คำอธิบายศัพท์
ก
กรม | ลำดับ หมวดหมู่ คุ้มภัยทุกกรม หมายถึง คุ้มภัยทุกอย่าง |
กรรณ | หู |
กรรตรา | เสน่ห์ สะกด (ส. กรฺตร) |
กรรตราสงค์ | กรรตรา (เสน่ห์) + สงค์ (ความเกี่ยวพัน) ความหมาย โดยรวมคือ ผูกมัดไว้ด้วยเสน่ห์ |
กรรทรรณ | กรรท (ส. กรุท) สั่น คราง + อรณ (ส.) จากไป ไปเป็นของผู้อื่น เรียมโรทดกรรทรรณ ตัวพี่ ต้องร้องไห้ ครีาครวญเมื่อน้องจากไป |
กรรทิตัง | ถูกกระทำให้หวั่นไหวคร่ำครวญ (ส. กรุท + ิต) |
กระแน่ง | แน่ง นางงาม เติม กระ หน้าศัพท์ เป็น กระแน่ง ลักษณะเดียวกับ ทำ เป็น กระทำ |
กระบี่ | ลิง แผลงมาจาก กปิ |
กระเมริม | คระเมิม ดุร้าย น่ากลัว |
กระหนกระหาย | กระวนกระวาย เดือดร้อน |
กระเหม่น | เขม้น มอง เพ่งมอง |
กลอยสวาดิ | หญิงอันเป็นที่รัก ร่วมรักใคร่ |
กลั้ว | เคล้า ระคน |
กลาภัย | กลา ส่วนหนึ่ง กลาภัย ส่วนแห่งความน่ากลัว ในที่นี้หมายถึง ตกอยู่ในห้วงแห่งภัย |
กังขา | ความเคลือบแคลง ความสงสัย |
กังขาน | กังขา + ต แปลง ต เป็น น ให้รับส่งสัมผัสตามบังคับคำประพันธ์ |
กัจฉา | ปลายแขน |
กัณฐ์ | คอ |
กันแสง | ร้องไห้ |
กัลปหุกา กัลปหูกา |
กัลป ประเสริฐ หู + ก ผู้บวงสรวง ผู้บูชา อรองค์ทรงศุภลักษณะ คิดคือกัลปหูกา หมายถึงนางสีดาเป็นผู้มีลักษณะอันประเสริฐ ควรเป็นผู้ที่ได้รับการบูชา |
กัลเหา |
กลมกล่อม อ่อนหวาน แผลงจาก กัลเอา |
ก้าง | กั้น ขวาง |
กาญจนลดา | ลดาทอง ไม้เถาทอง |
กามัย | ความปรารถนา |
กามาสาร |
กามา (ความรัก) + สาร (อันบุคคลพึงระลึกถึง) คุณาวรบิดุรามารดูรกามาสาร หมายถึง คุณของบิดา มารดาผู้ประเสริฐอันเป็นที่รักพึงระลึกถึง |
กำจัด | พลัด แยก |
กำดึง | ทำให้รู้ |
กิตย | กิจ เรื่องราว ข้อความ |
กินนร | คนครึ่งนก ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า กินรี |
กี | กี่ เท่าไร กีเมื่อฤๅสมกัน เมื่อไรจะได้อยู่ร่วมกัน |
กุมพล | ต้นฉบับตัวเขียนบางเล่มใช้ กุมภณฑ์ ยักษ์ตนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ |
กุมกัณฑ์ | กุมภ + อัณฑ ผู้มีอัณฑะดังหม้อ หมายถึง ยักษ์ |
กุมภีล์ | จระเข้ |
เกลือก | เกรง แม้ว่า |
เกศ | ผม บางครั้งหมายถึง ศีรษะ |
เก้าแก้ว | แก้วเก้าประการ หรือเนาวรัตน์ ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์ |
เกี้ยว | รัด เกี่ยว พัน เช่น กอดเกี้ยวคือกาญจนลดา |
แก้ว | ประเสริฐ ดีเลิศ บางทีใช้ในความหมายแทนหญิงที่รัก |
แก้วกับตน | หญิงที่รัก |
โกญจ | นกกระเรียน |
โกฏิ | จำนวนลิบล้าน |
โกมุท | บัวชนิดหนึ่งดอกสีแดง |
โกลา | เอิกเกริก วุ่นวาย ตัดศัพท์จาก โกลาหล |
โกลาคีรี | ชื่อภูเขา |
ไกรศรี | ยิ่งด้วยสิริ มีสิริยิ่ง หนุกาไกรศรี คางที่มีสิริยิ่ง |
ไกรลาส | ชื่อเขาที่ประทับของพระศิวะ |
ข
ขจร | ฟุ้งไป ข (ฟ้า) + จร (ไป) ว่า ไปในอากาศ |
ขรรค ขรรค์ | พระขรรค์ อาวุธชนิดหนึ่งมีคมสองด้าน คล้ายรูปคมหอก ด้ามสั้น |
ขาม | ครั่นคร้าม เกรงกลัว |
ชินเขต | น่าจะเป็น ขิลเขต ขีล (หลัก) + เขต (แคว้น แดน) |
ขินี | น่าจะตัดศัพท์จาก ยักขินี นางยักษ์ |
เขจร | ไปในอากาศ ใช้ในความหมายว่า ไป |
เขโฬ | เขฬะ นํ้าลาย |
ไข | เปิด เปิดออก แสดง |
ค
คณ คณา | คณะ หมู่ เหล่า |
คตุธัง | น่าจะเป็น คตุฏัง คต (ไปแล้ว) + อุฏํ (อาศรม) คตุฏัง ไปแล้วจากอาศรม |
คทา | ตะบอง |
คนธรรพ คนธรรพ์ | ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชำนาญในการดนตรีและขับร้อง |
ครครึกครครืน | ครึกครื้น เอิกเริก เสียงดังอึกทึก |
คระหนคระหาย | กระหนกระหาย เดือดร้อนกระวนกระวายด้วยความปรารถนา |
คลายคลาย | เคลื่อนไป คล้อยไป |
คนธ คันธ | กลิ่นหอม |
คัล | เฝ้าอย่างเข้าเฝ้าเจ้านาย |
ค่า | คะเน ประมาณ เช่น ฤๅค่าใครเห็น |
คาม | บ้าน หมู่ ในที่นี้หมายถึง หมู่ หรือ ประชุม เช่น เคยชมสัตวอนุจรตาม คู่เคียงสังโยคคาม |
คำรบ | ครั้ง ครบ ถ้วน |
คิวา คีวา | คอ |
คุโณ | คุณ ยิ่ง ธรรมอันชนสั่งสม |
เคือง | ฝืดเคือง ลำบาก ไม่สะดวก |
แค้น | คับใจ เจ็บใจ ติด ขัด |
แค้นคา | ขัดข้อง ติดค้างอยู่ |
ไคล | ไป |
จ
จร | ไป เที่ยวไป |
จรด | ถึง จ่อให้ถึง |
จรล | จรัล ไป เดินไป |
จรัง | จร ไป |
จรี | มีด หอก ดาบ ในที่นี้น่าจะมาจาก จร ลงวิภัติเป็น จรี หมายถึง ไป มีอาการไป |
จล | หวั่นไหว |
จักรปาณี | ผู้ถือจักร หมายถึง พระนารายณ์ |
จักรวาฬ จักรวาฬา | จักรวาล |
จักษุ จักษู | ตา |
จักษุธาร | น้ำตา |
จัตดูรเทพย | จัตตุรเทพ จตุรเทพ หมายถึง ท้าวจตุโลกบาล เทวดาผู้รักษาทิศทั้ง ๔ |
จันทิมา | พระจันทร์ ดวงจันทร์ |
จาบัลย์ จำบัลย์ จำบาล | สะอึกสะอื้น ครํ่าครวญทุรนทุราย |
จินดา | จินต จินตา ความคิด |
จินต์จล | คิดหวั่น หวาดหวั่น |
จินเต | ในความคิด |
จุติ | เคลื่อน ตายเพื่อไปเกิด ใช้กับเทวดา |
จุมพิต | จูบด้วยปาก จุมพิตถนังค จูบด้วยปากที่ถัน |
เจียร | เนิ่นนาน แผลงศัพท์จาก จิร เป็น เจียร จำเนียร |
แจจัน | เบียดเสียดยัดเยียดกัน อึกทึก อื้ออึง |
โจษจล | โจษจน โจษจัน พูดกันเซ็งแซ่ ส่งเสียงอื้ออึง |
ฉ
ฉกามา | ฉกามาพจรภพ สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ประกอบด้วย จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัดดี |
ฉวย | คว้าไปโดยเร็ว |
ฉาน | แสงกล้า แสงที่กระจายออกไป |
ฉายา | เงา ร่มไม้ |
เฉลย | พูดตอบ |
ช
ชงฆ ชงฆา | แข้ง หน้าแข้ง |
ชนดา | ชนฺตฺฤ ลงวิภัติเป็น ชนฺตา ผู้ทำให้เกิด ผู้ให้กำเนิด หมายถึง บิดามารดา |
ชมพู | ชมพูทวีป ทวีปหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ |
ชรล ชรลา | ชล ชลา น้ำ |
ชรอ่ำ | ชอ่ำ ฉ่ำ มืดครึ้ม |
ชรอื้อ | ชอื้อ อื้อ มืดมัว ครึ้ม อับแสง |
ชลนัยน์ | นํ้าตา |
ชลสีทันดร | นํ้าในทะเลสีทันดร |
ชออร | ชะอ้อน ฉะอ้อน ออดอ้อน สำออย |
ชัชวัด | ชุต ชุติ ซ้อนพยัญชนะต้น ช แปลงสระอุเป็น ว และแผลง ต เป็น ด รูปสำเร็จเป็น ชัชวัด ความรุ่งเรือง สว่างไสว |
ชัชวาล | สว่าง รุ่งเรือง |
ชาตบุษป | ชาตบุษย์ บัวชนิดหนึ่ง |
ชานิ ชานี | ภรรยา มเหสี |
ชาเย ชาเยศ | ภรรยา |
ชีวาตม ชีวาตม์ | ชีว + อาตม ชีวิตของตน |
ชูษณ | ชุษณะ ขาว สว่างรุ่งเรือง รัตนชูษณ แก้วอันสว่างรุ่งเรือง |
โชงการ | ตัดศัพท์จาก ราโชงการ คำดำรัสของพระเจ้าแผ่นดิน |
โชติ | ความสว่าง ความรุ่งเรือง |
โชรก | โชก เปียกชุ่ม |
ซ
ซรน | ซน ซอกแซก ไม่อยู่นิ่ง |
ซรอน | ซอน ซุก แฝงเร้น |
ซรับ | ซับ ซ้อนกัน สับสน |
ซาบ | เอิบอาบเข้าไป |
ฐ
ฐาน ฐานา | หลักแหล่ง ที่ตั้ง |
ด
ดังฤๅ | เหตุใด เหตุไฉน |
ดัศ |
ดัส ปลุกให้ตื่น (ข. ฎาส่) ฤดีดัศ ตื่นใจ ปลุกให้ตื่นใจ |
ดาย |
๑. ง่าย ฉวยพาได้ดาย คว้าไปได้อย่างเร็ว โดยง่าย ๒. โดดเดี่ยว ลำพัง |
ด้าว | แว่นแคว้น แผ่นดิน |
ดำกล | งาม แผลงจาก ถกล |
ดำเกิง | รุ่งเรือง สูงศักดิ์ แผลงจาก เถกิง |
ดุจกร | ดุจก่อน เหมือนก่อน เช่น จักร่ำกี่วารเห็น อนงคนุชดุจกร |
ดุษฎี | ความยินดี ความชื่นชม |
ดุษณี | นิ่ง ความนิ่ง |
ดูร | เร็ว ด่วน (ส. ตุร) อาดูรดูรหา ด่วนหาด้วยความเป็นทุกข์ ทั้งกายและใจ |
เดียรฉา | ตัดศัพท์จาก เดียรัจฉาน |
เดื่อง | กระเดื่อง แหนง หมางใจ |
เดือด | พลุ่งพล่าน เดือดแด จิตใจพลุ่งพล่าน |
ต
ตรเบง | ตระเบ็ง เปล่งเสียงออกไปอย่างดัง |
ตรลบ | ตลบ ฟุ้งไป |
ตระกอง | กอด |
ตระบัด | ทันทีทันใด |
ตระหลิ้ว | น่าจะแผลงมาจาก ติ้ว ซึ่งมีความหมายว่า เฟ็ด แฟบลงไป ฟุบลงไป |
ตรับ | ฟัง |
ตรีพิภพ | ตรีภพ โลกทั้งสาม |
ตฤณ | หญ้า |
ต่อยุทธ | ต่อสู้ |
ตะทึกตะถึก | น่าจะหมายถึง ใจเต้น อาการใจเต้นอย่างแรง |
ตา | คราว ตาทุกขาภาร คราวที่มีทุกข์หนัก |
ตาว | เดี๋ยวนี้ ทันใดนั้น (ป. ตาว) |
ติง | ไหว เคลื่อนไหว |
ติมิรังค | มืด เมฆังติมิรังค เมฆมืด |
เต้า | ไป |
ไต่ | เดินไป ไปด้วยความลำบาก |
ถ
ถนงค ถนังค ถันนังค์ | ถน + องค นม เต้านม |
ถับ | รวดเร็ว ทันใด |
ถามัศ | กำลัง เรี่ยวแรง ถาม (ส.) + ศ (เข้าลิลิต) |
เถิง | ถึง |
เถื่อน | ป่า |
แถก | กางออก แถกถา กาง (ปีก) ออกโบยบิน |
ท
ทบ | เพิ่มเข้ามา ทั่วโลกทบทาง เพิ่มเข้ามาทุกทิศทุกทางทั่วภพ |
ทรหวน | พัดหอบเอาไป |
ทราย | กวาง เนื้อทราย เช่น ป่างเมื่อตรัสใช้ ให้เรียมตามทราย |
ทฤฆายุศม | ทีฆายุ มีอายุยืนยาว |
ทฤษา ทฤษฎี | เห็น มองเห็น |
ทวน | กลับ ย้อนกลับ ทวนเทา ย้อนกลับไปกลับมา |
ทวย | ทวิ แปลง ิ เป็น ย ทั้งสอง สองชงฆ์ทวยบาทา แข้งและเท้าทั้งสอง |
ทศทิศเทวา | เทวดาในทิศทั้งสิบ |
ทศศิโรตม์ ทศศีรา | ผู้มีสิบเศียร หมายถึง ทศกัณฐ์ |
ทักขิณา | ทักขิณ ทักษิณ เบื้องขวา |
ทัง | ทั้ง ทังสอง ทั้งสอง |
ทังวน | ทำวน ห่วงใย วุ่นวายใจ |
ทัดทาย | ทัดทาน พูดทักท้วง ห้ามปราม |
ทันต | ฟัน |
ท่าว | ล้ม ยอบลง ทรุดลง |
ทิวากร | ดวงอาทิตย์ |
ทิวารตี | กลางวันและกลางคืน |
เทวยาคาศน์ | น่าจะมาจาก เทวยา (เทวี, นางกษัตริย์, นางฟ้า) + ขาทิ (เครื่องประดับจำพวกแหวนหรือกำไล) เทวยาขาทิ์ หมายถึง แหวนหรือกำไลมือของนางฟ้า |
เทวารุกโข | รุกขเทวดา |
เทา | ไป |
โทรมนัส | โทมนัส ความเสียใจ เป็นทุกข์ใจ |
ธ
ธราดล | พื้นแผ่นดิน |
ธานา | รุ่งเรือง (ส. ธานา) หญิงธานา หญิงผู้รุ่งเรือง |
ธำมรงค์ | แหวน |
น
นฤบดี | นรบดี ผู้เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ พระราชา |
นวย | เยื้องกราย |
นักขัต |
นข นขา เล็บ ทศานักขัต เล็บทั้งสิบ |
นันต์ | มากมาย ไม่มีที่สิ้นสุด ตัดศัพท์จาก อนันต์ |
นาคา นาคี | นาค อมนุษย์จำพวกหนึ่ง มีถิ่นอาศัยในนาคพิภพ |
นาภิ นาภี | สะดือ ท้อง |
นารท | นารทมุนี ฤๅษีตนหนึ่ง ตามเนื้อความในราชาพิลาปคำฉันท์ ว่าเป็นผู้มอบแหวนของพระอิศวรให้แก่นางสีดา |
นิ | นี้ |
นิทร นิทรา นิเทร นิไทร | นอน การนอน |
นิมลา | นิ + มล ปราศจากมลทิน ไม่มีราคี |
นิรา | ปราศจาก |
นิฤมล | นิรมล ปราศจากมลทิน |
นิฤมาณ | นิรมาณ การสร้าง การทำ |
นิฤยา | นิรยา นรก |
นิลดา | นิลตา มีความเป็นนิล ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า ดำดั่งนิล |
นิลุบล | บัวขาบ |
นุ | นั้น |
นุจร | ไปตาม ตัดศัพท์จาก อนุจร |
นุชมาลย์ | อนุช (น้อง) + มาลย์ (ดอกไม้) ในที่นี้หมายถึง นางอันเป็นที่รัก |
เน่ง | นิ่ง ไม่ไหวติง |
เนา | อยู่ |
เนียม |
คู่ จำนวนสอง (ข. นึม) เนียมแนบนิทรา เราทั้งสองแนบนอน |
เนืองนันต์ | จำนวนมาก มากมาย |
แนบ | แอบ เบียดชิดสนิท |
บ
บง | มอง แลดู |
บงกช | เกิดแต่โคลน (ส. ปงฺก + ช) หมายถึง บัว |
บรมจักรรัตน์ | ผู้มีจักรแก้วอันยิ่งใหญ่ คือ พระจักรพรรดิ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม |
บรรทม | นอน |
บรรทับ | ประทับ แนบ กดแนบลง เช่น อุระบรรทับอุรา |
บรรพต | ภูเขา |
บเริ่ม | น่าจะมาจาก บริรม ปริรม ชอบใจ ยินดี บเริ่มเราชายเลิศคน ยินดีว่าเราเป็นยอดชาย |
บฤษฐี | ปฤษฐี หลัง เบื้องหลัง |
บั้น | ส่วน ตอน |
บันทำ | ทำ |
บัพภาร | เงื้อม ชะง้ำ (ป ปพฺภาร) |
บาบี | คนมีบาป คนมีความชั่ว |
บำรัด | แต่ง แผลงจาก ปรัด เช่น บำรัดพยัชนีรมเยอ |
บิญจางค์ | เบญจางค์ องค์ห้า บิญจางค์คณาคีต หมายถึง เบญจดุริยางค์ คือ เครื่องดนตรีห้าอย่าง |
บิดุรา | บิตุรา บิดา พ่อ |
บีฑา | เบียดเบียน รบกวน |
บุจฉา | ปุจฉา ถาม |
บุรพ บูรพ | เบื้องหน้า ก่อน |
บุษปผา |
ดอกไม้ สร้างคำโดยการรวมศัพท์ ปุษฺป (ส.) และ ปุปฺผ (ป.) |
บูรณ์ | เต็ม บริบูรณ์ |
บูราปัจฉา | บุร + ปัจฉ เบื้องหน้าและเบื้องหลัง |
เบกษา | ความเพ่ง (ป. เปกฺขา, ส. เปฺรกฺษา) |
เบญจชลธาร | แม่นํ้าสำคัญห้าสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และ มหิมหานที |
เบือน | หันไป เบือนบ่าย หันหน้ามุ่งไป |
ป
ประชาบดี | เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในหมู่สรรพสัตว์ |
ประทุมา | ประทุม ปทุม บัวหลวง |
ประปาม | ประ กระทบ ต่อสู้ ปาม พรวดพราด |
ประพาฬ | รัตนชาติชนิดหนึ่งสีแดงอ่อน เกิดจากหินปะการังใต้ทะเล |
ประภาคย | มีส่วนอันงาม โฉมประภาคยพิมล มีรูปโฉมอันงาม ปราศจากมลทิน |
ประลัยา | ประลัย ความฉิบหายย่อยยับ |
ประสาท | ยินดีให้ โปรดให้ |
ประสาธน์ | เครื่องประดับ |
ประสุม | ประสม รวม ระคนกัน |
ปรัตนี | ภรรยา หญิงแม่เรือน (ป. ปตฺนี, ส. ปฺรตฺนี) |
ปรัศว์ | ข้าง ส่วนข้าง |
ปราณ | ลมหายใจ สัตว์มีลมหายใจ มีชีวิต |
ปรารมภ์ | ครุ่นคิด รำพึง |
ปริลังค | ปริ + สังค โอบกอดไว้โดยรอบ |
ปลง | เอาลง ทำให้ขาด |
ปลาบ | ความรู้สึกเสียววาบ |
ปักษิ ปักษี | นก |
ปัจฉา | เบื้องหลัง |
ปัทม ปัทม์ | บัวหลวงสีแดง ปัทมเพริศพรายพรรณ ปัทม ในที่นี้หมายถึง ฐานปัทม์ คือ ฐานบัวหน้ากระดานบัวคว่ำบัวหงายในสถาปัตยกรรมไทย |
ปาง ป่าง | ครั้ง เมื่อ |
ปางมรณ์ | เกือบตาย อาการปางตาย |
ปาณ | ลมหายใจ สรัปปาณ ลมหายใจของงู หมายถึง พิษที่ออกมากับลมหายใจของงู |
ปานี้ | ปานนี้ ป่านฉะนี้ |
ปาวกาวจรี | ปาวก (ไฟ) + อว (ลง) + จรี (ไป) มีไฟตกลง ในที่นี้หมายถึง ฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า |
ป่าเวศ | ป่า เวศ น่าจะตัดศัพท์จาก พนาเวศ |
ปิฐิ ปิฐี | หลัง เบื้องหลัง |
ปิย ปิยา | ที่รัก |
แปร | เปลี่ยน กลับกลาย |
ผ
ผัง | เข้มแข็ง รวดเร็ว ผังแผลง ยิงธนู แผลงศรอย่างเข้มแข็ง |
ผาด | ปราด ไปโดยเร็ว |
ผยอง | เผ่นโผน |
ผ้าย | เคลื่อนไปจากที่ |
ผิ ผิว | แม้ แม้ว่า |
ผิน | หันหน้า หันหลัง |
ผุด | โผล่ขึ้น |
เผือ | ข้า ฉัน สรรพนามบุรุษที่ ๑ |
เผือน |
ป่า |
แผด | ฉายแสงแรงกล้า |
พ
พนสณฑ | ราวป่า แนวป่า |
พนวา | ป่า |
พนาศ | พนา + ศ (เข้าลิลิต) ป่า |
พยัชนี | พัชนี พัด |
พยาบาล | เอื้อเฟื้อ ดูแล |
พรง | พง ป่า ดง |
พรรค | หมู่ เหล่า |
พรรณาภาส | พรรณ + อาภาส มีผิวพรรณสว่างรุ่งเรือง |
พรายพรัศ | เลื่อมพราย แวววาว |
พลา | พล กำลัง |
พลาศร | กำลังของศร |
พลาศรับท | กำลังเสียง |
พะงา | งาม นางงาม |
พักตรมณฑล | ดวงหน้า วงหน้า |
พาช่อง | ท่วงที ปกติวิสัย |
พาธา | ความทุกข์ ความเบียดเบียน |
พาน | พบ ผ่าน |
พาย | ลม เช่น พายพัดเปลื้อง เกสรขจาย |
พาล พาลัง พาลา |
๑. อ่อน เยาว์วัย ๒. เลว ชั่วร้าย |
พาลุ | ทราย ตัดศัพท์จาก พาลุกา |
พาสนาภาด | วาสนาของพี่ พาสนา + ภาต พี่ (ส. ภาตา) |
พาหุ | ต้นแขน |
พิตเพียล | เมียงมอง (ข. พิตพิล) วรรณคดีไทยสมัยอยุธยาหลายเล่มใช้ พิศเพียร |
พิพิธ | ต่าง ๆ |
พิมพงค์ | รูป แบบ พิมพ + องค |
พิโรท พิโรทด | วิโรทน ร้องไห้ น้ำตา |
พิไร | ร่ำรำพันด้วยความโศก |
พิลาป | ร้องไห้ คร่ำครวญ |
พิศม | พิษ สิ่งอันเป็นโทษ เป็นอันตราย |
เพลา | (เพฺลา) ตัก ขา |
ไพ | ในความว่า มุกดาวรรัต นาภาภาคยไพ น่าจะตัดศัพท์จาก ไพรู งาม รุ่งเรือง |
ไพชยนต์ | ชื่อวิมานของพระอินทร์ บางที่หมายรวมถึง ปราสาทราชวัง |
ไพรสาณฑ์ | ราวป่า แนวป่า |
ไพรู | งาม รุ่งเรือง |
ฟ
ฟ้าฟื้น | ในที่นี้หมายถึง ฟ้าคำราม ฟ้าคะนอง |
ฟาย | ฟูมฟาย ร้องไห้คร่ำครวญ |
ไฟกัลป์ | ไฟล้างโลกเมื่อสิ้นกัลป์ |
ภ
ภมู | คิ้ว |
ภักพา | ลอบพาไป |
ภักษ ภักษา | เหยื่อ อาหาร |
ภัควดี | ภควดี คำเรียกสตรีที่ควรเคารพ |
ภาคย ภาคา | ภาค ส่วน โสภาคย ส่วนอันงาม |
ภาร |
หนัก ธุระหนัก งานหนัก ภารนุภักดิ์ ภาระหนักด้วยความภักดี |
ภิกรรตร | มีเสน่ห์ยิ่ง ตัดศัพท์จาก อภิกรรตร (ส. อภิ + กรฺตรฺ) |
ภิต | ภีต กลัว น่าเกรงกลัว |
ภิโรมย์ | รื่นเริงยินดีอย่างยิ่ง แผลงจากศัพท์ ภิรมย์ อภิรมย์ |
ภุมรี | ภมร แมลงภู่ แมลงผึ้ง |
ภูชก |
สัตว์ผู้มีขนด คือ งู |
ภูมมณี | ภูมิมณี น่าจะหมายถึง มีลักษณะดงมณี |
ภูมิดล | พื้นแผ่นดิน |
เภน | แตกแล้ว ทำลายแล้ว จาก ภิน แปลงสระอิ เป็นสระเอ เช่น ทุกหมู่ในเภนธราดล |
เภา | น้อง น้องหญิง (ข. เภา) |
โภไคศวรรย | สมบัติของความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน |
ม
มณินทร มณินทร์ | แก้วอันยิ่งใหญ่ ตามเรื่องหมายถึง แหวนของนางสีดา |
มนท | โง่เขลา |
มนา | มน ใจ |
มยุร มยุรา | นกยูง |
มรรควิถี | หนทาง ทางเดิน |
มฤค มฤคา มฤคัง | กวาง สัตว์จำพวกกวาง |
มฤจฉา | มิจฉา ผิด ไม่สุจริต |
มฤธุ มฤธูร | มธุ มธุร นํ้าหวาน น้ำผึ้ง มฤธูรส รสหวาน |
มลัก | เห็น มลักเห็น เป็นการซ้อนศัพท์เพื่อเน้นความหมาย |
มล้าง | ล้าง ผลาญ ฆ่า |
มหิทธิ มหิทธิ์ | มีฤทธิ์มาก |
มหิบาล | ผู้ครองแผ่นดิน พระราชา |
มองลัก | มุ่งที่จะลักพาไป |
มังกร | สัตว์ชนิดหนึ่งในนิยาย |
มัจฉ มัจฉา | ปลา |
มางษ มางส | เนื้อ |
มาณวิกา | หญิงรุ่น หญิงวัยรุ่น |
มาร | ยักษ์ |
มารดูร | มาตุร แม่ |
มาศ | ทอง |
มุกดา | แก้วชนิดหนึ่งสีหมอกอ่อนๆ คล้ายสีไข่มุก |
มุข |
หน้า ปาก |
มุจจา | ดำลงไป มุดลงไป |
เมฆัง | เมฆ |
เมตต เมตต์ | ความรัก ความเอ็นดู |
เมรุมาศ | เขาพระสุเมรุอันเป็นหลักของจักรวาล |
เมื่อฤๅ | เมื่อไร |
โมโร | โมร นกยูง |
โมห | ความลุ่มหลง ความโง่เขลา |
ย
ยง |
๑. กล้าหาญ ๒. งาม มักใช้ต่อท้ายศัพท์บางศัพท์แล้วมีความหมายโดยรวมว่า ผู้หญิง เช่น ยุพยง โฉมยง |
ยล | มองดู |
ยวน | ยั่ว ชวนให้ยินดี เช่น วาตารำเพยพัดยวน พระทัยรัญจวน |
ยายี | เบียดเบียน รบกวน |
ยุทธ ยุทธิ | การรบ การต่อสู้ |
ยุว ยุพ ยุไพ | หนุ่ม สาว ยุพลักษณ์ หมายถึง พระลักษณ์อนุชาของพระราม |
ยุรยาตร ยูรยาตร | เดินไป เดินอย่างสง่างาม ตัดศัพท์จาก มยุรยาตร ไปอย่างนกยูง |
เยีย | ทำ |
โยชนา | โยชน์ ระยะทาง ๔๐๐ เส้น |
ไยไพ | เยาะเย้ย พูดให้ได้อาย |
ร
รตี | ราตรี เวลากลางคืน (ส. ราตฺริ, ป. รตฺติ) |
รมเยอ | รมย ยินดี บันเทิงใจ |
รวย | รื่น ๆ ชื่นใจ |
รโส | รส ต้นฉบับตัวเขียนบางเล่มเป็น รศโส |
ระ | พาน ถูก กระทบ |
ระทด | เศร้าสลด |
ระลุง | เป็นห่วง เป็นทุกข์ถึง |
ระหวย | รินรื่น ชื่น แผลงจากศัพท์ รวย เช่น ระหวยกลิ่นบุษปผาชาติ |
รัตกำพล | ผ้าส่านสีแดง |
รัตติยา | เวลากลางคืน |
รัตนธำมรงค์ | แหวนอันประเสริฐ แหวนแก้ว |
รัตนาภา | มีแสงรัศมีเรืองรองประเสริฐยิ่ง รัตน + อาภา |
รัตนุตมางค์ | ดวงแก้วอันสูงสุด รัตน + อุตม + องค์ |
รัน | ตี |
รากษส | ยักษ์ร้าย |
ราค | ความอยาก ความกำหนัด |
ราคารมย์ | บันเทิงใจในความกำหนัด |
ราชไกรสร | ราชสีห์ชนิดมีแผงขนที่คอ |
ราชปักษา | ราชาแห่งนก หมายถึง ครุฑ |
ราชี | ในที่นี้หมายถึง ความเป็นพระราชา แปลงศัพท์จาก ราชิน เช่น ธิดาราชี คือธิดาของกษัตริย์ทั้งหลาย |
ราพณ์ | ยักษ์ หมายถึง ราวณ หรือ ทศกัณฐ์ |
ราโม | ราม พระราม |
ราศ | จากไป ระเหระหน น่าจะตัดศัพท์จาก นิราศ |
ราศี | กอง ความสง่างาม ลักษณะอันดีของคน |
รำเพย | พัดมาแผ่ว ๆ |
รำเม | รมเม รม รื่นรมย์ ความยินดี |
รุกขฉายา | ร่มเงาไม้ |
รุกเข รุกโข | ต้นไม้ |
รุจี รูจี | ความงาม รุ่งเรือง |
รุนัง | ร้องไห้ รุทฺ (ส.) แปลง ท เป็น ม ศรับทรุนัง เสียงคร่ำครวญร้องไห้ |
เรียม | พี่ ตัวพี่ |
โรทด | ร้องไห้ นํ้าตา (ส. โรทต โรทน) |
ฤ
ฤดี | ใจ |
ฤทธิพล | กำลังฤทธิ์ |
ฤๅสิทธิ์ | ในที่นี้หมายถึง ฤๅษี + นักสิทธิ์ |
ล
ลัว | น่าจะหมายถึง ลั่ว ซึ่งยังมีใช้ในภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า พูดปด พูดหลอกลวง |
ลาญ | แหลก ทำลาย |
ลำเค็ญ | ลำบาก ยากแค้น |
ลำเคือง | เคืองแค้น |
ลำยอง | สวย งาม |
ลิงแล | มองดู ลิง ในความหมายนี้ ภาษาถิ่นอีสานใช้ หลิง เช่น หลิงดู |
ลี | ไป น่าจะตัดจากศัพท์ ลีลา |
ลุ | ถึง ล่วง |
เลอ | บน เหนือ |
โลกย | ของโลก |
โลกยชมพู | ของโลกแห่งชาวชมพูทวีป |
โลกาไตร | โลกทั้ง ๓ คือ สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล |
โลมา | โลม ขน |
ว
วจเน | วจนะ คำพูด |
วรภาคย | มีส่วนอันงามเลิศ หมายถึง หญิงที่รัก |
วรมาลย์ | ดอกไม้อันเลิศ หมายถึง หญิงที่รัก |
วรรณา | วรรณ ผิว สี |
วัชรี | ผู้มีสายฟ้าเป็นอาวุธ คือ พระอินทร์ |
วันา | วนา ป่า |
วาง | ปล่อย ละ เรียมโศกฤๅวาง ตัวพี่โศกอยู่ไม่สิ้น |
วางวู่ | กระทำอย่างลุกลี้ลุกลน |
วาตา | ลม |
วาม | ข้างซ้าย เบื้องซ้าย วามปรัศว์ทักขิณา เบื้องซ้าย และเบื้องขวา |
วาย |
๑. หมดสิ้น เช่น วายโศก ๒. ตี เช่น เอาพระกรวาย พระวรนาภี |
วายุบุตร | บุตรของพระวายุ (พระพาย) คือ หนุมาน |
วาร | วัน |
วิจล | หวั่นไหว วุ่นวายใจ |
วิชัย | ในที่นี้หมายถึง วิชัยราชรถ |
วิเชียร | เพชร สายฟ้า |
วิฑูรย์ | ไพฑูรย์ รัตนชาติชนิดหนึ่งสีเขียว หรือสีผิวไม้ไผ่ |
วิทยากินนรา | วิทยาธรและกินนร |
วิธวรรณ | สีต่างๆ ตัดจากศัพท์ วิวิธวรรณ |
วิภาค | การแบ่ง การจำแนก |
วิมานา | วิมาน ที่อยู่ของเทวดา |
วิเวก | ความสงัด ความเปลี่ยวเปล่าวังเวงใจ |
วิสดาร | พิสดาร กว้างขวาง |
วิสัญญี | สลบ สิ้นสติ หมดความรู้สึก |
วิหค | ผู้ไปในอากาศ คือ นก |
แวะวาง | หยุดระหว่างทางที่จะไป |
ศ
ศรมาศ | ลูกธนูทองคำ |
ศรับท ศรับท์ | ศัพท์ เสียง ถ้อยคำ |
ศรีรามา | พระราม |
ศรีวรลักษณ | พระลักษณ์ อนุชาของพระราม |
ศฤงคาร | บริวารหญิงผู้บำเรอความรัก |
ศศิ | กระต่าย ในที่นี้ตัดศัพท์จาก ศศิธร ผู้ทรงไว้ซึ่งกระต่าย หมายถึง พระจันทร์ |
ศัลย | ของปลายแหลมมีคม ในที่นี้หมายถึง ความโศก โศกศัลย์ ทุกข์ราวกับใจต้องอาวุธแหลม |
ศิขร | ภูเขา |
ศิรา ศีรา | ศิร ศีรษะ หัว |
ศิโรตม์ | ส่วนสูงสุดของคืรษะ ศิร + อุตม ทศศิโรตม์ ผู้มีสิบเศียร หมายถึง ทศกัณฐ์ |
ศีรษา | ศีรษะ |
ศุภศานติ์ | ความดีงาม ความสงบสุข |
ส
สกุณ | นก |
สงค์ | ความเกี่ยวข้องผูกพัน |
สติยา | สติ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว |
สบ | พบปะ |
สบสรรพ์ | ทุกสิ่งทุกอย่าง |
สม | ร่วมด้วยกัน ร่วมกัน |
สมปฤดี สมปฤๅดี | ความได้สติ ความรู้สึกตัว |
สรพิศม | อสรพิษ อาสิรพิษ สัตว์มีพิษที่เขี้ยว |
สรรพาดม | ร่างกายของตน สรรพ + อาตม |
สรศรับท์ | เสียง ซ้อนศัพท์ระหว่าง สร + ศัพท์ |
สรัป | งู งูพิษ |
สราโรทต์ | เสียงคร่ำครวญร้องไห้ สร + โรทต |
สฤงคีต | สังคีต การขับร้องบรรเลงดนตรี |
สวาดิ | รักใคร่ ยินดี |
สองรา | สองคน ทั้งสอง |
สังโยค | อยู่ร่วมกัน |
สัชนี | ในที่นี้น่าจะเกิดจากการตัดศัพท์ วิสัชนี วิสัชนา ถาม |
สัตตา | สัตว์ (ป. สตฺต) เช่น เรียมบอกซึ่งพรรคสัตตา |
สัตภัณฑ์สิงขร | เขาสัตบริกัณฑ์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ มี ๗ ชั้นคือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัศน์ เนมินธร วินตก และอัสกัณ |
สันดา | น่าจะตัดศัพท์มาจาก สันดาป สันตาป ความแผดเผา เร่าร้อน |
สาขี | มีสาขา กิ่งก้าน |
สายสวาดิ | หญิงอันเป็นที่รัก |
สายัณห์ สายาณห | เวลาใกล้ค่ำ โพล้เพล้ |
สิงฆา | นํ้ามูก (ส. สิงฺฆาณิกา) |
สิเนรุ | เขาพระสุเมรุ |
สิมพลี | ต้นงิ้ว เป็นที่ตั้งวิมานของพระยาครุฑ |
สีทันดร | ทะเล ๗ ชั้นที่ล้อมรอบเขาสัตบริภัณฑ์ เรียก สัตสีทันดร |
สุทธิ | ความปราศจากมลทิน ความหมดจด |
สุนงค์ | นางผู้ประเสริฐ ตัดจากศัพท์ สุ + อนงค์ |
สุบรรณ | ผู้มีขนงาม หมายถึง ครุฑ |
สุยาม | ชื่อเทวดาสุยามเทวบุตร หรือ ยามเทวบุตร อยู่ในสวรรค์ชั้นยามา |
สุรามาศ | ในที่นี๋หมายถึง ยักษ์ (มารีศ) ซึ่งแปลงเป็นกวางทองไปล่อพระราม |
สุรินทร | ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทวดา |
สุริยพล | กำลังของดวงอาทิตย์ แสงอาทิตย์ |
เสนหา | ความรัก |
เสวยกรรม | รับผลของกรรม |
เสาวนีย์ | คำพูดของนางกษัตริย์ |
โสภณ | งาม |
โสภาคย | ความงาม ความเจริญ |
โสม โสรม | พระจันทร์ |
โสฬส | จำนวน ๑๖ หมายถึง รูปภูมิพรหมทั้ง ๑๖ ชั้น |
ไสยา | นอน การนอน |
ห
หน่วง | ทำให้ช้า |
หนุกา | คาง หนุกาไกรศรี คางที่งามมีสิริยิ่ง |
หวน | เวียนกลับมาอีก |
หันหวน | หันกลับมา ในความว่า ตรัสพจนหันหวน น่าจะมีความหมายว่า พูดด้วยความโกรธ |
หาย | กระหาย หิว เช่น ให้หายเสวยภักษ์ |
หิมเวศ | ป่า หิมวา + อิศ |
เหมราช | พญาหงส์ |
เหือด | แห้ง หมด |
แห | ห่าง จากไปไกล |
ไห้ |
ร้องไห้ |
ไหรญ | เงิน แผลงจาก หิรัญ |
อ
อจล | ไม่หวั่นไหว |
อณุบิดุ | อณุปิตุ น่าจะหมายถึง น้องของพ่อ คือ อา |
อนนต์ อนันต์ | มากมาย ไม่มีที่สิ้นสุด อน + อันต |
อนุจร | ตาม ตามไป ผู้ตามไป |
อนุทิศ | ตามทิศ |
อนุเลียม | เลียม เดินเลาะ อนุเลียม น่าจะเป็นการสร้างคำประสมระหว่าง อนุ (ตาม) + เลียม มีความหมายว่า เดินเลาะตามไป |
อโนดาต | ชื่อสระแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์ |
อภิกรรตร | มีเสน่ห์อย่างยิ่ง อภิ (ยิ่ง) + กรรตร (สะกด, เสน่ห์) |
อร | ที่พอใจ ที่ยินดี หมายถึง หญิงที่รัก |
อรรคเทวียา | อัครเทวี มเหสี ชายา จงอรรคเทวียาช่วยพยาบาล หมายถึง ขอให้ชายาของทวยเทพ ทั้งหลายช่วยดูแลนางด้วย |
อรรถ | ความประสงค์ เนื้อความ |
อรัญวา | ป่า |
อริ อริรา อรี | ศัตรู ข้าศึก |
อสุภังค | อสุภงฺค (อสุภ + องค์) ส่วนที่ไม่งาม |
อสัตย์ | ไม่มีสัตย์ ไม่รักษาคำพูด |
อสุร อสูร | ยักษ์ |
อสุรินทร | ผู้เป็นใหญ่ในหมู่อสูร |
อัคนา | น่าจะแปลงจากศัพท์ อัคน อัคนี ไฟ |
อัฐทิศ อัฐทิศานต์ | ทิศทั้ง ๘ |
อัยกา | ปู่ |
อัสสุนี | อัสนี สายฟ้า อาวุธพระอินทร์ |
อาเกียรณ | มากมาย เกลื่อนกล่น |
อาดุร | เดือดร้อน ทุกข์กายทุกข์ใจ |
อาธรรม์ | ไม่อยู่ในความถูกต้อง ไม่มีคุณธรรม |
อากาสา | พรหมชั้นอรูปภูมิ ตัดศัพท์จาก อากาสานัญจายตนพรหม |
อารัมเภ | อารัมภ ความปรารภ ความรำพึงรำพัน |
อำมร | อมร ผู้ไม่ตาย หมายถึง เทวดา |
อิดใจ | เหนื่อยใจ อ่อนใจ |
อิทธิพลา | กำลังฤทธิ์ |
อินทรี | นกใหญ่ชนิดหนึ่ง |
อึกอึง | เสียงอึกทึกอื้ออึง |
อื้น | เอื้อน พูด บอก |
อุดมางค อุตมางค์ | ส่วนสูงสุด ประเสริฐสุด |
อุเท | ขึ้น (ส. อุทุ) ตราบพระทิวา กรแสงอุเท กระทั่งดวงตะวันขึ้น |
อุบาทว์ | อัปรีย์ จัญไร |
อุปรไมย | อุปไมย เปรียบสิ่งที่ควรนำมาเปรียบ |
อุโรธ อุโรธา อุโรธาน | แผลงจากศัพท์ อุรุ + ธ ทรงไว้ซึ่งความใหญ่โต ปราสาทอุโรธ ปราสาทใหญ่โต คณะหมู่อโรธา เหล่า (บริวาร) อันยิ่งใหญ่ |
อุลุ | นกเค้าแมว (ส. อุลูก) |
อูรุ | ต้นขา ขาอ่อน |
เอือดอาย | ปราศจากความอาย เอือด ปราศจาก ไม่มี (ข. อิต) |
โอโฆษ โอโฆษณ | กึกก้อง |