่ง เปนความคิดที่รักษาไม่หาย เอาพระพุทธรูปตั้งรัตนสิงหาศน์ยังดีกว่า ในวิหารก็มีพระกอง กองตามธรรมดา ไม่พิเศษอะไร

ออกจากวัดใหม่กลับย้อนมาดูประตูเมืองข้างใต้ เรียกว่าประตูนโม ประตูและป้อมกำแพงก็ทำนองเดียวกับประตูอ้อ ประตูศาลหลวงที่ดูมาแล้ว เลยออกไปดูนอกเทินชั้นนอก มีวัดร้างอยู่ข้างเทินวัดหนึ่ง มีพระเจดีย์กับวิหารเล็กเที่ยวปีนดูเกะกะ พระสถิตย์หาพระไปเห็นยอดนาคปักเคลือบเข้า ขุดดูเปนหัวมังกรคาบกนก แปลกจากที่เคยได้มาแล้ว จึงเลยขุดเอาตัวมาเสียด้วยจนได้

กลับจากวัดประตูนโมมาที่พัก เพลายังมีจึงเลยไปดูวัดนอกเมืองข้างทิศตวันออก เดินทางผ่านวัดหญ้ากร่อนไปวัดหนึ่ง เห็นมีฐานพระเจดีย์ใหญ่อยู่ แต่รู้ไม่ได้ว่าจะเปนพระเจดีย์รูปอะไร เพราะพังมากและรกมาก

เดินเกินวัดหญ้ากร่อนไปอีกหน่อยถึงวัดช้างล้อม มีพระเจดีย์ที่ฐานมีช้างครึ่งตัวล้อม เหมือนกับพระเจดีย์วัดช้างล้อมที่สวรรคโลก แต่ที่นี่เล็กกว่ามาก ชั้นพระล้อมไม่มี ถึงกระนั้นน่าที่ก็จะเลียนกัน แต่เมืองไหนจะเลียนเมืองไหนว่าไม่ถูก กำลังดูอยู่ฝนตกลงมาต้องกลับ วัดช้างล้อมจะมีอะไรอีกไม่ทราบ กลับถึงที่พักเวลาเช้า ๕ โมง ๕๕ นาฑี กินเข้าแล้วดูให้เขาประจุยักษ์ที่พระยาศุโขไทยแซมาให้จากพระเจดีย์วัดมหาธาตุนั้นลงหีบที่จะหาบหามเดินข้ามป่าไปลงพรหมพิรามนั้นด้วย

ท่านพระยาจางวางให้คนเอากระเบื้องขอของโบราณที่วัดพระบาทใหญ่มาให้แปดแผ่น เปนกระเบื้องหัวตัดแผ่นขนาดใหญ่ เผาเกือบเคลือบแขงมาก ได้เอามาด้วย ๔ แผ่น

เวลาบ่าย ๓ โมง ๓๒ นาฑี ขึ้นม้าออกจากที่พัก ท่านพระยาจางวางพาไปเที่ยววัดเจตพล แปลว่ากระไรไม่ทราบ ฤๅเชตพนก็จะเปนได้ อยู่นอกเมืองข้างใต้ ทางห่างเมืองมากอยู่หน่อย วัดนี้จะเปนวัดสำคัญมาแต่ก่อน การก่อสร้างทั้งปวงทำด้วยหินเปนพื้น ใช้หินอย่างที่มีทำอะไรเล็กน้อยชุม ๆ ในศุโขไทย ซึ่งเปนหินที่แตกกระเทาะได้เปนกาบ ๆ นั้น การที่ทำด้วยหินนี้มีปรารถนาสำแดงวาสนาแข่งนครหลวงกำพูชา เราก็ต้องยอมว่าเขาเก่งจริงที่ทำได้เท่านั้น ท่านเจ้าผู้ครองศุโขไทยคนที่ทำวัดเจตพลนั้น ต้องเปนคนที่เก่งที่หนึ่งกว่าเจ้าทุกคนมา โดยความน่าพิศวงของคนเปนอันมาก จนเกิดมีปฤษณา ว่าสี่ห้องสองหนเจตพลสี่เกวียน ดังนี้ แผนที่วัดเจตพลเปนดังนี้

จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

แผนที่วัดพระเจตพล เมืองศุโขไทย ทำโดยประมาณ

ผนังที่แรตาตรางหมายให้รู้ว่าก่อด้วยหิน ผนังที่แรหน้าเดียวหมายให้รู้ว่าก่อด้วยอิฐ แต่ที่จะอธิบายว่าอะไรเปนอะไรนั้นยาก จะต้องว่าตามตาเห็น จะเปนอะไรก็ตาม หลักสำคัญของวัดนี้ก็คืออ้ายก้อนกลางก่ออิฐทึบทือเปนลับแลขึ้นไป สูงประมาณ ๖ ฤๅ ๗ วา ด้านหน้าข้างตวันขึ้นรุ้งพื้นลับแลเข้าไป ปั้นรูปพระลีลา ใช้เนื้อออกมาสูงตง่านเต็มลับแล ด้านหลังข้างตวันตกก็ทำอย่างเดียวกัน แต่เปนรูปพระยืน ด้านสกัดข้างเหนือข้างใต้ก่อรูปพระนั่งแอบข้างลับแล ไม่ได้รุ้งพื้นหนุนฐานขึ้นไปสูงจนองค์พระไล่เลี่ยกับพระยืน แต่ว่าพระนั่งทั้งสองด้านนั้น จะนั่งอาการอย่างเดียวกัน ฤๅอย่างไรไม่ทราบ ด้านเหนือรกด้านใต้ชำรุด เห็นไม่ได้ แต่คิดว่าคงผิดกัน จึงจะเข้าทีนักเลง หน้าพระออกมามีเสาใหญ่ก่ออิฐด้านละคู่เปน ๘ ต้นด้วยกัน รอบนอกเสาใหญ่มีรั้วลูกกรงหิน ข้างล่างก่อทึบสูงประมาณ ๒ ศอก ต่อขึ้นไปใช้หินแท่ง ๔ เหลี่ยมยาวประมาณ ๔ ศอก ก่อตั้งบนกำแพงทึบนั้น ไว้ช่องห่างเท่าลูกกรง ข้างบนมีหินทับหลัง รั้วลูกกรงนี้ดูเหมือนจะมีไปรอบเสาใหญ่ แลย่อตามเสามีรักแร้สี่ด้วย แต่คิดเดาเอาเองมาก ตามที่เขียนไว้ในแผนที่เส้นที่มีแรเป็นส่วนที่มีหินก่ออยู่สูงเห็นได้ถนัด เส้นที่ไม่มีแรขาวว่างอยู่นั้น เป็นส่วนที่พังแลไม่เห็นหินที่ก่อ มีแต่ดินมูลรู้ได้ว่ามีก่อใต้นั้น เส้นที่เขียนประปรายนั้นไม่เห็นอะไร เดาเอาตามที่มันมีพยานอยู่ตรงข้ามหวังว่าจะเปนคู่ซ้ายขวากัน อ้ายลับแลแลเสาใหญ่กับทั้งรั้วลูกกรงนี้ เมื่อวัดยังดีคงจะเข้ากันเปนอันหนึ่งอันเดียว แต่จะเปนอะไรนึกเรียกชื่อไม่ถูก จะต้องตั้งชื่อให้เรียกว่ามรหุ่ม มรหุ่มนี้คงจะเปนของมีหลังคา เพราะว่ามีเสาเปนพยาน แต่ปรูหลังคานั้นจะเปนอย่างไร ถ้าดูตามเส้นรั้วลูกกรงทีก็จะเปนจตุรมุข ฤๅไม่ก็เปนปราสาททีเดียว แต่ยอดปราสาทจะเปนยอดปราสาทฤๅยอดพระเจดีย์ก็ตามที แต่คงจะเปนยอดก่ออาศัยลับแลเปนที่ตั้ง หลังคาจตุรมุขคงทำด้วยไม้ ทำชักออกจากยอดที่ตั้งอยู่กับลับแลทั้ง ๔ ทิศ ออกมาตั้งบนเสาทั้ง ๔ หน้านั้น แต่คงจะชักพาไลยจากหลังคาจตุรมุขลงมาพาดกับทับหลังรั้วลูกกรง รูปปราสาทเดาของข้าพเจ้านี้ อยู่ข้างจะไม่งาม แลขัดนักด้วยที่มุขทั้ง ๔ ไม่เท่ากัน สองด้านใหญ่สองด้านเล็ก ยอดรี จะเข้ากันอย่างไร ฟังได้แต่พูด เขียนเข้าเมื่อไรก็ไม่ได้เมื่อนั้น ฤๅอีกทีหนึ่งจะเปนมณฑปใหญ่รูปรียอดประตูย่อไม้แปดจะได้กระมัง ถ้าดูแปลนก็จะพอไปได้ แต่เมื่อนึกถึงรูปตั้ง อ้ายรั้วลูกกรงสูงเบ็ดเสร็จสัก ๖ ศอกเท่านั้นเปนส่วนเดี่ยวฝา หลังคากว้างถึง ๑๐ วา คงงามพระราชา ยังซ้ำอ้ายเดี่ยวลับแลยังตำเข้าไปในยอดเหนือฝาถึง ๔ ฤๅ ๕ วา พระนาสิกพระจะมิไปดมเหมอยู่ฤๅ ตกลงเปนเหลวอีก ต้องลาแลไม่เห็น งดไว้ให้เพื่อนฝูงคนอื่นคิด จะกล่าวถึงสิ่งอื่นต่อไป คือหลังมรห่มนั้นมีกุฏศิลาหันหน้าเข้ามาชนมรหุ่ม มีประตูเข้าในมรหุ่ม ในกุฏมีพระนั่งองค์หนึ่ง ข้างกุฏมีซุ้มจรณำ ในซุ้มปั้นรูปพระลีลาติดไว้ หลังกุฏมีฐานอิฐต่อออกไป บนฐานมีพระอีก ฐานอิฐนั้นเห็นจะเปนฐานวิหารเล็ก แลเสาพังเสียหมดแล้ว แถวข้างฐานอิฐตลอดกุฏนั้น มีพระเจดีย์เล็กๆ ข้างละ ๓ องค์ ข้างหน้ามรหุ่มมีวิหารใหญ่ก่อด้วยอิฐ เปนวิหารต่างหากไม่เนื่องติดกับมรหุ่ม มีเหลือแต่เสาหลังคาหมดแล้ว หลังคาที่หมดนั้น หมดเพราะไฟป่าไหม้ รู้ได้ที่มีพระทองเหลืองเล็ก ๆ ละลาย นี่เปนความรู้อันหนึ่ง ว่าวัดร้างทั้งหลายที่ไม่มีหลังคานั้น ไม่ใช่เพราะสิ้นอายุไม้ เพราะไฟไหม้โดยมาก พระในวิหารนั้นก็เปนพระประธานก่อ แลมีพระฝากกองกองตามธรรมเนียม ข้างวิหารหน้าจะมีพระเจดีย์รายให้เปนแถวไปเพราะยังมีที่ว่าง แต่สังเกตไม่ได้เพราะรกมากรอบเขตรสิ่งที่ก่อสร้างทั้งนี้มีกำแพงล้อม แต่เห็นได้อยู่ครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งรกแลไม่เห็น คือที่ตรงเส้นประปรายในแผนที่นั้นเดาเอา กำแพงด้านข้างตรงกุฏมีซุ้มประตูกบหินทับหลังหินยังมี แต่ซุ้มไม่เห็นว่ารูปร่างเปนอย่างไรพังเสียแล้ว ในเขตรที่เหล่านี้มีหลุมรอยขุดหาทรัพย์มาก จะเล่นอ้าย ๔ เกวียนให้ได้ แต่ไม่ปรากฏว่ามีใครได้เงิน ปรากฏแต่ว่าได้พระพิมพ์ตรุหนึ่งในวิหารใหญ่ นอกเขตรนี้มีคลองคั่นข้างกำแพงด้านขวา ฟากคลองข้างโน้นว่าเปนโบสถ์ ไม่ได้ข้ามไปดูเพราะรกนัก ดูแล้วกลับมาที่พัก ถึงในเวลาบ่าย ๕ โมง ๑๖ นาฑี

เวลาค่ำกินเข้าแล้ว นายเฉยคนบ้านในเมืองเอาของมาให้ คือพระพิมพ์ เปนรูปพระนั่งในเรือนแก้วองค์หนึ่ง ว่าได้ที่วัดหญ้ากร่อน กับกระปุกสังคโลกใบหนึ่ง ว่าได้ที่คูเมือง กับช้างเคลือบมีคนขี่ตัวหนึ่ง ว่าได้ที่บ้านของเขาเอง

๓๔) วันที่ ๑๙ เวลาเช้า ๒ โมง ๕๒ ขึ้นม้าออกจากที่พักไปวัดพระไพรหลวงอีกเพราะยังติดใจอยู่ ด้วยเปนของดี เมื่อวันก่อนเวลาไม่มีดู วันนี้ได้เขียนเอาแผนที่กับปรางค์มา แต่ว่าแผนที่ไม่ได้ถูกถ้วนเพราะรกนักได้มาแต่เค้าพอเปนเครื่องช่วยคำพูดให้เข้าใจง่าย ดังได้เขียนไว้นี้แผนที่วัดเจตพล เมืองศุโขไทย เขียนโดยประมาณ

จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก

(ทรงพระนิพนธ์ไว้เพียงเท่านี้)

 

  1. ๑. วัดปรมัยยิกาวาส อยู่ที่ปากเกล็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดโบราณเดิมชื่อวัดปากอ่าว ในครั้งรัชกาลที่ ๕ สมเด็จกรมพระสุดารัตนราชประยูรทรงสถาปนาใหม่หมด แล้วพระราชทานนามว่าวัดปรมัยยิกาวาส มีพระเจดีย์แบบมอญ มีพระสงฆ์รามัญจำพรรษาอยู่มาก และตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายรามัญอยู่วัดนี้ มีสมณศักดิ์ว่า พระสุเมธาจารย์

  2. ๒. พระสถิตย์นิมานการ (ม.ร.ว. ชิด อิศรศักดิ์) ข้าราชการกระทรวงโยธาธิการ ภายหลังได้เป็นพระยาประดิษฐ์อมรพิมาน

  3. ๓. เครื่องประดุ คือเครื่องหลังคาที่ปรุงด้วยไม้จริง ดูตัวอย่างได้ที่โบสถ์วัดสุวรรณาราม (วัดใหญ่) จังหวัดเพ็ชรบุรี

  4. ๔. พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๑ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ เปนช่างฝีมือดี รับราชการกรมช่างสิบหมู่

  5. ๕. ขุนอาทรปฏิทัต ( ม.ล. พูน พนมวัน ) ข้าราชการกระทรวงโยธา

  6. ๖. หลวงขจรยุกตกฤษต์ ข้าราชการกระทรวงโยธา

  7. ๗. พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก

  8. ๘. ดูหน้า ๓๔ คำแปลพิมพ์ไว้ท้ายเล่ม

  9. ๙. ในที่นี้ใช้เส้นประแทนเส้นแดง

  10. ๑๐. ปัจจุบันเรียกวัดราชบูรณะ อยู่ริมถนนมิตรภาพ

  11. ๑๑. วัดนางพญานี้มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระนางพญา เปนที่นิยมนับถือกันอยู่ในปัจจุบัน

  12. ๑๒. ดูแผนที่หน้า ๓๐

  13. ๑๓. เจ้าพระยาเทเวศรวงษวิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร)

  14. ๑๔. ศิลาจารึกนี้ในปัจจุบันอยู่ในหอสมุดวชิรญาณ ดูคำแปลท้ายเล่ม

  15. ๑๕. สมุดคาเนีย คือหนังสือแต่งโดยฟรานซิสการ์นีเอร์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส Francis Garnier–Voyage d'Exploration en Indochine, Paris 1873

  16. ๑๖. ในที่นี้ใช้เส้นประและเส้นจุดแทนเส้นแดง

  17. ๑๗. ในที่นี้ใช้เส้นประแทนเส้นแดงลิ้นจี่

  18. ๑๘. ในที่นี้ใช้เส้นจุดแทนเส้นแดงชาด

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ