• บทละครเรื่องอภัยนุราช

    สุนทรภู่
    บทละครเรื่องอภัยนุราชนี้ สุนทรภู่แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบทละครสั้นๆ ขนาด ๑ เล่มสมุดไทยที่อ่านแล้วให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน ในการจัดพิมพ์ครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ได้ตรวจสอบกับต้นฉบับหนังสือสมุดไทยและได้แก้ไขตามต้นฉบับหนังสือสมุดไทยดังกล่าว
  • กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และ สุภาษิตสอนสตรี ของ สุนทรภู่

    สุนทรภู่
    กาพย์เรื่องพระไชยสุริยานี้ สุนทรภู่แต่งในรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์ เข้าใจว่าจะแต่งสำหรับเป็นแบบสอนอ่านคำเทียบให้ศิษย์ของท่านเล่าเรียนศึกษา ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งหนังสือมูลบทบรรพกิจสำหรับใช้เป็นแบบเรียนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวง คงเห็นว่า กาพย์เรื่องพระไชยสุริยานี้เป็นบทกวีนิพนธ์ที่ไพเราะ ทั้งอ่านเข้าใจง่ายและเป็นคติ จึงนำมาบรรจุไว้ในมูลบทบรรพกิจเป็นตอนๆ ตั้งแต่ แม่ ก กา ไปจนจบ เกย
  • สวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาท และ สุภาษิตสอนสตรี

    สุนทรภู่
    เรื่องสวัสดิรักษา สุนทรภู่แต่งถวายสมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์ในรัชกาลที่ ๒ ด้วยพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมอบสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นให้เป็นศิษย์ศึกษาอักขรสมัยในสำนักสุนทรภู่ เพลงยาวถวายโอวาท สุนทรภู่แต่งในรัชกาลที่ ๓ เมื่อตัวถูกถอดแล้วไปบวชอยู่ที่วัดราชบุรณะ เห็นจะแต่งเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๗๓
  • รำพันพิลาป

    สุนทรภู่
    ต้นฉบับ “รำพันพิลาป” ที่นำมาเป็นฉบับพิมพ์มีอยู่ ๑ เล่มสมุดไทย พระยาราชสมบัติ (เอิบ บุรานนท์) ได้นำมามอบให้ไว้แก่หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ บทกลอนเรื่องนี้ท่านสุนทรภู่ได้แต่งขึ้นตามความฝันของท่านเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ อันเป็นระยะเวลาที่ท่านอยู่ในวัดเทพธิดา ทั้งรำพันถึงเรื่องราว เหตุการณ์และสถานที่ ในวัดเทพธิดาเกือบตลอดเรื่อง
  • ประชุมกลอนนิราศต่าง ๆ ภาคที่ ๑ นิราศสุนทรภู่ ๔ เรื่อง

    สุนทรภู่
    ประชุมนิราศภาคที่ ๑ นี้ จัดเรียงเรื่องตามลำดับนิราศที่สุนทรภู่แต่ง คือ ที่ ๑ นิราศเมืองแกลง แต่งในรัชกาลที่ ๑ เมื่อสุนทรภู่เปนข้าในกรมพระราชวังหลัง ที่ ๒ นิราศพระพุทธบาท สุนทรภู่แต่งในรัชกาลที่ ๑ เมื่อเปนมหาดเล็กอยู่ในพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสกรมพระราชวังหลัง ที่ ๓ นิราศภูเขาทอง สุนทรภู่แต่งเมื่อบวช ในรัชกาลที่ ๓ ที่ ๔ นิราศวัดเจ้าฟ้า สุนทรภู่แต่งเมื่อยังบวชอยู่ แต่แต่งเปนสำนวนเณรพัดผู้เปนบุตร
  • ประชุมกลอนนิราศต่าง ๆ ภาคที่ ๒ นิราศสุนทรภู่ ๔ เรื่อง

    สุนทรภู่
    ...ก็เมื่อปีที่ล่วงมา ได้พิมพ์หนังสือประชุมกลอนนิราสของสุนทรภู่ แจกแล้วภาค ๑ เปนนิราส ๔ เรื่อง ยังเหลือกลอนนิราสของสุนทรภู่อยู่อิก ๔ เรื่อง ซึ่งสมควรจะพิมพ์แจกต่อในปีนี้ ข้าพเจ้าจึงจัดหนังสือประชุมกลอนนิราสของสุนทรภู่ ๔ เรื่อง คือ นิราสอิเหนาเรื่อง ๑ นิราสพระแทนดงรังเรื่อง ๑ นิราสพระประธมเรื่อง ๑ นิราสเมืองเพ็ชรเรื่อง ๑ รวมกันเปนประชุมนิราสกลอนต่างๆ ภาคที่ ๒
  • ประชุมนิราศสุนทรภู่ เล่ม ๕ นิราศอิเหนา

    สุนทรภู่
    สุนทรภู่คิดเอาเรื่องอิเหนาตามนางบุษบาเมื่อลมหอบหายไป มาคิดแต่งขึ้นเปนนิราศของอิเหนา ทำนองเดียวกับฉันท์ราชาพิลาปของโบราณที่แต่งว่าด้วยพระรามตามนางสีดา สำนวนกลอนเรื่องอิเหนานี้นับเปนอย่างเอกของสุนทรภู่เรื่อง ๑ ซึ่งบรรดาผู้อ่านบทกลอนชอบกันหมดไม่เลือกหน้า
  • นิราศพระประธม

    สุนทรภู่
    ในสมัยเมื่อสุนทรภู่ได้พึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเปนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ แลกรมหมื่นอับสรสุดาเทพอยู่นั้นไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ จึงแต่งนิราสพระประธม (ที่ถูกควรจะเรียกว่า นิราสพระปฐมเจดีย์)
  • นิราศเมืองเพ็ชร

    สุนทรภู่
    ครั้นกรมหมื่นอับสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ได้พึ่งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียว ได้ยินว่าทรงรับไปเลี้ยงไว้ที่พระราชวังเดิม อยู่มามีรับสั่งให้สุนทรภู่ไปหาสิ่งของที่เมืองเพ็ชรบุรี สุนทรภู่จึงแต่งนิราสเมืองเพ็ชรบุรีเรื่อง ๑ เปนนิราสเรื่องที่สุดของสุนทรภู่
  • นิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่น

    สุนทรภู่
    “..เป็นจดหมายรายทางที่อ่านได้เพลิดเพลิน และช่วยให้เราทราบว่าท่านสุนทรภู่เคยไปพระแท่นดงรังก่อนปีวอกนักษัตรอัฐศก ๓ ปี คือก่อนนายมีไปและแต่งนิราศพระแท่นดงรังในปีวอกไว้ ทั้งเส้นทางเดินที่ท่านสุนทรภู่ไป ก็เปนคนละเส้นทางกับของนายมี เพราะสุนทรภู่ไปทางเรือ...”
  • โคลงนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่ ฉบับสมบูรณ์

    สุนทรภู่
    “เหตุที่สุนทรภู่ไปเมืองสุพรรณคราวที่แต่งนิราศนั้น ความปรากฏในเรื่องนิราศว่าไปหาแร่ ทำนองจะเล่นแร่แปรธาตุเอง หรือมิฉะนั้นก็ไปหาแร่ให้ผู้อื่นที่เล่นแปรธาตุ เพราะเชื่อกันว่าที่ในจังหวัดแขวงสุพรรณ มีแร่อย่างใดอย่างหนึ่งทรงคุณวิเศษสำหรับใช้แปรธาตุ...”
  • นิราศวัดเจ้าฟ้า (ฉบับตรวจสอบชำระ พ.ศ. ๒๕๕๘)

    สุนทรภู่
    เป็นนิราศเชิงผจญภัยที่สนุกสนานมากอีกเรื่องหนึ่ง หากเปรียบเทียบกับนิราศสุพรรณที่มีการผจญภัย เสาะหาแร่ปรอทและยาอายุวัฒนะเหมือนกันแล้ว ในความเห็นของผู้อ่านทั่วไปมักรู้สึกว่า ท่านสุนทรภู่แต่งเรื่องนี้ได้ออกรสชาติกว่า ลางทีจะเป็นเพราะแต่งเป็นกลอน ซึ่งเป็นแนวถนัดของท่าน
  • บทเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอ

    สุนทรภู่
    บทเห่กล่อมนี้ แต่งขึ้นสำหรับข้าหลวงร้องเห่พระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ เวลาไกวพระอู่ให้บรรธม สุนทรภู่แต่งเมื่อในรัชกาลที่ ๒ แต่จะแต่งถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอเปนสามัญทั่วไป ฤๅจะแต่งสำหรับเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอเฉภาะพระองค์ใดในครั้งนั้น ข้อนี้สงไสยอยู่
  • เสภา เรื่องพระราชพงศาวดาร

    สุนทรภู่
    พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสฯ สั่งให้ “สุนทรภู่” แต่งขึ้นสำหรับขับถวายทรงฟังในเวลาทรงเครื่องใหญ่ ตามแบบอย่างครั้งรัชกาลที่ ๒ แลต่อมาโปรดฯ ให้ใช้เปนบทสำหรับนางในขับส่งมโหรีหลวงด้วย เสภาเรื่องนี้เมื่อรัชกาลที่ ๕ ฉบับหายไป ได้พยายามค้นหากันมาช้านานก็ไม่พบ
  • นิทานคำกลอนสุนทรภู่เรื่องสิงหไกรภพ

    สุนทรภู่
    เรื่องสิงหไกรภพนี้ ตอนต้นแต่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อพิจารณาสำนวนกลอนในเรื่องสิงหไกรภพตอนต้นกับเรื่องพระอภัยมณี จะเห็นได้ว่าสำนวนโวหารการประพันธ์ของเรื่องสิงหไกรภพตอนต้น ๆ เป็นการเริ่มลองมือไว้ ซึ่งทำให้โวหารการประพันธ์ในเรื่องพระอภัยมณีเพราะพริ้งขึ้นมาก
  • นิทานคำกลอนสุนทรภู่เรื่องลักษณวงศ์

    สุนทรภู่
    “...พิเคราะห์ดูเห็นเป็นสำนวนกลอนสุนทรภู่แต่งแต่ ๙ เล่มสมุดไทย (เพียงม้าตามไปเห็นศพนางเกสร) ต่อนั้นดูเป็นสำนวนผู้อื่นแต่งตามกลอนสุภาพอีก ๗ เล่ม แล้วแต่งเป็นบทละคอนต่อไปอีก ๒๓ เล่ม รวมเป็น ๓๙ เล่มสมุดไทย...”
  • นิทานคำกลอนสุนทรภู่เรื่องพระอภัยมณี

    สุนทรภู่
    การที่กรมศิลปากรพยายามชำระ และจัดพิมพ์คำกลอนสุภาพ เรื่องพระอภัยมณีภาคจบบริบูรณ์นี้นั้น ตั้งแต่ตอนที่ ๖๕ ถึงตอนที่ ๑๓๒ ก็ด้วยพิจารณาเห็นว่า แม้คำกลอนตอนหลังนี้จะปรากฏไม่ประณีต และมีสำนวนกลอนของผู้อื่นสลับซับซ้อนปะปนกันก็ตาม แต่ก็มีคำกลอนที่ไพเราะเพราะพริ้งอยู่เป็นส่วนมาก

ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ

35/363 ถ.ราชพฤกษ์ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130

E: vajirayana.org@gmail.com

M: (+66) 81 822-4012