ภาคผนวก ๑

ชื่อช้างทุรลักษณ์ (หน้า ๓๙)

ทุยทำพำลาพาหล... เป็นนามเรียกช้างทุรลักษณ์ สมุทรโฆษคำฉันท์ กับ ตำราลักษณะช้าง มีชื่อต้องและต่างกันบ้าง ดั่งนี้

๑. ทุย ตำราลักษณะช้างเรียก ทุย
๒. ทำ ตำราลักษณะช้างเรียก ทำ
๓. พำลา ตำราลักษณะช้างเรียก พำลา
๔. พาหล ตำราลักษณะช้างเรียก พาหน
๕. ศฤงคาลคน ตำราลักษณะช้างเรียก สฤงคาล
๖. ชนกันโลร ตำราลักษณะช้างเรียก ชนโกลน
๗. รลมสังไก ตำราลักษณะช้างเรียก รลมสังไกย,
ระลุมสังไกย
๘. พลุกแบก ตำราลักษณะช้างเรียก พลุกกะแบก,
พลุกสแบก
๙. บังกิน ตำราลักษณะช้างเรียก บังกิน
๑๐. ทมพลุก ตำราลักษณะช้างเรียก ทมพลุก
๑๑. ทิพาไศรย ตำราลักษณะช้างเรียก ทิพาไสย,
ทิวาไสย
๑๒. กำพษกำโบล ตำราลักษณะช้างเรียก กำพดกำโบล,
กำปบกำโบน
๑๓. โยนยัศ ตำราลักษณะช้างเรียก โยนยัก
๑๔. ปรพลุก ตำราลักษณะช้างเรียก ประพลุก,
สุบันพลุก
๑๕. สุครีพ ตำราลักษณะช้างเรียก สุครีพ,
สุครีพสพิล
๑๖. คัดธรณี ตำราลักษณะช้างเรียก คัดธรณี
๑๗. บังบัศ ตำราลักษณะช้างเรียก บังบัดควาน, ตรบังบัด
๑๘. นาคพันธ์ ตำราลักษณะช้างเรียก นาคพันธ์
๑๙. พินาย ตำราลักษณะช้างเรียก พินาย
๒๐. ลันดาษ ตำราลักษณะช้างเรียก ลันดาษ
๒๑. ยุรยักษ (ยุร?) ตำราลักษณะช้างเรียก ยักษ์ (คำฉันท์ไม่มี)
๒๒. บรรลาย ตำราลักษณะช้างเรียก บันลาย
๒๓. บิเดาะ ตำราลักษณะช้างเรียก บิเดาะ, กฤนเดาะ
๒๔. กันเอาะพลุก ตำราลักษณะช้างเรียก กันเอาะพลุก
(คำฉันท์ไม่มี)
๒๕. รัตทันต์ ตำราลักษณะช้างเรียก รตทันต์, รัตทันต์
๒๖. ทรหุล ตำราลักษณะช้างเรียก ทรหุน, ทรหูล
๒๗. ตระดกกันทุย ตำราลักษณะช้างเรียก กระดกกันทุย,
ตระดกกันทุย
๒๘. ชีพศฤง? ตำราลักษณะช้างเรียก .....................
๒๙. สวามิพธ ตำราลักษณะช้างเรียก สวามิฆาฏ
(ฆ่าเจ้าของ พธ = ฆาฎ แปลว่า “ฆ่า” เหมือนกัน)
๓๐. โชรชรไล ตำราลักษณะช้างเรียก โชนไชล
(คำฉันท์ไม่มีชื่อนี้)
๓๑. กันแอกกุมกด ตำราลักษณะช้างเรียก กระแอกสกุม,
กันแอกกุม
๓๒. ตระดุ้งนาค ตำราลักษณะช้างเรียก นาคกระดุ้ง,
ตระดุ้งนาคิน
๓๓. นครฆาฎ ตำราลักษณะช้างเรียก นครฆาฎ
๓๔. ขดวรสรุก ตำราลักษณะช้างเรียก ขดรสุก, ขดอนศุกข

ตำราลักษณะช้าง มีช้างทุรลักษณ์ซึ่งเรียกว่า ไตรตรึงษกิราษฎร อยู่ครบ ๓๓ แต่ในสมุทรโฆษมี ๓๔ สงสัย “ชีพศฤง” หมายเลข ๒๘ ซึ่งไม่มีในตำรา จะหลงเข้ามาหรือจะว่าเป็นคำประกอบของหมายเลข ๒๗ (ตระดกกันทุย) ก็ฟังไม่สนิท

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ