จันทน์เผาเหือดแห้งห่อน |
กลิ่นธาร |
อ้อยหีบแล้วหอมหวาน |
กลิ่นอ้อย |
ช้างเข้าศึกเสี้ยมสาร |
ยกย่าง งามนา |
บัณฑิตแม้ทุกข์ร้อย |
ห่อนรื้อเสียธรรม |
|
สำนวนเก่า |
จวงจันทน์แม้แห้งห่อน |
โรยรส |
ช้างสู่สงครามขยด |
ค่อยเข้า |
อ้อยหีบพร่ำสาหด |
ฤๅจืด จางนา |
นักปราชญ์ทุกข์ร้อนเร้า |
ห่อนรื้อลืมธรรม |
|
สำนวนเก่า |
รัตจันทน์แม้มาตรแห้ง |
ฤๅหาย กลิ่นเฮย |
คชสารสู้รณเยื้องผาย |
ห่อนทิ้ง |
อ้อยอัดบดยนต์ขยาย |
รสห่อน เสียแฮ |
ปราชญ์ทุกข์แทบตัวกลิ้ง |
ห่อนได้เสียธรรม |
|
สำนวนเก่า |
จันทน์แดงแห้งห่อนสิ้น |
กลิ่นอาย |
สารบ่ละลายผาย |
ศึกเข้า |
อ้อยอัดหีบห่อนหาย |
หวานรส นะพ่อ |
ปราชญ์ทุกข์ลำเค็ญเร้า |
ไป่ร้างโรยธรรม |
|
สำนวนเก่า |
จันทน์แห้งกลิ่นห่อนได้ |
ดรธาน |
อ้อยหีบชานยังหวาน |
โอชอ้อย |
ช้างเข้าศึกเสี่ยมสาร |
ยกย่อง งามนา |
บัณฑิตแม้นทุกข์ร้อย |
เท่ารื้อลืมธรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑. |
|
หํโส มชฺเฌ น กากานํ |
สีโห คุนฺนํ น โสภเต |
คทฺรภมชฺเฌ ตุรงฺโค |
พาลมชฺเฌ จ ปณฺฑิโต |
|
โลกนิติ |
หงส์ทองเสพส้องสู่ |
ฝูงกา |
สีหราชเคียงโคคลา |
คลาดเคล้า |
อัศดรอยู่กลางลา |
หินชาติ |
นักปราชญ์พาลพาเต้า |
สี่นี้บ่งาม |
|
สำนวนเก่า |
ชาติหงส์การอบล้อม |
ฤๅงาม |
โครอบราชสีห์ทราม |
เสื่อมแท้ |
อัศดรเลื่องลือนาม |
ลารอบ ควรฤๅ |
ปราชญ์อยู่กลางพาลแส้ |
ยศสิ้นเสื่อมสูญ |
|
สำนวนเก่า |
ฝูงหงส์หลงอยู่ด้วย |
ฝูงกา |
อุศุภราชเป็นโคนา |
ท่านใช้ |
ม้าต้นเป็นม้าลา |
ตกต่ำ |
นักปราชญ์เป็นบ้าใบ้ |
เพราะใกล้คนพาล |
|
สำนวนเก่า |
ฝูงหงส์หลงเข้าสู่ |
ฝูงกา |
สีหราชเสียงโคนา |
คลาดเคล้า |
ม้าต้นระคนลา |
เลวชาติ |
นักปราชญ์พาลพาเต้า |
สี่นี้ไฉนงาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒. |
|
ภมราปุปฺผมิจฺฉนฺติ |
คุณมิจฺฉนฺติ สุชฺชนา |
มกฺขิกา ปูติมิจฺฉนฺติ |
โทสมิจฺฉนฺติ ทุชฺชนา |
|
โลกนิติ |
แมลงวันแสวงเสพด้วย |
ลามก |
ทรชนไว้วาจก |
แจกถ้อย |
ภุมราเห็จเหิรหก |
หาบุษ บานา |
ผู้ปราชญ์ปราชญ์แต่น้อย |
เสพส้องแสวงธรรม |
|
สำนวนเก่า |
กัลลองปองจ่อจั้ง |
จิมบง กชแฮ |
สาธุปองคุณประสงค์ |
สืบสร้าง |
แมลงวันร่อนปองลง |
คูถมูตร |
คนชั่วปองโทษมล้าง |
ชอบร้ายรุนแสวง |
|
สำนวนเก่า |
แมลงภู่วูว่อนเคล้า |
บุษบา |
คนปราชญ์คุณเตร่หา |
ห่อนร้าง |
แมลงวันใฝ่ภูมลา |
มกเน่า |
ชนชั่วมากมุ่งล้าง |
โลกแท้โทษปอง |
|
สำนวนเก่า |
แมลงวันแสวงเสพด้วย |
ลามก |
พาลชาติเสาะสิ่งรก |
เรื่องร้าย |
ภุมราเห็จเหินหก |
หาบุษ บานา |
นักปราชญ์ฤๅห่อนหม้าย |
หมั่นสู้แสวงธรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓. |
|
ตฤณขลมตฺถิตานามฺ |
กาญฺจไนกิมฺมฤคานามฺ |
วนผลมตฺถิตานามฺ |
รตไน กิมฺกปินามฺ |
อสุจิตมตฺถิตานามฺ |
คนฺธมฺ กิมฺสุกรานามฺ |
มชฺชสตฺตมตฺถิตานามฺ |
สาตฺรไก กิมฺมกฺขานามฺ |
เนื้อปองนํ้าหญ้าบ่ |
ปองทอง |
ลิงบ่ปองรัตน์ปอง |
ลูกไม้ |
หมูปองอสุจิของ |
หอมห่อน ปองนา |
คนเคลิบเคลิ้มบ้าใบ้ |
ห่อนรู้ปองธรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
กายเกิดพยาธิโรคร้าย |
ยาหาย |
พยศยาไป่วาย |
ตราบม้วย |
มีมั่งตั้งแต่หมาย |
จ่ายแจก |
เสือร้ายไม้ยับด้วย |
ดั่งนี้ฉิบหาย |
|
สำนวนเก่า |
กายเกิดพยาธิโรคร้าย |
ยาหาย |
แต่พยศยาไป่วาย |
ตราบม้วย |
ชาติเสือห่อนหายลาย |
ลบผ่อง |
กล้วยก็กล้วยคงกล้วย |
กลับกล้ายฤๅมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เขาใหญ่สูงร้อยโยชน์ |
คณนา |
ล้างด้วยพลโยธา |
ราบได้ |
จะมล้างพยศสา |
มารยาท นั้นนา |
แม้วายชีพแล้วไซร้ |
เรื่องร้ายบ่มิวาย |
|
สำนวนเก่า |
ขุนเขาสูงร้อยโยชน์ |
คณนา |
ขุนปราบด้วยโยธา |
ราบได้ |
จักล้างพยศสา |
หัสยาก |
ยศศักดิ์ให้เท่าให้ |
พยศนั้นฤๅหาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คบคนผู้โฉดเคลิ้ม |
อับผล |
หญิงเคียดอย่าระคน |
ร่วมห้อง |
อย่าคบหมู่ทรชน |
สอนยาก |
บัณฑิตแม้ตกต้อง |
โทษสู้สมาคม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ภูเขาอเนกล้ำ |
มากมี |
บมิหนักแผ่นธรณี |
หน่อยไซร้ |
หนักนักแต่กระลี |
ลวงโลก |
อันจักทรงทานได้ |
แต่พื้นนรกานต์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘. |
|
เสโล ยถา เอกฆโน |
วาเตน น สมีรติ |
เอวํ นินฺทาปสํสาสุ |
น สมฺมิญชนฺติ ปณฺฑิตา |
|
ธรรมบท |
ภูเขาทั้งแท่งล้วน |
ศิลา |
ลมพยุพัดมา |
บ่ ฟื้น |
สรรเสริญแลนินทา |
คนกล่าว ร้ายนา |
ใจปราชญ์ฤๅเด่าดื้น |
เฟื้องฟุ้งจินต์จล |
|
สำนวนเก่า |
ภูเขาเป็นแท่งพื้น |
ศิลา |
ลมพัดพานไปมา |
ห่อนลื้น |
สรรเสริญแลนินทา |
คนกล่าว นั้นนา |
ใจปราชญ์ฤๅแผ่วพื้น |
ห่อนได้จินต์จล |
|
สำนวนเก่า |
ภูเขาทั้งแท่งล้วน |
ศิลา |
ลมพยุพัดพา |
บ่ ขึ้น |
สรรเสริญแลนินทา |
คนกล่าว |
ใจปราชญ์ฤๅเฟื่อยฟื้น |
ห่อนได้จินต์จล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ |
มีควัน |
ห้ามสุริยแสงจันทร์ |
ส่องไซร้ |
ห้ามอายุให้หัน |
คืนเล่า |
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ |
จึ่งห้ามนินทา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐. |
|
ปพฺพตาปิ พหุเสลา |
รตนานิ จ ทุลฺลภา |
พหุชนา สทา โหนฺติ |
ปณฺฑิตาปิ จ ทุลฺลภา |
ภูเขาเหลือแหล่ล้วน |
ศิลา |
หามณีจินดา |
ยากไซร้ |
ฝูงชนเกิดนานา |
ประเทศ |
หานักปราชญ์นั้นไซร้ |
เลือกแล้วฤๅมี |
|
สำนวนเก่า |
เขาหลวงเหลือแหล่ล้วน |
ศิลา |
หามณีจินดา |
ยากได้ |
ฝูงชนเกิดมากมา |
เหลือแหล่ |
หานักปราชญ์นั้นไซร้ |
เลือกแล้วฤๅมี |
|
สำนวนเก่า |
ภูเขาเหลือแหล่ล้วน |
ศิลา |
หามณีจินดา |
ยากได้ |
ฝูงชนเกิดนานา |
ในโลก |
หานักปราชญ์นั้นไซร้ |
เลือกแล้วฤๅมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑. |
|
วนานนฺต พหุพฤกฺษา |
จนฺทนกณฺหทุลฺลภา |
พหุชนา สทา โหนฺติ |
ปณฺฑิตาปิ จ ทุลฺลภา |
ป่าปงดงล้วนเหล่า |
พฤกษา |
หาแก่นจันทน์กฤษณา |
ยากได้ |
นารีแผ่นโลกา |
มีมาก |
เบญจลักษณ์พร้อมไซร้ |
เลือกแล้วฤๅมี |
|
สำนวนเก่า |
ป่าหลวงดงใหญ่ล้วน |
พฤกษา |
หาแก่นจันทน์กฤษณา |
ยากไซร้ |
ฝูงชนในโลกา |
มีมาก |
หาปราชญ์ฤๅจะได้ |
ยากแล้วควรสงวน |
|
สำนวนเก่า |
ป่าหลวงปวงใหญ่ล้วน |
พฤกษา |
หาแก่นจันทน์กฤษณา |
ยากไซร้ |
ฝูงคนเกิดมีมา |
เหลือแหล่ |
หานักปราชญ์นั้นไซร้ |
เลือกแล้วฤๅมี |
|
สำนวนเก่า |
ป่าหลวงหลายโยชน์พร้อม |
พฤกษา |
หาแก่นจันทน์กฤษณา |
ยากไซร้ |
ฝูงคนเกิดมีมา |
เหลือแหล่ |
หาปราชญ์ฤาจักได้ |
ยากแท้ควรสงวน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มัจฉามีทั่วท้อง |
ชโลธร |
หาเงือกงูมังกร |
ยากได้ |
ทั่วด้าวพระนคร |
คนมาก มีนา |
จักเสาะสัปบุรุษไซร้ |
ยากแท้จักมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ดารามีมากร้อย |
ถึงพัน |
บ่เปรียบกับดวงจันทร์ |
หนึ่งได้ |
คนพาลมากอนันต์ |
ในโลก |
จะเทียบเท่าปราชญ์ไซร้ |
ยากแท้ฤาถึง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เหมหงส์เลี้ยงชีพด้วย |
สาคร |
ช้างพึ่งพนาดร |
ป่าไม้ |
ภุมราบุษบากร |
ครองร่าง ตนนา |
นักปราชญ์เลี้ยงตัวได้ |
เพื่อด้วยปัญญา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๕. |
|
ปกฺขีนํ พลมากาโส |
มจฺฉานนมุทกํ พลํ |
ทุพฺพลสฺส พลํ ราชา |
กุมารานํ รุทํ พลํ |
|
โลกนิติ |
นกแร้งบินได้เพื่อ |
เวหา |
ฝูงหมู่เต่าแลปลา |
พึ่งนํ้า |
เข็ญใจพึ่งราชา |
จอมราช |
ลูกอ่อนวอนกลืนกลํ้า |
อยากให้เป็นแรง |
|
สำนวนเก่า |
ปักษาอากาศเกื้อ |
กำลัง |
มัศยะยิ่งแรงรัง |
รักน้ำ |
ราชาเป็นกำลัง |
เวียงพึ่ง นะพ่อ |
ลูกอ่อนไห้รํ่าซ้ำ |
แซ่ซ้องเป็นแรง |
|
สำนวนเก่า |
นกแร้งบินได้เพื่อ |
เวหา |
หมู่จระเข้เต่าปลา |
พึ่งน้ำ |
เข็ญใจพึ่งราชา |
จอมราช |
ลูกอ่อนอ้อนกลืนกล้ำ |
เพื่อนํ้านมแรง |
(ครวญคร้ำ) |
(แม่ให้กินนม) |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ป่าพึ่งพาลพยัคฆ์ร้าย |
ราวี |
เสือพึ่งไพรพงพี |
เถื่อนถ้ำ |
ความชั่วพึ่งความดี |
เท็จพึ่ง จริงนา |
เรือพึ่งแรงนํ้าน้ำ |
หากรู้คุณเรือ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๗. |
|
สปฺปา สปฺปสฺส ปทํ ปสฺสํ |
กุกฺกุโฏสฺต น ปสฺสติ |
โจรา ปสฺสนฺติ โจรานํ |
ธีรา ปสฺสนฺติ ธีรติ |
ตีนงูงูไซร้หาก |
เห็นกัน |
นมไก่ ไก่สำคัญ |
ไก่รู้ |
พวกโจรต่อโจรผัน |
เห็นเล่ห์ กันนา |
นักปราชญ์ครั้นเห็นผู้ |
ปราชญ์ไซร้ยินดี |
(นักปราชญ์ต่อปราชญ์ผู้) |
|
|
สำนวนเก่า |
ตีนงูงูไซร้หาก |
เห็นกัน |
นมไก่ ไก่สำคัญ |
ไก่รู้ |
หมู่โจรต่อโจรหัน |
เห็นเล่ห์ กันนา |
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้ |
ปราชญ์รู้เชิงกัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๘. |
|
โย จ วสฺสสตํ ชีเว |
ทุสฺสีโล อสมาหิโต |
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย |
สีลวนฺตสฺส ฌายิโน |
|
ธรรมบท |
มีอายุร้อยหนึ่ง |
นานนัก |
ศีลชื่อปัญจางค์จัก |
ไป่รู้ |
ขวบเดียวเด็กรู้รัก |
ษานิจ ศีลา |
พระตรัสสรรเสริญผู้ |
เด็กนั้นเกิดศรี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๙. |
|
โย จ วสฺสสตํ ชีเว |
ทุปฺปญฺโ อสมาหิโต |
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย |
ปญฺวนฺตสฺส ฌายิโน |
|
ธรรมบท |
คนใดยืนอยู่ร้อย |
พรรษา |
ใจบมีปรีชา |
โหดไร้ |
วันเดียวเด็กเกิดมา |
ใจปราชญ์ |
สรรเพชญบัณฑูรไว้ |
เด็กนั้นควรยอ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๐. |
|
โย จ วสฺสสตํ ชีเว |
กุสีโต หีนวีริโย |
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย |
วีริยมารภโต ทฬฺหํ |
|
ธรรมบท |
คนใดยืนเหยียบร้อย |
ขวบปี |
ความอุตส่าห์ฤๅมี |
เท่าก้อย |
เด็กเกิดขวบหนึ่งดี |
เพียรพาก |
พระตรัสว่าเด็กน้อย |
นี่เนื้อเวไนย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๑. |
|
โย จ วสฺสสตํ ชีเว |
อปสฺสํ ธมฺมมุตฺตมํ |
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย |
ปสฺสโต ธมฺมมุตฺมํ |
|
ธรรมบท |
อายุยืนร้อยอยู่ |
หึงนาน |
ธัมโมตตมะโอฬาร |
ห่อนรู้ |
เด็กน้อยเกิดปูนปาน |
วันหนึ่ง |
เห็นพระธรรมยิ่งผู้ |
แก่ร้อยพรรษา |
|
สำนวนเก่า |
อายุถึงร้อยขวบ |
เจียรกาล |
ธัมโมชอันโอฬาร |
บ่รู้ |
เด็กน้อยเกิดประมาณ |
วันหนึ่ง |
เห็นถ่องธรรมยิ่งผู้ |
แก่ร้อยพรรษา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๒. |
|
โย จ วสฺสสตํ ชีเว |
อปสฺสํ อุทยพฺพยํ |
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย |
ปสฺสโต อุทยพฺพยํ |
|
ธรรมบท |
อายุยืนร้อยขวบ |
โดยหมาย |
ความเกิดทั้งความตาย |
ไป่รู้ |
วันเดียวเด็กหญิงชาย |
เห็นเกิด ตายนา |
เด็กดั่งนั้นยิ่งผู้ |
แก่ร้อยพรรษา |
|
สำนวนเก่า |
มีอายุอยู่ร้อย |
ปีปลาย |
ความเกิดแลความตาย |
ไป่รู้ |
วันเดียวเด็กหญิงชาย |
เห็นเกิด ตายนา |
ลูกอ่อนนั้นยิ่งผู้ |
แก่ร้อยปีปลาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ธิรางค์รู้ธรรมแม้ |
มากหลาย |
บ่กล่าวให้หญิงชาย |
ทั่วรู้ |
ดุจหญิงสกลกาย |
งามเลิศ |
อยู่ร่วมเรือนผัวผู้ |
โหดแท้ขันที |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๔. |
|
สุจิปุลิวินิมุตฺโต |
กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว |
สุจิปุลิ จ สมฺปนฺโน |
ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ |
|
โลกนิติ |
เว้นวิจารณ์ว่างเว้น |
สดับฟัง |
เว้นที่ถามอันยัง |
ไป่รู้ |
เว้นเล่าลิขิตสัง |
เกตว่าง เว้นนา |
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ |
ปราชญ์ได้ฤๅมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รู้ธรรมเทียมเท่าผู้ |
ทรงไตร |
เจนจัดอรรถภายใน |
ลึกล้น |
กล่าวแก้สิ่งสงสัย |
เลอะเลื่อน |
รสพระธรรมอั้นอ้น |
ว่ารู้ใครชม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๖. |
|
อปฺปสฺสุโต สุตํ อปฺปํ |
พหุํ มญฺติ มานวา |
สนฺทุโตทกมปสฺสนฺโต |
กูเป โตยํว มณฺฑุโก |
|
โลกนิติ |
กบน้อยไป่เห็นนํ้า |
สมุทรไทย |
อวดบ่อตนอาศัย |
เพียบน้ำ |
รู้น้อยท่านทรงไตร |
ยังไป่ เห็นแฮ |
ชรอึ่งอวดเองคํ้า |
แข่งรู้เหลือตัว |
|
สำนวนเก่า |
สดับธรรมหน่อยหนึ่งอ้าง |
อวดแถลง |
หมายมาดปรีชาแรง |
รับโต้ |
เฉกกบกับบ่แฝง |
เมินสมุทร ไฉนแฮ |
นึกน่านนํ้าใหม่โอ้ |
อวดล้นเหลือแสน |
|
สำนวนเก่า |
รู้น้อยว่ามากรู้ |
เริงใจ |
กลกบเกิดอยู่ใน |
สระจ้อย |
ไป่เห็นชเลไกล |
กลางสมุทร |
ชมว่านํ้าบ่อน้อย |
มากลํ้าลึกเหลือ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รูปชั่วมักแต่งแกล้ง |
เกลาทรง |
รู้น้อยมักทะนง |
อวดรู้ |
นํ้าพร่องกะละออมคง |
กระฉอก ฉานนา |
แม่โคนมเหือดสู้ |
คิดร้ายตรากตราน |
|
สำนวนเก่า |
รูปชั่วมักแต่งแกล้ง |
เกลาทรง |
ใจขลาดมักอาจอง |
อวดสู้ |
นํ้าพร่องกะละออมคง |
กระฉอก ฉานนา |
เฉาโฉดโอษฐ์อวดสู้ |
ว่ารู้ใครเทียม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รถใหญ่กว่าเพื่อนพ้อง |
รัถา |
จระเข้พ้นคงคา |
ใหญ่กว้าง |
เสืออวดว่าอาตมา |
โตกว่า ดงแฮ |
สามสิ่งนี้โอ่อ้าง |
ใหญ่ไซร้ใครจะเห็น |
|
สำนวนเก่า |
จระเข้คับน่านนํ้า |
ไฉนหา ภักษ์เฮย |
รถใหญ่กว่ารัถยา |
ยากแท้ |
เสือใหญ่กว่าวนา |
ไฉนอยู่ได้แฮ |
เรือเขื่องคับชเลแล้ |
แล่นโล้ไปไฉน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๕๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มณฑกทำเทียบท้าว |
ราชสีห์ |
แมวว่ากูพยัคฆี |
แกว่นกล้า |
นกจอกว่าฤทธี |
กูยิ่ง ครุฑนา |
คนประดากขุกมีข้า |
ยิ่งนั้นแสนทวี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หิ่งห้อยส่องก้นสู้ |
แสงจันทร์ |
ปัดเทียบเทียมรัตนอัน |
เอี่ยมข้า |
ทองเหลืองหลู่สุวรรณ |
ธรรมชาติ |
พาลว่าตนเองอ้า |
อาจลํ้าเลยกวี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เสือผอมกวางวิ่งเข้า |
โจมขวิด |
ไป่ว่าเสือมีฤทธิ์ |
เลิศลํ้า |
เล็บเสือดั่งคมกฤช |
เสือซ่อน ไว้นา |
ครั้นปะปามล้มขวํ้า |
จึ่งรู้จักเสือ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทองเหลืองเปลื้องร้ายห่อน |
เห็นมี |
ขัดบ่อยร้อยพันที |
เล่าไซร้ |
ทองแดงชาติราคี |
ละลายโทษ |
ฤๅมาแต่งตั้งไว้ |
ว่าโอ้ไพบูลย์ |
|
สำนวนเก่า |
ทองเหลืองเปลื้องร้ายห่อน |
เห็นมี |
ขัดเท่าขัดราคี |
เล่าไซร้ |
นพคุณหมดใสสี |
เสร็จโทษ |
ถึงบ่แต่งตั้งไว้ |
แจ่มแจ้งไพบูลย์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พระสมุทรไหวหวาดห้วย |
คลองชม |
สุเมรุพลวกปลวกนิยม |
ชื่นช้อย |
สีหราชหวาดไหวกรม |
สุนัขเยาะ หยันนา |
พระสุริยาคลาดคล้อย |
หิ่งห้อยยินดี |
|
สำนวนเก่า |
พระสมุทรไหวหวาดห้วย |
คลองสรวล |
สุเมรุพลวกปลวกสำรวล |
ร่าเร้า |
สีหราชร่ำคร่ำครวญ |
สุนัขเยาะ หยันนา |
สุริยส่องยามเย็นเข้า |
หิ่งห้อยยินดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แมวล่าหนูแซ่ซี้ |
จรจรัล |
หมาล่าวิฬาร์ผัน |
สู่หล้าง |
ครูล่าศิษย์ละธรรม์ |
คบเพื่อน พาลนา |
เสือล่าป่าแรมร้าง |
หมดไม้ไพรสณฑ์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๕. |
|
เอลา พนฺธาย โรมคฺคา |
อธิวิสฺวา สชีวิตมฺ |
มหาชโน กุตฺโต ตสฺส |
ปจฺฉา ยสาภิปากโฏ |
จามรีขนข้องอยู่ |
เปลื้องปลด |
ฤๅรักชีพสงวนยศ |
ยิ่งไซร้ |
สัตว์โลกอันสมมติ |
มีชาติ นี้นา |
ดูเยี่ยงสัตว์นั้นได้ |
อ่านอ้างภายหลัง |
|
สำนวนเก่า |
จามรีขนข้องอยู่ |
แปลงปลด |
ชีพบ่รักรักยศ |
ยิ่งไซร้ |
สัตว์ชนโลกสมมติ |
มุติชาติ |
จงเยี่ยงสัตว์นั้นให้ |
อ่านอ้างภายหลัง |
|
สำนวนเก่า |
จามรีขนข้องอยู่ |
หยุดปลด |
ชีพ บ่ รักรักยศ |
ยิ่งไซร้ |
สัตว์โลกซึ่งสมมติ |
มีชาติ |
ดูเยี่ยงสัตว์นั้นได้ |
ยศซ้องสรรเสริญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๖. |
|
อคฺนิ ตาเปน เม ทุกฺขํ |
น ทุกฺขํ โลหตาตกํ |
เอวเทว มหาทุกฺขํ |
ปุนตฺร พาลทุลฺลภํ |
นพคุณเก้านํ้าชาติ |
ชาตรี |
ค้อนเหล็กรุมรันตี |
ห่อนม้วย |
ฤๅเจ็บเท่าธุลี |
สักหยาด |
เจ็บแต่ท่านชั่งด้วย |
กล่ำน้อยหัวดำ |
|
สำนวนเก่า |
ทองใส่ในเบ้าสูบ |
แสนที |
ค้อนเหล็กรุมรันตี |
ไป่ม้วย |
ฤๅเจ็บเท่าธุลี |
สักหยาด |
เจ็บแต่ท่านชั่งด้วย |
กล่ำน้อยหัวดำ |
|
สำนวนเก่า |
นพคุณใส่เบ้าสูบ |
แสนที |
ค้อนเหล็กรุมรันตี |
ห่อนม้วย |
บ่เจ็บเท่าธุลี |
สักหยาด |
เจ็บแต่ท่านชั่งด้วย |
กล่ำน้อยหัวดำ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๗. |
|
ธนมฺพินาศ มนวินาศ กิตฺติมฺ |
กิตฺติมฺพินาศ มนพินาศ พุทฺธิมฺ |
พุทฺธินาศ มนวินาศ อาตฺมา |
อาตฺมาวินาศ มนวินาศ ธมฺมมฺ |
เสียทรัพย์ครองอย่าได้ |
เสียยศ |
ยศศักดิ์เสียอย่างด |
ฝ่ายรู้ |
ฝ่ายรู้นาศอย่าลด |
เสียอาตม์ |
เสียอาตมครองรู้ |
อย่าให้เสียธรรม |
|
สำนวนเก่า |
เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ |
วงศ์หงส์ |
เสียศักดิ์สู้ประสงค์ |
สิ่งรู้ |
เสียรู้เร่งดำรง |
ความสัตย์ ไว้นา |
เสียสัตย์อย่าเสียสู้ |
ชีพม้วยมรณา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๘. |
|
เฉทจฺจนฺทนจฺจตจมฺปกวเน |
วฺฤกฺษางกุเร กณฺเก |
หงฺสาหงฺสมยุรโกกิลกุเล |
กาเก สสิลางรติ |
ตัดจันทน์ไผ่หนามหนา |
จำปา |
แปลงปลูกไผ่หนามหนา |
รกเรื้อ |
ฆ่าหงส์มยุรโกญจา |
เนืองนาถ |
เลี้ยงแต่กากินเนื้อ |
ว่ารู้รสธรรม |
|
สำนวนเก่า |
ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้ |
จำบก |
แปลงปลูกหนามรามรก |
เรื่อเรื้อ |
ฆ่าหงส์มยุรนก |
โนริต |
เลี้ยงแต่กากินเนื้อ |
ว่ารู้รสธรรม |
|
สำนวนเก่า |
ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้ |
จัมบก |
แปลงปลูกหนามรามรก |
รอบเรื้อ |
ฆ่าหงส์มยุรนก |
กระเหว่า เสียนา |
เลี้ยงหมู่กากินเนื้อ |
ว่ารู้ลีลา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๖๙. |
|
มาโอฏฺสมกฺกรสฺสุ คทฺรภ |
กสฺสูรกสฺสปโย |
เทเส ยตฺร วิจารณา คณคไณ |
ทุรายตไสฺม นม |
เอาลาเทียมอูฐโอ้ |
เป็นมูล |
เก็บปัดเทียมแก้วปูน |
ค่าไว้ |
เมืองใดพิจารณ์พูน |
มีดั่ง นี้นา |
นับแต่ไกลว่าใกล้ |
แต่เต้าเมืองเข็ญ |
|
สำนวนเก่า |
เอาสารเทียมอูฐโอ้ |
เป็นมูล |
เก็บปัดเทียมแก้วปูน |
ค่าไว้ |
เมืองใดพิกัดพูน |
มีดั่ง นี้นา |
นับแต่ไกลอย่าได้ |
ไต่เต้าเมืองเข็ญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว |
ยูงตาม |
ทรายเหลือบหางยูงงาม |
ว่าหญ้า |
ตาทรายยิ่งนิลวาม |
พรายเพริศ |
ลิงว่าผลลูกหว้า |
โดดดิ้นโดยตาม |
|
สำนวนเก่า |
นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว |
ยูงตาม |
ทรายเหลือบหางยูงงาม |
ว่าหญ้า |
ตาทรายยิ่งนิลวาม |
หาว่าดิ้นโดยตาม |
ลิงว่าหว้าหวังหว้า |
หว่าดิ้นโดยตาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
สังขารหวัวผู้ว่า |
ตนทรนง |
ทรัพย์ย่อมหวัวคนจง |
ว่าเจ้า |
หญิงหวัวแก่ชายปลง |
ชมลูก |
มัจจุราชหวัวผู้เถ้า |
บ่รู้วันตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มือด้วนคิดจะมล้าง |
เขาหมาย |
ปากด้วนถ่มนํ้าลาย |
เลียบฟ้า |
หิ่งห้อยแข่งแสงฉาย |
สุริเยศ |
คนทุพพลอวดกล้า |
แข่งผู้มีบุญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แว่นตามาใส่ผู้ |
อันธการ |
คนหนวกฟังสำนาน |
ขับร้อง |
คนใบ้ใฝ่แสดงสาร |
โคลงกาพย์ |
เฉกเครื่องประดับซ้อง |
ใส่ให้วานร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
วัดช้างเบื้องบาทรู้ |
จักสาร |
วัดอุทกชักกมุทมาลย์ |
แม่นรู้ |
ดูครูสดับโวหาร |
สอนศิษย์ |
ดูกระกูลเผ่าผู้ |
เพื่อด้วยเจรจา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พระสมุทรสุดลึกล้น |
คณนา |
สายดิ่งทิ้งทอดมา |
หยั่งได้ |
เขาสูงอาจวัดวา |
กำหนด |
จิตมนุษย์นี้ไซร้ |
ยากแท้หยั่งถึง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ไม้ล้มควรข้ามไม้ |
ควรการ |
คนล้มจักข้ามพาน |
ห่อนได้ |
เสือผอมอย่าอวดหาญ |
เข้าผลัก ไสแฮ |
ผู้ประทุษฐตกต่ำไร้ |
อย่าได้ทำคุณ |
|
สำนวนเก่า |
ไม้ล้มควรข้ามได้ |
โดยหมาย |
คนล้มจักข้ามกราย |
ห่อนได้ |
ทำชอบชอบห่อนหาย |
ชอบกลับ สนองนา |
ทำผิดผิดจักให้ |
โทษแท้ถึงตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ไม้ล้มจักข้ามให้ |
ดูการ |
คนท่าวล้มข้ามพาน |
ห่อนได้ |
เสือผอมอย่าอวดหาญ |
เข้าผลัก เสือแฮ |
พาลประทุษฐตกไร้ |
อย่าได้ทำคุณ |
|
ผู้แต่ง/ที่มาขาดไป |
๗๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทรชนยากไร้อย่า |
ทำคุณ |
อย่าหยิบทรัพย์อุดหนุน |
หย่อนให้ |
ก่อเกื้อเกือบเกินทุน |
มันมั่ง มีนา |
ครั้นค่อยคลายวายไร้ |
กลับสู้ดูแคลน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๗๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แม้ทำคุณท่านได้ |
ถึงพัน |
ครั้นโทษมีแต่อัน |
หนึ่งไซร้ |
ติฉินหมิ่นคำหยัน |
เยาะกล่าว |
กลบลบคุณหลังได้ |
ยิ่งด้วยพันทวี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทำคุณคนประทุษแท้ |
ทรชน |
อวยทรัพย์ให้เมื่อจน |
ยากไร้ |
ค่อยคลายวายทุกข์ทน |
มีทรัพย์ บ้างนา |
มักประทุษฐร้ายให้ |
แก่ผู้มีคุณ |
|
สำนวนเก่า |
ทำคุณให้ห่อนรู้ |
คุณสนอง |
ท่านบ่แทนคุณปอง |
โทษให้ |
กลกาแต่งยูงทอง |
ลายเลิศ |
ยูงเอาหมึกม่อไล้ |
ลูบสิ้นสรรพางค์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ตั้งพันไทเทพเรื้อง |
ฤทธิรงค์ |
ไป่เท่าพระอินทร์องค์ |
หนึ่งไซร้ |
คุณพันหนึ่งดำรง |
ความชอบ |
โทษเดียวอาจลบได้ |
สุดสิ้นพันคุณ |
|
สำนวนเก่า |
เทพาพันเทพเรื้อง |
ฤทธิรงค์ |
บ่เท่าพระอินทร์องค์ |
หนึ่งได้ |
คุณพันหนึ่งดำรง |
ความชอบ ไว้นา |
มีโทษอันหนึ่งไซร้ |
กลบกล้ำพันคุณ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๒. |
|
อุชุกํ อุชุกญฺเจว |
วงฺกํ วงฺกฏเมว จ |
ตามฺพกํ สุวณฺณญฺเจว |
ตว ปุตฺโต จ วานร |
ใครซื่อให้ซื่อตั้ง |
ใจกัน |
ใครคดเอาคดผัน |
ตอบเต้า |
ทองแดงว่าสุวรรณ |
ยังถ่อง เหมือนฤๅ |
ลิงว่าลูกสองเถ้า |
ฉันนั้นจึงควร |
|
สำนวนเก่า |
ใครซื่อซื่อด้วยดั่ง |
ใจกัน |
ใครคดต่อจงผัน |
ตอบเต้า |
ทองแดงว่าสุวรรณ |
อันถ่อง ดีนา |
ทั้งลูกเขือสองเถ้า |
ว่าโอ้เป็นลิง |
|
สำนวนเก่า |
ใครซื่อสัจซื่อตั้ง |
ตามกัน |
ใครคดควรคดผัน |
ตอบเต้า |
ทองแดงว่าสุวรรณ |
อันถ่อง |
ลูกเขือฤๅล่วงเค้า |
ว่าโอ้เป็นจริง |
|
สำนวนเก่า |
ใครซื่อซื่อต่อตั้ง |
ตามกัน |
ใครคดคดผ่อนผัน |
ตอบเต้า |
ทองแดงว่าสุวรรณ |
ยังถ่อง เหมือนฤๅ |
ดุจลูกสูสองเถ้า |
ว่าโอ้เป็นลิง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ใครทำโทษโทษนั้น |
แทนทด |
ใครคิดจิตคดคด |
ต่อบ้าง |
ใครจริงจึ่งจริงจรด |
รักต่อ กันนา |
ใครใคร่ร้างเร่งร้าง |
รักร้างแรมไกล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นายรักไพร่ไพร่พร้อม |
รักนาย |
มีศึกสู้จนตาย |
ต่อแย้ง |
นายเบียนไพร่กระจาย |
จากหมู่ |
นายบ่รักไพร่แกล้ง |
ล่อล้างผลาญนาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ข้าท้าวเอาจิตท้าว |
แม่นหมาย |
บ่าวท่านเอาใจนาย |
แม่นหมั้น |
ศิษย์ท่านผ่อนผันผาย |
โดยจิต ครูนา |
อยู่ที่เรือนตัวนั้น |
แต่น้ำใจเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รักกันอยู่ขอบฟ้า |
เขาเขียว |
เสมออยู่หอแห่งเดียว |
ร่วมห้อง |
ชังกันบ่แลเหลียว |
ตาต่อ กันนา |
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง |
ป่าไม้มาบัง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ให้ท่านท่านจักให้ |
ตอบสนอง |
นบท่านท่านจักปอง |
นอบไหว้ |
รักท่านท่านควรครอง |
ความรัก เรานา |
สามสิ่งนี้เว้นไว้ |
แต่ผู้ทรชน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๘. |
|
คุโณ สพฺพญฺญุ ตุโลฺยปิ |
น โสภติ อนิสฺสโย |
อนคฺฆมฺปิ มณีนํ |
เหมํ นิสฺสาย โสภเต |
|
โลกนิติ |
แม้นมีคุณรู้ดั่ง |
สัพพัญญู |
ครั้นบ่มีคนชู |
ห่อนขึ้น |
หัวแหวนค่าเมืองตรู |
ตาโลก |
ทองช่วยรองรับพื้น |
จึ่งแก้วมีศรี |
|
สำนวนเก่า |
คุณปรีชาเปรียบด้วย |
วรญาณ |
ฤๅพึ่งราชบริพาร |
ห่อนล้ำ |
ชนบ่นับหน้าขาน |
คำหมิ่น นะพ่อ |
เพชรรัตนค่ากํ้า |
กอบด้วยทองงาม |
|
สำนวนเก่า |
แม้นมีความรู้ดั่ง |
สัพพัญญู |
ผิบ่มีคนชู |
ห่อนขึ้น |
หัวแหวนค่าเมืองตรู |
ตาโลก |
ทองบ่รองรับพื้น |
ห่อนแก้วมีศรี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๘๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ราชรถปรากฏด้วย |
ธงไชย |
ควันปรากฏแก่ไฟ |
เที่ยงแท้ |
ราชาปรากฏไอ |
สุริยะ สมบัตินา |
ชายเฉลิมเลิศแล้ |
ปิ่นแก้วเกศหญิง |
|
สำนวนเก่า |
ราชรถปรากฏด้วย |
ธงไชย |
ควันประจักษ์แก่ไฟ |
เที่ยงแท้ |
ราชาอิสระใน |
สมบัติ |
ชายย่อมเฉลิมเลิศแล้ |
ปิ่นแก้วเกศหญิง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รำฟ้อนสุนทรด้วย |
รูปา |
ร้องขับศัพท์เสน่หา |
โสตแท้ |
ปลํ้ามวยด้วยแรงอา |
ยุศมโยพ |
รักชังทั้งนั้นแล้ |
เล่ห์ลิ้นพาที |
|
สำนวนเก่า |
รำฟ้อนสุนทรด้วย |
รูปา |
ร้องขับศัพท์เสน่หา |
ยิ่งแท้ |
มวยปลํ้าลํ่าสันสา |
มารถจึ่ง ดีแฮ |
รักกับชังนั้นแล้ |
เพื่อลิ้นเจรจา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๑. |
|
โกกิลานํ สทฺทํ รูปํ |
นารีรูปํ ปติพฺพตา |
วิชฺชา รูปํ อรูปานํ |
ขมา รูปํ ตปสฺสินํ |
|
โลกนิติ |
โกกิลเอาศัพท์ตั้ง |
ต่างทรง รูปแฮ |
หญิงซื่อใจตรงผัว |
รูปแท้ |
เสียรูปวิทยาคง |
ต่างรูป ชายแฮ |
มล้างโทษโกรธไปล่แปล้ |
รูปเจ้าฤๅษี |
|
สำนวนเก่า |
ดุเหว่าว่องศัพท์ตั้ง |
ต่างทรง |
หญิงภักดีผัวดำรง |
รูปเกื้อ |
ร้ายร่างวิชาคง |
ประกอบรูป |
อดจิตเวรบ่เรื้อ |
รูปเจ้าสมณา |
|
สำนวนเก่า |
กระเหว่าเสียงเพราะแท้ |
แก่ตัว |
หญิงเลิศเพราะรักผัว |
แม่นหมั้น |
นักปราชญ์มาตรรูปมัว |
หมองเงื่อน งามนา |
เพราะเพื่อรสธรรมนั้น |
ส่องให้เห็นงาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๒. |
|
วินา จรวินา กาโส |
วินา ธราภรณา หริ |
วินาย กฺรวินา เทโส |
โสภเต น จ โสภเต |
วิษณุเวศเว้นเซริดสร้อย |
อาภรณ์ |
อากาศวายสุริยจร |
แจ่มหล้า |
กรุงใดไร้บวร |
เปรมปราชญ์ |
แม้งามเลิศล้นฟ้า |
ห่อนได้ดูงาม |
|
สำนวนเก่า |
พระนารายณ์เว้นจาก |
อาภรณ์ |
อากาศเว้นสุริยจร |
จากหล้า |
เมืองใดบ่มีวร |
เปรมปราชญ์ |
แม้ว่างามล้นฟ้า |
ห่อนรื้องามเลย |
|
สำนวนเก่า |
นารายณ์วายเว้นจาก |
อาภรณ์ |
อากาศขาดสุริยจร |
แจ่มหล้า |
เมืองใดบ่มีวร |
เปรมปราชญ์ |
แม้ว่างามล้นฟ้า |
ห่อนได้งามเลย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เขาใดไร้ถํ้าราช |
สีห์หมาง |
สระแห้งหงส์ละวาง |
เกลียดใกล้ |
พฤกษาใดใบบาง |
นกหน่าย |
สาวหนุ่มร้างชู้ไว้ |
เพราะชู้ชายทราม |
|
สำนวนเก่า |
เขาใดไร้ถํ้าราช |
สีห์หมาง |
สระโหดหงส์ละวาง |
วากเว้ |
พฤกษาใดบกใบบาง |
นกหน่าย |
สาวซัดชู้โอ้เอ้ |
เพราะชู้ชายทราม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ป่าใดไกลพยัคฆ์ร้าย |
ราวี |
ไม้หมดม้วยไป่มี |
ห่อนรื้อ |
หญิงไร้ร้างสามี |
เมื่อหนุ่ม |
เป็นที่หมิ่นชายยื้อ |
หยอกเย้ายียวน |
|
สำนวนเก่า |
ป่าใดไกลพยัคฆ์ร้าย |
ราวี |
ไม้หมดม้วยบ่มี |
ร่มชื้อ |
หญิงยศงดงามดี |
ผัวหน่าย |
เป็นที่หมิ่นชายยื้อ |
หยอกเย้าเสียตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เว้นหมากปากเปล่าเปรี้ยว |
เด็จดาย |
เมืองบ่มีเจ้านาย |
ครอบเกล้า |
เคหาทารกวาย |
เรือนเยือก เย็นนา |
หญิงคลาดชายคู่เคล้า |
เสื่อมสิ้นสูญวงศ์ |
|
สำนวนเก่า |
พลูหมากจากโอษฐ์โอ้ |
เสียศรี |
หญิงจากจอมสามี |
ครอบเกล้า |
เรือนปราศจากบุตรี |
ดรุณเด็ก |
เมืองจากจอมภพเจ้า |
สิ่งนี้ฤๅงาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เจ็ดวันนิราศร้าง |
ดนตรี |
ห้าวันอักษรหนี |
เงื่องช้า |
สามวันจากสตรี |
จิตเตร่ |
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า |
อับเศร้าเสียศรี |
|
สำนวนเก่า |
เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม |
ดนตรี |
อักขระห้าวันหนี |
เนิ่นช้า |
สามวันจากนารี |
เป็นอื่น |
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า |
อับเศร้าศรีหมอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ดอยใดมีถํ้าราช |
สีห์ประสงค์ |
เหมืองมาบมีบัวหงส์ |
หากใกล้ |
ต้นไม้พุ่มพัวพง |
นกมาก มีนา |
สาวหนุ่มตามชู้ไซร้ |
เพราะชู้ชอบตา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เปียกตมชมชื่นเชื้อ |
กาษร |
หงส์กับบุษบากร |
ชื่นช้อย |
ภิกษุเสพสังวร |
ศีลสุข ไซร้นา |
บุรุษรสรักร้อย |
เท่าน้อมในหญิง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๙๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ใครจักผูกโลกแม้ |
รัดรึง |
เหล็กเท่าลำตาลตรึง |
ไป่หมั้น |
มนตร์ยาผูกนานหึง |
หายเสื่อม |
ผูกเพื่อไมตรีนั้น |
แน่นเท้าวันตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๐. |
|
คชสฺส พนฺธนา ปาโส |
มนฺตฺรปาโส ภว ชทฺคมฺ |
โลกสฺส พนฺธนา เสนฺโห |
ธรมฺมสฺส ปน พนฺธนมฺ |
จำสารสับปลอกเกี้ยว |
ตีนสาร |
จำนาคมนตร์พิสดาร |
ผูกแท้ |
จำคนเพื่อใจหวาน |
ต่างปลอก |
จำโลกลํ้าเลิศแท้ |
เท่าด้วยไมตรี |
|
สำนวนเก่า |
จำสารสับปลอกเกี้ยว |
ตีนสาร |
จำนาคมนตร์พิสดาร |
ผูกแท้ |
จำคนเท่าใจหวาน |
ต่างปลอก |
จำโลกนี้มั่นแล้ |
เท่าด้วยไมตรี |
|
สำนวนเก่า |
จำสารสับปลอกเกี้ยว |
ตีนสาร |
จำนาคมนตร์โอฬาร |
ผูกแท้ |
จำคนเพื่อใจหวาน |
ต่างปลอก |
จำโลกนี้นั่นแล้ |
แต่ด้วยไมตรี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เรียนพระธรรมแท้ผูก |
ศาสนา |
ปลอกผูกคชตรึงตรา |
ตรากหมั้น |
มนตร์ดลแลหยูกยา |
สมรรถผูก งูแฮ |
ผูกโลกทั้งหลายนั้น |
แน่นด้วยไมตรี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๒. |
|
อกฺโกเธน ชิน โกธํ |
อสาธุํ สาธุนา ชิเน |
ชิเน กทริยํ ทาเนน |
สจฺเจนาลิกวาทินํ |
|
โลกนิติ |
ผจญคนโกรธด้วย |
ไมตรี |
ผจญหมู่ทรชนดี |
ต่อตั้ง |
ผจญหมู่โลภจงมี |
ทรัพย์แผ่ อวยนา |
ผจญสัตย์จงยั้ง |
ต่อด้วยสัตยา |
|
สำนวนเก่า |
ผจญผู้พิโรธด้วยขัน |
ขันตี |
สู้บาปบุญราศี |
จึ่งได้ |
สู้ชนตระหนี่มี |
ทานต่อ ตอบพ่อ |
คำสัตย์สู้ปดให้ |
หากแจ้งเห็นจริง |
|
สำนวนเก่า |
ผจญคนมักโกรธด้วย |
ไมตรี |
ผจญหมู่ทรชนดี |
ต่อตั้ง |
ผจญคนจิตโลภมี |
ทรัพย์เผื่อ แผ่นา |
ผจญอสัตย์ให้ยั้ง |
หยุดด้วยสัตยา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รบศึกชนะได้ |
ในณรงค์ |
รบเมียมีไชยยง |
ยิ่งแพ้ |
รบใจให้คงตรง |
ในสัตย์ ธรรมนา |
ท่านผู้นั้นเลิศแล้ |
โลกเหลื้องลือขจร |
|
สำนวนเก่า |
รบศึกชนะได้ |
ในณรงค์ |
รบแม่เรือนตัวยง |
ขยาดแพ้ |
รบใจชักให้คง |
ความสัตย์ |
ถือว่าผู้นั้นแล้ |
เลิศลํ้าชายชาญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนใดคนหนึ่งผู้ |
ใจฉกรรจ์ |
เคียดฆ่าคนอนันต์ |
หนักแท้ |
ไป่ปานบุรุษอัน |
ผจญจิต เองนา |
เธียรท่านเยินยอแล้ |
ว่าผู้มีชัย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แพ้ศึกหลบหลีกได้ |
รอดตน |
แพ้ความปรับเหตุผล |
ทรัพย์ผ้าย |
แพ้เบี้ยเสียสินจน |
สิ้นอาต มานา |
แพ้เมียประทุษฐร้าย |
ตราบม้วยบรรลัย |
|
สำนวนเก่า |
แพ้ศึกหลบหลีกได้ |
รอดตน |
แพ้คดีทุกข์ธน |
ทรัพย์ผ้าย |
แพ้เบี้ยค่นจนจน |
ตัวยาก ก็ดี |
แพ้แม่เรือนทำร้าย |
ยากเท้าบรรลัย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๖. |
|
สงฺคาเม สุรมิจฺฉนฺติ |
มนฺติ สุขํ กุตูหเล |
ปิยญฺจ อนฺนปาเนสุ |
อตฺถ กิจฺเจสุ ปณฺฑิโต |
|
โลกนิติ |
สงครามปลอบปลูกเลี้ยง |
คนหาญ ยุทธแฮ |
เลี้ยงปลูกคนแกว่นการ |
ช่วยร้อน |
เมื่อเสพกระยาบาน |
บอกเพื่อน แจกนา |
เลี้ยงปราชญ์ปรีชาช้อย |
ช่วยแก้ปริศนา |
|
สำนวนเก่า |
ใช้คนหาญต่อสู้ |
สงคราม |
หาเมื่อใดหาญความ |
ท่านรู้ |
ข้าวน้ำใส่เต็มชาม |
หาเพื่อน กินนา |
หานักปราชญ์ผู้รู้ |
ยามแก้ปริศนา |
|
สำนวนเก่า |
ยามศึกนึกกลั่นแกล้ว |
โยธา |
ยามทุกข์คู่คิดหา |
ช่วยแก้ |
ยามเสพรสโอชา |
นึกที่ รักแฮ |
ยามกิจกอบอรรถแล้ |
ระลึกผู้ปราชญ์แสวง |
|
สำนวนเก่า |
สงครามเสพทแกล้ว |
อาสา |
รักเรียนเพียรแสวงหา |
แม่นรู้ |
ครั้นกินเครื่องโอชา |
แสวงเพื่อน |
คิดอรรถธรรมแสวงผู้ |
ฉลาดด้วยปรีชา |
|
สำนวนเก่า |
สงครามแสวงท่วยแกล้ว |
อาสา |
กลคดีพึงหา |
ท่านรู้ |
ยามกินรสโอชา |
ชวนเพื่อน กินนา |
หาปราชญ์ลํ้าเลิศผู้ |
เมื่อแก้ปริศนา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๗. |
|
ธนมิจฺเฉ วาณิชฺเชยฺย |
วิทฺยมิจฺเฉ ภเช สตํ |
ปุตฺตมิจฺเฉ ตรุณิตฺถี |
ราชมจฺจํ อิจฺฉาคเม |
|
โลกนิติ |
ปองมิตรพึงเพิ่มค้า |
ของขาย |
เสพปราชญ์วิทยาหมาย |
มุ่งได้ |
หวังบุตรเสพหญิงหลาย |
สาวเสาะ นะพ่อ |
ปองราชอำมาตย์ได้ |
เร่งรู้เรียนศิลป |
|
สำนวนเก่า |
แสวงรู้พึงคบด้วย |
บัณฑิต |
แสวงทรัพย์คบพานิช |
ง่ายไซร้ |
แสวงหายศศักดิ์ชิด |
ชอบราช |
ผิใคร่ได้ลูกไซร้ |
เสพส้องเมียสาว |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หายากเชิงรอบรู้ |
การกิจ |
หายากเชิงชาญชิด |
ชอบใช้ |
หายากเช่นเชิงมิตร |
คุงชีพ |
หายากเชิงช่างให้ |
ชอบน้ำใจจริง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๐๙. |
|
สเตสุ ชยเต สุรํ |
สฺรหสฺเสสุ จ ปณฺฑิตํ |
อฏฺฏกา สตสหสฺเสสุ |
ทาตา ภาวติ มานว |
ร้อยคนหาผู้แกล้ว |
กลางณรงค์ |
พันคนปัญญายง |
ยากแท้ |
หมื่นคนซื่อตรงทรง |
ความสัจ |
มี บ่ มีนั้นแล้ |
อาจอ้างทำทาน |
|
สำนวนเก่า |
ร้อยคนคนหนึ่งกล้า |
กลางณรงค์ |
พันหนึ่งปัญญายง |
รอบรู้ |
แสนคนช่างความตรง |
คนหนึ่ง |
มี บ่ เท่าหนึ่งผู้ |
อาจอ้างอวยทาน |
|
สำนวนเก่า |
ร้อยคนคนหนึ่งกล้า |
กลางณรงค์ |
พันคนปัญญายง |
ยิ่งผู้ |
แสนคนสร้างความตรง |
คนหนึ่ง |
ไป่เท่าคนหนึ่งสู้ |
อาจอ้างอวยทาน |
|
สำนวนเก่า |
ร้อยคนหาแกว่นแกล้ว |
กลางณรงค์ |
พันหนึ่งหาปัญญายง |
ยิ่งรู้ |
แสนคนเสาะคนตรง |
ยังยาก |
ไป่เท่าคนหนึ่งผู้ |
อาจอ้างอวยทาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ช้างม้าเมียมิ่งแก้ว |
เงินทอง |
ตัวมิตายจักปอง |
ย่อมได้ |
ชีวิตสิ่งเดียวของ |
หายาก |
ใช่ประทีปเทียนไต้ |
ดับแล้วจุดคืน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๑. |
|
ธนาตฺถํ ปญฺจวสฺสนฺติ |
ตฺรีนิ วสฺสานิ กามิคี |
ชานญฺจ สตฺตวสฺสานิ |
ราชาเสว มฤตมฺเวตฺ |
หาสินห้าขวบเข้า |
พยายาม |
หาคู่ผู้เมียสาม |
ขวบเข้า |
แสวงคุณค่อยเรียนตาม |
เจ็ดขวบ |
แสวงฝ่ายเฝ้าเจ้าท้าว |
ต่อสิ้นสุดกัลป์ |
|
สำนวนเก่า |
หาสินห้าขวบเข้า |
พยายาม |
แสวงค่ผู้เมียสาม |
ขวบเข้า |
แสวงรู้ค่อยเรียนตาม |
ต่อเจ็ด ขวบนา |
แสวงใฝ่เฝ้าไทท้าว |
ต่อสิ้นสุดกรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๒. |
|
พาลานามํ สิตฺยตวิทฺยา |
สมตฺถา ธนสงฺคฺรเห |
มชฺฌิเม จกฺยเต ปุญฺํ |
ชรากาเม กิมฺปฺรโยชนํ |
เมื่อน้อยเรียนรํ่ารู้ |
วิทยา |
เมื่อใหญ่หาสินมา |
สู่เหย้า |
เมื่อกลางแก่ศรัทธา |
ทำฝ่าย บุญนา |
ครั้นแก่แรงว่องเว้า |
ห่อนรื้อเป็นการ |
|
สำนวนเก่า |
เมื่อน้อยเรียนเร่งรู้ |
วิชา |
ครั้นใหญ่หาสินมา |
สู่เหย้า |
เมื่อกลางแก่ศรัทธา |
ทำแต่ บุญนา |
ครั้นแก่แรงวอกเว้า |
ห่อนได้เป็นการ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๓. |
|
ปถมํ น ปราชิโต สิปฺปํ |
ทุติโย น ปราชิโต ธนํ |
ตติยํ น ปราชิโต ธมฺมํ |
จตุตฺถึ กึ กริสฺสติ |
|
โลกนิติ |
วัยหนึ่งไป่เรียนรู้ |
วิทยา |
วัยสองไป่หาทรัพย์ |
สิ่งแก้ว |
วัยสามไป่รักษา |
ศีลสืบ บุญนา |
วัยสี่เกินแก่แล้ว |
ก่อสร้างสิ่งใด |
|
สำนวนเก่า |
เริ่มรุ่นฤๅเพิ่มเพี้ยน |
วิทยา |
หนุ่มแน่นห่อนหันหา |
ทรัพย์ส้อง |
มัชฌิมชื่นปรีชา |
เชือนหน่าย ธรรมแฮ |
เถ้าถ่อมค่อมแก่ค้าง |
คิดได้โดยฤๅ |
|
สำนวนเก่า |
ปางน้อยสำเหนียกรู้ |
เรียนคุณ |
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน |
ทรัพย์ไว้ |
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ |
ธรรมชอบ |
ยามหง่อมทำใดได้ |
แต่ล้วนอนิจจัง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๔. |
|
สฺรวทฺรเวฺยษุ วิไทฺยว |
ทฺรวฺยมาหุรนุตฺตมมฺ |
อหารฺย ยตฺวา ทนรฺฆตฺวา |
ทกฺษยตฺวาจฺจ สรฺวท |
|
หิโตปเทศ |
ความรู้ดูยิ่งลํ้า |
สินทรัพย์ |
คิดค่าควรเมืองนับ |
ยิ่งไซร้ |
เพราะเหตุจักอยู่กับ |
กายอาต มานา |
โจรจักเบียนบ่ได้ |
เร่งรู้เรียนเอา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๕. |
|
ไสฺนวิทฺยา ไสฺนกานฺตา |
ไสฺนปพฺพตมารุยฺหํ |
ไสฺนกามญฺจ โกฺรธสฺส |
ปญฺไจตานิ ไสฺน ไสฺน |
จักเรียนความรู้พิ |
นิจครู |
จักกล่าวภรรยาดู |
พวกพ้อง |
จักขึ้นสู่บนภู |
เขาค่อย เดินนา |
จักเสพกามาพร้อง |
โกรธไซร้รำพึง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๖. |
|
อุสฺสาโห อริ วา มิตฺตํ |
อลสฺสํ มิตฺตํ วา อริ |
วิสํ วิย มิตฺตํ วิชฺชา |
ปมาโท มิตฺตํ วา วิสํ |
|
โลกนัย |
ความเพียรเป็นอริแล้ว |
เป็นมิตร |
คร้านเกียจเป็นเพื่อนสนิท |
ร่วมไร้ |
วิชาเฉกยาติด |
ข่มขืน |
ประมาทเหมือนดับไต้ |
ชั่วร้ายฤๅเห็น |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ผิรู้รู้จงให้ |
เทียมคน |
จักเงื่องเงื่องเป็นกล |
เงื่องแห้ง |
จักสุกอย่าสุกปน |
ดิบครึ่ง หนึ่งนา |
ทางไล่ไว้หนีแก้ |
รอดแคล้วภัยพาล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ความรู้เลิศก่อเกื้อ |
สินศักดิ์ |
เป็นที่ชนพึ่งพัก |
นอบนิ้ว |
วิชาเป็นพำนัก |
ที่พึ่ง ตนนา |
รู้ไว้ใช่หอบหิ้ว |
เหนื่อยแพ้แรงโรย |
|
สำนวนเก่า |
ความรู้รู้ยิ่งได้ |
สินศักดิ์ |
เป็นที่ชนพำนัก |
นอบนิ้ว |
อย่าเกียจเกลียดหน่ายรัก |
เรียนต่อ |
รู้ชอบใช่หอบหิ้ว |
เหนื่อยแพ้แรงโรย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๑๙. |
|
วิทฺยา มิตฺร ปเวเสน |
ภารฺยยา มิตฺร คฺฤเหปิ จ |
อนฺตรา ตมโอสถํ มิตฺรมฺ |
ธมฺโม มิตฺร มฺฤเตปิจ |
จักเรียนความรู้หาก |
ปลงจิต |
ยามอยู่เรือนเมียสนิท |
เพื่อนร้อน |
ยาทำเป็นมิ่งมิตร |
ในอาต มานา |
ธรรมเป็นมิ่งมิตรข้อน |
เมื่อม้วยอาสัญ |
|
สำนวนเก่า |
จักเรียนคุณรู้หาก |
เป็นมิตร |
ยามอยู่เรือนเมียสนิท |
เพื่อนร้อน |
ยาเป็นเพื่อนตัวนิจ |
ในอาตม์ |
ธรรมหากเป็นมิตรข้อน |
เมื่อม้วยอาสัญ |
|
สำนวนเก่า |
วิชาเป็นเพื่อนเลี้ยง |
ชีวิต |
ยามอยู่เรือนเมียสนิท |
เพื่อนร้อน |
ร่างกายสหายติด |
ตามทุกข์ ยากนา |
ธรรมหากเป็นมิตรข้อน |
เมื่อม้วยอาสัญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เป็นชายความรู้ยิ่ง |
เป็นทรัพย์ |
ทุกประเทศมีผู้นับ |
อ่านอ้าง |
สตรีรูปงามสรรพ |
เป็นทรัพย์ ตนนา |
แม้ตกยากไร้ร้าง |
ห่อนไร้สามี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เห็นใดจำให้แน่ |
นึกหมาย |
ฟังใดอย่าฟังดาย |
สดับหมั้น |
ชนม์ยืนอย่าพึงวาย |
ตรองตรึก ธรรมนา |
สิ่งสดับทั้งนั้น |
ผิดเพี้ยนเป็นครู |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เภตราเพียบล้มล่ม |
จมอรร ณ พนา |
เกวียนหนักหักเพลาพลัน |
ง่ายไซร้ |
น้ำน่านซ่านหลิ่งคัน |
เพราะเปี่ยม เต็มแฮ |
ผู้ประจาคมากให้ |
ทรัพย์ม้วย หมดตัว |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พลอดนักมักพลาดพลั้ง |
พลันผิด |
พาญนักมักชีวิต |
มอดม้วย |
ตรองนักมักเสียจริต |
จักคลั่ง |
รักนักมักหลงด้วย |
เล่ห์ลิ้นลมหญิง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนใดโผงพูดโอ้ |
อึงดัง |
อวดว่ากล้าอย่าฟัง |
อย่าเฉื้อ |
หมาเห่าเร้าอย่าหวัง |
จะขบ ใครนา |
เขาสองเหล่านี้เนื้อ |
ชาติคล้ายกึ่งกัน |
|
สำนวนเก่า |
คนใดโผงพูดโอ้ |
อึงดัง |
อวดว่ากล้าอย่าฟัง |
สับปลี้ |
หมาเห่าเล่าอย่าหวัง |
จักขบ ใครนา |
สองเหล่าเขาหมู่นี้ |
ชาติเชื้อเดียวกัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เสือใดแรงร้ายระ |
พะพง |
อาจอุกบุกดงยง |
ขบคั้น |
กินสัตว์สุระทนง |
ศักดิ์สาธุ์ |
จักฉิบหายตายหมั้น |
เพราะร้ายแรงทนง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๖. |
|
ปโรกฺเข คุณหนฺตานํ |
ปจฺจกฺเข ปิยวาทินํ |
วชฺเชยฺย ตาทิสํ มิตฺตํ |
วิส กุมฺเภ ยถา มธุํ |
|
โลกนิติ |
ลับหลังลับล่ายบ้าย |
เสียคุณ |
ต่อหน้าเยียยอบุญ |
กล่อมเกลี้ยง |
มิตรใดใจปานปุน |
นี้อย่า คบนา |
กละออมเต็มนํ้าเลี้ยง |
ปากไว้เนยนม |
|
สำนวนเก่า |
ลับหลังคุณขุดล้าง |
นินทา |
สบพักตรกล่าวโอภา |
เพริศพริ้ง |
มิตรใดตั้งนินทา |
มันใช่ มิตรแฮ |
ใครเสพดุจดื่มผึ้ง |
คลุกเคล้ายาตาย |
|
สำนวนเก่า |
มิตรกลับกลายโทษล้วน |
ลับหลัง |
ต่อพักตรพูดแรงรัง |
รักลํ้า |
ชั่วเช่นชอบเกลียดชัง |
ไกลอย่า คบพ่อ |
จักเสพดุจดื่มนํ้า |
พึ่งเคล้ายาตาย |
|
สำนวนเก่า |
ลับหลังลบล้างส่าย |
เสียคุณ |
ต่อหน้ายกยอบุญ |
กล่าวเกลี้ยง |
มิตรใดจิตปานปุน |
นี้อย่า คบนา |
กลกละออมนํ้าเลี้ยง |
ปากไว้เนยนม |
|
สำนวนเก่า |
ลับหลังบังเบียดล้าง |
ลบคุณ |
ต่อพักตรยกยอบุญ |
ลึกซึ้ง |
คบมิตรจิตปานปุน |
เป็นดุจ นี้นา |
กลดั่งเสพน้ำผึ้ง |
คลุกเคล้ายาตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๗. |
|
หิตจาโร ปโรพนฺธุ |
พนฺธุปิ อหิโต ปโร |
อหิโต เทหโช พฺยาธิ |
หิตมารญฺโมสถํ |
|
โลกนิติ |
แผกเผ่าพูนหิตระให้ |
คือพันธุ์ เผ่านา |
พันธุ์เผ่าเยียโทษฉัน |
อื่นแท้ |
เภทพยาธิอยู่ในขันธ์ |
เบียดเบียน ขันธ์แฮ |
ยาป่านอกกายแก้ |
โรคร้ายเป็นคุณ |
|
สำนวนเก่า |
ผู้อื่นคณะเพิ่มนั้น |
นับญาติ |
ญาติกลับทำโทษขาด |
อื่นอ้าง |
ดุจกายเกิดอาพาธ |
พาเร่า ร้อนแฮ |
ยาป่านอกกายล้าง |
โรคร้อนกลับเย็น |
|
สำนวนเก่า |
ผู้อื่นแม้ประโยชนไซร้ |
เสมอมิตร |
มิตรประทุษฐทำจิต |
เจ็บช้ำ |
กายกับพยาธิชิด |
ใครชอบ เลยนา |
รุกขชาติในป่าลํ้า |
เลิศให้เป็นยา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๘. |
|
อตฺตนา หิ กตํ ปาปํ |
อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ |
อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ |
วชิรํ วมฺหยํ มณึ |
|
ธรรมบท |
สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ |
ในตน |
กินกัดเนื้อเหล็กจน |
กร่อนขรํ้า |
บาปเกิดแต่ตนคน |
เป็นบาป |
บาปย่อมทำโทษซ้ำ |
ใส่ผู้บาปเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๒๙. |
|
ยาทิสํ วปฺปพีชํ ยํ |
ตาทิสํ ลภเต ผลํ |
กลฺยาณการี กลฺยาณํ |
ปาปการี จ ปาปกํ |
ฟักแฟงแตงเต้าถั่ว |
งายล |
หว่านสิ่งใดเป็นผล |
สิ่งนั้น |
ทำทานหว่านกุศล |
สืบสิ่ง ดีแฮ |
ทำบาปบาปกระชั้น |
ชั่วร้ายตามตน |
|
สำนวนเก่า |
ปลูกพืชในพ่างพื้น |
ธรณี |
ลาภเกิดผลใดมี |
หว่านไว้ |
ผู้ทำกุศลศรี |
สวัสดิ์ยิ่ง นักนา |
ผู้ผิดทำบาปไซร้ |
บาปนั้นตามสนอง |
|
สำนวนเก่า |
ฟักแฟงแตงเต้าถั่ว |
งายล |
หว่านสิ่งใดให้ผล |
สิ่งนั้น |
ทำทานหว่านกุศล |
ผลเพิ่ม พูนนา |
ทำบาปบาปซั้นซั้น |
ไล่เลี้ยวตามตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๐. |
|
โอสถานิ จ มนฺตานิ |
นคฺสาตฺรานิ คฺรทานิ จ |
ปุญฺกาเล สมุทฺทิญฺจ |
อปญฺานิ วินสฺสติ |
ยายำประกอบด้วย |
มนตร์ดล |
เคราะห์โศกฤกษ์พานยล |
ยากไซร้ |
ครั้นบุญก่ออวยผล |
ผลส่ง มานา |
ครั้นบาปบรรพจำให้ |
คลาดแคล้วเสียสูญ |
|
สำนวนเก่า |
ยายำประกอบด้วย |
มนตร์ดล |
เคราะห์โศกโรคบนปน |
ปะไซร้ |
แม้นบุญช่วยอวยผล |
ผลเพิ่ม พูนนา |
แม้นบาปบุรพกรรมให้ |
บาปซ้ำเสียสูญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๑. |
|
นตฺถิ วิชฺชาสมํ ธนํ |
น จ พฺยาธิสโม ริปุ |
น จ อตฺตสมํ เปมํ |
น จ กมฺมสมํ พลํ |
|
โลกนิติ |
มีสินบ่เท่าด้วย |
ศิลปศาสตร์ |
หมู่ศัตรูเปรียบพยาธิ |
ยิ่งไซร้ |
รักใดบ่ปูนอาตม์ |
รักชีพ เองนา |
แรงอื่นฤๅจักได้ |
เท่าด้วยแรงกรรม |
|
สำนวนเก่า |
แสนทรัพย์ฤๅเปรียบเสี้ยว |
ส่วนวิท ยาแฮ |
แสนเศิกฤๅเปรียบพิษ |
โรคร้อน |
ร้อยรักอื่นเป็นนิตย์ |
เหมือนรัก ตนฤๅ |
แรงอื่นหมื่นแสนซ้อน |
ฤๅสู้แรงกรรม |
|
สำนวนเก่า |
วิชายกยิ่งแก้ว |
ราคา |
โรคยิ่งดัษกรมา |
มุ่งร้าย |
รักอื่นมาตรมากหา |
เสมออาตม์ ไป่พ่อ |
แรงอื่นพื้นแต่ผ้าย |
บ่กํ้าเกินกรรม |
|
สำนวนเก่า |
มีสินฤๅเท่าผู้ |
มีคุณ |
ข้าศึกฤๅปานปุน |
พยาธิไซร้ |
รักใดจักเพิ่มพูน |
รักอาต มานา |
แรงอื่นฤจักได้ |
เท่าด้วยแรงกรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๒. |
|
น ราชโน เม น จ เทวตา จ |
น ภูมิไสลํ น จ สาครานามฺ |
น มิตฺรเหตุํ กุเล กุลานามฺ |
อโหสิ ยํ กฺรมฺมปเรปรานามฺ |
อย่าโกรธโทษทั่วไท้ |
เทวา |
อย่าโทษสถานพฤกษา |
ย่านกว้าง |
อย่าโทษท้าวพรหมา |
เล็งโลก |
โทษที่กรรมก่อนสร้าง |
หากให้เป็นเอง |
|
สำนวนเก่า |
อย่าโทษไทท้าวท่วย |
เทวา |
อย่าโทษสถานภูผา |
น่านกว้าง |
อย่าโทษหมู่วงศา |
มิตรญาติ |
เทียรย่อมกรรมเองสร้าง |
ส่งให้เป็นเอง |
|
สำนวนเก่า |
อย่าโทษไทท้าวท่วย |
เทวา |
อย่าโทษสถานภูผา |
ย่านกว้าง |
อย่าโทษหมู่วงศา |
มิตรญาติ |
โทษแต่กรรมเองสร้าง |
ส่งให้เป็นเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หมอแพทย์ทายว่าไข้ |
ลมคุม |
โหรว่าเคราะห์รวมรุม |
โทษไซร้ |
แม่มดว่าผีคุม |
ทำโทษ |
ปราชญ์ว่ากรรมซัดให้ |
ผ่อนแก้ตามกรรม |
|
สำนวนเก่า |
หมอแพทย์ทายว่าไข้ |
ลมคุม |
โหรว่าเคราะห์แรงรุม |
โทษให้ |
แม่มดว่าผีกุม |
ทำโทษ |
ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้ |
ก่อสร้างมาเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แม้นมีตัวใหญ่เพี้ยง |
ภูผา |
สูงเจ็ดลำตาลสา - |
มารถแท้ |
พงศ์พันธุ์เผ่าจันทรา |
สุริเยศ ก็ดี |
ครั้นว่าไร้ทรัพย์แล้ |
ทั่วหล้าฤๅเห็น |
|
(นับหน้าฤๅมี) |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนผู้หินชาติช้า |
พงศ์พันธุ์ |
ครั้นมั่งมีสินสรรพ์ |
อวดอ้าง |
แม้ผู้เผ่าสุริยจันทร์ |
สูงศักดิ์ ก็ดี |
ครั้นทรัพย์แรมโรยร้าง |
หมู่ร้ายดูแคลน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แม้มีเนตรพ่างเพี้ยง |
พันจัก ษุแฮ |
มีวิชารู่หลัก |
เลิศล้น |
ปัญญายิ่งยศศักดิ์ |
ลือทั่ว ภพนา |
รู้เท่าใดฤๅพ้น |
พ่ายแพ้ความตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีฤทธิ์แรงมากแม้ |
ทศพล ก็ดี |
หักพระเมรุทบทน |
ท่าวแท้ |
หยิบยกสี่สากล |
ชูกลอก ไว้นา |
บัดย่อมจะพ่ายแพ้ |
แก่ท้าวมฤตยู |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีฤทธิ์รู้ยิ่งแม้น |
สัพพัญญู ก็ดี |
เหินเห็จเตร็จไตรตรู |
ทั่วหล้า |
ดำดินแหวกสินธู |
ทุกทวีป |
รู้เท่ารู้ล้นฟ้า |
ห่อนพ้นความตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๓๙. |
|
ปุตฺโต กณฺเ ธนํ ปาเท |
ภริยา หตฺเถ จ พนฺธนํ |
ติวิธํ พนฺธนํ โลเก |
สํสาเร น ปมุญฺจติ |
|
ธรรมบท |
มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว |
พันคอ |
ทรัพย์ผูกบาทาคลอ |
หน่วงไว้ |
ภรรยาเยี่ยงบ่วงปอ |
รึงรัด มือนา |
สามบ่วงใครพ้นได้ |
จึ่งพ้นสงสาร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๐. |
|
ปุตฺตามตฺถิ ธนมตฺถิ |
อิติ พาโล วิหญฺติ |
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ |
กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ |
|
ธรรมบท |
บัญญัติลูกเต้าทรัพย์ |
สินสกล |
ผู้โฉดคิดเวียนวน |
โศกเศร้า |
บคิดว่าตัวตน |
สูญเปล่า ไซร้ฤๅ |
เมียลูกทรัพย์หากเข้า |
เกาะยื้อยามมรณ์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีมั่งสมบัติทั้ง |
เงินทอง |
ลูกที่ชอบครอบครอง |
สืบไว้ |
ลูกร้ายอย่าคิดปอง |
มองทรัพย์ |
วิจารณ์ควรประมวลให้ |
นอกนั้นเป็นคุณ |
|
สำนวนเก่า |
ผู้ใดมีมั่งขั้ง |
เงินทอง |
ลูกที่ดีให้ครอง |
สืบไว้ |
ลูกร้ายอย่าพึงปอง |
มอบทรัพย์ ให้นา |
พึงวิจารณ์ประมวลให้ |
รอบรู้เป็นคุณ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีลูกจากโทษแท้ |
สาธารณ์ |
เข้าบ่อนคบคนพาล |
ลักลี้ |
ส้องเสพสุราบาน |
การบาป |
จากโทษแท้เท่านี้ |
ลาภลํ้าบิดา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ลูกหนึ่งยอดยิ่งลํ้า |
ประยูร |
ลูกหนึ่งเทียมตระกูล |
พ่อแท้ |
ลูกหนึ่งถ่อยสกุล |
กว่าชาติ |
สามสิ่งนี้มีแล้ |
เที่ยงแท้ทุกคน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีลูกลูกเล่าไซร้ |
หลายประการ |
ลูกหนึ่งพึงล้างผลาญ |
ทรัพย์ม้วย |
ลูกหนึ่งย่อมคบพาล |
พาผิด มานา |
ลูกที่ดีนั้นด้วย |
ว่ารู้ฟังคำ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีลูกดื้อลูกขี้ |
กาแก |
มีค่าคือตำแย |
บ่เอื้อน |
มีเรือแหนงขี่แพ |
ดีกว่า |
มีแม่เรือนเลื่อนเปื้อน |
อยู่เพี้ยงขันที |
|
สำนวนเก่า |
มีลูกดื้อลูกขี้ |
กาแก |
มีทาสเทียรตำแย |
แส่ไส้ |
มีเรือรั่วขี่แพ |
ดีกว่า |
มีแม่เรือนเปื้อนให้ |
เดือดร้อนเพรางาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พระจันทร์โอภาสด้วย |
ราตรี |
แสงสว่างแผ้วพันสี |
ส่องหล้า |
กษัตริย์อ่าอินทรีย์ |
เรืองรุ่ง งามนา |
บุตรที่ดีรุ่งหน้า |
พวกพ้องพงศ์พันธุ์[๑] |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ว่าเมียมีมากลํ้า |
หลายเมีย |
เมียหนึ่งยกยอเยีย |
อย่างแหม้ |
เมียหนึ่งส่ายทรัพย์เสีย |
สูญจาก ตนนา |
เมียหนึ่งทำโทษแท้ |
เที่ยงให้ฉิบหาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เมียมากจุ่งระมัดหมั้น |
ตัวตน |
มันย่อมหามนต์ดล |
คิดร้าย |
รักนักมักหลงกล |
การเสน่ห์ |
ควรประหยัดอย่าหง้าย |
จักสิ้นเสียตัว |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๔๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หญิงประทุษฐ์ทำเล่ห์ซ้อน |
เหนือชาย |
คิดคดมุ่งมั่นหมาย |
ค่ำเช้า |
คนไข้ป่วยปางตาย |
อับลาภ |
เอาพิษเพิ่มภักษ์เข้า |
เหตุนั้นควรถวิล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๐. |
|
ตฺรีปติ นารี ตฺรีทาษ |
ตฺรีคุรุ สิสฺสรสฺตถา |
ตฺรีนิ มิตฺตญฺจ เภทญฺจ |
จตุตฺถมฺปิ สมาคมมฺ |
หญิงใดผัวราศร้าง |
สามคน |
ข้าหลีกหนีสามหน |
จากเจ้า |
ลูกศิษย์ผิดครูตน |
สามแห่ง |
เขาเหล่านี้อย่าเข้า |
เสพซ้องสมาคม |
|
สำนวนเก่า |
หญิงม่ายร่ายผัวร้าง |
สามคน |
ข้าร่ายเจ้าสามหน |
ผาดผ้าย |
ศิษย์ผิดครูสามตน |
มิตรเภท |
สามสิ่งนี้คนร้าย |
อย่าได้สมาคม |
|
สำนวนเก่า |
หญิงชั่วผัวหย่าร้าง |
สามคน |
ข้าหลีกหนีสามหน |
จากเจ้า |
ลูกศิษย์ผิดครูตน |
สามแห่ง |
เขาหมู่นี้อย่าเข้า |
เสพซ้องสมาคม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หญิงชั่วชู้ร้ายรัก |
ฤๅคลาด |
เห็นบุรุษนักปราชญ์ |
เกลียดใกล้ |
แมลงวันย่อมเอาชาติ |
อสุภ เน่านา |
บ่เสาะกลิ่นดอกไม้ |
ดุจผึ้งภุมรา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๒. |
|
ปุรฺวทิยา จ ยา วิทฺยา |
ปุรฺวทตฺตา ปิยทฺธนามฺ |
ปุรฺววิสฺวาศนวิสฺวาสา |
ปุรฺวภารฺยา ปฺรวตฺตเต |
ปางก่อนเคยเสพส้อง |
เป็นมิตร |
เคยยื่นทรัพย์ปลดปลิด |
ไปล่ให้ |
เคยเป็นมิ่งเมียสนิท |
หลายชาติ |
ในชาตินี้จึ่งได้ |
อ่อนน้อมตามมา |
|
สำนวนเก่า |
ปางก่อนเคยร่วมนํ้า |
ใจจิต |
เคยยื่นทรัพย์ไปล่ปลิด |
ปลดให้ |
เคยเป็นมิ่งเมียสนิท |
หลายชาติ มานา |
ในชาตินี้จึ่งได้ |
เสพซ้องครองกัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๓. |
|
ปกฺษีนามฺ กากจณฺฑาล |
มฺฤคจณฺฑาล คทฺรก |
สมณา โกฺรธจณฺฑาล |
สฺวจณฺฑาล นินฺทก |
อากาศหฤโหดร้าย |
คือกา |
สัตว์สี่ตีนคือลา |
โหดแท้ |
นักพรตมักโกรธา |
หฤโหด |
ร้ายกว่าร้ายนั้นแล้ |
แต่ผู้นินทา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ถ่อลอยชลเชี่ยวนํ้า |
ฤๅจะเอา |
แม้มิบุบบางเบา |
เบาะค้าน |
หญิงทรงรูปลำเภา |
ผัวหย่า |
แม้มิเคียดก็ค้าน |
มักร้ายแรงหึง |
|
สำนวนเก่า |
ถ่อลอยกลางแม่นํ้า |
ฤๅจะเอา |
แม้มิบุบบางเบา |
มอดยํ้า |
สตรีรูปลำเภา |
ผัวหย่า เล่าแฮ |
ยักหล่มถ่มร้ายซ้ำ |
ไม่ร้ายแรงหึง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๕. |
|
ยถา นที จ ปนฺโถ จ |
ปานาคารํ สภา ปปา |
เอวํ โลเก สตฺริโย นาม |
เวลํ เตสํ น วิชฺชเต |
|
โลกนิติ |
ฉันใดแม่น้ำและ |
หนทาง |
หลายแพร่งแห่งบึงบาง |
บ่อห้วย |
เฉกเช่นจิตใจนาง |
ในโลก |
ฤๅอิ่มกามาด้วย |
เสพซ้องสงสาร |
|
สำนวนเก่า |
ดังฤๅแม่น้ำและ |
หนทาง |
ศาลสระโรงบึงบาง |
บ่อห้วย |
เปรียบประดุจใจนาง |
ในโลก นี้นา |
ฤๅอิ่มเวลาด้วย |
แห่งห้องสงสาร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๖. |
|
พาลสตฺรี มกฺขิกา คณฺฑิ |
ปุมินาญจ กมทฺทลุํ |
โสฺรตฺตามฺพผลตามฺพุลํ |
น ธนญฺจ ชายเต |
แมลงวันเด็กน้อยท่วย |
นารี |
พลูหมากชลคณฑี |
หลั่งแล้ว |
นํ้าใสแลฤๅษี |
สิทธิศักดิ์ นั้นฤๅ |
เจ็ดสิ่งนี้คลาดแคล้ว |
จากพ้นเป็นเดน |
|
สำนวนเก่า |
แมลงวันท่วยเด็กน้อย |
นารี |
พลูกัดชลกุณฑี |
ลูกไม้ |
นํ้าไหลและฤๅษี |
สิทธิเดช |
เจ็ดสิ่งนี้อย่าได้ |
เกลียดอ้างเป็นเดน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๗. |
|
ชานียานฺ เปรฺษเณ ภฺฤตฺยาตฺ |
ทานฺธวานฺ วฺยสนาคเม |
มิตฺรญฺจาปทิกาเล จ |
ภารฺยาญฺจ วิภวกฺษเย |
ดูข้าดูเมื่อใช้ |
การหนัก |
ดูมิตรพงศารัก |
เมื่อไร้ |
ดูเมียเมื่อไข้จัก |
จวนชีพ |
อาจจักรู้จิตไว้ |
ว่าร้ายฤๅดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีช้าชิดชอบใช้ |
หลายสถาน |
ข้าหนึ่งกิจการงาน |
เจ็บร้อน |
ข้าหนึ่งฉกฉ้อพาล |
เบียนเบียด |
ข้าหนึ่งคอยขอดข้อน |
แนะให้ศัตรู |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๕๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทาสาอย่าคิดไว้ |
วางใจ |
ปกปิดกลภายใน |
อย่าหง้าย |
เลศลับสิ่งใดใด |
เห็นเหตุ |
มันแนะนำทำร้าย |
หมดสิ้นเสียตัว |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ความลับอย่าให้ทาส |
จับที |
ปกปิดมิดจงดี |
อย่าแผร้ |
แม้ให้ทราบเหตุมี |
หลายหลาก |
นับว่าข้าทาสแท้ |
โทษร้ายเร็วถึง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หญิงทาสทางทาสใช้ |
โดยควร |
อย่าและเล็มลามลวน |
วากเว้ |
รู้รสก่อเชิงชวน |
ใช้ยาก |
ดังแมลงป่องจระเข้ |
ก่งแหง้งอนหาง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ช้างสารหกศอกไซร้ |
เสียงา |
งูเห่ากลายเป็นปลา |
อย่าต้อง |
ข้าเก่าเกิดแต่ตา |
ตนปู่ ก็ดี |
เมียรักนอนร่วมห้อง |
อย่าไว้วางใจ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๓. |
|
สตฺรีปุตฺตพาลขลุทฺธ - |
ชนพฤฒิวากฺยมฺ |
สฺรวตฺวานสมฺม- |
ภวติย ปรมฺปฺรทาน |
หยาทโร ปุมิคตา |
ปฺรลิยเตศฺริ |
ตไสฺม วา ปาทยุคเล |
ปริวารตาสา |
หญิงบ้าเคลาเด็กเถ้า |
ทุรชน |
ใครอดออมคำคน |
เหล่านี้ |
พระศรีจากกฤษณดล |
คลาคลาด |
มาช่วยชูตีนกี้ |
เมื่อร้างฤๅวาย |
|
สำนวนเก่า |
หญิงชายบ้าบาปเถ้า |
ทุรชน |
ใครอดออมข้าคน |
หมู่นี้ |
สิริห่อนจากตน |
คลาคลาด |
มาอยู่ชูตีนกี้ |
เมื่อรื้อวางวาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๔. |
|
มาตาหีเน จ ทุวากฺยมฺ |
ปิตาหีเน จ ทฺรุคฺคุณามฺ |
มาตา สุทฺธิ ปิตา สุทฺธิ |
สุทฺธิ วากฺยมฺ คุณมฺภเวตฺ |
พ่อชั่วคนรู้ย่อม |
สาธารณ์ |
แม่ชั่วปากสามานย์ |
กล่าวกล้า |
พ่อแม่โคตรสันดาน |
สุทธชาติ |
คำอ่อนหวานบานหน้า |
ร่วมรู้อันดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๕. |
|
ปิตา หตจฺฉตฺตกปาลภินฺนํ |
มาตาหตสฺสรถจกฺรสสารภินฺนํ |
ภฺราตาหตทฺทกฺษิณพาหุภินฺนํ |
ภฺรยาหตตฺตฺริภวอนฺธการํ |
พ่อตายคือฉัตรกั้ง |
หายหัก |
ครั้นแม่ตายรถจักร |
จากด้วย |
พี่ตายพ่ายแขนหัก |
สินขาด ไปนา |
เมียมิ่งตายวายม้วย |
มืดกลุ้มแดนไตร |
|
สำนวนเก่า |
พ่อตายคือฉัตรกั้ง |
หายหัก |
แม่ดับดุจรถจักร |
จากด้วย |
ลูกตายบ่วายรัก |
แรงร่ำ |
เมียมิ่งตายวายม้วย |
มืดกลุ้มแดนไตร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พิษร้อนในโลกนี้ |
มีสาม |
พิษหอกดาบเพลิงลาม |
ลวกไหม้ |
ร้อนจริงก็มียาม |
หยุดหย่อน เย็นนา |
ร้อนสิ่งเดียวร้อนไร้ |
ยิ่งร้อนฤๅวาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๗. |
|
ปพฺยา มธุรา ตีณี |
อุจฺฉุ นารี สุภาสิตํ |
อุจฺฉุนารีสุ ตปฺปนฺติ |
น ตปฺปติ สุภาสิตํ |
รสหวานในโลกนี้ |
มีสาม |
หญิงรูปบริสุทธิ์งาม |
อีกอ้อย |
สมเสพรสกลกาม |
เยาวโยค |
หวานไป่ปานรสถ้อย |
กล่าวเกลี้ยงไมตรี |
|
สำนวนเก่า |
หวานใดในโลกนี้ |
มีสาม สิ่งนา |
หวานหนึ่งคือรสกาม |
อีกอ้อย |
หวานอื่นหมื่นแสนทราม |
สารพัด หวานเอย |
หวานไป่ปานรสอ้อย |
กล่าวเกลี้ยงคำหวาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ธรรมดายาโรคร้อน |
รสขม |
กินก็บำบัดลม |
และไข้ |
คนซื่อกล่าวใครชม |
ว่าชอบ หูแฮ |
จริงไป่จริงนั้นไซร้ |
ผ่ายหน้านานเห็น |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๖๙. |
|
ติลมตฺตํ ปเรสํ ว |
อปฺปโทสญฺจ ปสฺสติ |
นาฬิเกรมฺ สโทสํ |
ขลชาโต น ปสฺสติ |
โทษท่านปานหนึ่งน้อย |
เม็ดงา |
พาลเพ่งเล็งเอามา |
เชิดชี้ |
ผลพร้าวใหญ่เต็มตา |
เปรียบโทษ ตนนา |
บ่อยบ่อยร้อยหนจี้ |
บอกแล้วฤๅเห็น |
|
สำนวนเก่า |
โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง |
เม็ดงา |
ปองติฉินนินทา |
จะไจ้ |
โทษตนใหญ่หลวงสา |
หัสยิ่ง นักนา |
ปูนดั่งผลพร้าวไส้ |
อาจโอ้อับเสีย |
|
สำนวนเก่า |
โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง |
เมล็ดงา |
ปองติฉินนินทา |
ห่อนเว้น |
โทษตนเท่าภูผา |
หนักยิ่ง |
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น |
เรื่องร้ายหายสูญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนรักมีมากไซร้ |
ส่อผล |
ชังมากเมื่ออับจน |
โศกเศร้า |
รักมากเมื่อกังวล |
วานช่วย กันนา |
ชังมากมีกิจเร้า |
เร่งไร้อุปถัมภ์ |
|
สำนวนเก่า |
คนรักมีมากไซร้ |
แสดงผล |
ชังมากนินทาตน |
โศกเศร้า |
รักมากเมื่อกังวล |
วานช่วย กันนา |
ชังมากมักรุมเร้า |
กล่าวร้ายรันทำ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ดอกบัวหนาม ณ ก้าน |
คนฉิน |
สระก็มีมลทิน |
ไป่พร้อง |
นํ้าล้างสิ่งของกิน |
พึงเกลียด ตินา |
คลองอาบอากูลซ้อง |
สิ่งร้ายเป็นดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ลิ้นพราหมณ์ตานกแร้ง |
จมูกมด |
จิตพระยากำหนด |
แม่นแท้ |
คำครูสั่งสอนทศ |
ธรรมแก่ ศิษย์นา |
ห้าสิ่งนี้เที่ยงแล้ |
รวดรู้ใครเสมอ |
|
สำนวนเก่า |
ลิ้นพราหมณ์ตานกแร้ง |
จมูกมด |
นํ้าจิตพระยากำหนด |
ยากแท้ |
คำครูสั่งสอนบท |
ธรรมเมศ |
ห้าสิ่งนี้แหลมแล้ |
รวดรู้เร็วจริง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๓. |
|
ทีฆา ชาครโต รตฺติ |
ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ |
ทีโฆ พาลาน สํสาโร |
สทฺธมฺมํ อวิชานตํ |
|
ธรรมบท |
ทวยตื่นคืนคํ่านั้น |
ยลนาน |
ล้าลํ้าเที่ยวทางปาน |
โยชน์ช้า |
พาลพวกท่องสงสาร |
ยาวยืด นักแฮ |
เพราะบ่เห็นธรรมหน้า |
พิศโพ้นนฤพาน |
|
สำนวนเก่า |
นอนบ่หลับชักช้า |
ราตรี |
เมิลมารคไกลลาศลี |
เพราะล้า |
สงสารสุดยาวรี |
ไกลกว่า ไกลพ่อ |
เพราะเผ่าพาลบุ่มบ้า |
บ่รู้รสธรรม |
|
สำนวนเก่า |
คนตื่นคืนหนึ่งช้า |
จริงเจียว |
มล้าวิถีโยชน์เดียว |
ดุจร้อย |
สงสารหมู่พาลเทียว |
ทางเนิ่น นานนา |
เพราะบ่เห็นธรรมน้อย |
หนึ่งให้เป็นคุณ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๔. |
|
ราชการฺยวิษฺมยทฺธมฺ |
ตฺวานฺเต สาคโร ยถา |
มุเขน วิปฺปริตานิ |
น ลิกฺขมุขเมว จ |
เฝ้าท้าวแลเสพด้วย |
ยาพิษ |
เข้าสู่สงครามชิด |
แข่งกล้า |
ผู้เที่ยวชเลทิศ |
ไกลฝั่ง นั้นนา |
หญิงมีครรภ์เป็นห้า |
ย่อมใกล้ความตาย |
|
สำนวนเก่า |
เฝ้าท้าวแลเสพด้วย |
ยาพิษ |
เข้าสู่สงครามชิด |
เข่นข้า |
ทรงครรภ์แลพานิช |
เที่ยวท่อง ชเลนา |
บัดชื่นบัดเศร้าหน้า |
กล่าวใกล้ความตาย |
|
สำนวนเก่า |
เฝ้าท้าวเทียมเสพด้วย |
ยาพิษ |
เข้าสู่สงครามชิด |
กลั่นกล้า |
หญิงมีครรภ์พานิช |
เที่ยวท่อง ชเลนา |
บัดชื่นบัดชั่วหน้า |
เหตุใกล้ความตาย |
|
สำนวนเก่า |
ฝ้าท้าวเทียมเสพด้วย |
ยาพิษ |
เข้าสู่สงครามชิด |
ใช่ช้า |
ทรงครรภ์แลพานิช |
เที่ยวท่อง ชเลนา |
บัดชื่นบัดเศร้าหน้า |
กล่าวใกล้ความตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๕. |
|
เอกยามํ สเย ราชา |
ทฺวิยามญฺจ ปณฺฑิโต |
ฆราวาโส ติยาโม จ |
จตุยาโม ตุ ยาจกา |
กษัตริย์ไสยาสน์อ้าง |
เอกยาม |
ปราชญ์หลับสองยามตาม |
ระบอบต้อง |
ฆราวาสล่วงหลับสาม |
ยามย่าง มาแฮ |
ยาจกหลับยามซ้อง |
สี่สิ้นทั้งคืน |
|
สำนวนเก่า |
บรรทมยามหนึ่งไท้ |
ทรงฤทธิ |
หกทุ่มหมู่บัณฑิต |
ทั่วแท้ |
สามยามพวกพานิช |
นรชาติ |
นอนสี่ยามนั้นแล้ |
เที่ยงแท้เดียรฉาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ราชาธิราชน้อม |
ในสัตย์ |
มนตรีเป็นบรรทัด |
ถ่องแท้ |
ราษฎรรื่นเรืองสวัสดิ์ |
ทุกเมื่อ |
เมืองดั่งนี้เลิศแล้ |
ไพร่ฟ้าอยู่เย็น |
|
สำนวนเก่า |
ราชาธิราชน้อม |
ในสัตย์ |
อำมาตย์เป็นบรรทัด |
ถ่องแท้ |
ฝูงราษฎร์อยู่ศรีสวัสดิ์ |
ทุกเมื่อ |
เมืองดั่งนี้เลิศแล้ |
ไพร่ฟ้าเปรมปรีดิ์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ข้าท่านคร้านหลีกเจ้า |
จากเจียร |
ชีบ่เล่าเรียนเขียน |
อ่านไซร้ |
ชาวนาละความเพียร |
ไถถาก |
สามสิ่งนี้โหดให้ |
โทษแท้คนฉิน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นายเรือนเป็นใหญ่หยิ้ง |
เรือนตน |
นายบ้านเป็นใหญ่คน |
หมู่บ้าน |
พญาใหญ่กว่าชน |
ในเขต แดนแฮ |
ปราชญ์เป็นใหญ่ทั่วด้าน |
สิบด้าวทิศา |
|
สำนวนเก่า |
นายเรือนใหญ่อยู่เหย้า |
เรือนตน |
นายซ่องเป็นใหญ่คน |
ลูกบ้าน |
ท้าวพระยาใหญ่กว่าชน |
ในเขต แดนนา |
นักปราชญ์ใหญ่แปดด้าน |
ทั่วด้าวทิศา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๗๙. |
|
อิตฺถีนญฺจ ธนํ รูปํ |
ปุริสานํ วิชฺชา ธนํ |
ภิกฺขูนญฺจ ธนํ สีลํ |
ราชูนญฺจ ธนํ พลํ |
สตรีดีรูปได้ |
เป็นทรัพย์ |
ชายฉลาดความรู้สรรพ |
ทรัพย์ได้ |
พราหมณ์ทรงเวทยานับ |
ว่าทรัพย์ พราหมณ์นา |
ภิกษุเกิดลาภไซร้ |
เพื่อรู้เทศน์ธรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เรียนสรรพสบศาสตร์สิ้น |
เพลงศิลป์ |
ประสิทธิ์เสร็จทั้งแดนดิน |
ย่อมได้ |
ตามปัญญายิ่งโดยจินต์ |
คดีโลก |
สอนอัชฌาสัยไซร้ |
ห่อนได้มีครู |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เรียนรู้ครูบอกได้ |
เสร็จสรรพ์ |
สบศาสตร์ศิลป์ทุกอัน |
ย่อมรู้ |
อัชฌาสัยแห่งสามัญ |
บุญแต่ง มาแฮ |
ครูทักนักสิทธ์ผู้ |
เลิศได้บอกเลย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แม้บุญยังอย่าได้ |
ขวนขวาย |
อย่าตื่นตีตนตาย |
ก่อนไข้ |
ลูกพร้าวอยู่ถึงปลาย |
สูงสุด ยอดนา |
ใครพร่ำนํ้าตักให้ |
หากรู้เต็มเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นกน้อยขนน้อยแต่ |
พอตัว |
รังแต่งจุเมียผัว |
อยู่ได้ |
มักใหญ่ย่อมคนหัว |
ไพเพิด |
ทำแต่พอตัวไซร้ |
อย่าให้คนหยัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม |
ใจตาม |
เรายากหากใจงาม |
อย่าคร้าน |
อุตส่าห์พยายาม |
การกิจ |
เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน |
อย่าท้อทำกิน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เริ่มการตรองตรึกไว้ |
ในใจ |
การจะลุจึ่งไข |
บอกแจ้ง |
ดอกเดื่อบ่มีใคร |
เห็นดอก |
ผุดพ้นแล้วจึ่งแจ้ง |
ออกให้เห็นผล |
|
สำนวนเก่า |
เริ่มการตรองตรึกไว้ |
ในใจ |
การจะลุจึ่งไข |
ข่าวแจ้ง |
เดื่อดอกออกห่อนใคร |
เห็นดอก |
ผลผลิดติดแล้วแผร้ง |
แพร่ให้คนเห็น |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
การใดตรองผิดไซร้ |
เสียถนัด |
เอาสิ่งนั้นตรองขัด |
คิดแก้ |
หนามยอกสิ่วแคะคัด |
ฤๅออก |
หนามต่อหนามนั้นแล้ |
เขี่ยได้คืนถอน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ผมผิดคิดสิบห้า |
วันวาร |
ทำไร่ผิดเทศกาล |
ขวบเข้า |
เลี้ยงเมียผิดรำคาญ |
คิดหย่า |
ทำผิดไว้ทุกข์เศร้า |
ตราบท้าววันตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เดินทางต่างเทศให้ |
พิจารณ์ |
อาสน์นั่งนอนอาหาร |
อีกนํ้า |
อดนอนอดบันดาล |
ความโกรธ |
ห้าสิ่งนี้คุณลํ้า |
เลิศล้วนควรถวิล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๘๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อาศัยเรือนท่านให้ |
พิจารณ์ |
เห็นท่านทำการงาน |
ช่วยต้อง |
แม้มีกิจโดยสาร |
นาเวศ |
ช่วยถ่อพายจดจ้อง |
อย่าหนิ้งกว่าจะถึง |
|
สำนวนเก่า |
อาศัยเรือนท่านให้ |
วิจารณ์ |
เห็นท่านทำการงาน |
ช่วยพร้อง |
แม้มีกิจโดยสาร |
นาเวศ |
พายถ่อช่วยคํ้าจ้อง |
จรดให้จนถึง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๐. |
|
อนฺวฺหายํ คมยนฺโต |
อปุจฺฉา พหุภาสโก |
อตฺตคุณํ ปกาเสนฺโต |
ติวิธํ หีนลกฺขณํ |
ขึ้นสู่เรือนท่านบ่ |
เรียกหา ตนนา |
ท่านบ่ถามเจรจา |
อวดรู้ |
ยอตัวอหังการ์ |
ยงยิ่ง คนนา |
สามสิ่งทรลักษณ์ผู้ |
โหดแท้สาธารณ์ |
|
สำนวนเก่า |
ท่านไป่เรียกเร่งขึ้น |
เรือนเขา ก็ดี |
ท่านไป่ถามด่วนเดา |
กล่าวแก้ |
อวดอุดมเองเอา |
ดีกล่าว |
ลักษณะสามนี้แล้ |
ถ่อยแท้โหดหืน |
|
สำนวนเก่า |
ท่านบ่เรียกฤๅขึ้น |
เรือนนา |
ท่านบ่ชวนเจรจา |
อวดรู้ |
ยกตนอหังการ์ |
เกินเพื่อน |
คนชนิดนี้สู้ |
หน่ายหน้าอย่าสมาน |
|
สำนวนเก่า |
ดื้อด้านท่านไป่ร้อง |
มาเรือน |
มาพูดเพื่อนไป่เตือน |
ไต่ถ้อย |
ยกตนแต่งลมเลือน |
ล่วงกล่าว คุณแฮ |
สามลักษณชักต่ำต้อย |
ชาติช้าทรชน |
|
สำนวนเก่า |
เขาบ่เรียกสักหน่อยขึ้น |
เคหา |
ท่านบ่ถามเจรจา |
อวดรู้ |
ยกตนอหังการ์ |
เกินเพื่อน |
สามลักษณะนี้ผู้ |
เผ่าร้ายฤๅดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เป็นคนจากเหย้าอย่า |
เปล่ากาย |
เงินพกผ้าห่อชาย |
ขอดไว้ |
เคหาอย่าสูญดาย |
ข้าวเปลือก มีนา |
เฉินฉุกขุกจักได้ |
ผ่อนเลี้ยงอาตมา |
|
สำนวนเก่า |
เป็นคนคลาดเหย้าอย่า |
เปล่ากาย |
เงินสลึงติดชาย |
ขอดไว้ |
เคหาอย่าสูญวาย |
ข้าวเปลือก มีนา |
เฉินฉุกขุกจักได้ |
ผ่อนเลี้ยงอาตมา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๒. |
|
อธมฺโม ลภเต ธนํ |
สตฺตมาเส ปติญฺตํ |
ยํตีเต จิรกกาลํ |
ตํ มูลํ อุปสปฺปิเยตฺ |
สินใดบ่ชอบได้ |
มาเรือน |
อยู่แต่เจ็ดเดือนเตือน |
ค่ำเช้า |
ครั้นนานย่อมเลือนเปือน |
ปนอยู่ |
มันมักพาทั้งเหง้า |
มอดม้วยคุงโคน |
|
สำนวนเก่า |
สินใดบ่ชอบได้ |
มาเรือน |
อยู่แต่เจ็ดเดือนเตือน |
คํ่าเช้า |
ครั้นนานย่อมเลือนเปือน |
ปนอยู่ |
มักชักของเก่าเหย้า |
มอดม้วยหมดโครง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๓. |
|
ชเลน ชายเต กทฺมํ |
ชลกทฺมํ ปริสุชฺฌติ |
จิตฺร น ชายเต ปาปํ |
จิตฺรปาปํ ปริสุชฺฌติ |
ชลธีบังเกิดให้ |
เป็นตม |
ล้างชำระหมดสม |
เพื่อนํ้า |
บาปพูนเพื่ออารมณ์ |
จิตอาตม์ เองนา |
บาปหายลายลบลํ้า |
เพื่อน้ำใจเอง |
|
สำนวนเก่า |
ตมเกิดแต่นํ้าแล่น |
เป็นสาย |
นํ้าอาจล้างตมหาย |
ซากไซร้ |
บาปเกิดแต่ใจหมาย |
ใจก่อ เองนา |
จึงจักล้างบาปได้ |
เพื่อด้วยใจเอง |
|
สำนวนเก่า |
ตมเกิดแต่นํ้าแล่น |
เป็นกระสาย |
นํ้าอาจล้างตมหาย |
ซากไซร้ |
บาปเกิดด้วยใจหมาย |
หมู่บาป |
จักมล้างบาปได้ |
เพราะนํ้าใจเอง |
|
สำนวนเก่า |
ตมเกิดแต่นํ้าแล่น |
เป็นกระสาย |
นํ้าก็ล้างเลนหาย |
ซากไซร้ |
บาปเกิดใช่แต่กาย |
เพราะจิต ก่อนนา |
อันจักล้างบาปได้ |
เพราะนํ้าใจเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อายครูหรือรอบรู้ |
วิชา |
อายมิ่งมิตรภรรยา |
บุตรไร้ |
อายองค์อิสราหา |
ยศยาก |
อายท่านบ่อวยให้ |
ทรัพย์เบื้องบุญสูญ |
|
สำนวนเก่า |
อายครูไซร้ถ่อยรู้ |
วิชา |
อายแก่ราชาคลา |
ยศแท้ |
อายแก่ภริยาหา |
บุตรแต่ ไหนนา |
อายกับทำบุญแล้ |
สุขนั้นฤๅมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หน้าใสกลดั่งแก้ว |
บัวบาน |
ถ้อยคำฉ่ำเพราะหวาน |
ทราบไส้ |
จิตดังดาบคมผลาญ |
ชนม์ชีพ |
เขาเหล่านี้กล่าวไว้ |
ว่าผู้ทรชน |
|
สำนวนเก่า |
หน้าแช่มชื่นช้อยเช่น |
บัวบาน |
ถ้อยฉ่ำคำเฉื่อยหวาน |
ทราบไส้ |
หัวใจดั่งดาบผลาญ |
ชนม์ชีพ |
เขาเหล่านี้กล่าวไว้ |
ว่าผู้ทรชน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หลีกเกวียนให้หลีกห้า |
ศอกหมาย |
ม้าหลีกสิบศอกกราย |
อย่าใกล้ |
ช้างยี่สิบศอกคลาย |
คลาคลาด |
เห็นทุรชนหลีกให้ |
ห่างพ้นลับตา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พาชีขี่คล้องแคล้ว |
ไคลคลา |
โคคู่ควรไถนา |
ชอบใช้ |
แม้แมวอยู่เคหา |
ควรอาสน์ |
ชาติสุนัขแต่ใต้ |
ต่ำเหย้าเรือนควร |
|
สำนวนเก่า |
พาชีขี่คล่องคล้อย |
ควรคลา |
โคคู่ควรไถนา |
ชอบใช้ |
บนชานชาติวิฬาร์ |
ควรอยู่ |
สุนัขเนาแต่ใต้ |
ต่ำเหย้าเรือนควร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
กระบือหนึ่งห้ามอย่า |
ควรครอง |
เมียมิ่งอย่ามีสอง |
สี่ได้ |
โคสามอย่าควรปอง |
เป็นเหตุ |
เรือนอยู่สี่ห้องให้ |
เดือดร้อนรำคาญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
มีเรือค้าขี่ห้า |
ลำนอ ห้ามแฮ |
สุนัขหกอย่าพึงพอ |
จิตเลี้ยง |
แมวเจ็ดเร่งเร็วขอ |
มาใส่ อีกนา |
ช้างแปดม้าเก้าเหยี้ยง |
อย่างห้ามเพรงมา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๑๙๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีเงินให้ท่านกู้ |
ไปนา |
ศิลปศาสตร์ฤๅศึกษา |
เล่าไว้ |
มีเมียอยู่เคหา |
ไกลย่าน |
สามลักษณะนี้ใกล้ |
แกล่แม้นไป่มี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๐. |
|
อนาทฺธวากฺยมฺปรมพาโลนามฺ |
ทุราถลาภมฺปรมนฺทฺรีนามฺ |
อชานปุตฺรมฺปรมฺจ ศตฺรู |
ทุสตฺรีปรสงฺคมฺปรมนฺติขนฺที |
สบพบคนเคลิ้มอย่า |
เจรจา |
ลาภอยู่ไกลคิดหา |
ใคร่ได้ |
มีลูกโฉดปัญญา |
ยิ่งศัต - รูพ่อ |
เมียมิ่งร้ายอย่าใกล้ |
อยู่เพี้ยงขันที |
|
สำนวนเก่า |
สบพบคนเคลิ้มอย่า |
เจรจา |
ลาภอยู่ไกลอย่าหา |
ใคร่ได้ |
มีลูกโฉดปัญญา |
ยากจิต ตนนา |
เมียมิตรร้ายอย่าใกล้ |
อยู่เพี้ยงขันที |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ไร้สิ่งสินแล้วอับ |
ปัญญา |
อีกญาติวงศ์พงศา |
บ่ใกล้ |
คนรักย่อมโรยรา |
รสรัก กันแฮ |
พบแทบทางทำใบ้ |
เบี่ยงหน้าเมินหนี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อย่าเรียนเพียรคิดเค้า |
ขุดทอง |
อย่าเรียนริตริตรอง |
บ่อนเหล้น |
อย่าเรียนเวทมนต์ลอง |
สาวสวาท |
อย่าเรียนทำทองเว้น |
สิ่งนี้เบียนตัว |
|
สำนวนเก่า |
อย่าเรียนเพียรคิดเค้า |
ขุดของ |
อย่าตริตรึกนึกปอง |
บ่อนเหล้น |
อย่าเรียนเวทมนต์ลอง |
สาวสวาท |
แปรธาตุหนึ่งพึงเว้น |
สี่นี้เบียนตน |
|
สำนวนเก่า |
๒๐๓. |
|
สฺวา ภาเว นฺหเร มิตฺร |
สฺวา ภาเว มิตฺรสณฺํว |
สตฺริ ภาว มชฺช ปฺรทาเนน |
อหนฺตํ วนฺทเต นม |
รักมิตรสุวภาพไซร้ |
มีมิตร มานา |
รักใคร่พงศาสนิท |
ซื่อไซร้ |
รักหญิงเท่าอย่าคิด |
สินอ่อย เอานา |
รักสามีภักดีไหว้ |
อ่อนเกล้ากลอยสนิท |
|
สำนวนเก่า |
รักมิตรสุภาพไซร้ |
สมรมิตร |
รักเผ่าพงศาสนิท |
ซื่อไซร้ |
รักหญิงอย่าพึงคิด |
สินอ่อย เอานา |
รักสัตย์ศีลจักได้ |
สุขแท้ทางสวรรค์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รักทรัพย์อย่ายิ่งด้วย |
วิชา |
สว่างอื่นเท่าสุริยา |
ห่อนได้ |
ไฟใดยิ่งราคา |
เพลิงราค ฤๅพ่อ |
รักอื่นหมื่นแสนไซร้ |
อย่าสู้รักธรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีมิตรจงรอบรู้ |
รักสนิท |
ดุจอุทรเดียวชิด |
ชอบหน้า |
ความขำเงื่อนงำปิด |
ปัดเป่า |
ท่านว่ามิตรนี้อ้า |
เอกลํ้าเหลือดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๖. |
|
มาตฤวตฺ ปรทาเรษุ |
ปฺรทฺรเวฺยษุ โลษฺฏฺรวตฺ |
อาตฺมวตฺ สฺรภูเตษุ |
ยะ ปศฺยติ ปณฺฑิต |
|
หิโตปเทศ |
เมียท่านพิศพ่างเพี้ยง |
มารดา |
ทรัพย์ท่านเหมือนดังยา |
พิษร้าย |
รักสัตว์เท่าชีวา |
ปานเปรียบ |
ตรองดั่งนี้พลันย้าย |
ยาตรเยื้องเมืองสวรรค์ |
|
(ที่มาขาดไป) |
เมียท่านพิศพ่างเพี้ยง |
มาดา |
ทรัพย์ท่านคืออิฐผา |
กระเบื้อง |
รักสัตว์อื่นอาตมา |
เทียมเท่า กันแฮ |
ตรองดั่งนี้จักเปลื้อง |
ปลดพ้นสงสาร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนใดไร้ทุเรศสิ้น |
ความอาย |
ความสัตย์ก็ระสาย |
เสื่อมแท้ |
ความเจ็บมานะหาย |
เหือดเล่า |
สิ่งสี่มีพร้อมแล้ |
เปรียบด้วยเดียรฉาน |
|
สำนวนเก่า |
คนใดใจส่างสิ้น |
ความอาย |
ความสัตย์เสื่อมกระจาย |
จากแท้ |
มานะเจ็บอายหาย |
หมดเนตร |
สิ่งสี่มีพร้อมแล้ |
เล่ห์เพี้ยงเดรฉาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนใดมีสัตย์ตั้ง |
มานะ |
ความอายยังไป่ละ |
ลดบ้าง |
ความอายบ่สละ |
จากจิต ตนนา |
แม้ตกต่ำร้ายร้าง |
ห่อนให้ใครแคลน |
|
สำนวนเก่า |
คนใดมีสัจทั้ง |
มานะ |
ความเจ็บยังไป่ละ |
หนึ่งบ้าง |
ความอายบ่สละ |
จากจิต |
แม้ตกต่ำไร้ร้าง |
ห่อนผู้ดูแคลน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๐๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนใดฟังอรรถแล้ว |
บ่ขวาย ขวนนา |
บ่ ตริตรองนึกหมาย |
มั่นไว้ |
บ่ ถามไต่อุบาย |
เติมต่อ |
ปราชญ์ว่าผู้นั้นไซร้ |
ใช่เชื้อเมธา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ผู้ใดทรงสัตย์สร้าง |
ศีลา |
บ่มิโกรธบ่มิหึงสา |
ท่านไซร้ |
สัตย์ซื่อถือเมตตา |
ใจอด |
ท่านผู้นั้นจักได้ |
ชื่อเชื้อปราชญ์ดี |
|
สำนวนเก่า |
คนใดทรงสัตย์สร้าง |
ศีลา |
ไป่เคียดขึ้งหึงสา |
สัตว์ไซร้ |
น้ำจิตคิดกรุณา |
เนืองนิจ |
คนดั่งนี้จัดได้ |
ชื่อเชื้อปรีชา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๑. |
|
โย มาตรํ ปิตรํ วา |
ชิณฺณกํ คตโยพฺพนํ |
ปหุสนฺโต น ภรติ |
ตํ ปราภวโต มุขํ |
|
สุตตนิบาต ขุททกนิกาย. |
แม้มีทรัพย์ยิ่งทั้ง |
ยศถา |
พ่อแม่แก่ชรา |
บ่เลี้ยง |
เป็นสุขแต่อาตมา |
บริโภค |
จักฉิบหายวายเพี้ยง |
โทษท้าวลงทัณฑ์ |
|
สำนวนเก่า |
คนใดละพ่อทั้ง |
มาดา |
อันทุพลชรา |
ภาพแล้ว |
ขับไล่ไป่มีปรา |
นีเนตร |
คนดั่งนี้ฤๅแคล้ว |
คลาดพ้นไภยัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๒. |
|
เย วุฑฺเฒ อปจายนฺติ นรา |
ธมฺมสฺส โกวิทา |
ทิฏฺเ ธมฺเม ปสํสนฺติ |
สมฺปราเย จ สุคตึ |
บุคคลผู้ฉลาดมาก |
ปัญญา |
เห็นผู้เฒ่าแก่พฤฒา |
นอบไหว้ |
สรรเสริญทั่วโลกา |
ฉันนี้ นะพ่อ |
ครั้นวายชีพจักได้ |
สู่ฟ้าเมืองแมน |
|
สำนวนเก่า |
คนใดใจฉลาดด้วย |
ปัญญา |
เห็นแก่พฤฒิฒา |
กราบไหว้ |
สรรเสริญทั่วโลกา |
คนดั่ง นี้นา |
ในปรโลกจักได้ |
สู่ฟ้าเสวยสวรรค์ |
|
สำนวนเก่า |
คนใดเอมโอชถ้อย |
เจรจา |
เห็นแก่เฒ่าพฤฒา |
ถ่อมไหว้ |
สรรเสริญทั่วโลกา |
มนุษย์ นี้นา |
ปรโลกพู้นจักได้ |
สู่ฟ้าเมืองแมน |
(ในปรโลกจักได้ |
สู่ฟ้าเมืองสวรรค์) |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๓. |
|
ชาติถทฺโธ ธนถทฺโธ |
โคตฺตถทฺโธ จ โย น โร |
สาตึ อติมญฺเติ |
ตํ ปราภวโต มุขํ |
|
สุตตนิบาต ขุททกนิกาย. |
คนใดใจกระด้าง |
ตระกูล |
โอหังว่าทรัพย์มูล |
ยิ่งผู้ |
ดูหมิ่นหมู่ประยูร |
พงศ์เผ่า |
จักฉิบหายวายรู้ |
สิ่งร้ายเบียนตน |
|
สำนวนเก่า |
คนใดด่าโคตรเค้า |
ตระกูล |
ถือว่าตนทรัพย์มูล |
มั่งขั้ง |
ดูหมิ่นหมู่ประยูร |
พงศ์เผ่า |
เป็นที่ติเตียนทั้ง |
ทั่วท้องโลกา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๔. |
|
อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต |
อกฺขธุตฺโต จ โย นโร |
ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ |
ตํ ปราภวโต มุขํ |
|
สุตตนิบาต ขุททกนิกาย. |
คนใดมากชู้คบ |
พ้องพาล |
หมากรุกสกาสุราบาน |
บ่อนเหล้น |
บทใดบัดบันดาล |
เสียทรัพย์ |
จักฉิบหายวายเว้น |
สุขร้างแรมโรย |
|
สำนวนเก่า |
ชายใดเร่คบค้า |
นารี |
เสพสุรายินดี |
บ่อนเหล้น |
นกไก่สกาตี |
มือต่อ พนันนา |
คนดั่งนี้ฤๅเว้น |
จากเบื้องฉิบหาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนใดถ่อยจากรู้ |
วิชา |
หญิงรูปร้ายกิริยา |
โฉดด้วย |
บรรพชิตบ่รักษา |
ศีลขาด |
สามสิ่งนี้ชื่อม้วย |
ชีพสิ้นสุดสกล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนร้ายมักชอบร้าย |
ราคี |
สอนสั่งสิ่งความดี |
บ่ ได้ |
ดุจเกลือทอดนที |
สูญเปล่า |
เสพที่ชั่วเชือนไซร้ |
ทราบแจ้งใจมัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
สอนคนหีนชาติช้า |
โฉดเฉา |
ฝนตกเจิมจอมเขา |
หลั่งหลุ้ม |
คนดีสั่งสอนเอา |
โอวาท |
กลกละออมนํ้าอุ้ม |
อิ่มได้โดยใจ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๘. |
|
อกตญฺญุสฺส โปสสฺส |
นิจฺจํ วิวรทสฺสิโน |
สพฺพญฺจ ปวึ ทชฺชา |
เนว นํ อภิราธเย |
|
ธรรมบท |
เผ่าพาลพวกไป่รู้ |
คุณคน |
มันย่อมหาเหตุผล |
ขุดได้ |
สมบัติสี่สากล |
โกยกอบ ให้แฮ |
ฤๅอาจยังมันให้ |
เกิดแย้มยินดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๑๙. |
|
ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺพฺพํ |
อติโลโภ หิ ปาปโก |
หํสราชํ คเหตฺวาน |
สุวณฺณา ปริหายติ |
ได้สินทรัพย์เพื่อค้า |
ขนหงส์ |
เลี้ยงชีพช้ายืนยง |
อยู่แล้ว |
ภายหลังโลภไป่ตรง |
ใจต่อ |
ถอนทั่วตัวหงส์แคล้ว |
คลาดสิ้นเสื่อมทอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แม่น้ำคุ้งคดเคี้ยว |
ควรจร |
เหล็กคดทำเคียวรอน |
ไร่เข้า |
ไม้กระทดกระทำทอน |
ทุกที่ กงนา |
คนคดดั่งคูถเหน้า |
บ่ต้องการงาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ปราชญ์ใดเรืองรู้ยิ่ง |
วิทยา |
กล่าวมธุรสธรรมา |
ห่อนพลั้ง |
นํ้าจิตอสัตยา |
ยลยาก |
คือดั่งดวงแก้วตั้ง |
แต่งไว้เรือนโจร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๒. |
|
อปุฏฺโ ปณฺฑิโต เภรี |
ปชฺชุนฺโน โหติ ปุจฺฉิโต |
พาโล ปุฏฺโ อปุฏฺโปิ |
พหุมฺปิ ภณเต สทา |
|
โลกนิติ |
ไป่ถามปราชญ์บ่พร้อง |
พาที |
เภริษคนบ่ตี |
ไป่ครื้น |
ใสอรรถดุจเมฆมี |
ศัพท์เมื่อ ถามแฮ |
ถามบ่ถามฝ่าฟื้น |
อวดโอ้เหลือถาม |
|
สำนวนเก่า |
ปราชญ์เปรมใดบ่ได้ |
พาที |
นิ่งนั่งดุจเภรี |
ไป่ข้อน |
อรรถอ้างดุจเมฆี |
ศัพท์เมื่อ ถามนา |
ถามบ่ถามพาลปล้อน |
เปล่าเพ้อสูญผล |
|
สำนวนเก่า |
ไป่ถามปราชญ์บ่พรัอง |
พาที |
เปรียบดั่งเภรีตี |
จึ่งครื้น |
คนพาลพวกอวดดี |
จักกล่าว |
ถามบ่ถามมันฟื้น |
เฟื่องถ้อยเกินถาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๓. |
|
นิธีนํว ปวตฺตารํ |
ยํ ปสฺเส เวชฺชทสฺสินํ |
นิคฺคยฺห วาทึ เมธาวึ |
ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช |
|
ธรรมบท |
ร่วมรักนักปราชญ์เชื้อ |
ชาตรี |
เราผิดชอบชั่วดี |
ท่านแจ้ง |
เอาเยี่ยงอย่างอย่ามี |
จิตโกรธ |
ปรากฏกลท่านแกล้ง |
แนะให้ขุมทอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๔. |
|
อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา |
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ |
ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉกา |
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา |
|
ธรรมบท |
นํ้าบ่มีจิตรู้ |
ไหลจร |
ไม้คดเขาทำศร |
ซื่อได้ |
บัณฑิตทราบสุนทร |
โอวาท |
สอนสั่งอาตมให้ |
อ่อนด้วยใจเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๕. |
|
มา จ ทุชฺชนสํสคฺคํ |
ภช สาธุ สมาคมฺม |
กร ปุญฺมโหรตฺตํ |
สร นิตฺยมนิตฺยตมฺ |
อย่าคบคนหมู่ร้าย |
ทรชน |
คบแต่บัณฑิตดล |
ชอบแท้ |
วันคืนจำเริญผล |
บุญเร่ง ทำนา |
เห็นอนิจนิตยแล้ |
ล่วงพ้นสงสาร |
|
สำนวนเก่า |
อย่าคบคนหมู่ร้าย |
ทุรชน |
คบแต่บัณฑิตคน |
ปราชญ์แปล้ |
วันคืนรวดเร็วดล |
บุญเร่ง ทำนา |
เห็นอนิจนั้นแล้ |
ล่วงพ้นสงสาร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๖. |
|
อตฺตานเมว ปมํ |
ปฏิรูเป นิเวสเย |
อถญฺมนุสาเสยฺย |
น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต |
|
ธรรมบท |
พึงอวยโอวาทไว้ |
ในตน ก่อนนา |
จึ่งสั่งสอนสาธุชน |
ทั่วหล้า |
แต่แรกเร่งผจญ |
จิตอาต มาแฮ |
สัตว์อื่นหมื่นแสนอ้า |
อาจแท้ทรมาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๗. |
|
น ภิชฺเชตุํ กุมฺภกาโร |
โสเภตุํ กุมฺภํ ฆฏติ |
น ขิเปตุํ อปาเยสุ |
สิสฺสานํ วุฑฺฒิการณา |
|
โลกนิติ |
ช่างหม้อตีหม้อใช่ |
ตีฉาน แตกนา |
ตีแต่งเอางามงาน |
เมื่อค้า |
ดุจศิษย์กับอาจารย์ |
ตีสั่ง สอนแฮ |
ตีใช่ตีเสือกหน้า |
สู่เบื้องอบาย |
|
สำนวนเก่า |
ช่างหม้อดินดื่นปั้น |
ปวงภาชน์ |
หวังเฉิดใช่จักมาด |
มุ่งร้าว |
ครูสอนใคร่ศิษย์ผาด |
ผุดเฟื่อง ฟูนา |
ใช่ชักจักให้ห้าว |
เหตุเบื้องอบาย |
|
สำนวนเก่า |
ช่างหม้อตีหม้อใช่ |
ตีฉาน แตกนา |
ตีแต่งเอางามงาน |
ชอบใช้ |
ดุจศิษย์กับอาจารย์ |
ตีสั่ง สอนแฮ |
ตีใช่ตีจักให้ |
สู่ห้องอบาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คุณแม่หนาหนักเพี้ยง |
พสุธา |
คุณบิดรดุจอา |
กาศกว้าง |
คุณพี่พ่างศิขรา |
เมรุมาศ |
คุณพระอาจารย์อ้าง |
อาจสู้สาคร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๒๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เมื่อร้อนนํ้าท่านให้ |
เย็นใจ |
เมื่อเยือกเย็นได้ไฟ |
อุ่นเนื้อ |
เมื่อทุกข์ท่านแก้ไข |
ชูช่วย |
เมื่อยากจนท่านเกื้อ |
ก่อให้ทุนทำ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๐. |
|
สุขํ รุกฺขสฺส ฉายาว |
ตโต ญาติ มาตาปิตุ |
ตโต อาจริโย รญฺโ |
ตโต พุทฺธสฺส เนกธา |
|
โลกนิติ |
เย็นกายรอบร่มไม้ |
ใบหนา |
เย็นญาติบิดุรมารดา |
กว่านั้น |
ร่มครูร่มพระยา |
เย็นยิ่ง ยิ่งพ่อ |
ร่มพระเจ้าจอมหั้น |
แห่งห้องนฤพาน |
|
สำนวนเก่า |
เย็นเงาพฤกษ์มิ่งไม้ |
สุขสบาย |
เย็นญาติทุกข์สำราย |
กว่าไม้ |
เย็นครูยิ่งพันฉาย |
กษัตริย์ยิ่ง ครูนา |
เย็นร่มพระเจ้าให้ |
ร่มฟ้าดินบน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทองกวาวหงอนไก่เส้ง |
สดสี |
งามแต่กลิ่นฤๅมี |
หนึ่งน้อย |
นักเรียนนอกบาลี |
ลบหลู่ ธรรมนา |
งามผาดผลเท่าก้อย |
กอบนั้นฤๅมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๒. |
|
น ปุปฺผคนฺโธ |
ปฏิวาตเมติ |
เอเตสํ คนฺธชาตานํ |
สีลคฺคนฺโธ อนุตฺตโร |
|
ธรรมบท |
หอมกลิ่นดอกไม้ที่ |
นับถือ |
หอมแต่ตามลมฤๅ |
กลับย้อน |
หอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ |
ศีลสัจ นี้นา |
หอมสุดหอมสะท้อน |
ทั่วใกล้ ไกลถึง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๓. |
|
มนสา เจ ปสนฺเนน |
ภาสติ วา กโรติ วา |
ตโต นํ สุขมเนฺวติ |
ฉายาว อนุปายินี ฯ |
มนสา เจ ปทุฏฺเน |
ภาสติ วา กโรติ วา |
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ |
จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ |
|
ธรรมบท |
ทำบุญบุญแต่งให้ |
เห็นผล |
คือดั่งเงาตามตน |
ติดแท้ |
ผู้ทำสิ่งอกุศล |
กรรมติด ตามนา |
ดุจจักรเกวียนเวียนแล้ |
ไล่ต้อนตีนโค |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๔. |
|
สุกรํ สาธุนา สาธุ |
สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ |
ปาปํ ปาเปน สุกรํ |
ปาปมริเยหิ ทุกฺกรํ |
|
ธรรมบท |
ใจบุญบุญนักรู้ |
เร็วทำ |
ใจบาปทำบาปกรรม |
ง่ายแท้ |
ใจบุญก่อบาปลำ - |
บากยาก จิตนา |
ใจบาปทำบุญแล้ |
ยิ่งนั้นแสนทวี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๕. |
|
ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน |
ยตฺถ กามานิปาติโน |
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ |
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ |
|
ธรรมบท |
ใจเร็วใจห้ามยาก |
ใจฉันท์ |
ใจเกิดอาทรพลัน |
เหี่ยวแท้ |
ใจสำเหนียกนึกธรรม์ |
หนาวหน่วง ใจนา |
ใจดั่งนี้เลิศแล้ |
ชีพม้วยเมื้อสวรรค์ |
|
สำนวนเก่า |
ใจเร็วใจห้ามยาก |
ใจฉันท์ |
ใจคิดอารมณ์พลัน |
เชี่ยวแท้ |
ใจใคร่สำเหนียกอัน |
ชอบใส่ ตัวนา |
ใจดั่งนี้ดีแล้ |
เลิศให้สุขเกษม |
|
สำนวนเก่า |
ใจเบาใจห้ามยาก |
ใจฉันท์ |
ใจเกิดเวราฉกรรจ์ |
กาจแท้ |
ใจใดคิดผ่อนผัน |
ชอบใส่ ตัวนา |
ใจดั่งนี้ยิ่งแล้ |
เลิศให้สุขเกษม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ศาสตร์ใดจะลํ้าเท่า |
ธรรมาน |
ทรัพย์สิ่งใดไกรท่าน |
ที่ให้ |
รักใดจักปูนปาน |
รักสัจ ศีลนา |
สุขสิ่งใดจักได้ |
สุขเพี้ยงนฤพาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๗. |
|
นตฺถิ สีตํ นตฺถิ อุณฺหํ |
นตฺถิ พฺยาธํ ปรปีฬิตํ |
นตฺถิ โสกํ มรณํ นตฺถิ |
นิพฺพานํ นาม อีทิสํ |
พ้นเย็นพ้นเดือดร้อน |
โรคา |
พ้นจากทุกขเวทนา |
โศกเศร้า |
พ้นตายแก่เกิดมา |
ในโลก |
สุขดั่งนี้พระเจ้า |
ว่าเนื้อนฤพาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มูลบาปคือโลภล้น |
แสวงหา |
สรรพรสเป็นมูลพา |
พยาธิ์ไซร้ |
มูลทุกข์เกิดเพราะรา - |
คาเกลศ |
มูลนิพพานนั้นได้ |
เพราะด้วยสัจจา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๓๙. |
|
อาปํ ปิวนฺติ โน นชฺชา |
รุกฺขา ขาทนฺติ โน ผลํ |
วสฺสนฺติ กจฺจิ โน เมฆา |
ปรตฺถาย สตํ ธนํ |
|
โลกนิติ |
คงคาหวงน้ำห่อน |
จักมี |
ไม้ห่อนหวงผลศรี |
สดไว้ |
หวงฝนฝ่ายเมฆี |
เห็นห่อน มีฮา |
ปราชญ์ห่อนหวงทรัพย์ได้ |
เด็ดด้วยทานทำ |
|
สำนวนเก่า |
น่านนํ้าฤๅห่อนกลํ้า |
กลืนชล เองแฮ |
พฤกษชาติห่อนหวงผล |
เสพสร้อง |
จอมเมฆไป่หวงฝน |
ภักษ์เสพ เสียนา |
ปราชญห่อนหวงทรัพย์ป้อง |
เปิดให้เป็นทาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อุบลอุบัติเบื้อง |
เปือกตม |
แก้วเกิดแต่ผานิยม |
ชอบใช้ |
ช้างเผือกเกิดในพนม |
ไพรพฤกษ์ |
ปราชญ์ประยูรยากไร้ |
ทั่วหน้านับถือ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๑. |
|
ชเวน อสฺสํ ชานนฺติ |
พลิพทฺธญฺจ วาหิเย |
ทุเหน ถญฺํ ชานนฺติ |
ภาสมาเนน ปณฺฑิตํ |
|
โลกนิติ |
รู้ดีอัสดรด้วย |
รณแรง รวดแฮ |
รู้ว่าโคงานแข็ง |
เมื่อใช้ |
โคนมเกษียรแสดง |
ดีเมื่อ รูดนา |
รู้ว่าปราชญ์ปรีชาไสั |
เมื่อถ้อยคำขาน |
|
สำนวนเก่า |
รู้เร็วม้ามิ่งด้วย |
ควบขับ |
โคเข็นภาระรับ |
รวดเร็ว |
โคนมน่านนมจับ |
รสก่อน รู้แฮ |
ถ้อยกล่าวจริงรู้ผู้ |
ปราชญ์เชื้อปรีชา |
|
สำนวนเก่า |
รู้ดีดุรงค์ด้วย |
รณแรง รวดแฮ |
รู้ว่าโคงานแข็ง |
เมื่อใช้ |
โคนมเกษียรแสดง |
ดีเมื่อ รูดนา |
รู้ว่าปราชญ์เปรื่องไซร้ |
เมื่อถ้อยคำแถลง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นกแสกสกุณโทษเค้า |
กู่กา |
ทิ้งทูดอูฐอีกลา |
ล่อร้อง |
เสียงประทุษฐภาษา |
หีนโหด |
ฟังบ่เพราะหูพร้อง |
ดุจถ้อยทรชน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แขกเต้าดุเหว่าแก้ว |
โกญจา |
หงส์วิหคมยุรา |
ร่ำร้อง |
เฉกนรชาติวาจา |
เอมโอช |
ฟังเสนาะเพราะพร้อง |
มฤธุถ้อยวาที |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
สกุณกากระเหว่าไซร้ |
เหมือนกัน |
ไข่ต่อไข่สำคัญ |
เท่าแท้ |
ออกลูกจึ่งแปรผัน |
ตามเพศ |
กากระเหว่านั้นแล้ |
ทั่วผู้เล็งเห็น |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นกแร้งแรงร่อนได้ |
พอเพียง ปีกนา |
บินบ่สูงแข่งเคียง |
ครุฑได้ |
แม่น้ำนทีเรียง |
รายทั่ว ทวีปแฮ |
ลึกเท่าลึกนั้นไซร้ |
สุดสู้สาคร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๖. |
|
ตฺรีนิ รตนานิ สตฺตานิ |
สมฺรโห นิหคฺคเล |
วิหฺยธานฺยสุมิตฺตญฺจ |
สญฺจารยฺยเทวการเยตฺ |
ควรแสวงสี่สิ่งทั้ง |
มณีรัตน์ |
เป็นจำเริญศรีสวัสดิ์ |
เลิศล้วน |
ความรู้เมียมิตรสัจ |
ข้าวเปลือก มากนา |
อย่าสูญใจได้ถ้วน |
เท่านี้อย่าแคลน |
|
สำนวนเก่า |
ควรมีสามสิ่งเพี้ยง |
มณีรัตน์ |
เป็นที่เจริญศรีสวัสดิ์ |
กว่าแก้ว |
คือคุณมิตรรัตน์ |
ข้าวเปลือก |
ครั้นค่อยสนใจแล้ว |
เท่านี้ฤๅแคลน |
|
สำนวนเก่า |
ควรแสวงสี่สิ่งแท้ |
มณีรัตน์ |
พึงจักจำเริญสวัสดิ์ |
แว่นแก้ว |
ความรู้มิตรเมียสัจ |
ข้าวเปลือก มีนา |
อย่าเสียใจได้แล้ว |
เท่านี้ฤๅแคลน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๗. |
|
ขุทฺโทติ นาติมญฺเยฺย |
วิชฺชํ วา สิปฺปมถวา |
เอกมฺปิ ปริโยทตํ |
ชีวิตกปฺปการณํ |
|
โลกนิติ |
ศิลปศาสตร์ทุกสิ่งล้วน |
แสดงผล |
คิดอย่าคิดเกลียดกล |
ว่าน้อย |
สิ่งเดียวฝึกฝนจน |
สันทัด |
อาจช่วยชีพชั่วร้อย |
ปีเลี้ยงอาตมา |
|
สำนวนเก่า |
อย่าหมิ่นศิลปว่าน้อย |
นักฮา |
ศิลปสิ่งสรรพวิชา |
ชอบแล้ว |
เดียวใดชำนาญอา |
อาจช่วย ตนแฮ |
เลี้ยงชีพชูเกียรติ์แผ้ว |
ผ่องด้วยผดุงผล |
|
สำนวนเก่า |
วิชาควรรักรู้ |
ฤขาด |
อย่าหมิ่นศิลปศาสตร์ |
ว่าน้อย |
รู้จริงสิ่งเดียวอาจ |
มีมั่ง |
เลี้ยงชี้พช้าอยู่ร้อย |
ชั่วลื้อเหลนหลาน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พายเถิดพ่ออย่ารั้ง |
รอพาย |
จวนตะวันจักสาย |
ส่องฟ้า |
ของสดสิ่งควรขาย |
จักขาด ค่าแฮ |
ตระลาดเลิกแล้วอ้า |
บ่นอื้อเอาใคร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๔๙. |
|
สินฺเน สิปฺปํ สินฺเน ธนํ |
สินฺเน ปพฺพตมารุยฺหํ |
สินฺเน กามสฺส โกธสฺส |
อิเม ปญฺจ สินฺเน สินฺเน |
|
โลกนิติ |
เรียนศิลปศาสตร์แสวงทรัพย์ด้อม |
เดินไศล |
สามสิ่งอย่าใจไว |
ชอบช้า |
กามเสพก็ดีไข |
ดาลโกรธ ก็ดี |
สองประการนี้ถ้า |
ผ่อนน้อยเป็นคุณ |
|
สำนวนเก่า |
เรียนศิลปแสวงทรัพย์ช้า |
ชมผล |
ไศลลาดค่อยทรงตน |
ไต่เต้า |
กามเสพอย่าแรงรน |
ราญโกรธ ช้าพ่อ |
ห้าสิ่งใดหยุดเย้า |
ยิ่งช้าเฉลิมคุณ |
|
สำนวนเก่า |
เรียนศิลปแสวงทรัพย์ด้อม |
เดินไศล |
สามสิ่งอย่าเร็วไว |
ชอบช้า |
เสพกามหนึ่งคือใจ |
มักโกรธ |
สองประการนี้ถ้า |
ผ่อนน้อยเป็นคุณ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มักได้ให้คิดได้ |
สองสถาน |
ได้ชั่วนี้ได้การ |
ชั่วหน้า |
ให้ได้สะดวกดาล |
โดยชอบ |
ได้ดั่งนี้เอกอ้า |
อิ่มน้ำใจตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทรัพย์มีสี่ส่วนไซร้ |
ปูนปัน |
ภาคหนึ่งพึงเกียจกัน |
เก็บไว้ |
สองส่วนเบ็ดเสร็จสรรพ์ |
การกิจ ใช้นา |
ยังอีกส่วนควรให้ |
จ่ายเลี้ยงตัวตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๒. |
|
รูปโยพฺพนสมฺปนฺนา |
วิสาลกุลสมฺภวา |
วิชฺชา หีนา น โสภนฺติ |
นิคนฺธา อิว กึสุกา |
|
โลกนิติ |
เยาวรูปหนุ่มเน่าเนื้อ |
ในวงศ์ ตระกูลแฮ |
แม้ปราศวิทยาทรง |
เสื่อมเศร้า |
ดุจดวงทองกวาวดง |
แดงป่า |
เสียกลิ่นรินรสเร้า |
ดั่งนี้ใครชม |
|
สำนวนเก่า |
หนุ่มแน่งทรงทรวดพริ้ง |
เพราะอาตม์ |
สูงศักดิ์ตระกูลชาติ |
แช่มหน้า |
บ่รู้ศิลปศาสตร์ |
ดูไป่ งามพ่อ |
ดุจดอกทองกวาวจ้า |
แจ่มไร้รสหอม |
|
สำนวนเก่า |
เยาวรูปเหน้าหนุ่มเนื้อ |
ในวงศ์ ตระกูลแฮ |
แม้ปราศวิทยาทรง |
เสื่อมเศร้า |
ทองกวาวดอกดาษดง |
แดงป่า |
เสียกลิ่นรินรสเร้า |
ดั่งนี้ใครชม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๓. |
|
อลสสฺส กุโต สิปฺปํ |
อสิปฺปสฺส กุโต ธนํ |
อมิตฺตสฺส กุโต สุขํ |
อสุขสฺส กุโต ปุญฺํ |
|
โลกนิติ |
คร้านครอบใดจักได้ |
เสพศิลป์ |
แม้น บ่ มีศิลป์ฉินท์ |
ทรัพย์ไซร้ |
เสื่อมทรัพย์คำ บ่ ยิน |
เยียมิตร ไฉนพ่อ |
เดียวเด็ดปองไป่ได้ |
สุขสร้องสุดแสวง |
|
สำนวนเก่า |
มักคร้านฤๅรอบรู้ |
วิทยา |
ศิลปศาสตร์เสื่อมสินหา |
ไป่ได้ |
ไร้ทรัพย์อับผู้มา |
เป็นเพื่อน |
เว้นจากมิตรนั้นไซร้ |
สุขร้างแรมโรย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๔. |
|
อสาทุํ ยทิวา สาทุํ |
อปฺปํ วา ยทิวา พหุํ |
วิสฺสฏฺโ ยตฺถ ภุญฺเชยฺย |
วิสฺสาสปรมา รสา |
คุ้นเคยคนคบค้า |
มานาน |
คดแต่ข้าวแกงจาน |
ส่งให้ |
มีรสรสใดปาน |
เพราะรัก นั้นนา |
ขมขื่นกลืนคล่องได้ |
ยิ่งชิ้นปลาดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คราวดีมีเพื่อนพ้อง |
พรูตาม |
ยืนนั่งไต่ตอมถาม |
ถี่ถ้อย |
คราวทุกข์ฉุกเฉินความ |
มีโทษ |
เพื่อนเล่นเจรจาน้อย |
หนึ่งนั้นฤๅมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนใดเดิมแม้นว่า |
เวรกับ ตนนา |
หลายคาบแค้นเคี่ยวขับ |
คิดร้าย |
ภายหลังมาตรมันกลับ |
เป็นมิตร ก็ดี |
จงประหยัดอย่าหง้าย |
ค่ำเช้าคอยเชิง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๗. |
|
น หิ เวเรน เวรานิ |
สมฺนนฺตีธ กุทาจนํ |
อเวเรน จ สมฺมนฺติ |
เอส ธมฺโม สนนฺตโน |
|
ธรรมบท |
นํ้าเหม็นมล้างสิ่งเหน้า |
ไฉนหยุด |
มล้างอุทกบริสุทธิ์ |
เสื่อมร้าย |
คนเวรต่อเวรประทุษฐ์ |
ทวีโทษ |
เอาอเวรระงับหง้าย |
อาจสิ้นสูญเวร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ซ่อนเงื่อนงำนํ้าขุ่น |
ขังใน |
ภายนอกทำแจ่มใส |
สดหน้า |
ดุจหินบ่เห็นไฟ |
ฝังอยู่ |
ต่อประหารจึ่งจ้า |
จับไหม้เป็นจุณ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๕๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
จักทำโทษแก่ผู้ |
ผิดฉกรรจ์ นั้นนา |
ใจจุ่งเมตตามัน |
มากไว้ |
ให้คิดจิตสำคัญ |
เขาโหด |
ความคิดน้อยจึ่งได้ |
อยู่เงื้อมมือตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ตัดต้นก่นรากแล้ว |
ปลูกแปลง |
หนามหั่นห่อนไว้แขนง |
หน่อเนื้อ |
เพลิงพิษนิดหนึ่งแรง |
เรืองโรจน์ |
ดับแต่ดุ้นไว้เชื้อ |
นิ่งช้าเพลิงโพลง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คว่างพิษบ่คว่างพ้น |
พันแขน ตนนา |
ไปสบพบรังแตน |
แหย่เย้า |
ร่ายมนตร์ปลุกเสือแสน |
องอาจ |
ไม้ซั่นรันสิ่งเหน้า |
แน่ต้องตนเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ลูกเมียเหมือนผ้าโอ่ |
อัตรา |
ขาดฉีกชั่วแล้วหา |
ใหม่ได้ |
พี่น้องเฉกเช่นขา |
แขนติด ตนแฮ |
ขาดประจาคจักให้ |
ต่อเข้าฤๅคืน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีบุตรบ่ ได้ดั่ง |
ตีนมือ |
คุณแห่งไม้เท้าถือ |
เลิศแท้ |
ทางเมื้อเผื่อพบคือ |
สิงห์สัตว์ ก็ดี |
ไม้ประเสริฐเลิศแล้ |
อาจคุ้มกันภัย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ธรรมดาผลม่วงไม้ |
ตระการ |
เมื่ออ่อนรสเผือดพาน |
ยากเคี้ยว |
ครั้นสุกรสสวายหวาน |
เอมโอช |
หมากม่วงนั้นฤๅเปรี้ยว |
เปรียบด้วยหมากขาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๕. |
|
กลฺยาณมิตฺตํ กนฺตารํ |
ยุทฺธํ สภาย ภาสิตุํ |
อสตฺถา อคนฺตุมิจฺฉนฺติ |
มุเฬฺหเต จตุโร ชนา |
บุรุษสุดไร้รัก |
เมียงาม ชอบฤๅ |
ไร้เพื่อนไปไกลคาม |
เขตบ้าน |
มือเปล่าสู่สงคราม |
ยงยุทธ ไฉนนา |
รู้ ไป่ทันแก่ก้าน |
กล่าวถ้อยกลางสนาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๖. |
|
วินา สตฺถํ น คจฺเฉยฺย |
สูโร สงฺคามภูติยํ |
ปณฺฑิตวทฺธคู วาณิโช |
วิเทสคมโน ตถา |
โยธาทิ้งสาตร์สู้ |
สงคราม ชอบฤๅ |
ปราชญ์มละคัมภีร์ความ |
อย่าพร้อง |
เดินหนเพื่อนบ่ตาม |
อย่าไต่ ทางแฮ |
พาณิชเสียพวกพ้อง |
ต่างด้าวเดินไฉน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รักเจ้าจงรักให้ |
เป็นยุติ ธรรมนา |
ท่านเคียดอย่าควรประทุษฐ์ |
เท่าเผ้า |
จงมีภักดีดุจ |
โสนัข นั้นนา |
มันบ่จืดจากเจ้า |
จิตนั้นคงตรง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อาสาเจ้าต่อต้าน |
ตัวตาย |
ขันรับอาสานาย |
หย่อนนั้น |
อาสาศึกแม่ยาย |
อย่าย่อ ท้อนา |
สามสิ่งแท้ถือหมั้น |
ชั่วฟ้าดินชม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๖๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อาสาศึกสู้ไป่ |
เสร็จงาน |
ตนจักตายเอาอาน |
ปิดไว้ |
จึ่งนับว่าเป็นทหาร |
หายาก |
ฉลองพระคุณเจ้าไท้ |
ท่านเลี้ยงบำรุง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เจ้านายใช้ชุบเลี้ยง |
คนขาม |
สินทรัพย์เมียมิ่งงาม |
ง่ายได้ |
บ่าวไพร่พรั่งพรูตาม |
ไหลหลั่ง มานา |
สมบัติบุญส่งให้ |
แปลกหน้าตาเติม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๑. |
|
อเห อมิตฺตํ ขนฺเธน |
ยาวกาลํ อนาคตํ |
ตเมว อนาคเต กาเล |
สิลาย ภินฺเท ฆฏํว |
หมั่นลอดสอดสืบถ้อย |
เวรี |
ไป่ชอบท่าทำดี |
นิ่งไว้ |
คาบใดชอบเชิงที |
หาญหัก |
ต่อยดั่งต่อยม่อให้ |
แตกด้วยศิลา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ยศศักดิ์จักเกิดด้วย |
บุญทำ |
ภัยเกิดเพื่อผลกรรม |
ก่อนให้ |
ติเตียนแลจองจำ |
กรรมก่อน เองนา |
ใครจักเว้นแวะได้ |
ทั่วท้องโลกา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
กฤตยามนตร์เคราะห์ให้ |
เห็นผล |
ทำสิ่งใดลุดล |
สิ่งนั้น |
ครั้นบุญแห่งบุคคล |
จักถ่อย แล้วนา |
มนตร์กฤตยานั้นซั้น |
เสื่อมสิ้นทุกวัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๔. |
|
หีนปุตฺโต ราชามจฺโจ |
พาลปุตฺโต จ ปณฺฑิโต |
อธนสฺส ธนํ พหุ |
ปุริสา นาวมญฺิตฺถ |
เชื้อไพร่บุญปลุกขึ้น |
เป็นนาย |
พาลบุตรรู้มลักหลาย |
เลิศผู้ |
โหดไร้พร่ำขวนขวาย |
ทรัพย์มั่ง มีแฮ |
สามเหล่านี้พึงรู้ |
อย่าได้ดูเบา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๕. |
|
ชลปฺปมาณํ กุมุทมาลํ |
กุลุปฺปมาณํ วินโย ปธานํ |
พฺยตฺติปฺปมาณํ กถิตวากฺยํ |
ปวิปฺปมาณํ ติณมิลาตํ |
|
โลกนิติ |
นํ้าบัวบอกลึกตื้น |
ชลธาร เที่ยงแฮ |
มารยาทส่อสันดาน |
ชาติเชื้อ |
โฉดฉลาดฟังคำขาน |
บอกแน่ |
หญ้าเขียวเหี่ยวแห้งเรื้อ |
บอกร้ายดีดิน |
|
สำนวนเก่า |
ประมาณชลชอบชั่วก้าน |
โกมุท |
มารยาทกอบกุลบุตร |
บอกแจ้ง |
วาจาตอบต่อยุทธ |
ยกโฉด ฉลาดแฮ |
หญ้าชุ่มชื่นเหี่ยวแห้ง |
ชั่วชี้ดีดิน |
|
สำนวนเก่า |
ก้านบัวบอกลึกตื้น |
ชลธาร |
มารยาทส่อสันดาน |
ชาติเชื้อ |
โฉดฉลาดเพราะคำขาน |
ควรทราบ |
หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ |
บอกร้ายแสลงดิน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทรัพย์มากหากถ่อยแท้ |
วาจา |
ชนไป่ชอบหูตา |
ติดต้อง |
น้อยทรัพย์อับยศถา |
ทรามรูป |
แต่เพราะถ้อยคำพร้อง |
เพริศสิ้นทั้งมวล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๗. |
|
ธนมปฺปมฺปิ สาธูนํ |
ถูเป วาริว นิสฺสโย |
ทุเหน ถญฺํ ชานนฺติ |
ภาสมาเนน ปณฺฑิตํ |
|
โลกนิติ |
ทรัพย์สินบุรุษน้อย |
หนึ่งมี |
สัตว์พึ่งดุจวารี |
บ่อน้อย |
มีมั่งคั่งโภคี |
พาลพวก นั้นนา |
จักพึ่งฤๅเท่าก้อย |
ดุจนํ้าในชเล |
|
สำนวนเก่า |
น้อยทรัพย์สัปบุรุษได้ |
โดยมี |
พอพึ่งดุจวารี |
บ่อน้อย |
สินทรัพย์พวกพาลมี |
มากเปล่า อยู่แฮ |
ถ้อยกล่าวจริงรู้ผู้ |
ปราชญ์เชื้อปรีชา |
|
สำนวนเก่า |
มีสินทรัพย์น้อยหลั่ง |
ไหลริน |
คือบ่อน้อยนรกิน |
อาบได้ |
ทรัพย์มากหมู่ทมิฬ |
มีมั่ง ก็ดี |
คือสมุทรฤๅให้ |
ท่วยอ้างอาศัย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แม้โฉมเฉิดเฉกไท้ |
เทพา |
อีกอิสริยะยศถา |
กอบด้วย |
บุรุษถ่อยทุษฐวา - |
จาพากย์ |
นับว่าผู้นั้นม้วย |
หมดสิ้นสิ่งงาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๗๙. |
|
สาสปสฺส ปริตฺตสฺส |
โยชนสฺส นิสีทยติ |
ธเนน ธนสํยุตฺเต |
ทุเร ปสฺสนฺติ เต ชนา |
สินน้อยพ่างเพี้ยงผัก |
กาดผง |
ไกลโยชน์นับไกลคง |
กีดกั้น |
ครั้นมีสิ่งสินยง |
ยศยิ่ง |
ไกลเท่าไกลผู้นั้น |
อาจให้คนเห็น |
|
สำนวนเก่า |
แม้นตนตัวเล็กเพี้ยง |
ผุยผง |
ไกลนับโยชน์ดอนดง |
อยู่นั้น |
คั่งคับทรัพย์สินพงศ์ |
พันธุ์ถ่อย ก็ดี |
สุดขอบฟ้าเขียวขั้น |
ทั่วแท้เล็งเห็น |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๐. |
|
คิริ มหนฺติโยปิ โข |
สตฺตตาลมเห ตเล |
สูรยจนฺทกุเล ชาเต |
นฤทฺธนสฺส น ปสฺสติ |
แม้มีตัวใหญ่เพี้ยง |
ภูผา |
สูงเจ็ดลำตาลสา - |
มารถแท้ |
พงศ์พันธุ์เผ่าจันทรา |
สุริเยศ ก็ดี |
ครั้นว่าไร้ทรัพย์แล้ |
ทั่วหล้าฤๅเห็น |
|
สำนวนเก่า |
มีตนเติบเพี้ยงภู่ - |
เขาปาน |
สูงโสดเจ็ดลำตาล |
เปรียบได้ |
สุริยจันทร์สืบสันดาน |
โดยกล่าว |
สิ้นสิ่งสินตกไร้ |
ร่อหน้าฤๅเห็น |
|
สำนวนเก่า |
แม้ตนโตเติบเพี้ยง |
เขาเขิน |
สูงเจ็ดลำตาลเกิน |
กึ่งฟ้า |
ไร้ทรัพย์ดับเผอิญ |
แลเล็ก ลงแฮ |
ดั่งปลวกเตี้ยต่ำช้า |
ชวดผู้เล็งเห็น |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ตนน้อยแลใฝ่ให้ |
เกินศักดิ์ |
ว่าตระกูลใหญ่นัก |
แทบไท้ |
คือแมลงเม่ามันมัก |
บินวู่ วามนา |
โถมถาบฉาบเพลิงไหม้ |
มอดม้วยตัวเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ดักขลาแล้วไป่ขึ้น |
คอยขลา |
เบ็ดบ่เกี่ยวเหยื่อรา |
ล่อไว้ |
ไปสอดสบเสือมา |
หมายเก่ง ได้ฤๅ |
ปลาต่อผุดโพล่งใกล้ |
เกี่ยวทิ้งฤๅทัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า |
มาถนอม |
สูงสุดมือมักตรอม |
อกไข้ |
เด็ดแต่ดอกพยอม |
ยามยาก ชมนา |
สูงก็สอยด้วยไม้ |
อาจเอื้อมเอาถึง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เจียมใดจักเท่าด้วย |
เจียมตัว |
รู้เท่าท่านทำกลัว |
ซ่อนไว้ |
อย่ามึนมืดเมามัว |
โมหะ |
สูงนักมักเหมือนไม้ |
หักด้วยลมแรง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ถึงจนทนสู้กัด |
กินเกลือ |
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ |
พวกพ้อง |
อดหยากเยี่ยงอย่างเสือ |
สงวนศักดิ์ |
โซก็เสาะใส่ท้อง |
จับเนื้อกินเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๖. |
|
สีโห นาม ชิฆจฺฉาปิ |
ปณฺณาทีนิ น ขาทติ |
สีโห นาม กีโส จาปิ |
นาคมํสํ น ขาทติ |
|
โลกนิติ |
ไกรสรมาตรแม้อยาก |
อาหาร |
ฟางหญ้าใบไม้ตาล |
ไป่ต้อง |
ซูบกายกำลังราญ |
โรยร่วง |
เนื้อช้างไป่ปองสร้อง |
แต่เบื้องบรรพมา |
|
สำนวนเก่า |
ไกรสรแสบท้องแทบ |
เสียชี วิตแฮ |
บ่ ภักษ์ผลไม้มี |
ป่ากว้าง |
ไกรสรซูบอินทรีย์ |
สมเพช ก็ดี |
บ่ ภักษ์รสเนื้อช้าง |
ดั่งนี้ธรรมดา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ใบบัวฝนตกนํ้า |
ขาดขัง |
ลูกข่างวางบนหลัง |
มิ่งม้า |
เสาหลักปักอยู่ยัง |
กองแกลบ นาพ่อ |
คนบ่แม่นถ้อยอ้า |
พูดแล้วโอนเอน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
กล่าวภัยในนํ้าแก่ |
มังกร |
แสดงพิลึกดงดอน |
อวดช้าง |
เอาพร้าวใส่เรือคอน |
ขายพวก สวนแฮ |
ยกศัพท์แปลอรรถอ้าง |
อวดผู้เพียรเรียน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๘๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เอาน้ำขู่จระเข้ |
ขันเหลือ |
เอาป่าไปข่มเสือ |
ขู่คู้ |
เอาหมากแล่นลงเรือ |
ไปจ่าย สวนแฮ |
เอากาพย์โคลงกระทู้ |
เที่ยวอ้างอวดกระวี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
กล่าวจริงบ่พริ้งเพราะ |
โสตสดับ |
เอาเท็จปนคนนับ |
เนตรหน้า |
ไม้เหลี่ยมเยี่ยงอย่างกลับ |
ตัวยาก |
กลมกล่อมสิบอ้อมอ้า |
อาจกลิ้งพลันทัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ท่ามกลางกล่าวถ้อยแต่ |
พอควร |
เห็นท่านสรวลอย่าสรวล |
ตอบเต้า |
ใช้คำแต่นํ้านวล |
นฤโทษ |
เห็นท่านเศร้าทำเศร้า |
โศกหน้าตาตาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เล่าเดื่อมีดอกให้ |
พึงฟัง |
เล่าว่ากาขาวยัง |
เชื่อได้ |
ริ้นเทียมเท่าเขาหวัง |
ฟังเถิด นะพ่อ |
เล่าว่าหญิงจริงไซร้ |
อย่าได้ควรฟัง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อย่าขุดขอดท่านด้วย |
วาจา |
อย่าถากท่านด้วยตา |
ติค้อน |
ฟังคำกล่าวมฤษา |
โสตหนึ่ง นะพ่อ |
หยิบ บ่ ศัพท์กลับย้อน |
โทษให้กับตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อย่าชักนํ้าน่านเข้า |
คลองคู |
อย่าแนะเศิกศัตรู |
สู่เหย้า |
ไฟในอย่าเชิดชู |
นำออก |
ไฟนอกอย่านำเข้า |
หม่นไหม้มัวหมอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนโลภฤๅห่อนได้ |
ครองศิล |
คนมักมัจฉะมังส์กัน |
บาปสู้ |
มักเมาฤๅห่อนยิน |
คำเที่ยง |
คนมักมากเล่นชู้ |
ห่อนรู้ความตาย |
|
สำนวนเก่า |
โลภทรัพย์ครองห่อนได้ |
โดยถวิล |
คนมักมังสากิน |
บาปสู้ |
มักเมาเล่าฤๅยิน |
ดีสัจ ศีลนา |
คนมักมากเล่นชู้ |
ห่อนรู้กลัวอาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เกิดตระกูลมูลมากทั้ง |
เงินทอง |
ทรัพย์ท่านนึกตรึกปอง |
ใคร่ได้ |
ทรัพย์ตนไป่ครอบครอง |
แจกจ่าย เสียแฮ |
จักฉิบหายวายไร้ |
เร่งไร้เร็วพลัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๗. |
|
ผลํ เว กทสึ หนฺติ |
เวฬุํ หนฺตํ ผลํ นฬํ |
ลาโภ ตํ กาปุริสํ หนฺติ |
อิธ โลเก ปรตฺเถ วา |
ขันขนขุยฆ่าไม้ |
หนามมี |
คิดพ่างผลกทลี |
ฆ่ากล้วย |
ลูกม้าฆ่าชนนี |
ลาเกิด ตนนา |
ลาภฆ่าคนโลภม้วย |
ดุจไม้มีหนาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ |
มังสา |
นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา |
ไป่อ้วน |
สองสามสี่นายมา |
กำกับ กันแฮ |
บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน |
บาทสิ้นเสือตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๒๙๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
กานํ้าดำดิ่งด้น |
เอาปลา |
กาบกคิดใคร่หา |
เสพบ้าง |
ลงดำส่ำมัจฉา |
ชลชาติ |
สวะปะคอค้าง |
ครึ่งนํ้าจำตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หยกหยกนกได้ไม่ |
พอแกง |
กินบ่เกิดเป็นแรง |
เรี่ยวได้ |
หง่อยหง่อยคอยจัดแจง |
ตามติด ไปนา |
พร้าเหน็บเก็บได้ใช้ |
เชือดชิ้นกินพอ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนมีมักเหี่ยวแห้ง |
หวงแหน |
กินอยู่สู้ขาดแคลน |
พร่องท้อง |
คนกากยากไร้แกน |
โกยกอบ กินแฮ |
เป็นวิบัติขัดข้อง |
คิดแล้วหลากเหลือ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๒. |
|
อจิรํ วตยํ กาโย |
ปวึ อธิเสสฺสติ |
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺาโณ |
นิรตฺถํว กลิงฺครํ |
|
ธรรมบท |
ไม้ตรงคดชอบใช้ |
โดยปอง |
เศษเล็กเลื่อยเขียงรอง |
ตั่งได้ |
โดยต่ำแต่สะเก็ดกอง |
สุมใส่ เพลิงนา |
กายบ่ต้องการใช้ |
ชั่วแท้ถมดิน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รูปชายหญิงทั่วท้อง |
ธาตรี |
เป็นภักษ์แก่เดือนปี |
สุดสิ้น |
อัฐิถมทั่วปถพี |
รายเรี่ย |
ประเทศเท่าปีกริ้น |
ร่างพ้นฤๅมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เวฬุลัดหน่อขึ้น |
ลำหลาย |
สาหัสตัดแทงปลาย |
หน่อน้อย |
ลำใหญ่รุ่นรอนราย |
ฤๅว่าง เว้นแฮ |
ดั่งแก่หนุ่มเด็กจ้อย |
จักพ้นตายไฉน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
โคควายวายชีพได้ |
เขาหนัง |
เป็นสิ่งเป็นอันยัง |
อยู่ไซร้ |
คนเด็ดดับสูญสัง |
ขารร่าง |
เป็นชื่อเป็นเสียงได้ |
แต่ร้ายกับดี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๖. |
|
สริรสฺส อสารสฺส |
วาจา สารสฺส เทหนามฺ |
วาจา จ กลิโน เจว |
สริรมฺปิ ปฺรโยชนมฺ |
ร่างมนุษย์นี้ บ่ |
เป็นการ |
คำกล่าวเป็นแก่นสาร |
เลิศแล้ว |
ครั้นคำสิ่งสามาญ |
มีเล่า |
ร่างก็เร่งคลาแคล้ว |
ฝ่ายข้างความดี |
|
สำนวนเก่า |
ร่างกายมนุษย์นี้ ไป่ |
เป็นการ |
คำกล่าวเป็นแก่นสาร |
เลิศแล้ว |
เลื่องลือชื่อเชิดนาน |
ดีชั่ว |
โอ้ร่างตายแล้วแคล้ว |
คลาดสิ้นเสร็จสูญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ฝนแล้งรุกขชาติเศร้า |
โศกสลด |
ฝนชุ่มเชยใบสด |
ส่างเศร้า |
ไม้ล้มเพื่อลมกรด |
ตรงฟัด |
ตายแต่ยังหนุ่มเหน้า |
แน่แท้กรรมหลัง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พฤกษ์ใดสล้างลูก |
เหลือหลาย |
ฝูงวิหคกลุ้มกราย |
แกล่ใกล้ |
ยามผลหล่นกระจาย |
กำจัด |
นก บ่ มาจับไม้ |
ที่ต้นสักตัว |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๐๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นกเพลินพึ่งพุ่มไม้ |
ใบบัง |
ปลาย่อมยินดียัง |
ย่านกว้าง |
จระเข้คิดแสวงวัง |
เย็นชื่น |
นํ้าจิตคน บ่ ร้าง |
ร่มเกล้าโพธิ์ทอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หนูครวญใคร่พ้นจั่น |
จำไกล |
นกก็เหนื่อยหน่ายใจ |
จากแร้ว |
มัจฉาชาติกลัวภัย |
เพียรหน่าย แหแฮ |
คนผิดคิดใคร่แคล้ว |
คลาดพ้นเขาขัง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พฤกษ์ผลต้นดกเบื้อง |
ปลายวาย |
อ้อยกัดต้นสืบปลาย |
สุดพ้น |
การกิจคิดสบาย |
ภายภาค หน้านา |
ดั่งกัดปลายสืบต้น |
รสอ้อยเอมใจ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ป่าป่งดงไซร้ใคร่ |
ยินดี |
บ้านถิ่นทิ้งทอดหนี |
เริศร้าง |
สัตว์ไพรใคร่เปรมปรีดิ์ |
นคเรศ |
เป็นพิกลยลอ้าง |
ดั่งนี้ดูฉงน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๓. |
|
ยํ อุสฺสุกฺกา สงฺฆรนฺติ |
อลกฺขิกา พหู ธนํ |
สิปฺปวนฺโต อสิปฺปา วา |
ลกฺขีว ตานิ ภุญฺชติ |
มีศิลปศาสตร์รู้ |
ใดใด ก็ดี |
บุญ บ่ ทำไว้ใน |
ชาติกี้ |
ได้สมสิ่งพึงใจ |
จักเสพ |
สมบัติย่อมหลีกลี้ |
เพิ่มผู้มีบุญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ดวงเดือนดาว บ่ ห้อม |
เห็นงาม ฤๅพ่อ |
หงส์ บ่ มีหมู่ตาม |
แวดล้อม |
สาครขาดคลื่นทราม |
โสภาคย์ |
ราชจากขุนหอกห้อม |
แห่แล้วฤๅงาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๕. |
|
กีสา โสภาว ตาปสา |
ถูลา โสภา จตุปฺปทา |
ปุริสา จ วิชฺชา โสภา |
อิตฺถี โสภาว สามิกา |
|
โลกนิติ |
ผอมหิวกริศร่างเจ้า |
โยคี ก็ดี |
จตุบทสรรพางค์พี |
พ่วงเนื้อ |
ชายชาญวิทยามี |
รู้รอบ |
หญิงร่วมสามีเกื้อ |
สี่นี้ดูงาม |
|
สำนวนเก่า |
บรรพชิตกายซูบไซร้ |
ทรงงาม |
จตุบาทอ้วนรูปราม |
รักเลี้ยง |
ชายชาญวิชางาม |
เป็นสง่า |
หญิงสู่สามีเคี้ยง |
คู่ด้วยดูงาม |
|
สำนวนเก่า |
ฤๅษีโสภาคย์ด้วย |
ซูบทรง |
สัตว์สี่เท้างามยง |
ใหญ่อ้วน |
บุรุษรอบรู้คง |
งามเพื่อ รู้แฮ |
หญิงมักงามล้นล้วน |
เลิศด้วยสามี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
สูงสารสี่เท้าย่าง |
เหยียบยัน |
บางคาบเชี่ยวไปพลัน |
พลวกพลั้ง |
นักรู้ร่ำเรียนธรรม์ |
ถึงมาก ก็ดี |
กล่าวดั่งน้ำผลั้งผลั้ง |
พลาดถ้อยทางความ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เรือนเหย้าตนอยู่นั้น |
อย่าหมอง |
เรือนชะตาแผ่นทอง |
วาดไว้ |
เรือนผมอย่ายุ่งหยอง |
หวีหย่ง ไว้นา |
สามประการนึ้ให้ |
หมั่นสู้สงวนนาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ฆ่าความหมายแล่ล้ม |
ตัวแพง |
กลัวแต่เสียเครื่องแกง |
ห่อนได้ |
เฉกเช่นจักจัดแจง |
การใหญ่ เหย้าแฮ |
เกรงแต่มักหมดไม้ |
ห่อนได้เรือนงาม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๑๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
สู่เรือนท่านอย่าหนั้ง |
เนานาน |
พูดพลอดเพียงพอการ |
กลับเหย้า |
ขวนขวายกิจการงาน |
แห่งอาต มานา |
กลัวยากเข็ญเป็นเค้า |
ยากแล้วคนฉิน |
|
สำนวนเก่า |
ไป่เรือนท่านไซร้อย่า |
เนานาน |
พูดแต่พอควรการ |
กลับเหย้า |
ริร่ำเรียนการงาน |
เรือนอาต มานา |
ยากเท่ายากอย่าเศร้า |
เสื่อมสิ้นความเพียร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
สิกขาบทยิ่งลํ้า |
คัมภีร์ |
เป็นพิษแก่อลัชชี |
โฉดแท้ |
คุณธรรมสิ่งสรรพ์ดี |
ในโลก |
เป็นพิษแก่พาลแล้ |
ห่อนได้สดับจำ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เชียรโรคเป็นพิษด้วย |
อาหาร |
หญิงดรุณอันธพาล |
หนุ่มเหน้า |
เป็นพิษแก่พฤฒิการ |
บุรุษ |
ฤๅกล่อมกลมกันเข้า |
ดุจนํ้ากับเปรียง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อาหารเป็นที่ตั้ง |
เกิดแรง |
ปลูกพืชผักฟักแฟง |
พึ่งนํ้า |
แว่นกล้องส่องสำแดง |
อาโลก |
แม่ย่อมเป็นที่ล้ำ |
เลิศเลี้ยงบุตรตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อาหารเยียหยิบให้ |
กากิน ก่อนนา |
ดีบ่ดีดาลถวิล |
ลอบรู้ |
ครั้นแผ่นภพภูมินทร์ |
ยินโศลก สารนา |
แบ่งกึ่งเมืองให้ผู้ |
กล่าวเกลี้ยงบูชา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ล่อปลาเหยื่อชอบนํ้า |
ใจปลา |
ล่อท่วยโรคด้วยยา |
ยื่นให้ |
ล่อคชพวกพังพา |
เดินปก ไปแฮ |
ล่อชาติเชื้อไพร่ได้ |
แต่ด้วยของกิน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีม้าบ่ขี่ให้ |
อาจิณ พยศแฮ |
ปืนไป่ยิงมลทิน |
ท่วมกล้อง |
ข้าไทบ่ใช้ชิน |
มันมัก หน่ายนา |
เมียไม่หมั่นร่วมห้อง |
มักร้ายราคี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มีเรือรั่ววิดน้ำ |
ฤๅวาย |
มีเจ่งตาบอดพลาย |
ก่อมก้อ |
มีโคกระบือควาย |
ปละเปลี่ยว |
มีแต่เกวียนขาดล้อ |
ลากใช้ปางใด |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
สารซับมันร้ายขี่ |
ขาดขอ |
โคกระบือขาดปอ |
ป่านร้อย |
เรือค้าขาดสมอ |
จักทอด ไฉนนา |
ข้าทาสขาดนายน้อย |
หนึ่งปล้อนไปมา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แคะไค้ไปแค่นค้น |
ตีนงู |
แขวะควักดีที่หนู |
ยากได้ |
ริแระแกะก้ามปู |
หาเลือด |
แสวงสัตย์ยามยุทธไซร้ |
สี่นี้สุดแสวง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๒๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
จักเจียนจอมปลวกเตี้ย |
เติมภู เขาแฮ |
ตีแต่แล่เนื้อหนู |
เพิ่มช้าง |
เบียนเบียดเจียดพิษงู |
เพิ่มพิษ นาคนา |
อุตริรองน้ำค้าง |
ใส่น้ำสาคร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
จนไก่ใช้เป็ดแข้น |
ขันขาน |
นอกรีตมีดแทนขวาน |
ถากไม้ |
เคี้ยวอ้อต่างอ้อยหวาน |
เป็นรส ฤๅพ่อ |
ขาดขัดดอกไม้ใช้ |
ดอกหญ้ายามจน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นํ้าอ้อยหรือจักป้อง |
ปากมด |
เกลียงอ่อนห่อนโคลด |
ละไว้ |
นารีรูปช้อยชด |
แซะเฉียด ชายนา |
ใครจักนิ่งดูได้ |
ห่อนเว้นตัวตน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
โคแก่กัดหญ้าอ่อน |
กินใบ อ่อนนา |
แม่หญิงยินดีใน |
หนุ่มน้อย |
ฟันหักมักพึงใจ |
ของอ่อน |
บุรุษอายุร้อย |
รักชู้เมียสาว |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นารีฤๅอิ่มเล้า |
โลมชาย |
อรรณพนีจฤๅวาย |
อิ่มนํ้า |
ของทิพย์เทพห่อนหาย |
เอมอิ่ม |
มนุษย์สมบัติลํ้า |
เลิศท้าวใดลืม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เรือแพพึงขี่ข้าม |
คงคา |
ยาหยูกย่อมรักษา |
โรคไข้ |
อาวุธเหตุให้ปรา |
กฏแก่ ศึกแฮ |
มนตร์เวทวิเศษไซร้ |
ร่ายรู้ฤๅลืม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ลำลาดดาดด้วยเหล่า |
บุษบง กชแฮ |
แดนวนาดอนดง |
ดื่นไม้ |
หญิงอยู่สงัดคง |
เป็นเหตุ |
สามประการกล่าวไว้ |
เที่ยงแท้ธรรมดา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พราหมณ์พฤฒิเกลียดนํ้าย่อม |
เสียกิจ |
เมืองหวั่นประจามิตร |
แกว่นแกล้ว |
ชายใดมักให้สิทธิ์ |
แก่แม่ เรือนนา |
สามประการนี้แคล้ว |
คลาดผู้สรรเสริญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ตื่นนอนหน้าแช่มช้อย |
ชื่นบาน |
เจรจาโอษฐ์อ่อนหวาน |
เพราะพร้อง |
บังคับสรรพการงาน |
รอบคอบ |
เผื่อแผ่เผ่าพี่น้อง |
รักด้วยไมตรี |
|
สำนวนเก่า |
ตื่นนอนหน้าแช่มช้อย |
บัวบาน |
คำกล่าวฉํ่าเฉื่อยหวาน |
เพราะพร้อง |
เมื่อจักสั่งการงาน |
ดุจโกรธ |
สามประการนี้ต้อง |
ที่ไท้ชุบชู |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หวั่นหวั่นว่าวอยู่ใกล้ |
ลมกวน |
ผมกับหวียียวน |
หย่งเกล้า |
วัดชีชิดบ้านชวน |
ชีบาป |
สามประการนี้เย้า |
ยั่วแท้ธรรมเนียม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๓๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ชาวชเลฉลาดแล่นใช้ |
นาวา |
ชำนิชำนาญปลา |
ว่ายนํ้า |
ชาวดอนขี่ม้าขา |
เคยควบ กันแฮ |
เร็วดั่งลมพัดลํ้า |
ไล่เนื้อทันแทง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
แผ่นดินติณชาติไร้ |
ฤามี |
มีพฤกษ์มีปักษี |
จับไม้ |
นํ้ามีหมู่ปลาลี |
ลาหลีก ฤๅพ่อ |
มีทาสมีข้าวให้ |
เพื่อด้วยแรงมัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ไป่ถอยทวนส่องไซร้ |
สุริยา |
ไป่ถดถอยเจรจา |
ลั่นแล้ว |
ไป่คืนอีกคืออา |
ยุล่วง |
ไป่กลับคืนชีพแคล้ว |
รอดปิ้มปางตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๒. |
|
อุทฺเทติ ภาณุ ปจฺฉิเม |
เมรุราชาปิ นมติ |
สีตลํ ยทิ นิรยคฺคี |
ปพฺพตคฺเค จ อุปฺปลํ |
วิกเสน วิปริตํ |
สาธุวาจา กุทาจนํ |
|
โลกนิติ |
ปราจิณทิศเทียรภาษ |
กรอุทย์ |
เมรุวิจลฤทธิรุทร |
ดั่งน้ำ |
บรรพตกระหลับบุษบ์ |
บานแบ่ง |
คำสาธุชนนั้นลํ้า |
เลิศแล้พึงฟัง |
|
สำนวนเก่า |
บางอาทิตย์ขึ้นแจ่ม |
ตะวันตก |
เมรุอ่อนเพลิงนรก |
กลับเย้น |
ยอดผาอุบลดก |
บานดอก สลับแฮ |
อื่นกลับวากย์วางเส้น |
ปราชญ์ไว้หวังเฉลิม |
|
สำนวนเก่า |
บางคาบภาณุมาศขึ้น |
ทางลง ก็ดี |
บางคาบเมรุบ่ตรง |
อ่อนแอ้ |
ไฟยมดับเย็นบง |
กชงอก ผานา |
ยืนสัตย์สาธุชนแท้ |
ห่อนเพี้ยงสักปาง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ยอข้ายอเมื่อแล้ว |
การกิจ |
ยอยกครูยอสนิท |
ซึ่งหน้า |
ยอญาติประยูรมิตร |
เมื่อลับ หลังแฮ |
คนหยิ่งแบกยศร้า |
อย่ายั้งยอควร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
กลยอกันยากลํ้า |
เหลือใจ |
ยอค่อยหย่อนยอใคร |
ห่อนรู้ |
ยอย่อมเกิดลาภใน |
ตนอาต มานา |
ชอบเนตรชอบหน้าผู้ |
เพื่อรู้ยอคน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๕. |
|
ลุทฺทํ อตฺเถน คณฺเหยฺย |
ถทฺธํ อญฺชลิกมฺมุนา |
ฉนฺทานุวตฺติยา มุฬฺหํ |
ยถาภูเตน ปณฺฑิตํ |
จักเข้าหาบ้ายศ |
ยอตาม |
คนโลภคำนัลงาม |
ง่ายแท้ |
คนมักนักเลงกาม |
การเสน่ห์ ยอนา |
เข้าสู่หมู่ปราชญ์แปล้ |
ชอบถ้อยทางธรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คนใดใจหมั้นเล่ห์ |
เหล็กจาร |
จำจดสิ่งสามานย์ |
มั่นไซร้ |
อุตส่าห์พยาบาล |
บ่ละ ลืมนา |
จักเสร็จสมประโยชน์ได้ |
ที่แท้โดยเพียร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หัวล้านไป่รู้มัก |
มองกระจก |
ผอมฝิ่นไป่อยากยก |
ถอดเสื้อ |
นมยานไป่เปิดอก |
ออกที่ ประชุมนา |
คนบาปไป่เอื้อเฟื้อ |
สดับถ้อยธรรมกวี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ใครใดและอยู่เหย้า |
เคหะฐาน |
เว้นสุภาษิตสาร |
สวัสดิ์ล้ำ |
เจรจาบ่เป็นการ |
สูญเปล่า |
คือดั่งปากเว้นกลํ้า |
แกล่เหมี้ยงหมากพลู |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๔๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เรือนใดย่ำค่ำเช้า |
สนธยา |
ปราศจากไฟชวาลา |
มืดกลุ้ม |
เรือนนั้นดั่งมรณา |
นฤชีพ |
อันตรายจักหุ้ม |
ห่อนได้จำเริญ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เทศใดดอยไร้รวด |
อรัญ |
เห็นแต่จอมปลวกอัน |
หนึ่งน้อย |
ดุจเมืองไม่มีธรรม์ |
นักปราชญ์ |
ชมชื่นแต่แปลร้อย |
ว่ารู้สุดสูง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เป็นคนคิดแล้วจึ่ง |
เจรจา |
อย่ามลนหลับตา |
แต่ได้ |
เลือกสรรหมั่นปัญญา |
ตรองตรึก |
สติริรอบให้ |
ถูกแล้วจึงทำ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เป็นคนควรคิดกั้ง |
กันภัย |
ทรัพย์มากหมั่นระไว |
แวดล้อม |
เคลิ้มคลับหลับลืมไหล |
เป็นเหตุ |
รั้วมั่นกั้นห้องห้อม |
ห่อแก้วเงินทอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
น้อยทรัพย์อย่าก่อล้อ |
เลียนความ |
ให้นี่อย่าต่อตาม |
ตอบเต้า |
ผู้ใหญ่ย่อมเกรงขาม |
คารวะ |
รู้ประจบโลมเล้า |
เลือกใช้โดยควร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เข้าเถื่อนอย่าหมิ่นพร้า |
มีไป |
เข้าศึกอย่านอนใจ |
เฉื่อยช้า |
อาวุธอย่าวางไกล |
ขุกคํ่า คืนแฮ |
นอนแต่ยามหนึ่งอ้า |
อาจป้องภัยพาล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ดำชลเชือกยุดหมั้น |
อย่าคลาย |
คุณพระมั่นไม่ตาย |
ต่อสู้ |
ลูกขุนมั่นกฎหมาย |
เป็นแบบ |
สินทรัพย์ให้ท่านกู้ |
ยึดหมั้นมีกรรม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ดินฝั่งแยกอย่าได้ |
ยาเยียว |
ลมจัดประหยัดเลียว |
แล่นบ้าง |
ไฟแรงแล่งนํ้าเดียว |
ฤๅรด ดับนา |
นํ้าแก่งแรงเชี่ยวคว้าง |
อย่ารั้งเรือขวาง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เสน่หาอย่าปล่อยสิ้น |
สุดสัจ |
ยั้งยั้งฟังระหัส |
จึ่งพร้อง |
คนนิ่งจึ่งเอาอรรถ |
อันลับ แสดงนา |
คนกากปากเป็นฆ้อง |
อย่าใกล้กลัวมัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ที่สุขจักเสพไซร้ |
ควรถวิล |
เมียมิ่งยุอย่ายิน |
ที่ถ้อย |
อยากข้าวคดออกกิน |
เอมอิ่ม ใจนา |
นอนจุ่งนอนแต่น้อย |
เนิ่นช้าวันตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๕๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อย่าหมิ่นของเล็กนั้น |
สี่สถาน |
เล็กพริกพระกุมาร |
จีดจ้อย |
งูเล็กเท่าสายพาน |
พิษยิ่ง |
ไฟเล็กเท่าหิ่งห้อย |
อย่าได้ดูแคลน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
จักจับจับให้หมั้น |
กับตน |
อย่าเก็บความเท็จปน |
แอบอ้าง |
จักคั้นอย่าคืนคน |
ดูหมิ่น |
ควรที่ง้างจึงง้าง |
อย่าไง้เมรู |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ควรเร็วเร็วรวดได้ |
จึงดี |
การสิ่งใดได้ที |
อย่าช้า |
ควรคิดจิตอย่ามี |
ประมาท |
ได้สิบไม่เท่าค้า |
ขาดสิ้นทุนเดิม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
การกิจผิดนิ่งไว้ |
เป็นครู |
เมียชั่วอย่าเอาชู |
เชิดพร้อง |
คำผิดวิปริตหู |
หายซ่อน เสียนา |
คบมิตรผิดนั้นต้อง |
จดไว้ในทรวง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ปลูกไม้หมั่นรดน้ำ |
จำเริญ |
ดักลอบอย่าเหมิดเมิน |
มั่นกู้ |
เกี้ยวชู้ชอบเพียรเดิน |
สารสื่อ |
เรียนสิ่งใดใคร่รู้ |
เร่งให้มีเพียร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ปลูกผักปักยอดอ้อย |
เอาผล |
เลี้ยงลูกบ่าวชาวพล |
เพื่อใช้ |
แล้วนาอย่านิ่งทน |
ทำไร่ ด้วยแฮ |
เลี้ยงลูกเป็ดไก่ไซร้ |
อย่าได้เสียรัง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ถึงรู้อย่าอวดให้ |
คนหวัว |
ฟ้าคะนองต้องคร้ามกลัว |
เกลือกใกล้ |
ผ่อนพักรักษาตัว |
ยามภาค ภูมิแฮ |
อย่าเซี่ยมเขาควายให้ |
เสี่ยวสู้ชนกัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ช้อนปลาหาต้มแต่ |
เพียงพอ อิ่มนา |
อวดฤทธิคิดเยียยอ |
ใหญ่ลํ้า |
เชือดไก่กับเป็ดคอ |
หนิดหนึ่ง |
เอามีดฆ่าโคห้ำ |
หั่นนั้นหนักแรง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หลังคาขาดแล้วลุ่ย |
ตามกัน |
ไป่หมั่นแซมนับวัน |
รั่วร้าง |
โคควายค่าคนมัน |
หนีหลบ |
บ่ติดตามบนจ้าง |
ได้แล้วหมดตัว |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ไก่ขันยามบอกได้ |
โดยกาล |
นํ้าชอบใช้สาธารณ์ |
ทั่วล้าง |
ขวานรู้แต่ถากกระดาน |
หัวหนัก อยู่นา |
เพรียงไพร่ได้แต่จ้าง |
จ่ายใช้การพล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๖๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รู้คิดค้าที่ม้วย |
หมดทุน |
รู้รอบเรือนฤๅจุน |
ขื่อค้าน |
หลับตาหน่ายกระสุน |
อวดแม่น |
หมากรุกรู้แปดด้าน |
ไป่แจ้งตาจน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หมูเขาเขามัดไว้ |
จักหาม |
งานใช่งานคานตาม |
สอดเหล้า |
ชู้เขาจักกอดกาม |
สังวาส กันนา |
สังเวชวางวิ่งเข้า |
กีดหน้านอนกลาง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หนีเสือขึ้นไม้รอด |
ปากเสือ |
พบต่อแตนดุเหลือ |
ต่อยต้อง |
หนีแรดร่ายลงเรือ |
รอดจาก แรดนา |
ปะจระเข้ในท้อง |
น่านนํ้าหนุนเรือ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทางไกลไปค้าคู่ |
ตนตาย |
อดอยากลำบากกาย |
เกิดไข้ |
อยู่กินถิ่นฐานสบาย |
บ่ยาก ใจนา |
การกิจคิดแล้วได้ |
ง่ายแท้ทุกอัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ค้าใดไป่เท่าค้า |
คือบุญ |
ค้าสัดจองต้องทุน |
มากไว้ |
ค้าความคบลูกขุน |
ชวนชอบ |
ค้าบ่ค้าใดได้ |
ยากแท้ธรรมดา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พิมเสนรวยรสเร้า |
เสาวคนธ์ |
กลั้วเกลือกเกลือแกมกล |
ใช่เชื้อ |
ทุรชาติโฉดเฉาฉงน |
ทำเทียบ ปราชญ์นา |
ตัวลิงให้ห่มเสื้อ |
ห่อนรู้ลวดลาย |
|
สำนวนเก่า |
พิมเสนมีรสเร้า |
เสาวคนธ์ |
ไปเกลือกกลั้วเกลือกล |
ใช่เชื้อ |
เป็นไทไป่ทำงน |
งามชาติ ตนนา |
คบทาสท่านจักเกื้อ |
กับหน้าตัวไฉน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
สัตว์อื่นตื่นเต้นแต่ |
ควรไกล |
กระต่ายตื่นตูมไป |
สุดหล้า |
ช้างม้าตื่นฟืนไฟ |
ฟันฟาด หยุดแฮ |
คนตื่นข่าวศึกส้า |
สุดห้ามมันหมาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หาญห้าวตาวบ่ได้ |
จวนฟัน |
แหลนและทวนไป่ทัน |
ต่อต้าง |
พลคชจรดผัน |
งาประ งาแฮ |
ปืนไป่ทันนั่งง้าง |
นกจ้องใจเกรง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รังแกกำปั้นต่อย |
ตีดิน |
ไข่กระทบหินหิน |
ห่อนลื้น |
แมลงเม่าโฉบเพลิงบิน |
บังอาจ |
คนเคอะคิดตื้นตื้น |
ลูบเหล้นคมตาว |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๘. |
|
ฆเร ทุฏฺโ ว มุสิโก |
วเน ทุฏฺโ จ วานโร |
สกุเณ จ ทุฏฺโ กาโก |
นเร ทุฏฺโ จ พฺราหฺมโณ |
|
โลกนิติ |
ชาติหนูอยู่เหย้าแล้ว |
ทำลาย |
พานรอยู่ไม้หมาย |
มุ่งล้าง |
กากับนกฤๅอาย |
จับจิก กันนา |
พราหมณ์พวกใจกระด้าง |
เดือดร้ายนรชน |
|
สำนวนเก่า |
หนูร้ายแรงโทษแท้ |
เรือนผลาญ |
ลิงถ่อยจัณฑาลราน |
ป่าไม้ |
กาโฉดชาติอันธพาล |
เบียนหมู่ นกนา |
พราหมณ์โหดโทษทิ้งให้ |
เบียดเบื้องนรชน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๗๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อารักษ์มีทั่วไม้ |
รุกขมูล |
ที่ศักดิ์สิทธิ์บริบูรณ์ |
เครื่องเส้น |
ที่ไป่ศักดิ์สิทธิ์สูญ |
สงัดลาภ |
ดุจดั่งเสวกเว้น |
ว่าถ้อยความเมือง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ผิวฆ่านางนาฏถ้วน |
ถึงพัน |
ฆ่าพฤฒิพราหมณ์พรตกรรม์ |
เกือบร้อย |
ฆ่าโคอุศุภสรรพ์ |
แสนโกฏิ ก็ดี |
บาปบ่เปรียบปรับถ้อย |
ท่านให้ลำเอียง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทำผิดลึกลับได้ |
พันวา ก็ดี |
ทำชอบเสมอภูผา |
เขตขั้น |
อย่าคิดจิตสัญญา |
หลีกลับ อยู่นา |
ผิดชอบที่ทำนั้น |
หากให้คนเห็น |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
พวกพ้องผิดเท่าช้าง |
งำเงา |
พวกอื่นโทษเท่าเหา |
หากรู้ |
โทษตนเท่าภูเขา |
คิดปิด ไว้แฮ |
โทษท่านเท่าก้อยสู้ |
ส่งให้เห็นสูง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๓. |
|
นตฺตโทสํ ปเร ชญฺา |
ชญฺา โทสํ ปรสฺส ตุ |
คุเยฺห กุมฺมาว องฺคานิ |
ปรโทสญฺจ ลกฺขเย |
|
โลกนิติ |
โทษตนซนซ่อนแท้ |
กลปิด |
โทษท่านหวังเอาผิด |
ออกแจ้ง |
ดุจเต่าสี่เท้ามิด |
เศียรซ่อน ไว้แฮ |
สัตว์อื่นกายเกลาแกล้ง |
เต่าเตี้ยตรีชา |
|
สำนวนเก่า |
โทษตนงำเงื่อนไว้ |
ห่อนแถลง |
โทษท่านเก็บมาแจง |
ดุจเบี้ย |
ตัวเต่าสี่ตีนแฝง |
หัวหนึ่ง ซ่อนนา |
หยิบกล่าวแต่โทษเหี้ย |
มุขเท้ารุงรัง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นํ้าใช้ใส่ตุ่มตั้ง |
เต็มดี |
น้ำอบอ่าอินทรีย์ |
อย่าพร้อง |
น้ำปูนใส่เต้ามี |
อย่าขาด |
นํ้าจิตอย่าให้ข้อง |
ขัดน้ำใจใคร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นํ้าเงินนํ้านากแม้ |
มัวแสง |
นํ้าส้มต้มนํ้าแปลง |
ผ่องได้ |
นํ้าจิตวิปริตแหนง |
มัวหม่น |
นํ้าอื่นเอาลูบไล้ |
ห่อนล้างใจเคือง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ปางไข้ปางขาดข้าว |
แพงเกวียน ละชั่งแฮ |
วิบัติบรจองเจียน |
จักม้วย |
ปางต้องปรับไหมเตียน |
ตนมอด ก็ดี |
ปางมิตรได้ทุกข์ด้วย |
มิตรนั้นไหนเสมอ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หมาเอยสูเหนื่อยแท้ |
ทุกวัน |
ไปไล่เนื้อไล่ทัน |
ท่านได้ |
เจ้ามันแม่นหื้อมัน |
กินแต่ ข้าวนา |
แมวบ่ทำใดให้ |
หม่ำข้าวกับปลา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๘. |
|
กฺรกเฏ น สิเร กาทฺย |
สฺรปฺโป ปาทา น คจฺฉติ |
กุกฺกุเฏ น ถเน ปาเตฺร |
ปุรุเปฺย น สมญฺติ |
ปูเปี้ยวหัวเปล่าไซร้ |
ตีนยัง |
งูบ่มีตีนตรัง |
ไต่ไม้ |
นมไก่บ่มีหวัง |
เลี้ยงลูก เป็นแฮ |
ชายตกเข็ญใจไร้ |
อย่าได้ดูแคลน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๘๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อา สาสุดสิ้นเรี่ยว |
แรงกาย |
ภัพ และผลพังหาย |
โหดเศร้า |
เหมือน เพลิงตกสินธุ์สาย |
สูญดับ ไปนา |
ปูน ต่อขาดขอดเต้า |
จึ่งรู้คุณปูน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เนื้อ ในไตตับต้ม |
แกงยำ |
ไม่ ประสบสักคำ |
ที่ลิ้น |
ได้ ยากลากโครงทำ |
เสียเปล่า |
กิน แต่เขาเราชิ้น |
หนึ่งได้ไป่มี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หนัง เนื้อเถือท่านไว้ |
รองกาย |
ไม่ แบ่งปันชั้นชาย |
เชือดไว้ |
ได้ ทุกข์แทบตัวตาย |
เสียเปล่า |
นั่ง แต่ลำแพนไม้ |
ตอกสู้สานเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
มือ ซ้ายขวาขาดนิ้ว |
ฤๅมี |
ด้วน เด็ดดูใดดี |
หนึ่งน้อย |
ได้ ทองเท่าต่อมตี |
แหวนประดับ |
แหวน จะสอดสวมก้อย |
กุดสิ้นใส่ไฉน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ตา มัวมืดคู่เข้า |
คูหา |
บอด บ่ทราบสุริยา |
ย่ำฆ้อง |
ได้ สมสิ่งเสริมตา |
จักใส่ |
แว่น แต่หยิบจ้องจ้อง |
จับแล้วเวียนวาง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
หัว หูดูชั่วช้า |
ไฉไล |
ล้าน เลื่อมแลเงาใส |
เกือบแก้ว |
ได้ ส่องกระจกใจ |
เจียนขาด |
หวี แต่จับจ้องแล้ว |
ลูบโอ้อายเอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รูป ชั่วแต่ชอบแล้ว |
ใดปาน |
รส รักผักว่าหวาน |
หล่อนต้ม |
กลิ่น อบจบดินดาล |
บ่ดุจ เจ้านา |
เสียง ก็จับใจหล้ม |
โลกแล้วฤๅมี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นํ้า ฝนหม่นเมฆตั้ง |
ตกตะบึง |
ไหล หลั่งถั่งชลถึง |
ท่วมเหย้า |
ไฟ ติดนิดหนึ่งพึง |
จักก่อ |
ดับ ระทมถ่านเถ้า |
หิ่งห้อยไป่มี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
รู้หลบ พบเศิกเสี้ยน |
กลัวไกล |
เป็นปีก ป้องกันภัย |
ผ่อนช้า |
รู้หลีก เล็ดลอดไป |
สุดเนตร |
เป็นหาง ไกลกล่าวกล้า |
ต่อด้วยดัสกร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ช้างสาร หกศอกไซร้ |
เสียงา |
งูเห่า กลายเป็นปลา |
อย่าต้อง |
ข้าเก่า เกิดแต่ตา |
ตนปู่ ก็ดี |
เมียรัก อยู่ร่วมห้อง |
อย่าไว้วางใจ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๓๙๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว |
แหนงหนี |
หาง่าย หลายหมื่นมี |
มากได้ |
เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี |
วาอาตม์ |
หายาก ฝากผีไข้ |
ยากแท้จักหา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ไป่เห็นนํ้า หน้าด่วน |
ชวนกัน |
ตัดกระบอก แบ่งปัน |
ส่วนไซร้ |
ไป่เห็นรอก อวดขัน |
มือแม่น |
ขึ้นหน้าไม้ ไว้ให้ |
หย่อนแท้เสียสาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๑. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ชายเฉกเท้าหน้าคช |
เคียงความ เทียบแฮ |
หญิงเล่ห์เชิงหลังตาม |
คลาดคล้อย |
การกิจคิดงามตาม |
สุดแต่ ผัวนา |
เมียมิ่งเหมือนด้ายร้อย |
สอดเคล้าตามเข็ม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๒. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เมียใดใจดุร้าย |
ริษยา |
กินเติบใช้เชิงตา |
เฉิดช้อย |
มักเที่ยวสู่คฤหา |
แห่งท่าน นะพ่อ |
แม้ว่ามีบุตรร้อย |
หนึ่งไซร้มละเสีย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ปุยนุ่นเบาชั่งเที้ยน |
ทำเนา นะพ่อ |
คนที่เบาความเบา |
กว่านั้น |
หนักหินมั่นคงเขา |
ควรนับ หนักนา |
ไป่เท่าหนักแน่นกลั้น |
อดถ้อยทรชน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ลามกประเทศทั้ง |
ทุรมิตร |
อีกตระกูลเผ่าชิด |
ชั่วร้าย |
ภรรยาทาสทุรจิต |
จำพวก นี้พ่อ |
ควรบุคคลพึงผ้าย |
ห่อนลี้หลีกหนี |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
นกลอดหลุดบ่วงแร้ว |
ราวสาม คาบนา |
ชีหลีกหลายอาราม |
เร่เร้น |
สตรีเตร่จิตตาม |
ชายสี่ สามแฮ |
อย่าประมาทใช่เหล้น |
มากด้วยมายา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๖. |
|
สกึ ทุฏฺติ โย มาตฺยา |
ปุน สนฺธิตุมิจฺฉติ |
ใส มจฺจุ อุปคณฺหาติ |
คพฺภา อสฺสตรี ยถา |
ทวยใดมิตรล่อล้าง |
หลายที แล้วพ่อ |
ขืนจักก่อไมตรี |
เสพส้อง |
ผู้นั้นนับว่ามี |
ชนม์ชีพ ไฉนนา |
เหมือนแม่อัสดรท้อง |
แก่ใกล้ความตาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๗. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อ่อนหวานมานมิตรล้น |
เหลือหลาย |
หยาบบ่มีเกลอกราย |
เกลื่อนใกล้ |
ดุจดวงศศิฉาย |
ดาวดาษ ประดับนา |
สุริยส่องดาราไร้ |
เมื่อร้อนแรงแสง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ทรมานมิตรด้วยไป่ |
พูดกับ เขานา |
ผจญหมู่โจรจำขับ |
เฆี่ยนไซร้ |
ตัดเมียไป่มอบทรัพย์ |
สมบัติ ให้แฮ |
ร้อนราคจริตให้ |
โภชน์น้อยพึงภุญช์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๐๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เรือนไร้บุตรสืบซั้น |
ทรัพย์มอด หมดแฮ |
บ่อบ่มีฝนขอด |
ค่นน้ำ |
พฤกษชาติปราศจากยอด |
ยืนอยู่ ไฉนนา |
ปากไป่มีสัจซ้ำ |
เสื่อมสิ้นแก่นสาร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เทศใดภัยพ้องพาธ |
พาลสรร - พสัตว์นา |
สัปบุรุษสีหราชผัน |
อื่นย้าย |
กาโฉดทุรชนฉกรรจ์ |
กาจจิต นี้พ่อ |
มันมักสู่เทศร้าย |
อยู่ได้โดยวิสัย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๑. |
|
อนาคตํ ภยํ ทิสฺวา |
ทูรโต ปริวชฺชเย |
อาคตญฺจ ภยํ ทิสฺวา |
อภีโต โหติ ปณฺฑิโต |
|
โลกนิติ |
เห็นภัยใหญ่แต่ช้า |
จักถึง ตนแฮ |
ปราชญ์ย่อมผันผ่อนพึง |
หลบลี้ |
ภัยใดด่วนโดนตรึง |
ตราติด ตัวนา |
ใจปราชญ์ปราศแสยงชี้ |
เช่นหล้าและไศล |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๒. |
|
ธนฺวา โชติโย ราชา |
นที เวชฺโช ตถา อิเม |
ปญฺจ ยตฺถ น วิชฺชนฺติ |
น ตตฺถ ทิวสํ วเส |
เมืองใดไร้ราชทั้ง |
ปราชญ์สดับ ก็ดี |
อีกตระกูลมีทรัพย์ |
สิ่งให้ |
หนึ่งไร้นทีกับ |
ขุนแพทย์ |
ภัยมากเมืองนั้นไชร้ |
ท่านห้ามอย่าเนา |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๓. |
|
มาตา ปุตฺตกรํ ปาปํ |
สิสฺสา ปาปํ คุรู ตถา |
ราชา รฏฺกรํ ปาปํ |
ราชา ปาปํ ปุโรหิโต |
บุตรใดครุ่นครุ่นสร้าง |
กองกรรม |
ชื่อว่ามาดาทำ |
เที่ยงพร้อง |
ส่ำศิษย์บ่เกรงยำ |
เยียบาป |
โดยโลกโวหารร้อง |
เรียกแท้ครูทำ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๔. |
|
อิตฺถีมิสฺโส กุโต สีลํ |
มํสภกฺโข กุโต ทยํ |
สุราปาโน กุโต สจฺจํ |
มหาโลโภ กุโต ลชฺชํ |
มหาตนฺโท กุโต สิปฺปํ |
มหาโกโธ กุโต ธนํ |
มักเมาหมดสัจถ้อย |
เจรจา |
แรงโลภละอายหา |
ห่อนได้ |
มักเนื้อหน่ายกรุณา |
เป็นเที่ยง |
บรรพชิตหญิงอยู่ใกล้ |
แกล่สิ้นศีลแสวง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๕. |
|
อธนสฺส รสํ ขาทา |
อพลสฺส หตา นรา |
อปญฺสฺส วากฺยกถา |
อุมฺมตฺตกสมา อิเม |
คนยากอยากภักษ์เคี้ยว |
ของแพง |
คนโรคบำราศแรง |
ร่านปลํ้า |
คนโฉดอวดสำแดง |
ธรรมเทศ นานา |
สามเหล่าเขานี้ก้ำ |
กึ่งบ้ากลกัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๖. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เมียดีดุจทาสรู้ |
การเรือน รอบแฮ |
อายแก่สามีเหมือน |
ดั่งน้อง |
เป็นที่ปรึกษาเตือน |
ดัดดุจ มดายนา |
ยามเมื่อผัวเคืองข้อง |
อดกลั้นกลัวเกรง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๗. |
|
สุน่โข สุนขํ ทิสฺวา |
ทนฺตํ ทสฺเสนฺติ หึสิตุํ |
ทุชฺชโน ทุชฺชนํ ทิสฺวา |
โรสยํ หึสมิจฺฉติ |
|
โลกนิติ |
สุนัขเห็นกันกั้น |
ตะกุยกัน |
กรรโชกยิงฟันรัน |
แร่เร้า |
พาลพบพวกพาลขัน |
แข็งต่อ |
โกรธต่อโกรธงอดเง้า |
ฮึกห้าวหากัน |
|
สำนวนเก่า |
สุนัขสบสุนัขให้ |
โกรธา |
เขี้ยวแยกยิงทันตา |
ต่อสู้ |
พาลยลพวกพาลมา |
มากเร่ง พิโรธแฮ |
จองจิตเวรผูกผู้ |
พวกล้างลุยละลาย |
|
สำนวนเก่า |
สุนัขสุนัขพ้อง |
พบกัน |
มันย่อมแสยะยิงฟัน |
ปากแห้ |
เฉกเช่นหมู่พาลผัน |
พะพวก พาลนา |
ร้ายต่อร้ายราแต้ |
ต่างกล้าอวดแข็ง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๘. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คับอกออมอยู่ได้ |
โดยหวัง |
คับแคบเคียงคนชัง |
อยู่ชํ้า |
คับจิตเจ็บประนัง |
เนายาก ยิ่งแฮ |
แค้นคับเข็ญใจล้ำ |
เร่งร้อนฤๅเสบย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๑๙. (ยังไม่พบคาถา) |
|
อย่าปองสิ่งแก้วไป่ |
ควรปอง |
เขาบ่ตรึกอย่าตรอง |
ตริบ้า |
เร่งคิดคิดแต่ของ |
ควรคิด นะพ่อ |
การที่สูญเปล่าอ้า |
อย่าได้ควรปอง |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๒๐. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ผจญคนมีศักดิ์ด้วย |
หมอบกราน |
ผจญท่วยทรพลทาน |
แจกให้ |
เสมออาตม์จักทรมาน |
ชอบอด ออมแฮ |
ผจญหมู่ข้าศึกไซร้ |
ล่อเลี้ยวลวงประหาร |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๒๑. |
|
โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน |
พหุํ คณฺหาติ ตํ สิปฺปํ |
มูโคว สุปินํ ปสฺสํ |
กเถตุมฺปิ น อุสฺสเห |
โลภรู้เรียนมากสิ้น |
ศิลปศาสตร์ |
ยามจักปองไป่อาจ |
กล่าวได้ |
ผู้นี้นับว่าปราชญ์ |
ลือชื่อ ไฉนนา |
กล่าวบ่ฉานเฉกใบ้ |
บอกข้อความฝัน |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๒๒. |
|
โย พาโล มญฺติ พาลฺยํ |
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส |
พาโล จ ปณฺฑิตมานี |
สเว พาโลติ วุจฺจติ ฯ |
|
ธรรมบท |
คนพาลพวกหนึ่งน้ำ |
ใจหาญ |
รู้ว่าตนเป็นพาล |
กระด้าง |
พวกนี้วัจนาจารย์ |
จัดใช่ พาลพ่อ |
นับว่าปราชญ์ได้บ้าง |
เพื่อรู้สึกสกนธ์ |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๒๓. (ยังไม่พบคาถา) |
|
ใครรักย่อมว่าเพี้ยง |
พงศ์พันธุ์ |
ใครชอบชิดชมฉัน |
เพื่อนไร้ |
ใครเลี้ยงรักษาครรภ์ |
คือแม่ ตนนา |
ใครดับดำกฤษณ์ได้ |
ชื่อชู้เมียสม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๒๔. (ยังไม่พบคาถา) |
|
คบปราชญ์เปรียบเสพอ้อย |
เอมใจ |
กินแต่ปล้องปลายไป |
ตราบต้น |
คบคนโหดหื่นไหล |
เหลวจืด จางแฮ |
แหนงหนึ่งอ้อยกัดร้น |
แต่ต้นตลอดปลาย |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๒๕. (ยังไม่พบคาถา) |
|
เมตตาเตือนจิตให้ |
คนหวัง พึ่งนา |
แรงเคียดคนหน่ายชัง |
ทั่วหน้า |
ทานเป็นยอดยายัง |
เกียรติยศ ยิ่งแฮ |
ตระหนี่กลกำพร้า |
พรากผู้สมาคม |
|
สมเด็จพระเดชา ฯ |
๔๒๖. |
|
ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ |
โย จตฺโถ สมฺปรายิโก |
อตฺถาภิสมยา ธีโร |
ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ |
ประโยชน์ใดในชั่วนี้ |
โอฬาร |
อีกทั้งผลในกาล |
ชั่วหน้า |
พระพุทธองค์ศรีอาริย์ |
ธ ย่อม ยอนา |
ใจดั่งนี้แลอ้า |
เรียกผู้บัณฑิต |
|
สำนวนเก่า |
ได้ผลในชั่วนี้ |
ปรัตยักษ์ |
ทั้งฝ่ายผลในปักษ์ |
ชั่วหน้า |
ทั้งสองอย่างใครรัก |
ผลดั่ง นี้นา |
พระตรัสบัณฑูรอ้า |
ท่านนั้นทรงญาณ |
|
สำนวนเก่า |
๔๒๗. |
|
อาตฺมพุทฺธ สุขญฺจาปิ |
คุรุพุทฺธ วิเสสโต |
ปรพุทฺธ วินาสญฺจ |
สตฺรีพุทฺธปลยํ คตํ |
ยืนอาตม์พุทธไซร้ |
เป็นสุข |
พุทธแห่งคุรุนิรทุกข์ |
เลิศแท้ |
ปรพุทธนาศเฉาฉุก |
เฉินใหญ่ |
พุทธแห่งนี้แล้ |
พ่างม้วยประลัย |
|
สำนวนเก่า |
๔๒๘. |
|
สตฺมสฺวลมมิทฺรพฺยมฺ |
กุปฺเป ชลมิวากฺรเย |
ปฺรภูคมสฺส สาธนามฺ |
ทฺรพฺยญฺ จ สิวฺราณฺณเว |
สินสัตชลน้อยแต่ |
พอควร |
คือ บ่ ใสลวนลวน |
เล่าใต้ |
ทรชนมั่งมีมวล |
ทรัพย์มาก |
คือสมุทรฤๅให้ |
อื่นอ้างอาศัย |
|
สำนวนเก่า |
๔๒๙. |
|
สตฺรุวตฺสุตฺรรานิ |
โจรวตฺรมิตฺรพานฺธว |
จณฺฑาลสฺส สภามเทฺย |
อโห ทฺรพฺยทลิทฺรเต |
เป็นเสี้ยนเมียลูกเต้า |
เหลนหลาน |
ญาติว่าโจรมิตรดาล |
เกลียดใกล้ |
ไปสนามดั่งจัณฑาล |
ไทยหน่าย ตนนา |
เพราะเพื่อตกไร้ได้ |
ยากเที้ยรทรพล |
|
สำนวนเก่า |
๔๓๐. |
|
ราชวตฺรปุตฺรทารานิ |
เทฺววตฺยมิตฺรพานฺธว |
ปณฺฑิตสภามเธฺย |
อโห ทฺรพฺยวิเศษต |
ลูกเมียเกรงกราบเพี้ยง |
ราชา |
มิตรว่าเทพพงศา |
เพื่อนใกล้ |
กลางสนามกล่าววาจา |
เอมโอช |
ทรัพย์ช่างแต่งตัวให้ |
แปลกโอ้อัศจรรย์ |
|
สำนวนเก่า |
๔๓๑. |
|
ชิวฺหาคฺเคฺร ลภเต สกฺษิ |
ชิวฺหาคฺเคฺร มิตฺร พนฺธเว |
ชิวฺหาคฺเคฺร พนฺธนํ ปฺราเษฺต |
ชิวฺหาคฺเคร มรณมฺภเวตฺ |
ลิ้นลมคำกล่าวได้ |
สินศักดิ์ |
มิตรเพื่อนพงศารัก |
เพื่อลิ้น |
ลิ้นตัวเองกล่าวจัก |
ถึงโทษ ภัยนา |
ถึงชีพวายตายดิ้น |
เพื่อลิ้นลมเอง |
|
สำนวนเก่า |
ลิ้นลมคำกล่าวได้ |
สินศักดิ์ |
มิตรเพื่อนพงศารัก |
เพื่อลิ้น |
ลิ้นลมกล่าวตัวจัก |
ถึงโทษ ภัยนา |
ให้ชีพวายลายลิ้น |
เพื่อลิ้นลมเอง |
(จักฉิบหายวายสิ้น |
เพราะลิ้นตนเอง) |
|
สำนวนเก่า |
๔๓๒. |
|
พาลากฺกเปฺรตทุมญฺจ |
วฤฒสตฺรี ตรุณี ทธิ |
ปฺรภาเค ไมถุนนิทฺรา |
สโทษปาณปฺรหาริก |
อัสดงค์ดุจต้อง |
ควันผี |
ดินนํ้าสระบ่มี |
ขังไว้ |
เลี้ยงเมียเฒ่าสรุงศรี |
อัประภาค ยิ่งนา |
เนื้อเหี่ยวหนังโหดให้ |
รูปแห้งพลันชรา |
|
สำนวนเก่า |
แดดเช้าควันกลุ้มแล |
ไฟฝี |
เมียแก่กับทธี |
ไป่ส้ม |
ยามเช้าเสพสัตรี |
เยาวโยค |
ผลาญชีวิตพลันล้ม |
แกล่ใกล้เมืองมรณ์ |
|
สำนวนเก่า |
๔๓๓. |
|
น กุลมฺ น จ วิทยานมฺ |
น ศีลํ น ปรากฺกมมฺ |
ตสฺมา สกลิยุเค ปราเษฺต |
ธนมฺเมว วิเษศตมฺ |
แม้ตระกูลถ่อยแท้ |
ปัญญาทราม ก็ดี |
มารยาทเพียรพยายาม |
ถ่อยแท้ |
มาถึงกลีตาม |
ยุกติแก่ นี้นา |
ครั้นมีมูลทรัพย์แล้ |
ทั่วหล้าสรรเสริญ |
|
สำนวนเก่า |
๔๓๔. |
|
อถวานฺธุ สกุลิโทสิ |
โลโก สมฺปูชิเต นรํ |
ศศิทาตสฺส วงฺโสปิ |
นฺฤธนมฺ ปริภูยเต |
คนผู้หินชาติช้า |
พงศ์พันธุ์ |
ครั้นมั่งมีสินสรรพ์ |
อวดอ้าง |
แม้ผู้เผ่าสุริยจันทร์ |
สูงศักดิ์ ก็ดี |
ครั้นทรัพย์โรยแรงร้าง |
หมู่ร้ายดูแคลน |
|
สำนวนเก่า |
พงศาถ่อยแท้มั่ง |
มีทรัพย์ |
ในโลกนี้คนนับ |
อ่านอ้าง |
พงศามีศรีอัป |
สินถ่อย |
คนบ่เกรงเลยบ้าง |
กล่าวถ้อยคำแคลน |
|
สำนวนเก่า |
พงศาต่ำช้าชั่ว |
ทรุดทราม |
มารยาทบมิงาม |
ถ่อยแท้ |
ถึงกลียุคตาม |
ขณะ นี้นา |
ครั้นว่ามีทรัพย์แก้ |
ทั่วหน้าสรรเสริญ |
|
สำนวนเก่า |
๔๓๕. |
|