อักษรประโยค
๏ จำแนกแจกบทเบื้อง | บรรหาร นี้ฤๅ |
นำแนะนิเทศขนาน | ชื่อไว้ |
อักษรประโยคสาร | สืบเนื่อง มานา |
สองรวมสะระใช้ | เช่นด้วยคำเดียว |
๏ แถลงลักษณสร้อย | สารโสลก |
ชื่ออักษรประโยค | แยบเยื้อง |
คือคำว่าแกรกโกรก | กรอบกรวบ นี้นอ |
อีกว่าปลั่งปลดเปลื้อง | แปลกปลื้มปลายเสียง ๚ะ |
----------------------------
๏ วิธีประสมอักษรใช้ในคำภาษาไทยแต่เพียงอักษรสูงนำอักษรต่ำ ดังแจกมาในวาหนิติ์นิกรนั้น ก็ยังหาภอที่จะใช้ในคำภาษาไทยไม่ ต้องจัดตัว (ร ล ว) ประสมกับอักษรที่ควรจะประสมกันได้ สองอักษรร่วมสะระกันเปนคำเดียว ตั้งชื่อว่าอักษรประโยค สำหรับประสมคำใช้ให้เตมตามสำเนียงไทย อักษร ๓ ตัว คือ (ร ล ว) เปนตัวประโยค สำหรับเอามาควบเข้ากับอักษรที่ควรจะควบ แล้วแจกเปนแม่ ก กา กน กง กก กด กบ กม เกย แลผันด้วยไม้ ่ ้ ๊ ๋ ตามอักษรตัวต้นที่ประสมกันนั้นทุก ๆ แม่ไป ๚ะ ในหมู่อักษรสูง ๑๑ ยกแต่ (ห). ตัวเดียว นอกนั้นประโยคได้สิ้นในหมู่อักษรกลาง ๙ ตัว (ฎ ฏ ด บ อ) ๕ ตัวนี้ประโยคไม่ได้ (ก จ ต ป) ๔ ตัวนี้ประโยคได้ ในอักษรต่ำ ๒๔ ยก ๑๗ ตัว คือ (ฅ ฆ ง ช ฌ ญ ฑ ฒ ณ ธ น ฟ ภ ม ย ฬ ฮ) นี้ไม่ควรประโยค ยังเหลือ ๗ คือ (ค ซ ท พ ร ล ว) ยก (ร ล ว) เปนตัวประโยคเสีย ยังคงได้อักษรต่ำที่ควรประโยค คือตัว (ค ซ ท พ) ๔ ตัวเท่านี้ ตัว (ซ) นี้ถึงประโยคได้ก็แต่ไม่มีที่ใช้ ควรแจกประโยคอักษรต่ำได้แต่ (ค ท พ) เท่านี้ อักษรสูงควรประโยคได้ ๑๐ ตัวจริง แต่ยกตัวที่ซ้ำกันแลตัวที่ไม่ได้ใช้คือ (ข ฐ ฝ ษ) ๔ ตัวนี้ออกเสีย ก็ยังคงควรแจกประโยค ๖ คือ (ข ฉ ถ ผ ศ ส) เท่านี้ ได้แจกประโยคไว้ในวิธีวาหนิติ์นั้นแล้ว ในเล่มนี้จะแจกประโยคแต่อักษรกลาง ๔ ตัว กับอักษรต่ำ ๓ ตัว เท่านี้ จงสังเกตจำเค้ามูลให้แม่นยำเทอญ ๚ะ
๏ ตัว (ก) กับตัว (ร) ประโยคกันแจกดังนี้ ๚ะ
๏ กร กรา กริ กรี กรึ กรื กรุ กรู เกร แกร ไกร ใกร โกร เกรา กรำ กระ ๚ะ
๏ กรน กรัน กราน กริน กรีน กรึน กรืน กรุน กรูน เกรน แกรน โกรน กรอน กรวน เกรียน เกรือน เกริน เกรอน ๚ะ
๏ กรง กรัง กราง กริง กรีง กรึง กรืง กรุง กรูง เกรง แกรง โกรง กรอง กรวง เกรียง เกรือง เกริง เกรอง ๚ะ
๏ กรก กรัก กราก กริก กรีก กรึก กรืก กรุก กรูก เกรก แกรก โกรก กรอก กรวก เกรียก เกรือก เกริก เกรอก ๚ะ
๏ กรด กรัด กราด กริด กรีด กรึด กรืด กรุด กรูด เกรด แกรด โกรด กรอด กรวด เกรียด เกรือด เกริด เกรอด ๚ะ
๏ กรบ กรับ กราบ กริบ กรีบ กรึบ กรืบ กรุบ กรูบ เกรบ แกรบ โกรบ กรอบ กรวบ เกรียบ เกรือบ เกริบ เกรอบ ๚ะ
๏ กรม กรัม กราม กริม กรีม กรึม กรืม กรุม กรูม เกรม แกรม โกรม กรอม กรวม เกรียม เกรือม เกริม เกรอม ๚ะ
๏ เกรย เกรอย กราย กราว กริว กรีว กรึย กรืย กรุย กรูย เกรว แกรว โกรย กรอย กรวย เกรียว เกรือย เกรีย เกรียะ เกรือ เกรือะ เกรอ เกรอะ กรัว กรัวะ เกระ แกระ โกระ เกราะ กรุํ กรรรม กรรร กรอ กร่อ กร้อ กร๊อ กร๋อ กรัย กรือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๑๓ คำ คือ จักรา ตะกร้า จักรกรี เอาใบไม้กรุ วิ่งกรู ต้นไกร โกรธา นอนโกร๋ กันเกรา กรากกรำ ตัวตกกระ หีบกระ กระลา กระลี กระลำภร ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่กน ได้คำใช้ ๑๑ คำ คือ นอนกรน มูลตะกรัน เชิงกราน สงกรานต์ หน้ากร้าน กินกรุ่น ใบไม้โกร๋น เหล็กกร่อน จำกรวน เหี้ยนเกรียน กู่เกริ่น
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่กง ได้คำใช้ ๑๕ คำ คือ กรง ติดกรัง กรางเหล็ก ต้นกร่าง สั่นกริ่ง กริ่งใจ ทำกรุ้งกริ่ง กรุงนคร เกรงกลัว บางจะเกร็ง แขงแกร่ง วิ่งตะโกรง ตีโกร่ง กรองน้ำ เกรียงไกร ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่กก ได้คำใช้ ๑๐ คำ คือ น้ำกรัก ลงกราก ดังกริก ๆ เสียงกรุก ๆ ดังแกรก โกรกกราก ลงโกรก กรอกถนน กรอกยา ไสกรอก จ้กเกรียก เอิกเกริก ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่กด ได้คำใช้ ๑๐ คำ คือ น้ำกรด ไม้กราด กฤช ร้องกรีดๆ ตะกรุด ผลมกรูด ปากเกร็ด โกรธขึ้ง หนูกัดกรอด ๆ พุ่งกรวด ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่กบ ได้คำใช้ ๑๐ คำ กรบแทงปลา ตีกรับ ไหว้กราบ กริบผม กินกรุบๆ ดังกรอบ ๆ กินกริบกรอบ เคี้ยวกรวบ ๆ ปิ้งเข้าเกรียบ ย่องดังเกรียบ ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่กม ได้คำใช้ ๑๖ คำ คือ กรมใจ ทุกหมู่ทุกกรม ต่างกรม ฟันกราม กุ้งก้ามกราม ปลากริม ยิ้มกริ่ม นกตะกรุม กินกรุ่ม ไผทโกรม พายกร่อม ๆ กรวมตอ เคี้ยวกร้วม ๆ กรวมกัน เหี้ยมเกรียม กรอบเกรียม ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่เกย ได้คำใช้ ๒๑ คำ คือ เดินกรายไป โห่กราว โห่กริ่ว โกรธกริ้ว ปักกรุย ติดแกร่ว เชิงโกรย เค็มกร่อย กรวยเชิง ซองกรวย เสียงเกรียว เล่นเกร่อ เกรอะไว้ กรอบเกราะ เสื้อเกราะ กรีดกรอ กร่อนกร่อ ตะกรั้อ เร็วกร๋อ ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) ประโยคกันแจกดังนี้ ๚ะ
๏ กล กลา กลิ กลี กลึ กลื กลุ กลู เกล แกล ไกล ใกล โกล เกลา กลำ กละ ๚ะ
๏ กลน กลัน กลาน กลิน กลีน กลึน กลืน กลุน กลูน เกลน แกลน โกลน กลอน กลวน เกลียน เกลือน เกลิน เกลอน ๚ะ
๏ กลง กลัง กลาง กลิง กลีง กลึง กลืง กลุง กลูง เกลง แกลง โกลง กลอง กลวง เกลียง เกลือง เกลิง เกลอง ๚ะ
๏ กลก กลัก กลาก กลิก กลีก กลึก กลืก กลุก กลูก เกลก แกลก โกลก กลอก กลวก เกลียก เกลือก เกลิก เกลอก ๚ะ
๏ กลด กลัด กลาด กลิด กลีด กลึด กลืด กลุด กลูด เกลด แกลด โกลด กลอด กลวด เกลียด เกลือด เกลิด เกลอด ๚ะ
๏ กลบ กลับ กลาบ กลิบ กลีบ กลึบ กลืบ กลุบ กลูบ เกลบ แกลบ โกลบ กลอบ กลวบ เกลียบ เกลือบ เกลิบ เกลอบ ๚ะ
๏ กลม กลัม กลาม กลิม กลีม กลึม กลืม กลุม กลูม เกลม แกลม โกลม กลอม กลวม เกลียม เกลือม เกลิม เกลอม ๚ะ
๏ เกลย เกลอย กลาย กลาว กลิว กลีว กลึย กลืย กลุย กลูย เกลว แกลว โกลย กลอย กลวย เกลียว เกลือย เกลีย เกลียะ เกลือ เกลือะ เกลอ เกลอะ กลัว กลัวะ เกละ แกละ โกละ เกลาะ กลุํ กลรรม กลรร กลอ กล่อ กล้อ กล๊อ กล๋อ กลัย กลือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๑๑ คำ คือ หาญกล้า กลี่กลม พระแกล ทางไกล ทางใกล้ เกลี่ยไกล่ ขัดเกลา น้อมเกล้า ทองกล่ำ ๑ คำกล้ำ จะกละ ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) แม่กน ได้คำใช้ ๑๑ คำ คือ เกลื่อนกล่น แกล้งกลั่น อดกลั้น ส่งกลิ่น กลืนกิน กลัวแกลน เรือโกลน บทกลอน โรคกล่อน กลาดเกลื่อน เปนเกลื้อน ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) แม่กง ได้คำใช้ ๑๔ คำ คือ ผูกกลัง กลาง กลิ้ง กลึง เมืองแกลง แกล้งทำ กลอง กล่อง กล้อง ดูกล้องแกล้ง กลวง เกลียงปูน ลบัดเกลียง ขัดเกลี้ยง ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) แม่กก ได้คำใช้ ๔ คำ คือ กลัก เกลื้อนกลาก ดูกลอกแกลก กลับกลอก กลิ้งเกลือก ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) แม่กด ได้คำใช้ ๕ คำ คือ คือ พระกลด ไม้กลัด กลุ้มกลัด ตกกลาด น่าเกลียด ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) แม่กบ ได้คำใช้ ๔ คำ คือ กลบลบ กลับคืน เปนกลีบ แกลบ ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) แม่กม ได้คำใช้ ๘ คำ คือ วงกลม ตากลาม ด้ายกลุ่ม คนดูกลุ้ม ขับกล่อม เกลี้ยกล่อม กล้อมแกล้ม ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ล) แม่เกย ได้คำใช้ ๑๖ คำ คือ กลับกลาย ต้นกล้าย ว่ากล่าว กล้าแกล้ว บุกกลอย กลอยใจ กลอยแก่ กลอยสวาศ ต้นกล้วย เชือกเกลียว เกลี่ยวดำ ไกล่เกลี่ย เกลี้ยกล่อม เกลือ ผมสองแกละ ลายกลอ ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) ประโยคกันแจกดังนี้ ๚ะ
๏ กว กวา กวิ กวี กวึ กวื กวุ กวู เกว แกว ไกว ใกว โกว เกวา กวำ กวะ ๚ะ
๏ กวน กวัน กวาน กวิน กวีน กวึน กวืน กวุน กวูน เกวน แกวน โกวน กวอน กววน เกวียน เกวือน เกวิน เกวอน ๚ะ
๏ กวง กวัง กวาง กวิง กวีง กวึง กวืง กวุง กวูง เกวง แกวง โกวง กวอง กววง เกวียง เกวือง เกวิง เกวอง ๚ะ
๏ กวก กวัก กวาก กวิก กวีก กวึก กวืก กวุก กวูก เกวก แกวก โกวก กวอก กววก เกวียก เกวือก เกวิก เกวอก ๚ะ
๏ กวด กวัด กวาด กวิด กวีด กวึด กวืด กวุด กวูด เกวด แกวด โกวด กวอด กววด เกวียด เกวือด เกวิด เกวอด ๚ะ
๏ กวบ กวับ กวาบ กวิบ กวีบ กวึบ กวืบ กวุบ กวูบ เกวบ แกวบ โกวบ กวอบ กววบ เกวียบ เกวือบ เกวิบ เกวอบ ๚ะ
๏ กวม กวัม กวาม กวิม กวีม กวึม กวืม กวุม กวูม เกวม แกวม โกวม กวอม กววม เกวียม เกวือม เกวิม เกวอม ๚ะ
๏ เกวย เกวอย กวาย กวาว กวิว กวีว กวึย กวืย กวุย กวูย เกวว แกวว โกวย กวอย กววย เกวียว เกวือย เกวีย เกวียะ เกวือ เกวือะ เกวอ เกวอะ กวัว กวัวะ เกวะ แกวะ โกวะ เกวาะ กวุํ กวรรม กวรร กวอ กว่อ กว้อ กว๊อ กว๋อ กวัย กวือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๔ คำ คือ แตงกวา มากกว่า จังกว้า ไกวชิงช้า ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) แม่กน ได้คำใช้ ๕ คำ คือ โฮ้กวั่น ตั้งกว้าน กวินวิกตริยา แกว่นกล้า เกวียนเขน ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) แม่กง ได้คำใช้ ๒ คำ คือ กว้างยาว แกว่งไกว ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) แม่กก ได้คำใช้ ๒ คำ คือ คือ นกกวัก กวักมือเรียก ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) แม่กด ได้คำใช้ ๒ คำ คือ กวัดแกว่ง แผ้วกวาด
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) แม่กบ ไม่มีคำใช้ ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) แม่กม ไม่มีคำใช้ ๚ะ
๏ ตัว (ก) ควบกับตัว (ว) แม่กด ได้คำใช้คำ ๑ คือ ต้นทองกวาว ๚ะ
๏ จบ (ก) ประโยคเท่านี้ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (จ) กับตัว (ร) ประโยคกันแจกดังนี้ ๚ะ
๏ จร จรา จริ จรี จรึ จรื จรุ จรู เจร แจร ไจร ใจร โจร เจรา จรำ จระ ๚ะ
๏ จรน จรัน จราน จริน จรีน จรึน จรืน จรุน จรูน เจรน แจรน โจรน จรอน จรวน เจรียน เจรือน เจริน เจรอน ๚ะ
๏ จรง จรัง จราง จริง จรีง จรึง จรืง จรุง จรูง เจรง แจรง โจรง จรอง จรวง เจรียง เจรือง เจริง เจรอง ๚ะ
๏ จรก จรัก จราก จริก จรีก จรึก จรืก จรุก จรูก เจรก แจรก โจรก จรอก จรวก เจรียก เจรือก เจริก เจรอก ๚ะ
๏ จรด จรัด จราด จริด จรีด จรึด จรืด จรุด จรูด เจรด แจรด โจรด จรอด จรวด เจรียด เจรือด เจริด เจรอด ๚ะ
๏ จรบ จรับ จราบ จริบ จรีบ จรึบ จรืบ จรุบ จรูบ เจรบ แจรบ โจรบ จรอบ จรวบ เจรียบ เจรือบ เจริบ เจรอบ ๚ะ
๏ จรม จรัม จราม จริม จรีม จรึม จรืม จรุม จรูม เจรม แจรม โจรม จรอม จรวม เจรียม เจรือม เจริม เจรอม ๚ะ
๏ เจรย เจรอย จราย จราว จริว จรีว จรึย จรืย จรุย จรูย เจรว แจรว โจรย จรอย จรวย เจรียว เจรือย เจรีย เจรียะ เจรือ เจรือะ เจรอ เจรอะ จรัว จรัวะ เจระ แจระ โจระ เจราะ จรุํ จรรรม จรรร จรอ จร่อ จร้อ จร๊อ จร๋อ จรัย จรือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (จ) ควบกับตัว (ร) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๓ คำ คือ จรีกาง กระลึงจรีรำ จรหล่ำ ๚ะ
๏ ตัว (จ) ควบกับตัว (ร) แม่กน ได้คำใช้ ๓ คำ คือ จรัลคลา จรูญ เจริญ ๚ะ
๏ ตัว (จ) ควบกับตัว (ร) แม่กง ได้คำใช้ ๓ คำ คือ ความจริง ผกาแจรง จรุงใจ ๚ะ
๏ ตัว (จ) ควบกับตัว (ร) แม่กก ได้คำใช้มาแต่ภาษาเขมรคำ ๑ คือ จรูก ว่าสุกร ๚ะ
๏ ตัว (จ) ควบกับตัว (ร) แม่กด ได้คำใช้ ๓ คำ คือ จรัส จำรัส จรวด ๚ะ
๏ ตัว (จ) ควบกับตัว (ร) แม่กบ ไม่มีคำใช้ ๚ะ
๏ ตัว (จ) ควบกับตัว (ร) แม่กม ไม่มีคำใช้ ๚ะ
๏ ตัว (จ) ควบกับตัว (ร) แม่เกย ได้คำใช้ ๒ คำ คือ จราว จริว ๚ะ
๏ ตัว (จ) ประโยคกับตัว (ล) ตัว (ว) ไม่มีคำที่ใช้ ๚ะ
๏ จบ (จ) ประโยคเท่านี้ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ต) กับตัว (ร) ประโยคกันแจกดังนี้ ๚ะ
๏ ตร ตรา ตริ ตรี ตรึ ตรื ตรุ ตรู เตร แตร ไตร ใตร โตร เตรา ตรำ ตระ ๚ะ
๏ ตรน ตรัน ตราน ตริน ตรีน ตรึน ตรืน ตรุน ตรูน เตรน แตรน โตรน ตรอน ตรวน เตรียน เตรือน เตริน เตรอน ๚ะ
๏ ตรง ตรัง ตราง ตริง ตรีง ตรึง ตรืง ตรุง ตรูง เตรง แตรง โตรง ตรอง ตรวง เตรียง เตรือง เตริง เตรอง ๚ะ
๏ ตรก ตรัก ตราก ตริก ตรีก ตรึก ตรืก ตรุก ตรูก เตรก แตรก โตรก ตรอก ตรวก เตรียก เตรือก เตริก เตรอก ๚ะ
๏ ตรด ตรัด ตราด ตริด ตรีด ตรึด ตรืด ตรุด ตรูด เตรด แตรด โตรด ตรอด ตรวด เตรียด เตรือด เตริด เตรอด ๚ะ
๏ ตรบ ตรับ ตราบ ตริบ ตรีบ ตรึบ ตรืบ ตรุบ ตรูบ เตรบ แตรบ โตรบ ตรอบ ตรวบ เตรียบ เตรือบ เตริบ เตรอบ ๚ะ
๏ ตรม ตรัม ตราม ตริม ตรีม ตรึม ตรืม ตรุม ตรูม เตรม แตรม โตรม ตรอม ตรวม เตรียม เตรือม เตริม เตรอม ๚ะ
๏ เตรย เตรอย ตราย ตราว ตริว ตรีว ตรึย ตรืย ตรุย ตรูย เตรว แตรว โตรย ตรอย ตรวย เตรียว เตรือย เตรีย เตรียะ เตรือ เตรือะ เตรอ เตรอะ ตรัว ตรัวะ เตระ แตระ โตระ เตราะ ตรุํ ตรรรม ตรรร ตรอ ตร่อ ตร้อ ตร๊อ ตร๋อ ตรัย ตรือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ร) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๒๔ คำ คือ ประทับตรา ไตร่ตรา ตรวจตรา ตราชู ตริตรอง เมืองตรี ตรีโลกย ตรีศูล ชาตรี ขังตรุไว้ โฉมตรู ศัตรู เช้าตรู่ เตร่ไป แตรสังข์ ผ้าไตรย ไตรยรัตน์ ไตรยเพท ไตรตรึงษ์ ตรากตรำ ตระวัน ตระหนี่ ตระดก ตระนก ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ร) แม่กน มีคำใช้คำ ๑ คือ จำตรวน ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ร) แม่กง ได้คำใช้ ๕ คำ คือ ทางตรง ติดตราตรัง ตรึงเหล็ก ดำตรูง ตรึกตรอง ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ร) แม่กก ได้คำใช้ ๓ คำ คือ ตรำตราก ตรอกถนน เตรียกจัก ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ร) แม่กด ได้คำใช้ ๖ คำ คือ ตรัสสั่ง ตราดลิ่ม ยามตรุศ เตร็ดเตร่ ปากเตร็ด ตรวจพล ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ร) แม่กบ ได้คำใช้ ๓ คำ คือ ตรับฟัง ตราบเท่า ตริบรศ ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ร) แม่กม ได้คำใช้ ๓ คำ คือ ทุกข์ตรอม ตรอมใจ ตระเตรียม ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ร) แม่เกย ได้คำใช้ ๒ คำ คือ แตระอุบะ เตรอะตรอง ๚ะ
๏ ตัว (ต) ประโยคกับตัว (ล) แจกดังนี้ ๚ะ
๏ ตล ตลา ตลิ ตลี ตลึ ตลื ตลุ ตลู เตล แตล ไตล ใตล โตล เตลา ตลำ ตละ ๚ะ
๏ ตลน ตลัน ตลาน ตลิน ตลีน ตลึน ตลืน ตลุน ตลูน เตลน แตลน โตลน ตลอน ตลวน เตลียน เตลือน เตลิน เตลอน ๚ะ
๏ ตลง ตลัง ตลาง ตลิง ตลีง ตลึง ตลืง ตลุง ตลูง เตลง แตลง โตลง ตลอง ตลวง เตลียง เตลือง เตลิง เตลอง ๚ะ
๏ ตลก ตลัก ตลาก ตลิก ตลีก ตลึก ตลืก ตลุก ตลูก เตลก แตลก โตลก ตลอก ตลวก เตลียก เตลือก เตลิก เตลอก ๚ะ
๏ ตลด ตลัด ตลาด ตลิด ตลีด ตลึด ตลืด ตลุด ตลูด เตลด แตลด โตลด ตลอด ตลวด เตลียด เตลือด เตลิด เตลอด ๚ะ
๏ ตลบ ตลับ ตลาบ ตลิบ ตลีบ ตลึบ ตลืบ ตลุบ ตลูบ เตลบ แตลบ โตลบ ตลอบ ตลวบ เตลียบ เตลือบ เตลิบ เตลอบ ๚ะ
๏ ตลม ตลัม ตลาม ตลิม ตลีม ตลึม ตลืม ตลุม ตลูม เตลม แตลม โตลม ตลอม ตลวม เตลียม เตลือม เตลิม เตลอม ๚ะ
๏ เตลย เตลอย ตลาย ตลาว ตลิว ตลีว ตลึย ตลืย ตลุย ตลูย เตลว แตลว โตลย ตลอย ตลวย เตลียว เตลือย เตลีย เตลียะ เตลือ เตลือะ เตลอ เตลอะ ตลัว ตลัวะ เตละ แตละ โตละ เตลาะ ตลุํ ตลรรม ตลรร ตลอ ตล่อ ตล้อ ตล๊อ ตล๋อ ตลัย ตลือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ล) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๒ คำ คือ ตลีตลาน จุดไตล ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ล) แม่กน ได้คำใช้ ๔ คำ คือ ตลนตลาน อุ่นตลุ่น เที่ยวตลอดไป อิเตลียน ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ล) แม่กง ได้คำใช้ ๕ คำ คือ ริมตลิ่ง ตกตลึง เสาตลุง เตลงพากย แตลงแกง ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ล) แม่กก ได้คำใช้คำ ๑ คือ เล่นตลกคนอง ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ล) แม่กด ได้คำใช้ ๔ คำ คือ คือ ร้านตลาด อุดตลุด ตลอดไป แล่นเตลิด ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ล) แม่กบ ได้คำใช้ ๔ คำ คือ ตลบแตลง ตลับ ตลิบลิ่ว ตลุบตุบ ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ล) แม่กม ได้คำใช้ ๓ คำ คือ ตลุมบอน โอตลุ้ม ตีตล้อม ๚ะ
๏ ตัว (ต) ควบกับตัว (ล) แม่เกย ได้คำใช้คำ ๑ คือ ตีตลุยไป ๚ะ
๏ ตัว (ต) ประโยคกับตัว (ว) ไม่ใคร่มีคำใช้ มีในแม่ก กา คือสันตะวา ในแม่กน คือ สีตวัน ในแม่กงคือ หญ้าตวาง กับในแม่กดคือ ตวัดไว้ ร้องตวาด เท่านี้ ๚ะ
๏ จบ (ต) ประโยคเท่านี้ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ป) กับตัว (ร) ประโยคกันแจกดังนี้ ๚ะ
๏ ปร ปรา ปริ ปรี ปรึ ปรื ปรุ ปรู เปร แปร ไปร ใปร โปร เปรา ปรำ ประ ๚ะ
๏ ปรน ปรัน ปราน ปริน ปรีน ปรึน ปรืน ปรุน ปรูน เปรน แปรน โปรน ปรอน ปรวน เปรียน เปรือน เปริน เปรอน ๚ะ
๏ ปรง ปรัง ปราง ปริง ปรีง ปรึง ปรืง ปรุง ปรูง เปรง แปรง โปรง ปรอง ปรวง เปรียง เปรือง เปริง เปรอง ๚ะ
๏ ปรก ปรัก ปราก ปริก ปรีก ปรึก ปรืก ปรุก ปรูก เปรก แปรก โปรก ปรอก ปรวก เปรียก เปรือก เปริก เปรอก ๚ะ
๏ ปรด ปรัด ปราด ปริด ปรีด ปรึด ปรืด ปรุด ปรูด เปรด แปรด โปรด ปรอด ปรวด เปรียด เปรือด เปริด เปรอด ๚ะ
๏ ปรบ ปรับ ปราบ ปริบ ปรีบ ปรึบ ปรืบ ปรุบ ปรูบ เปรบ แปรบ โปรบ ปรอบ ปรวบ เปรียบ เปรือบ เปริบ เปรอบ ๚ะ
๏ ปรม ปรัม ปราม ปริม ปรีม ปรึม ปรืม ปรุม ปรูม เปรม แปรม โปรม ปรอม ปรวม เปรียม เปรือม เปริม เปรอม ๚ะ
๏ เปรย เปรอย ปราย ปราว ปริว ปรีว ปรึย ปรืย ปรุย ปรูย เปรว แปรว โปรย ปรอย ปรวย เปรียว เปรือย เปรีย เปรียะ เปรือ เปรือะ เปรอ เปรอะ ปรัว ปรัวะ เประ แประ โประ เปราะ ปรุํ ปรรรม ปรรร ปรอ ปร่อ ปร้อ ปร๊อ ปร๋อ ปรัย ปรือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ร) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๗๑ คำ คือ ปราโมช ปราการ ปรานี ปราไส ปรากฎ ปราสาท ปรารภ ปรารมภ์ รศปร่า บวมปริ ปริปาก ปรีดี ปรีดา ปรีชา อับปรี ไหลปรี่ ปรุโปร่ง ปรุหนัง แก่นปรู เปรไป ผันแปร ปรวนแปร แปรเพศ ช้างร้องแปร๋ ไปรเวศ กะปรีกะเปร่า ปรักปรำ ประสงค์ ประสม ประเสริฐ ประสิทธิ ประสาน ประสบ ประจบ ประแจง ประมาณ ประมวญ ประเมิน ประมูล ประทาน ประหาร ประจักษ ประหลาด ประลาศ ประลอง ประณต ประนม ประฐม ประกาศ ประกาสิต ประหม่า ประมาท ประเดี๋ยว ฝนตกประปราย ประวัติ ประสูตร ประเทือง ประทัง ประนัง ประดัง ประเดียง ประดา ประดู่ ประวิช ประวิง ประภาศ ประพาศ ประไภ ประไลย ประอิง ประอร ประโยชน์ ประสงค์ ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ร) แม่กน ได้คำใช้ ๙ คำ คือ ปรนปรือ ผ่อนปรน ปรันคำอยาบ วายปราณ ประปราน ร้องแปร๋แปร๋น เสียงแปร้น แปรปรวน ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับ (ร) แม่กง ได้คำใช้ ๑๕ คำ คือ ต้นปรง นาปรัง พระปราง ปรางปราสาท ต้นมะปราง ต้นมะปริง เปรอะบรึง เครื่องปรุง ทำสองแปรง ขนแปรง เสียงแปร่ง ปรุโปร่ง ปรองดอง เถาวันเปรียง ดังเปรี้ยง ปราดเปรื่อง ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ร ) แม่กก ได้คำใช้ ๙ คำ คือ นั่งปรก ปรกติ หญ้ารกปรก สกระปรก ปรักปรำ ปรักมาศ โถปริก น้ำมันปรึก ปฤกษา ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ร) แม่กด ได้คำใช้ ๙ คำ คือ พระปรัศ ขว้างปราด นักปราช ปฤษณา กำเนิดเปรต ตัวโปรด ทรงพระกรุณาโปรด เสียงปรอด ๆ เปนปรวด แร่ปรอท ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ร) แม่กบ ได้คำใช้ ๕ คำ คือ ช้างปรบหู ต้องปรับไหม ปราบข้าศึก ทำตาปริบ ๆ เปรียบเทียบ ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ร) แม่กม ได้คำใช้ ๖ คำ คือ ปราบปราม ห้ามปราม ลอยน้าปริ่ม ปรีเปรม กะปรกกะปรอม น้ำเปรี่ยมฝั่ง ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ร) แม่เกย ได้คำใช้ ๑๗ คำ คือ พูดเปรย เปรียบเปรย เปรียบปราย อภิปราย โปรยปราย ปืนลูกปราย หว่านไปรย ตาปรอย ประเปรียว ของเปรี้ยว แอมเปรอ เปื้อนเปรอะ ปากเปราะ ปรนปรือ กอปรือ บินปร๋อ บินปรือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ป) ประโยคกับตัว (ล) แจกดังนี้ ๚ะ
๏ ปล ปลา ปลิ ปลี ปลึ ปลื ปลุ ปลู เปล แปล ไปล ใปล โปล เปลา ปลำ ปละ ๚ะ
๏ ปลน ปลัน ปลาน ปลิน ปลีน ปลึน ปลืน ปลุน ปลูน เปลน แปลน โปลน ปลอน ปลวน เปลียน เปลือน เปลิน เปลอน ๚ะ
๏ ปลง ปลัง ปลาง ปลิง ปลีง ปลึง ปลืง ปลุง ปลูง เปลง แปลง โปลง ปลอง ปลวง เปลียง เปลือง เปลิง เปลอง ๚ะ
๏ ปลก ปลัก ปลาก ปลิก ปลีก ปลึก ปลืก ปลุก ปลูก เปลก แปลก โปลก ปลอก ปลวก เปลียก เปลือก เปลิก เปลอก ๚ะ
๏ ปลด ปลัด ปลาด ปลิด ปลีด ปลึด ปลืด ปลุด ปลูด เปลด แปลด โปลด ปลอด ปลวด เปลียด เปลือด เปลิด เปลอด ๚ะ
๏ ปลบ ปลับ ปลาบ ปลิบ ปลีบ ปลึบ ปลืบ ปลุบ ปลูบ เปลบ แปลบ โปลบ ปลอบ ปลวบ เปลียบ เปลือบ เปลิบ เปลอบ ๚ะ
๏ ปลม ปลัม ปลาม ปลิม ปลีม ปลึม ปลืม ปลุม ปลูม เปลม แปลม โปลม ปลอม ปลวม เปลียม เปลือม เปลิม เปลอม ๚ะ
๏ เปลย เปลอย ปลาย ปลาว ปลิว ปลีว ปลึย ปลืย ปลุย ปลูย เปลว แปลว โปลย ปลอย ปลวย เปลียว เปลือย เปลีย เปลียะ เปลือ เปลือะ เปลอ เปลอะ ปลัว ปลัวะ เปละ แปละ โปละ เปลาะ ปลุํ ปลรรม ปลรร ปลอ ปล่อ ปล้อ ปล๊อ ปล๋อ ปลัย ปลือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ล) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๑๔ คำ คือ ปลา ปลีกล้วย ปลีน่อง อู่เปล แปลหนังสือ ไปล่แปล้ เพียบแปล้ ต้นไม้เปลา ว่างเปล่า นกเปล้า มวยปล้ำ เตมปล้ำ กระบือปละ ปลดปละ ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ล) แม่กน ได้คำใช้ ๖ คำ คือ โจรปล้น ปลอกปลิ้น ปลิ้นตา คำแปลน น้ำเปลี่ยนๆ ผลัดเปลี่ยน ปลิ้นปล้อน ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ล) แม่กง ได้คำใช้ ๑๘ คำ คือ ปลงธุระ ปลดปลง ปลงชีพ ปลอดปล่ง ผักปลัง สุกปลั่ง ทากปลิง ตลิงปลิง งามเปล่ง แปลงตัว ปลักแปลง ปลอดโปล่ง ปล่องงู ปล้องไม้ หมดเปลือง ปลดเปลื้อง เปลื้องเครื่อง เปลืองตัว ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ล) แม่กก ได้คำใช้ ๑๒ คำ คือ ปลกเปลี้ย ตกปลัก เงินปลีก ปลีกไป ปลุกใช้ตื่น ปลูกต้นไม้ ดูแปลกไป ของแปลกๆ ถักปลอก ปลิ้นปลอก จอมปลวก เปลือกไม้ ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ล) แม่กด ได้คำใช้ ๖ คำ คือ ปลดชรา เปลื้องปลด ปลดปลิด พระปลัด ของปลาด วันปลอด ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ล) แม่กบ ได้คำใช้ ๖ คำ คือ สับปลับ ผักปลาบ ปลาบใจ พ้าแลบแปลบ เจ็บแปลบ ปลอบประโลม ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ล) แม่กม ได้คำใช้ ๕ คำ คือ ปลื้มใจ งามปลื้ม ปลาบปลื้ม แปลกปลอม ปลอมพล ๚ะ
๏ ตัว (ป) ควบกับตัว (ล) แม่เกย ได้คำใช้ ๑๒ คำ คือ ต้นปลาย ปลิวไป เปลวเพลิง เปลวมัน ปล่องเปลว ปละปล่อย ทางเปลี่ยว เปลียวใจ เปลือยกาย เปนง่อยเปลี้ย ปลกเปลี้ย มัดเปนเปลาะ ๚ะ
๏ ตัว (ป) ประโยคกับตัว (ว) เหนได้คำใช้แต่ แม่ ก กา คือ ปวะล่ำ แม่กด คือ ปวัดิ์ เท่านี้
๏ จบ (ป) ประโยคเท่านี้ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ค) กับตัว (ร) ประโยคกันแจกดังนี้ ๚ะ
๏ คร ครา คริ ครี ครึ ครื ครุ ครู เคร แคร ไคร ใคร โคร เครา ครำ คระ ๚ะ
๏ ครน ครัน คราน คริน ครีน ครึน ครืน ครุน ครูน เครน แครน โครน ครอน ครวน เครียน เครือน เคริน เครอน ๚ะ
๏ ครง ครัง คราง คริง ครีง ครึง ครืง ครุง ครูง เครง แครง โครง ครอง ครวง เครียง เครือง เคริง เครอง ๚ะ
๏ ครก ครัก คราก คริก ครีก ครึก ครืก ครุก ครูก เครก แครก โครก ครอก ครวก เครียก เครือก เคริก เครอก ๚ะ
๏ ครด ครัด คราด คริด ครีด ครึด ครืด ครุด ครูด เครด แครด โครด ครอด ครวด เครียด เครือด เคริด เครอด ๚ะ
๏ ครบ ครับ คราบ คริบ ครีบ ครึบ ครืบ ครุบ ครูบ เครบ แครบ โครบ ครอบ ครวบ เครียบ เครือบ เคริบ เครอบ ๚ะ
๏ ครม ครัม คราม คริม ครีม ครึม ครืม ครุม ครูม เครม แครม โครม ครอม ครวม เครียม เครือม เคริม เครอม ๚ะ
๏ เครย เครอย คราย คราว คริว ครีว ครึย ครืย ครุย ครูย เครว แครว โครย ครอย ครวย เครียว เครือย เครีย เครียะ เครือ เครือะ เครอ เครอะ ครัว ครัวะ เคระ แคระ โคระ เคราะ ครุํ ครรรม ครรร ครอ คร่อ คร้อ คร๊อ คร๋อ ครัย ครือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ร) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๑๖ คำ คือ ครานั้น หลายครา ฉุดคร่า ครุตักน้ำ ครูสอน ไปสักครู่ หามแคร่ ใครผู้ใด จะใคร่ได้ กอตะไคร้ หนวดเครา เคร่าท่า น้ำครำ คร่ำคร่า ครุคระ คระวี ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ร) แม่กน ได้คำใช้ ๘ คำ คือ ครั่นคร้าม มีครรภ์ ครั่นตัว นงคราญ เกียจคร้าน ลั่นครืน ๆ ครึนดักนก มีครุ่นๆ คฤกครื้น คร่ำครวญ ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ร) แม่กง ได้คำใช้ ๙ คำ คือ น้ำครั่ง ครั้งนั้น ร้องคราง ครื้นเครง หอยแครง คร่องแคร่ง เสือโคร่ง โคร่งคร่าง ทรงเครื่อง ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ร) แม่กก ได้คำใช้ ๕ คำ คือ ครกสาก จะแตก
คราก ครึกครื้น โครกครอก ลูกครอก ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ร) แม่กด ได้คำใช้ ๕ คำ คือ คราดหญ้า ดังครืดๆ พระยาครุธ ครูดสี ตึงเครียด ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ร) แม่กบ ได้คำใช้ ๕ คำ คือ ครบถ้วน ลอกคราบ สุครีพ ครอบสำริด ครอบงำ แลครอบอะไรๆ อื่นๆ ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ร) แม่กม ได้คำใช้ ๗ คำ คือ สงคราม ย้อมคราม คร้ามกลัว ดูครึม ดูครื้ม ดังโครม คร่อมหลักตอ ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว ( ร) แม่เกย ได้คำใช้ ๑๑ คำ คือ เปนคราวๆ ชายครุย ไคร้เครือ ถุงตะเครียว โรงครัว เครอะคระ ครือๆ เครือเถาวัล ตะครั่นตะครอ ต้นตะคร้อ ครึคระ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ล) ประโยคกันแจกดังนี้ ๚ะ
๏ คล คลา คลิ คลี คลึ คลื คลุ คลู เคล แคล ไคล ใคล โคล เคลา คลำ คละ ๚ะ
๏ คลน คลัน คลาน คลิน คลีน คลึน คลืน คลุน คลูน เคลน แคลน โคลน คลอน คลวน เคลียน เคลือน เคลิน เคลอน ๚ะ
๏ คลง คลัง คลาง คลิง คลีง คลึง คลืง คลุง คลูง เคลง แคลง โคลง คลอง คลวง เคลียง เคลือง เคลิง เคลอง ๚ะ
๏ คลก คลัก คลาก คลิก คลีก คลึก คลืก คลุก คลูก เคลก แคลก โคลก คลอก คลวก เคลียก เคลือก เคลิก เคลอก ๚ะ
๏ คลด คลัด คลาด คลิด คลีด คลึด คลืด คลุด คลูด เคลด แคลด โคลด คลอด คลวด เคลียด เคลือด เคลิด เคลอด ๚ะ
๏ คลบ คลับ คลาบ คลิบ คลีบ คลึบ คลืบ คลุบ คลูบ เคลบ แคลบ โคลบ คลอบ คลวบ เคลียบ เคลือบ เคลิบ เคลอบ ๚ะ
๏ คลม คลัม คลาม คลิม คลีม คลึม คลืม คลุม คลูม เคลม แคลม โคลม คลอม คลวม เคลียม เคลือม เคลิม เคลอม ๚ะ
๏ เคลย เคลอย คลาย คลาว คลิว คลีว คลึย คลืย คลุย คลูย เคลว แคลว โคลย คลอย คลวย เคลียว เคลือย เคลีย เคลียะ เคลือ เคลือะ เคลอ เคลอะ คลัว คลัวะ เคละ แคละ โคละ เคลาะ คลุํ คลรรม คลรร คลอ คล่อ คล้อ คล๊อ คล๋อ คลัย คลือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ล) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๑๐ คำ คือ คลาไคล เดาะลูกคลี คลี่บาน ใส่ไคล้ บางโคล่ คลึงเคล้า ลูบคลำ ว่ายน้ำคล่ำ ผิวคล้ำ คละปะปน ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ล) แม่กน ได้คำใช้ ๖ คำ คือ คุกคลาน ลมคลื่น ขาดแคลน ลุยโคลน โยกคลอน คลาศเคลื่อน ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ล) แม่กง ได้คำใช้ ๘ คำ คือ กรมพระคลัง เสียจริตคลั่ง คลางแคลง เคล้าคลึง เรือโคลง กาพยโคลง ลงคลอง พูดคล่อง ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว ( ล) แม่กก ได้คำใช้ ๒ คำ คือ ตกคลัก ลวกคลอก ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ล) แม่กด ได้คำใช้ ๒ คำ คือ คลาศไป คลอดบุตร เปนเคล็ด ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ล) แม่กบ ได้คำใช้ ๓ คำ คือ คลับคล้าย คลับคลา เคลือบอาบ ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ล) แม่กม ได้คำใช้ ๓ คำ คือ ปกคลุม มืดคลุ้ม เคลิบเคลิ้ม ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ล) แม่เกย ได้คำใช้ ๖ คำ คือ ดูคล้ายกัน แคล้วกันไป คลาศคล้อย ประโยธรคล้อย เดินคลอกันไป บ้านคล่อ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ค) ประโยคกับตัว (ว) แจกดังนี้ ๚ะ
๏ คว ควา ควิ ควี ควึ ควื ควุ ควู เคว แคว ไคว ใคว โคว เควา ควำ ควะ ๚ะ
๏ ควน ควัน ควาน ควิน ควีน ควึน ควืน ควุน ควูน เควน แควน โควน ควอน คววน เควียน เควือน เควิน เควอน ๚ะ
๏ ควง ควัง ควาง ควิง ควีง ควึง ควืง ควุง ควูง เควง แควง โควง ควอง คววง เควียง เควือง เควิง เควอง ๚ะ
๏ ควก ควัก ควาก ควิก ควีก ควึก ควืก ควุก ควูก เควก แควก โควก ควอก คววก เควียก เควือก เควิก เควอก ๚ะ
๏ ควด ควัด ควาด ควิด ควีด ควึด ควืด ควุด ควูด เควด แควด โควด ควอด คววด เควียด เควือด เควิด เควอด ๚ะ
๏ ควบ ควับ ควาบ ควิบ ควีบ ควึบ ควืบ ควุบ ควูบ เควบ แควบ โควบ ควอบ คววบ เควียบ เควือบ เควิบ เควอบ ๚ะ
๏ ควม ควัม ความ ควิม ควีม ควึม ควืม ควุม ควูม เควม แควม โควม ควอม คววม เควียม เควือม เควิม เควอม ๚ะ
๏ เควย เควอย ควาย ควาว ควิว ควีว ควึย ควืย ควุย ควูย เควว แควว โควย ควอย คววย เควียว เควือย เควีย เควียะ เควือ เควือะ เควอ เควอะ ควัว ควัวะ เควะ แควะ โควะ เควาะ ควุํ ควรรม ควรร ควอ คว่อ คว้อ คว๊อ คว๋อ ควัย ควือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ว) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๔ คำ คือ คว้าไขว่ คระวี ไปทุกแคว ล้มคว่ำ ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ว) แม่กน ได้คำใช้ ๔ คำ คือ เปลวควัน ควานหมอ เที่ยวคว้านหา แว่นแคว้น ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ว) แม่กง ได้คำใช้ ๓ คำ คือ ควิวควั่ง หมุนคว้าง รำแคว้ง ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ว) แม่กก ได้คำใช้ ๒ คำ คือ ฉีกควาก ขาดแควก ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ว) แม่กด แม่กบ ไม่มีคำใช้ ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ว) แม่กม ได้คำใช้คำ ๑ คือ ถ้อยความ ๚ะ
๏ ตัว (ค) ควบกับตัว (ว) แม่เกย ได้คำใช้คำ ๑ คือ วัวควาย ๚ะ
๏ จบตัว (ค) ประโยคเท่านี้ ๚ะ
๏ ตัว (ท) ประโยคกับตัว (ร) แจกดังนี้ ๚ะ
๏ ทร ทรา ทริ ทรี ทรึ ทรื ทรุ ทรู เทร แทร ไทร ใทร โทร เทรา ทรำ ทระ ๚ะ
๏ ทรน ทรัน ทราน ทริน ทรีน ทรึน ทรืน ทรุน ทรูน เทรน แทรน โทรน ทรอน ทรวน เทรียน เทรือน เทริน เทรอน ๚ะ
๏ ทรง ทรัง ทราง ทริง ทรีง ทรึง ทรืง ทรุง ทรูง เทรง แทรง โทรง ทรอง ทรวง เทรียง เทรือง เทริง เทรอง ๚ะ
๏ ทรก ทรัก ทราก ทริก ทรีก ทรึก ทรืก ทรุก ทรูก เทรก แทรก โทรก ทรอก ทรวก เทรียก เทรือก เทริก เทรอก ๚ะ
๏ ทรด ทรัด ทราด ทริด ทรีด ทรึด ทรืด ทรุด ทรูด เทรด แทรด โทรด ทรอด ทรวด เทรียด เทรือด เทริด เทรอด ๚ะ
๏ ทรบ ทรับ ทราบ ทริบ ทรีบ ทรึบ ทรืบ ทรุบ ทรูบ เทรบ แทรบ โทรบ ทรอบ ทรวบ เทรียบ เทรือบ เทริบ เทรอบ ๚ะ
๏ ทรม ทรัม ทราม ทริม ทรีม ทรึม ทรืม ทรุม ทรูม เทรม แทรม โทรม ทรอม ทรวม เทรียม เทรือม เทริม เทรอม ๚ะ
๏ เทรย เทรอย ทราย ทราว ทริว ทรีว ทรึย ทรืย ทรุย ทรูย เทรว แทรว โทรย ทรอย ทรวย เทรียว เทรือย เทรีย เทรียะ เทรือ เทรือะ เทรอ เทรอะ ทรัว ทรัวะ เทระ แทระ โทระ เทราะ ทรุํ ทรรรม ทรรร ทรอ ทร่อ ทร้อ ทร๊อ ทร๋อ ทรัย ทรือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (ท) ควบกับตัว (ร) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๗ คำ คือ อินทรา จันทรา อินทรีย นนทรี มณฑรี ต้นไทร ฉะเชิงเทรา ๚ะ
๏ ตัว (ท) ควบกับตัว (ร) แม่กน มีตัว (ซ) ใช้แทนมากแล้ว ๚ะ
๏ ตัว (ท) ควบกับตัว (ร) แม่กง ได้คำใช้ ๔ คำ คือ ทรงเครื่อง ใข้ทราง หมากทราง พระทรวง ๚ะ
๏ ตัว (ท) ควบกับตัว (ร) แม่กก ได้คำใช้ ๔ คำ คือ น้ำตาตกทรก ๆ สิ้นทราก ตัวแทรก ทรอกธาร ๚ะ
๏ ตัว (ท) ควบกับตัว (ร) แม่กด ได้คำใช้ ๔ คำ คือ เสื่อมทรุด ทรวดทรง มารเทรียด สวมเทริด ๚ะ
๏ ตัว (ท) ควบกับตัว (ร) แม่กบ ได้คำใช้ ๓ คำ คือ ผ้าทรับ ทรัพยสิน ทราบเรื่อง ๚ะ
๏ ตัว (ท) ควบกับตัว (ร) แม่กม ได้คำใช้ ๓ คำ คือ เลวทราม ทรุดโทรม โทรมนัศ ๚ะ
๏ ตัว (ท) ควบกับตัว (ร) แม่เกย ได้คำใช้คำ ๑ คือ ดินทราย ๚ะ
๏ ตัว (ท) ประโยคกับตัว (ล) ไม่ใคร่มีคำใช้ มีแต่ในแม่กง คำ ๑ คือ ทลวงไล่ แม่กกคำ ๑ คือ ทลักมุทลวก แม่กดคำ ๑ คือ เทลิด แม่เกย ๒ คำ คือ ทลุยทลาย
๏ ตัว (ท) ประโยคกับตัว (ว) ไม่ใคร่มีคำใช้ มีแต่ในแม่กด ๒ คำ คือ ธวัช ทวิช แม่เกยคำ ๑ คือ ทวาย ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ร) แจกดังนี้ ๚ะ
๏ พร พรา พริ พรี พรึ พรื พรุ พรู เพร แพร ไพร ใพร โพร เพรา พรำ พระ ๚ะ
๏ พรน พรัน พราน พริน พรีน พรึน พรืน พรุน พรูน เพรน แพรน โพรน พรอน พรวน เพรียน เพรือน เพริน เพรอน ๚ะ
๏ พรง พรัง พราง พริง พรีง พรึง พรืง พรุง พรูง เพรง แพรง โพรง พรอง พรวง เพรียง เพรือง เพริง เพรอง ๚ะ
๏ พรก พรัก พราก พริก พรีก พรึก พรืก พรุก พรูก เพรก แพรก โพรก พรอก พรวก เพรียก เพรือก เพริก เพรอก ๚ะ
๏ พรด พรัด พราด พริด พรีด พรึด พรืด พรุด พรูด เพรด แพรด โพรด พรอด พรวด เพรียด เพรือด เพริด เพรอด ๚ะ
๏ พรบ พรับ พราบ พริบ พรีบ พรึบ พรืบ พรุบ พรูบ เพรบ แพรบ โพรบ พรอบ พรวบ เพรียบ เพรือบ เพริบ เพรอบ ๚ะ
๏ พรม พรัม พราม พริม พรีม พรึม พรืม พรุม พรูม เพรม แพรม โพรม พรอม พรวม เพรียม เพรือม เพริม เพรอม ๚ะ
๏ เพรย เพรอย พราย พราว พริว พรีว พรึย พรืย พรุย พรูย เพรว แพรว โพรย พรอย พรวย เพรียว เพรือย เพรีย เพรียะ เพรือ เพรือะ เพรอ เพรอะ พรัว พรัวะ เพระ แพระ โพระ เพราะ พรุํ พรรรม พรรร พรอ พร่อ พร้อ พร๊อ พร๋อ พรัย พรือ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (พ) ควบกันตัว (ร) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๑๑ คำ คือ แตกพร่าไป มีดพร้า ฟ้าพรัดพรี ตกพรูๆ แพร่หลาย แพรศี พนมไพร ไพร่พล งามเพรา ฝนตกพรำ พร่ำพรู พระ ๚ะ
๏ ตัว (พ) ควบกับตัว (ร) แม่กน ได้คำใช้ ๔ คำ คือ พรั่นใจ นายพราน ขาดพรุน ลูกพรวน ม่วงพรวน ๚ะ
๏ ตัว (พ) ควบกับตัว (ร) แม่กง ได้คำใช้ ๑๒ คำ คือ อำพราง ตาพร่าง สะพรั่ง งามพริ่ง ไม้พรึง พรุ่งนี้ ก่อนเพรง ทางสองแพร่ง ไม้โพรง บกพร่อง คำพร้อง เพรียงกิน ๚ะ
๏ ตัว (พ) ควบกับตัว (ร) แม่กก ได้คำใช้ ๑๐ คำ คือ พรักพร้อม จากพราก พริกไทย พริกเทศ ไพรพฤกษ ดาวประกายพฤกษ หญ้าแพรก หมากโพรก พรอกพร้อง เสียงเพรียก ๚ะ
๏ ตัว (พ) 7 ควบกับตัว (ร) แม่กด ได้คำใช้ ๘ คำ คือ สร้างพรต พรัดพราก พรืด พรูด แพรด พรอด พรวด เพราเพริศ ๚ะ
๏ ตัว (พ) ควบกับตัว (ร) แม่กบ ได้คำใช้ ๓ คำ คือ แลบพรับ พริบตา สพรึบพร้อม ๚ะ
๏ ตัว (พ) ควบกับตัว (ร) แม่กมได้คำใช้ ๖ คำ คือ ประพรม ท้าวมหาพรหม พรหมจรรย พราหมณ พรั่งพร้อม เสียงเพรียม ๚ะ
๏ ตัว (พ) ควบกับตัว (ร) แม่เกย ได้คำใช้ ๘ คำ คือ เลื่อมพราย ภูตพราย แสงพราว มะพร้าว แพร้วๆ เรือเพรียว เล่นเพรื่อ เสียงเพราะ ๚ะ
----------------------------
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แจกดังนี้ ๚ะ
๏ พล พลา พลิ พลี พลึ พลื พลุ พลู เพล แพล ไพล ใพล โพล เพลา พลำ พละ ๚ะ
๏ พลน พลัน พลาน พลิน พลีน พลึน พลืน พลุน พลูน เพลน แพลน โพลน พลอน พลวน เพลียน เพลือน เพลิน เพลอน ๚ะ
๏ พลง พลัง พลาง พลิง พลีง พลึง พลืง พลุง พลูง เพลง แพลง โพลง พลอง พลวง เพลียง เพลือง เพลิง เพลอง ๚ะ
๏ พลก พลัก พลาก พลิก พลีก พลึก พลืก พลุก พลูก เพลก แพลก โพลก พลอก พลวก เพลียก เพลือก เพลิก เพลอก ๚ะ
๏ พลด พลัด พลาด พลิด พลีด พลึด พลืด พลุด พลูด เพลด แพลด โพลด พลอด พลวด เพลียด เพลือด เพลิด เพลอด ๚ะ
๏ พลบ พลับ พลาบ พลิบ พลีบ พลึบ พลืบ พลุบ พลูบ เพลบ แพลบ โพลบ พลอบ พลวบ เพลียบ เพลือบ เพลิบ เพลอบ ๚ะ
๏ พลม พลัม พลาม พลิม พลีม พลึม พลืม พลุม พลูม เพลม แพลม โพลม พลอม พลวม เพลียม เพลือม เพลิม เพลอม ๚ะ
๏ เพลย เพลอย พลาย พลาว พลิว พลีว พลึย พลืย พลุย พลูย เพลว แพลว โพลย พลอย พลวย เพลียว เพลือย เพลีย เพลียะ เพลือ เพลือะ เพลอ เพลอะ พลัว พลัวะ เพละ แพละ โพละ เพลาะ พลุํ พลรรม พลรร พลอ พล่อ พล้อ พล๊อ พล๋อ พลัย พลือ ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แม่ ก กา ได้คำใช้ ๑๕ คำ คือ พลับพลา พล่าเนื้อ ผลิดอก บัดพลี จุดพลุ ใบพลู เพล่ไป ไพล่เผล โพล้เพล้ พระเพลา กระดาดเพลา เพลาไบ พูดพล่ำ พลาดพลำ พละพลึง ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แม่กน ได้คำใช้ ๘ คำ คือ ฉับพลัน เดือดพล่าน พร้าวพลุ้น ตาโพลน มพร้าวพลอน กินพลอน เพลี้ยนคำ เพลินใจ ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แม่กง ได้คำใช้ ๑๕ คำ คือ ผิดพลั้ง ไปพลาง พละพลึง เดือดพลุ่ง ใจพลุ่ง ร้องเพลง พลิกแพลง เพลิงโพลง โดดน้ำโพล่ง นายโพล้ง ไม้พลอง พล่องแพล่ง แร่พลวง พลาดเพลี่ยง พระเพลอง ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แม่กก ได้ค้าใช้ ๕ คำ คือ เดือดพลักๆ กลับพลิก พลุกว่างา คนพลุกพล่าน หม้อพลวก ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แม่กด ได้คำใช้ ๔ คำ คือ จับพลัด พลาดล้ม เพล็ดดอก ช่างพลอด เพลิดเพลิน ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แม่กบ ได้คำใช้ ๒ คำ คือ เวลาพลบ ต้นมะพลับ ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แม่กม ได้คำใช้ ๕ คำ คือ เพลิงโพลงพลาม พูดพลุมพล่าม พูดพลอมแพลม ชุดอังแพลม ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ล) แม่เกย ได้คำใช้ ๑๐ คำ คือ ช้างพลาย ท้องพลุ้ย พลอยหัวแหวน พลอยพูดจา พูดพล่อย ๆ พลั่วแทงดิน อ่อนเพลีย ดีดเพลี้ย แพละโลม ผ้าเพลาะ ๚ะ
๏ ตัว (พ) ประโยคกับตัว (ว) แจกออกก็ไม่ใคร่ได้คำใช้ ในแม่กงมีคำใช้คำ หนึ่ง คือ พวงสงกา นอกนั้นไม่เหนได้คำที่ต้องใช้เลย ๚ะ
----------------------------
๏ อักษรประโยคสิ้น | สารแถลง |
คิดกลั่นสรรออกแจง | แจกไว้ |
จัดพวกอักษรแฝง | ฝากร่วม เสียงเฮย |
จบเสร็จสำเร็จได้ | ลอกแล้ว ลงพิมพ์ ๚ะ |
๏ แต่นี้จะว่า กับ แก่ แต่ ต่อ สี่คำนี้ต่อไป ผู้จะเขียนต้องใช้ให้ถูกกับความ ถ้าใช้ที่ควรจะว่า กับ ว่าเป็น แก่ เคลื่อนคลาศนักปราชที่มีใจละเอียดก็จะรังเกียดติเตียน แลแบบที่ถูกต้องถ่องแท้นั้น พระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เอกอรรคอุดมบัณฑิตย์ได้ทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบฉบับไว้เปนตัวอย่างดังนี้ ๚ะ
๏ คำพูดคำเขียนใช้ลงหนังสือ ย่อมแปลกๆ ต่างๆ ตามลักษณนิยมถ้อยคำนั้นๆ ให้ท่านผู้จะพูดแลจะใช้หนังสือ สังเกตที่ควรที่ไม่ควรจงประจักษ คือ ที่ควรจะว่ากับ กับก็มีว่าอย่างอื่นผิดไม่ถูก แลที่ควรจะว่าแก่ แก่ก็มีว่าต่อก็มี ว่าอย่างอื่นไม่ได้ไม่ถูก แลที่ควรต้องว่าแต่ แต่ก็มี ว่าอย่างอื่นไม่ชอบไม่ถูก แลที่ควรจะว่าแล ว่าในใช้ในคำสูงก็มี เปนหลายจำพวกดังนี้ ในทุกวันนี้ใช้คำผิดๆ มากนักเลื่อนเลอะปะปนกันไป ใช้คำว่า กับ กับ กับ มากนักทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ไม่มีผู้สังเกตว่าที่ควรที่ไม่ควรเลย เพราะฉนั้นจึ่งจะขอตั้งแบบชี้แจงไว้ให้เหนดังนี้ เหมือนในคำพูดว่า ๚ะ
(๑) คนอยู่ด้วยกัน (๒) ไปด้วยกัน (๓) มาด้วยกัน (๔) นั่งนอนด้วยกัน (๕) ทำด้วยกัน (๖) กินด้วยกัน (๗) เล่นด้วยกัน (๘) พูดกัน (๙) เจรจากัน (๑๐) ปฤกษากัน (๑๐) คิดอ่านกัน (๑๒) ดูเหมือนกัน (๑๓) คล้ายกัน (๑๔) อย่างเดียวกัน (๑๕) เรื่องเดียวกัน (๑๖) ชอบกัน (๑๗) วิวาทกัน (๑๘) ชกตีกัน (๑๙) รักใคร่กัน (๒๐) สมคบกัน (๒๑) ภบปะกัน (๒๒) ร่วมกัน (๒๓) ช่วยกัน (๒๔) พร้อมกัน (๒๕) สร้างด้วยกัน (๒๖) ผูกพันกัน (๒๗) ร้อยด้วยกัน (๒๘) คู่กัน (๒๙) สำหรับกัน (๓๐) ตรงกัน (๓๑) ต้องกัน (๓๒) ติดเนื่องกัน (๓๓) ตลอดถึงกัน (๓๔) เพื่อนกัน (๓๕) นับถือกัน (๓๖) เปนใม้ตรีกัน (๓๗) ชิดกัน (๓๘) ซ้ำกัน (๓๙) ใกล้กัน (๔๐) เคียงกัน (๔๑) ต่อกัน (๔๒) รวมกัน (๔๓) แข่งกัน (๔๔) แย่งชิงกัน (๔๕) สมทบกัน (๔๖) ประจวบกัน (๔๗) โดนกัน (๔๘) คล้องจองกัน (๔๙) ถูกต้องกัน (๕๐) ผสมกัน (๕๑) คละกัน (๕๒) เจือปนกัน (๕๓) บวกเข้าด้วยกัน (๕๔) คราวเดียวกัน (๕๕) เสมอกัน (๕๖) เท่ากัน ในคำเหล่าที่ว่ามานี้ต้องที่ใช้ว่า กับกับ จะใช้อย่างอื่นไม่ได้เลย
๏ ๑ คือ นายอยู่ด้วยกันกับบ่าว เจ้าอยู่กับทาษ ฤๅ ฯข้าฯ อยู่ด้วยกันกับผู้มีชื่อ ๚ะ
๏ ๒ บิดาไปด้วยกันกับบุตร ฤๅไปกับช้างม้าฬ่อเกวียน ๚ะ
๏ ๓ พวกลูกค้ามาด้วยกันกับพวกต่าง ๚ะ
๏ ๔ หญิงนั่งด้วยกันนอนด้วยกันกับชาย ๚ะ
๏ ๕ ผู้ต้องเกณฑ์ทำด้วยกันกับนายด่าน ๚ะ
๏ ๖ ไทยนั่งล้อมกินโต๊ะด้วยกันกับจีน ๚ะ
๏ ๗ ผู้ดีเล่นด้วยกันกับไพร่ ๚ะ
๏ ๘ สิศย์พูดกับอาจาริย์ ๚ะ
๏ ๙ กงสุลเจรจากับราชทูต ๚ะ
๏ ๑๐ ผู้ใหญ่ปฤกษากันกับผู้น้อย ๚ะ
๏ ๑๑ นายงานคิดอ่านกับลูกจ้าง ๚ะ
๏ ๑๒ เรื่องความนั้นดูเหมือนกับสำนวนคนนั้น ๚ะ
๏ ๑๓ รูปภาพนี้คล้ายกับคนจริง ฤๅรูปพรรณของนี้คล้ายกับของนั้น ๚ะ
๏ ๑๔ ฝีมือช่างนี้ เปนอย่างเดียวกัน กับฝีมือช่างโน้น ๚ะ
๏ ๑๕ ความเรื่องนี้เรื่องเดียวกันกับความเรื่องโน้น ๚ะ
๏ ๑๖ ชาวบ้านนั้นชอบกันกับบ้านนี้ ๚ะ
๏ ๑๗ พวกลาววิวาทกันกับพวกแขก ๚ะ
๏ ๑๘ พวกบ้านเหนือชกตีกันกับพวกบ้านใต้ ๚ะ
๏ ๑๙ เขมรรักใคร่กันกับญวน ๚ะ
๏ ๒๐ พวกไทยสมคบกันกับพวกจีน ๚ะ
๏ ๒๑ ชาวเมืองพบปะกันกับชาวบ้านนอก ๚ะ
๏ ๒๒ นักปราชทุกวันนี้ คิดร่วมกันกับนักปราชเก่า ๆ ลูกเด็กคนนี้เกิดร่วมเวลากันกับเด็กคนโน้น ๚ะ
๏ ๒๓ เจ้านายกับข้าราชการ ช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมือง ๚ะ
๏ ๒๔ ผู้ใหญ่พร้อมกันกับผู้น้อย ๚ะ
๏ ๒๕ เจ้าเมืองกรมการสร้างวัดด้วยกันกับราษฎร ๚ะ
๏ ๒๖ ผลมพร้าวผูกด้วยกันกับผลส้มต่าง ๚ะ
๏ ๒๗ เรือน้อยร้อยไว้ด้วยกันกับเรือใหญ่ ๚ะ
๏ ๒๘ ท่านจางวางซ้าย คู่กันกับท่านจางวางขวา
๏ เมืองนั้นเปนคู่ปรับกับเมืองนั้น ๚ะ
๏ ปืนสำหรับกับทหาร ฝาคลุมสำหรับกับโต๊ะกับพาน
๏ ๒๙ ม่อเข้าสำหรับกับเชิงกราน ๚ะ
๏ ๓๐ ทิศเหนือตรงกันกับทิศใต้ ๚ะ
๏ ๓๑ ความเรื่องนั้นต้องกันกับเรื่องนี้ บทร้องนั้นคล้องจองกันกับบทนี้ ๚ะ
๏ ๓๒ แถวถนนติดเนื่องกันกับตลาด ๚ะ
๏ ๓๓ คลองมหานากตลอดถึงกันกับคลองผดุง ๚ะ
๏ ๓๔ นายคงเพื่อนกันกับนายเกิด ๚ะ
๏ ๓๕ ผู้มีทรัพย์นับถือกันกับลูกค้า ๚ะ
๏ ๓๖ ในกรุงเปนไมตรีกันกับต่างประเทศ ๚ะ
๏ ๓๗ ทองเหลืองหุ้มชิดกันกับเนื้อไม้ ๚ะ
๏ ๓๘ ความต้นซ้ำกันกับข้างปลาย ๚ะ
๏ ๓๙ ตั้งป้อมใกล้กันกับลำคลอง ๚ะ
๏ ๔๐ เครื่องทองตั้งเคียงกันกับเครื่องแก้ว ๚ะ
๏ ๔๑ คำที่ว่าไว้ในต้นต่อกันกับคำที่ว่าข้างท้าย ๚ะ
๏ ๔๒ ทุนทรัพย์ของผู้ยังรวมกับของผู้ตาย ๚ะ
๏ ๔๓ ม้าขาววิ่งแข่งกันกับม้าแดง ๚ะ
๏ ๔๔ เรือญวนแจวแข่งกันกับเรือพาย ๚ะ
๏ ๔๕ ผู้ร้ายแย่งชิงกันกับเจ้าของทรัพย์ ๚ะ
๏ ๔๖ ขบวนหน้าสมทบกันกับขบวนหลัง ๚ะ
๏ ๔๗ คนเกิดเวลาประจวบกันกับวันเพญ ๚ะ
๏ ๔๘ เรือขึ้นโดนกันกับเรือล่อง ๚ะ
๏ ๔๙ ดินประสิว ผสมกันกับมาศ ทองเหลืองผสมกันกับทองแดง ๚ะ
๏ ๕๐ เงินดีคละกันกับเงินแดง ๚ะ
๏ ๕๑ สังกะสีเจือปนกันกับดีบุก ๚ะ
๏ ๕๒ มะพร้ามบวกเข้าด้วยกันกับผลไม้ต่างๆ ๚ะ
๏ ๕๓ อายุ ฯข้าฯ คราวเดียวกันกับท่านผู้นั้น ๚ะ
๏ ๕๔ เงินสี่สิบแปดเหรียน ใช้เท่ากันกับเงินตราชั่งหนึ่ง ๚ะ
๏ ๕๕ ท่านผู้นั้นทำยศศักดิ์เสสมอกันกับที่ราชนิกูล ๚ะ
๏ คำต้องที่ใช้ กับ กับ กับ ดังกล่าวมานี้จะร่ำไปอีก ก็จะไม่สุดลง ให้สังเกต เทียบดูตามลักษณ ที่กล่าวมาแล้วนั้นเถิด ๚ะ
๏ เมื่อก่อนนี้ในปีที่ล่วงมาแล้ว ได้เขียนประกาศไว้ที่กำแพงข้างนอกก็มี ได้ให้ตีพิมพ์ประกาศแจกไปแก่ท่านทั้งหลายทั้งปววก็มี ชี้แจงไปว่าด้วยจะใช้คำว่า กับ กับ กับ ให้ถูก ท่านผู้ฟังไป ต้องถูกตำหนิติเตียนว่าใช้ กับ กับ กับ มากนักอะไร ๆ ก็ใช้ กับ กับ กับ ไปเสียหมด ก็กลับยักมาใช้ว่า แก่ แก่ แก่ ไป ในที่ควรจะใช้ว่ากับจริง ๆ ก็กลับยักมาใช้ แก่ แก่ แก่ เล่า ทำให้เลอะเลื่อนไปอีก เพราะฉนั้นจะได้ชี้แจงแบบลงไว้ ให้เหนว่าในที่เช่นคำดังจะว่าต่อไปนี้ จึ่งควรต้องใช้ว่าแก่จะใช้ว่ากับ ฤๅว่าอย่างอื่นไปไม่ได้เลยทีเดียว ๚ะ เหมือนในคำที่พูดอย่างนี้ ๚ะ
(๑) ให้ (๒) ส่งให้ (๓) ยอมให้
(๔) แจกให้ (๕) บอกให้ (๖) บอกเล่า
(๗) เสียเงินให้ (๘) ตัดสินให้ (๙) แบ่งให้
(๑๐) ให้ถ้อยคำ (๑๑) ให้การ (๑๒) มอบไว้
(๑๓) ขายไว้ (๑๔) จำนำไว้ (๑๕) อายัดไว้
(๑๖) ฝากไว้ (๑๗) ไว้ธุระ (๑๘) ไว้ใจ
(๑๙) ปลงใจ (๒๐) ไว้ความ (๒๑) แจ้งความ
(๒๒) ชี้แจง (๒๓) แพ้ความ (๒๔) แพ้รู้
(๒๕) บอกไป (๒๖) เสียของไป (๒๗) เสียที
(๒๖) เสียกล (๒๓) เสียอะไร ๆ (๓๐) ควร
(๓๑) สมควร (๓๒) ว่า (๓๓) ต่อว่า
(๓๔) ตอบ (๓๕) ขึ้น (๓๖) ทำคุณ
(๓๗) ทำโทษ (๓๘) ลงโทษ (๓๙) ทำร้าย
(๔๐) ทำอะไร ๆ (๔๒) แจกจ่าย (๔๒) แบ่งปัน
(๔๓) ปรับไหม (๔๔) เอ็นดู (๔๕) เปนสิทธิ์
(๔๖) ลุ่มหลง (๔๗) ทอดเท (๔๘) ทับถม
(๔๙) ฆ่าศึก (๕๐) สมเคราะห์ (๕๑) อนุเคราะห
๏ ในคำเหล่าที่ว่ามานี้ ต้องที่ใช้ว่าอย่างนี้ อย่างอื่นไม่ได้เลย ๚ะ
๏ ที่ ๑ ให้แก่ เหมือนคำว่า ผู้มีทรัพย์แจกเงินให้แก่คนยาก ผู้ใดให้เข้าให้เกลือให้เรือให้พายแก่โจร ๚ะ
๏ ที่ ๒ ส่งให้แก่ เหมือนคำว่า ร่างหมายรับสั่งส่งให้แก่เจ้าพนักงาน ๚ะ
๏ ที่ ๓ ยอมให้แก่ เหมือนคำว่า ลูกเรือยอมให้แก่นายเรือตัดสินความ ๚ะ
๏ ที่ ๔ แจกให้แก่ เหมือนคำว่า หมายประกาศแจกให้แก่ข้าราชการแลราษฎร ๚ะ
๏ ที่ ๕ ฝากให้แก่ เหมือนคำว่ามีของฝากให้แก่หัวเมือง ๚ะ
๏ ที่ ๖ บอกเล่าแก่ เหมือนคำว่า ตำรานี้พระฤๅษีนารท บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์ ๆ ได้บอกเล่าแก่สิศย์ต่อมา แลคำว่าผู้เอาความข้างนี้ไปบอกเล่าแก่ข้างโน้น ๚ะ
๏ ที่ ๗ เสียเงินให้แก่ เหมือนคำว่า เจ้าของสวนเสียเงินให้แก่นายระวาง ๚ะ
๏ ที่ ๘ ตัดสินให้แก่ เหมือนคำว่า ของกลางท่านตัดสินให้แก่โจทย์ ๚ะ
๏ ที่ ๙ แบ่งให้แก่ เหมือนคำว่า เงินทุนกำไรควรแบ่งให้แก่ผู้เข้าส่วนตามมากแลน้อย
๏ ที่ ๑๐ ให้ถ้อยคำแก่ เหมือนคำว่า เจ้าสำนวนให้ถ้อยคำแก่คู่ความ ๚ะ
๏ ที่ ๑๑ ให้การแก่ เหมือนคำว่า นายบุญศรีให้การแก่พระเกษม
๏ ที่ ๑๒ มอบไว่แก่ เหมือนคำว่า บาญชีรายจ่ายได้มอบไว้แก่นายงานแล้ว ๚ะ
๏ ที่ ๑๓ ขายไว้แก่ เหมือนคำว่า ฯข้าฯ ได้เอารูปพรรณสิ่งนี้ ๆ ไปขายไว้แก่ท่าน ๚ะ
๏ ที่ ๑๔ จำนำไว้แก่ เหมือนคำว่า ทาษลักของนายเงินไปจำนำไว้แก่คนนอกบ้าน ๚ะ
๏ ที่ ๑๕ อายัดไว้แก่ เหมือนคำว่า เจ้าของกระบือเอากระบือไปอายัดไว้แก่กำนัน ๚ะ
๏ ที่ ๑๖ ฝากไว้แก่ เหมือนคำว่า แต่ของเล็กน้อยเอาไปฝากไว้แก่เพื่อนบ้าน ๚ะ
๏ ที่ ๑๗ ไว้ธุระแก่ เหมือนคำว่า ผู้ใหญ่ไว้ธุระแก่ผู้น้อย ๚ะ
๏ ที่ ๑๘ ไว้ใจแก่ เหมือนคำว่า เหตุทั้งนี้เพราะไว้ใจแก่คนข้างนอก ๚ะ
๏ ที่ ๑๙ ปลงใจแก่ เหมือนคำว่า ผัวปลงใจแก่เมีย ๚ะ
๏ ที่ ๒๐ ไว้ความแก่ เหมือนคำว่า นายแสงพี่ไว้ความแก่นายแดงน้องว่าต่าง ๚ะ
๏ ที่ ๒๑ แจ้งความแก่ เหมือนคำว่า พี่ท่านแจ้งความแก่น้องท่าน ๚ะ
๏ ที่ ๒๒ ชี้แจงแก่ เหมือนคำว่า ครูอาจารยสั่งสอนชี้แจงแก่สิศย์ ๚ะ
๏ ที่ ๒๓ แพ้ความแก่ เหมือนคำว่า โจทย์แพ้ความแก่จำเลย ๚ะ
๏ ที่ ๒๔ แพ้รู้แก่ เหมือนคำว่า คนโง่แพ้รู้แก่คนฉลาด ๚ะ
๏ ที่ ๒๕ ให้ไปแก่ เหมือนคำว่า ส่วนทรัพย์ที่เหลืออยู่ได้ทำบุญให้ไปแก่ผู้ตาย ๚
๏ ที่ ๒๖ บอกไปแก่ เหมือนคำว่า ข้อราชการทั้งปวง บอกไปแก่หัวเมืองปากใต้ฝ่ายเหนือให้ทราบแล้ว ๚ะ
๏ ที่ ๒๗ เสียของไปแก่ เหมือนคำว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีคดีต่าง ๆ ต้องเสียของไปแก่สุภาตระลาการเปนธรรมเนียม
๏ ที่ ๒๘ เสียทีแก่ เหมือนคำว่า ผู้เจ้าของกระบือ เสียทีแก่อ้ายผู้ร้าย ๆ ลักกระบือไปได้ ๚ะ
๏ ที่ ๒๙ เสียอะไร ๆ แก่ เหมือนคำว่าคนซื่อ ๆ มักเสียรู้แลเสียอะไร ๆ แก่คนโกง ๚ะ
๏ ที่ ๓๐ ควรแก่ เหมือนคำว่า คดีใดควรแก่แพ้ก็ให้แพ้ ควรแก่ชะนะก็ให้ชนะ ๚ะ
๏ ที่ ๓๑ สมควรแก่ เหมือนคำว่า เครื่องยศสำรับนี้สมควรแก่เจ้าพระยา
๏ ที่ ๓๒ ว่าแก่ เหมือนคำว่า ผู้มีชื่อว่าแก่เพื่อนกัน ๚ะ
๏ ที่ ๓๓ ต่อว่าแก่ เหมือนคำว่า ผู้ที่ได้ส่วนแบ่งปันน้อย ต่อว่าแก่ท่านแม่กอง ๚ะ
๏ ที่ ๓๔ ตอบแก่ เหมือนคำว่า สิศย์ตอบแก่อาจารยว่า ฯข้าฯ ยังไม่เข้าใจ ๚ะ
๏ ที่ ๓๕ ขึ้นแก่ เหมือนคำว่า หัวเมืองขึ้นแก่กรมมหาดไทย แลหัวเมืองขึ้นแก่กรมพระกระลาโหม ๚ะ
๏ ที่ ๓๖ ทำคุณแก่ เหมือนคำว่า ผู้ใดทำคุณแก่ท่าน ๆ ก็ย่อมทำคุณแก่ตน ๚ะ
๏ ที่ ๓๗ ทำโทษแก่ เหมือนคำว่า ผู้ใดทำโทษแก่ท่าน คือมัดผูกเฆี่ยนตีจำจองแลอื่น ๆ ๚ะ
๏ ที่ ๓๘ ลงโทษแก่ เหมือนคำว่า เจ้านายลงโทษแก่ผู้มีความผิด ๚ะ
๏ ที่ ๓๙ ทำร้ายแก่ เหมือนคำว่า คนร้ายเที่ยวทำร้ายแก่ชาวบ้านชาวเรือขึ้นล่องเนือง ๆ ๚ะ
๏ ที่ ๔๐ แจกจ่ายไปแก่ เหมือนคำว่า หมายประกาศแจกจ่ายไปแก่ข้าราชการแลราษฎรอื่น ๆ ๚ะ
๏ ที่ ๔๑ แบ่งปันแก่ เหมือนคำว่า ทรัพย์สิ่งของ ๆ บิดามารดาแบ่งปันแก่บุตรหลานแลญาติพี่น้อง ๚ะ
๏ ที่ ๔๒ บังคับแก่ เหมือนคำว่า ตระลาการบังคับแก่คู่ความให้นำสืบพยาน ๚ะ
๏ ที่ ๔๓ ปรับไหมแก่ เหมือนคำว่า ลูกขุนปรับไหมแก่โจทย์ ๚ะ
๏ ให้กับไม่ได้ต้องว่า ให้แก่ ว่ากับไม่ได้ต้องว่า ว่าแก่ ขายกับไม่ได้ ต้องว่าขายแก่ ๚ะ
๏ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศอีกครั้งหนึ่งดังนี้ ๚ะ
๏ ประกาศให้คนเขียนหนังสือทั้งปวง ทราบทั่วแล้วสังเกตใช้ ให้ถูกในที่ควรจะว่ากับ ว่าแก่ว่าแดว่าแต่ว่าต่อว่าในว่ายัง จงสังเกตให้แน่แล้วใช้ให้ถูก อย่าให้เปนกับไปทุกแห่ง แลอย่ากลัวกับงกเงิ่นไป ๚ะ
๏ คนสองคนสามคนขึ้นไป ทำกิริยาเหมือนกัน ใช้ว่ากับ ผัวนอนกับเมีย ผัวอยู่กับเมีย นายไปกับบ่าว คนหนึ่งนั่งพูดเล่นกับคนหนึ่ง นายปฤกษากับบ่าว บุตรร่วมศุขทุกข์กับบิดามารดา ลูกค้าซื้อขายกับชาวบ้าน ขุนนางเจรจากับแขกเมือง ลครเล่นกับตลก คนหนึ่งวิวาทกับเพื่อนบ้าน ผู้ร้ายตีรันกันกับเจ้าเรือน คนโทษไปกับผู้คุม อะไรอื่น ๆ เช่นนี้มากมายนัก เอาที่คนสองคนสามคนฤๅมากทำกิริยาเดียวกันทำด้วยกัน จึ่งใช้กับ ๚ะ
----------------------------
๏ อนึ่งถ้าเปนของที่ไปด้วย มาด้วย อยู่ด้วย ได้มาด้วย เสียไป หายไปด้วยกัน ก็ว่ากับได้ เหมือนหนึ่งคนไปกับย่ามของตัว ไปกับดาบแลปืนฃองตัวก็ว่าได้ คนมากับหาบสิ่งของ คนแก่มากับไม้ท้าว คนมากับช้างกับม้ากับโคกับกระบือ คนอยู่กับหีบผ้า ทองเกบไว้กับเงิน ผ้ากับเสื้ออยู่ด้วยกัน คนได้มีดมากับด้ำ ได้ขวานมากับสิ่ว ได้ปืนมากับดินดำ ได้เกวียนมากับวัว หีบไฟไหม้เสียกับผ้า เงินหายไปกับถุงด้วยกัน ๚ะ
๏ ของก็ดี สัตวก็ดี คนก็ดี อยู่ด้วยกันไปด้วยกัน ทำอะไรด้วยกัน ต้องที่จะออกชื่อด้วยกันว่ากับได้สิ้น คือเงินกับทอง หม้อเข้ากับเชิงกราน บังเหียนกับม้า ตะพดกับโค สายสนตะภายกับกระบือ นกกับกรง ทหารกับปืน คนกับช้าง ม้ากับรถ โคกับเกวียน คนกับรองท้าว ร่มกับรองท้าว ช้างกับม้า ลากับอูฐ บุตรกับบิดา ข้ากับเจ้า เรือกับคน อะไรๆ เปนอันมาก ที่ไปด้วยกัน มาด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ทำอะไรด้วยกัน ว่ากับได้หมด แต่ ถวาย แลให้ แลรับ แลเรียกเอาบอกเล่า ว่ากับไม่ได้เลย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในหลวง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายในเจ้าต่างกรม กำนันในท่านเสนาบดี ๚ะ ถวายพระพรแดพระเจ้าอยู่หัว . กราบทูลพระกรุณาแดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบทูลต่อเจ้าต่างกรม เจ้ายังไม่ได้ตั้งกรม เรียนต่อท่านเสนาบดี แจ้งความต่อผู้สำเรจราชการเมืองกรมการ ฟ้องต่อลูกขุนณสาลหลวง ให้ใช้ ใน แด ต่อ โดยสมควร นอกกว่านี้ใช้แก่ คือ พระราชทานแก่ ใช้แก่ บอกแก่ แจ้งความแก่ ทำคุณแก่ ทำโทษแก่ ลงโทษแก่ ใครๆ อะไรๆ ว่าไม่สุดแล้ว คำที่ต่อกับ ให้แก่ บอกแก่ แจ้งแก่ ร้องเรียนแก่ ทำโทษแก่ ทำคุณแก่ ทำให้แก่ บอกให้แก่ แจกจ่ายแก่ จ่ายไปแก่ เสียให้แก่ แลอื่นๆ ที่คล้ายกัน ให้ว่าแก่อย่าว่ากับเลย ๚ะ
๏ รับแต่ ขอแต่ เรียกแต่ เร่งแต่ เอาแต่ มาแต่ เอามาแต่ ได้มาแต่ รับพระราชทานแต่ ได้อนุเคราะห์แต่ เรียกภาษีแต่ ฟังแต่ รู้แต่ แลอื่นๆ ใช้แต่ ในที่ว่าด้วยต้นทางมา ๚ะ
----------------------------
๏ อนึ่งพึงให้จำแต่ย่อๆ ดังนี้ ๚ะ
๏ ไปกับ มากับ นั่งกับ นอนกับ ยืนกับ เดินกับ กินกับ ทำด้วยกันกับ เล่นกับ เที่ยวไปกับ พูดกันกับ เจรจากับ ปฤกษากับ คิดอ่านกับ เหมือนกับ เช่นกับ วิวาทกับ ชกตีกับ รักใคร่กับ ชอบภอกับ อยู่ด้วยกันกับ อาไศรยอยู่กับ เอาไวกับ สมคบกับ รวมกับ พร้อมกับ ร่วมกับ ผูกกับ ติดกับ ร้อยกับ ตรึงกับ ตรงกันกับ ต้องกันกับ เกี่ยวค่องกับ เปนความกับ สิ่งนั้นกับสิ่งนั้น คนนั้นกับคนนั้น ผัวกับเมีย นายกับบ่าว ข้ากับเจ้า บุตรกับธิดา ชายกับหญิง พระสงฆ์กับคฤหัฐ ชาววัดกับชาวบ้าน ช้างกับม้า โคกับกระบือ ม้ากับรถ โคกับเกวียน เงินกับทอง หม้อเข้ากับเชิงกราน นกกับกรง ทหารกับปืน ร่มกับรองท้าว คนกับเรือ ฯข้าฯ กับผู้มีชื่อ ตระลาการกับลูกความ โจทยกับจำเลย หมอกับคนไข้ ที่บ้านกับที่สวน ๚ะ
๏ ให้แก่ ไว้แก่ ให้ไว้แก่ มอบแก่ มอบให้แก่ ขึ้นแก่ ส่งแก่ ว่าแก่ ต่อว่าแก่ บอกแก่ เล่าแก่ ตอบแก่ แจ้งแก่ แจ้งความแก่ ไว้ใจแก่ ปลงใจแก่ ไว้ธุระแก่ ฆ่าศึกแก่ ควรแก่ สมควรแก่ ทำแก่ ทำคุณแก่ ลงโทษแก่ จ่ายแจกแก่ แบ่งปันแก่ เสียเงินแก่ ปรับใหมแก่ ไว้ความแก่ ส่งให้แก่ อายัดไว้แก่ ตัดสินให้แก่ เปนสิทธิแก่ ตกไปแก่ เอนดูแก่ สงเคราะห์แก่ อนุเคราะห์แก่ ฟ้องแก่ ร้องแก่ เรียนแก่ อ้อนวอนแก่ ๚ะ
๏ ขอแต่ เอาแต่ รับมาแต่ เอาไปแต่ เอามาแต่ ได้มาแต่ เรียกแต่ เร่งแต่ เก็บเงินแต่ เรียกภาษีแต่ ยื้มมาแต่ ซื้อแต่ เช่าแต่ กู้แต่ ถ่ายมาแต่ ขอโทษแต่ ๚ะ
๏ จบคำกำหนดใช้ กับ แก่ แต่ ต่อ เท่านี้ ๚ะ
----------------------------
๏ อนึ่งพึงให้กุลบตร มีความสังเกตถ้อยคำที่ท่านใช้ อักษรสูงกับอักษรกลาง รวบเข้าเปนสำเนียงเดียวกัน แต่อักษรสูงไม่มีอำนาจที่จะจูงนำอักษรกลาง ให้เปนเสียงสูงได้ถึงควบกันเข้า ก็คงเปนสำเนียงอักษรกลางอยู่ตามเดิมดุจคำเหล่านี้ ๚ะ
๏ สกล สกนธ์ สกรรจ์ สเก็ด สกุณ สกุล สกอ สกัด สกิด ถกน ถเกิง ฉกาจ ฉกรรจ์ สก๊อด ขจร ขจัด ขจิตร วจี ขจาย ผจญ แสดง สดุด เสด่า เสดจ สดวก สดำ สดม ผดุง ผศา เผด็จ เผดียง ขดาน เขดา ไอสติม แม่น้ำโสตง สบง เสบียง แสบก สบัก สบาป ฉบัง ฉบบ ฉบับ สบถ สบัด เขบ็จ ขบวน ฉอ่ำ ฉอุ่ม ฉอับ สอาด สอิด สเอียน ผอบ ๚ะ
๏ คำเช่นนี้มีมากชัมาว่าไว้ภอเปนอย่างเท่านี้ ๚ะ