(๑) เอวมฺเม สุตํ |
(๑) องค์พระอานนท์ท่านเล่า |
ว่าฃ้าพเจ้า |
ได้ฟังมาแล้วดังนี้ |
|
(๒) เอกํ สมยํ ภควา |
(๒) สมัยหนึ่งพระผู้มี |
พระภาคชินสีห์ |
ผู้โลกนาถจอมธรรม์ |
|
(๓) สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม |
(๓) ประทับณเชตะวัน |
วิหาระอัน |
อนาถะบิณฑิกไซร้ |
|
จัดสร้างอย่างดีที่ใน |
สาวัตถีให้ |
เปนที่สถิตสุฃา |
|
(๔) อถ โข อฺฺตรา เทวตา |
(๔) ครั้งนั้นแลเทวะดา |
องค์หนึ่งมหา- |
นุภาพมหิทธิ์ฤทธี |
|
(๕) อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา |
(๕) ล่วงประถมยามราตรี |
เธอเปล่งรัสมี |
อันเรืองระยับจับเนตร์ |
|
(๖) เกวลกปฺปํ เชตวนํ โอภาเสตฺวา |
(๖) แสงกายเธอปลั่งยังเฃต |
สวนแห่งเจ้าเชต |
สว่างกระจ่างทั่วไป |
|
(๗) เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ |
(๗) องค์พระภควันนั้นไซร้ |
ประทับแห่งใด |
ก็เฃ้าไปถึงที่นั้น |
|
(๘) อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา |
(๘) ครั้นเฃ้าใกล้แล้วจึ่งพลัน |
ถวายอภิวันท์ |
แด่องค์สมเด็จทศพล |
|
(๙) เอกมนฺตํ อฏฺาสิ |
(๙) แล้วยืนที่ควรดำกล |
เสงี่ยมเจียมตน |
แสดงเคารพนบศีร์ |
|
(๑๐) เอกมนฺตํ ิตาโข สา เทวตา |
(๑๐) เมื่อเทวดายืนดี |
สมควรณที่ |
ฃ้างหนึ่งดังกล่าวแล้วนั้น |
|
(๑๑) ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ |
(๑๑) จึ่งได้ทูลถามภควัน |
ด้วยถ้อยประพันธ์ |
เปนพระคาถาบรรจง ฯ |
|
๏ พหู เทวา มนุสฺสา จ |
มงฺคลานิ อจินฺตยุํ |
อากงฺขมานา โสตฺถานํ |
พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ |
๏ เทพอีกมนุษหวัง |
คติโสตถิจำนง |
โปรดเทศะนามง- |
คะละเอกอุดมดี ฯ |
(ฝ่ายองค์สมเด็จชินสีห์ |
ตรัสตอบวาที |
ด้วยพระคาถาไพจิตร์) |
|
๑. อเสวนา จ พาลานํ |
ปณฺฑิตานฺจ เสวนา |
ปูชา จ ปูชนียานํ |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๑. หนึ่งคือบ่คบพาล |
เพราะจะพาประพฤติผิด |
หนึ่งคบกะบัณฑิต |
เพราะจะพาประสพผล |
หนึ่งกราบและบูชา |
อภิบูชะนีย์ชน |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๒. ปฏิรูปเทสวาโส จ |
ปุพฺเพ จ กตปฺุตา |
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๒. ความอยู่ประเทศซึ่ง |
เหมาะและควรจะสุขี |
อีกบุญญะการที่ |
ณอดีตะมาดล |
อีกหมั่นประพฤติ์ควร |
ณสะภาวะแห่งตน |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๓. พาหุสจฺจฺจ สิปฺปฺจ |
วินโย จ สุสิกฺขิโต |
สุภาสิตา จ ยา วาจา |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๓. ความได้สดับมาก |
และกำหนดสุวาที |
อีกศิลปะศาสตร์มี |
จะประกอบมนูญการ |
อีกหนึ่งวินัยอัน |
นรเรียนและเชี่ยวชาญ |
อีกคำเพราะบรรสาน |
ฤดิแห่งประชาชน |
ทั้งสี่ประการล้วน |
จะประสิทธิ์มนุญผล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๔. มาตาปิตุอุปฏฺานํ |
ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห |
อนากุลา จ กมฺมนฺตา |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๔. บำรุงบิดามา- |
ตุระด้วยหทัยปรีย์ |
หากลูกและเมียมี |
ก็ถนอมประหนึ่งตน |
การงานกระทำไป |
บ่มิยุ่งและสับสน |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๕. ทานฺจ ธมฺมจริยา จ |
าตกานฺจ สงฺคโห |
อนวชฺชานิ กมฺมานิ |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๕. ให้ทานณกาลควร |
และประพฤติ์สุธรรมศรี |
อีกสงเคราะห์ญาติ์ที่ |
ปฏิบัติบำเรอตน |
กอบกรรมะอันไร้ |
ทุษะกลั้วและมัวมล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๖. อารตี วิรตี ปาปา |
มชฺชปานา จ สฺฺโม |
อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๖. ความงดประพฤติ์บาป |
อกุศลบ่ให้มี |
สำรวมวรินทรีย์ |
และสุราบ่เมามล |
ความไม่ประมาทใน |
พหุธรรมะโกศล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๗. คารโว จ นิวาโต จ |
สนฺตุฏฺี จ กตฺุตา |
กาเลน ธมฺมสฺสวนํ |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๗. เคารพณผู้ควร |
จะประณตและนอบศีร์ |
อีกหนึ่งมิได้มี |
จะกระด้างและจองหอง |
ยินดีณของตน |
บ่มิโลภทยานปอง |
อีกรู้คุณาของ |
นรผู้ประคองตน |
ฟังธรรมะโดยกา- |
ละเจริญคุณานนท์ |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๘. ขนฺตี จ โสวจสฺตา |
สมณานฺจ ทสฺสนํ |
กาเลน ธมฺมสฺสากจฺฉา |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๘. มีจิตตะอดทน |
และสถิตณขันตี |
อีกหนึ่งบ่พึงมี |
ฤดีดื้อทนงหาญ |
หนึ่งเห็นคณาเลิด |
สมณาวราจารย์ |
กล่าวธรรมะโดยกาล |
วรกิจจะโกศล |
ทั้งสี่ประการล้วน |
จะประสิทธิ์มนุญผล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๙. ตโป จ พฺรหฺมจริยฺจ |
อริยสจฺจาน ทสฺสนํ |
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๙. เพียรเผากิเลสล้าง |
มละโทษะยายี |
อีกหนึ่งประพฤติ์ดี |
ดุจะพรหมพิสุทธ์สรรพ์ |
เห็นแจ้งณสี่องค์ |
พระอะรียสัจอัน |
อาจนำมนุษผัน |
ติระฃ้ามทเลวน |
อีกทำพระนิพพา- |
นะประจักษะแก่ชน |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๑๐. ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ |
จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ |
อโสกํ วิรชํ เขมํ |
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ |
๑๐. จิตใครผิได้ต้อง |
วรโลกะธรรมศรี |
แล้วย่อมบ่พึงมี |
จะประหวั่นฤกังวล |
ไร้โศกธุลีสูญ |
และสบายบ่มัวมล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
๑๑. เอตาทิสานิ กตฺวาน |
สพฺพตฺถมปราชิตา |
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ |
ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺต มนฺติ ฯ |
๑๑. เทวามนุษทำ |
วรมงคะลาฉนี้ |
เปนผู้ประเสริฐที่ |
บ่มิแพ้ณแห่งหน |
ย่อมถึงสวัสดี |
สิริทุกประเทศดล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี ฯ |