คำนำ

โคลงสุภาสิตเรื่องนี้ เดิมเมื่อรัตนโกสินทรศก ๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรประพาศพระราชวังบางปอิน เวลานั้นเปนคราวว่างพระราชกรณียกิจ จึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์โคลง เพื่อเปนที่สำราญพระราชหฤทัย แลได้ทรงชักชวนพระบรมวงษานุวงษ์บางพระองค์ แลข้าราชการบางนาย ที่ได้ตามเสด็จพระราชดำเนิรประพาศนั้น ให้แต่งโคลงบ้าง โคลงเหล่านี้มีเนื้อความว่าด้วยคุณแลโทษของความดีความชั่วที่เกิดในใจ แลความประพฤติ เมื่อได้รวบรวมเข้าแล้ว ก็เปนจำนวนโคลงหลายร้อยบท ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า โคลงเหล่านี้เปนของน่าฟัง แลเปนประโยชน์อยู่ ควรเปนแบบฉบับได้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คัดรวบรวมไว้ ต่อมาได้ลงพิมพ์ไว้ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๐๕ เปนตอน ๆ กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณเห็นว่า หนังสือเรื่องนี้ควรจะพิมพ์แยกเปนเล่มหนึ่งต่างหากได้ ด้วยหนังสือเรื่องนี้เปนสุภาสิตมีคุณธรรมเปนคติชักนำในความประพฤติ ให้ละความชั่ว ทำความดี แลเปนพระราชนิพนธ์ด้วย สมควรจะพิมพ์ไว้ให้แพร่หลายสืบไป จึ่งได้อนุญาตให้โรงพิมพ์ไทยพิมพ์ขึ้น

หอพระสมุดวชิรญาณ

วันที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๑

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ