- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ดร
- วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ น
- วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ น
- วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ดร
- วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ น
- วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ดร
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ น
- วันที่ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖ น
- วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ น
- วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ดร
- วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ น
วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ดร
สำนักดิศกุล หัวหิน
วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ
ลายพระหัตถ์ที่ประทานมาได้รับแล้ว หม่อมฉันกลับออกมาหัวหินก็นึกเปนห่วงถึงงานที่วังอยู่เนือง ๆ คิดเห็นข้อความขึ้นใหม่ซึ่งอยากจะทูล ก็มีอยู่บางข้อ จะถือเอาโอกาศนี้ทูลตอบข้างลายพระหัดถ์ และทูลความข้ออื่นที่หม่อมฉันคิดเห็นด้วยทีเดียว คือ
๑. ที่ทรงพระดำริห์จะให้องคเสรฐ เปนผู้นำของไปทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เห็นจะดีกว่าวานข้าราชการในพระราชสำนัก แต่ถ้ายิ่งได้เจ้าชายดรุณ
๒. วันที่ ๒๘ เมษายนเปนวันเสาร มีรถไฟเร็วลงมา รถไฟออกจากสถานีกรุงเทพฯ เวลาเช้า ๗ นาฬิกา ถึงเมืองเพ็ชรบุรีก่อน ๑๑ นาฬิกา ถ้ามีรถยนต์รับที่สถานีเมืองเพ็ชรบุรี ทางรถยนต์ไปหาดเจ้าสำราญอิกประมาณ ๕๐ นาที ถึงหาดเจ้าสำราญได้ราวเวลาเที่ยง ก่อนเวลาเสวยช้านาน รถยนต์นั้นหม่อมฉันจะว่าเจ้าเมืองให้เขาจัดไว้รับ หวังใจว่าจะสำเร็จได้
๓. เรื่องที่นึกขึ้นว่าจะทูลนั้นเรื่อง ๑ ยังให้วิตกหมกมุ่นถึงการเลี้ยงเย็นวันที่ ๒๘ หม่อมฉันนึกแน่ใจว่าเจ้านายคงจะเสด็จไปช่วยหมดทุกพระองค์ ขุนนางก็คงมีมาก เคยเห็นตัวอย่างครั้งกรมพระนราธิปฯ
๔. การเลี้ยงลูกหลานวันที่ ๒๘ นั้น หม่อมฉันเห็นว่าปีนี้งดเสียก็ได้ เพราะก็อยู่ในผู้ที่จะไปช่วยเหลือทั้งนั้น
๕. มีความคิดอิกอย่าง ๑ เกิดแต่ได้สังเกตงานที่มีแขกมาก ไม่ว่างานหลวงหรืองานราษฎร์ จำต้องจัดให้มีพนักงานรับแขก คือ พนักงานรับเจ้านาย พนักงานรับขุนนาง และที่สุดพนักงานรับแขกผู้หญิง ถ้ามีพนักงานรับการจึงจะเรียบร้อย รับตั้งแต่เขาเข้ามา พาไปสู่ที่นั่งและเชิญไปเลี้ยงดู เมื่องานซายิดที่บ้านหม่อมฉัน ได้อาศรัยพวกหม่อมเจ้าลูกหลานเปนพื้น องคเสรฐจะเหมาะแก่น่าที่นี้คน ๑ ถ้ามีหม่อมเจ้าหรือข้าราชการที่เคยทรงบังคับบัญชา แม้จนที่เปนมิตรสหายมาขอรับน่าที่ ขอจงทรงพระดำริห์ในเรื่องพนักงานรับแขก ดังทูลมา
คิด ๆ ไปมันไปเข้าสุภาสิตของเสด็จพระอุปัชฌาย์
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
-
๑. ทรงหมายถึง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดรุณวัยวัฒน์ (หม่อมเจ้าดรุณวัยวัฒน์ จักรพันธุ์) ↩
-
๒. ทรงหมายถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุล “วรวรรณ” ↩
-
๓. ทรงหมายถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๕ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ↩
-
๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศน์ ↩