ประวัติมหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช

หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช สมภพที่วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ตำบลถนนบำรุงเมือง อำเภอสำราญราษฎร์ จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๒๑ ตรงกับวันจันทร์เดือน ๗ แรม ๑ ค่ำ ปีฉลู นพศก จุลศักราช ๑๒๓๙ เวลา ๑ ทุ่ม ๓๐ นาที พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศเป็นพระบิดา หม่อมอุ่ม ศรีธวัช ณอยุธยา เป็นมารดา พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระราชทานนามเมื่อวันที่ ๒๗ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๒๖ ว่า “หม่อมเจ้าธำรงศิริ” นาคนาม ชนมายุได้ ๑๐ ปี ได้ไปเชิญหางนกการะเวกเข้าขบวนแห่เฉลิมพระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ แล้วได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นั้น ชนมายุ ๑๑ ปี ได้เชิญหางนกการะเวกเข้าขะบวนแห่พระบรมนามาภิไธย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวพระราชทานสัญญาบัตร์เป็น กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ในระหว่างที่เป็นมหาดเล็กรับใช้อยู่ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประคองพระโกศสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตน์มณีมัย เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตตม์ธำรง เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ จากตำหนักข้างในไปประดิษฐานณะหอธรรมสังเวช ชนมายุ ๑๑ ถึง ๑๕ ปี ได้ทรงศึกษาหนังสือไทยที่โรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ชนมายุ ๑๒ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เกษากัณต์ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๐๗ (พ.ศ. ๒๔๓๑) ตรงกับวัน ๗ ๑๔ ๔ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ ทรงจรดพระกันบิดกันไกร ครั้นเมื่อชนมายุได้ ๑๘ ปี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จสวรรคตจึงได้กลับไปอยู่ที่วังกับพระบิดา ได้ช่วยพระบิดาในการทำมาค้าขาย ชนมายุ ๒๔ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทรงผนวชเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) สมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นอุปัธยาจารย์ พระธรรมปาโมกข์ (ถม) เป็นกรรมวาจาจารย์ พระราชมุนี (ชม) เป็นอนุสาวนาจารย์ จำพรรษาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษา ได้ทรงลาสิกขาบทเมื่อวันที่ ๒๐ เดือนพฤศจิกายน ศกนั้น ครั้นลาสิกขาบทแล้ว พระบิดาได้ทำการสมรสกับเอื้อนบุตร์พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ครั้นวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้เข้ารับราชการในกรมพลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นนักเรียนราชการที่มณฑลอยุธยา ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๐ บาท วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๖๐ บาท วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ รับตำแหน่งนายอำเภอเสนาใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐ บาท วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ รับตำแหน่งปลัดจังหวัดปราจิณบุรี รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๕๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ รับตำแหน่งผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจิณบุรี รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๓๕๐ บาท วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๘ รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจิณบุรี รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๐๐ บาท วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ รับตำแหน่งปลัดมณฑลปราจิณ รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๔๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๔๕๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๕๐๐ บาท วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๑ รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๕๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๖๐๐ บาท วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๕ รับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลร้อยเอ็จ ได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ ๘๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๙๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ รับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐๐ บาท วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ รับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐๐ บาท วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ รับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจิณ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐๕๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๑๕๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๒๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๒๕๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๓๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๓๕๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๔๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๔๕๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๕๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้รับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๕๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๖๐๐ บาท วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทางราชการได้ปลดออก รับเบี้ยบำนาญปีละ ๗๒๐๐ บาท

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์คือ

วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจิณบุรี วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์นายหมู่ตรีในกองเสือป่า วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์นายหมู่โทในกองเสือป่า วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์นายหมู่ใหญ่ในกองเสือป่า วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้รับพระราชทานสัญญษบัตร์เป็นนายกองตรีในกองเสือป่า วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์เป็นนายกองโทในกองเสือป่า วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์เป็นนายกองเอกในกองเสือป่า วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นราชองครักษ์เวร วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์เป็นนายกองใหญ่ในกองเสือป่า วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ เป็นราชองครักษ์เวร

ราชการในเสือป่า

วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้สมัครเป็นสมาชิกในกองเสือป่าเลขประจำตัวที่ ๓๕๘ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นสมาชิกประจำการ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๔ จังหวัดชลบุรี วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นผู้บังคับการกรมเสือป่ามณฑลร้อยเอ็จ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม เป็นผู้บัญชาการเสือป่ากองเสนาอิสาณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นผู้บังคับการกรมเสือป่ามณฑลจันทบุรี วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นผู้บัญชาการเสือป่ากองเสนารรักษาดินแดนอาคเนย์

ตำแหน่งพิเศษ

วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๐ เป็นสภานายกจัดการลูกเสือมณฑลร้อยเอ็จ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นสภานายกจัดการลูกเสือมณฑลจันทบุรี วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นสภานายกจัดการลูกเสือมณฑลปราจิณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นสภานายกจัดการลูกเสือมณฑลนครไชยศรี

ลำดับได้รับพระราชทานยศและตราตั้ง

วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นรองอำมาตย์เอก วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นอำมาตย์โท วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นอำมาตย์เอก วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นมหาอำมาตย์ตรี วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นจางวางตรี วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นจางวางโท วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นมหาเสวกโท วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นมหาอำมาตย์โท

ลำดับได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เข็มเหรียญต่างๆ ส่วนพระองค์

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้รับพระราชทนเหรียญรัชฎาภิเศกเงิน วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้รับพระราชทานเหรียญประพาศมาลาเงิน วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้รับพระราชทานเหรียญทวีธาภิเศกทอง วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานตราภัทราภรณ์ ความชอบปิดทำนบอำเภอองครักษ์, อำเภอบางน้ำเปรี้ยว วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานตราภูษนาภรณ์ ความชอบปราบผู้ร้ายจังหวัดกระบินทร์บุรี วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานเหรียญรัชมังคลาภิเศกทอง วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานเหรียญรัชมงคลทอง วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานซองบุหรี่เงินใหญ่ตราอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ จ.ป.ร. วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับพระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคลเงิน วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับพระราชทานซองบุหรี่เงินเล็ก ตราอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ จ.ป.ร. วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานตรามันทนาภรณ์ ความชอบปราบผู้ร้ายจังหวัดชลบุรี วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานเหรียญบรมราชาภิเศกทองรัชชกาลที่ ๖ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานเหรียญอัยราพรตเงิน วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้า ฯ ความชอบจัดราชการมณฑลร้อยเอ็จ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานเข็มข้าหลวงเดิมรัชชกาลที่ ๖ วันที่ ๑ มกราคม ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชชกาลที่ ๖ ชั้น ๓ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้รับพระราชทานตรานิภาภรณ์ ความชอบปราบผู้ร้ายมณฑลจันทรบุรี วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้า ฯ วิเศษ ความชอบปราบอั้งยี่และหวยเถื่อนจังหวัดชลบุรี วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับพระราชทานตราปถมาภรณ์มงกุฎสยาม ความชอบจัดการราชการมณฑลปราจิณ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานดุมทองลงยาตราอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานเหรียญพระบรมราชาภิเศกทองรัชชกาลที่ ๗ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานเหรียญฉลองราชสมบัติ ๑๕ ปี รัชชกาลที่ ๖ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้รับพระราชทานเหรียญศารทูลมาลาเงิน วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาเงิน วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับพระราชทานแหนบทองคำลงยาสีเขียวตราอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ป.ป.ร.

ลำดับราชการพิเศษ

ครั้งที่ ๑ เมื่อพระพุทธศักราช ๒๔๔๙ ฝนแล้งน้ำในทุ่งหลวงระหว่างคลองรังสิตกับคลองซอยไม่มี ราษฎรทำนาไม่ได้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงษศิริพัฒน์ ข้าหลวงพิเศษจัดราชการมณฑลปราจิณ มีรับสั่งให้เป็นแม่กองไปจัดการปิดทำนบตามห้วยหนองคลองบึงได้รวม ๔๘ แห่ง มีน้ำบริบูรณ์ราษฎรกลับทำนาได้ผล เก็บเงินพระราชทรัพย์ในประเภทค่านาได้มากกว่า พ.ศ. ๒๔๔๘ ไปแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ กลับเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙

ครั้งที่ ๒ ในระหว่างเดือนมกราถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เกิดโจรผู้ร้ายปล้นสัตว์พาหนะและทรัพย์ของลูกค้าชาวมณฑลอุบล อุดร ร้อยเอ็จและบูรพา ซึ่งนำไปจำหน่ายในเขตต์จังหวัด และปล้นทรัพย์สัตว์พาหนะของราษฎรในเขตต์จังหวัดกระบินทร์ทุกวัน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงพิเศษจัดราชการมณฑลปราจิณมีรรับสั่งให้ไปปราบปราม จับโจรผู้ร้ายได้ประมาณ ๕๐๐ คนเศษเป็นที่เรียบร้อย ราษฎรลูกค้าและราษฎรในพื้นเมืองกระบินทร์ไปมาค้าขายเลี้ยงชีพและปล่อยสัตว์พาหนะได้โดยสะดวกไม่มีผู้ร้ายกระทำการโจรกรรม แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ทำที่พักและจัดพาหนะไปรับครอบครัวเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ที่เมืองพระตะบองส่งถึงเมืองปราจิณ ไปแต่วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ กลับเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๐

ครั้งที่ ๓ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงพิเศษจัดราชการมณฑลปราจิณ มีรับสั่งให้ไปจัดการซ่อมแซมสถานพระที่นั่ง ณ พระราชวังบางปอินในการรับเจ้าดุ๊กโยฮันอันเปร๊กกรุงบรันสวิ๊ก ซึ่งเสด็จมาถึงเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘ จนถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘ จึงเสด็จกลับ ได้ไปแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ กลับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๒

ครั้งที่ ๔ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงพิเศษจัดราชการมณฑลปราจิณ มีรับสั่งให้ไปจัดทำพลับพลาและโรงเรือยนต์ ในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปแต่วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ กลับวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑

ครั้งที่ ๕ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงพิเศษจัดราชการมณฑลปราจิณ มีรับสั่งให้ไปจัดการซ่อมแซมสถานพระที่นั่งพระราชวังบางปอิน ในการรับเสด็จเจ้าเยอรมัน ซึ่งกำหนดจะเสด็จถึงเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๙ ไปแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ กลับเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓

ครั้งที่ ๖ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรถึงอนิจกรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ไปรักษาราชการมณฑลอุดร เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ กลับวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗

ครั้งที่ ๗ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีรับสั่งให้รักษาราชการในหน้าที่เจ้ากรมฝ่ายเหนือกระทรวงมหาดไทย แต่วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗

ครั้งที่ ๘ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร มีรับสั่งให้ไปจัดการเลี้ยงน้ำร้อนเครื่องดื่มในการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชชสมโภช และพระศพสมเด็จพระปิยมาวดี ที่สวนมิสกวัน ไปแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ถึงวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๓

ครั้งที่ ๙ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร มีรับสั่งให้ไปจัดการเลี้ยงน้ำร้อนเครื่องดื่มในการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และที่พระเมรุท้องสนามหลวง ไปแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓

ลำดับการรับเสด็จพระราชดำเนิน

วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์เสด็จประพาสต้น ที่อำเภอเสนาใหญ่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระรามธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ เสด็จพระราชดำเนินเปิดทางรถไฟสายแปดริ้วที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ เสด็จประพาสต้นที่จังหวัดชลบุรี

วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๒ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ เสด็จประพาสที่อำเภอศรีมหาราชา จังหวัดชลบุรี

วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ เสด็จพระราชดำเนินที่สัตหีบและเกาะคราม จังหวัดชลบุรี

วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธที่สัตหีบ และวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่ศรีมหาราชา จังหวัดชลบุรี

วันที่ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินบรรจุพระอังคารพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ และฉลององค์พระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม

ลำดับการรับพระราชทานเงินปี

วัน.เดือน.ปี ตำแหน่ง ปีละ บาท หมายเหตุ
๒๘/๒/๒๔๒๐ พระบรมวงศานุวงศ์ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๑ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๒ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๓ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๔ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๕ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๖ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๗ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๘ ๒๐  
๑/๑/๒๔๒๙ ๔๐  
๑/๑/๒๔๓๐ ๔๐  
๑/๑/๒๔๓๑ ๖๐  
๑/๑/๒๔๓๒ ๖๐  
๑/๑/๒๔๓๓ ๖๐  
๑/๑/๒๔๓๔ ๖๐  
๑/๑/๒๔๓๕ ๖๐  
๑/๑/๒๔๓๖ ๖๐  
๑/๑/๒๔๓๗ ๖๐  
๑/๑/๒๔๓๘ ๖๐  
๑/๑/๒๔๓๙ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๐ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๑ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๒ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๓ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๔ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๕ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๖ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๗ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๘ ๖๐  
๑/๑/๒๔๔๙ ๖๐  
๑/๑/๒๔๕๐ ๖๐  
๑/๑/๒๔๕๑ ๖๐  
๑/๑/๒๔๕๒ ๖๐  
๑/๑/๒๔๕๓ ๖๐  
๑/๑/๒๔๕๔ ๘๐  
๑/๑/๒๔๕๕ ๑๖๐  
๑/๑/๒๔๕๖ ๑๖๐  
๑/๑/๒๔๕๗ ๓๐๐  
๑/๑/๒๔๕๘ ๓๐๐  
๑/๑/๒๔๕๙ ๔๐๐  
๑/๑/๒๔๖๐ ๗๐๐  
๑/๑/๒๔๖๑ ๘๐๐  
๑/๑/๒๔๖๒ ๑๐๐๐  
๑/๑/๒๔๖๓ ๑๐๐๐  
๑/๑/๒๔๖๔ ๑๒๐๐  
๑/๑/๒๔๖๕ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๖๖ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๖๗ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๖๘ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๖๙ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๗๐ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๗๑ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๗๒ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๗๓ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๗๔ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๗๕ ๑๔๐๐  
๑/๑/๒๔๗๖ ๔๐๐  

ลำดับราชการถึง พ.ศ. ๒๔๗๕

เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ประชวรโรคปับผาสะอักเสบอยู่ณวังหน้าสถานเสาวภา แต่เนื่องด้วยมีพระทัยฝักไฝ่อยู่แต่ในทางศาสนา จึงได้ทรงย้ายไปประทับอยู่ณวัดมกุฎกษัตริย์แต่เมื่อวันที่ ๒๔ เดือนเดียวกัน พระอาการมีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดได้สิ้นชีพิตักษัยณวัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๖ เวลา ๑๕.๔๘ นาฬิกา ศิริรวมชนมายุได้ ๕๖ ปี โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศราชวงศ์ชั้นรอง ๒ ชั้น เครื่องสูง ๕ ชั้น ๔ คัน ผ้าไตร ๑๐ ไตร มีประโคมเวลาสรงศพและประจำคือ กลองชะนะแดง ๑๐ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ แตรงอน ๒ แตรฝรั่ง ๒ สังข์ ๑ กับพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมรับพระราชทานฉันภัตตาหาร ๕ รูป มีกำหนด ๓ วัน เป็นเกียรติยศ

วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เสด็จเป็นองค์ประธานในการพระราชทานน้ำสรงศพ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญศพบรรจุโกศประดิษฐ์ไว้ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม เพื่อบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายตามประเพณี

หม่อมเจ้าธำรงศิริ มีโอรสและธิดาคือ

หม่อมราชวงศ์ชาย ธชานุชาติ ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์หญิง อ่องศรี ลดาวัลย์

หม่อมราชวงศ์ชาย ทรงศิริ ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์หญิง อิลา ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์ชาย สุทธศิริ ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์ชาย ไกรธวัช ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์หญิง อวยศรี ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์ชาย ทวีธวัช ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์ชาย สุรธวัช ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์หญิง สุขศรี ศรีธวัช

หม่อมราชวงศ์ชาย ชยธวัช ศรีธวัช

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ