พระมหาโมคคัลลานะเถร ทรมานพระยานันโทปนันทนาคราช

นันโทปนันทสูตร คำหลวง

พระมหาโมคคัลลานะเถร ทรมานพระยานันโทปนันทนาคราช

จบบริบูรณ

สุสฤท์ธิกฤต๎ยปฤษเฎน์ตัม์ โพธิาณัม์ สุลาภัม์

----------------------------

นโม ตัส์ส ภควโต อรหโต สัม์มาสัม์พุท์ธัส์ส

นัน์โทปนัน์ทภุชคํ วิพุธํ มหิท์ธึ

ปุต์เตน เถรภุชเคน ทมาปยัน์โต

อิท์ธูปเทสวิธินา ชิตวา มุนิน์โท

ตัน์เตชสา ภวตุ เต ชยมังคลานี

นมัส์สิต๎วา ชินพุท์ธํ สัท์ธัม์มมล์ปิ จ
อริยสํฆมุต์มตมํ สามภาสาย สิลิฏ์ํ
นัน์โทปนัน์ทนามกํ วัก์ขามิ ปวรํ วัต์ถุํ
ตัส์ส วสาหมัส๎มิ นุปัท์ทวัน์ตรายโก

อหํ อันว่าข้า สิริปาโล นาม ผู้ชื่อมหาสิริบาล เมื่อในกาลบรรพัช ครั้นนิวัตรนิเวส เปนกระษัตรเพศวรำ ธัม์มธิเปส์สชยเชฏ์ฐสุริยวํสนาม กชื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเชษฐสุริยวงษ เสวยรัชชงศฤงคาร วังบวรสถานมงคล ดำกลเปนฝ่ายหน้า ผจญปัจจามิตรแพ้พ่าย นมัส์สิต๎วา ถวายนมัสการบังคม ชินพุท์ธํ ซึ่งสมเด็จพระชิเนนทรทศพล อันผจญเบญจวิธมารทังห้ากดี แลข้าพระองค์นี้กนมัสการเคารพย์ สัท์ธัม์มํ จ ซึ่งพระนพโลกุดดรธรรมทังเก้า แลพระปริยัตติธรรมเจ้าทังหลาย หมายทังแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธนั้นก็ดี แลพระสัทธรรมนี้ อุตตตา อมลํ อันนฤมลาจากมุทิล แลข้ากถวิลนมัสการ อริยสํฆํ จ ซึ่งพระอัษฎาริยสงฆ์กดี ตราบเท้าสมมดดิสงฆนี้กบังคม อุต์ตมํ อันอุดดมบวรา ครั้นแลข้าถวายนมัสการ ซึ่งพระรตนัตไตรยสถานเสร็จประณามนบ วัก์ขามิ กปรารพภ์เพื่อจักกล่าว วัต์ถุํ ในเรื่องราวนิทานธรรม นัน์โทปนัน์ทนามกํ อันชื่อนันโทปนนท์ ปวรํ อันมีพจนุสนธิบวร สิลิฏ์ฐํ ให้เกลี้ยงเกลาในอักษรแลพากยา สามภาสาย ด้วยสยามภาษาแห่งไทย นิส์สาย เหตุอาไศรยพระบาฬี มคธภาสํ ซึ่งมีในมคธภาษา อหํ อันว่าข้าพระบาทยุคคล นุปัท์ทวัน์ตรายโก ก็พ้นจากอันตรายุปัททรวาสรรพาพาธ วสา ด้วยอำนาจพระบารมี ตัส์ส รตนัต์ตยปณามัส์ส แห่งพระศรีรตนัตไตรยประณาม อัส๎มิ จงมีตามปราถนาแห่งข้า เทอญ

อนัจ์ฉริยเมเวทํ กัป์ปสตสหัส์สุต์ตรานิ วีสติอสํขัย์ยกัป์ปานิ สกลภฺวัต์ตยโลกโลภนิยมัจ์จัน์ตทัล๎หสิเนหพัน์ธวัต์ถาภรณปํสุ รชฏจามิกรวรเวทุริยสังขปพาลมสารคัล์ลัป์ปภูติ วิวิธวิจิต์โตปกรณสหิตมติรัม์มณิยมหาจัก์กวัต์ติรัช์ชสิริยาทิธนปริจ์จาควเสน ทสปารมิตํ สกลามรมานวมนมนาปฺตราลังกตสีสหทยฺมํสั์ชนนยนนาสิกกัณ์ณหัต์ถปาทาทิวรอังคปริจ์จาควเสน ทสอุปปารมิตํ นิขิณขัน์ธลปังกชภวนตินยนอมรนรคณาภิรามเณย์ยชีวิตปริจ์จาควเสน ทสปรมัต์ถปารมิตัน์ติ สมตึสปารมิตํ ปูเรต๎วา ปถวินาภิยาวิชยทุมมูเล อนัป์ปกัป์ปูปกัม์ปิตปั์จวิธปริจ์จาคภัต์ตเวต์ตนัป์ปทานาตีตกาลปริโคปิตมโนมยทสปารมิตาติ คาล๎หตรโยธาพลนิกาเยน อมรมานวยัก์ขคัน์ธัพ์พวิชาธรทานวกุม์ภัณ์ฑสีหพ๎ยัค์ฆขัค์คกุ์ชรมหึสวราหกโคณสิรโคควยูสภโสณสิงคาลตุรังครุรุปิจ์จุมกฏอัจ์ฉตรัจ์ฉโกกมิคพานรอัช์ฌครนังกุลวิลารอุรเคน์ทหังสปังโกรวาตกพัก์กพลากกากเสนกังขคิช์ฌกิน์นรภมรมยูรโก์จกุม์พิลมกรทุท์ทุกนาคมัจ์ฉกัจ์ฉปปภูติ อเนกัป์ปการวัณ์ณติมหัน์ตถึสนกวิรูปรูปนิม์มิตํ กามวิสยายัต์ตสกลทิพ์พมานวนิกรมาริตํ สุรุจิรวิชุลตาการนานาวัณ์ณสมุชลขัค์คจัก์กจาปสรโตมรมุสลหลปัพ์พตมหามหิรุหัป์ปหรหัต์ถํ จตุทีปกเอกัป์ปหารปาวุส์สกานีลพหลชิตมัณ์ฑลกามธาติส์สรพลนิกายํ ปราเชต๎วา ทสพลจตุเวสารัช์ชวิสารทาทิคุณทายกัส์ส สัพ์พัุตาณัส์สติลภิต๎วา ยสมหัน์ตปุ์มหันตปั์ามหัน์ตานํ ปารคเตน วิวิธปการวินยุปายกุสเลน ทุท์ทมเทวตามนุส์สนาคยัก์ขาทีนํ โอฬารวินยาย วิชหิต๎วา จตุราปายานิกัท์ธิตมิจ์ฉามัค์คโต ปริโมเจต๎วา สกลอริยาภิปัฎ์ฐิตํ นิรุปัท์ทวมัจ์จัน์ตสุขํ นิพ์พานมหานคราภิมุขํ อัฏ์ังคิกมัค์คัป์ปวรํ มัค์คํ ปติฏ์าปนมเนน โลกนาเถน ภควตา นิทาฆสมเย มัช์ฌัน์ติกกาเล ทุส์สหตรตมเตชนทินกรเตโช วิย นิทาฆสมเยสุริยุค์คมนํ วิย จ อุตุสมเย ปุป์ผวิกสนํ วิย จ โหติ

ยํ อเนน โลกนาเถน ภควตา นิพ์พิเสวนกรณํ อันว่าสมเด็จพระโลกนารถมุนิวร ผู้เปนอดิสรณแห่งไตรโลกยจุธาโลกาจารย แลเสร็จบำเพ็ญพุทธบารมีสมดึงษ์ จึงคนึงโลกย์พันลือ

ทสปารมิตํ อนึ่งคือพระทศบารมี ธบำเพ็ญด้วยปรีดิสามารถ พระบาทบริตฺยาคทานอนันต์ มีอาทิคือไอสวรรยสมบัดดิ แห่งบรมจักรพรรดิราชา อันเปนที่เสน่หายิ่งนัก อันกอปรด้วยกงจักรรัตนเปนอาทิ์ นานาราชอุปกรณ บวรรัตตรการ มีต้นว่ารัตนมสารคัลล ไพทูรยพรรณประพาลรัตน สังขทักษิณาวัฏรสุพรรณ รชฎสรรพทานา โอทยาหาราภรณ เครื่องปัจจฐรณอนันต์ อันโลภมัจฉรรยแห่งสัตว โลกยตรกัดดิผูกพัน ถือหมั้นคงด้วยแท้ แม้แห่งโลกยทังหลาย หมายในไตรภพนั้น

ทสอุปปารมิตํ พั้นอนึ่งคือทศอุปบารมี พระชินศรีบริตยาค บำเพ็ญมากแห่งพระชาดิ ด้วยสามารถสรัทธา ปลงพระกายาเปนอาทิ์ พระสิโรนารถศาษดา อันประดับด้วยเครื่องราชาปลิโพธ อนึ่งโสดธให้พระวรมางษหฤไทย พระยุคคลไนยพระองค์ อันธรงพระโอสถมลา แลพระนาสิกะพระกรรณพระหัตถ์ แลพระบาทบัทมทังคู่ อันหมู่อมรนรนรา ชอบหัทยายิ่งนัก เปนที่รักแห่งอาตม์ พระโลกิศวรนารถสละได้ ด้วยง่ายให้เปนทาน มีด้วยอเนกประการ แล

ทสปรมัต์ถปารมิตํ อนึ่งคือทศบรมัดถบารมี ธให้พระชีวชีวิตร ปลิดพระชนมพระชาดิ ด้วยสามารถแสวงพุทธโพธิ์ เพื่อจะโปรดสัตวคณา จะพาไปสู่นครนฤพาน อันว่าการพระองค์ ปลงบริตยาคชีพิตรดั่งนี้ อันเปนที่รักแห่งพรํหมคณา แลอมรินทราคณเทพนิกรนรพรรคา เพื่อรักกายาชีวาดม์ แลพระมุนินทรนารถสรรเพชญ์ เสด็จบำเพ็ญพระบารมีสามสิบประการ สิ้นกาลนานญี่สิบอสงไขย มีกำไรแสนมหากัลป์ อันสมเด็จพระชิเนนทรทศพล ผจญมาราธิราช เจ้ากามธาตุพศพรรติ แลขนัดหมู่มารโยเธศ อันนฤมิตรเพศกายา มีรูปานานัตว เปนขนัดพลนาเนก มารดิเรกพึงกลูว ตูวสูงบงงคคนานต์ รูปามารนานา เปนเทพดามานุษ อุดบัดดิเปนคนธรรพ กุมภัณฑาสูรยักษิทธิ์ แปลงเปนวิทยาธร เปนกินรสุบรรณ ลางบางผันรูปา เปนพญาไกรสร เปนสุกรพยัคฆา ดุรคขัคคคเชนทรากาสร เปนพานรสฤงคาล อัจฉาสวาณมฤคคา เปนพฤสภาแลโคพลอะ ฉพอะเปนวราหพานรโชมล กทิงโทนโคกวาง ลางบางเปนวิลาร ลางมารเปนนาคราช แมลบมลิ้นพราศพรายแสง ลางจำแลงกายา เปนสับปาอัชฌัคร เปนสุนักขไนแลชนี ลม่งงพีตูวโตรจ พานรโลดลมจร เปนพั้งพอนเปนเสือแผ้ว แล้วหมู่ยักษนานา นฤมิตรเปนปักษาคณางค์ ลางบางเปนหงษปักษา นกกตรุมกานกลาง เปนนกยางเสนภมรโมร เขาเพลองโกรญจคิชฌา เปนสกุณาค้อนหอย แข่งกันลอยโบยบิน เปนกุมภิรสุงสุมาร เปนพิษดารกายา เปนมกราเปนนาค แลเลือนหลากรูปา เปนมัจฉากูรรเมศ แลมารโยเธศทังหลาย มีรูปกายมหันต์ ดูจวัสสันตกาลเมฆ ยังพรรเษกธารา ในมหาทวีปทังสี่ ให้มีอึงคนึงตก ฝนสรสรกเซ็งซ่า ในครั้งคราทีเดียว ชรอุ่มเขียวหมู่มาร บ้างขี่ยานนานา หัษถาถือเครื่องยุทธ สรรพาวุธสรหลอน โตมรค้อนครกสาก พฤกษามากนองเนือง แสงศาศตรเมลืองอาภา กลลักขณาพิทธยุต ผุดพรายในเวหาศ อาดจข่มจฆ่า สัตวในแหล่งหล้าทังหลาย อันประพฤดดิ์ฝ่ายข่ายมาร แลเปนสถานแห่งอมรา ฉ้อกามาพจรนั้น

แลสมเด็จพระศรีสรรพัชญ์ ผู้กำจัดริปหมู่บาป ปราบหมู่มารให้พ่ายแพ้ เที่ยงแท้ด้วยโยธา คือบุนยาพระทศบารมี อันสมเด็จสากยสีหรักษา ธรงพระเบญจาบริตยาค อันมีภาคห้าประการ แลพระราชทานรังวัล อันจนับกัลป์บมิได้ แลลุแก่ไญยธรรม สัพพัญญูตัญญาณ แลให้คุณุปประการบวร โลกุดดรสมบัดดิ์ คือทศพลจตุเวสารัชชญาณทังปวง ในข่วงวิชยบํรมพฤกษโพโพธิ์ อันไพโรจรุจี ในนาภีพสุธา แลสมเด็จบํรมจักษุมาสรรเพชญ์ เสด็จพุทธยาตรลีลา ตฤณโณรรฆจดุรามหรรณพ เลอศลบโลกยโลกา ยิ่งบุนยานุภาพนัก เลอศยศศักดิ์อุดดมา อรรคาธรรมุบาย บรรยายธรรโมวาท ฉลาดล้ำโลกยนิกร กสั่งสอนสัตวทังหลาย หมายมีอาทิ์คือเทวา ยักษามานุษนาค อันผู้อื่นจักทรมานยากนักหนา สมเด็จมุเนศศวราบพิตร เปลื้องไปล่ปลิดให้พ้น จากหนทางมฤจฉา อันพาสัตวทังปวงไป ทนทุกขในนิรยาบายทังสี่ แลสมเด็จอธิบดีแธรรยา โลกาจารยพำนัก ฉพอะซึ่งพระภักตรบวร ยังมหานครนฤพาน อันพ้นจากสถานอุปัทรวาสรรพาทุกข์ อันบํรมศุขอนันต์ อันพระอาริยเจ้าทังปวงย่อมปราถนา เปนที่แสวงหาเปนที่รัก แลสมเด็จโลกยพำนักนิ์สบสกล มีพุทธกมลหฤไทย ถกนสัตวไว้ให้บริสุทธิ์ ในมกุฎอุดดมทาง คือพระอัษฎางคิกมัค์ค แลลักษณอันทวรมาน ให้พาลเสียพยศร้าย อันหมายหมั้นสัญญา ว่าอาตมายิ่งนั้นได้ ในพระสรรเพชญ์โพธิสมภาร อันถึงสถานเลอศนี้ กลรัศมีพันแสง มีเดชแรงจำรูล แสงสูรยส่องจำรัส บำบัดมืดมหนธ์ อันบุทคลทนด้วยยาก ในภาคอรรฒทิวา เพลาสูรยเทเวศ ในเมื่อเจตรกาลมาส อันอุณหาสโลกา ดูจพระภาณุเทวบุตร ผุดผาดรถคันไล อรุโณทไทยขึ้นมา เมื่อไกษยราตรีกาล ยังบุษปมาลยใหญ่น้อย ให้ชื่นช้อยบานแบ่ง แห่งอันควรแก่ฤดู อันนี้เปนลักษณูประมา แห่งสมเด็จพระชิเนนทราจารย์ อิทํ ทมนํ อันพระองค์ทรมานแล้วนี้ อนัจ์ฉริยํ ยังบมีเปนอัศจรรยก่อน แล

อิทํ ปนัจ์ฉริยํ ยํ ตัส์ส ตถาคตานุมเตน กัป์ปสตสหัส์สาธิกมสํงเขย์ยํ กตาธิการสัม์ปัน์โน อัน์เตวาสิโก เตสํ ทุท์ทมนานํ ทเมต๎วา มิจ์ฉามัค์คโต ปริโมเจต๎วา สัม์มามัค์คปติฏ์เปต๎วา นิพ์พิเสวนมกาสิ

อัน์เตวาสิโก อันว่าพระอรรคพามบรมศิษย์ แห่งสมเด็จสัษกิดศวราจารย คือพระมหาโมคคัลลานเถรา อันมีบูรรพปราถนาได้ทำไว้ สิ้นอสงไขยแสนกัลป์ แลสัตวทังปวงอันจทรมานยาก ธกชักมาจากมารรคมฤจฉา กตั้งไว้ในสัมมาทฤษฏิมารรค ให้ปราสจากพาลพยศอันร้ายได้นั้น แลทรมานอันใดอันอุดดมา พั้นอันว่าทรมาน แห่งพระมหาโมคคัลลานอุดดม ด้วยบํรมมุดดรา สมพุทธาธิบบาย หมายแห่งทรมานอันนี้ อัจ์ฉริยํ ว่าเปนที่อัจฉรรย คืออัศจรรยดิเรก แล

กถํ อันว่าพระมหาโมคคัลลาน ทรมานสัตวได้นั้น เปนอัศจรรย ดังฤา

เอกัส๎มึ กิร สมเย สัม์มาทิฏ์ิโก กัม์มผลสัท์ธหัน์โต อนาถปิณ์ฑิโก เสฏ์ิ สกิยหทยัพ์ภัน์ตรคตราคทหนัป์ปชลิตกัป์ปัค์คิชาลสตตปริตาปิตํ สกลเทวา สุรมนุชสุปัณ์ณคัน์ธัพ์พยัก์ขาทีนํ หทยปริลาหวุปสมนํนิปุณ์ณํ คิริราโชต์ตุง คาวนิตลพหลรตนา กัม์ภิรนภวิสาลมภิภวนํ สกลเวเนย์ยโสตวิวราภิสิญ์จิตามัต์ตรสวรํ ติโลกมัณ์ฑลสัพ์พา ปติวิธาย กัก์ขัน์ธสัน์ตานํ จิรกาลัป์ปวัต์ติตสัพ์พาสววิธารณสมัต์ถํ ทุค์คติส์สปัต์ตมานํ สัพ์พสัต์ตนิกราณํ ธารณํ ภควตา โลกทีเปน ตัส์ส มุขวิวรอติสวณิยตรวรมณิวังสวิสัฏ์รนอัฏ์ังคสัม์ปัน์นาคเตน พ๎รห๎มสเรน เทสิตํ อติมธุรํ ธัม์มวรํ สุต๎วา สสาทรพหุมานสหิตมานโส เทวตามนุส์สนิกรมานิยคุณนิกรสฺมัน์นาคตัส์ส มุนิวรัส์ส คุณํ อานยิต๎วา เส๎ว ภัน์เต โลกปิตามหาขัน์ธสมหิโต ปั์จหิ ภิก์ขุสเตหิ สัท์ธึ คัม๎หากํ เคเห ภิก์ขํ คัณ๎หตติ นิมัน์เตต๎วา สหัส์สนยนปังกชภวนาทิลินิมุขนิกรสั์จุม์พิตํ ภควโต ปาทปทุมเมถุนํ สกสิรสาภิวัน์ทิต๎วา ปัก์กามิ

คือในกาลครั้งหนึ่งนั้น อันว่าอนาถบิณฑิกคฤหบดี มีศรัทธาชมชอบ กอปรด้วยสัมมาทฤษฎี มีความพีรยขวายขวล เชื่อในผลในกรรม ได้สดับซึ่งพระธรรมอันเลอศ อันประเสอฐอุดดมา พระธรรมเทสนาแห่งสมเด็จ พระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้า อันเปนที่เคารพยบูชา ไตรโลกาภิวันท อันมีพระสรเสียง พุทธสำเนียงบวรา ปานพรหมาทังหลาย หมายด้วยอัษฎางคประการ อันเกิดแต่สถานช่องพระโอษฐ แห่งสมเด็จพระสํรมโณดดมวิสุทธิ มกุฎโลกยนมัสการ ปานสำเนียงปี่แก้ว แจ่มใสแผ้วสระหละ เปนลักษณะหินุบประมา พระมฤธุรสราพุทธพากย ยิ่งกว่ามากอนันต ตรัสพระธรรมาภิไสมย อันไพรอะสนอะยิ่งนัก เปรียบด้วยอัคคชลชลา อมฤตยาทิพโพยทก ธาราตกสงโรจ ในช่องโสตรประสาท แห่งเวไนยชาติทังหลาย รำงับจิตรกระวายกระวล ในสกนธแห่งสัตวทังหลาย หมายมีอาทิคือเทพยดา ยักษาสูรกุมภัณฑ์ คนธรรพนาคาครุธ แลมนุษยชาดิทังปวง เดือดร้อนทรวงสัตวโลกยเนืองเนือง เรืองด้วยเปลวเพลองผลาน ปานด้วยเพลองประไลยกัลป์ อันไหม้สัตวอัตรา อุประมาต่อเพลองราค กรุ่นอยู่ภาคพายใน กมลหฤไทยพัสดุ ติดพลุ่งกุธูรรมา ในกายแห่งสัตว พุทธองค์ตรัสเทสนา มล้างอาสรพทังผอง อันจองสัตว์สิ้นกาลนาน ในขันธสันดานสัตวทังหลาย อันเกอดแลตายเวียนไป ในไตรโลกยมณฑล อันสมเด็จพระทศพลพระองค์ ดำรงสัตวทังปวงไว้ ให้ลุในแก่นสาร บมิให้ตกไปในภูมสถานทังหลาย คือจตุราบายทุกขา แลพระสรัทธรรมาสุขุมาลย สูงกว่าสถานสิขเรนทร์ อันชื่อสุเมรุราชา พระธรรมหนาด้วยคุณ ยิ่งกว่าพสุนธรดลา พระสรัทธรรมาอันลึก อธึกลักษณุประมา กว่ารัตนานิธี อันกล่าวคือวารีจดุรสมุทร์ แลพระธรรมุดดโรวาท อันว่าอนาถบิณฑิกนั้น ถวายเครื่องสรรพบูชา ปัสสันนาการคำรพย ประณามนบสรรเสริญ เจริญแห่งนิกรพระคุณวรา แห่งสมเด็จวิสุทธเทพดามุนิวร อันอมรนรคณา โลกยสรัทธาเปรมปรีดิ จึ่งนิมนตพระศรีสรรเพ็ชญ์ ข้าแต่สมเด็จพระพุทธองค์ ผู้เปนพงษสูริยา อันเปนพระชนกาธิราช ทู่วโลกธาดุบูชา ข้าฃออัญเชอญเสด็จพระพุทธองค์ จงรับโภชนสุปพยัญชน์ กับด้วยพระอรหันต์ถ้วนห้า ร้อยในเรือนข้าพระพุทธเจ้า เพลาเช้าพรูกนี้ แล้วเศรษฐีถวายอภิวาท แทบพุทธบาทยุคคล สมเด็จพระญาณสมนตตรการ เปรียบด้วยกมุทบานประดับ กับด้วยหมู่แมลงภู่ บินหวี่หวู้ร่อนร้อง รงมก้องไปมา ในพนสราปทุมเมศ แห่งสมเด็จเทเวศรมัคฆวา อันนี้เปนอุประมาคฤหบดี กฤษดาญชลีพระบาท ด้วยเสียรอาตมแล้วกไป แล

อถ สัพ์พสัต์ตานุกัม์ปโก สัพ์พาสววินิมุต์โต สัพ์พโลกเชฏ์โ โน สัต์ถา ตัส์ส นิมัน์ตนํ อธิวาเสต๎วา ตํ ทิวสาวเสสํ รัต์ติภาคั์จ ปกติกัต์ตัพ์พพุท์ธกิจ์เจน วิตินาเมสิ

ในกาลนั้น อันว่าสมเด็จบํรมมารชินศาษดา อันเปนอิศวราแห่งไตรโลกยด้วยพิเศศ วิมุดํดิกิเลศอาสรพ ปรารพภพระกรุณา ธรงพระเมดตาอนุครอะห ฉพอะแก่สัตวโลกยสบสกล ครั้นธรับนิมนตคฤหบดีเสร็จ ธกเสด็จสถิตสำราญหฤไทย ยั้งอยู่ในทิพส ยังพระอริยาบถมุนี สิ้นราษตรีประพฤดดิ์ ด้วยพุทธกฤตยพิไสย ตามอันใดอันหนึ่ง อันพระองค์พึงกทำนั้น เปนปรกติธรรมดา แล

ที่นี้จักพรรณา ตามพระอาริยาธิบปราย หมายเปนลักษณะอุประมา ต่อทิวาราตรี ปานมีรูปวิญญาณ อันอยู่ในสถานที่ใกล้ แลบมิได้ประฏิบัดดิ พระพุทธเจ้านั้น

อถ รัต์ติยา วรมหิยาสาย อัต์ตโน ขยุป์ปนวิรัต์ติโสกาย ภควโต สัน์ติกมุป์ปัฏ์นํ อลภัน์ติยา ตัส์สา สัน์ตุ ปัฏ์าเน ทิวาหิ ทิวาปติหิ จ ปติสภิตัพ์พมติเรกัป์ปิติสุขํ อนุส์สรัน์ติยา วิย

อันว่านางอุดดํมลักษณกัลยา มีภักตราลเอ่ง นวนผ่องเปล่งนฤมลา ลักษณาสรรพวรางค เปรียบสสางกรจำรูล เพญบูรรณพรรณประภา กรฦกปรียาดดมาแลศุข แล้วบังเกอดทุกขินทรีย อันราษตรีแลทิพส อันอยู่ใกล้พระสุคตศาษดา บมิได้รักษาอุปถาก ไกลแห่งมารคแห่งผล ป่วยการตนอยู่ใกล้ บมิได้ประฏิบัดดิรักษา สมเด็จพระธรรมธราสวามินทรนั้น

พลวปัจ์จุส์สสมเย นานัป์ปการทิชคณานํ รวนการุ์วิลาเปน สรนิกรติตนยนัม์พุปริฬสิตปริปุณ์เณน์ทมัณ์ฑลสกสุภควทนาย ปริเทวมานาย วิย ปริก์ขยมุปคตาเยว

ในเมื่อนางเบญจกัลยางควรา มีภักตราซรึมซราบ อาบด้วยอัสสุชลธารา พรรณาคือน้ำค้าง ประดูจนางครวนคร่ำ ร้องไห้ร่ำพิลาป สอื้นภาพรันจวน อันควรจเอ็นดูกรุณา อุประมาต่อเสียงนก ต่าง โผผกร่อนร้อง สำเนียงก้องพงไพร ในยามไสมยปัจจาศม์ จวนประภาศกรจรประเมอล โลกยดำเนอรรถคันไล อรุโณทไทยเพลา จไกษยแห่งราตรี ก็มีในกาลนั้น แล

อถ ปัจ์จุส์สสมเย สมุปาคเต สัพ์พาการสัม์ปุณ์โณ ทุรุปโม โลกวิเสฏ์โ จิต์ตวสิโก โลกวิทู ทุริตทุริโต โน ภควา มโนวจิปนิธาย กายัป์ปติปาเตสุ กัป์ปสตสหัส์สาธิกวีสติอสังขัย์ยกัป์ปูปกัป์ปิตนยนัปปทิปทานาทิสุจริตจารินา เทวตา คุณสมลังกตอวนิตลจลอติลกสัม์พุตัส์สัฏ์ทุมราชมูลาธิคเตน เคหกูฏปาการปาสาทเสลทัต์ถุ นานาวุต์เตน อัจ์จัน์ตปริสุท์เธน ทิพ์พจักขุนา สัพ์พากาเรน ทิสมานหัต์ถตลัต์ถิตกนกติณ์ฑุกัป์ปติ มํ ภวัต์ตยมเสสํ โอโลเกสิ

ในกาลเมื่อใกล้ จไกษยแห่งพระฮาม ยามจะอรุโณทยะ สมเด็จพระบรมโลโกดดราธิกธิคุณ ไพบุลพุทธกายา ประดับด้วยทวัดดึงษาการชวลิต แลอสิตยานุพยัญชนวรา พุทธไภรัญชิดาดิเรก แลมีอเนกประการ อันทุรัสสถานแห่งบุทคล อันจเปรียบด้วยพระสมนตญาณอันเลอศ พระองค์ประเสรอฐกว่าโลกา โลกยบูชาด้วยพิเศษ แต่พระโลกเชษฐพิจารณ ชำนาญในพุทธหฤไทย ทราบในโลกยทังหลาย หมายในภพทังสาม อันมีนามบรรหาร สังขารโลกยโลกา ภาชนาโอกาสโลกย แลพระผู้ยศโยคอุดดมา ทูรทุราจากทุจริต ธกเสด็จพิจารณา ในภวาทังสามเนียรพเศษ ด้วยพุทธเนตรจักษุญาณ ก็ปรากฎอาการทังผอง คือผลพลับทองกระจ่าง วางในพ่างพื้นพระหัษถ ตระบัดแจ้งทุกประการ ด้วยพุทธจักษุญาณสะมันต อันบริสุทธทังปวง ยลตรลอดล่วงคฤหา พฤกษาพงพนานต์ คฤหาสถานภฤดดี แลตรสอดคิรีปราสาท ปราการราษฎรสีมา แถพระปัญญาพุทธจักษุนั้น อันพระองค์เจ้าได้ ในช่วงวิไชยบํรมพฤกษ์ อันอธึกรุจิรา เปนมกุฎาภรณธรณี บมิได้จลาจเลนทร์ อันหมู่เทเวนทร์ทังหลาย ถวายบูชานมัสการ พระองค์เลอศกว่าสถานภพไตรย แลพระองค์ได้ทิพจักษุนั้น ด้วยจำเรอญธรรมสุจริต ประพฤดดิกิตยพิเศษ ควักพระเนตรให้เปนทาน สู้ลาญพระชนมพระชีพ อนึ่งธให้ประทีปเปนทาน แสงชัชวาลยเปลวเปล่ง พระองค์บำเพ็งมานาน ประมาณญี่สิบอสงไขย แลมีกำไรแสนมหากัลป์ ในอันกล่าวพรรณนา พระองค์จินดาเจ็ดอสงไขย ในออกพุทธวาจา คณนาได้เก้าอสงไขย ในอันเพียรด้วยพระกายวาจา สังขยาได้สี่อสงไขย เศษกำไรแสนมหากัลป์ อันธพรรณาก่อนนั้น แล

ตัส์โส โลกนกาเล เยว ปุราณพุทธุป์ปาทุปัฏ์ิตติวิธ สุจริตสกลเวเนย์ยชนวิจินลินนิปุณ์เณ อเนกโกฏิสหัส์ส จัก์กวาฬาภิปัฏ์ริเต พุทธทิวากรัส์ส ญาณชาลมยุเขขุท์ธกมิจ์ฉาทิฏ์ิโก นัน์โทปนันท์อุรคราชา อาปาถมาคัจ์ฉติ

อันว่าพระญานันโทปนันท อันเปนนาคราชา เปนสุขุมมฤจฉาทฤษฎี กบังเกอดมีในพุทธชาลญาณ อันสุขุมาลพระปัญญา แห่งพระพุทธะทิวา กรวรญาณาบพิตร อันผาริตไปในจักรวาฬ ประมาณแสนโกฏิมิถยา แลประมวลมาซึ่งสัตวเวไนยชาติ อันอาดมมีสุจริตธรรม สามประการอันได้ส้างไว้ แต่ในชาติบูรรพา ในพระสาสนาพระพุทธ อันอุดบัดดิแต่ก่อนนั้น กแจ้งสรรพทุกประการ ในข่ายพระญาณทุกพระองค์ เมื่อธรงพระพิจารณ กแจ้งแท้ในกาลนั้น แล

โสจายํ มิจ์ฉาทิฏ์ิโก สมโณติวา พราห๎มโณติวา อุป์ปัช์ฌาจริโยวาติ มาตา ปิตโรติวา ธัม์โมติวา นชานาติ

อันว่าพระญานนโทปนนท์ อันเปนคนพาลา เปนมฤจฉาทฤษฎินี้ กบมิรู้ว่าบุทคล เปนอรหนตศรมณกดี อนึ่งกบมีรู้ ว่าผู้นี้พราหมณา อุปัชฌาจารยชนกา แลผู้เปนมาดาบังเกอดเกล้า บมิรู้จักว่าพระเจ้ากมี แก่นันโทปนันทนี้ แล

อถาตีตานาคตปัจ์จุบัน์นวัต์ถุญาณโกวิโทโน ภาควา อยํ นัน์โทปนัน์ทอุรคราชา มัย๎หํ ญาณชาลปมุเขอาปาถมา คัจ์ฉติ อัต์ถิ นุโข นัน์โทปนัน์ทัส์ส ผณิปติส์ส อุปนิส์สโย นัต์ถีติ อาวัช์เชน์โต อิทํ อัท์ทิส์ส กิ์จาปิ โสเตนัต์ตภาเวน มัค์คผลํ ปติพุช์ฌิตุํ นสัก์โกติ ทัล๎หวินเยน วิเนต๎วา กัม์มผลํ สัท์ธหิต๎วา มม สาสนํ สัท๎โท มาโน อายตึ มัค์คผลปติพุช์ฌการเณสุ ปติฏ์ายกา ถินมิจ์ฉามัค์คโต สัก์กัต์ตานํ สมุท์ธริต๎วา สกิยปติสรณํ กริส์สตีติ

ในกษณกาลนั้น อันว่าสมเด็จอธิปไตย บํรมไตรยโลกนารถ พระองค์ฉลาดในพระปรีชา อันพิจารณาแจ้งซึ่งอดิตานาคตประจุบันน ชราบซึ่งสรรพพัสดุ แลพิจารณาวัตถุ คือนนโทปนนทนาครันยา อันถึงซึ่งมาปรากฎ ในข่ายญาณแห่งพระอังคิรศมิเบญญา ดั่งพระองค์มารำพึง ดั่งจรึงอันว่าอุปนิสไสยปัจไจย ในนนโทปนนทนี้ จว่ามีแลฤา หฤาว่าหาบมิได้ พระองค์กชราบในวรพระปัญญา พุทธญาณาอนันต อันว่านันโทปนันทนาค บมิอาจเพื่อจตรัส ซึ่งอริยมารรคผลญาณ เหตุเปนเดียรฉานกำเนอด ถึงว่าเกอดดั่งนั้นกดี แลสมเด็จพระนรสีหสุคต จโอวาทด้วยบททรมาน จตั้งไว้ให้เจียรกาลหมั้นคง มีองค์คือศีลเบญจา อันว่าพระญานาคนั้น จักเชื่อกรรม์เชื่อผล จิตรจอำพลด้วยสรัทธา ในศาษนาพระตถาคตนี้ กจะตั้งอยู่ในที่เปนเหตุ จึงจะให้ผลพิเศษในภายหน้า คือจลุในมรรคามัค์คแลผล กจฤาสกนธแห่งอาตมภาพ อันมานชู่วหญาบกระด้าง จากหนทางมฤจฉา แล้วกจตั้งอาตมาภาพไว้ เปนที่สรณาไศรยแห่งตน แล

โสอิท์ธิมา อาสิวิโส โฆรวิโส สาวกเวเนยโย เยว อันว่าพระญานันโทปนันท อันเปนอาเสียรพิศ อันมีฤทธิพลพหลมหิมา กเปนศราพกวินัย คือเปนพิสัยพุทธปริพาร พระสาวกจพึงทวรมาร แล

อถ สัต์ถา โกนุโข อิท์ธิมา กตาธิการสัม์ปัน์โน ทุท์ธุมนุปาย กุสโล มานุท์ธิตมานสํ ปติลัท์ธมานทัช์ชํ ทุวินยนาติทารุณกัก์ขสมานํ อิมํ นัน์โทปนัน์ทอุรคาธิปตึวินยัน์โต นิพ์พิเสวนํ กัต๎วา มูล๎หวเสนาสัป์ปุริสเสวิตกุมัค์คมิจ์ฉาทิฏ์ฐิโก ปริโมเจต๎วาสตตสสัป์ปุริสเสวิเต อริยมัค์เค ปฺเวเสส์สตีติ อาวัช์เชน์โต อิท์ธิปาฏิหิริยกรเณ สกลามรมานวนิกรวิสิฏ์ฐตรํ กตาธิการสัม์ปัน์นํ ทุท์ธุมนุปายกุสลํ โมค์คัล์ลานัต์เถรํ ทุติยัค์คสาวกํ ปัส์สิ

ดับกาลนั้น อันว่าสมเด็จบํรมแธรรยา กมีพุทธจินดาจำนง ดั่งพระองค์บริวิตก ดั่งฤาอันว่าพระสราพกองค์ใด จักมีฤทธิไกรอดุลย กอปรด้วยคุณบุนยา อันได้อบรมมามากแล้ว แลแกล้วกล้าสามาถ อันฉลาดในอุบายมากนัก จึ่งจักทรมานพระญานาคได้ กจะให้ทรมานบัดนั้น ซึ่งนันโทปนนท อันตนได้เปนใหญ่กว่า ในนาคาบรรสัชช น้ำใจถัดทกักขละ มีมานะยกขึ้นไว้ ประดูจธงไชยปลิวยาบ ใจหยาบช้าล้นพ้น อันบุทคลจะทรมานยาก ซึ่งพระญานาคอันร้าย ให้หายพาลหายพยศ แลจะเปลื้องปลดพระญานาค จากมารรคมฤจฉาทฤษฎี อันบมีบริสุทธิ์ อันอสับบุรุษพาลา สบปราถนาปรียาดม เสพด้วยสามาถอันหลง แลจะดำรงให้เข้าไป ในทางธรรมอันเลอศ อันประเสอรรดิบริสุทธิ อันสับบุรุษทังผอง ส้องเสพในธรรมา สมเด็จอรรคสรณาภวะโลกย กเหนพระมหาโมคคัลลา ผู้เปนทุติยสราพกประเสอรรดิ ริทธิล้ำเลอศกมะเลนทรา จักกะทำปราฏิหารย ควรจทวรมานาคราช ในอภิวาทนบนอบ แลกอปรด้วยคุณอันสร้างแล้ว กจขัดให้ผ่องแผ้วราคา แห่งผรรณินทราธิราช แลฉลาดในทรรมุบาย กจทรมานได้ด้วยง่าย แล

อถ นรามรนาโถ มลปริสุทโธ โน ภควา ปภาตายรัต์ติยา อุปัฏ์ฐากานุคหณกรณัต์นัต์ถํ สริรผาสุกรณัต์กัญ์จ มุขโธวนฺาทิสริรกัม์มํ กัต๎วา สกลทิพ์พมานวนิกรานัน์ท พหลชลธิมัณ์ฑลวิรหิตํ สรทสมยวิลสิตาสุภควทนปริบุณ์ เณน์ทมานัน์ทมามัน์เตต๎วา อานัน์ทปัญ์จัน์นํ ภิก์ขุสตานํ อาโรเจหิ อัช์ชตถาคโต เกนจิเทว กรณิเยน เทวโลกํ คมิส์สตีติ.

ในอันดับกาลนั้น อันว่าสมเด็จพระผู้มีพุทธภาคย อันบริสุทธิจากมุทิล เปนที่พึ่งพรํหมมินทรามรมานุษชาติ ในเมื่อสิ้นโกฐาสแห่งราษตริน ทินกรจรกระจ่าง สว่างพื้นคคนำ พระองค์กทำชำระ พระสริระกฤตยาพระองค์ แลสรงพระภักตรวิมะลา เปนผาสุขแห่งพระองค แลจงอนุครอะหเอนดู แก่ผู้พุทธุปปะถาก แลมีพุทธพากยโองการดำรัศ ตรัสเรียกพระอานนท อันอยู่ในพระคนธกุฎี อันมีอินทรียนรลักษณ แลมีพระภักตรผ่องเพ็ญเปนอันงาม นำมาซึ่งความสรัทธา แห่งเทพดามนุษยทังปวง บริบูรณปรดูจดวงพระจันทร แลงามในกรรดิกฤดูมาศ อันปราศจากเมฆา สัสสมนทลาวรจรจรัศ เมฆดำรัศทูระทูรา ก็ตรัสด้วยพุทธฎีกาบวร ว่าดูกรแสดงอานนท ท่านจงบอกยบลให้รู้ แก่หมู่พระภิกษุสงฆร้อยยิ่งห้า ว่าพระตถาคตทสมพล จักเสด็จหนเทวะทิศ ด้วยพุทธกิตยอันหนึ่งพึงมี ในกาลเช้าวันนี้แท้ แล

ตั์จ ปน ทิวสํ นาคมานวนิกรานัน์โทปนัน์ทัส์ส ผณิปติส์ส สัพ์พรตนมยอาปาณมัณ์ฑลํ สัช์ชยึสุ

ในกาลวันนั้น อันว่าหมู่นาคมานพทังหลาย กแต่งสนามทึกบายะสุราบาน แลเครื่องอลังการนานา แห่งผรรเณนทราธิราช ภักตรภาชนงามเลอศแล้ว แต่ล้วนแก้วเจ็ดประการทุกสิ่ง แล

โส ปน จัก์กวัต์ติรูปสิรึ นิม์มิต๎วา นานัป์ปการ วิจิต์ตวัณ์ณสุวัณ์ณรชฏมณิมยํ ทิพ์พเสตฉัต์ตํ ธารยมาเนหิ ทิพ์พภูสิตภูสิเตหิ อเนกสหัส์เสหิ นาคมานเวหิ เจว ทัส์ส นกถนหัส์สนาทีหิ อาการวิลาเสหิ กามินมโนหราหิ ปรมวิลาสาหิ นาคกั์าติ ปริวุต์โต ยุค์คัน์ธรสมุค์คตรุณ สุริโยวิย ทิพ์พรตนบัล์ลังเก นิสิน์โน สัพ์พรตนขจิต์ตสุวัณ์ณ รชฏกาชเนส อุปัฏ์ฐาจิตํ จัก์กวัต์ติที่โภชนาหารรหํ นานารสอัน์นปาณวิกตึ โอโลเกต๎วา ภุ์ชิตุํ อารัท์โธ อโหสิ

อันดับกาลนั้น อันว่าพระญาผรรเณดศวราเศียรพิศ ก็เนียรมิตรรูปสุนธรธรา ประดูจสมเด็จมหาจักรพรรดิ แลมีนาคบรรพสัชทังหลาย แลพลนิกายนับพัน กแห่ด้วยเครื่องสรรพทิพยา คือเสวตรฉัตราทิพรัตน อันเปนสิริสวัสดิโอฬาร แลรชฎมาลยสุพรรณ สรรพพิจิตรต่างต่าง อันว่านางนาคทังหลาย มีกายพึงสุดศวาศ อันอภิลาศอุดดม คราดเครื่อนฉมคนธา เปนที่ปราถนาแห่งบุรุษ แลงามเปนพุทธเปนภาพ ควรแก่ยินลาภยิยดี รูพาทีอภิปราย แย้มยิ้มพรายจึ่งกล่าว พิททูลท้าวควรชม มือประนมนอบน้อม นั่งล้อมเผ้าอุรคราช เหนือทิพรัตนาศนบัลลังก์ อันว่าภุชงคราชา ประดูจพระภาณุบวร ทินกรจรอุไทย รังสีไถงกระจ่าง เหนือพ่างพื้นคคนานคร อันเทียมยอดยุคนธรคิรินทร์ กทฤฎินโอชาหาร อันนบานสุรา นานาชาทนิยเนก รสดิเรกทังผอง อันตั้งอยู่เหนือภาชนทองเงินแก้ว กปรารพภแล้วเพื่อจะบริโภค ในกาลนั้น แล

ตโต ภควา สัพ์พั์ุพุทธจัก์กวัต์ติราชาภิเสกาภิรั์ ชิตกวจสัม์ภูเตน นววิธวาเรน สกลปถวิกัม์ปนสมัต์เถน อุปริปัก์กลาขารสติน์ตชยกุสุมโกวิลาร์บุบ์ผวัณ์ณรัต์ตปรมปํสุ กุลจีวเรน กนกาจลสิขรปติมํสมุค์ตภสุคตกายํ สัม์ปฏิจ์ฉัน์โน สมัน์ตสุรุจิรกนกคุหัพ์ภัน์ตรโต อสัม์ภิตตรุณหริณิน์โทวิย ปรมสุคัน์ธกุฏิโต นิก์ขมิต๎วา จปน อุทยปัพ์พตกูเฏ ปุณ์ณ จัน์โทวิย คัน์ธกุฏิปมุเข ถัต๎วา อานันทํ ภิก์ขุสํฆํ สัน์นิปาเตสิ

ในกาลปางนั้น อันว่าสมเด็จพระสวะยมภูญาณมหิมา กธรงพระพัษตราวรวะรางค์ สพักเหนือพุทธางโสดดรอดุลย มหาบางษุกุลพัษตรจีวะรา ปานรัตตบุษบาสรเอ้ง แสงสุกเปล่งสีก่ำ ดูจกุสุมำสัมรอก แลสีดอกโกวิฬาร อันมีในสถานพนาทวา มีพรรณาอันชุ่ม จุ่มที่นีระลาขา แลมหาบังสุกุลจิวรนั้นใส้ อันอาจให้ธรณีดล จลพิจลจะลา สังขยาได้เก้าครั้ง บังเกอดเปนกรอะอันไกร ชอบพระหฤไทยจินดา เปนเครื่องบรํมพุทธาภิเษก อันอดิเรกวิสุทธ แห่งสมเด็จทิปทุดดโมโคดํมเจ้า ประดูจกรอะเข้าการรงค แห่งองค์บรํมจักรพรรดิ อันเปนเครื่องขษัตริยุประโภค สมเด็จพระดิลกโลกยวิสุทธ รูปพระพุทธอัษจรรย กอปรด้วยฉับพิธพรรณรังสี พระรัดศมีปรำมวย กอปรด้วยทวัดดึงษมหา บุรุษลักษณาชวะลิต แลอสิตยานุพยัญชนวะรงค พระองค์เสด็จจากสถาน พุทธองค์ปานสิขเรนทร พระญาเศลสุพรรณ เสด็จจากพระคันธกุฎี สมเด็จพระนรสีหมุนิวร ปานดรุณไกรสรสีหราช บมิได้ไหวหวาดด้วยสำเนียง เสียงพิทธยุตอันตก บมีสดุ้งตรนกอาการ แก่พาลมฤคคราชทังหลาย เยื้องกรายสีหชำนัน จากสุพรรณคูหา รัดศมีโสภาสะมันต ธฺเสด็จสถิตหน้าพระคันธกุฎี มีอุประมาทำเนียบ เปรียบบรํมพุทธางก กลสสางกรจรอุไทย เหนียพระญาไศละบวร อันชื่อยุคนธรพระหา สมเด็จธิรธรวรวะรา กสั่งพระอานนท ให้ผชุมนิกรอรหนตทังปวง แล

ตทาจปน วิปัส์สนาสุภายตนหัต์เถน สัพ์พกิเลสติณลตานิกเร คัณ๎หิต๎วา อิท์ธิป์ปาทวรภูมิยํ ปาเตต๎วา จตุสติ ปัฏ์ฐานปัณ๎หิยา ปหริต๎วา กามรูปารูปภวสํขาเต ตโยภเว จุณ์ณวิจุณ์เณ กัต๎วา สหปติสัม์ภิทาหิ สัพ์พาสวสมุจ์เฉทา รหัต์ตปัต์โต ปถมัค์คสาวโก สาริปุต์ตวรคัน์ธคโช ปติสัม์ภิทปัต์เต อัต์ตโน ปริวาเร คเหต๎วา อโนปมายัค์คสาวกลิลาย ภควโต ทัก์ขิณปัส์เส นิสีทิ

ในกาลปางนั้น อันว่าพระมหาสาริบุตร อันเปนทักษิณพุทธพาหา ประถมอรรคสาวกอันเลอศ พระญาณประเสอรรดิคามภิร ประดูจคนธหัษดินทรกุญชรบวร ดลโลกุดดรอรหันต ธเผด็จสรรพาสวะกิเลศ เปนสมุทเฉทประหาร กับด้วยพระประฏิสัมภิทาญาณทังปวง กเอางวงกระหวัดพามา ซึ่งตฤณลดาทังหลาย หมายคือกิเลศทังปวง ด้วยงวงคือพระหัตถ อันเปนอายัตนะวรา คือพระวิปัสสะนาญาณแห่งพระองค์ กทิ้งลงในพสุธาอันพิจิตร คือพระอิทธิบาทบวรา เอยียบไปมาด้วยส้นเท้า คือพระสติปัฏฐานเจ้าทังสี่ ธกกะทำตรีภพทังสาม คือกามภะวารูปารภวะ แลอะรูปภาพทังปวงใส้ กให้เปนภัศม ตระบัดเปนจุรรณวิจูรรณา ธกพาบริพารแห่งพระองค์ อันธรงพระประฏิสัมภิทา กมาด้วยสราพกะคันไล งามบมีที่จอุประไมยุบประมา กเฝ้าอยู่ฝ่ายขวาแห่งสมเด็จ พระสรรเพชญ์พุทธเจ้า แล

ตทนัน์ตรเมว สมาธิอวาเต วิริยังคารํ ปริปุเรต๎วา อนิจ์จาทิลัก์ขณา อุก์กามุขวิปัส์สนาภสตุ โยเชต๎วา จตุมหาภุติกํ กรชกายอยปิณ์ฑาณัค์คินา ปริปาเจต๎วา ทานสัน์ธาเสน คเหต๎วา สีลาธิกรณิยํ ภเปต๎วา อริยสัจ์จ กุเฏน ปหรัน์โต ตัส์ส อวิช์ชาสีสํ ภิน์ทิต๎วา อัค์คผลปัต์โต ทุติยสาวกมหาโมค์คัล์ลานัต์เถรกัม์มารวโร อัต์ตนา สทิเส ปริวาเร คเหต๎วา ภควโต วามปัส์เส นิสีทิ

ในกษณกาลดับนั้น อันว่าพระมหาโมคคัลลา อันเปนอุดดร พาหาพระพุทธ มกุฎโลกาจารบพิตร ธกประพฤดิกิตยในทุติยะ อรรคสะราวกะอันเลอศ ฝ่ายริทธิประเสอรรดิวะรา อุประมาแห่งพระมหาโมคคัลลาน ประดูจโลหาการสิลบี อันให้ชาลัคคีดำเกอง ในเตาเพลองลนล่าว อันกล่าวคือวิริยาอดุลย ให้ไพบุลยในสกนธอัคยา อันกล่าวคือปรีชาสมาธินั้น อันธสูบวาตนิรันดรไปมา คือพระวิปัสสะนาวะรางค จึ่งวางโลหะลงเผา ในปากเบ้ากอุประไมย ต่อพระไตรลักษณญาณ กให้อุณหาการแห่งโลหะ อันกล่าวคือขันธะกรชกาย อันธหมายพรรณา ในมหาภูตรรูปทังสี่ ให้สุกด้วยเปลวอัคคีโดยรอบ คือกอปรด้วยองคปัญญา เอาสัณธาสถือมาวางไว้ ได้แก่ให้ธนทาน วางไว้ในสถานหน้าทั่ง คือตั้งอยู่ในสีลบารมี แลตีด้วยค้อนไปมา คือพระจตุราริยสัจจธรรม กทำลายเสียรในอันตโลหา คืออวิชชาอันกำบังสัตว ธกถึงซึ่งอรหัตตผลญาณ กพาเอาบริพารทังหลาย อันเสมอด้วยพระกายแห่งพระองค์ ธกนำคณสงฆ์ทังหลาย มาเฝ้าฝ่ายซ้ายแห่งสมเด็จ พระสรรเพชญ์พุทธเจ้า แล

ตโต อันตรา โลกิยโลกุต์ตรสัท์ธา มหา โสณ์ฑาย สกลกิเลสติณลตํ คเหต๎วา จตุสติปัฏ์ฐานวรชาณุม๎หอปราปรํ ปหริต๎วา สัพ์พานัฏ์วิธายกกามรัช์ชํ ปัป์โปเตต๎วา อนิจ์จาทิวิปัส์สนามุเข ถเปต๎วา สมาธิชิว๎หา ปริวัต์เตต๎วา ญาณธาฒาหิ วิท์ธเชต๎วา มัค์คผลคิวาหิ ปเวเสต๎วา อมตนิพ์พานกุจ์ฉิม๎หิ ปุริโต อาตโกณ์ฑั์มหานาโค สัพ์พาสวปริสุท์เธ อัต์ตโน ปริวาเร คเหต๎วา ภควันต์ ปริวาเรน์โต ภควโต ปัจ์ฉโต นิสีทิ

ในกษณกาลดับนั้น อันว่าพระอัญญาตโกณฑัญ ประดูจบัณฑรหัสดินทร รวบเอาติรรณลดา อันกล่าวคือสรรพาทิกิเลศทังปวง มาด้วยงวงอันใหญ่ คือในโลกียโลกุดดรสรัทธา ฟาดไปมาซึ่งตฤณลดาคือกิเลศ ในชาณประเทศอันเลอศ คือ พระสติปัฏฐานอันประเสอรรดิ์ทังสี่ กสบัดเสียซึ่งทุลี คือกามอันบมีเปนประโยชนทังหลาย กตั้งไว้พายในปาก คือปัญญามากพิจารณ อนิตยสังขารทุกขอนัตต กกระหวัดด้วยชิวหาดม คือสมาธิสมาบัดดิ กเคี้ยวให้เปนภัศมด้วยกราม คือนามญาณสิบประการ มีอุทยญาณเปนต้น แลกลืนให้พ้นเข้าไปในฅอ กเปรียบต่อพระอริยมารรคอริยผล กให้บริบูรณในมณฑลสกลนาภี คือวารีสอมตโมกษนฤพาน ธกพาบริวารแห่งพระองค์ อันธรงธรรมบริสุทธ วิมุดดิอารพทังหลาย มากราบถวายบังคม สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้า แล้วกล้อมเฝ้าอยู่เบื้องพระขนอง แล

ตทา สกลหทยัพ์ภัน์ตเร ิติ สัพ์พานัฏ์วิธายกสัพ์พกิเลสํ กัป์ปวิคมนสมเย ปั์จสุริยปาตุพ์ภาเวน มหัณ์ณโวทุกวินาสํ วิย อริยมัค์คสุริยปาตุพ์ภาเวนฺ สุก์ขาเปต๎วา อัค์คผลปัต์โต มหากัส์สปเถโร อัต์ตโน ปริวาเร คเหต๎วา ภควันตํ ปริวาเรสิ

ในกาลนั้น อันว่าพระมหากัสสปเถร ยังกมะเลนทริยจิตร อันมิศรด้วยกิเลศลามก แลตกแต่งโลกีย บมีเปนปรโยชนทังปวง อันสถิตยในพระทรวงแห่งพระองค์ ประดูจคงคาอันมากในมหาสมุทร ให้แห้งสิ้นสุดด้วยพระอริยมัค์ค อันมานลักษณประสัษฐ ประดูจนฤรรพัดดิสุริยา เมื่อกัลปาพินาศ รัดศโมภาษทังปวง ถ้วนห้าดวงนฤรุชฌ์ ชลกำนุงสมุทรบมาน เมื่อโลกานดะราย ฉิบหายด้วยอัคยา ธกลุธรรมมรรคาธิกธยาน ธกพาเอาบริพารแห่งพระองค์ อันธำรงธรรมวิสุทธ์ มาล้อมสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่ แล

อถั์เ มหาเถรา จตุปาริสุท์ธสีลจามิกรกั์จุกํ ปารุปิต๎วา สมาธิกรชฏกวเจน ถิรํ พัน์ธิต๎วา อุต์ตมเตรสธุตังคสันนาห์ สัน์นัย๎หิต๎วา อโยนโส มนสิการสรสัต์ติโตมรนิวารนัต์ถํ จตุสติปัฏ์านผลกวรํ คัณ๎หิต๎วา สตตมัจ์จัน์ตภิต์ตุจ์ฉาติ ทารุณตรํ ชนชรามรณาทิสํสารทุก์ชาติ สัม์พาธทุก์คมัท์ธานัป์ปภวอติฆฏมิจ์ฉาทิฏ์ิวนปาทปลตาชาลํ สั์ฉิน์ทนัต์ถํ มัค์คาณนิสิตขัค์คํ คัณ๎หิต๎วา รจิตจามิกรจัม์มวัม์มิกา วิย มหาโยธาสัต์ถุจัก์กวัต์ตินริน์ธํ ปริวาเรสุ

ในกษณกาลานุกกรํม โดยนิยํมพรรณนา อันว่าพระมหาเถราทังผอง มากเนืองนองหมู่อื่น ชมชื่นแต่พระกายา ธรงพระมาลาสุพรรณ ประดับด้วยมณีสรรพโสภา คือพระจตุปาริสุทธศีลสำรวม กรอะเงินสรวมพระองค์ ผูกหมั้นคงนักหนา อันนี้พรรณนาคือสมาธิ์ ธสอดแล่งสาตรอาวุธ อานบริสุทธวะวาม อันจเข้าสู่สงครามชิงไชย กล่าวคือไตรรัสธุดงค์ ทุกพระองค์ประฏิบัดดิ เปนศิริสวัสดิโอฬาร ธชำนานในรณรงค์ กธรงเสโลหะลายทอง ได้ป้องสรรพสาษตรา คือพระจัตตาริสติปัฏฐาน ธห้ามสรรพภยานดราย หมายคือสรกำชราบ ลำแพงดาบหอกซัด คือนมัสการทังหลาย อันมีอุบายนานา แลหาปร โยชนบมิได้ ธธรงไว้ซึ่งตาวบันคมนัก คือพระอริยมัค์คผลญาณ เพื่อจประหารพนรุกขา อันอาทวาราชี สาขีพฤกษลดา คือมฤจฉาทฤษฎี แน่นชัดที่มรรคา หนากว่าหนายิ่งนัก อันเกอดในมัค์ควนะกันดาร อันเปนสถานไปยาก คือภพอันลำบากแห่งสัตว ด้วยสงสารวัฏรทุกขเปนอาทิ์ คือชาติชราพยาธิมรณาอันมาก อันไปยากนักจึงกลูว ทู่วสรรพสัตวเนืองนิตยมา ธกเข้าล้อมซึ่งสมเด็จพระญาจักรพรรดิ คือสมเด็จพระอังคิร รัดศมิสาษดา แลพระมหาเถราทังผอง ธรงกรอะทองอันรจนา ประดูจมหาโยธาอันเลอศ แล

เตหิ ปริวาริโต ภควา รามเณย์ย ฉัท์ทัน์ตทหติเร อัฏ์สหัส์สกุ์ชรนาเคหิ ปริวาริโต วิย อสีติหัต์ถุพ์เพโธ ฉัท์ธัน์ทวารณราชาติ มูเล ปัณ์ฑุกัม์พลสิลาสเน ตาวตืสเทวตา คณปริวุต์โต วิย สัก์โกเทวราชา วิปุลขุท์ธกคัจ์ฉปัล์ลวังกุรสมสัฉัน์โน วิย รตนทิพ์พรุก์โข สุวัณ์ณสาขา ปุต์ตัพ์พปัล์ลวังกุรวิราชิโต วิย มหาชัม์พุรุก์โข วิโรจิต์ถ

อันว่าสมเด็จพระอังคิรโสดดร บวรมุนีรพีพงษ์ แลมีหมู่พระภิกษุสงฆ์ทังหลาย ถวายนมัสการห้อมล้อม สระพรั่งพร้อมรุจิรา โสภาพรรณศิริวิลาศ ประดูจพระญาคเชนทรชาดิฉัททันต์ อันสูงเส้นหนึ่งมีประมาณ แลคชบริวารแปดพัน ล้อมพระฉัททันต์อันประเสอรรดิ บังเกอดแทบฉัททันตะสระ ใกล้เดียรถะชลที อันเปนที่สุขรํมย อนึ่งโสดประดูจสมเด็จ เทวราชเพชรปาณี อันมีในไตรตรึงษโลกา แลมีอมรากรทังหลาย ห้อมล้อมถวายอภิวันท์ เสด็จเหนือบัณฑุกัมพลสีลาอาศน์ แทบร่มปาริกชาดยพฤกษา อนึ่งอุประมาดั่งไม้แก้ว อันงามประเสอรรดิแล้วด้วยทิพยรัตน แลประดับด้วยสาขาบัตรอังกุร แลงามด้วยรุ่นน้อยแลใหญ่ อนึ่งอุประไมยหินุบประมา ต่อชมพุพฤกษามหึมำ อันประจำทวีปมหิมา บัตรสาขากหิรัญญ ผลผกาขันทอังกูร งามอดูลยแล้วด้วยกาญจน แลสถิตยในอุดดรสถานแห่งชมพูทวีป นุเนาสมีปเชองพนม ชากุมพศธมพิษฎาร เนากำนุงสถานเดอมพน ชมอะหิมะวนตประเทศ แล

อถรณคณผณิปตินิกรปหรณกโร โรสานลวินุโท สัพพั์พุท์ธครุท์ธราชา มานุท์ธตมานสํ มานนิยตราวมานกตํ นัน์โทปนันทอุรคราชํ สัม์ปผาเลตุกาโม ยถาปัส์สัน์นานํ ภิย์โยภาวาย อิส์สาปกตัต์ตานํ อิส์สาปกตัต์ตาย ตถานุรูปํ อิท์ธาภิสํขารํ อภิสํขริต๎วา ฉัพ์พิธธีติโย ปุริโต วิสัช์เชต๎วา ยถา นาคราชา สภิก์ขุสํฆํ ภควัน์ตํ ปัส์สติ ตถา อธิฏ์หิต๎วา เทวตามนุส์สวจนปถาตีตาย พุท์ธสิริยา อนิลปถมัพ์ภุคันต๎วา เทวโลกาภิมุโข ปายาสิ

ในกษณกาลนั้น อันว่าเวนะไตรยราชา คือสมเด็จพระสาษดาสัพพัญญู อันประหารซึ่งหมู่นาคราช คือให้ปราศจากเกลศ กดับเสร็จซึ่งเดชะเดชา คือโทษาให้พินาศ พระองค์ปราถนาเพื่อจทำลาย หมายคือพระญานนโทปนนทนาคนี้ อันเปนอธิบดีในบาดาล มีจิตรฟุ้งซ่านด้วยมานะ แลดูหมิ่นสมเด็จโลกยเชษฎา อันนิกฺรพรํหมมามรนรทังหลาย ควรถวายนมัสการบูชา พระองค์กแต่งพระฤทธานุภาเวศ ด้วยพุทธเดชสมภาร บังควรด้วยประการดังนี้ใส้ เพื่อจะให้บรรสัษยปัสสันนา จำเรอนสรัทธายิ่งกว่าเก่า พระองค์เจ้าย่อมบำบัด สัตวทังหลายในโลกา ให้หายริดษยาราคี อันมีปรกดีอยู่ในอาตมา แห่งสัตวโลกาทังหลายนั้น มีด้วยประการฉันใด ในเมื่อกาลวันนั้น พระองค์กเปล่งฉ้อพรรณรังษี เปนยุคคลรัดศมีหกประการ ไปดลสถานฉพอะหน้า แห่งพระญานนโทปนนท มีด้วยประการกลดั่งนั้น อันว่าพระญาอุรคราช จยลสมเด็จบรํมโลกนารรถมุนิวงษ แลนิกรสงฆบริพาร มีด้วยประการฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลกาจารย กอธิษฐานดั่งนั้นเสร็จ กเสด็จพุทธดำเนอรหอะขึ้น สู่พ่างพื้นอากาศ ฉพอะซึ่งเทวราชโลกา ด้วยพุทธลิลาศิริสวัสดิ กล่วงเสียซึ่งบรรสัษยทังหลาย อันจกล่าวบรรยายพรรณนา ซึ่งพระพุทธลิลาอันเลอศนั้น

อถ ภควา สาวํกนิกรรตนมยขุท์ธกโปตากรานุคโต ฉัพ์พัณ์ณธีโตทกภริตาม์พร คลลวนปัล์ลวมานอุต์ตมธัม์มัก์ขัน์ธ วิวิธวิจิต์ตสารสํปุณ์ณกนกโปตากาเรนาภิลาสมาโน อถวา นีลปตลสมิรณปัก์โขภิตสึโฆลังฆมาโน ปราธานุรูปวินยิตัพพํ ทฏ์กัม์มสมังคึ นัน์โทปนัน์ทภุชคราชํ สัน์ทิส์สมาโน ยติวรคณนานา วิธวัณ์ณปัต์ตรถนิกรปริวุต์โต ทยฒโยชนสตพัน์ธคัต์โต นิหตสัพ์พรณคณกุติลคตวิปัก์โข ราชา สุปัณโณ อถวา สรทสมยพหลปโยธรปตลวิรหิตวิสลาม์ภรตลาเนกตนุชนัก์ขัต์ตากรปริวุต์โต วิย นัก์ขัต์ตราชา ปุณ์ณจัน์โท พสุมยจํกมสทิเสน ตัส์ส วิมานมัต์ถเกเนว ปั์จภิก์ขุสเตหิ สัท์ธึ เทวโลกาภิมุโข ปายาสิ

ในขณกาลนั้น อันว่าสมเด็จบรํมนายก ดิลกโลกจุธา ประดูจมหานาวาสฺพรรณ มีนิกรอรหันตทังหลาย แลถวายนมัสการหอะตาม กงามปานสํเภาแก้วอันน้อย ทังห้าร้อยเปนบริวาร กงามนักในอาการสํเภาทอง อันไพบูลยด้วยของวิเศศ อันมีรัตนประเภทนานา คือพระพุทธกายาธรรมขันธ์ อันมีพรรณอุดดมา ลอยไปในมหาสมุทรอันกว้าง คือพ่างพื้นอากาศ ไพบูลยดาษไปด้วยวารี คือพระรัดศมีหกประการ สมเด็จพระชินะมานบพิตรนั้น ประดูจสุบรรณราชา อันมีกายาอันยาว กล่าวได้ร้อยห้าสิบโยชนประมาณ แลปีกอันพิษฎารกระพือ เปนพยุฮือพันลึก เสียงคฤ้านคึกพึงตรนก กผกผยองในเวหาศ ด้วยฤทธิอำนาทเร็วพลัน อันเปนสัตรูแก่หมู่นาคา คือหมู่กิเลศาทังหลายนั้น แลมีสกุณาพรรณทังหลาย พิจิตรพรรณรายนานา คือหมู่แห่งโยคาพจร อันตามประนมกรห้อมล้อม ประนามน้อมวันทา (แลสมเด็จพระพุทธญาณาอนันต์ งามประดูจพระจันทรผ่องเพ็ญ เปนอธิบดีแกหมู่ฤกษดารา แลดารกพรรคาอันบริสุทธิ์ คือพระพุทธบุตรอันอเนก ฤทธาดิเรกไปตาม กงามในห้องโพยมากาศ แลพื้นเวหาศอันกว้าง กระจ่างสว่างนฤมลา ทวราจากเมฆันดราย หมายเหมือนบูรรเณนทุวรจรจรัส อันเปนกรรดิกกาลสรัทฤดูมาศ สมเด็จพระสัทธารรถสัพพัญญู เสด็จฉพอะสู่เทวโลกา กับด้วยพระกษิณาสรพห้าร้อย กเสด็จหอะลอยในเบื้องบน แห่งวิมานนนโทปนนทนาคราช แลบางสุพุทธบาทอันอุดดม ประดูจจงกรํมอันแล้ว ไปด้วยแก้วอันรจนา กปรากฎแก่พระญานนโทปนนทนาก อันกอปรด้วยกรรมอันร้ายมากทุรรพจ แลจพึงทำลายด้วยบททรมาน อันควรแก่ถานแก่โทษ กจคำารพยแก่พระอรหาธิคุโณดดํม บรํมบพิตรพุทธคุณเจ้า แล

เตนโข ปน สมเยน นัน์โทปนัน์ทัส์ส อุรคาธิปติส์ส เอวรูปํ ลามกตรํ ทิฏ์ิคตํ อุป์ปัน์นํ โหติ อิเม นาม มุณ์ฑกสมณา มัย๎หอุปริภวเนน เทวตานํ ตาวตึสานํ ภวนํ ภวิส์สัน์ติ นิก์ขมัน์ติปิ อิทานิ อิโต ปัฏ์าย อิเมส์ มัย๎หํ มัต์ถเก ปาทปํสุํ โอกิรัน์ตานํ คัน์ตุํ น ทัส์สามีติ

แม้ในกาลวันนั้น อันว่านนโทปนนทนาคราช กกล่าวคำวิปลาศนานา กอปรด้วยมฤจฉาทฤษฎี เปนวจีลามกยิ่งนัก กมีลักษณดั่งนี้ อันว่าพวกชีสรํมณ อันโกนสีสะเหล่านี้ใส้ ย่อมเข้าไปสู่เทวา อันอยู่ดาวะดึงษาสถาน กมาเหนือพิมานแห่งเรา แม้นจกลับเทาเมืองชน กข้ามไปเบื้องบนปราสาท แห่งอาดมนี้หลายวาร ตั้งแต่กาลวันนี้ไป อาดมบมิให้สรํมณา สู่เทวโลกาทังหลาย อันเรี่ยรายรชทุลี อันมีในฝ่าบาทา แห่งสรํมณาอันอาเกียรณ แลไปเหนือเสียรแห่งอาตมภาพนี้ แล

อุฏ์าย อเนเกหิ นาคมานเวห์ ปริวุต์โต สิเนรุปาทํ คัน์ต๎วา นาคานุภาเวน ทีฆมหันตตรํ อัต์ตภาวํ นิม์มิต๎วา สิเนรุํ สัตํตัก์ขตุํ โภเคหิ ปริก์ขิปิต๎วา อุท์ธมัจ์จุค์คตัส์ส จตุราสีติโยชนสหัส์สัป์ปมาณัส์ส สิเนรุเสลราชัส โสปริตลัต์ถิตํ ท๎วาทสโยชนัป์ปมานํ ตาวตึสามรานํ มหาสุทัส์สนนครํ สมัน์ตาวกุชิตายตโนต์ตุงคตรํ ชัช์ชลิตนานาวิวิธรตนวิจิต์ตาเนกภึสนกสกโกฏิปั์จทสสหัส์สผเณน ปติจ์ฉาเทต๎วา อทัส์สนํ คเมสิ

อันว่าพระญาอุรคินทรภุชงค ออกจากบัลลังกบมิช้า แลมีนาคามาตยทังหลาย นาคนิกายห้อมล้อม สพรั่งพร้อมนำไป สู่ซึ่งเชองไศลศิขเรนทร อันชื่อสุเมรุราชา แลนนโทปนันทาเสียรทิศ กนฤรรมิตรกาย ใหญ่ยาวสามารถนัก ด้วย ยกศักดิมุนยา แห่งนาคานุภาพ โดยใจหยาบแห่งเขา กเกี้ยวเข้าซึ่งราชบรรพต ด้วยขนดตัวกันใหญ่ คณนาได้เจ็ดรอบ กปกครอบด้วยทังพาน มิดปราสาทสถานนครินทรา อันชื่อ มหาสุทัศนไพศาล สูงประมาณสิบสองโยชน แลกอปรด้วย ทิพยวโนททยาน อันตั้งบนอรรคสถานพระสุเมรุ อันเปนจุธาธร เณนทรกรลาสถาน มีประมาณแสนหกหมื่นแปดพันโยชน อันไพโรจรจิตรนั้น แลพระญานันโทปนันทนาคราช ยังพพานอาตมคณนา นฤมิตรได้ห้าหมื่นโกฏิ สำแดงสิโรตดํมพันลึก อธึกดิเรกพิจิตร ด้วยรัตนพิพิธอาภา ครุดุรงคกายาทฤรรฆำ กงำมืดดาวดึงษา แลทวยางคชิวเหนทรราชาภุชังค กบังมรรคาทังปวงไว้ เพื่อบมิให้ปรากฏ ด้วยพาลพยศอันหยาบ แล

อถโข ปนายัส๎มา รัฏ์ปาโล สมัน์ธการํ ทิส๎วา สิรสิสมาโรปิตัญ์ชลิปูฏมกุลกมโล ภควัน์ตเมตทโวจ ปุพ์เพ ภัน์เต อิมัส๎มึ ปเทเส ถิตานํ อัม๎หากํ สิเนรุราชัส์ส สัต์ตรตนมยานิ จัต์ตาริ กุฏานิ ทิส์สัน์ติ สิเนรุโน วิจิต์ตเมขลสัต์ตรตนมยํ สัต์ตัป์ปริภัณ์ฑปัพ์พตัญ์จ ทิส์สติ ตาวตึ สามรานํ สุทัส์สนมหานครํปิ ทิส์สติ สัก์กัส์ส เทวรั์โ นิวาสนัต์ถานํ เทวโลเก มหาติลกสัม์ภูตํ สัต์ตโยชนสมุค์คตํ สุวัณ์ณรชฎมยํ เวชยัน์ตปาสาทํ ทิส์สติ เวชยันท์ต ปาสาทัส์สูปริสมุส์สิตนานัป์ปการวัณ์ณทิพ์พัจ์ฉัต์ตธชปฏากจามราทีนี ทิส์สัน์ติ โกนุโข ภัน์เต ปเนตรหิ เหตุยํ สัพ์พานิ ปเนตานิ น ทิส์สัน์ตีติ

แม้ในกาลขณะนั้น อันว่าพระมหารัษฐบาลเถร อันเปนพระมุเนนทรโอรสา ผู้มีพระชนมายุสม กเหนลักษณอันธการมหิมา ธกยอขึ้นกระมุททผกาอันตุม คือกระพุ่มประนมได กตั้งไว้ในสิโรเพศ กทูลถามเหตุอัศจรรย ซึ่งสมเด็จพระบรมสรรเพชญ์ ว่าข้าแต่สมเด็จพระชนกาธิราช อันว่าข้าพุทธบาททังหลาย สถิตยภายในประเทศนี้ กย่อมมีมาแต่ก่อน กบห่อนยลอนธการมหิมา กปรากฎอรรคบรรพตราชา อันอาภาทังสี่ มีพรรณเลื่อมประภัสสร แล้วด้วยสัตตรตนบวรชัชวาลย แลลักษณประการหนึ่งเล่า อันว่าภูเขาอันล้อมรอบพระสิเนรุราช แต่ล้วนรตโนภาษทังเจ็ดชั้น ชื่อสัตตบริภัณฑพรรณราย ประดูจลายสระอิ้ง พรรณงามยิ่งอันคาด พระสุเมรุราชกปรากฏ อนึ่งเวชยันตรบุรินททปราสาท แห่งสมเด็จเทวราชมัฆวาร อันแล้วด้วยกนกรัตนมาลยระชฎ สดูปปรากฏได้ร้อยโยชน บังเกอดเปนอรรโคดดรมกุฏ อุดดํมในเทวโลกยสภา เปนที่สถิตแห่งสัษดิศวราธิราช อันมีอำนาทอาชญา ยิ่งกว่าเทพดาทังหลาย หมายในสองชั้นฟ้า คือชั้นจาตุมหาราชิกา แลดาวะดึงษาอาวาศ อันว่าปราสาทบุรินทท กย่อมปรากฏแต่ก่อนมา อนึ่งอันว่าเครื่องทิพยานุทิพทังหลาย หมายคือธงไชยแลฉัตร ธวัชบวนชำรุงพัชนิจามร อันมีพรรณบวรต่างต่าง อันยกไว้พ่างพื้นเบื้องบน แห่งไพชยนตรนครา กปรากฏแต่บูรรพกาล อันว่าสถานทังหลาย อันดรธานหายบัดนี้ แลมีด้วยเหตุอันใด จึ่งบมิได้ปรากฎ ข้าแต่สมเด็จพระสุคตศาษดา ดังข้าพระพุทธองค์กราบทูลถาม อันว่าความอัศจรรย์นี้ จว่ามีเหตุดังฤา

อถ กิเลสสังคามวิช์ชยุต์ตโม มุนิส์สรมหาวิโร สุคัน์ธจตุชาติคัน์ธผริตํ สัต์ตรตนขจิต์ตวิลสิตจามิกรกรัณฑกํ สมุค์ฆาเฏน์โต วิย สารัส์สุโตฬารธินิวาสนัฏฺานสัม์ภูตํ สุวัณ์ณปาสาทัพ์ภัน์ตเร กัป์ปหารัป์ปวิฏ์าเนกโกฏิสีตมยุขัป์ปภา สุรปราชิตปภัส์สรรํสีสมจัต์ตาฬิสสืตทัน์ตปัน์ติสุภัค์คํ รัต์ตปทุมปุป์ผปตรัต์ตายตนมุทุตลุนตรวรรสสัณ์านสัม์ภูตํ วหินัท์ทุมชยกุสุมพุท์ธุชิวปุป์ผสมานวัณ์ณารุณ์โณฏ์ท๎วยรุจิรํ สัท์ธัม์มามตวัส์สาภิส์สิตํ เมฆมุขปติมชินมุขํ อุค์ฆาเฏต๎วา ฆัน์ตาเภริกิน์นรกรวิกวิรุตมัต์ตทิรทคัช์ชิตมิคราช นิน์นาทุท์ธธิสํโขภนชลธิคัช์ชิตสทิสํ ยติส์สรมุขวิวรมณิคุหัพ์ภัน์ตรวิสริกํสวณิยตรอัฏังคสัม์ปัน์นาคตํ อนัป์ปกัป์ปูปกัป์ปิตสุจ์จริตผลนิพ์พัต์ตาติ มธุรสรํ นิจ์ฉาเรต๎วา ตเม ตทโวจ อยํ อัฏ์ปาลนัน์โทปนัน์ทอุรคาธิปติ อัม๎หากํ อุปริสีเส ปาทปัสุํ โอกิริต๎วา ตาวตึสเทวโลเก คัจ์ฉัน๎ตานํ กุป์ปิโต สิเนรุํ สัต์ตัก์ขัต์ตุํ โภเคหิ ปริก์ขิปิต๎วา มหัน์เตน ผเณน ปติจ์ฉาเทต๎วา เอกัน์ธการมกาสีติ

ในกาลปางนั้น อันว่าสมเด็จมเหสียสุคต ทสพลธรวรญาณอนันต อันธผจญเสียซึ่งรณรงคสงคราม นามคือกิเลศดำฤษณา แลเปนบรํมแธรรยาจารยบพิตร ยิ่งกว่านิกรบัณฑิตยในโลกา พระมหาวิริยาธิกวรงค พระองค์กเผอยซึ่งพระโอษฐ ยังพระธรรม์โมชธารา ให้ตกลงมาดูจมุขเมฆ ยังพรรเษกชลชลา อมฤตยาทิพโพยทก ให้ตกอึงคนึงมี่ จเกอดเปนที่เนานิตย สถิตแห่งพระบวรปัญญา ให้สัตวคณาได้สดับ รับซึ่งรศพระธรรมอันเลอศ อันประเสอรรดิเปนแก่นสาร แลเลอศด้วยตรการแห่งแก้ว คือแถวพระทนตเสวตรชัชวาลย มีประมาณสี่สิบทัศ อันมีรัดศมีบวร เหลื้อมประภัสสรนฤมล กผจญเสียซึ่งรัดศมี พระรพีพรรณจันทรดาเรก อันอเนกด้วยโกฏิคณนา โชตยาภาพร้อมกัน อันจำรัสเข้าไป ในพายในปราสาทกาญจน เปนที่สถิตสถานบริสุทธ แห่งพระพุทธชิวหา รัตตพรรณาพรรณรายแสง แดงดูจกลีบโกมล อายามะกลอ่อนน้อมนักหนา อันรจนาไพโรจ ด้วยสีพระโอษฐทวะยางค พรรณรัดดางทำเนียบ เปรียบด้วยดอกสระเอ้งนา ผกาทาทิมดอกคำ กระฮอมล้ำดอกหงอนไก่ ปานบุทคลเผอยขึ้นไว้ซึ่งกรัณฑ สุพรรณรจิตรรุจิรา ไพบูลยด้วยรัตนาสับดพิธ ปรณีตเต็มด้วยจตุรา สุคนธารศพิโดรกำจร พุทธองคกเปล่งซึ่งพระสรอันสระหนอะ อันไพรอะล้นพ้น ได้ด้วยผลสุจริตธรรม อันพระองคเถพอสำเร็จมา สิ้นกัลปาอันยิ่ง อันพึงฟังพึงสดับ กเปล่งออกซึ่งสับทมฤทู แต่คูหารตนตรการ คือสถานแห่งช่องพระโอษฐ แห่งสมเด็จพระสรํมณโคดโมดดมา อันเปนโลเกศวราอดิสสรณ แห่งโยฺคาพจรทังผอง ประดูจสำเนียงฆ้องกลองบวร แลเสียงกินรบวรา แลเสียงกรวิกสกุณาวรางค แลคชุดดมางคโกรญจสะรา อันทรรปาภิมต อันกุมพศกำนุงไพร แลปานไกรสรวรสำเนียง แลเสียงสมุทรนฤรรนาท แลเมฆในเวหาศบันฦๅเสียง แลอุดดมสำเนียงนานา อันขึ้นมาในคคนานต แต่ล้วนพิษฎารหินุบประมา พระมฤทุรสะราสมเด็จพระพุทธเจ้า กลับเข้าในอัประมาณ

อันว่าสมเด็จอรุณพันธวาจารยบพิตร ธกบอกซึ่งกิตยอันมาน แก่พระรัษฐบาลเถรา ว่าพระญานนโทปนันท วันเปนนาครันยา โกรธแก่หมู่สรํมณาทังหลาย ว่าเรี่ยรายลอองฝ่าเท้า ลงบนวิมานเขาอาเกียรณ ในเบื้องบนเสียรแห่งเขา เมื่อเราไปเรามา ในดาวดึงษาสวรรคนี้ เขาเปนมฤจฉาทฤษฎีกระด้าง กกั้นกางฉวางมรรคา เพื่อบมิให้เราไปมาอีกเล่า เขาเกี้ยวเข้าซึ่งเขาพระสิเนรุ อันชื่อพระสุเมรุบรรพต กพันด้วยขนดได้เจ็ดรอบ กปกครอบอินทรพิมานปราการ ด้วยพั้งพานเขาอันใหญ่ ทำให้มิดมืดมหนธ เปนเอ้กนธการ แล

ทเมมิ ภัน์เต นาคราชัน์ติ อันว่าพระมหารัษฐบาลเถร กกราบทูลคดี แต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคยว่า ข้าแต่สมเด็จพระพุทธองค์อยู่เกล้า ข้าพระพุทธเจ้าทวรมาน ซึ่งอธิบดีบาดาลเถอดฤา

ภควา อนุชานาติ ในกาลนั้น อันว่าสมเด็จบรํมไตรภวนารรถ บมิได้อนุญญาตแก่พระรัษฐบาล ให้ทวรมานพระญานาค แล

อถโขปนายัส๎มา ภัท์ทิโย ตัส์ส ทเมตํ ตเถว วัต๎วา แม้ในกาลนั้น อันว่าพระภัททิยมหาเถรา ผู้มีพระชนมายุสมกทูลท่าว กล่าวซึ่งบทจทวรมาน กรุงบาดาลอธิบดี น ภควาอนุชานานิ สมเด็จพระบรมตรีภพนารรถ กบมิได้อนุญญาตแก่พระภัททิยะ กมีลักษณดั่งนั้น แล

อนุก์กเมน สัพ์เพ เถรา อุฏ์ฐายาสนา ตัส์ส ทเมตุํ ภควโต อาโรเจสุํ ในกาลนั้น อันว่านิกรพระมหาเถรานุเถร อันเปนพระชิเนนทรโอรส กกราบทูลด้วยบทจทวรมาน พระญาบาดาลอิศรา โดยพรรษานุกรํม นาปิ ภควา อนุชานานิ สมเด็จพระบรมไตรโลกาภิวาท บมิได้อนุญญาตให้ทรมาน แก่พุทธบริพารอันทูลนั้น

อถาวสาเน มหาโมค์คัล์ลานเถโร อหํ ทเมมิ นํ ภัน์เตติ อาห ในกาลกัษณนั้น อันว่าพระมหาเถรโมคคัลลาน กเปล่งออกซึ่งอวสานวาจา แห่งพระสาวกทังหลาย ธกกราบถวายบังคมทูลพระสรรเพชญ์ ข้าแต่สมเด็จพระพุทธอยู่เกล้า ข้าพระพุทธเจ้าทวรมาน นนโทพาลพยศร้าย ให้หายจากมารรคมฤจฉา ให้คลายจากฤทธานุภาพ แถพยศอันหยาบอันร้าย ด้วยอุบายข้าพุทธองค์ อันมีประสงษนี้เถอดฤา

ทเมหิ โมค์คัล์ลานาติ ภควา อนุชานาติ ในกาลนั้น อันว่าสมเด็จโลกดุรุง อุดุงคเดชมหิมา พรํหมมินทรามรนรคณ สกลไตรโลกิยนาถา ผู้เปนพระชนกาธิราช กอนุญญาตแก่พระมหาโมคคัลลา ด้วยพระพุทธฎีกาบวร ว่าดูกรมหาโมคคัลลาน ท่านจทวรมานนาคราชา กตามปราถนาแห่งท่าน เทอญ

เถโร ปกติวัณ์ณํ มัช์ช์หิต๎วา ปจัน์ทมารุตสมิริตสิขสิขสุวัณ์ณปฏังคํ กุงกุมราตรสสมานวัณ์ณปิพลิเลก์ขํ สมัน์ตรุจิรินานาวิธรํตนวิจิต์ตโกฏิสตสหัส์สผณํตธิคุโณต์ตุง คปุถุลนาคัต์ตภาวํ นิม์มิต๎วา ตํ อุรคาธิปตึ พัน์ธกํ วิยจุท์ทสัก์ขัต์ตุํ เวเฒต๎วา ตัส์สูปริผเณ มหัน์ตผณํ ถเปต๎วา สิเนรุนา สัท์ธึ อภิป์ปิเลสิ

ในกาลนั้น อันว่าพระอรรคพามบรํมสิษย ธจเนียรมิตรอาตมา ธกละปรกฤดิรูปามนุษย กอุดบัดดิเปนนาคราชา ทฤรรฆกายามหิมำ ธใหญ่ล้ำพระญานนโทปนนท ใหญ่กว่ากลได้สองภาค แลนาคอันธนฤมิตรนี้ อันมีสิกษาจลพิจล ประดูจกลเปลวอคยา อันวาตาพานพัด ปลิวยาบสบัดรจนา แลอุดดํมกายาทังผอง แล้วด้วยทองสมุชลิต เกล็ดพิจิตรอาภา ประดูจเลขารบาย ลายพิพิธพรรณบวร ดั่งย้อมด้วยชลเกสรบุษบา นานาพรรณตรการ มีพั้งพานได้แสนโกฏิ อันไพโรจโชตยาภา ด้วยสัตตรตนาวิวิธวรรณ ธกกรวัดพันนันโทปนนท ไว้รอบสกลบรรพต ด้วยขนดถ้วนจุทศวาร ประดูจทาระกัมมมัดไว้ ธกเอาพั้งพานใหญ่ได้แสนโกฏิ ตั้งไว้บนสิโรดดํมนาคา ธกทับพระญานาคลงไว้ กับพระญาไศลสิเนรุ แล

อถ เตน สิเนรุนา นิป์ปิลิยมานํ อุรคราชัส์ส ทีฆปุถุสริรํ อวิรตสัน์ทเสทํ เตลนิป์ปิต์ตติลวิชปุรัต์ตํ เวต์ตปัจ์ฉิกํ วิย อติตนุกมโหสิ

ในกาลนั้น อันว่ากายแห่งโภคินทรราชา พระมหาโมคคัลลาหนีบเข้าไว้ แลกายอันใหญ่มหิมา กน้อยเข้านักหนามานทำเนียบ เปรียบกระเช้าอันเขาทำด้วยหวาย แห่งนายช่างเตลาบีบน้ำมันงากยวิกย แลกายิกแห่งโภเคนทรราชา มีเสทารินรี่ ไหลสรกปรี่บมิขาด หยาดเสทางคเปนธาร กมีในกาลนั้น แล

อถ นาคราชา ธุมาสิ ในกาลนั้น อันว่าสัลปราชา กบังหวนธูรรมาให้กลุ้มไป ในทิศานุทิศ แล

ตํ ปน ธุมชาลํ โกฏิสตสหัส์สจัก์กวาเฬสุ ธุมายัน์ตํ ปถวีตลโต ยาว กมลคัพ์ภาลยา ธุมนิรัน์ตรมกาสิ แม้อันว่าธูรรมา อันนาคราชาบังหวนไป กเต็มในแสนโกฏิจักรวาฬ แต่ปถวีถานบดล จนพรํหมโลกาวาศ บมิให้ขาดซึ่งควันนั้น แล

เถโร อยํ มัย๎หํ สริเร ธโมอัต์ถีติ มั์เติ อัม๎หากํ สริเร ธุมัส์ส อัต์ถิ ภาวํปิ น ชานาติ อปิจโข ปน อัม๎หากํ สริเน ปริคุต์ตัต์ตา น ธุมาสึสติจ การเณ ธุมาสิน์ติ ธุมายิ

อันว่าพระมหาโมคคัลลานะเถร กตริในพระกมเลนทริยจิตรคำนึง พระองค์รำพึงดั่งนี้ อันว่าพาสุกรีราชา สำคัญว่ามานธูรรมาแต่ตูวเขา บมิรู้ว่าแผสงแห่งเรานี้มาน อนึ่งโสดอันว่ากาลอันอาตมบมิได้บังหวนควัน เหตุควันนั้นเรารักษา ไว้ในกายาในขันธ ในเมื่อวันนี้แลมีเหตุ กจะแจ้งซึ่งฤทธิเดชแห่งกัน ธกบังหวนควันในพระกายา เปนธูรรมาพิฦกษ แล

ตโต นาคราชา ปัช์ชลิ ในกาลนั้น อันว่าพระญาวาสุกี ให้เปนเปลวอัคคีด้วยฤทธิ แล

เถโร อยํ มัย๎หํ สริเร อัค์คิ อัต์ถีติ มั์เญติ อัม๎หากํ สริเร อัค์คิ อัต์ถิภาวํ น ชานาติ อปิจ อัม๎หากํ หทยัพ์ภัน์ตรทหนํ สัพ์พกาลเมว อสํวเฒต๎วา มัจ์ฉริยโกธโลภมทมานัป์ปปุริน์ทนาปชลิตัต์ตาสัพ์พกาลเมว เมต์ตากรุณาสีโตทเกน สัม์มาปรินิพ์พาปิตัต์ตา น ปัช์ชลติ สติปัจ์จเย ปัช์ชลาเปสึ เยวาติ

ในกาลนั้น อันว่าพระมหาเถร ธกคำนึงในมเนนทริยดั่งนี้ อันว่าทวยางคชิวเหนทรียราชา คิดว่ามีเตชาแต่ตูวเขา บมิรู้ว่าเพลองในอาตมเรานี้มี อนึ่งอันว่าอัคคีนั้นโสด บมิได้โชตนาการ ด้วยอาดมบมานให้เปลวเพลอง อันดำเกองไหม้ในหฤทยา แห่งอาตมาภาพจำเรอนได้ แลดับไว้ด้วยมารรคญาณ กมีสิ้นกาลทังปวงแท้ แม้แต่เพลองนั้นโสด บมิได้ไพโรจโชตนา ด้วยวาตาอันพานพัด คือมัจฉรรยชิงชัง บมิยังให้เกอดด้วยโทโษ อันโลโภแลมูวเมา แลทรมานเขาด้วยมานะ ด้วยสุภาวะอาตมภาพ ประหารบาปรำงับ ดับเพลองบาปเสียด้วยดี ด้วยวารีสฤโตทก ชราบเอย็นอกแห่งอาตมา คือกรุณาแลไมตรี กมีสิ้นกาลทังปวงแท้ แม้ในวันนี้แลมีเหตุ อาตมจยั้งเดชเดชา ให้อาภาดำเกอง ธกให้เพลองรุ่งเร้า ด้วยธเข้าเดโชกสิณ แล

อิเธกัจ์จานํ หิ สภาโว สุวัณ์ณโลหสทิโส อัค์คินา อปจิต๎วา สัพ์พถาเมน กูเฏน น ปหริต๎วา ยถา อิจ์ฉิตกัม์มั์ํ น โหติ สุวัณ์เณ น โหติ ตัส๎มา ยถา สุวัณณกาโร โลหกาโร สุวัณ์ณโลหวิกตึ กัต์ตุกาโม อกัม์มั์สุวัณ์ณโลหํ คเหต๎วา อัค์คินา ปจิต๎วา ปัช์ชลิตกาเล สัน์ธาเสน คเหต๎วา อธิกรณิยํ ถเปต๎วา โลหกูเฏน ปหรัน์โต กัม์มั์ํ กโรน์ติ เอวํ กโรน์ตา ปน โทสัน์ตเรน น กโรน์ติ กโรนติ นาปิ อัป์ปิเยน อปิจ โข ปน สุวัณ์ณกัม์มั์ภาวัต์ถาย ปกโรน์ติ เอวเมว โข ปัณ์ฑิตา ชนา กิ์จาปิ ภตานํ สกิยหทยัพ์ภัน์ตเร ถิตํ โกธัค์คึ ปัช์ชลาเปน์ติ อิท์ธิยา พาหิรัต์ตึ น อิส์สาปกเตน น โทสัน์ตเรน น อัป์ปิเยน ปชลัน์ติ อถโช นิพ์พิเสวเนน กัม์มั์ภาวัต์ถาย ปกโรน์ติ สีลาทีสุ จ อัญ์ญตรสัม์ปทาย โสตาปัต์ติผลาทีสุ อั์ตรสัม์ปทาย ตัส๎มา เถโร มหัน์ตอิท์ธยา พาหิรัค์คิขัน์ธํ ปัช์ชลติ

แท้จิงแล แม้อันว่าพระมหาโมคคัลลาน อันธทรมานจิตรแห่งพระญานาค ทำให้ลำบากเพื่อจให้ดี กมีอุประไมยอุประมา ด้วยสัตวในโลกาทังหลาย อันมากมายลางบาง ลางจำพวกต่างแผนก จิตรชู่วแปลกแปลกกัน อันควรทวรมานด้วยสาหศ กมีบทอุประมา ต่ช่างสุพรรณโลหาชำนาน อันทำการโลหสุพรรณา บมิได้เผาด้วยชาลาอัคนี บมิได้เพียรด้วยตีด้วยค่อน ด้วยฝีค้อนกำลังรัน อันว่าสุพรรณแลโลหา จสำเร็จปราถนาบมิได้ รูปทรงใส้กบมิเปนการ แสงอันชัชวาลยบปรากฏ อันนี้เปนบทอุประไมย มีเหตุใดแลเหดุนั้น แต่นายสุพรรณโลหสิลบี เมื่อมีจำนงปราถนา จให้รจนายิ่งขึ้นไป ในพะลักการนานา กเอาสุพรรณโลหาทั้งมวล อันยังบมิควรแก่การนั้น วางกำนุงขันธอัคยา เมื่ออุณหอาภาด้วยพลัน นายช่างกันด้วยสัณธาส ไว้เลอภาชนหน้าทั่ง ถือค้อนกั่งษประหารกมี บางทีตีด้วยค้อนโลหกมาน กทำให้การบริบวรณ ควรแก่กิตยทังผอง แลนายช่างทองช่างเหล็กนั้น อันกทำการดั่งกล่าวนี้ บมิทำด้วยใจอันไพโรจ อนึ่งโสดบมิได้ทำด้วยบมีทยา ด้วยอาตมาอันเกลียดชัง นายช่างกยังเพียรพยายาม จะให้สำเร็จความปราถนา จให้ควรแก่กิตยานุกิตยนั้น เพื่อจะให้รูปพรรณงามดี แลมีอุประมาเปนฉันใด ในเมื่อสับบุรุษทังหลาย ฉลาดด้วยอุบายแห่งปัญญา บมิให้โกรธานะลัคคี อันมีในจิตรแห่งอาตม ให้ร้อนแก่สัตวชาดิทังผอง ด้วยจำนองจิตรริษยา อันเปนธรรมดาปรกฤดี บให้เรืองด้วยมเนนทรียอันโรธ กบมิยังให้โชติอุณหา ด้วยบมิทยาแลเกลียดชัง กเปนสัจจังแท้ถ่อง ธกยังกองเพลองอันเปนพายนอก ให้เรืองออกด้วยฤทธิพลพหลพหะลา อนึ่งโสดอันว่าบุทคลผู้มีปฤชาญาณ กเพียรในการอันเปนปรโยชน เพื่อจโปรดจึ่งทวรมาน แลจให้ควรแก่การทังหลาย จให้สละพยศอันร้ายแลทรอึ่ง อนึ่งเพื่อจให้บริบูรรณด้วยธรรมในสกนธ แลจะให้เปนผลเปนภัพพะ เพื่อจให้อริยทรัพทังหลาย หมายคือเบญจศีลเปนต้น แลอริยมัค์คผลญาณา มีพระโสดาเปนอาทิ์ จให้เวนยชาติทังปวงได้ ในธรรมอันใดอันหนึ่งกดี กมีอุบประไมยอุบประมา เหมือนสุพรรณโลหการาสิลบีนั้น อันว่าพระมหาโมคคัลลาน อาไศรยเหดุการณดั่งนั้น กยังอัคคีขันธให้อุณหาส ด้วยเพลองพาเหียรอาตมอาภา ด้วยฤทธิพลาอเนก แล

อุภิน์นํ เตชัส์สุป์ปัน์นา นลชาลา จ สกลจัก์กวาฬคัพ์ภปัฏ์ฐริตา สัม์ปัช์ชลึสุ อันว่าฤทธิเดชชาลัคยา แห่งพระญานาคาทังสอง กผริตไปสู่ห้องสกลจักรวาฬทังหลาย หมายประดูจเพลองไหม้ ป่าไม้อ้อนองเนือง กพลุ่งเรืองเปนเปลวพิฦกษ แล

ตทา จตุราสีติโยชนสหัส์สโยชนัป์ปมานํ สิเนรุโนขัน์ธํ สัพ์พสัต์ตานํ ราคทหนุส์สเทนค์คินากัป์ปทหนสมยํวิย สมันตปัช์ชลิกเมว อโหสิ

ในกาลกษณนั้น อันว่าท่อนบรรพตราชา อันคณนาได้แสนหกหมื่นแปดพันโยชน กเปนเปลวโชดิสมันต เหมือนเมื่อกาลันดราย โลกยฉิบหายด้วยเพลองกัลป เหตุสรรพสัตวทังปวง เปนเหตุในทรวงหมุ้นไหม้ ไปด้วยราคัคคี กมีด้วยอเนก แล

อถ เถรัส์ส โลมกูปมัต์ตํ น อุณ๎หติ ในกาลนั้นอันว่าเพลอง อันดำเกองด้วยฤทธินาคราช มาตรว่าแต่ขุมพระโลมา แห่งพระมหาโมคคัลลาเจ้า กบมิร้อน แล

นาครัญ์โญ ปน สริรํ อุก์กามุขปัก์ขิตํ อยปิณ์ฑวิย อติสัน์ตาปมโหสิ พั้นอันว่ากายา แห่งสัลเบนทราธิราช ร้อนรนอาตมยิ่งนัก กมีลักษณอุบประมา ปานโลหบิณฑาอันบุทคล วางไว้บนปากเบ้า เผาด้วยเพลองก็มี แล

อถ นาคราชา อยเมว โก มํ สิเนรุนา สัท์ธึ ปิเลต๎วา ธมายติ เจว ปัช์ชลติ จาติ โก นุ โข ตุวัน์ติ ปุจ์ฉิ ในกาลนั้น อันว่าอหินทรนาครันยา กถามลักษณานุสนธิ อันว่าบุทคลผู้นี้ ท่านมีชื่อฉันใด บีบอาตมไว้กับสิเนรุราชา แลบังหวนธูรรมาให้เปนควัน ยังอัคคีขันธให้อาภา ดั่งอาตมาภาพถาม ท่านนี้มีนามดังฤา

อหํ โข นัน์ท สกลภวนมัณ์ฑปรมสัต์ถุโน สัม์มาสัม์พุท์ธัส์ส ทุติยัค์คสาวโก โมค์คัลลาโน นามาติ อันว่าพระมหาเถรเจ้า กประกาส แก่พาสุกรินทราธิราชพาลา ด้วยพจนาดังนี้ ดูรานาคบดีบาดาลราษฎร อันว่าอาตมเปนทุติสราวก แห่งสมเด็จดิลกโลกยสาษดาจารย ในสถานบริมณฑล สกลไตรภพโลกย อาตมชื่อมหาโมคคัลลานะ แล

กัส๎มา ภัน์เต ตุม๎เห สมณา เอวรูปํ กัม์มํ กโรถ นํ ตุม๎หากํ อยุต์ตํ ยทิทํ สัพ์พภูเตสุ ทัณ์ฑปติฏ์ฐปนัน์ติ อันว่าพระญาพิศธรินทร สัลบินทราธิราช กปรกาสปรดิพจนพากยา แก่พระมหาโมคคัลลานะเถระ ข้าแต่พระผู้อยู่เกล้า พระผู้เปนเจ้าเปนสรํมณะ แลซึ่งกรรมะอันมี สระภาพดั่งนี้แก่ข้า เพื่อการณาอันใด อันว่างดไว้ซึ่งโทษา ในสัตวคณาทังปวงใส้ อันว่ากษานติในโทษทังมวล บมิควรฤาแก่สรํมณา ย่อมยุกดาเที่ยงแท้ กมีแก่พระผู้เปนเจ้าทังหลาย แล

นาหํ โกธาป์ปิเยน โทสัน์ตเรน วา กโรมิ อัม๎หากํ มิจ์ฉามัค์คโต ปริโมเจต๎วา สุมัค์เค ปติฏ์ฐาปนายาติ อันว่าพระมหาโมคคัลลาน กเปล่งพระอุทานทวนท่าว กล่าวแก่พาสุเกรนทรราชา อันว่าอาตมาภาพนี้ บมีกทำซึ่งกัมมนั้น ด้วยฉันทาคดีแถบมีทยา แลใจหยาบช้าอันคุมนุมโรธ ทำเพื่อจโปรดเปนประธาน จเปลื้องท่านจากมรรคา อันเปนมิจฉาทิฏฐินิตย แลท่านยอมเหนผิด เปนชอบ อันกอปรด้วยกรรมลามก กจยกท่านไว้ในมรรคา อันชอบธรรมบวราอธิก แถ

เอวํ สัน์เตปิ อติธารุณํ เต กตํ อัต์ตโน ภิก์ขุภาเวน ติฏ์ฐาหีติ อันว่าพระญานนโทปนนท กกล่าวอนุสนธิพากยา แก่พระมหาเถรดั่งนี้ เมื่อท่านบมีกทำแก่ข้า ด้วยเจตนาอันโกรธนี้ ผี้แลมีแก่ท่านจริง แลท่านซึ่งกรรมแก่ข้า เหนหยาบช้ายิ่งนัก ถ้าจให้ลักษณคุณอันจำเรอญ เชอญพระผู้เปนเจ้ากลายอาตม จากนาคราชด้วยไมตรี จงเปนปรกดีภาวะ แห่งรูปพระสรํมณอยู่ เทอญ

เถโร ตํ นาคัต์ตภาวปัช์ชหิต๎วา ปกติภิก์ขุวัณ์เณน ถัต๎วา อาห ต๎วํ อุรค ติรัจ์ฉาโน หุต๎วา ชาติยา อัฏ์โ สมโณติ วา พรหมโณติ วา อาจริยุป์ปัช์ฌาโยติ วา มาตาปิตโรติ วา น ชานาสิ ปรมปุ์ัก์เขต์ตํ ตถาคตํ ตาวตึสเทวโลเก สสาวกสํเฆน สั์จาริกํ อัก์โกสนวจเนน ผรุสวจเนน อัก์โกสสิ อิเม มุณ์ฑกสมณา อัม๎หากํ อุปริสีเส ปาทปํสุํ โอกิรัน์ตา สั์จรัน์ติ ปติสั์จรัน์ติ อิทานิ อิโต ปัฏ์าย เตสํ สั์จริตุํ น ทัส์สามีติ อั์เ เทวมนุส์สา อัต์ตโน สิรัส๎มึ ปรมปาสาทิกัส์ส ภควโต สสาวกสํฆัส์ส ปาทปํสํ ปติฏ์าปนาย สัม์มาปัฏ์ยัน์ตาปิ น ลภึสุ เยว สเจ เกจิ กิส๎มึ ลภมานา สัพ์พานตวิธายกํ จิรกาลัก์ขัน์ธสัน์ตานัป์ปัต์ถิตํ สัพ์พาสวนิรวเสสเมว โสเธน์ติ ตวํ อุรค ติรัจ์ฉาโน สมาโน เอวํ มิจ์ฉาทิฏ์ิโก ตถาคตู สัม์มาสัม์พุท์ธํ ปรมัป์ปาสาทนิยํ สสาวกสํฆั์จ ปุ์ัก์เขต์ตํ อัก์โกสสิ สีลวันตานั์จ อัก์โกสนัน์นาม อายตึ อัต์ตนา ปติลภิตัพ์พํ ฉกามาวจรสัต์ติส์สิริยเมว อัก์โกสัต์โต วิย โหติ ปัจ์ฉโต สิรึ อนุพันธิต๎วา อัก์โกสิต๎วา ปหริต๎วา ปลายัน์โต วิย ทิฏ์เ ธัม์เมว ตาทิสํ ทุก์ขํ อนุกวสิติ ตัส์ส ทัก์ขิณกัณ์ณโสเตน ปวีสิต๎วา พามกัณ์ณโสเตน นิก์ขมิ

อันว่าพระโมคคัลลานเถร ธกละพระกาเยนทรอันเปนนาคา กอยู่ด้วยพระกายาในสรํมณะ ด้วยสภาวะเปนปรกติ กกล่าวแก่นาคปติพาลา ดูกรอิศวราแห่งบาดาล ท่านเปนเดียรฉานชาตา แลปัญญาจักษุพิการ แต่สถานชาดิกำเนอดมา กบมีรู้ว่าพระสรํมณกดี กบมิรู้ว่าพราหมณะกมาน กบมิรู้ว่าอุปัชฌาจารยกดี แลบมีรู้ว่าผู้นี้เปนบิดาแลมาดา แลท่านกด่าสมเด็จพระพุทธโลกยเชษฐ อันเปนบุญญเกษตรบวรงค อันพระองค์จาริตไปในดาวดึงษโลกา ท่านกด่าทังนิกรสังฆ ด้วยคำอหังการหยาบช้า ว่าหมู่มุณฑกาสรํมณนี้ อันโกนสีสะทังหลาย ย่อมเรี่ยรายรชะทุลี อันมีในฝ่าเท้าแห่งอาตม ไปบนปราสาทท่านอาเกียรณ แลไปบนเสียรท่านทุกครา เมื่อสรํมณไปมาทุกครั้ง ท่านกว่าตั้งแต่กาลวันนี้ไป บมิให้หมู่สรํมณะนี้มา ในเทวโลกาทังหลาย ตามอเนกบรรยายท่านกล่าวนั้น อันว่าหมู่อมรากร นรชาดิทังหลายหมายหมู่อื่น กชมชื่นหืนหรรษา มีปราถนาจใคร่ได้ ในพุทธบทไรณูอันอุดดํม แห่งสมเด็จพระบรํมศาษดา ผู้นำมาซึ่งความปรีดิ อันมีลักษณอุดฺดหมางค จวางไว้กลางสิโรรับ กับด้วยบทรชทุลี อันมีในฝ่าเท้านิกรสงฆฺ แลสัตวอันจงแลบมิได้ ในพุทธไรณุพระบาทา เหตุบุญญายังน้อยนัก กมีลักษณดั่งกล่าวมานี้ ผิ้ว่าอมรนรคณา อันมีในโลกาบางหมู่ ได้บทเรณูพระพุทธองค แลทุลีบาทนิกรสงฆอรหนต กตั้งไว้บนสิโรเพส รับไว้ด้วยเกษเกษา แห่งสัตวคณาทังหลาย กมลางจิตรแลกายนฤรรพเศศ จากอาสรพกิเลศแลบาบี อันมีในสัตวทังหลาย แลสถิตพายในขันธสันดาน สิ้นกาลนานยิ่งนักหนา แลอาสรพนานาย่อมตกแต่ง แห่งสัตวโลกยโลกีย บมีเปนประโยชนแก่อาตมา ดูราพระญานนโทปนนท ท่านเปนคนอนธพาล เปนเดียรฉานชาตา เปนมฤจฉาทฤษฎี กด่าพระผู้มีพุทธภาคยบวรา อันตรัสพระธรรมาบวรงค ทังปวงด้วยพระองค์นั้น อันบุทคลในโลกา พึ่งสรัทธายินดีนัก เปนบุญญักเกษตรา ท่านกด่าลบลู่ หลู่ทังหมู่พระสาวก ชื่อว่าคำอันลามกท่านว่า บุทคลอันมีศีลาจารยวัตร ประดูจบุทคลแช่ง สมบัดดิในเทวา ฉ้อกามาพจรสวรรค อันจได้แก่อาตมา ในเบื้องหน้าให้นิศผล แลประดูจบุทคลอันด่าตี ซึ่งอิสีรยสมบัดดิ แห่งกรษัตริยราชา อันติดตามมาในเบื้องหลัง แลท่านยังสมบัดดิทังปวงนี้ ให้หนีจากอาตมท่านไป ท่านกจได้ซึ่งทุกขเพทนา เหมือนวาจาท่านว่าอันหยาบนัก ในอาตมท่านปรตยักษพลันพลัน ในปัจจุบันนะนี้ แล

แม้อันว่าพระมหาโมคคัลลา ธกล่าววาจาแก่พระญานาค ด้วยพจนพากยดั่งนี้เสร็จ ธจึ่งเสด็จเข้าไป ในช่องกรรณเบื้องขวา แห่งผรรณิตศวราธิราชนั้น ธกออกไปโดยช่องกรรณเบื้องซ้าย แล

วามกัณ์ณโสเตน ปวีสิต๎วา ทัก์ขิณโสเตน นิก์ขมิ อันว่าพระมหาเถรา ธกเสด็จจูลเทาโดยรลุงกรรณาฝ่ายพาม กเสด็จเจญตามทักษิณกรรณ แห่งสรรปะรันยาธิราช แล

ทัก์ขิณนาสโสเตน ปวีสิต๎วา วามนาสโสเตน นิก์ขมิ อันว่าพระมหาโมคคัลลา เข้าไปโดยช่องนาสาฝ่ายทักษิณ แห่งผรรณิบดินทรราชา กออกมาโดยช่องนาสิกฝ่ายเฉวียง แล

วามนาสาโสเตน ปวีสิต๎วา ทักขิณนาสโสเตน นิก์ขมิ อันว่าพระมหาเถรา จูลเทาโดยรลุงนาสาฝ่ายอุดดร แห่งนาคบดีสรนาคา กเจญโดยรลุงนาสาฝ่ายสดำ แล

นาคราชา อธิมัต์ตํ เวทนํ เวเทน์โต ยทา มุณ์ฑกสมณัส์ส มัย๎หํ มุเขน ปวีสิต๎วา ติก์ขตรํ มม วิสทาฒาหิ ุมขปัต์ตกาเล ตํ มุรุมุราเปต๎วา ภัส๎มึ กโรมีติ จิน์เตต๎วา ตเมตทโวจ ภัน์เต สมณานาม ธัม์มปุเรก์ขา เยว สัพ์พกาลํ ต๎วํ ปน สมโณ หุต๎วา น ตถาภาวาหิ มัย๎หํ ตาทิสํ ทารุณกัม์มํ กโรน์โต เปเมน กโรมิ บีเยน กโรมี น โทสัน์ตเรน กโรมีติ วทสิ เยว ตมีทิสํ วจนมัต์ตํเมว ปติชานาสีติ วัต๎วา อัต์ตโน มุขํ วิวริต๎วา ถิโต

อันว่าพระญานนโทปนนทนาค เมื่อลำบากมีมาตราอันยึ่ง กรำพึงด้วยจิตรวารอันลามก ว่าอาตมจเคี้ยวมุณฑกสรํมณกายา ให้กร้วมกร้วมด้วยทาฒาทังสี่ อันมีพิศคมปละแปล่มแหลมนักหนา เมื่อมุณฑกสรํมณะมาถึงเขี้ยว อาตมจะเคี้ยวให้เปนภัศม พระญานาคกตริอรรถจทวนท่าว กกล่าวพจนแก่พระมหาเถร อันว่าสรํมณะชิเนนทรบุตรา ย่อมมีธรรมบุเรกษาเปนประธาน กมีสิ้นกาลทังปวงแท้ แม้อันว่าท่านจเปนสรํมณ ดูจนิยํมนั้นกบมาน เหตุท่านทำกรรมแก่ข้า เหนหยาบช้าพ้นประมาณนัก แลลักษณอันท่านกล่าวแก่ข้า ว่าทำด้วยกรุณาแลเมตตรี แลบมีกทำด้วยใจอันไพโรธ แลท่านโสดได้ปรฏิญญาณ พจนแห่งท่านกบังควร เหนบริบวรณดั่งนี้ มาตรเปนแต่วจีสูญเปล่า แล

อันว่าทวิชิวเหนทรายามะพแพร่ง กสำแดงพจนพาลา วาจาอันยอะเย้อย แล้วกเผอยปากอาตมอยู่ แล

เถโร ตัส์ส วจนํ สุต๎วา ปกติยา สุตวัจ์ฉลัช์ชนนี วิย สลาลสํโอรสปัต์ตัส์ส วจนํ สุต๎วา โทสวเสน อมนสิกริต๎วา ตเมตทโวจ ปุพ์เพ ปนาวุโส สมโณติวา พราห๎มโณ วาติ อาจาริยุป์ปัชฌาโยติ วา มาตาปิตโรติ วา น ชานาสิ อิทานิ มยา เอวรูเปหิ วินเยหิ วินยัน์โต สมณานาม ธัม์มปุเรก์ขา ชานาสิ เยว ตัส๎มา บัณ์ฑิตานํ วินยัส์ส มหัน์ตคุณํ กถํ ตุม๎เหหิ ชานิตัพ์พํ เอวั์จ อัต์เถ สติ นนุ มัย๎หํ วิเสสาธิคเตน ตาทิสํ กัม์มํ กโรตีติ สลัก์เขตัพ์พํ โลกัส๎มึ หิ กทาจิ มาตาปิตโร ปุต์ตานํ เอวรูปํ ปิลนํ กโรน์ติ อาจาริยุป์ปัช์ฌายาหิ อัน์เต วาสิกสัท์ธึ วิหาริกานํ กทาจิ เอวํ กโรน์ติ อปิจ โข ปน เตสํ วิเสสาธิคมาย กโรน์ติ น อัป์ปิเยน น โทสัน์ตเรนาติ ยถา สกสัพ์พกามททานํ นิธีนํ ปวัต์ตมานัส์ส ปิเลต๎วา ปหริต๎วาปิ อเนกัป์ปการํ ผรุส์สวจนํ วทมานัสส์าปิ สยํ อายตึ ผลุป์ปัต์ติยา โกโธ นกาตัพ์โพ เอวเมว มิจ์ฉามัต์ตปฏิปัน์นัส์ส ทุฎ์ฐกัม์มสมังคิโน ทุน์นตกัม์มวิสัช์ชนัต์ถาย สัม์มาปติปัน์เนหิ วิรปุริเสหิ อเนกัป์ปการํ ปิลนํ ชนยัน์ตัสัส อัต์ตโน ธัม์มัจ์เฉทนสมัต์ถํ ผรุส์สวจนํ วทัน์ตัส์สาปิ สยํ โกโธ น กาตัพ์โพ เยวาติ วัต๎วา ตัส์ส วิวัฏ์เน มุเขน ปวีสิต๎วา อัน์โต กุจ์ฉิยํ ปาจิเนน ปัจ์ฉิเมน จังกมติ

อันว่าพระมหาโมคคัลลา ได้สดับวาจาอันลามก แห่งพระญามโหรคอันเปนพาล กบมิได้มนัสสิการวจีปรีภาศน ด้วยสามารถแก่ความโรธ ธกบมิได้โกรธกปรกดี เฉกเมมีกูนอันยังน้อย แลฟังถ้อยคำบุตรทังปวง อันเกอดแต่ทรวงควรกรุณา พระมหาเถรธกทวนท่าว กล่าวแก่นาคราชา ดูกรอาวุโส ท่านเปนคนโมหพาลา เปนคนมฤจฉาทฤษฎีนี้ กบมีรู้ว่าพระสรํมณกดี กบมิรู้ว่าพราหมณกมาน กบมีรู้อุปัชฌาย์จารยกดี แลบมีรู้ว่าผู้นี้เปนชนกา แลเปนชนนีอาตมากดี กมีแก่ท่านแต่ก่อนมา ดูราวิศธเรนทรสรรเบนทราธิราช อันว่าอาตมทวรมาน ท่านในกาลบัดนี้ แลมีอุบายอันโอฬาร ทวรมานด้วยการุญญภาพ แม้ว่าหยาบแต่บังควรการ ท่านกจงรู้ซึ่งเหตุ อันมีเลศนิยม ซึ่งนิกรสรํมณทังหลาย หมายว่าธรรมบุเรกษา มีธรรมธราเปนประธาน เหตุนั้นท่านกพึงรู้ ซึ่งคุณูประการมหิมา แห่งแธรรยาอันทรมาน มีด้วยประการฉันใด ในเมื่อเหตุควรมะนสิการ ท่านกพึงเกียรดะนา แลสดับพากยาแลธำรง อันว่าสงฆรูปนี้ ผิ้กทำซึ่งกรรมทรมาน ด้วยเหนปารดังนี้ อันมีแก่อาตมภาพด้วยจให้ลาภอันพิเศศแก่ท่าน แท้แลในกาลบางครั้งบางครา บิดุมาดากทำกรรมอันมาก แลลำบากอันมีสุภาพดั่งนี้ แก่บุตรบุตรีทังหลาย อันมากมายในโลกยกมาน อนึ่งอันว่าอาจารยอุปัชฌาย์ กทำซึ่งกรรมนานาอันมาก ความอันลำบากกมีแท้ แก่อันเตวาสิก แลสัทธิงวิหาริกกมาน อนึงในกาลบางครา อันว่าอุปัชฌาย์จารย บมีทำการอันลำบากด้วยเกลียดชัง บมิยังทัณฑกรรมด้วยโกรธา แลกทำกรรมนานาให้ลำบากแท้ แก่อันเตวาสิก แลสัทธฤงพิหาริกนั้นไส้ เพื่อจะให้ซึ่งธรรมอันพิเศศ เหมือนบุทคลในประเทศทังผอง บอกซึ่งขุมทองให้แก่กัน อันจได้สำฤทธิปราถนา แล้วกกล่าววาจาอัษโกส แลลงโทษด้วยทัณฑปาณี อันมีประการนานา อันว่าความโกรธาทังผอง บมิควรกทำ แก่บุทคลผู้บอกขุมทองนั้น เหตุบอกขุมสุพรรณให้แก่ตน อันจเปนผลในพายหน้า แลมีอุประมาเปนฉันใด เมื่อแลบุทคลอันไปสู่มรรคาบมิชอบ แลกอปรด้วยกรรมอันร้าย แต่บุรุษทังหลายอันเปนเมธา อันมีปฤชาวิสารัท อันประพฤดดิประฏิบัดดิในแก่นสาร ยังความทรมานให้ลำบาก มีลักษณอันมากดั่งนั้นแท้ แม้แลกล่าวซึ่งผรุษวาท อันอาจจตัดได้ซึ่งธรรมดา คือมฤจฉาทฤษฐิแห่งอาตมกดี อาตมบมิพึงกทำความโกรธตอบ แก่บุทธคนอันให้ความชอบแก่อาตมา แลให้ลำบากกายากดี กมีอุประไมยดั่งกล่าวมา เฉกบิดุมาดาอุปัชฌาย์จารยนั้น อันว่าพระมหาเถรา ธบดิพากยาทังปวงเสร็จ กเสด็จจูลเทาโดยปาก แห่งพระญานาคอันเผอยไว้ ธกจงกรํมในครรภา แห่งภุชเคนทราธิบดิน โดยทิศปราจินะทิศประจิมะ แล

ยถานาม กุสโล ทัก์โข ปุริโส อายตนมหัน์เตสึ ฆเรสุ สัต์ตวิธรตนํ ปุเรน์โต อัน์โต ปวีสิต๎วา สมัน์ตโต อุจ์ฉัต์เถ วิโสเธติ ปริปุเรติ เอวเมว เถโร นาคราชัส์สอัน์โต ทหเย สัท์ธาทิกํ สัต์ตวิธํ อริยธนํ ปุเรน์โต มิจ์ฉาทิฏ์ิโลภโกธาทิกํ วิโสเธน์โต ตัส์ส อัน์โต กุจ์ฉิยํ อปราปรํ จังกมติ

อันว่าบุรุษอันมีปัญญา เปนเมธารู้รอบ อันประกอบด้วยจักษุคือปรีชญา อันจให้รัตนาปรำพิร ส่วนวรมณินทรเจ็ดประการ ไพบูลยในสถานคฤหา อันทฤรรฆาแลใหญ่ กเข้าไปในคารสถาน กชำระเดนชานรอบคอบแล้ว กให้แก้วเจ็ดประการเพญภูล ไพบูลยในที่ทังหลาย หมายทุกห้องเคหา แลมีอุประมาเปนฉันใด ในเมื่อกาลวันนั้น อันว่าพระมหาโมคคัลลา ผู้มีพระชนมายุศมะ ธกชำระซึ่งอกุศล เปนต้นว่ามฤจฉาทฤษฎี แลมีโลภโทษนานา แห่งนาเคดศวราภุชังค ธกยังอริยทรัพยเจ็ดประการ มานสรัทธลักขะณาเปนต้น ให้ไพบูลยในกมลหฤทยงค แห่งภุชงคนาคราชา เมื่อธจงกรํมไปมาในนาภี กมีอุประไมยดูจนั้น แล

อถ ตถาคตวรรชนิกโร สาวกตารา คณปริวุต์โต อากาสตเล ถัต๎วา อติสัม์ภาธนัต์ถานัส์ส ปัต์ตภาวํ ญัต๎วา โอภาสํ ทเสน์โต มนสิกโรหิ มุค์คัล์ลานมหิท์ธิโก โส นาคราชาติ อาห

ในกาลนั้น อันว่าพระจันทร คือสมเด็จพระสรรพัญญู อันประเสอรรดิกว่าหมู่ดารกา คือหมู่พระสาวกห้อมล้อมเสร็จ แลเสด็จสถิตในโพยมบดล เวหาสนดรประเทศ กชราบในเหตุทุกประการ ซึ่งพระมหาโมคคันลานแลดล ที่อันอนธการจังเอียดนั้น พระองค์กเปล่งฉ้อพรรณรังสี ยังพระรัดศมีให้ปรากฎ แก่พระพามะสุคตพาหา กตรัสด้วยพระพุทธฎีกาบวร ว่าดูกรมหาโมคคัลลาน ท่านจงมีจิตรคำนึง ซึ่งพระธรรมไว้ในหฤทยา อันว่าบรรนเคนทราธิบดี เขามีฤทธีมหิมา แล

เถโร มัย๎หํ ภัน์เต จัต์ตาโร อิท์ธิป์ปาทา ภาวิตา พหุลีกตา ยานิกตา วัต์ถุกตา อนุต์ถิตา สุสมารัท์ธา ติต์ถตุ เอโก นัน์โทปนัน์โท นัน์โทปนัน์ทสทิสานํ สตํปิ สหัส์สํ สตสหัส์สํปิ ทเมตุํ สัก์กุเณย์ยํ มา ภควา สังกมามีติ อาห

อันว่าพระมหาโมคคัลลานะเถร อันเปนพระชิเนนทรกูล กกราบทูลแก่สมเด็จ พระสรรเพชญ์บิดุราช อันว่าพระอิทธิบาททังสี่ ข้าพระพุทธองค์นี้กทำให้เปนที่ตั้ง แลยังให้เปนที่ดำเนอร ได้กทำให้จำเรอนนิรันดร แลเปนอดิสรณด้วยดีกมีแท้ แม้อันว่านนโทปนันท อันมหิมาฤทธี ผู้เดียวนี้ยกไว้เล่า แต่ข้าพระพุทธเจ้าผู้หนึ่ง อาจจิงซึ่งจักทรมาน ซึ่งภุชคินทรในบาดาลทังหลาย หมายเหมือนนนโทปนันท ได้แลร้อยพันทัน ถึงแสนหนึ่งกดี สมเด็จพระผู้มีพระภาคยอุดดมา อย่าได้มีพุทธหฤทยาอาไลย กังวลในข้าพระพุทธองค์นี้ เลย

โส ปน นาคราชา ปฺวิส์สัน์โต ตฺาวนเมฏ์โ ตัส์ส นิก์ขมนกาเล ติก์ขตราหิ จตูหิ ทาฒาหิ ตํ ชฺาทิส์สามีติ จิน์เตต๎วา สเจ ภัน์เต น อัปปิเยน น โทสัน์ตเรน เอวมกรัสสัต์ถมา มัย๎หํ เอวรูปํ อัน์โต กุจ์ฉิยํ อประปรํ จังกมัน์โต พากยิต์ถ พหิ นิก์ขมถาติ

อันว่าพระญานาคูรคินทราธิบดินทร ปริวิตกถวิลไปมา ว่าพระสรํมณนี้เมื่อเข้าไป สู่ในมุขทวารา อาตมาบยลก่อนเลยทีเดียว อาตมาจเคี้ยวซึ่งสรํมณ ด้วยเขี้ยวอาตมทังสี่นี้ อันมีพิศคมปะแปล่มแหลมนักหนา เมื่อสรํมณะออกมาจได้เหนกัน พระญานาคนั้นกทวนท่าว กล่าวแก่มหาเถรว่า ข้าแต่พระผู้อยู่เกล้า พระผู้เปนเจ้าบมิได้ทำ ซึ่งกัมมะดั่งนี้แก่ข้า ด้วยใจโกรธาแลเกลียดชัง ถ้ามีดั่งนั้นหมั้นคง เมื่อท่านจงกรํมไปมา พายในท้องข้ากอย่าได้ เบียดเบียนสิ่งใดอันหยาบ อันมีสวภาพบังควรนี้ ผิ้พระผู้เปนเจ้ากรุณา จงออกมาพายนอก เทอญ

ตัส์ส วจเน อวสิฏ์เฐ เยว เถโร ตํ ขณเมว นิก์ขฺมิต๎วา พหิอัฏ์ฐาสิ ในเมื่อพจนพากยา แห่งภุชเคศวรายังสลนั้น คือยังบมิทันสิ้นคำแท้ แม้อันว่าพลันแห่งพระมหาโมคคัลลา ธกออกมาอยู่พายนอกได้ ในขณนั้นแท้ แล

นาคราชา ตํ ทิส๎วา อยเมโสติ จิน์เตต๎วา นาวา ตํ วิสัช์เชสิ อันว่าพระญาอุรเคนทร ยลพระมหาเถรกคำนึง รำพึงว่าสรํมณนี้ ดีร้ายสรํมณนั้น อันว่าพระญาภุชคินทรมหิมา กสละลมนาสาออก แล

ตํ ขณเมว เถโร สมาปัต์ตึ สมาปัช์ชิ อันว่าพระมหาโมคคัลลาน ธกเข้าธยานสมาบัดดิ ในขัษณนั้นแท้ แล

เตน โลมกูปมัต์ตํปิ จาเกตุํ น สัก์ กติ อันว่าพระญาสรรบาธิราช กบมีอาจยังกุรรปเมศในพระกายา พระมหาเถรให้จลาวิจลได้ ด้วยลมพายในนาสิกนั้น แล

อวเสสภิก์ขู กิร อาทิโต ปัฏ์าย สัพ์พานิ ปาฏิหิริยานิ กาตุํ สัก์กเณย์ อิทํ ปน ถานํ ปัต๎วา เอวํ ขิป์ปํ นัส์สัน์ติ โน หุต๎วา สมาปัช์ชิตุํ น สิก์ขิส์สัน์ติ

ดั่งจได้ยินมา อันว่าพระมหาเถรานุเถรทังปวงอันเศศ กอาจซึ่งทำฤทธิเดชปราฏิหารยทังหลาย หมายอันควรทวรมานพระญานาค จำเดอมแต่ภาคประถมมา อันว่าพระมหาเถรคณาทังหลายนั้น ครั้นมาถึงในที่นี้ เมื่อทวิชิวหินทรียราชา จสละลมนาสาให้พินาศ กบมิอาจเพื่อจเข้า ซึ่งสะมาบัดดิเชาวะให้ทันได้ กจถึงซึ่งประไลยพิบัดดิ กฺมีด้วยอรรถด่งงนี้ แล

เตน ภควา เตสํ นาคราชทมนํ นานุชานาสิ เหตุการณด่งงนั้น อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์บรํมนารรถ จึ่งบมิได้อฺนุญญาตให้ทรมาน ซึ่งกรุงบาดาลอิศรา แก่พระมหาเถรทังหลาย หมายด้วยประการด่งงนี้ แล

โส อิมัส์ส สมณัส์ส นาสวาเตน โลมกูปมัต์ตํปิ จาเลตุํ นาสัก์จึ มหิท์ธิโก โข สมโณ ทุส์สหํนิยเตโช ยาว มํ น มาเรต๎วาว ปลายามีติ ปลายิตุํ อารัพ์ภิ

อันว่าพระญานาโครคินทรกคำนึง รำพึงไปไปมามา อันว่านาศวาตาอาตมภาพนี้ อันเปนอรรคฤทธีมีอำนาท กบมิอาจให้กูรรปเมศในกายา แห่งสรํมณจลาพิจลได้ ธมีฤทธิไกรมหึมา ยิ่งเดชาอันบุทคล จักอดทนเปนอันยากแท้ แม้สรํมณยังบมิพิฆาฏ ซึ่งอาตมภาพเสียตราบใด อาตมจหนีไปบอยู่ช้า พระญานาคปรารพภเลศจนฤมิตร คิดแต่ที่จะหนีไปนั้น แล

เถโร ตัส์ส กติกํ วิโสเธน์โต ปากติกัต์ตภาวํ ปชหิต๎วา เอกัป์ปหารุ ปาตนโกฏิสหัส์สัส์สุนี สัท์ทสํ ภึสนปัก์ขมารุต์ตวิปัก์โข ปาตนสมัต์ถํ วิลสิตํ สัต์ตวิธรตนปัตตรั์ชิโต ภยปัก์ขํ ทุราส์สทเตชํ ติก์ขตรนขขัค์ควชิรสมัน์นาคตํ สิเนรุปัพ์พตราชจตุคุณาธิกัพ์เพธปุถุลปรมา น มานิตํ ปัก์ขิ ราชตภาวํ นิม์มิต๎วา นาคราชานํ อนุพัน์ธิ

อันว่าพระมหาเถรา ผู้มีพระชนมายุศมะ เมื่อจชำระซึ่งเกียดงอนแห่งภุเชนทราธิราช ธกละซึ่งอาตมภาพอันเปนสงฆ พระองค์กนฤมิตรพระกายา เปนรูปสุบรรณาธิราช อันมีอาตมอุรุงคมหิมา กว่าพระสุเมรุราชาได้สี่เท่า มีเท้ากอปรด้วยคมตาว รัดศมีขาวพรายแพร้ว แล้วด้วยแก้วเพชรพันลือ คือตรจอกอันคมนักหนา แลมีเดชาอันอนัคค อันนิกรบรปักษทังหลาย จเข้าไปใกล้กลายเปนอันยากนัก แลมีปัษษทวยางครุจิรา อันรัญชิดานุเมศอุดดมะ แล้วด้วยรตนสับดพิธา อันอาจจคัณหาหรบรปักษ มีลมปีกอันพิฦกษนักกอุประมา ดูจอัศวะนีผ่าลงพร้อมกัน คราเดียวนั้นได้แสนโกฏิด้วยริทธิ์ กจติดตามพระญานาคไป แล

โสปิ นาคราชา อเนกัป์ปการถุลสุขุมัต์ตภาวํ นิม์มิต์วาปลายิ แม้อันว่าพระญา วาสุกินทราเสียรพิศ กเนียรมิตรกายา อันมหิมาแถสุกษุมะกดี กมีอเนกเดียรดาษ กปะลาศหนีไป แล

เถโร ตัส์ส ปราชิตัป์ปัต์ตภาวํ ญัต๎วา ตัส์ส สํเวชณัต์ถาย อนุพัน์ธิ อันว่าพระมหาเถรา อันเปนสุบรรณานุเพศ กชราบเหดุอันนาคราชา อันบราไชยด้วยริทธิ์ ธกบินติดตามไป เพื่อจให้พระญานาคนั้นตรนก แด

อถ นาคราชา กิ์จิ เลนํ ปติสรณั์จ อลภิต๎วา จีรกาลํ สกิยหทยัพ์ภัน์ตเร ถิตํ มิจ์ฉาทิฏ์ิหลาหลวิํส วัม์มิต๎วา มานวกเวสํ ธาเรต๎วา ภัน์เต ตุม๎หากํ สรณํ คัจ์ฉามีติ เถรัส์ส ปาเท วัน์ทิต๎วา อาห มยา ภัน์เต อัน์ธพาลตาย สํสารทุก๎ขนิส์สาวรสโมกิณ์ณาย สํสารรัต์ติยา มิจ์ฉาทิฏฐิมหัน์ธการปริโยนัท์ธโลจนยุค์คเลน ตุม๎หากํ คุณมหัจ์จํ อทิส๎วา เอวรูโป มหาปราโธ กโต ยถา ชัจ์จัน์โธ ปุริโส อัต์ตโน อัน์ธภาเวน อนัจ์จันตวัน์ทนิยํ จัก์กวัต์ตินริน์ทํ อปัส์สมาโน น วัน์ทติ ตัส์ส โทโส น คเหตัพ์โพ เอวเมว โข มัย๎หํ ตุม๎หากํ เตโชพลํ อชานัน์ตัส์ส เอวรูโป กโตปราโธ มมาปราธมมนสิ กริต๎วา มัย๎หํ ปุต์ตภาเวน สรณํ ภวาหิ อั์ถา เม สรณํ นัต์ถิ ปิยปุพ์พโก ภัน์เต โทโส จีรกาลเมว ปวัต์ติต๎วา มหานัต์ถาวโห โหติ อั์มั์ัส์ส สุฏ์ชานิตัต์ตา โทสปุพ์พโก ปินปิโย ตัสัส คุย๎หํ อชานิตัต์ตา จีรกาลเมว ปวัต์ติต๎วา ทิฏ์ธัม์มิกสัม์ปรายิกสุขาวโห โหตีติ

อันว่าพระญาภุชินทรราชาเมื่อบะลาศ กบมิอาจที่จเร้นจซ่อนได้น่อยหนึ่ง กบมีที่พึ่งทังหลาย กคายพิศอันร้ายแห่งอาตมา คือมฤจฉาทฤษฎี อันสถิตสถีรอยู่พายใน กมลหฤไทยแห่งอาตมา อันได้ช้านานหมั้นคง กธรงเพศเปนมานพ นมัสสการคำรพยจบบาทา แห่งพระมหาโมคคัลลาใส่สีสะ กกล่าวพจนะอันมฤทู ว่าข้าแต่พระผู้อยู่เกล้า ข้าพระองค์เจ้ากรู้ ว่าพระผู้เปนเจ้าเปนที่พึ่ง กจโปรดซึ่งเสียรแห่งข้า อันว่าโทษาอันหยาบ อันมีสภาพแห่งข้านี้ อันข้าผู้มีจักษุพิกล อันมืดมนมากนักหนา คือมฤจฉาทฤษฐิสำรวม สรวมไว้ในราษตรี อันนี้คือสงสารฺา แลอวิชชาอันกำบังสัตว แลอาเกียรณไปด้วยรัษตรี คือทุกขินทรียทังหลาย อันเวียนตายเวียนเกอด เที่ยวเอากำเนอดในภาพไตรย ข้าพระองค์ ได้ทำผิดแท้ แก่พระผู้เปนเจ้าโดยหยาบ เหตุสุภาพข้าเปนอันธพาล อันว่าบุรุษอันพิการจักษุนทรีย มีแต่เดอมอาตมอุดบัดดิ แถบยลบรํมจักรพรรดิราช อันควรอภิวาทด้วยสิโรเพศ เหตุพิกลเนตรแห่งอาตมา กบมิได้ยอหัษดากราบบังคม ซึ่งสมเด็จบรํมจักรพรรดิราชา อันว่าบุรุษอันพิกลเนตรานั้นกนฤโทษ ด้วยบรมจักรพรรดิโปรดบมิถือเอา ประดูจข้าพระเจ้าพรรณนา แลมีอุประมาเปนฉันใด ในเมื่อโทษแห่งข้านี้ อันบมีแจ้งแห่งพระฤทธิเดชพะลัง แต่ยังความกาจทังมวล อันบมิควรแก่พระผู้อยู่เกล้า พระผู้เปนเจ้าจงอดโทษ เพื่อพระองค์โปรดเสียรข้า อย่าได้ให้โทษาดำกล ในพระกมลหฤไทย ซึ่งเปนที่สรณาไศรยแก่ข้า จงกรุณาว่าเปนบุตรด้วยดี กมีอุประไมยนิยม ประดูจสมเด็จบรมจักรราชา บมีเอาโทษาแห่งบุรุษนั้น อันว่าข้าพระองค์นี้ หาที่พึ่งที่พำนัก ด้วยลักษณอันอื่นบมิได้แท้ ข้าแต่พระผู้อยู่เกล้า โทษแห่งข้าพเจ้าอันเหนผิด อันชื่อว่ามิจฉามัคค อันเปนที่รักษแห่งข้า แลประพฤดดิมาแต่บูรรพกาล ด้วยกาลนานแลโทษนั้น กนำมาซึ่งสรรพอันตราย ในความฉิบหายเปนอันมากนัก เหตุมานะยศศักดิอันไกร ย่อมถือว่าใครกใครดี แลโทษอันนี้กประพฤดดิมา จึ่งบมีรู้ซึ่งพระเดชาธิคุณ อันอดุลยแห่งพระผู้อยู่เกล้า พระผู้เปนเจ้าจึ่งทวรมาน ข้ากจได้ถึงสถานอันร่มเยศ กชื่อว่าเปนเหตุก่อนจึ่งเปนผล จให้คุณอนนตเลอศไกร จศุขในอิธโลกยแลบรโลกย พรอะสมเด็จพระมหาโมคคัลลาน โปรดข้าพระองค์ในกาลบัดนี้ แล

อถ เถโร นาคราชัส์ส วจนํ สุต๎วา โอรสปุต์ตวิย มั์มาโน สัต์ถา นัน์ท อิธาคโต เตน ตํ ทมาปยมาโน สเจ ตุม๎หากํ โทสํ ขมาเปติ เอหิ ภควันตํ โลกากรณขมาเปสีติ

ในกาลบัดนั้น อันว่าพระมหาโมคคัลลานะเถร อันเปนพระชิเนนทรโอรส ได้สดับพจนแห่งบรรนะคาธิราช กมีพระหฤไทยสาธุ์สำคัน ว่าพระญานาคนั้นประดูจโอรส อันปรากฏแต่พระอุระ กมีพระพจนควรทยาลู ว่าดูกรพระญานนโทปนันท อันว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ กเสด็จมาอยู่ที่นี้ สมเด็จบรมตรีภวนะมณฑล สกลโลกยนาถา อนุญญาตให้อาตมาทวรมานท่าน อันจให้อาตมกษานติโทษา ท่านจงมาให้สมเด็จ พระสรรเพชญ์พุทธทิวากร อันเถพอโลกวิวรให้อาภา ขษานติโทษาแห่งท่าน เทอญ

อถ เถโร นํ ภควโต สัน์ติเก เนสิ ในกาลนั้น อันว่าพระมหาโมคคัลลา กนำพระญานาคเข้าไป ในสำนักพุทธบาทา สมเด็จภวนารรถาบพิตร แล

อถ นาคราชา สกลทิพ์พมานวคณสีลิมุขนิกรสตตเสวิตํ จัก์กลัก์ขณลัก์ขิตํ สุวิโสธิตสัพ์พกายิกวิมลจามิกรวท์นัม์ปการวิสุท์โธต์ตมนขวิราชิตํ ภควโต ปาทปังกชยมกํ วัน์ธิต๎วา อัจ์จโย มํ ภัน์เต อัจ์จคมา ยถา พาลํ ยถา มุฬ๎หํ ยถา อกุสลํ โยหํ ภัน์เต สํสารรัต์ติยา นิท์ธายมาโน สกายหทยัพ์ภัน์ตเร ถิตาย มิจ์ฉาทิฏ์ิฆฏิตัน์ธการาย ปริโยนัท์ธวทโนชนชรามรณหิตํ นาถํ ภควัน์ตมนัน์ตคุณํ น ชานามิ ภัน์เต ปเทตรหิตํ อัค์คปุค์คปุลมุต์ตมํ ปุ์ัก์เขต์ตํ ยัต์ถํ อัป์ปมัต์ตกํ ทิน์นํ มหัป์ผลตรํ โหติ อิโต ปัฏ์าย ภัน์เต อัต์ตานํ ปริจัช์ชิต๎วา ปิ ตีณิ สรณานิ ปริจัช์ชิตุํ น สัก์โกมีติ กัต์ตัพ์พวสาเณ ตีณี สรณานิ อัค์คเหสิ

ในกาลนั้น อันว่าทฤรรสรรุราชา อันเปนอิศวราในบาดาล กถวายนมัสการซึ่งบงกช ทสนขะวรา คือพุทธบาทายะมก แห่งสมเด็จบรมนายกดิลกโลกยมกุฎ อุดดํมวิสุทธชัชวาลย ประดูจบวรกาญจนมลา พระภาคยุเบดาแห่งสมเด็จ พระสรรเพชญ์พุทธเจ้านั้น สรรพชำระด้วยดี มีพระพุทธบาทยุคคล อำพลด้วยกงจักรลักษณบวร อันนิกรมฤธุกรนานา คือพรรคแห่งเทพามนุษยทังผอง ย่อมสร้องเสพเปนอัตรา พระญาภุเชดศวราธิราชนั้น ยออัญชวลีกรรมดำกล เลอถบวงบนสิโรเสร็จ กกราบทูลสมเด็จโลกยวิทู เบูกฤษฎด่งงนี้

ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพุทธภาคย อันว่าโทษอันมากแห่งข้าพระพุทธเจ้า อันเปนคนเขลาคนพาล อันโมหันธการบมีฉลาด ข้าแต่สมเด็จศิริสกยมุนีนารรถรวิวงษ อันว่าข้าพระพุทธองค์ผู้ใด นฤทรเนาในรชนิยารํมณ คือนิยํมในสงสารจักร แถมีภักตรกลับเปนบอด อยู่ด้วยมืดมนเปนหนักหนา คือมฤจฉาทฤษฎี อันสถิตสถีรอยู่พายใน กมลหฤไทยแห่งอาตมา ข้ากบมิได้รู้จัก ซึ่งสมเด็จแธรรยูกฤษฎา นัคคอันอุดดมา อันประกอบด้วยพระอนันตญาณาธิคุณ อันไพบุลเปนอันมาก แลเว้นจากชาดิชะรามรณ แลเปนที่อดิสรณสกลสถาน อันว่าทานอันใดบมีมาก อันบุคคลบริจากเปนตังวาย ถวายแก่องค์สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ใด ท่านนั้นกให้ผลมหิมา ข้าแต่สมเด็จอธิกโลกาบรํมนารรถ ข้าพระบาทแห่งพระพุทธองค์ กชราบหมั้นคงในบัดนี้ ซึ่งสมเด็จโลกยโมลีพระองค์นั้น เปนมหาบุคคลอันพิเศศ เปนบุญญเขตรอันลำเลอศ ว่าประเสอรรดิแต่กาลบัดนี้ไป แล

ข้าแต่สมเด็จทสพลธรวรญาณ จำเดอมแต่กาลบัดนี้ไปพหน้า อันว่าข้าพระพุทธองค์ กปลงชีพิตรจิตรสันดาน ถวายแต่สมเด็จศาษดาจารยโลกยนาถ ข้ากบมิอาจเพื่อจละเสียได้ ซึ่งพระไตร สรณาคมนบวร พระญานาคกถึงซึ่งพระไตรสรณไตรสถาน เมื่อนมัสการสำเร็จกิตย พระญานาคกสถิตอยู่ใน พระไตรสรณาคมเจ้า แล

อถ สัต์ถา ปาตลปโยธรปตลบริโยนัท์ธกนกาจลนิตัม์พรุหหาตกปั์จกุณ์ฑลํ ปุป์ผมกุลปติมปั์จางคุลีหิวิราชิตํ อนัป์ปกัป์ปูปชนิตสุจ์จริตผลสัชตํ สุภลัก์ขสั์จิตํ สํสารสาครมโหฆนิม์มุค์คชนตาตารณสมัต์ถํ สุฏ์ลลิตํ ภมรทัก์ขิณหัต์ถํ ปสาเรต๎วา อมิต์ตสัม์ภาราภินิพ์พัต์ตํ สํสารทุก์ขกัณ์ณสุลาทิปริตา ปิตสกลโลกกัณ์ณวิวรามตรสปริสิ์จมานมิวอติมธุรตรํ อัฏ์ังคสมัน์นาคตํ พ๎รห๎มโฆสํ โฆสิต๎วา ปาณาติปาตาทิปัจวิธเวรรหิตานิ สิก์ขาปทานิ อนุสาสติ

ในกาลน้นน อันว่าสมเด็จพระโลกยโมลิศบวร กบงพระกรยงงพระหัษถเบื้องขวา อันโสภนาประเสอรรดินัก อาจที่จะข้ามพักพวกสัตวทังหลาย อันจมแลหว้ายอยู่ในสมุทรคัมภีร สิ่งนี้คือสงสารทุกขอนนต สมเด็จพระทศพถบพิตร พระลักษณภิรัญชิตประสัษฐ อันนฤรรพัดดินฤมล ได้ด้วยผลแห่งสุจริตธรรม อันบังเกอดในกัลปอเนก อดิเรกด้วยพระหัษถวรางค เบญจางคุลยงคยิ่งกลึง ประดูจผกาพละพลึงเทศอันตุม ประชุมทังห้าดอกบริสุทธิ์ อันผุดขึ้นเหนือพ่างพื้นเศลสุพรรณ แถมีตรบอกเมฆันดรเมฆา อันคลุ้มให้พรรษาพรรษดี สมเด็จพระมหาธีรบวร กเปล่งพระพุทธสรสำเนียง ไกรกว่าเสียงกมเลนทรา มีองค์อัษฎาประการ อันอุบัดดิด้วยพุทธสมภารอนันต อันจนับกัลปบมิได้ แลไพรอะสนอะยิ่งนัก ประดูจอรรคอมฤตยสฤตชะลา รดในช่องกรรณาสัตวโลกย อันเดือดร้อนโสกอนนต เปนต้นว่าไม้แทงกรรณ อันกล่าวคือสังสารวัฏร พระองค์กตรัสโอวาท ซึ่งพระญานาคราชด้วยสิกษาบท อันจพึงอดพึงเว้น จากเบญจาวิธเวรอาฆาฎ มีปราณาติบาตเปนเดอม แล

นาคราชา สกลเทวมนุส์สหิตาหิตกุสเลน สัต์ตหิตปฏิตนายเกน นิย์ยานิกสาสเนน อนุสิฏ์โ สาธุภัน์เต ตถา ปริจ์จัช์ชิส์สามิ ยถา มํ ภควา อนุสาสสีติวัต๎วา สัพ์พัญ์ญุตญาณรุจิรวิสิป์ปภาหิ วิกสิตรัต์ตปังกชปัต์ตัพ์ภัน์ตเร ถิตํ นิลวัณ์ณภมรัฏ์นิภนยนมกราชิตํ อเนกโกฏิปุ์ัป์ปภาวปาปิยา สัม์ปุณ์ณํ ภควโต วรวทนวิกสิตํ สุวัณ์ณกุเล สยํ โอโลเกต๎วา อัฏ์าสิ

อันว่าพระญาอุรคาธิบดิสสร อันสมเด็จมุนิวรนิกรโลกยนาถ พระพุทธองค์ฉลาดในปรโยชนกดี บมีเปนประโยชนกแจ้ง แห่งนิกรเทพามานุษ อันอุดบัดดิในไตรภพ ผู้ใดอันปรารพภปราถนา พุทธองค์กนำมาหาปรโยชน พระพุทธองค์กโปรดให้โอวาท แก่สชนชาติทังปวงเสร็จ ด้วยโอวาทแห่งสมเด็จภูริเบญญา พระสัทธรรมเทสนาวรำ อันจะนำสัตวอันมาก ให้ออกจากวัฎรสงสาร พระญาบดีบาดาลกกราบทูลแก่สมเด็จ พระสรรเพชญ์พุทธเจ้าด่งงนี้ ข้าแต่สมเด็จพระพุทธภาคยวรงค สมเด็จพระพุทธองค์โอวาท ข้าพระพุทธบาทด้วยประการใดกดี ข้าพระองค์ละตรีพิธทุจริต ด้วยดำรงจิตรอันดี กมีด้วยประการด่งงนั้น

อันว่าพระญาทฤรรฆปฤษฎางคกายินทร กทฤษฎินซึ่งพระพุทธภักตร อันมีบวรลักษณอะมะลงค ประดูจสุพรรณบงกชสมุชลิต อันพิกษิตรจิตรุจี ด้วยพุทธศิริรังษีฉัพพิธวรรณ คือพระสรรพัญญุตญาณพิเศศ โสภนาพระเนตรยุคคล กฤษณพรรณมลตรการ ปานปักษภมรมฤธุกรยุคคล อันดำกลกรลา ปทุมาพรรณรัตดางค แลพุทธทวยางคเนตรลำเลอศ อันประเสอรรดิสำริทธิ์ ด้วยพระริทธานุภาพบุนยา อันคณนาด้วยโกฏิอันมาก พระญานาคกกราบนมัสการ แล้วกประดิษถานอยู่ในที่นั้น แล

อถ ภควา ภิขุสํฆปริวุต์โต อนาถปิณ์ฑิกัส์สํ นิเวสนํ อัค์คมาสิ ในกาลนั้น อันว่าสมเด็จบรมโมลี ตรีโลกา กฺรสรณรรค มีนิกรอรหันตสระพรั่งพร้อม นมัสการล้อมเปนบริพาร กเสด็จไปสู่สถานคฤหาสน แห่งอนาถบิณฑิกคฤหบดี มหาเศรษฐีอันนิมนต สมเด็จพระอะนนตญาณเจ้านั้น แล

อถ อนาถปิณฑิโก กึ ภัน์เต อติทิวา อาคตัต์ถาติ อาห อันว่าอะนาถบิณฑิกะเศรษฐี กราบทูลถามคดีจเดียงอรรถ แต่สมเด็จพระสรรพัชญ์ด่งงนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระภาคยอุดดมา แลสมเด็จอนันตญาณาจารยเจ้า เสด็จมาบมีเช้าสายยิ่งนัก เหดุการณลักษณด่งงฤา

อัช์ชาปิ เสฏ์ฐิ โมค์คัล์ลานัส์ส นัน์โทปนัน์ทัส์ส สังคาโม อโหสีติ อันว่าสมเด็จบรมา นาวรนรญาณาวิสารัท กดำรัสซึ่งพระพุทธฎีกา แก่อะนาถะบิณฑิกะด่งงนี้ ดูรามหาคฤหบดี วันนี้มีสงครามมหิมา แห่งแสดงโมคคัลลา แลนาคราชานันโทปนนท มีด้วยประการกลด่งงนี้เสร็จ พระตถาคตจึ่งเสด็จมา สู่คฤหาแห่งท่าน เวลากาลด่งงนี้ แล

กัส์ส ภัน์เต ชโย กัส์ส ปราชโยติ อาห อันว่าอะนาถบิณฑิกะเศรษฐี กกราบทูลถามคดีซึ่งสมเด็จ พระสรรเพชญ์ด่งงนี้ ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพุทธภาคยบวรา อันว่าความวิชยามีแก่ผู้ใด อันว่าความอะปะราไชยมีแก่ผู้ด่งงฤา

กิ์จาปิ โส มหานุภาโว อาสิวิโส ทุท์ธมิต์โต โมค์คัล์ลาเนน ทมิโต คัณ์ฑุปาโท วิย นิพ์พิสัต์ตํ ปัต์โต นิย์ยานิกสาสเนสกัต์ตานํ ปติฏ์ิโต ตถาคตัส์ส อัต์ตานํ โอรสปุต์ตภาวอุปัน์เนตีติ อาห

อันว่าสมเด็จพระบรมนารรถศาษดา แห่งกมเลนทรามรนรคณสกลโลกยกรุณา อันเปนภาณุพันธุสรรพัชญ์ กตรัสอรรถด่งงนี้ ชี้ลักษณประกาศ แก่อะนาถบิณฑิกะคฤหบดี มหาเศรษฐีพุทธุบาสกุดดมา อันว่าพระญานันโทปนันท อันเปนอาเสียรพิศ อันมีริทธิพลพหลพหะลา มหิมาอานุภาพนัก อันจักทวรมานกำรอแลมาน แถแสดงโมคคัลลานทรมานได้ ด้วยกำไรพลพหลมหิทธิ์ พระญานาคนั้นกหาพิศบมิได้ ประดูจงูไซแลไส้เดือน อันเกลื่อนอยู่ในแผ่นธรณี แลราชาบดีภุชังค กต้งงซึ่งอาตมภาพไว้ ในพระไตรสรณาคมน อันอุดดํมในพระสาษนา กเว้นในเบญจาวิธเวร อันจนำเจญแห่งอาตมา ออกจากภวไตรยาสงสารวัฏร กน้อมมาซึ่งกะรัชอาตมา แห่งนาคว่าเปนพุทธกุล อันกำเนอดในอูรธรา แห่งพระตถาคตนี้ แล

ตํ สุต๎วา เสฏ์ี เอวรูปํ มหานุภาวํ นิย์ยานิกสาสนํ อติปสีทิต๎วา สัต์ตาหํ พุท์ธัป์ปมุขานํ ปั์จัน์นํ ภิก์ขุสตานํ มหาสัก์การสมานํ กัต๎วา เอวํ มหานุภาวัส์ส เถรัส์ส สัต์ตาหํ สัก์การํ อกาสิ

อันว่ามหาเศรษฐี ได้สดับซึ่งพระพุทธฎีกาบวร แห่งสมเด็จนรวงพากยา กจำเรอญสรัทธาเหลื้อมใส ในบรมพุทธศาษนา แลเปนนิยยานิกะธรรม อันจะนำสรรพสัตวอันมาก ให้เจญจากวัฎรทุกขา แลมีพะหะวานุภาพทงงมวล มีสวะภาพบงงควรด่งงนี้ แล้วเศรษฐีเข้าประฎิบัดดิ ด้วยโสรมะนัสสสรัทธา สรรพบูโชปะกรณาดิเรก ทักษิณาทานอเนกนานา แก่พระสพกเบญจสต มีองค์สมเด็จพระสุคตชาประธาน สิ้นสับดวารสํมฤทธิ กประพฤดดิสักการบูชา พระมหาโมคคัลลานะอันอุดดํม อันธมีบรมฤทธานุภาพอันมาก กสิ้นทิพสภาคสับดวาร กมีด้วยประการด่งงนี้ แล

เตน การเณน เอตทัค์คํ ภิก์ขเว มม สาวกานํ อิท์ธิมัน์ตานํ ยทิทํ โมค์คัล์ลาโนติ ทุติยถาเน ถเปสิ เหตุด่งงนั้น อันว่าสมเด็จพระมหาสุทรรยา กต้งงพระมหาโมคคัลลานะเถระไว้ ในอรรคสถานะทุติยา ด้วยพระพุทธฎีกาบวร ว่าดูกรสงฆคณะศิษะยา อันว่าแสดงโมคคัลลานะนี้ประเสอรรฎิ เลอศกว่านิกรสาวกทังหลาย ยอดยิ่งด้วยฝ่ายริทธิ์ แล

ตัส์ส คุณํ ปกาเสน์โต สัต์ถา อาห อันว่าสมเด็จมหามุเนศวะรา โลกาจารยบพิตร เมื่อจะประกาสิตซึ่งคุณวะรา แห่งพระมหาโมคคัลลานะเถร ก็ตรัสพระคาถา แก่พระภิกษรุภิกษรุนน์นยาทด่งงนี้

ทเมต๎วา โย อทัน์ตานํ นาคาทีนํ มหาปเถ
ถเปสึ ตํ มหาวิรํ นมัน์ตุ สิรสาธโวติ

ดูราภิกษุภิกษุนีทงงหลาย หมายอันมีธรรมธราธาร อันว่าพระมหาโมคคัลลานผู้ใด ธทรมานได้ ซึ่งสัตวทงงหลาย หมายมีต้นว่านาคราช อันมีริทธิอำนาทมะโหฬาร อันบุทคลผู้อื่นจทรมานบมิได้ ธกต้งงสัตวทงงหลายไว้ในมรรคา อัษฎางโคดดมาประเสอรรดิ อันเลอศล้ำมรรคา สาธโว ดูราสาธุสับบุรุษุ พุทธุบาสกอุบาสิกา อันว่าท่านทงงหลาย จงต้งงจิตรถวายนมัสการ ซึ่งพระมหาโมคคัลลานเถรน้นน อันเธอมีสรรพความเพียร สดุดีด้วยเสียรแห่งอาตมา ด้วยใจสรัทธายินดีแห่งท่านทงงปวง เทอญ

นัน์โทปนัน์ทวัต์ถุ นิฏ์ฐิตํ อันว่าลักษณสูตรอันพรรณนา นันโทปนันทาเสียรพิศ อันสมเด็จพิชิตมารเจ้าบันทูล เสร็จบริบูรรณพระธรรมเท่านี้ แล

พุท์ธสิริต์เถเรน สังคายิตํ นัน์โทปนัน์ทวัต์ถุ นิฏ์ิตํ เถโร อันว่าพระมหาเถร อันเปนพระชิเนน โทรรสา พุท์ธสิรินาม ผู้ชื่อพระมหาพุทธศิริกสำแดง สังคายิตํ แต่งแต่สิลิษฐพจนมคธ สิลิฏ์ฐํ ให้เกลี้ยงเกลาในบทพระบาฬี นัน์โทปนัน์ทวัต์ถุ อันมีในนนโทปนนทปกรณัม นิฏ์ฐิตํ กสำเร็จในดำนานนิทาน อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน ด้วยประการด่งงนี้ แล

อหํ สิริปาโลนาม เตสํ ชนานํ ปสาทาย นัน์โทปนัน์ทวัต์ถุํ สิลิฏ์ํ พหุสัม์ผัส์สกํ โสวัต์ถิกมาลํ สังคายามิ

อหํ อันว่าข้า สิริปาโล ผู้ชื่อพระมหาสิริบาลกประกาศนาวจท โดยพระนามแต่บูรรพาทิ์บรรพัชช ครั้นนิวัตรนิเวศน เปนกระษัตรเพศวะรำ ธัม์มธิเปส์สชยเชฎ์ฐสุริยวํสนาม ชื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยะเชษฐสุริยวงษ สถิตรัทยงศฤงฆาร วังบวรสถานมงคล ดำกลเปนฝ่ายหน้า แลข้านี้กสำแดงบท สังคายามิ แต่งสิลิษฐพจนคำสยาม สิลิฏ์ฐํ ให้เกลี้ยงเกลาตามในพระบาฬี นัน์โทปนัน์ทวัต์ถุํ ซึ่งมีในนนโทปนนทพัศดุ พหุสัม์ผัส์สกํ แลมีบทสัมผัสสะอันเจรอญ ปสาทาย เพื่อจให้จำเรอญปรีดา ภิรํมย เตสํ ชนานํ แห่งนิกรสรํมณพราหมณา แลเสวกามาตยราชบัณฑิตย โสวัตถิกมาลํ เปนถนิมรัตนภิรัญชิตกรรณา แห่งเมธาในโลกยนี้ แล

๏ นนโท พ่ายสิศยซ้าย ภควา
ปะนนทะ นาเคนทรา กราบเกล้า
สูตร์ ทีฆนิกายสา ทรเลอศ
บริบูรณ์ ธรรมพระเจ้า เทศนไว้ควรยอ ๚ะ
๏ เจ้าฟ้าธรรม ท่านแท้ พยายาม
ธิเบศร กุมารนาม บอกแจ้ง
ไชยเชษฐ ปัญญาคาม ภีรภาพ
สูริยวงษ์ ธรงแต่งแกล้ง กล่าวเกลี้ยงนนโท ๚ะ

----------------------------

พระบาฬีนนโทปนนทสูตรนี้ พระมหาพุทธสิริเถรเจ้าแต่งไว้แต่ก่อน บ่มิได้ลงพุทธสักราชไว้ ว่าเมื่อแรกแต่งพระบาฬีสำเร็จน้นน พุทธสักราชได้เท่าน้นนเท่าน้นน แลเจ้าฟ้าธรงพระผนวชกรมขุนเสนาพิทักษ์ มาธรงแต่งเปนเนื้อความคำประดับครั้งนี้ เมื่อสำเร็จน้นน พระพุทธศักราชล่วงไปแล้วได้ ๒๒๗๙ ปีกับ ๓ เดือน ในวาร ๑ ๑๕ ๘ ๘ ทุติยาสาธปีมโรงนักสัตรอัษฐศก จุลสักราช ๑๐๙๘ ศก แลแต่แต่งพระบาฬีมาคุมเท่าถึงธรงแต่งเนื้อความคำประดับในครั้งนี้ แลจะรู้ว่าว่างอยู่น้นนจะไกลกันสักขี่สิบปีน้นนบ่มิได้แจ้ง

เมื่อแรกแต่งพระมหาชาติ์คำหลวงน้นน จุลศักราชได้ ๘๔๔ ศก แต่งนนโทปนนทสูตรคำหลวงครั้งนี้ จุลสักราชได้ ๑๐๙๘ ศก ว่างกันอยู่ถึง ๒๕๔ ปี

นนโทปนนทสูตร์ ที่พระบาฬีเปนปรกติอย่างเทศนาทั้งปวง มีอยู่ในพระคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธน้นนต้งงเอวัมเมก่อน นนโทปนนทสูตร์อันมีในพระอัตถกถาแก้พระคัมภีร์อัปปทานนี้ อันพระมหาพุทธสิริเถรเจ้าแต่งเปนพระบาฬีคำประดับนี้บมิได้ต้งง เอวัมเม ก่อนเลอย บุคคลผู้มีปัญญาอย่าพึงสงไลยว่า นนโทปนนทสูตรนี้นอกคำพระอานนท์แลนอกสังคายนาย นนโทปนนทสูตร์นี้มีในสังคายนายแท้จริง แล

----------------------------

ข้าพระพุทธเจ้า $\left. \begin{array}{}\mbox{ นายสัง } \\[1.4ex]\mbox{นายสา }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ชุบพระบาฬี นายทองชุบเนื้อความ

พระสมุดขาวอย่างนี้โบกด้วยฝุ่นสามครั้ง จึงลงน้ำกันเชื่อมครั้งหนึ่ง จึงเขียนพระอักษร แล้วจึงลงน้ำกันเชื่อมอีกสามครั้ง แม้นว่าต้องน้ำมิได้ลบเลือนเลอย อย่างโบกด้วยฝุ่นแลน้ำกันเชื่อมนี้ ของหลวงโชฎึกนอกราชการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

พระสมุดนี้ชั่งได้หนัก  |๒|

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ