๏ ข้าพระพุทธเจ้า พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตยบรมนารถนิตยภักดี พิริยพาห เจ้ากรมพระอาลักษณ์ คิตเรียงเรื่องนิยาย มหาสุปัศสีชาฎก นี้ขึ้นไว้ด้วยตั้งใจจะให้เปนคุณเปนประโยชนแก่เดกนักเรียน แลเปนแบบอย่างแก่ชนชาวสยาม ซึ่งนับถือพระพุทธสาสนา เปนของสำหรับบำรุงปัญญา ให้คิดแสวงสุจริตความชอบอันจะอำนวยผลเปนศุขแก่ตน ทั้งในภพประจุบันแลภพเบื้องน่า ท่านทั้งหลายอ่านแล้วจงใช้ปัญญา ตรองโดยลเอียดเถิด คงจะได้ปัญญารู้จักทางปฏิบัติที่จะได้สูคติ คือสวรรค์แลนฤพาน ตามภูมิ์ที่ตนปฎิบัติ เปนวัฏะคามีและวิวัฎะคามี ทั้งสองประการ ฃอท่านทั้งหลายจงไตรตรองตามข้อความในเรื่องนิยายนี้เถิด ๚ะ

๏ ข้าพเจ้า ฃอเล่านิยายให้ท่านทั้งหลายฟังสักเรื่องหนึ่ง พอเปนเครื่องเตือนใจให้ได้ทางปัญญาหาความสุจริต ซึ่งจะเปนที่พึ่งแก่ตนในภพนี้ภพน่า ๚ะ

ในเรื่องนิยายนั้นว่า มีพระฤๅษีองค์หนึ่งชื่อมหาสุปัศสีดาบศ อาไศรยอยู่ในป่าวิศาลวัน แขวงเมืองมยุราราชธานี พระสุปัศสีได้สำเร็จสมาบัติฌาน โลกีย์เปนพระอาจาริย์ใหญ่ มีคณะดาบศเปนศิศย์อยู่ศึกษาเปนอันมาก วันหนึ่งเปนเวลาฤๅษีสานุศิศย์มาประชุมพร้อมกัน พระมหาดาบศสุปัศสี จึ่งว่าข้าพเจ้าได้ดูในจดหมายเหตุฃองโบราณ พบนิทานเรื่องหนึ่งควรจะเปนคติที่รฦกได้ ข้าพเจ้าจะเล่าให้ฟัง ท่านทั้งหลายฟังแล้วจงใส่ใจกำหนดจดจำไว้ให้แน่นอนเถิด ในนิทานเรื่องนั้นว่ามีนักปราชสองคน ชื่อครูนิทัศคน ๑ ชื่อครูนิเทศคน ๑ อยู่ในแขวงเมืองสุทธาไศรย นักปราชทั้ง ๒ ถือลัทธิไม่ต้องกัน ครูนิทัศนั้นถือว่าโลกย์พิภพแบนแผ่ออกไปดังใบบัวลอยน้ำ ครูนิเทศถือลัทธิว่าโลกย์กลมเหมือนผลส้มโอหมุนอยู่เสมอ นักปราชทั้ง ๒ มีความรู้ในทางดินฟ้าอากาศดวงดาวร้ายดีทายสูรีย์ ทายจันทรแม่นยำชำนาญเหมือนกันทุกสิ่ง ต่างกันแต่โลกย์กลมแลโลกย์แบนเท่านั้น คนชาวบ้านชาวเมืองก็แตกกันเปน ๒ พวก พวกที่เหนจริงลงว่าโลกย์แบนก็นับถือครูนิทัศ ที่เหนว่าโลกย์กลมก็นับถือครูนิเทศ นักปราชทั้ง ๒ ต่างคนต่างตั้งสอนสาศนาเปน ๒ คณะ ก็มีผู้นับถือมากทั้ง ๒ ฝ่าย ครั้งนั้นมีสหาย ๒ คน ชื่อนายทดคน ๑ ชื่อนายแทนคน ๑ สองคนนี้เปนเพื่อนรักกันสนิทชิดชม ไว้ทุกข์ธุระแห่งกันแลกัน นายทดนั้นเปนโรคลมสันดานมาแต่กำเนิด นายแทนนั้นบิดาเปนนักเลงสะกาเล่นจนทรัพยฉิบหายสิ้นตัว จึ่งเอานายแทนบุตรแต่ยังเล็กไปฃายไว้ แก่ท่านพระยาบูรีบริรักษ เปนเงิน ๓๐๐ บาท บิดามารดาก็ล้มตายไปหมด นายแทนก็ตกอยู่เปนทาษท่าน ต้องกรากกรำทำงานของนาย ยากแค้นทุกวันทุกเวลา วันหนึ่งนายทดนายแทนนั่งพูดจาปลับทุกขกัน นายทดว่าเพื่อนยากเอ๋ย เราทั้ง ๒ นี้มีทุกข์คับอกคับใจด้วยกันทุกข์เท่า ๆกัน ตัวเรามีโรคลมสันดานประจำตัวรักษาสิ้นเงินสิ้นทองจนยากจน โรคก็ไม่หายกลับทวีมากขึ้นทุกปี ๆ ฝ่ายเพื่อนเล่าก็มีนี่สินเปนทาษนายเฃาใช้ไม่ปราไส เราจะช่วยเพื่อนให้พ้นทุกข์เราก็เราก็ขัดสนข้นจนเสียแล้ว เราทั้ง ๒ จะคิดอย่างไรจึ่งจะพ้นจากความทุกข์ด้วยกัน นายแทนจึ่งว่าเพื่อนคิดมันช่างถูกกับใจเราจริงๆ เรื่องนี้เราก็คิดอยู่ไม่เว้นวัน แต่มันมืดมนอ้นอั้นตั้นเป่าสาก ไม่เหนหนทางเลย นายทดจึ่งว่า เราคิดเหนอยู่ราง ๆ แล้วแต่เพื่อนจะเหนด้วยฤๅไม่ เดี๋ยวนี้ในบ้านเมืองเรา มีนักปราชอยู่ ๒ คนชื่อครูนิทัศ ๑ ครูนิเทศ ๑ เขามีความรู้ฦๅชาปรากฎคนนับถือมาก เราไปหาเขาอ่อนน้อมอ้อนวอนฃออุบายปัญญา เผื่อเขาจะมีความกรุณาแก่เรา เขาก็คงจะชี้ทางบอกอุบายให้แก่เราบ้าง เพื่อนจะเหนอย่างไร นายแทนก็เหนชอบด้วย สองสหายจึ่งขวนขวายหาดอกไม้ธูปเทียนคนละเล็กคนละน้อยตามภาษายาก แล้วภากันไปยังสำนักนิ์ครูนิทัศคำนับกราบไหว้ แล้วเล่าความทุกข์ร้อนของตัวทั้ง ๒ คนให้ฟังสิ้นทุกประการ แล้ววิงวอนว่าฃอให้ท่านผู้เปนอาจาริย์ใหญ่ จงสมเคราะห์ด้วยความเมดตากรุณา ชี้แจงหนทางที่ ฯข้าฯ ทั้ง ๒ จะได้หายโรคแลพ้นยากจากทุกข์ด้วยเถิด ฝ่ายอาจาริย์นิทัศกำลังฝั้นเฝืออยู่ด้วยเรื่องความโลกย์แบนโลกย์กลม ใครไปสู่มาหาในเวลานั้น ก็ชักพูดแต่ในเรื่องโลกยอย่างเดียว ใครมาพูดเรื่องอื่นก็ไม่เปนที่ชอบใจ ครูนิทัศจึ่งถามนายทดนายแทน ว่าเจ้าเข้าใจในเรื่องโลกย์อย่างไรบ้าง แผ่นดินโลกย์พิภพจะแบน แผ่ออกไปเหมือนอย่างใบบัวฤๅจะกลมอย่างไรแน่ เจ้าเข้าใจฤๅไม่ นายทดนายแทนตอบว่า เรื่องนี้ ฯข้าฯ ไม่เข้าใจเลย ฯข้าฯ ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาในวิธีโลกย์ ฯข้าฯ ร้อนรนอยู่ด้วยทุกข์ประจำตัว คิดอยากจะพ้นจากความทุกข์อยู่ทุกวันทุกเวลา ถ้า ฯข้าฯ ศึกษาจนได้รู้ ว่าโลกยพิภพแบนฤๅกลมรู้แท้รู้จริงแล้ว โรคในกายตัวของ ฯข้าฯ จะหายได้ฤๅไม่ได้ อนึ่ง ข้าจะหลุดพ้นจากความที่เปนทาษ พ้นอำนาจนายเงินได้ฤๅไม่ได้ ฝ่ายครูนิทัศก็โกรธ ร้องตะหวาดว่ามึงทั้ง ๒ คนเปนคนดีฤๅคนบ้า กูเหนว่ามึงทาษะปัญญาเลวทรามนัก จะเอาความรู้ไปสู้รบกับโรคลมสันดาน แลจะเอาไปต้านทานเจ้าเบี้ยนายเงินให้หลุดพ้นจากนี่จากยากนั้นจะได้ฤๅหวา อ้ายคนพันนี้ไม่ควรจะมาพูดกับกู มึงรีบไปเสียให้พ้นบ้านกูโดยเรว ครูนิทัศฉวยไม้ท้าวไล่ขับคนทั้ง ๒ คนทั้ง ๒ ก็รีบหนีมาพ้นบ้านครูนิทัศ แล้วปฤกษากันว่าอ้ายตาครูคนนี้เจ้าโมโหดุร้ายนอกทาง เราไปอ่อนน้อมไถ่ถามโดยดี กลับด่าว่าจะทุบตีขับไล่เราเสีย เราไม่ไปหามันอิกแล้ว ยังครูนิเทศอิกคน ๑ จะเปนคนเช่นนี้ฤๅจะเปนคนดียังไม่รู้ เราจะไปหาลองดูบ้าง นายทดกับนายแทนปฤกษากันแล้ว ก็พากันไปหาครูนิเทศ เข้าไปไหว้กราบคำนับอ่อนน้อมไถ่ถามตามความประสงค์ของตัวเหมือนหนหลัง ฝ่ายครูนิเทศก็ขัดเคืองด่าว่าไล่ขับคนทั้ง ๒ เสียอิก ทั้ง ๒ สหายกลับมาปฤกษากันว่า ตาครูทั้ง ๒ คนเขาฦๅว่าเปนคนดีมีความรู้มากเล่าฦๅกันเราไม่เหนจริง แต่ความทุกข์ร้อนของเรานิดหนึ่งเท่านี้ ยังชี้หนทางบอกอุบายให้แก่เราไม่ได้จะว่าเปนคนดีอย่างไร ตั้งแต่วันนี้ไปเราทั้ง ๒ จงช่วยกันสืบเสาะค้นคว้าหาท่านผู้วิเศศต่อไป พีภพแผ่นดินนี้ใหญ่โตกว้างขวางนัก ที่ไหนจะสิ้นคนดีแต่เพียงตาครูทั้ง ๒ คนนี้ ท่านผู้รู้ดีวีเศศยิ่งขึ้นไปกว่านี้คงจะมีเปนแน่ แต่ถ้าใครพบปะฤๅรู้ข่าวก่อน แล้วจงรั้งรอมาบอกกล่าวให้เพื่อนกันรู้ก่อนให้จงได้ ทั้ง ๒ สหายสัญญากันแน่นอนฉะนี้แล้ว ต่างคนต่างคอยสืบข่าวผู้วิเศศอยู่เสมอมิได้ขาด ๚ะ

ครั้งนั้นหมอยารักษาโรคคนหนึ่งชื่อว่าหมอศรีสิทธิสาตร อยู่ในเขตร์แคว้นแดนเมืองสุทธาไศรย์นั้นเอง หมอศรีสิทธิสาตรคนนี้เปนหมอวิเศศนัก แม่นยำชำนาญในสมุฐานโรค ดูไข้ไม่เคลื่อนคลาศเลย ว่าได้ก็ได้ว่าเสียก็เสีย จริงเหมือนปากว่าทุกแห่ง ทั้งหยูกยาก็เข้มแฃงแรงกล้า รักษาใครก็มีใชยชำนะทุกราย คนนับ ถือทั้วเขตรแขวงว่าเปนหมอดีหมอวิเศศคล้ายกับหมอโกมารภัฎ หมอศรีสิทธิสาตรอาไศรยวิชาแพทย์ ได้ทรัพยสินเงินทองสมบูรณจนได้สร้างบ้านเรือนก่อตึกราม มีบุตรภรรยาข้าทาษกรรมกรชายหญิงพรังพร้อมบรีบูรณ มีคนนับถือฦๅชาปรากฎมาก หมอศรีสิทธิสาตรแต่ได้ปกครองทรัพยสมบัติมานาน ประมาณอายุ ๖๐ ปีเศศ เวลาราตรีวันหนึ่งหมอศรีสิทธิสาตรนิมิตรฝันไปว่า บิดามารดาของตัวที่ตายไปนานแล้ว มานั่งที่ข้างหัวนอนทั้ง ๒ คน บิดาเอามือลูบศีศะแล้วบอกว่าพ่อเหนเจ้าเผลอสะตินัก มัวเมาฝั่นเฝือแต่จะหาทรัพยสิ่งสินมาบำเรอเขาผู้อื่น ตัวจะตายลงเมื่อไรก็ไม่รู้ ในเวลาจะตายนั้นบุตรภรรยาข้าทาษชายหญิง สิ่งทรัพย์สมบัติก็ช่วยเจ้าไม่ได้ทั้งนั้น จะช่วยได้ก็แต่ผลกุศลสุจริตที่ตัวได้ประพฤดิดีด้วยกายวาจาใจ ประพฤดิให้ได้จริงให้มั่นคงเสียแต่เนิ่นๆ ให้เปนอาจิณเสมอไปจนวันตาย นั่นและ จะเปนที่พึ่งแก่นสารของตัวได้ หมอศรีสิทธิสาตรตกใจตื่นขึ้น คิดถึงบิดามารดาก็ร้องไห้คร่ำครวญ ภรรยาไต่ถามก็แกล้งบอกเสเสียว่าข้าละเมอไป แล้วคิดตรึกตรองถึงถ้อยคำของบิดามารดา ก็ปลงใจเหนจริงลงว่า บุตรภรรยาทรัพยสมบัติเปนอนิจจังไม่เที่ยงแท้ ยามจะปรวนแปรพิบัติก็ให้โทษทุกขต่าง ๆ ควรที่จะคิดสละละวางบริจาคเสียให้สิ้นกังวนห่วงไย แล้วละหลีกไปอยู่แต่ผู้เดียว บำเพญศีลสุจริตไปกว่าจะหมดชีวิตร ให้ตายลงในกองกูศลสุจริตให้สมกับคำสั่งสอนของบิดามารดา จะได้ความเยนใจไม่เดือดร้อน เมื่อปลงใจลงแน่นอนฉนี้แล้ว จึงตรวจทรัพยสมบัติเข้าของสวิญญาณกระทรัพย อะวิญญาณกะทรัพย ทำบาญชีเสรจจำนวนทรัพยถึง ๖ พันชั่งเศศ จึ่งคิดกะเปนส่วนๆ แจกบุตร์ภรรยาวงษญาติตลอดหลานเหลน บันดาทาษชายหญิง มีอยู่เท่าไรก็ยกค่าตัวโปรดให้เปนไทยไปสิ้นเชิง ทรัพยที่ยังเหลือก็สร้างศาลาที่ชนภักอาไศรย แลขุดสระน้ำทำถนนปลูกตะพานขึ้นใหม่ แลซ่อมแซมตะพานเก่าชำรุดหักพังให้มั่นคงถาวร ให้เปนที่ชนทั้งปวงอาไศรยไปมามีความศุขหลายตำบลจนสิ้นทรัพย แล้วก็ไปปลูกกระท่อมทับอยู่ในป่าสาละวันเปนที่วิเวก จึ่งบวชถือเพศเปนตาปะขาวสะมาทานรักษากุศลกรรมบถ เจริญพรดทางสัมถะภาวนาจนบันลุถึง อับปนาสมาธิอย่างโลกียธรรม เวลาเช้าก็เข้ามาเที่ยวภีกขาจาร ตามชาวบ้านริมชายป่า ได้อาหารเท่าใดก็บริโภคไปวันละมื้อๆ ตัดห่วงไยไม่มีบลิโพธิกังวน เสวยความศุขเกิดแต่วิเวกสงัดกายสงัดจิตรทั้ง ๒ ประการ ผิวพรรณผ่องใสบริสุทธิเปนที่เจริญตาแลเจริญศรัทธาของชนทั้งปวง ชาวบ้านในเขตรแขวงใกล้เคียงเหล่านั้น จับฉลากปันเวรกันหาของ ใส่บาตรท่านโยคีตาปะขาว เรือนละวันๆ มิได้ขาด กิดติศับท์กิดตีคุณของท่านปะขาวศรีสิทธิสาตรเล่าฦๅฟุ้งขจรไป ในประเทศต่าง ๆ เวลาวันหนึ่ง นายทดได้ข่าวเขาเล่าฦๅสรรเสริญท่านตาปะขาวศรีสิทธิสาตรก็ดีใจ จึ่งไต่ถามถิ่นถานตำบลที่อยู่ของท่านศรีสิทธิสาตรได้แน่นอนแล้ว จึ่งรีบไปบอกแก่นายแทนผู้เปนสหาย บรรยายเหตุตามข่าวเขาเล่าฦๅให้ฟังแล้ว สองสหายก็พากันรีบไปยังที่สำนักนิ์ท่านปะขาวศรีสิทธิสาตรกระทำอภิวาท ไหว้กราบโดยเคารพอย่างยิ่ง ครั้นท่านปะขาวทักทายปราใสไต่ถาม นายทดก็แจ้งความว่า ฯข้าฯ ชื่อทดเปนโรคลมสันดานมาแต่กำเนิด ครั้นแก่ตัวเข้าโรคก็ทวีมากขึ้นทุกที ๆ ได้ความลำบากเหลือที่จะอดทน ทำอย่างไร ฯข้าฯ จึ่งจะหายโรคได้ความศุข ฃอท่านได้โปรด เพื่อนของ ฯข้าฯ คนนี้ชื่อแทน มีทุกขยากเปนทาษท่านมาช้านาน ต้องรับการงานของนายทนยากลำบากอยู่อัดตรา ทุกวันเวลามิได้ขาด ทำไฉนนายแทนจะได้พ้นจากทาษ ฃอท่านจงได้โปรดบอกอุบายให้ ฯข้าฯ ทั้ง ๒ ได้พ้นจากทุกข์ยาก เอาบุญเถีดเจ้าข้า ท่านตาปะขาวศรีสิทธิสาตรจึ่งตอบว่า กำเนีดโรคกำเนิดทุกขของเจ้าทั้ง ๒ นี้จะเกิดด้วยอะไรเราอาจจะรู้ได้ มีอุบายที่จะเยียวยารักษาได้ แต่เจ้าทั้ง ๒ ยังจะรักษาสัตยได้ฤๅ เราสั่งอย่างไรจะทำตามสั่งด้วยความมั่นคง จนถึงแก่จะเสียชีวิตรก็อย่าเสียสัตย ที่ได้รับปฏิญาณต่อเราจะได้ ฤๅไม่ได้ คนทั้ง ๒ ก็รับว่า ฯข้าฯ จะรับรักษาสัตย จนจะถึงแก่จะสิ้นชีวิตรก็ไม่อาไลยแก่ชีวิตร ต่อหน้าลับหลัง ฯข้าฯ จะไม่ละเมิดถ้อยคำของท่านเลย ๚ะ

๏ ท่านตาปะขาวจึ่งว่า ถ้าเจ้าจะถือได้มั่นคงเหมือนอย่างว่านี้แล้ว โรคก็จะหายขาดทุกข์ยากจะเปลื้องปลดหมดไปได้ แนะ เราจะชี้แจงให้เจ้าเข้าใจ นายทดเปนโรคมาแต่กำเนิด ปฎิสนธิวิญญาณของเจ้าไม่บรีสูทธี เพราะวีบากฝ่ายบาปฝ่ายอะกุสล เข้าระคนปนเจืออยู่ในปฎีสนธีวีญญาณ จึ่งบันดานให้เกีดโรคตีดมาแต่ในก้อนโลหีต โรคอย่างนี้เขาเรียกว่าโรคเกีดแต่กรรม ต้องอดของแสลงแล้วกีนยาภายในชำระสันดานให้บรีสุทธี แลกีนยาภายนอกประกอบด้วยโรคจึ่งจะหายขาด ๚ะ

๏ นายแทนนี้ มีสมุฐานที่เกีดทุกข เปนสองสฐาน ๆ ที่ ๑ คือปฏิสนธีวิญญาณไม่บริสุทธิ มีวิบากฝ่ายบาปฝ่ายอกุศลเข้าระคนเจือ ก่อให้เกิดทุกข์มาแต่กำเนิดชั้น ๑ ตั้งแต่คลอดแล้วมาได้รับวีบากบาปของบิดาของมารดาเปนมรฎกบันทุกลงอิกชั้น ๑ ต้องอดของแสลง กินแต่ยาภายในชำระใจให้บริสุทธิไปอย่างเดียว ไม่นานดอกโรคทุกขยากก็จะหายเจ้าทั้ง ๒ จะเต็มใจให้เรารักษาฤๅ ถ้ายอมให้เรารักษา ต้องให้ความสัตยแก่เราว่าจะประพฤติตามคำของเราจนตลอดชีวิตร ๚ะ

๏ ฝ่ายนายทดนายแทนก็ชื่นชมโสมนัศ น้อมศีศะลงราบกราบไหว้ให้ความสัตยปฏิญญาณว่าจะทำตามคำสั่งทุกประการ ๚ะ พระอาจาริยศรีสิทธิสาตรจึ่งบอกว่า ยาภายในนั้นคือให้อดงดเว้นของแสลงใจ ๕ ประการ แลให้กินยาบำรุงทวารทั้ง ๓ อิกขนานหนึ่งมีตัวยา ๑๐ สิ่ง ยาถอนแสลงใจ ๕ ประการนั้น คืออย่าฆ่าสัตวอันมีชีวิตร ตั้งต้นแต่มนุษย์ลงไปถึงยุงริ้นเรือดไร สุดแท้แต่ว่าสััตวมีชีวิตรแล้วอย่าฆ่า อย่าทำให้ได้ความเจ็บปวดลำบากเวทนา ๑ พัสดุทรัพยสินสิ่งของ ๆ ใครๆ ทั่วทั้งโลกยไม่จำเภาะว่าของอะไร ที่สุดลงไปจนหญ้าเส้นหนึ่งก็ดี เจ้าของเขาหวงแหนเขาไม่ให้แล้วอย่าลักอย่าฉ้อแย่งชิง แลอย่าเบียดบังเอาของเขาเลยเปนอันขาด ๑ อย่าเปนคนเมาตัณหาบ้ากามทำบุ่มบ่ามล่วงประเวณี ในสัตรีที่เขาหวงแหนแลต้องห้ามนั้นอย่าง ๑ อย่าพูดปดหลอกลวงเขา อะไรไม่จริงแล้วอย่าพูด ๑ บันดาของมึนเมาคือสุราฤๅเมรัย เปนของจะชักนำใจให้เสียปรกติเดีม ชักใจให้อยาบแลให้มึนเมาเชื่อมซึม ทุกสิ่งทุกอย่างเจ้าอย่าดื่มอย่ากินเลยจนตลอดชีวิตร สุราเมรัยนี้เปนของแสลงใจที่ครบห้า เปนของแสลงเรี่ยวแรงจัดสำคัญนัก ถ้ากินมันเข้าไปแล้ว ที่ไม่ควรจะพูดก็พูดได้ ที่ไม่ควรจะทำก็ทำได้ ถึงของแสสงใจ ๔ อย่างข้างต้นจะรักษามาได้ดีแล้ว ถ้ามากินของแสลงที่ห้าเข้าไป ก็อาจจะทำลายล้างการประพฤติดีเสียได้หมดทุกอย่าง ถ้าเจ้างดเว้นของแสลงห้าอย่างนี้ได้จริงแล้ว นักปราชญ์ท่านเรียกว่า ตั้งอยู่ในเบญจเวระวิรัติ อิกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า รักษาเบญจางดีกะศีล คือประพฤติความเว้น ๕ อย่างให้เปนปรกติตัวเสมอไป อิกอย่างหนึ่งท่านเรียกรักษานิจจะศีล คือว่าเปนปรกติธรรมเนียมที่ควรรักษาเปนนิตย์เสมอไปจนตลอดชีวิตร์ อิกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่าโลกียะศีล คือเปนธรรมเนียมรู้กันทั่วโลกย์ว่า ถ้าใครรักษางดเว้นการห้าอย่างนี้ได้ โลกยย่อมสรรเสริญว่าเปนคนดีเปนที่นับถือทั่วกัน ถ้าใครล่วงละเมีดธรรมดาโลกย์ ไม่มีความงดเว้นทำลุยลายตามอำเภอใจในเบญจเวรห้าประการแล้ว โลกย์ย่อมติเตียนว่าเปนคนทุศีลชั่วร้าย คนดี ๆ เขาไม่คบเขารังเกียจ จะไปอยู่ที่ไหนก็มักจะก่อไภยก่อเวรขึ้นที่นั่น รวังตัวรักษาตัวยากนักเพราะความทุจริตแรงกล้า มีผลเปนทุกข์ไภยอยู่โดยธรรมดา นี่แลเราเรียกว่าของแสลงใจห้าประการ เจ้าทั้ง ๒ จงงดเสียให้ขาด ระวังอย่าให้ของแสลงใจมากระทบถูกดวงใจของเราได้ ๚ะ

๏ แล้วกินยาบำรุงไตรยทวารซึ่งเปนคู่กันอีกขนานหนึ่งสำหรับกล่อมหัวใจ แลยาบำรุงไตรยทวารนั้น เปนตัวสัพยา ๑๐ สิ่ง คือความเว้นบาปในกายะทวาร ๓ เว้นปาณาติบาต ไม่ฆ่าสัตว ๑ เว้นอทินนาทานไม่ลักฉ้อทรัพย์ท่าน ๑ เว้นกามะมิจฉาจารไม่ล่วงประเวณีลวนลาม ในกามะที่ผิดคือสัตรีที่ต้องห้าม ๑ วิรัตติทั้ง ๓ นี้เปนยาบำรุงกายทวารให้สอาด ๚ะ

๏ ยาบำรุงวะจีทวารมีสัพยา ๔ อย่าง คืองดเว้นมุสาวาท ไม่พูดปดหลอกลวง ๑ เว้นปิสุณาวาจา ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน ถึงได้ยินคนหนึ่งด่าว่านินทาคนข้างหนึ่ง ก็อย่าเอาความข้างนี้ไปบอกแก่ข้างโน้น อย่าเอาความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ให้เขาโกรธร้าวราญกัน ๑ เว้นผรุสวาจา อย่าพูดอยาบคายคือบริภาษด่าทอให้เจบชำนำใจเขา ๑ เว้นสัมผับปลาบ อย่าพูดตลกคนอง พูดจาเรื่องราวที่ไม่เปนประโยชน์ ชักนำใจคนฟังให้ลุ่มหลง ๑ วาจา ๔ อย่างนี้เปนยาบำรุงจะวจีทวารให้สอาด ๚ะ

๏ ยาบำรุงมโนทวารมีตัวสัพยา ๓ สิ่ง คือเว้นอภิชฌาอย่าเพ่งมุ่งหมายเอาสิ่งของผู้อื่นน้อมเอามาเปนของตัว ด้วยความโลภ ๑ เว้นพยาบาทอย่าผูกอาฆาฎคิดเปนไพรี โกรธเคืองกับใครก็ตั้งใจคิดแช่งผู้นั้นจะให้ล่มจมฉิบหายวายปราณ ถ้าได้รู้ข่าวว่าผู้ที่เปนเวรกัน ได้ดิบได้ดีมีลาภมียศขึ้นก็ไม่เปนที่ชอบใจ ถ้ารู้ว่าคนที่ตัวโกรธนั้นต้องโทษราชทัณฑ์ ฤๅเปนอันตรายแลล้มตาย ก็ดีใจโสมนัศชื่นบาน อาการอย่างนี้เปนวิไสยของพยาบาท เจ้าจงงดเว้นอย่าให้เปนขึ้นในใจ ๑ เว้นมิจฉาทิฐิ อย่าเหนให้ผิดไปจากคลองยุติธรรม การที่เปนบาปอย่าเหนว่าเปนบุญ ที่เปนบุญอย่าเหนว่าเปนบาป บุญให้ผลเปนศุข บาปให้ผลเปนทุกข์ บุญมีบาปมี โลกยนี้มีโลกยน่ามี วิบากผลที่คนทำดีทำชั่วก็มี ทำบุญทำบาปไม่ปราศจากผล คุณบิดามีคุณมารดามี ปัญญาความเห็นให้ตรงคงอยู่อย่างนี้ อย่าให้วิปริตแปรผันเปนอย่างอื่นไป ๑ สามสิ่งนี้เปนยาบำรุงใจ อ่อเจ้าทั้ง ๒ คนอดงดของแสลงห้าประการ แลกินยาบำรุงไตรยทวาร ๑๐ ประการอย่างว่ามาฉนี้ แต่ให้รักศีลรักสัตยยิ่งกว่าชีวิตรของตัวเถิด ไม่ช้าก็จะหายโรคจะพ้นทุกข์ยาก นายทดนั้นอิก ๗ วันกลับมาหาเรา ๆ จะประกอบยาภายนอกให้กินสักขนานหนึ่งก็เปนหายขาด แต่นายแทนนั้นไม่ต้องกินยาภายนอก รักษาด้วยยาภายในอย่างเดียวก็หายได้ ๚ะ

๏ ทั้งสองสหายก็ถวายนมัสการกราบลาพระอาจาริย์ศรีสิทธิสาตร กลับมาบ้านปฤกษากันว่าเราเคราะห์ดีแล้ว ได้ไปพบอาจาริยสำคัญ ควรนับถือเปนที่พึ่งได้จริง เราทั้ง ๒ ต้องเคารพรักษาคำสั่งสอนของท่านให้มั่นคงแขงแรง ถ้าเหนใครย่อหย่อนลงก็ให้ตักเตือนกัน อิก ๗ วันเราจึงจะกลับไปหาท่านอิก สั่งกันแล้วต่างคนต่างไปที่อยู่ของตัว ๚ะ

๏ ตั้งแต่นั้นคนทั้ง ๒ ก็ตั้งใจรักษาศีล ๕ แลกรรมบถบริสุทธิบริบูรณ มิให้ด่างพร้อยเศร้าหมองเลย ล่วงมา ๗ วันนายทดนายแทนก็พากันไปหาพระอาจาริย์ศรีสิทธิสาตร ๆ ก็ประกอบยาให้นายทดกินครั้งเดียว โรคลมสันดานก็หายขาดไม่เปนอิกเลย พากันลากลับมาบ้าน ๚ะ

๏ เวลาวันหนึ่งมีเขาเอาปลาเทโพเปนๆ ห้าตัวมากำนันท่านพระยาบุรีบริรักษ ๆ จึ่งเรียกนายแทนมาสั่งว่า เองเปนคนฝีมือแกงดีกูได้กินชอบฝีมือเองมาหลายคราวแล้ว เองเอาปลาเทโพ ๕ ตัวนี้ไปแกงให้กู ๆ จะกินเวลาบ่าย ๚ะ

๏ นายแทนจึงกราบเรียนว่าได้โปรดเถิดฃอรับ เดียวนี้ผมไปรับศีลมาจากอาจาริย์ศรีสิทธิสาตร์ ผมถือไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตรแล้วฃอรับ ใต้เท้าโปรดใช้ให้ผมทำงานอื่นๆ เถิด ถึงจะเหน็ดเหนื่อยหนักแรงอย่างไรผมไม่ว่าเลยฃอรับ” ๚ะ

๏ ท่านพระยาก็โกรธร้องตวาดว่า กูเปนนายมึงมิใช่ฤๅ มึงเปนบ่าวกลับจะมาบังคับกูเปนนายอิกฤๅ อ้ายใจบุญกูไม่ฟังมึง กูจะไปสวนกลับมาเวลาบ่าย กูกลับมาถ้าไม่ได้กินแกงปลาเทโพ กูจะเฆี่ยนมึงให้แทบตาย ท่านพระยามอบปลาให้นายแทนห้าตัวแล้วก็ไป ฝ่ายนายแทนรับปลามาไส่อ่างน้ำไว้แล้ว ก็นั่งตฤกตรองว่า ครั้งนี้ข้อกระทั่งตัวแล้วจะคิดอย่างไรดี จะรักศีลฤๅจะรักตัว ถ้าไม่คิดแก่ศีลจะฆ่าปลานี้แกงให้นายเขากินตามเขาสั่งแล้ว ก็จะพ้นโทษพ้นไภย์ แต่ศีลที่เรารักษาก็จะขาด จะตกลงข้างไหนแน่ นายแทนนั่งตฤกนึกตรองไป ก็ปลงใจลงว่าเราได้รับปฏิญาณต่อท่านอาจาริย์มาว่าจะรักศีลยิ่งกว่าชีวิตร ถ้าล่วงละเมิดคำสั่งท่านก็จะเสียสัตยอิกซ้ำหนึ่ง เสียทั้งศีลทั้งสัตย์แล้วท่านว่ามิใช่มนุศยเสียทีเกิดเปนมนุศย์ อย่าเลยกูไม่ฆ่าไม่แกงแล้ว นายท่านจะเฆี่ยนจะฆ่าอย่างไรก็ตามอาญาของท่านเถิด คิดตกลงปลงใจฉนี้แล้วนายแทนก็แบกอ่างปลาไปเทปล่อยเสียในแม่น้ำ แล้วก็กลับมานอนอยู่ในกระท่อม ให้อิ่มอกอิ่มใจปรีดาปราโมชด้วยศีลของตัว ๚ะ

๏ ครั้นเวลาบ่ายพระยาบูรีบริรักษกลับมาจากสวนเรียกหานายแทน ถามว่า มึงแกงไว้ท่ากูแล้วฤๅ ริ้บตักเอามากูหิวกูจะกินเข้า ๚ะ

๏ นายแทนเรียนว่าผมไม่ได้แกง เพราะปลามันเปนทั้งนั้น ผมปล่อยเสียหมดแล้ว โทษทัณฑ์สุดแล้วแต่จะโปรด ๚ะ

๏ พระยาบูรีบริรักษ์โกรธนัก ร้องตวาดด่าว่า อ้ายนี่จองหองดูถูกกูนัก มันถือว่ากูไม่ใช่นายมันไม่รู้จักนาย เอามันมัดเข้ากับหลัก ไปเรียกอ้ายด้วงมาเฆี่ยนเสีย ๖๐ เดี่ยวนี้ พวกบ่าวทาษเหล่านั้น ก็จับนายแทนมัดเข้ากับหลักแล้ว ไปเรียกหานายด้วงไม่พบยังไปติดตามอยู่ ๚ะ

๏ ในขะณะนั้นพเอินให้ท่านเศรฐีมีตำแหน่งยศชื่อตั้งว่าพระรัตนากร เปนเพื่อนรักสนิดของท่านพระยาบูรีบริรักษ์ ออกจากพระราชวังแล้วแวะมาหาพระยาบูรีบริรักษ์ ๆ เชื้อเชิญให้นั่งที่สมควรแล้วพูดจาปราไสกันตามเคย พระรัตนากรเหนนายแทนก็ให้คิดเอนดูกรุณาเปนที่สุด จึ่งถามว่า อ้ายแทนมันทำผิดอย่างไร เจ้าคุณมัดไว้จะทำโทษ ๚ะ

๏ พระยาบูรีบริรักษตอบว่า อ้ายแทนนี้มันจองหองมาก ผมใช้ให้มันทำอะไรมันฝ่าฝืนขืนขัดไม่ทำตาม จนชั้นแต่ว่าใช้ให้มันแกงปลาเทโพมันก็ไม่แกง แล้วซ้ำเอาปลาไปปล่อยเสียหมด มันไว้ตัวเปนคนใจบุญ มันไม่รู้จักนายจะต้องเฆี่ยนให้มันรู้จักนายเสียบ้าง ถ้าหาไม่อ้ายคนอื่นๆ จะดูเยี่ยงอย่างต่อไป ๚ะ

๏ พระรัตนากรจึ่งว่า เจ้าคุณจะเฆี่ยนมันด้วยเรื่องต้มเรื่องแกงเขาจะนีนทาได้ ผมขอโทษมันเสียเถิดอย่าเฆี่ยนตีมันเลย ๚ะ

๏ พระยาบูรีบริรักษตอบว่า คุณฃออะไรผมก็ไม่เคยขัดคุณเลย แต่อ้ายแทนนี่มันจองหองดูถูกผมนัก จะยกโทษให้คุณไม่ได้ มันจะกำเริบใจจองหองหนักไป พระรัตนากรจึงว่า ถ้ากระนั้นขอให้ผมพูดจาไต่ถามมันดูสักน่อยเถิด พระยาบูรีบริรักษว่าคุณจะถามอะไรมันก็เชิญถามเถิด ๚ะ

๏ พระรัตนากรจึงถามว่า อ้ายแทนเองเปนทาษท่านเงินค่าตัวเองเท่าไร ๚ะ

๏ นายแทนว่าผมเปนทาษท่านค่าตัว ๓๐๐ บาทขอรับ พระรัตนากรจึงว่า ค่าตัวเองก็มากอยู่ ท่านเปนนายท่านใช้เองแกงปลาเทโพให้ท่าน การก็ไม่ยากลำบากอะไรนัก ทำไมเองจึ่งขัดขืนคำสั่งของท่านเล่า ๚ะ

นายแทนเรียนว่าผมก็รู้ตัวว่าผมเปนทาษท่าน ๆ ใช้การงานอื่น ๆ ผมไม่ได้ขัดขืนท่านเลย แต่ท่านมาบังคับใช้ให้ผมฆ่าสัตว์ผมทำไม่ได้ เพราะได้ให้สัตย์ปฏีญาณสมาทานมาต่อท่านอาจาริย์ที่นับถือแล้ว จะทำลายล้างศีลสัตย์เสียไม่ได้ ผมก็ได้เรียนท่านแล้วท่านไม่ฟัง ขืนบังคับจะให้ผมฆ่าปลาให้ได้ ผมก็ต้องดื้อเอาท่านบ้างฃอรับ ๚

พระรัตนากรจึ่งว่าเดี่ยวนี้ท่านโกรธว่าเองขืนขัดท่านจะลงโทษให้สาหัศให้พอกับความโกรธของท่าน เองจะคิดว่ากระไร ๚ะ

นายแทนเรียนว่า เรื่องนี้ผมก็ได้คิดตกลงปลงใจของผมแล้ว ว่าขัดขืนท่าน ๆ เปนนาย ท่านคงทำโทษตามอาญาของท่าน ท่านเปนนายก็แต่ร่างกายของผม ซึ่งจะเปนนายดวงจิตร์ผมด้วยไม่ได้ ท่านบังคับที่ถูกผมก็ทำตาม บังคับที่ผิดดวงจิตร์ผมไม่ยอมผมก็ไม่ทำตามเปนแน่ อย่าว่าแต่เพียงท่านจะเฆี่ยนตีเท่านี้เลย ถึงท่านจะเอาผมไปฆ่าเสียผมก็ยอมตาย ไม่ยอมทำลายศีลฃองผมแล้ว ทำไมกับตาย เกิดมาแล้วก็ต้องตายด้วยกันทั่วทั้งแผ่นดิน ผมไม่เหนเปนอัศจรรย์แปลกประหลาดอะไร แต่ศีลแลความสัตย์เปนของวิเศศสำคัญในโลกย์ ควรจะต้องรักษายิ่งกว่าชีวิตร์ ๆ จะเสียไปก็ชั่งเถิด แต่อย่าให้เสียศีลเสียสัตย์เลย ผมตกลงปลงใจอย่างนี้ โทษทัณฑ์ประการใดก็สุดแล้ว แต่ท่านจะทำแก่ร่างกายของผมเถิด แต่ดวงจิตร์นั้นผมไม่ยอมให้กดขี่คุมเหงเปนแน่แล้วฃอรับ ๚ะ

พระรัตนากรได้ฟังคำให้การของนายแทน ก็ให้ขนพองสยองเกล้า คิดว่าท่านพระยานี้เปนคนอันธพาลสันดานบาป ไม่รู้จักคนดีคนชั่ว ร้อยคนจะหาคนอย่างนี้สักคนหนึ่งก็ไม่ใคร่จะพบ เราจะช่วยนายแทนให้พ้นยากจากทุกข์เสียเถิด คิดแล้วจึ่งผินหน้ามาพูดกับท่านพระยา ว่าอ้ายแทนมันให้การเจ้าคุณได้ยินฤๅไม่ ๚ะ

๏ พระยาบูรีบริรักษว่า ฯข้าฯ ได้ยินแล้ว มันก็พูดจาจองหองดื้อดึงอยู่อย่างนั้นเอง ๚ะ

๏ พระรัตนากรจึ่งว่าเจ้าคุณ อย่าเพ่อว่ามันดื้อดึงจองหองก่อนตฦกตรองดูให้ละเอียด เจ้าคุณจะลงโทษแก่มันผมเหนว่าไม่เปนยุติธรรม เทวดาอารักษท่านจะไม่เข้าด้วยเจ้าคุณดอกกระมัง ท่านพระยาโกรธว่าพระรัตนากรว่าพูดเข้ากับอ้ายแทนจึ่งว่า คุณเหนว่าอ้ายแทนเปนคนดี ก็เอาเงินมาช่วยเอามันไปเถิดซี พระรัตนากรตอบว่าซึ่งเจ้าคุณยอมให้อ้ายแทนแก่ผม ๆ ดีใจนัก อย่าว่าแต่ค่าตัวอ้ายแทน ๓๐๐ บาทเลย ถึง ๕๐๐ บาท ผมก็จะซื้อไม่เสียดายเงิน ว่าแล้วก็ใช้บ่าวให้ไปบอกบุตรที่บ้านให้บุตรเอาเงินมาไถ่ค่าตัวนายแทน แก้มัดนายแทนพาไปบ้าน ครั้นถึงจึ่งให้นายแทนอาบน้ำชำระกายให้สอาด ทาน้ำหอมแป้งกระแจะจวงจันทน์เสร็จแล้ว จึ่งให้เอาเงิน ๑๐๐ บาท กับผ้านุ่งห่มอย่างดีสำรับหนึ่งมาให้นายแทน จึ่งว่า แนะนายแทน ตัวเจ้าเปนคนยากจนถึงแก่เปนทาษเขา แต่เราชอบใจในการที่เจ้ารักษาศีลสัตย์มั่นคงนัก ยากที่ใครจะรักษาได้อย่างเจ้า ถึงตัวเราก็เปนคนรักการสุจริต แต่ยังไม่อุกฤษฐเหมือนอย่างเจ้า เงิน ๓๐๐ บาทนั้น เราซื้อตัวเจ้าให้เปนไทย เพราะคนอย่างเจ้าไม่ควรจะเปนทาษท่านผู้ใด ควรจะเปนไทยอยู่กับตัวจะได้รักษาศีลโดยสดวกใจ เงินร้อยบาทนี้ เราฃอซื้อบุญกุศลผลสุจริตที่เจ้าได้รักษาศีลบริสุทธิมั่นคงดี ซึ่งเราจะเกี่ยวข้องต้องการเอาตัวเจ้าไว้เปนทาษใช้การงานนั้นเราไม่ต้องการดอก เมื่อเจ้าไม่มีที่จะอยู่ที่จะกิน จะอยู่กับเรา ๆ จะเลี้ยงไม่ให้ลำบากยากใจด้วยอาหารการบริโภค ฤๅเจ้าจะสมัคชอบใจจะไปอยู่แห่งใดเราก็ตามใจไม่ขัดขืน พระรัตนากรว่าแล้ว ก็เอาสารกรมธรรมนายแทนเผาไฟเสียต่อหน้าคนเปนอันมาก ๚ะ

นายแทนไหว้กราบพระรัตนากร แล้วกราบเรียนว่า ซึ่งไต้เท้าอนุเคราะห์ผมครั้งนี้ พระเดชพระคุณเปนที่ยิ่ง แต่ผมเข้าใจว่าใต้เท้าโปรดอนุเคราะห์ทั้งนี้ ก็เพราะใต้เท้ารักใคร่ในการกุศลสุจริตจนไม่คิดเสียดายทรัพย เช่นนี้ก็เปนการหายาก ๆ ที่จะได้พบได้เหน เปนอัจฉริยมนุษยบุรุศพิเศศ การที่ใต้เท้ามีใจเปนกุศลคงจะให้ผลให้ได้ความศุขความเจริญ เหนประจักษแก่ตาโลกย์เปนแน่ ซึ่งใต้เท้าอนุญาตโปรดให้ผมเปนไทย และจะปล่อยให้ไปตามประสงค์นั้น พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ ผมทุกวันนี้บิดามารดาก็ไม่มีแล้ว จะฃอกราบลาไปบวชเปนประขาวอยู่กับพระอาจาริย์ ศรีสิทธิสาตร์ จะได้บำเพญศีลสุจริตแล้วอุทิศแผ่ผลกุศลมาให้ใต้เท้าทุกวัน ๆ เงินร้อยบาทกับผ้าสำรับหนึ่งนี้ผมฃอคืนกราบเท้าไว้ ฃอรับทานแต่ผ้าขาวนุ่งห่มสักสำรับหนึ่งเถิด ๚

๏ พระรัตนากรจึ่งให้จัดผ้าขาวเนื้อดีมาให้นายแทนสำรับหนึ่งแล้วว่า เงินร้อยบาทกับผ้าสำรับหนึ่งนี้ เปนของเราซื้อกุศลผลบุญของเจ้าแล้วเรารับคืนไม่ได้ เมื่อเจ้าจะไม่ต้องการจะแจกบ่ายให้แก่ใคร ก็ตามแต่ใจเจ้าเถิด ๚ะ

๏ นายแทนก็รับเงินกับผ้ามาแล้วแจกให้แก่คนในบ้านของท่านพระรัตนากรจนหมดแล้ว ก็เข้าไปลาพระรัตนากร ๆ สั่งว่า เจ้าไปบวชแล้วจะขัดขวางฤๅต้องการอะไร ก็มาบอกเราเถิด ถึงไม่ธุระอะไรก็เจ้ามาหาเราบ้าง เราจะได้บูชาตามเจตนาของเรา ฯ นายแทนรับคำสั่งแล้ว ก็กราบลาท่านพระรัตนากรไปหานายทดผู้เปนสหาย บรรยายเล่าความให้ฟังทุกประการ แล้วจึ่งว่า เพื่อนเอ๋ย ศีลสัตย์สุจริตนี้ดีเปนแท้แล้ว สมควรที่คนทั้งโลกย์ จะปฏิบัติรักษาให้บริสุทธิทั่วกัน โลกยจะได้มีความเจริญทั่ว ๆ กัน เราทั้ง ๒ เพราะได้มาประพฤติศีลสุจริต ตัวเพื่อนก็หายโรค ตัวข้าก็พ้นทาษได้เปนไทยเหนประจักษแล้ว เราจะอยู่ทำไมไปบวชอยู่กับพระอาจาริย์เถิด จะได้รักษาศีลสุจริตไปจนวันตาย ๚ะ

๏ นายทดเหนชอบด้วย เพราะเปนสหายรวมใจกัน ก็ขวนขวายหาผ้าขาวได้สำรับหนึ่งแล้ว ทั้ง ๒ คนก็พากันไปบวชเปนประขาว อยู่ในสำนักนิ์พระอาจาริย์ศรีสิทธิสาตร์ ๆ ก็สั่งสอนทางสันโดษ แลให้เจริญกรรมฐานทางอานาปานะสะติ ไม่ช้าไม่นานก็ได้สำเรจบันลุสมาบัติ ฝ่ายโลกิยะฌาณ ๚ะ

๏ เพลาบ่ายวันหนึ่งท่านปะขาวทดประขาวแทน ทั้ง ๒ นั่งสั่งสนทนากัน ว่าเราทั้ง ๒ คนเปนคนเคราะห์ดีมีลาภอันใหญ่หลวง ถ้าหากว่าเราไปฟั่นเฝือเชื่อถือครูนิทัศนิเทศ อันถือลัทธิโลกย์กลมโลกย์แบนอยู่แล้ว ที่ไหนจะเอาตัวรอดได้ แต่ครูทั้ง ๒ ลัทธิยังเถียงแก่งแย่งไม่ตกลงกัน ใครไม่ตัดสินของใครได้แล้ว ลัทธินั้นจะดีจะวิเศศอะไร สำหรับแต่จะก่อวิวาททุงเถียงแก่งแย่งกันไม่รู้จบ ถึงโดยว่าจะศึกษารู้ว่าโลกย์กลมจริงฤๅแบนจริง ก็ไม่เปนทางที่จะเอาตัวรอดให้พ้นทุกข์ไภยได้ ก็เปนแต่จะหน่วงเหนี่ยวให้จมอยู่ในโลกย์โอฆสงสารเท่านั้นเอง ซึ่งเราได้มาประสบพระอาจาริย์ของเรานี้ เปนบุญราษีเปนมหาลาภอันเลิศแล้ว เหมือนได้ประสบพบแก้วมีแสงสว่างให้เหนในหนทางอันเกษมศุขนฤทุกข์นฤไภย เราจงอยู่ปรนนิบัตฉลองคุณท่านไป กว่าจะหาชีวิตร์ไม่ ท่านประขาวทั้ง ๒ ปรองดองปติญญาณกันดังนี้ ก็ตั้งใจทำวัตรปฏิบัติพระอาจาริยทุกเวลามิได้ขาด ๚ะ

๏ ฝ่ายท่านประขาวแทนคิดถึงคุณอุปการะของพระรัตนากรอยู่เนื่อง ๆ เวลาเมื่อออกจากที่เจริญกรรรมฐาน แลออกจากฌาณสมาบัติ แล้วก็แผ่เมตตาจิตร์อุทิศผลกุศลบุญให้แก่พระรัตนากรทุกครั้งทุกเวลา ๚ะ

๏ ฝ่ายเหตุการในบ้านเมือง หญิงชายที่รู้เรื่องนายทดนายแทนก็เล่ากันต่อๆ ไป จนความนั้นแพร่หลายกระจายทุกแห่งหน พวกโรงพิมพ์การก็เก็บเอาความเรื่องที่พระยาบูรีบริรักษจะทำโทษนายแทน แลพระรัตนากรได้ช่วยทนุบำรุงนายแทน จนปล่อยนายแทนให้ไปบวชเปนปขาวกล่าวความโดยเลอียดทุกประการ เมื่อหนังสือพิมพ์ออกแล้ว ประชาชนชาวเมืองก็พากันติเตียนพระยาบูรีบริรักษ แลยกย่องสรรเสริญพระรัตนากรแซ่เซงไป ๚ะ

สมเดจพระเจ้าสุริยาวัฎวงษาธิราช พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทราบเรื่องนายทศนายแทน ตามที่กล่าวในหนังสือพิมพ์ จึ่่งมีรับสั่งให้หาพระรัตนากรกับพระยาบูรีบริรักษเข้าไปเฝ้า มีรับสั่งถามพระรัตนากรก่อน พระรัตนากรก็กราบทูลตามมูลเหตุตั้งแต่ต้นจนอะวะสาน จึ่งมีพระราชโองการตรัสถามพระยาบูรีบริรักษ ๆก็กราบทูลแบ่งเบี่ยงบ่ายแก้ตัวบ้าง แบ่งรับสารภาพบ้าง ๚ะ

๏ จึ่งทรงพระพิโรธพระยาบูรีบริรักษ ว่าเสียแรงเราตั้งให้มียศเปนผู้ใหญ่ ไม่ทำการให้รอบคอบไม่รู้จักคนดีคนชั่วคนคดคนตรง ลุอำนาจแก่โทษาคติโมหาคติ จะทำให้ราษฎรได้ความเดือดร้อนในใช่ที่ จะเปนผู้ใหญ่ไปไม่ได้ จึ่งรับสั่งให้ถอดพระยาบูริบริรักษออกเสียจากยศ แล้วจึ่งตรัสสรรเสริญพระรัตนากรว่า ไม่เสียทีที่เราชุบเลี้ยงให้มีบันดาศักดิ์ช่วยทนุบำรุงแผ่นดิน เปนคนนับถือรักใคร่ในยุติธรรมสุจริตจริงๆ ถ้าขุนนางอย่างนี้ของเรามีสัก ๑๐๐ นาย บ้านเมืองจะอยู่เย็นเปนศุขสมบูรณหนักหนา ยศเพียงนี้ก็ยังหาภอแก่ความชอบของท่านไม่ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระรัตนากร เปนเจ้าพระยาสุริตจรียาภิรมย์อุดมเดช พิเศศพิสุทธิธาดากลยาณัชฌาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ เสนาบดีผู้ใหญ่ ได้ว่าราชทั่วทั้งพระนคร พระราชทานพานทอง เต้าน้ำเจียดทอง กระบี้ฝักทองครบเครื่องยศเสนาบดี แล้วพระราชทานเงินตรา ๑๐๐ ชั่ง มีรับสั่งว่าท่านซื้อบุญนายแทน ๑๐๐ บาท เราฃอซื้อบุญจากท่านอิกชั้นหนึ่งเปนเงินร้อยชั่ง ท่านอุส่าห์รักษาสุจริตยุติธรรม ช่วยกันทนุบำรุงราษฎรให้อยู่เย็นเปนศุขทั่วทั้งพระราชอาณาจักร์เถิด เจ้าพระยาสุจริตรับพระราชโองการแล้ว ตั้งแต่นั้นไปเอาใจใส่ตรวจตราทุกแขวงทุกตำบล ตัดสินคดีถ้อยความของราษฎรโดยยุติธรรม รำงับดับร้อนให้ชาวพระนครได้ความเยนเปนผาศุขทุกเขตร์แขวง ราษฎรทั้งชายหญิงนิยมนับถือสรรเสริญอำนวยพรทุกๆ คามนิคม เจ้าพระยาสุจรีตจริยาภิรมย์ ก็อุดมสมบูรณ์ด้วยลาภยศ กิดติศับทก็ปรากฎเลื่องฦๅฟุ้งขจรไปในประเทศทั้งปวง ๚ะ

๏ ฝ่ายพระยาบูรีบริรักษ ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินทรงติเตียนแลถอดเสียออกจากยศศักดิ์ ก็เสื่อมสิ้นราษีไม่มีใครเขาย่ำเกรงนับถือก็เศร้าโศรกเสียใจ ทุกข์ ๆ ตรอม ๆ จนเปนโรคผอมเหลือง ไม่นานก็สิ้นชีวิตร์ทำกาลกิริยา ๚ะ

พระมหาสุปัศศีดาบศ ชักนำเอานิยายเรื่องนี้มาเล่าแก่ฤๅษีศิศยทั้งหลาย แล้วสำแดงความอธิบายว่า นี่แลเราทั้งหลาย ควรที่จะเหนจริงแน่ใจว่า การประพฤติทุจริตด้วยกายกาจาใจ ย่อมก่อให้เกิดผลเปนโทษทุกข์นำภัยอันตรายมาให้ การประพฤติสุจริตก่อให้เกิดศุข แลมีอำนาจอาจจะรำงับดับทุกข์ไภยอันตรายทั้งปวงได้จริง ผู้ประพฤติสุจริตนั้นจะตกไปอยู่ในทีศใดประเทศใด ก็มีคนรักใคร่นับถือโดยไม่รังเกียจ จะไม่ชอบอยู่ก็แต่คนที่ใจอันธพาลสันดานบาป คนพวกนี้เขาเกลียดชังสุจริต เขารักใคร่ชอบใจแต่ฝ่ายข้างทุจริต ก็แต่ว่าไม่พอเปนไรดอก ถ้าประพฤติสุจรีตมั่นคงอยู่จริงๆ แล้ว ก็คงจะมีปัญญาหลบหลีกคนจำพวกเช่นนั้น ไม่คบหาสมาคมกับเขา แลรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบากับคนพวกนั้น โดยทางไมตรีพอคุ้มตัวรักษาตนเอาตัวรอดได้ บุทคลผู้รักษาสัตย์สุจรีตนั้น ถึงจะตกไปอยู่ในใต้อำนาจคนพาลดุร้ายก็ดี ด้วยกำลังผลที่ตนถือสัตยสุจรีตนั้นคุ้มครองรักษา ก็เอาตัวรอดพ้นไภยได้ แลยังปกแผ่ไปคุ้มผู้อื่นได้ด้วย เหมือนนียายเรื่องหนึ่งว่า สามเณรองค์หนึ่งอายุครบอุปสมบทแล้ว ท่านอาจารียใช้ให้ไปลาบีดามารดาฃออนุญาต สามเณรก็ไปแต่ผู้เดียว ทางที่จะไปบ้านนั้นต้องไปในป่าดงเปนทางเปลี่ยว พวกโจรที่มาตั้งส้องสุมกันคอยปล้นคนเดินทาง ก็จับสามเณรไว้จะฆ่าเสีย สามเณรจึ่งว่าจะฆ่าเรา ๆ ก็ตายเท่านั้นเอง แต่ท่านจะได้ประโยชน์สิ่งไรก็ไม่มี ถ้าท่านฆ่าเราเสียบัดนี้ ท่านทั้งหลายพากันมาตั้งพากเพียรอยู่ที่นี่ ด้วยประสงค์อะไรความประสงค์นั้นก็คงจะไม่สำเร็จ ขอท่านทั้งหลายจงปล่อยเราไปเถิด ๚ะ

๏ พวกโจรจึ่งพูดกันว่า เณรคนนี้คนเดินทางทั้งหลายรู้ข่าว ก็จะพากันขยั้นครั่นคร้าม เสียจะไม่มีใครมาเดินทางนี้ ความที่พูดถูกอยู่ เราเอาคำมั่นสัญญาเสียอย่าให้ไปพูดบอกแก่ใคร ๆ ให้รู้ว่าเรามาตั้งส้องสุมกันอยู่ที่นี้ แล้วก็ปล่อยไปเสียเถิด พวกโจรก็ตกลงพร้อมกัน จึ่งเอาคำมั่นสัญญามั่นคงแล้วปล่อยสามเณรไป สามเณรไปถึงบ้านลาบิดามารดาแลลาพวกวงษาคณาญาติเสรจก็รีบกลับมาตามทางเดิม พวกโจรก็มิได้กักขังไว้ปล่อยให้ไปโดยสดวก

๏ ฝ่ายบิดามารดากับหมู่ญาติของสามเณรก็จัดหาเข้าของดีๆต่างๆ ซึ่งจะเคาไปทำบุญบวชสามเณรได้พร้อมแล้ว ก็พากันมาถึงกลางดง โจรพวกนั้นก็ออกปล้นแย่งชิงเอาเข้าของได้หมดแล้วจับไว้จะฆ่าเสียทั้งหมดด้วยประสงค์จะให้ความสูญ ฝ่ายบิดามารดาคณาญาติของสามเณร ก็พากันร้องไห้คร่ำครวญถึงสามเณร ว่าพ่อเณรเอ๋ยใจฅอของพ่อช่างกะไรเลย นิ่งเสียได้ไม่บอกให้รู้ตัวบ้าง ว่าโจรเขาตั้งอยู่ที่นี้จะได้หลีกหนีไปทางอื่น ถึงกะไรไปบวชเรียนพ่อเณรแล้วกลับมาถึงจะตายก็ไม่เสียดายชีวิตร์เลย ๚ะ

๏ นายโจรได้ยินคนเหล่านั้นร้องไห้คร่ำครวญถึงสามเณร จึ่งร้องถามว่า พวกนี้เปนอะไรกับเณร คนเหล่านั้นก็บอกว่า ข้าเปนบิดามารดาน้าอาลุงของเณร ๚ะ

๏ นายโจรถามว่า ทำไมเณรไม่บอกบ้างเลยฤๅว่าเรามาตั้งอยู่ที่นี้ ๚ะ

๏ บิดามารดาญาติของสามเณรตอบว่า ไม่มีเลยพ่อ สักคำเดียวเณรก็ไม่ได้พูด ถ้าบอกให้รู้แล้ว พวกข้าจะมาทำไม ๚ะ

๏ นายโจรได้ฟังก็บังเกิดขนพองสยองเกล้า คิดว่าเณรองค์นี้ดีแท้ ๆ แต่บิดามารดาก็ยังไม่รักเท่าความสัตย เธอรักษาสัตย์มั่นคงไม่มีใครเสมอ ถ้าเราจะขืนทำร้ายญาติโยมของท่านผู้วิเศศเช่นนี้ เราคงจะต้องตายด้วยอาญาจักร์เปนแน่ คิดแล้วจึ่งร้องห้ามพวกโจรบรีวารว่า เหวยพวกเรา อย่าทำร้ายแก่ญาติโยมของท่านสามเณรเลย แย่งเอาของอะไรของเขาไว้บ้าง คืนให้เขาให้หมด คนพวกนี้เราทำร้ายเขาไม่ได้ฟ้าจะผ่าเราตาย พวกโจรทั้งหลายก็แก้มัดคนเหล่านั้นออกหมด แล้วคืนของให้สิ้น นายโจรจึ่งว่าแก่บิดามารดามารดาท่านสามเณร ว่าเชิญท่านไปให้สบายเถิด ฯข้าฯ จะขนของไปส่งให้ถึงท่านสามเณร ฯข้าฯ จะได้ฃอษะมาโทษท่านด้วย ว่าแล้วก็ให้พวกโจรบริวารหาบคอนเข้าของไปส่งญาติโยมพระสามเณร ครั้นไปถึงนายโจรก็ตรงเข้ากราบลงที่เท้าพระสามเณรแล้ว วิงวอนฃอษะมาโทษ พระสามเณรก็เทศนาโปรดให้พวกโจรเหล่านั้นละพยศร้าย เลิกถอนทิ้งโจรกรรม กลับเปนคนรักษาศีลสัตยสุจริตไปด้วยกันทั้งพวก ๚ะ

๏ นี่และท่านทั้งหลายพึงพิเคราะห์ใคร่ครวญดูให้ละเอียดเถิด ท่านผู้ที่รักษาศีลสัตยสุจริตมั่นคงเท่าเทียมกับชีวิตร์นั้น ถึงเข้าที่แค้นคับอับจน ก็เปลื้องปลดตนแลพักพวกให้พ้นไภยันตรายได้โดยสดวก ดุจนายทดนายแทน แลเรื่องพระสามเณรนี้เปนตัวอย่าง ๚ะ

๏ อนึ่งเรื่องนายทดนายแทนนั้น เมื่อฟังไปตามเรื่องนิยายก็เปนคติตามคดีโลกย ถ้าจะตรองให้ฦกละเอียดลงไปอิกชั้นหนึ่ง ก็ตกต้องลงตรงกับคดีธรรม ๚ะ

๏ พวกฤๅษีศิศยทั้งหลายจึ่งถามว่า ท่านเจ้าข้า ซึ่งเรื่องนิยายนายทดนายแทนเปนคติฝ่ายคดีโลกย์นั้น ฯข้าฯ ทั้งหลายเข้าใจได้ชัดความแล้ว แต่จะเทียบลงให้ตรงกับคดีธรรมนั้นตรงกันอย่างไร ฯข้าฯ ยังมืดมนคิดไม่เหนเลย ขอพระอาจาริยเจ้าได้โปรดชี้แจงให้ ฯข้าฯ ทั้งหลายเข้าใจด้วยเถีด ๚ะ

๏ พระมหาสุปัศสีดาบศจึงว่าท่านทั้งหลายยังไม่เข้าใจฤๅ เราจะอธิบายให้เข้าใจ เรื่องนี้พานจะฦกอยู่สักหน่อย ท่านทั้งหลายอุษ่าห์ตั้งใจกำหนดโดยแยบคายเถิด ข้อที่ว่านายทดเปนโรคลมสันดานมาแต่กำเนีต รักษาด้วยหยูกยาตามธรรมดาโรคก็ไม่หาย ต่อนายทดได้ไปประสบพระอาจาริยศรีสิทธิสาตร์ ๆ สั่งสอนให้รักษาศีลสุจริตล้างชำระปฏีสนธิวิญญาณที่มัวหมองให้ผ่องใสบริสุทธิ โรคจึ่งหายฃาดไปนั้นเปนความเทียบเคียงในคดีธรรมท่านว่า มนุษย์ทั้งหลายคือหญิงชายที่เกิดมาในโลกย์นี้ทั่วกัน เมื่อเอาชาติคือมีความเกิดแล้ว ชราพยาธิมรณะก็ติดตามมา พร้อมกับชาตีความเกิดนั้นเอง ชาติกับชะราพยาธิมรณะไม่ห่างไกลกันดอก ความเกีดแก่ไข้เจบ แลความตายเปนธรรมดาตัวของสัตวบุคคลทั่วไปทุกคนไม่แปลกกัน ต่างกันก็เพียงช้าบ้างเรวบ้างเท่านั้น เกิดแล้วแก่ ๆ แล้วก็ไข้เจบ ไข้เจบแล้วก็ตาย ตีด ๆ เนืองกันไปไม่มีอะไรขั้น ชาติต่อกันกับชะราคือว่าเกิดแล้วก็แก่ในทันใดนั้นเอง แต่ว่าเปนชะราอย่างละเอียดไม่ใคร่จะมีใครเหน ไม่มีใครเรียกว่าชะรามนุษย์ตั้งปฏิสนธิวิญญาณขึ้นในครรภมารดา ตามธรรมดาวีไสยของสัตวซึ่งเปนชลามพูชะ กำเนิดปฏิสนธิวิญญาณขึ้นแล้วก็แปรมา ๆ จนเปนขึ้นเนื้อแลปัญจะสาขาจนพร้อมอาการ ๓๑ บริบูรณ แล้วก็คลอดจากครรภมารดา ก็การที่แปรมาๆ อย่างนี้นี่ คืออะไรเล่า ตัวชะราความแก่ไม่ใช่ฤๅ แต่คนทั้งหลายเขาไม่เรียกว่าแก่จึ่งไม่เหนว่าเปนชะรา แต่กระนั้นก็ยังพลั้งพูดกันอยู่บ้าง ว่าครรภแก่ท้องแก่นี่ก็เปนพยานอยู่แล้ว ครั้นเมื่อคลอดมาแล้ว ความที่พูดกันว่าครรภ์แก่ ๆ นั้นก็หายไปเสีย ตั้งเรียกกันขึ้นไหม่ ว่ากุมารว่าทารกว่าเดก แต่กระนั้นก็ยังพลั้งพูดอยู่ว่าเดกอ่อนเดกแก่ ที่ว่าแก่ๆ ในระยะเหล่านั้น ก็คือชะราทั้งสิ้น ครั้นทารกนั้นเจริญขึ้นโตขึ้นๆ จนอายุสิบหกสิบเจดปีที่นั้นคำที่ว่าแก่ๆ ก็หายเงียบไป กลับเรียกเสียว่าหนุ่มจนถึงอายุสี่สิบห้าสิบปี ผมหงอกฟันหลุด เกิดมีขึ้นจึงเรียกกันว่าแก่ โดยที่แท้ตั้งแต่ปฏิสนธิมาจนคลอดตลอดจนหนุ่ม ความชะราว่างเว้นเมื่อไร ชะราติดต่อกันมาแต่ชาตี ก็ครอบงำกินอายุเสมอทุกวันคืนทุกทุ่มทุกโมงมิได้ขาด แต่เปนชราอย่างละเอียดไม่ปรากฎ นักปราชท่านเรียกว่าปติฉันนะชะรา ความแก่กำบังความแก่หายตัวได้ จึ่งไม่มีใครเหนว่าแก่ต่ออายุห้าสิบหกสิบ ชะราที่แทรงสิงมาแต่ปฎิสนธินั้นส้อนตัวอยู่ไม่ได้ ก็สำแดงอาการมีผมหงอกฟันหลุดเปนต้น ออกให้คนทั้งหลายเหน เหมือนจะบอกว่าเราก็ไม่ได้มาแต่อื่นเราแทรกสิงอยู่ในกายนี้เอง แต่คนทั้งหลายไม่รู้จักเรา บัดนี้เราจะให้รู้จักเราเสียบ้าง ชะราที่ปรากฎแก่ตาโลกย์ ใคร ๆ เถียงไม่ได้นี้ นักปราชท่านเรียกว่าอับปะติจฉันนะชรา ว่าความแก่ไม่ส้อนกำบังออกตัวให้เหนชัดทั่วกัน ๚ สังขารคือของมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ให้เกิดให้เปนขึ้นนั้นท่านจัดไว้เปน ๒ อย่างอุปาทินนะกะสังขาร ๑ อนุปาทินนะกะสังขาร ๑ สังขารคือร่างกายแลชีวิตรวิญญาณ ที่เรียกโดยรวมว่านามแลรูปของสัตวเดียรัจฉานแลมนุษยทั้งสิ้น นี่แลคืออุปาทินนะกะสังขาร ด้วยว่าเปนของอันกรรมแลกิเลศเข้ายึดหน่วงจับต้องแทรกสีงลงได้ เพราะว่าจิตรใจของวิญญาณของสัตวแลมนุษยเปนที่อาไศรยก่อให้เกิดกิเลศ ให้เกิดอกุศลเหตุต่างๆคือรู้จักโลภหวงแหนอยากได้ รู้จักโกรธ รู้จักหลง ๚ โลภ โกรธ หลง ทั้ง ๓ ประการซึ่งเปนต้นเค้ากีเลศทั้งปวง เมื่อได้สังฃารคือวิญญาณของสัตว์เปนเชื้อ เปนที่ยึดอาไศรยแล้ว ก็มีกำลังกล้าให้สังขารนั้นทำบาปอกุศลต่างๆ ตามอำนาจของตัว ๚

๏ ถ้าฝ่ายข้างเหตุเปนส่วนบุญส่วนกุศล คือความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง มาเข้ายึดแทรกสิงในสังขาร คือวิญญาณของสัตว์ ก็ให้สัตว์ทำบุญบำเพญกุศลตามอำนาจของตน กุศลเหตุ อกุศลเหตุทั้ง ๒ ประการนี้ ย่อมเข้ายึดอาไศรยจิตรวิญญาณของสัตว์เดียรฉานแลมนุษย์ แล้วก่อให้เกิดกรรม คือบุญบาปต่อไป เพราะฉนั้นสังขารของสัตว์เดียรฉานแลมนุษย์ ท่านจึ่งเรียกว่า อุปาทินนะกะสังขาร เกิดแต่วีบากฝ่ายกุศลแลอกุศลประชุมปรุงสร้างตกแต่งให้เปนขึ้น ๚

๏ อนุปาทินนะกะสังฃาร คือแผ่นดินฟ้าอากาศบรรพตภูเฃากอหญ้าต้นไม้ต่างๆ ซึ่งเปนของไม่มีวีญญาณทั้งสิ้น ของเหล่านี้กรรมกิเลศไม่เข้ายึดหน่วงเหนี่ยวจับต้องได้ เพราะไม่มีวิญญาณเปนเชื้อ ท่านจึ่งเรียกว่าอนุปาทินนะกะสังขาร ก็ชะรานั้นย่อมครอบงำทั่วไป ในสังขารทั้งสองประการ ถึงอนุปาทินนะกะสังขารก็มีเกิดแก่เจบตายเหมือนกัน ถ้าจะพิเคราะดูให้รู้ง่าย ให้ดูแต่ดอกไม้ผลไม้ก็อาจเหนได้ ต้นไม้ชนิดมีแต่ดอกไม่มีผลเพลดดอกออกอ่อนย่อมเยาวแล้ว ค่อยเจริญขึ้นจนโตใหญ่แย้มบานโรยร่วงเหี่ยวแห้งไป ถ้าเปนชนิดต้นไม้มีผลเพลดดอกออกช่อจนช่อดอกนั้นแก่ กลีบเกสรร่วงหล่นไปแล้วเพลดดอกเปนผลเล็กๆ แล้วค่อยเจริญใหญ่ขึ้นโดยลำดับจนแก่ห่ามสุกงอม แล้วก็ร่วงหล่นไป ก็อันดอกไม้ผลไม้ เกิดขึ้นด้วยพืชนิยม แลอุตุนิยม แลธรรมดานิยมก็ย่อมมี เกิด แก่ ไข้ ตายเหมือนกัน แต่เมื่อดอกไม้ผลไม้ยังไม่แย้มไม่บานแลยังไม่ห่าม คนทั้งปวงก็ไม่ได้เรียกว่าดอกไม้แก่ผลไม้แก่ โดยที่แท้ความแก่ของดอกไม้ผลไม้ก็เปนปะติฉันนะชรา ครอบงำประจำมาตั้งแต่ดอกไม้ผลไม้เพลดดอกออกมาจนโรยร่วงสุกงอมหล่นก็เปนอันถึงมรณะไปครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง ๚ะ

พยาธิความโรคไภยไข้เจบนั้นเล่า ก็ติตประจำมาตั้งแต่ปฏิสนธิ ใช่ว่าต่อสังฃารแก่กล้าพยาธิจึ่งจะมีมานั้นก็หาไม่ คิดตรวจดูให้ละเอียดเถิด สัตว์ตั้งปฏิสนธิขึ้นในครรภมารดา บางทียังไม่ทันเจริญใหญ่พอตั้งเปนขึ้นเนื้อฤๅเปนปัญจสาขาขึ้นพยาธิเบียดเบียน จนแท้งออกจากครรภมารดาก็มี บางทีอะวะยะวะเจริญใหญ่จนครบบริบูรณจวนจะคลอดอยู่แล้ว พยาธิแรงกล้ายังไม่ทันคลอดตายเสียในครรภมารดาก็มี ตายในขณะคลอดจากครรภมารดาก็มี ถึงคลอดออกมาโดยปรกติ พอคลอดแล้วบิดามารดาแลหมู่ญาตี ก็ต้องหายากวาดยาหยอดบำรุงรักษามาจนคุ้มใหญ่ นั้นคืออะไรตัวพยาธิไม่ใช่ฤๅ มนุษยเราถ้าเวลาปรกติไม่ไข้เจบอะไรใจก็เผลอลืมพยาธิเสีย หารู้ว่าพยาธิเปนธรรมดาตัวเปนของตีดประจำอยู่ในตัวตั้งแต่ปฏิสนธี เปนเดิมมาไม่ เมื่อพยาธิโรคไภยไข้เจบอันแรงกล้ามาถึงตัวเข้าแล้ว ก็ให้วุ่นวายหวาดหวัน ตกใจไม่เปนสมประฤๅดี จนเสียทีในมรณะสงคราม ถ้าหากว่าฝึกใจให้เปนอาจิณ ให้รู้เท่าสังขารเสียว่าชราพยาธิโรคไภยไข้เจบ ที่ส่งอายุของเราให้ไปถึงมรณะเรวเข้านั้น เปนธรรมดาตัวของเรา ๆ จะหลีกเสียให้พ้นไปไม่ได้ แม้นฝึกใจให้เชื่องชินกับพยาธิมรณะฉนี้เสมออยู่แล้ว ถึงพยาธิจะมีมาก็จะไม่หวาดหวั่นตกใจอะไรนัก เพราะกำหนดรู้เสียว่าพยาธิมรณะก็เปนของติดมาสำหรับสังขารร่างกายฃองเราแต่เดิม ไม่ใช่ของอื่นฃองจรที่ไหนมา ก็การจะเยียวยารักษาพยาธิให้หายขาดนั้น ถ้าเปนแต่หยุกยาฃองแพทย์ฃองหมอ ก็รักษาพอสงบไปหายไปได้ครั้งหนึ่งคราวหนึ่งเท่านั้น อันจะเยียวยารักษาพยาธิให้ขาดเดดนั้น ก็ได้แต่เพียงตัดมูลราก คือตัดชาติความเกิดให้ขาดสูญไปได้ด้วยอาวุธ คือปัญญาเกิดพร้อมกับอริยมรรค ๚

๏ ถามว่า ก็จะทำไฉนจะปรนิบัติอย่างไรเล่า จึ่งจะได้อาวุธอันสัมปยุตด้วยอริยมรรคปัญญา ๚ะ

๏ แก้ว่า ผู้ที่อยากจะได้อาวุธอันคมกล้าเช่นนั้น ต้องตั้งศรัทธา ๑ ความเพียร ๑ สติ ๑ ปัญญา ๑ ให้มั่นคงไม่รู้จุลาจล แล้วดำเนินทางประฏิบัติตั้งแต่บุรพภาค คือศีล ๕ แลกรรมบถเปนภูมิ์พื้นให้บริสุทธิบริบูรณ ชำระฟอกปฏิสนธิวิญญาณให้บริสุทธิ์ผ่องใส ฝึกหัดน้ำใจให้ติดแนบเนื่องอยู่กับกุศลฝ่ายเดียว เกียจกันห้ามใจอย่าให้ตกไปข้างฝ่ายอกุศลได้ แล้วจึ่งค่อยขยับการปรฏิบัติให้ดำเนินขึ้นสู่หนทางใหญ่หนทางตรง คืออัษฎางคิกะมรรคมีองค์คุณ ๘ ประการ คือปัญญาเหนชอบ ๑ ความดำริหชอบ ๑ วิรัติความเว้นในวาจาชอบ ๑ วิรัติความเว้นกายะกรรมชอบ ๑ ความเพียรเลี้ยงชีวิตรชอบ ๑ ความพยายามชอบ ๑ ความรฤกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้มั่นคงชอบ ๑ เมื่อได้ดำเนินประฏิบัติในหนทางตรงอันมีองค์แปดประการฉนี้แล้ว ก็คงจะได้อาวุธคือปัญญาอันคมกล้า มาฟาดฟันตัดซึ่งชาติ ความเกิดเสียได้ เมื่อตัดชาติขาดแล้ว ชรา พยาธิ มรณะ ก็พลอยขาดไปด้วย เปนนิรินทะนะพินาศ ขาดเดดไม่มีต่อไป ลักษณะที่ว่ามานี้เปนคดีธรรม เปรียบเทียบกับนายทดอันหายโรคลมสันดาน ด้วยกำลังที่ตนรักษาศีลสัตยสุจริตดังกล่าวแล้วนั้น ๚

๏ ข้อซึ่งว่านายแทนได้พ้นจากทาษ ด้วยอำนาจรักษาสุจริตนั้น เมื่อจะกล่าวโดยคดีธรรม มีถ้อยคำท่านกล่าวไว้ว่า อุโนโลโกอติกโตตัณหาทาโษ ว่าสัตวโลกย คือมนุษย์บุรษย์ษัตริหมดด้วยกันทั่วโลกย์พิภพนี้ มีน้ำใจบกพร่องอยู่เสมอไม่รู้อิ่มไม่รู้เบื่อไม่รู้เตม ได้หนึ่งแล้วยังเอิบเอื้อมจะหาให้เปนสอง ได้สองจะหาให้เปนสามเปนสี่ เฝ้าแต่เพิ่มพูลทวีความอยากความปราถนาให้ใหญ่โตขึ้นไปไม่มีที่สุด ท่านว่าไว้ว่าจักรวาฬก็กว้างนัก พรหมโลกยก็สูงนัก ก็แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่พอไม่จุที่จะใส่ความโลภของมนุษย์สักผู้เดียว ๚

๏ อนึ่งท่านว่า ภูเขาอันสูงใหญ่เสมอเขาสิเนรุบรรพต เปนภูเขาศิลาตันทั้งแท่ง ถ้าหากว่าท่านผู้มีฤทธิเดชานุภาพ อันแรงกล้า จะมานฤมิตรภูเขาศีลานั้นให้เปนทองคำ ไปสิ้นทั้งภูเขา แล้วจะแจกแก่มนุษย์ให้เตมให้พอแก่ความปราถนา ภูเฃาทองคำนั้นคงจะไม่พอเปนแน่ เพราะว่าแต่มนุษยคนเดียวก็จะกระโจมเอาทั้งสิ้นทั้งหมดทั้งบรรพตนั้นเสียแล้ว มนุษย์ทั้งหลายอื่นๆ จะมาได้อะไรอีกเล่า ตัณหาความโลภของมนุษย์กว้างฃวางใหญ่โตไม่มีที่สุดถึงเพียงนี้ ตัณหาคือความโลภ เจตนานี่แลเปนเจ้าเงินฃองมนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายย่อมเปนทาษแห่งตัณหาสิ้นด้วยกัน ตัณหาเปนผู้กระซิบหัวใจ บังคับแนะนำให้กระทำการชั่วการบาปต่างๆ ทำให้ดิ้นรน ทะเยอทะยานไปไม่รู้สงบไม่รู้จบลงได้ ฝ่ายสัตวโลกยคือมนุษย์ชายหญิงเราท่านทั้งหลาย อยู่ในอำนาจของนายคือตัณหา นายบังคับมาอย่างไรก็ทำไปตามบังคับ ผิดก็ทำถูกก็ทำ ไม่ฝ่าฝืนขืนขัดนาย การงานฃองนายก็ไม่รู้หมดรู้สิ้น นายก็ใช้ไปจนหมดอายุไปชาติหนึ่งภพหนึ่ง แล้วนายก็ชักนำให้ไปถือเอาชาติอิกตั้งชาติตั้งภพขึ้นใหม่อิกเล่า หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ร่ำไป เพราะฉนี้แล ท่านจึงว่าสังสาระวัฎหมุนเวียนวนไม่มีที่สุด จนค้นหาเบื้องต้นไม่พบไม่ปรากฎ ด้วยกระแสแห่งตัณหาไหลไปไม่มีกำหนดฦกเลเภ ดังทเลอันฦกกว้างเหลือที่จะประมาณ ยากที่จะว่ายข้ามไปให้ถึงฝั่งฟากโน้นได้ เพราะฉนี้ท่านจึ่งว่าสรรพสัตวเวียนว่ายอยู่ในสังสาระวัฎคือทเลตัณหานี้เอง ก็ซึ่งว่าสัตว์โลกยเปนทาษแห่งตัณหานี้ บางพวกก็ไม่รู้สึกตัวเลยว่าตัวต้องเปนทาษของตัณหา เข้าใจเสียว่าตัวเปนไทยอยู่กับตัวไม่มีนายบังคับ ที่แท้นั้นนายเขาใช้อยู่เสมอทุกวันทุกเวลา บางคนก็รู้สึกตัวบ้าง แต่ถึงรู้ก็ไม่ฝ่าฝืนขืนขัดนายเขาได้ เพราะยอมใจให้ตกอยู่ในอำนาจของนายเขาแล้วก็ทำไปทั้งรู้ๆ นั้นเอง ก็อันบุคคลที่อยากจะหลุดพ้นอำนาจนายคือตัณหา อยากจะเปนไทยอยู่กับตัวนี้จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย เพราะว่าหนทางที่เปนอุบายจะทำตนให้หลุดพ้นจากทาษนั้นก็มีอยู่ แต่ตัวจะทำจะประพฤติฤๅจะไม่ประพฤติ ถ้าจะประพฤติแล้ว ต้องเปนคนรู้เท่านายขัดใจนายรำไป จนคิดฆ่านายคือตัวตัณหาให้ตายเสียได้เมื่อใด ตัวก็จะเปนไทยเมื่อนั้น ด้วยว่าการที่เปนทาษแห่งตัณหาไม่เหมือนกับเปนข้าเปนเจ้ากันในมนุษย์ ที่เปนนี่เปนทาษกันในมนุษย์นี้ เราเปนนี่อยู่เท่าไร เราจะมีเงินใช้เขาจนหมดนี้แล้ว ตัวเราก็พ้นจากทาษได้เปนไทย ก็อันเปนทาษแห่งตัณหานี้ ถึงจะมั่งมีทรัพย์จนล้นเหลือก็ไถ่ค่าตัวไม่ได้ไม่หลุด ต้องปองคิดฆ่าตัณหาให้ตายเสียอย่างเดียว จึ่งจะหลุดจะพ้นจากทาษ ก็อันจะสู้รบกับตัณหาจะฆ่าตัณหานั้น ก็มิใช่ง่าย ต้องเปนคนพยายามกล้าหาญมั่นคงไม่ท้อถอย หาอาวุธที่คมกล้าจริง ๆ จึ่งจะฆ่านายได้ ด้วยตัณหามีอำนาจมากนัก เพราะอาไศรยความข้อนี้นี่แล ท่านจึ่งสอนไว้ว่า ธรรมดานายโยธาผู้ฉลาด เมื่อจะทำการศึกสงครามเอาไชยชะนะข้าศึก เขาย่อมหาที่ไชยภูมิ์เปนที่มั่นก่อนตระเตรียมจัดโยธาพลากร แลสาตราวุธได้พร้อมเสร็จ แล้วก็ยกออกต่อสู้หมู่ประปักษ เอาไชยชำนะโดยสดวกฉันใด มนุษย์บุทคลที่คิดจะทำสงครามกับกิเลศ อยากจะฆ่านายโยธาคือตัณหาเสียให้ตายนั้น ก็ต้องหาที่ยุทธภูมิ์ให้เปนที่มั่นใจเสียก่อน ๚

๏ ก็อะไรเล่าเปนยุทธภูมิ์ที่มั่น ๚

ยุทธภูมิ์ก็คือศีลสัตย์สุจริตที่มั่นคงนี่เอง ประพฤติปฏิบัติดัดธรมารกายวาจาใจให้อยู่ในอำนาจของตัวให้จงได้ ชำระซักฟอกกายวาจาใจให้บริสุทธิตามภูมิศีลชั้นต่ำคือเบญจศีล ฤๅกุศลกรรมบถนี้ให้มั่นคงก่อนแล้ว บำเพ็ญศีลสัตย์สุจริตอื่นๆ ชั้นสูงๆ ต่อขึ้นไป ประพฤติเปนอาจิณสมาทารเปนปรกกะติตัวทีเดียว เปนอริยะกันตะศีลไม่รู้เศร้าหมองด่างพร้อย เมื่อบำเพญปฏิบัติในศีลให้มั่นคงดีเช่นนั้นแล้ว ชื่อว่าได้ไชยภูมิ์ที่มั่นเปนที่ยืนเหยียบได้แน่นหนาไม่จุลาจลที่นั้น ก็ตั้งหน้าพยายามประกอบความเพียรทำใจให้เปนสมาธิ คือทำใจให้มั่นแน่นอน ให้ผ่องใส ให้ห่างไกลจากเบญจนิวรณ ๕ คือกามะฉันท์ ๑ พยาบาท ๑ ถินะมิทธ ๑ อุทธัจจะกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ เกียจกันนิวรณเสียให้ห่างไกลอย่าให้เข้ามา เสียดแทรกครอบงำดวงจิตรได้ แล้วทำใจให้ตั้งมั่นให้ยึดอยู่ ในอารมณ์อันเดียวให้เปนเอกัคคะตา อย่าให้ฟุ้งส้านไปสู่อารมณ์อื่นๆ ทำใจให้แน่แน่วเปนหนึ่งนิ่งอยู่ที่เดียวมิให้ฟุ้งส้านไปสู่อารมย์อื่นๆ ได้บันลุฌานที่ต้น แลที่ ๒ ๓ ๔ } ตามลำดับ จิตรมีอำนาจชำนาญในฌานสมาบัติ จัดเปนสมาธิจีตร ๚

ก็การที่จะทำใจให้เปนสมาธิจิตรได้นี้ ต้องอาไศรยฝึกหัดผูกใจด้วยกรรมฐาน คือสะมะถะภาวนาที่จำแนกไว้โดยประเภท ๔๐ กระสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสสะติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ ธาตวุวัฐาน ๔ อาหาเรปฏิกละสัญญา ๑ ในกรรมฐาน ๔๐ นี้ จะผูกใจด้วยกรรมฐานบทใดบทหนึ่งก็ได้ ตามแต่จะเลือกกรรมฐานที่ชอบแก่จิตรจริยาของตัว บำเพญเพียรภารนาไปกว่าจะถึงอับปะนาบันลุ ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือวิตกวิจาระปีติ ศุขเอกัคคะตากำจัดเบญจนิวรณ์เสียได้ แล้วก้าวขึ้นถึงฌานที่ ๒ ละวิตก วิจาระเสียได้ ยังมีอยู่แต่ปีติ ศุขเอกัคคะตา แล้วย่างขึ้นฌานที่ ๓ ละปีติเสียได้ยังคงอยู่แต่ศุขแลเอกัคคะตา แล้วบันลุฌานที่ ๔ ละศุขเสียไม่มีทุกข์ไม่มีศุข ยังคงมีแต่เอกัคคะตาสิ่งเดียว ปราบปรามเผากิเลศอย่างหยาบอย่างละเอียด ด้วยกำลังฌานได้ดังนี้เรียกว่าทำใจให้เปนสมาธิ ๚

๏ แม้นถึงทำใจให้ระงับสงบดีได้ ถึงอย่างนี้ก็ยังฆ่าตัณหาไม่ตาย ต้องหาอุบายสร้างอาวุธที่คมกล้า คือวิปัสสะนาปัญญาอีกชั้นหนึ่ง ๚

วิปัสสะนานั้น คือเจริญอย่างไร ทำใจอย่างไร

๏ วิปัสสะนานั้นคือผูกอารมย์หน่วงเอาชาติชรา พยาธิ มรณะเปนหลักฐาน แลยกเอาสังขารขึ้นเพ่งพิจารณาให้แจ้งประจักษโดยลักษณ ๓ คือเหนว่าสังขารไม่เที่ยง รู้ผันแปรไม่ยั่งยืน ๑ สังขารเปนแต่กองทุกขไม่มีศุข ๑ สังขารเปนอนัตตา ๑ ใช่ตัวตนไม่เปนสัตว์ไม่เปนบุคคล สูญเปล่าทั้งสิ้น ๑ เพ่งสังขารด้วยลักษณ ๓ ตามลำดับวิปัสสะนาปัญญาจนถึงโคตรภูญาณ ก็จะได้ประสบปัญญาอย่างยิ่งซึ่งรู้จักของจริงทั้ง ๔ ประการ คือปัญญาอย่างรู้ ทุกข์อริยสัตย์ทุกขสมุทยะสัตย์ ทุกขะนิโรธอะริยะสัตย์ ทุกขะนิโรธคามินีปฏิปทาอริยะสัตย์ ตรัสรู้แจ้งจริงเปนสัจจากิสมัย บันดาทุกข์มีเท่าไร ก็กำหนดรู้เสียหมดสิ้นเชิง ทุกขสมุทัย คือกามะตัณหา ภวะตัณหา วิภะวะตัณหา ซึ่งเปนของก่อให้เกิดทุกข์ ก็สละละเสียได้ขาดเด็ด แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งทุกข์นิโรธ บันลุธรรมเปนที่ดับทุกข์ เจริญมรรคภวะนาแปรเจโลกีให้เปนโลกุดดรจิตร บันลุล่วงถึงอะริยมรรคาริยผลตามลำดับอริยภูมิ์ คือโสดาปัตติมรรค เปนต้น อระหัดตะผลเปนที่สุด หลุดพ้นจากชาติชราพยาธิมรณ ฆ่าตัณหาตายทำลายกิเลศออกตัวเปนไทยไม่เปนทาษแห่งตัณหาต่อไป ๚

๏ นี่แลท่านทั้งหลายจงรู้เถิดว่า บุทคลที่อยากละหลุดพ้นจากอำนาจนายคือตัณหา ต้องบำเพณศีลสัตยสุจริตให้เปนภูมิ์พื้น เปนที่ยืนให้แน่นหนามั่นคงเสียก่อน เหมือนภาสิตคำสอนท่านกล่าวไว้ ศีเลปติฏฐายะนะโรศบัญโญ จิตตังปัญญัญจะภาวะยํ ว่าบุคคลมีปัญญาดี อยากจะปลดเปลื้องตนให้พ้นจากอำนาจตัณหา ก็พึงตั้งอยู่ในศีลรักษาศีลให้บริสุทธิทั้งกายวาจาใจ แล้วจึ่งทำใจให้เปนอธิจิตร คือทำใจให้เปนสมาธิแล้วเจริญวิปัสสะนา ทำอธิปัญญาให้เปนขึ้นมีขึ้นได้แล้วก็จะฆ่าทุกขสมุทัย คือตัวตัณหาให้พินาศด้วยดาบอันคมกล้า คืออริยมรรคปัญญาทั้ง ๔ ประการ ๚

๏ อนึ่งท่านกล่าวไว้ ศีละปริภาวีโตสมาธิ มหับผโลโหติมฺหานิสังโส สมาธีปรีภาวิตา ปัญา มหับผะลาโหตีมหานีสัง สาปัญา ปริภาวีตํจีตตัง สัมมะเทวะอาสะเวหีวีมุจจะตี ยะทีทังกามาสะวา ภะวาสะวาอวีชชาสะวา

๏ เนื้อความว่า ศีลเปนของสำหรับอบรมสมาธี เพราะว่าศีละสังวรความที่ระวังศีลนั้น ก็กันใจให้คับแคบเข้ามามากอยู่แล้วไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งสร้านไป นี้ก็เข้าหนทางแห่งสมาธีโดยตรง ศีลสังวรอบรมสมาธีให้มีผลใหญ่มีอานิสงษ์ใหญ่แรงกล้าขึ้นแล้ว สมาธิก็อบรมบ่มปัญาต่อไป วีปัสสะนาปัญา เมื่อได้สมาธิอบรมจัดแก่กล้าแล้วก็มีกำลังมากขึ้นอบรมจีตรต่อไป ดวงจิตรนั้นเมื่อปัญาอบรมแรงกล้า ปัญาฟอกจิตรให้แจ่มใสบริสุทธิอย่างอุกฤษฐ จิตรก็หลุดจากกิเลศซึ่งเปนน้ำดองสันดานทั้ง ๓ ประการ คือ กามาสะจะ ภาวาสะวะ อวิชชาสะวะ ๚

๏ กามาสะวะนี้อะไร ๚ กามาสะวะถ้าจะว่าง่าย ๆ ก็คือตัวโลภ ตัวตัณหานั่นเอง ความปราถนาอยากได้ แลความชอบใจหวงแหนอาไลยในกามะคุณ คือพัสดุกามกิเลศะกาม ก่อให้เกิดวิบากข้องอยู่ในกามะภพ นี่แลเปนกิเลศดองอยู่ในสันดานสัตว์ไม่มีที่สุด ท่านจึ่งเรียกว่ากามาสะวะมันดองเปนเชื้ออยู่ร่ำไป ๚

๏ เมื่อจะจัดเปนนิวรณ์ ท่านเรียกว่ากามะฉันทนิวรณ เมื่อจะจัดโดยตัณหา ท่านก็เรียกว่ากามะตัณหา แลกามะโยคะกามะโอฆะกามะสัญโญชนะ ยักย้ายไปต่าง ๆ ตามอาการของกามะที่แปลกๆ ไป ถ้าจะว่าโดยเนื้อความก็อันเดียวกัน ถ้าจะกล่าวว่ากามาสะวะก็ตลอดถึงกันหมด ๚

๏ ภวาสะวะว่าภพ คือความเปนความเกิดเปนกิเลศดองสันดานอย่างหนึ่ง อธิบายว่าความอาไลยรักใคร่ในความเกิดความเปนในภพต่าง คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ เกิดในภพใดๆ ก็ยินดีเพลิดเพลินอาไลยในภพนั้น ๆ ไม่ถอนฉันทอาไลยได้ความยินดีในภพก็เปนกิเลศดองอยู่ในสันดาน ดังนี้เรียกว่าภะวาสะวะ ๚

๏ อวิชชาสะวะนั้นว่าน้ำดอง คืออวิชชา อวิชชานี้ แปลว่าความโง่เขลาไม่รู้เท่าสังฃาร แลไม่รู้ประจักษแจ้งในอริยสัตย์ของจริง ไกลข้าศึกคือกิเลศ ๔ ประการ ถ้าจะกล่าวโดยโวหารให้เหนง่ายๆ ก็คือโมหะความหลงที่เปนกองมืดปิดบังญาณะจักษุเสียไม่ให้เหนของจริงโดยอริยสัตย แลชักให้หลงเคลีบเคลีมเปนเบื้องน่า สังฃารเปนของไม่เที่ยง แลเปนแต่กองทุกขใช่ตัวตน ก็หลงเหนไปว่าสังขารเที่ยงแท้ยั่งยืน แลเหนว่าเปนศุขแลเหนว่าเปนตัวตน ความที่หลงเหนไหลไปตามกระแสกิเลศ เช่นนี้ แลเรียกว่าอวีชชาเปนกิเลศดองอยู่ในสันดานอย่างหนึ่ง ๚

๏ ปัญญาพีเศศซึ่งได้นามว่าอะระหัดตะมรรคญาณอบรมดวงจิตรให้เปนวิมุตติ์ หลุดพ้นจากอาสะวะทั้ง ๓ ประการดังกล่าวมานี้ นี่แลเปนอันฆ่าตัณหาตายทำลายล้างกิเลศให้หมดสิ้นบริสุทธิสอาด พ้นจากความเปนทาษตัณหาด้วยประการทั้งปวง ๚ พระมหาสุปัศสีดาบศสำแดงลักษณวิธีฆ่ากิเลศจบลงแล้ว จึ่งว่าแก่ศิศยทั้งหลายว่า ธรรมวิเศศเช่นนี้ ตัวข้าพเจ้าก็ยังไม่ได้ไม่ถึงดอก แต่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ตามไนยที่ท่านกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ต่าง ๆ ท่านพรรณาไว้โดยไนยะวิจิตรพิษดาร สุขุมละเอียดนัก ฯข้าฯ จำได้เปนเอกะเทศแต่หยาบๆ พอเปนเลาความให้รู้ว่าศีลสัตยสุจริต เปนต้นทางของธรรมวิเศศ ซึ่งเปนของฆ่ากิเลศตายทำลายล้างอำนาจแห่งตัณหา ทำตนให้หลุดพ้นจากความเปนทาษ โดยคดีธรรมด้วยวิธีดังกล่าวมานี้ ๚

๏ ฤๅษีซึ่งเปนศิศย์ทั้งปวงก็ชื่นชมโสมนัศซ้องสาธุการพร้อมกัน แล้วจึ่งถามว่าข้าแต่พระอาจารียเจ้า ทานํ ทานการให้คารบบริจาคนี้ไม่เปนบุญเปนกุศล ฤๅเปนบุญอย่างต่ำอย่างทราม ท่านจึ่งไม่ยกขึ้นเปนต้นทางของธรรมวีเศศอันนี้ ๚

๏ พระมหาสุปัศสีตอบว่า ซึ่งจะดูหมิ่นดูถูกเสียว่าทานเปนของที่ต่ำช้าเลวทรามนั้นก็ไม่ควร ทานก็เปนบุญเปนกุศลสำหรับกำจัดโลภตัดมัจฉรียะได้ ก็เปนพนักงานปราบปรามกิเลศอยู่ฝ่ายหนึ่ง แล้วก็เปนสับบุรีสบัญญัติ ผู้มีปัญญาเหนคุณเหนอานิสงษ์แล้ว จึ่งได้บัญญัติจัดตั้งเปนธรรมเนียมไว้สำหรับโลกย์ คู่กับเบญจเวระวิรัต คือศีล ๕ แลกุศลกรรมบถ ก็แต่ว่าการให้ทานนั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ๚ อย่างไรจึ่งว่าง่าย อย่างไรจึงว่ายาก ท่านทั้งหลายรู้ฤๅฤๅไม่ ๚

๏ ดาบศพวกศิศยทั้งหลายตอบว่า ฯข้าฯ ทั้งหลาย ก็เข้าใจอยู่บ้างแต่ไม่ทราบละเอียดพิษดาร ฃอพระคุณเจ้าได้โปรดสำแดงโดยพิษดารเถิด ฯข้าฯ ทั้งหลายจะได้จำไว้เปนข้อปฏิบัติต่อไป ๚

๏ พระมหาสุปัศสีจึ่งสำแดงประเภทของทาน ว่าซึ่งว่าทานทำง่ายนั้น คือคนที่มิได้คิดว่าให้ทานอย่างไรจะมีผล ให้อย่างไรจะมีผลมาก ให้อย่างไรจะมีผลน้อย มิได้คิดที่จะหาเขตรหาผลอะไร เหนเขาให้ก็ให้ไปตามๆ เขามีแต่ของก็ให้ไป เช่นนี้ว่าทานทำง่าย ๚

๏ ซึ่งว่าทำยากนั้น คือว่าทาน ๆ นี่แปลว่าให้ สุดแต่ว่าให้แล้วก็เรียกว่าทานทั้งสิ้น ก็แต่ว่าทานที่เปนบุญก็มี ทานไม่เปนบุญก็มี คนให้สุรายาพีศม์ ให้หอกดาบแหลนหลาวปืนผาเครื่องอาวุธต่างๆ เปนทาน ท่านไม่นับว่าทาน ไม่เปนบุญเปนกุศล ๚

๏ ผัวให้แก่ภรรยาบิดามารดาให้แก่บุตร แขกมาหาหาเข้าเลี้ยงแขกเหล่านี้ ไม่ควรนับว่าทาน อนึ่งเลื่อมใสในคุณพระสงฆ์หมอยาดี พระช่างฝีมือดี พระหมอน้ำมนต์ดี เลขยันต์ขลังดี มีเข้าของอะไรเอาไปถวายเพื่อหวังความดีนั้น ๆ จะหมายไว้เปนที่พะพิงพึ่งพาอาไศรยอย่างนี้ก็ไม่นับว่าทาน ๚

๏ จะทำการมงคลตัดจุกบุตร การบ่าวสาวหาของเลี้ยงท่านที่มาช่วยงาน ก็ไม่นับว่าทาน ของที่เลี้ยงพระสงฆ์แลของถวายพระสงฆ์ จะนับว่าทานก็ไม่สู่สนิท คล้ายกับหาพระสงฆ์มาช่วยทำการมงคล ๚

๏ ถึงในการศพก็คล้าย ๆ กัน หาเข้าของเลี้ยงพวกพ้องที่มาช่วยการศพ หาพระสงฆ์มาสวดประจำศพ รุ่งเช้าเลี้ยงพระสวดนิมนต์บังสกุลทุกวัน ๆ ถวายไตรยเครื่องสังเฆ็ด แก่พระสงฆเจ้าของเครื่องศพ พระทำดอกไม้เพลิงเหล่านี้ก็เปนทานไม่สนิท ๚

๏ อิกอย่างหนึ่งทำบาปมาทำบุญ คือฆ่าเนื้อเบื่อปลามาทำของเลี้ยงพระสงฆ์ เช่นชาวบ้านนอกจะทำบุญให้ทานเปนการใหญ่ ฤๅใกล้ตรุศใกล้สงกรานต์แล้วก็ชักชวนกันไปหาปลามาทำน้ำยาแลต้มแกงไปทำบุญดังนี้ก็ดี อิกอย่างทำโจรกรรมแลคี่ฉ้อตอแหล ตลบแตลงฉ้อเบียดบังเอาทรัพยสิ่งสีนของผู้อื่น ได้มาแล้วเอาทรัพยที่หาได้โดยไปชอบธรรมนั้นมาทำบุญก็ดี บุญเหล่านี้เปนทานมีมลทิน เหมือนดาบมีดมีสนิม ด้วยเปนทานไม่บริสุทธิ ยากที่จะตัดสินว่าเปนบุญฤๅไม่เปนบุญ ๚

๏ อิกอย่างหนึ่งมีเทศน์มหาชาติ เลือกหาพระสงฆ์สามเณรที่เทศเพราะเทศเล่นตลกคนองเฮฮามาก เครื่องกัณฑ์และเงินรางวัลจะเสียมากก็ไม่เสียดาย นิยมชมกันว่าได้บุญมาก ถ้าจะว่าโดยที่จริงก็เหนจะได้แต่คำยอคำสรรเสริญมีหน้ามีตา เปนคนใจศรัทธาใจบุญกว้างขวางเท่านั้นเอง ของที่บริจาคออกไปนั้นจะตกลงในบุญในกุศล ฤๅจะเปนเหมือนของตกน้ำจมไปก็ไม่ทราบเลย มีเทศนามิลินท์มาไลยให้พระสงฆปุจฉาวิสัชนาเอาแพ้เอาชะนะกัน ก็คล้ายมีเทศนามหาชาติไม่สู้แปลกอะไรกันนัก ๚

๏ อิกอย่างหนึ่งทำบุญให้ทานเปนเแข่ง เอาแพ้เอาชะนะกันด้วยของมากแลของน้อย ของดีแลของเลว แลด้วยพวกมากพวกน้อย เพราะเปนการบุญเจือกีเลศ ในการทำบุญให้ทานเปนของเจือๆ ด้วยกิเลศ ท่านจัดไว้ ๓ อย่าง อุปกิฬกา ๑ อุปทูสิกา ๑ อุปมัฬหิกา ๑ เปน ๓ สฐาน

๏ อุปกิฬกานั้นทำบุญแกมเล่นเช่นดังว่ามาแล้ว เปนฝ่ายราคะฝ่ายโลกย์ ๚

๏ อุปทูสีกา คือทำบุญแลประทุษร้ายในการบุญ เหมือนให้ทานแล้วโกรธขึ้งด่าว่าเฆี่ยนตีบ่าวทาษแลคนอื่นในสมัยเมื่อทำบุญให้ทาน อนึ่งเรี่ยไรเงินทองเข้าของต่าง ๆ ว่าจะก่อสร้างอะไร ๆ ฤๅจะทำบุญอะไร ๆ แล้ว คิดประทุษร้ายแก่การบุญนั้นเสียให้พินาศสูญไป เบียดเอาทรัพยนั้นมาเปนอาณาประโยชน์ของตัวเสีย อย่างนี้ก็เปนอุปทูสิกาเปนฝ่ายโทสะ ๚

๏ อุปมัฬหีกา คิดทำบุญให้ทานก็หลงๆ ทำไป ใจโลเลไม่เปนหลักถาน มักจะไหล ๆ ไปตามคนอื่นเขา เอาคนอื่นเปนหัวหน้า ไม่ได้ใช้สติปัญญาของตน ไตร่ตรองให้เหนลงโดยถ่องแท้ ว่าการสิ่งนี้จะเปนบุญเปนกุศลจริงฤๅไม่จริง ไม่เปนธุระที่จะไต่สวนเอาความจริงให้ประจักษทักแท้ ทำก็ทำด้วยจิตรใจไหลเล่อตื้น ๆ เผิน ๆ ไม่แน่นหนามั่นคงลงที่ตรงไหน ใครเขาว่าอย่างไรก็ไหลไปอย่างนั้น อย่างนี้เรียกว่าอุปมุฬิกา เปนฝ่ายข้างโมหะ ๚

๏ ทำทานถ้าตกลงในอุปะกิเลศ ๓ สฐานนี้แล้วก็เปนทานไม่บริสุทธิ ๚

๏ ทานนี้เปนของข้องระคนด้วยมลทินโทษเช่นนี้ยังมีบริยายมาก จะพรรณาไปไม่สิ้นสุด ท่านทั้งหลายพึงรู้พอเปนกระทู้ความเถิด ๚

ดาบศทั้งหลายจึ่งถามว่า พระคุณเจ้าข้า พระคุณพรรณาทานฝ่ายข้างไม่มีผลแลมีผลบก ๆ พร่องๆ ไม่เต็มภาคเต็มภูมิ์ดังนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายพอกำหนดรู้เข้าใจได้แล้ว แลทานที่เปนบุญเปนกุศลมีผลเต็มภาคภูมิ์นั้น คือบริจาคอย่างไร ฃอพระคุณโปรดแสดงวิธีทานที่เปนทานบริสุทธิ ให้ข้าพเจ้าทราบเปนทางปฎีบัติต่อไป ๚

๏ พระมหาดาบศจึ่งสำแดงประเภททาน ว่าทานทั้งหลายจำเค้าต้นไว้ให้แน่ก่อน ทานํ แปลว่าความคิดตกลงปลงใจที่จะให้ทานอย่าง ๑ นี่คือตัวทานะเจตนา ๚ ทานัง แปลว่าเครื่องสำหรับให้อย่างหนึ่ง นี่คือสิ่งของที่จะให้ทาน เมื่อเจตนาที่จะให้แลสิ่งของจะบริจาคแลปติคาหคผู้รับ พร้อมทั้ง ๓ แล้ว ก็สำเร็จเปนทานได้ แลทานนั้นมีลักษณเครื่องหมาย ๒ ประการ คือให้ด้วยการสงเคราะห์เปนส่วนกรุณา ๑ ให้เพื่อบูชาคุณอย่าง ๑ การที่ได้เหนคนยากคนข้นไร้ ฤๅคนชราพิการทำมาหากินไม่ได้ ก็เกิดความกรุณาคิดว่าเรามีทรัพยสิ่งสินพอที่จะเฉลียให้ความศุขแก่คนเหล่านี้ที่มีชาตีเปนมนุษย์เหมือนกัน คิดดังนี้แล้วให้ไป ฤๅแก่สัตว์เดียรัจฉานด้วยกรุณา อย่างนี้เรียกว่าให้ด้วยกรุณา อนึ่งคิดว่าสนณะบรรพชิตเปนจำพวกไม่มีเย่าเรือนเรือกสวนไร่นา เปนพวกไม่คิดทำมาหากินสะสมพัสดุเงินทอง เปนแต่คิดจะฃอเขากินไปมื้อหนึ่งๆ พอกำลังที่จะประพฤติพรหมจรรย์ คิดเหนลงฉนี้แล้วเกื้อกูลแก่สมณะบรรพชิตด้วยอาหารบิณฑบาต แลเสนาศนเปนต้นอย่างนี้เรียกว่าให้ทานด้วยการสงเคราะห์แลกรุณา ๚

๏ บุคคลเพ่งต่อคุณระฦกถึงคุณบีดามารดาทีี่ได้บำรุงเลี้ยงตัวมา ฤๅคิดถึงคุณครูอาจาริย์ที่ท่านสั่งสอนตัวมา แลคิดถึงคุณท่านผู้ใดๆ ซึ่งให้อนุเคราะห์อุปถัมภ์ตัวมา แล้วสละบริจาคสิ่งของออกให้ปันแก่บิดามารดาเปนต้น โดยทางกตัญญูกะตะเวที อย่างนี้เรียกว่าให้ทานเพื่อบูชาคุณ

๏ อนึ่ง บุคคนคิดเหนว่าตัณหาราคาที่กิเลศเปนของสละยากจะตัดให้ขาดสูญจากสันดาน เปนการยากที่สุด พระอรหังสัมมาสัมพุทธเจ้า แลพระอรหันต์ขีณาศพพูทธสาวก ล้วนสละตัดกิเลศขาดได้เปนคุณพิเศศเปนอัศจรรย์ สมควรบูชาท่านโดยแท้ คิดเหนลงเปนแน่แก่ใจ แล้วบริจาคอาหารวรามิศเครื่องสักการะออกบูชา อย่างนี้ก็เรียกว่าให้เพื่อบูชาคุณ ประเภททาน ๓ อย่างนี้ เปนทานบริสุทธิมีผลมาก ๚

๏ อิกอย่างหนึ่ง ทานท่านจัดเปนทานมีผลมากผลน้อยโดยผู้ให้ผู้รับ บางที่ทายกเปนคนมีศีลบริสุทธิ ให้ทานแก่ปฏิคาหกทุศีล ทานเช่นนี้บริสุทธิแต่ฝ่ายผู้ให้ ผู้รับไม่บริสุทธิ ให้ผลไม่เต็มภูมิ์ ๑๚ บางทีผู้ให้เปนคนทุศีลแต่ผู้รับเปนคนมีศีล ทานเช่นนี้บรีสุทธีแต่ผู้รับ ผู้ให้ไม่บรีสุทธิ ก็มีผลไม่เต็มภูมิ์ ๒๚ บางที่ผู้ให้เปนคนทุศีลผู้รับเปนคนทุศีล เช่นนี้เปนทานไม่บริสุทธิทั้ง ๒ ฝ่าย ทานดังนี้ดูเหมือนจะเสียของเปล่าน่าเสียดาย ๓ บางทีผู้ให้ก็มีศีลบริสุทธิ ผู้รับก็เปนผู้มีศีลบริสุทธี เช่นนี้เรียกว่าทักขิณาวิสุทธิ มีผลมากเต็มภาคเตมภูม เปนทานอย่างดี ผู้ที่คิดจะให้ทานต้องคิดให้ได้พร้อมมูลอย่างนี้ ๚

๏ ท่านจัดทานอีกประเภทหนึ่งเปน ๒ อย่าง ปาฏิปุคคลิกทานํ ๑ สํฆะสทานํ ๑ ให้ทานจำเภาะตัวบุคคลที่เราชอบใจ เหมือนอย่างเราจะทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านเรา เราก็เลือกนิมนต์พระ ๕ ๓} องค์ตามที่เราชอบพอ อย่างนี้เปนตัวอย่าง เรียกว่าปาฏิบุคคะลิกะทาน ถ้าให้ทานไม่ฉเภาะตัวบุคคล ตั้งใจอุทิศต่อพระอริยะสงฆที่สิ้นอาสะวะกิเลศ คือองค์พระอรหันตขีณาศพเปนต้น เรียกว่าสังฆทาน ๚

๏ สังฆทานนี้ทำยาก ยากที่จะตั้งใจให้ตรงต่อพระอริยะสงฆ์ได้จริง ๆ บางทีเค้าเดิมก็ตั้งใจว่าจะทำสังฆทาน ครั้นทานของตนไปได้แต่พระที่ตัวชอบ ก็โสมนัศปิติยินดีมาก ถ้าไปได้แก่พระที่ตัวไม่ชอบก็เกิดโทมนัศเสียอกเสียใจ ทานเช่นนี้ดูเหมือนจะไม่เปนสังฆทาน เพราะไปเพ่งเล็งเอาตัวบุคคลเสีย ๚

๏ เรื่องนี้ก็มักจะมีชุมๆ ชาวบ้านที่ชักชวนกันไปถวายสลากภัตรแก่สงฆทั้งพระอาราม กลับมาบ้านแล้วพูดจากันต่าง ๆ ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เนือง ๆ บางคนพูดว่า สลากภัตรของข้าวันนี้ถูกเจ้าคุณถูกคุณปลัดคุณสมุหสมอย่างข้านึกข้าหมาย ข้าดีใจนัก ๚

๏ บางคนพูดว่า สลากภัตรข้าวันนี้ เข้าของ ๆ ข้าก็มากแต่ล้วนของดี ๆ น่าเสียดายไปถูกพระเขมรพระลาวเสียได้ ถ้าไปถูกเจ้าคุณเจ้า ฤๅคุณปลัดก็จะดีทีเดียว ที่พูดออกมาอย่างนี้ก็เปนอันสำแดงว่าใจของเขาเปนเช่นนั้น ทำให้เสียทางวิธีสังฆทาน น่าเสียดายนัก ทำบุญทอดกะฐินก็คล้าย ๆ กันกับสลากะภัตรดังว่ามานี้ แลสังฆทานนี้สำคัญที่ตั้งใจให้ตรงต่อพระอริยสงฆ ซึ่งปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระที่สงฆสำแดงให้นั้น จะเปนองค์หนึ่งองค์ใดก็ตามเถิด เราต้องตั้งใจให้ตรงว่าเราบริจาคทานแก่พระอริยเจ้าซึ่งเปนต้นเปนเดีม ท่านผู้นี้เหมือนเปนผู้แทนพระอริยะสงฆ แล้วให้บำรุงจิตรศรัทธาของตนให้ดำรงคงที่อยู่ดังนี้ให้จงได้ อย่าให้เอนเอียงไปดังว่าแล้ว จึ่งจะเปนสังฆทานแท้ เรื่องนี้มีแบบอย่าง เหมือนอุบาสกผู้หนึ่ง เปนคนรู้วิธีทำสังฆทาน วันหนึ่งจัดหาของที่จะถวายสังฆทานไว้เสร็จแล้ว จึ่งไปขอสงฆ์ต่อพระภัตตุทเทศในพระอาราม พอเวลาเช้าพระที่ได้สมมุตจากพระภัตตุทเทศก็มายังบ้านอุบาสก ๆ แลเหนก็รู้จักว่าพระรูปนี้เปนพระทุศีล ก็เสียใจแล้วกลับคิดได้ เราจะทำบุญแก่พระนี้เมื่อไรเล่า เราตั้งใจจำเภาะต่อพระอริยะสงฆมิใช่ฤๅ พระรูปนี้และคือพระอริยะสงฆเจ้าแล้ว อุบาสกกลับจิตรดำรงศรัทธาของตนดีแล้ว ก็ลุกออกไปต้อนรับไหว้กราบโดยเคารพอย่างยิ่ง ล้างเท้าเช็ดเท้า น้ำมันทาเท้าแล้ว อาราธนาให้นั่งบนอาศนที่ตนตกแต่งไว้ แล้วถวายภิกขาหารไทยธรรมอันประณีตโดยนิปัจการะเคารพแล้วตามไปส่งจนถึงประตูบ้าน ใจอิ่มเอิบด้วยทานที่ตนได้บำเพ็ญ ครั้นเวลาเย็นพระที่มารับสังฆทานเมื่อเวลาเช้านั้นมายืมเสียมอุบาสก ว่าจะเอาไปถางหญ้าวัด อุบาสกเอาเท้าคีบเสียมเหวี่ยงไปให้ ๚

๏ คนในบ้านเหนอาการอย่างนั้นก็แปลกใจนัก จึ่งถามว่าท่านเจ้าข้า พระองค์นี้มาเมื่อเวลาเช้า ข้าพเจ้าเหนท่านเคารพไหว้กราบเปนการเคารพอย่างยิ่งทีเดียว ครั้นเวลาเย็น ข้าพเจ้าเหนท่านสำแดงอาการอยาบคายห่างไกลกัน กับเวลาเช้านักหนา น่าอัศจรรย์แปลกใจนักเปนด้วยอย่างไรเจ้าข้า ๚

๏ อุบาสกตอบว่าเมื่อเวลาเช้าวันนี้ ข้าพเจ้าไหว้เคารพพระรูปนี้เมื่อไร ข้าพเจ้าตั้งใจนมัสการ ไหว้กราบพระอริยสงฆต่างหาก พระรูปนี้เธอเปนพระเมื่อไร เปนคนทุศีลจอมปลอมเพศสมณะเท่านั้น ข้าพเจ้าจะต้องไหว้เธอทำไม ๚

๏ เรื่องอุบาสกนี้แลควรที่คนจะถือเปนแบบอย่างในการตั้งใจ ให้ถูกต้องตามวิธีสังฆทาน อนึ่งมีบทบังคับว่าผู้ที่จะถวายสังฆทาน ถ้าไปนิมนต์เอาเองก็ไม่เปนสังฆทาน จำเภาะต้องฃอสงฆ พระสงฆในอารามสำแดงให้จึ่งจะเปนสงฆ แลพระที่เราควรจะฃอสงฆ์นั้น คือฃอต่อท่านอธิบดีสงฆในอารามนั้น ๆ ฤๅฃอต่อท่านที่สงฆสมุตไว้ ให้เปนผู้แจกลาภสงฆซึ่งได้นามสมมุตว่า ภัตตุเทส นี่เปนตรงทีเดียว ฤๅจะสั่งพระสงฆสามเณรให้ช่วยฃอสงฆต่อพระภัตตุทเทศก็ควร ซึ่งจำเภาะให้ฃอพระภัตตุทเทศนี้ เพราะท่านเปนพนักงานแจกลาภสงฆ ท่านรู้บาญชีว่าใครได้แล้วฤๅใครยังไม่ได้ จะได้แจกเฉลี่ยให้ทั้วสงฆตามลำดับ พระที่มิใช่พนักงานก็ไม่รู้บาญชีแจกไม่ถูก เหมือนที่ลางบ้านเขาถวายสังฆทานทุกวัน ๆ เขาฃอสงฆเสียครั้งเดียวว่า ฃอพระสงฆ์ไปรับสังฆทานที่บ้านข้าพเจ้าวันละองค์ๆ จนหมดพระสงฆ์ในพระอาราม ฃอดังนี้ควรถูกต้องตามวิธีสังฆคะตาทักขิณา ๚

๏ สังฆทานที่ทำถูกต้องตามวิธี ดังกล่าวมานี้แลท่านสรรเสริญว่ามีผลมีอานิสงษมากกว่าปาฏิปบุคคลิคะทาน หลายเท่าหลายส่วน เราประมวญประเภททานมาพรรณาให้ท่านทั้งหลายฟัง ตามที่เราได้รู้มาโดยภาสีตของท่านวิญญูบัณฑิตยสืบ ๆ มาแต่โบราณ ท่านทั้งหลายเข้าใจแล้วฤๅ ดาบศศิศยทั้งปวงรับว่าสาธุ ข้าพเจ้าฟังได้ความสว่างกระจ่างใจหมดสงไสยแล้ว ฃอจำทรงไว้เปนข้อปฏิบัติต่อไป ๚

๏ พระมหาดาบศจึ่งว่า ทานเช่นกล่าวมานี้มีผลมีอานิสงษเปนทีฐะธรรมเวทนิย เหนประจักษในภพนี้บ้าง เปนอปราปรเวทนิยให้ผลในภพต่อ ๆ ไปบ้างตามเจตนากล้าแลอ่อน ๚

๏ ถ้าจะว่าโดยอานิสงษเปนสรรพสาธรรณนั้น ท่านว่าไว้ว่า ททํ มิตตานิตัณฐติ ว่าการบริจาคแจกบ่ายให้ปันนี้เปนของผูกพันยึดหน่วงมิตรไม้ตรีไว้ไม่ให้ห่างเหินร้าวราญ แลเปนของจะชักสมานไม้ตรีให้สนิทชิดชมได้ อันนี้เปนผลอย่างต่ำสำหรับโลกยทั้วไป ไม่เลือกชาติใดภาษาใด ย่อมเปนที่เอื้อเฟื้อยินดีด้วยกันทั้งหมด ท่านทั้งหลายพึงลงใจ สันนีฐานเถิดว่าทานที่บริสุทธิดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็เปนบุญเปนกุศล แลเปนต้นทางที่จะดำเนิน ให้ถึงธรรมอันบริสุทธิได้ แต่ยังห่างกว่าศีล แล้วเปนของทำยากกว่าศีล แต่ในโลกยทุกวันนี้เขาว่าทำทานง่ายกว่ารักษาศีล ฝ่ายนักปราชญ์ท่านตริตรองว่าบำเพญศีลง่ายกว่าให้ทาน เพราะว่าจะให้ทานนั้นต้องพร้อมด้วยจาคะเจตนา ๑ ไทยธรรมของที่จะให้ ๑ ปฏิคาหคผู้รับ ๑ ใน ๓ สิ่งนี้ ถ้าขาดแต่สักสิ่ง ๑ ก็ไม่สำเร็จเปนทานได้ ทานยังต้องอาไศรยผู้อื่นอยู่ฉนี้ จึ่งว่าทานนี้ทำยาก อนึ่งทานจะมีผลมากก็อาไศรยแก่ศีลเช่นยังกล่าวไว้ในทักขิณาวิสุทธินั้นแล้ว นักปราชท่านจึ่งเหนลงว่ารักษาศีลง่ายกว่าให้ทาน เพราะไม่ต้องอาไศรยใครแลไม่ต้องตระเตรียมหาอะไร เสร็จอยู่ในตัวของตัว จะต้องหาก็แต่ศรัทธาความเชื่อกรรมเชื่อผล ๑ สติให้มั้นหมั่นตฤกรฦระวังศีล ๑ ความเพียรประคองรักษาศีล ๑ ปัญญาที่จะรู้จักศีลที่จะบริสุทธิแลมัวหมอง ๑ มีทุนเพียงเท่านี้ก็เปนสำเร็จการที่จะรักษาศีลได้ ศีลจะบริสุทธิก็เพราะใจของตัว จะเศร้าหมองก็เพราะใจของตัว ไม่ต้องอาไศรยผู้อื่น ง่ายกว่าให้ทาน ประการหนึ่งศีลนี้เปนของใกล้ชิดกับสะมาธิ เปนเครื่องอบรมสะมาธิให้แน่นหนามั่นคงแก่กล้าขึ้นไป เมื่อสะมาธิมีกำลังกล้าแล้วจะอบรมปัญญาให้ไพรบูลย์ ให้เหนแจงประจักษชัดในสังขาร ที่เปนของไม่เที่ยงแลเปนทุกข์มิใช่ตัวตน เมื่อปัญญาอย่างวิเศศอบรมจิตรให้แจ่มใสเหนแจ้งโดยจตุสัจจะญาณ กำหนดกองทุกขสิ้นเชิง แลสละละสมุทัย คือตัณหาอันเปนตัวก่อทุกข์ แล้วทำให้แจ้งบันลุถึงธรรมที่ดับทุกข คือนฤพานดำเนินปฏิบัติตามหนทาง ที่หลิกเลี่ยงห่างไกลข้าศึกกิเลศ คือดำเนินด้วยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ มีสัมมาถิฐิเปนต้น สัมมาสะมะธิเปนที่สุด ที่นั้นจิตรก็จะเปนวิมุติหลุดพ้นตัณหาอาสะวะกิเลศด้วยประการทั้งปวง ทำชาติชราพยาธิมรณะ แลกองทุกข์ทั้งปวงให้ดับสนิท ไม่มีเชื้อจะติดต่อไป มีแต่บรมศุขไม่มีทุกข์เจือปนเลย ท่านเรียกว่าเอกันตะบรมศุข คือละอุปาทิเศศะปรินิพพานหนทางปฏิบัติเช่นดังข้าพเจ้ากล่าวมาทั้งปวงนี้ ท่านผู้ไปพ้นกิเลศมีสันดานบริสุทธิ คือพุททาทิบัณฑิตย์ท่านชี้แจงสั่งสอนไว้ เพื่อจะให้สรรพสัตวในโลกย์ที่มีปัญญาจักษุ ได้ประพฤดิปฏิบัติดำเนินตามทางของท่าน ที่ท่านได้ดำเนินมาแล้วนั้นทุกประการ ท่านทั้งหลายฟังแล้วอุส่าตั้งจิตรกำหนดไว้ปฏิบัติเถิด ดาบศศิทย์ทั้งปวงรับคำสั่งแลสาธุการพร้อมกันด้วยความปรีดาภิรมย์พร้อมกัน ๚

----------------------------

จบเรื่องมหาสุปัศสีชาฎกเท่านี้

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ