- คำนำ
- อธิบายเรื่องเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ
- ประกาศการเสด็จพระราชดำเนินประพาศหัวเมืองฝ่ายเหนือ
- (ฉบับที่ ๑)
- (ฉบับที่ ๒)
- (ฉบับที่ ๓)
- (ฉบับที่ ๔)
- (ฉบับที่ ๕)
- (ฉบับที่ ๖)
- (ฉบับที่ ๗)
- (ฉบับที่ ๘)
- (ฉบับที่ ๙)
- (ฉบับที่ ๑๐)
- (ฉบับที่ ๑๑)
- (ฉบับที่ ๑๒)
- (ฉบับที่ ๑๓)
- (ฉบับที่ ๑๔)
- (ฉบับที่ ๑๕)
- (ฉบับที่ ๑๖)
- (ฉบับที่ ๑๗)
- (ฉบับที่ ๑๘)
- (ฉบับที่ ๑๙)
- (ฉบับที่ ๒๐)
- (ฉบับที่ ๒๑)
- (ฉบับที่ ๒๒)
- (ฉบับที่ ๒๓)
- (ฉบับที่ ๒๔)
- (ฉบับที่ ๒๕)
- (ฉบับที่ ๒๖)
(ฉบับที่ ๒๑)
บ้านขมัง ขาล่อง
วันที่ ๒๙ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐
ถึงกรมหลวงเทวะวงษวโรประการ
อนุสนธิรายงานวันนี้ เวลาเช้า ๒ โมงเศษไปนมัสการลาพระชินราช เวลา ๓ โมงเช้าออกเรือจากเมืองพิศณุโลก อากาศเย็นตลอดวัน มาถึงบ้านขมังแขวงเมืองพิจิตรเวลาบ่าย ๕ โมง ทราบว่าฝนตกมาก ลงเรือเล็กไปดูบึงขมัง บึงนี้ว่าโดยยาวประมาณ ๕๐ เส้นฤา ๖๐ เส้น กว้าง ๔๐ เส้นเศษ เปนที่ลุ่มน้ำขังแต่น่าน้ำ น่าแล้งน้ำแห้งเปนทุ่งหญ้าแพรก ตามที่ขอบๆ มีทำนาบ้าง ข้างในเข้าไปทำไม่ได้ เพราะมีช่องทางบึงตะโกแลอื่น ๆ เมื่อเวลาน้ำมาท่วมเร็วต้นเข้าจมน้ำ พระยาพิจิตรได้คิดขุดรางให้น้ำทางแม่น้ำไหลเข้าไปเพื่อจะได้ให้ตื้นขึ้นเร็ว แล้วได้คิดจะปิดน้ำทางอื่นให้อยู่นานเข้า จะเปนที่ทำนาได้ ที่ฉันไปวันนี้ขึ้นที่ปากรางน้ำเดินไปทางพื้นแผ่นดินจนถึงปากบึงซึ่งน้ำแห้งเปนโคลน เดินโดยตพานเรือกรวมทาง ๖ เส้น น้ำในกลางบึงฦก ๔ ศอกเศษ ดีกว่าบึงสีไฟที่ไม่มีสนุ่น มีทางคนเดินออกจากบึงในเวลาน้ำแห้ง ซึ่งในเวลานี้เปนคลอง ทางหนึ่งเรียกว่าป่าคำ ทางหนึ่งเรียกว่าป่ากลาง ทั้ง ๒ ทางนี้ไปลงคลองเข้าตอก ซึ่งเปนคลองในระหว่างแม่น้ำเก่าแลแม่น้ำใหม่ พวกแม่น้ำเก่ายังได้อาไศรยกินน้ำคลองเข้าตอกนี้ ฉันได้ไปทางคลองแรกเพราะใกล้น้ำเชี่ยวจัด ที่ปากทางฤาปากคลองซึ่งไปนั้นว่าเสือชุม ไปหน่อยหนึ่งถึงวัดป่าคำซึ่งตั้งอยู่ปากคลองเข้าตอก ตรงคลองร่วมทางปากคำนี้เปนที่น้ำฦกเปนวังที่จรเข้ใหญ่อยู่ แล้วว่าดุด้วย กลับไม่ได้แวะที่พลับพลาซึ่งเขาปลูกไว้กลางบึง เพราะจวนค่ำ ยุงมีแต่ไม่ชุม
สยามินทร์