อักษรไทยน้อย

ชาวไทยอีสาน มีอักษรใช้อยู่ ๒ ชนิด คือ อักษรไทยน้อยกับอักษรธรรมอีสาน อักษรไทยน้อยใช้บันทึกเกี่ยวกับคดีโลก ส่วนอักษรธรรมใช้บันทึกเกี่ยวกับคดีธรรม การจดจารึกก็ใช้ใบลาน ตัวอักษรไทยน้อย อาศัยตัวธรรมเป็นปทัฏฐาน แต่รูปร่างของตัวไทยน้อยสูง ตัวไทยน้อย มีไม่ครบ ๓๓ ตัว เพราะตัดตัวซ้ำออกไป ตัวที่ตัดออกไปมีตัว ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ตัวที่เพิ่มเข้ามามี ด บ ฝ ฟ ฮ ส่วนสระ คงมี ๘ ตัว เหมือนตัวธรรม เมื่อต้องการเขียนคำมคธแลคำสันสกฤต ก็จำต้องนำตัวที่ตัดออกไปเหล่านั้นมาเขียน

รูปพยัญชนะอักษรไทยน้อย

อฺย
       
       

 

พยัญชนะต่อไปนี้ ยกเว้น ฃ ฅ ซ เป็นอักษรธรรมอีสานที่อักษรไทยน้อยยืมมาใช้เขียนบาลี

 
     
 
 

รูปอักษรเหล่านี้ สำหรับใช้กับคำที่มี ห นำ

ຫງ ຫົມ ຫᩫຽ ຫຽ
หฺง หฺน หฺม หฺย หฺญ
ຫຼ   ຫᩫວ    
หฺล หฺร หฺว    

สระ ๒๙ ตัว

ອະ ອາ ອິ ອີ ອຶ
อะ อา อิ อี อึ
ອື ອຸ ອູ ເອະ ເອ
อื อุ อู เอะ เอ
ແອະ ແອ ເອີຍະ ເອີຍະ ເອືອະ
แอะ เอียะ เอีย เอือะ
ເອືອ ເອອະ ເອອ ອັວະ ອັວ
เอือ เออะ เออ อัวะ อัว
ໂອະ ໂອ ເອາະ ອອ ໄອ
โอะ โอ เอาะ ออ ไอ
ໃອ ເອາ ອຳ ເອິ  
ใอ เอา อำ เอิอ  

รูปตัวเลขไทยน้อย

 

พยัญชนะไทยน้อย การศึกษาอักษรไทยน้อยที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคากนี้ มีพยัญชนะตัวเต็ม ตัวเฟื้อง สระ คำพิเศษ ดังนี้

- พยัญชนะตัวเต็ม คือพยัญชนะที่เขียนเต็มรูป ใช้เป็นพยัญชนะต้น ตัวสะกด และตัวตาม ดังนี้

การใช้พยัญชนะเป็นตัวต้นและตัวสะกด

พยัญชนะไทย พยัญชนะไทยน้อย ตัวอย่าง หมายเหตุ
   
    ยังมีเมืองใหญ่กว้างในทีปชุมพู  
       
    ก็หากเป็นธรท้าวพระยาเอกตนเดียว  
  ใช้ ก แทน ข
    ขอให้ลุที่แม้งโดยดั่งปรารถนา  
       
    ให้ได้คำสุขสิ่งอินทร์เมืองฟ้า  
   
    เฮียมจักเอาคุณแก้ว ๓ ประการเป็นที่เพิ่ง  
      ใช้ ก แทน ค
    เฮาจักถามนาโคนาคหลวงในน้ำ  
   
    เฮาหากควรคึดง้อพออฺย้านสั่นสาย  
       
    ขงเขตในชุมพูเปรียบสองบ่มีได้  
   
    มีทังโฮงใหญ่ตั้งผาสาทจูมคำ  
      ใช้ ด แทน จ
    สรงโสรจเนื้อสองให้ยืนยาว  
   
    ยังมีเมืองใหญ่กว้างในทีปชุมพู  
      ใช้ ส แทน ช
    เจ้าก็ทสราชแท้ตั้งอฺยู่ตามธรรม  
   
    เขาก็มีคำสุขซู่คนดอมเจ้า  
       
    เลยฮอดฟ้าเสมรุตั้งยอดสูง  
   
    อย่าได้มีพยาธิฮ้ายบังเบียดเถิงตน  
      ใช้ ด แทน ต
    ก็หากยินสนุกล้นยินซะออนจิตทะจอด  
   
    แม้นว่าผมเกศเกล้าถวายบาทบูชา  
      ใช้ ด แทน ถ
    นางนาถแก้วประนมนิ้วใส่หัว  
   
    ก็หากเป็นธรท้าวพยาเอกตนเดียว  
      ใช้ ด แทน ท
    ผมเกศเกล้าถวายบาทบูชา  
   
    สาวสนมหนุ่มน้อยแฝงเฝ้าสี่พัน  
       
    เขาก็สุขยิ่งล้นบุญเจ้าเหลื่อมงำ  
บุญหุ้มเกล้าเสถียรหมั้นหมื่นปี  
       
    มีหมู่คูเล็กล้อมเวียงหลวงประชิดฮอบ  
   
    มีทังหอขวางตั้งปักตูทวารทังแปด  
      ใช้ บ แทน ป
    เมื่อนั้นเขาก็เห็นฮูปเจ้านามมะหน่อกุมาร  
  ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้
    มีทังโฮงใหญ่ตั้งผาสาทจูมคำ  
  ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้
    เมื่อนั้นศรีแจ่มเจ้าแพงล้านเล่าฝัน  
   
    พลอยเล่าลงมาเกิดดอมนางเอกราช  
      ใช้ บ แทน พ
    คึดว่าทรงคัพภ์กุมารผู้ประเสริฐจิ่งแล้ว  
  ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้
    ยอดช่อฟ้าเหลืองเหลื้อมเฮื่อคำ  
   
    บุญมากล้นเหลือพื้นแผ่นดิน  
       
    คอมว่าม้มจากท้องพระแม่เทวี  
   
    นางก็ยินดีได้พระจันทร์เพ็งชมจูบ  
       
    หินแก่นกล้าเป็นต้ายกำแพง  
อฺย    
    ฝูงคนคึดง้อยินอฺย้านสั่นสาย  
       
    เฮ็ดอู่แก้วกุมารน้อยหน่อเมือง  
   
    มีทังเค็งๆก้องฝนลมอากาศ  
      ใช้ น แทน ล
    อวนจิ่งแปงใจคีค้อยทรงศีล  
   
    มีหมู่คูเล็กล้อมเวียงหลวงประชิดฮอบ  
       
    คึดคั่งแค้นหิวไห้ฮ่ำไฮ  
   
    พระก็เทียวสงสารแต่ประถมปางนั้น  
       
    มีทังเค็งๆก้องฝนลมอากาศ  
  ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้
    บุญหุ้มเกล้าเสถียรหมั้นหมื่นปี  
   
    พลอยเล่าลงมาเกิดดอมนางเอกราช  
       
    หลายตัวสารอเนกนองทังม้า  
  ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวสะกดในเรื่องนี้
    ทังคิงนางฮุ่งเฮืองปานแก้ว  

ข้อสังเกต

รูปพยัญชนะตัวเต็มที่ใช้เป็นตัวตามและเป็นรูปเดียวกัน มักใช้ในคำภาษาบาลี เช่น ᨵັມມ= ธัมม ม ตัวแรกเป็นตัวสะกด ม ตัวหลังเป็นตัวตามหรือเรียกว่าตัวสังโยค ในเรื่องพระยาคันคากนี้ไม่ปรากฏการใช้เป็นตัวตามในรูปของภาษาบาลี แต่ในรูปของภาษาไทยมักใช้ในรูปของอักษรควบกล้ำและอักษรนำ และใช้ตัวพยัญชนะต่างรูปกัน ดังนี้

อักษรควบกล้ำ

เหง้า ເຫ᩽ງາ

หนาว ໜາວ

เหมือย ເໝິ

ใหญ่ ໄຫຽ

เหลื้อม ເຫᩖິອມ

ไหว้ ໄຫວ

อักษรนำ

ถวาย ຖວາຽ

สนม ສ໩ມ

สนาม ສ໩າມ

สวัน ສວັນ

- พยัญชนะตัวเฟื้อง คือ พยัญชนะที่นิยมเขียนครึ่งตัว พยัญชนะตัวเฟื้องทุกตัวจะมีรูปแตกต่างจากพยัญชนะตัวเต็ม พยัญชนะตัวเฟื้องใช้เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวตามอักษรนำ พยัญชนะตัวเฟื้องของอักษรไทยน้อยมักเขียนไว้ใต้บรรทัด หรือไม่ก็เขียนบนบรรทัดแต่เขียนติดเป็นรูปเดียวกับอักษรตัวต้น จากการศึกษาอักษรไทยน้อยตัวเฟื้องที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคากนี้ พบว่ามีการใช้ตัวเฟื้องอยู่ ๖ ตัว ดังนี้

การใช้พยัญชนะตัวเฟื้อง

อักษรไทย อักษรธรรมตัวเต็ม อักษรธรรมตัวเฟื้อง เรียกว่า ตัวอย่าง คำอ่าน
ตีนนอ ສ໩ນ สนม
ตีนมอ ຫ໢ຶນ หมื่น
ตีนยอ ຖວາຽ ถวาย
ตีนลอ ເຫີຼອງ เหลือง
ตีนสอ ຜາສາ໣ ผาสาท
อย ตีนอย ຮ຾ ฮ้อย

- สระที่ใช้ในวรรณกรรมอีสานส่วนใหญ่มักจะใช้สระทั้ง ๒ ประเภท คือสระลอย และสระจม สระลอย ได้แก่สระที่ใช้เขียนอยู่หน้าคำโดยไม่ต้องใช้ตัว อ เกาะ ส่วนสระจม คือรูปสระที่ต้องเขียนประสมกับพยัญชนะต้น

จากการศึกษาสระในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคากนี้ พบแต่สระจม ไม่พบสระลอย ดังนี้

การใช้สระ

สระไทย ไทยน้อย ตัวอย่าง คำถอด คำอ่าน หมายเหตุ
อะ ອະ ພະ พะ พระ  
อา ອາ ມາ มา มา  
อิ ອິ ເຂິນ เขิน เขิน  
อี ອີ ທີ ที ที่  
อึ ອຶ ອຶງ อึง อึ่ง  
อื ອື ໝືນ หมืน หมื่น  
อุ ອຸ ບຸນ บุน บุญ  
อู ອູ ໝູ หมู หมู่  
เอะ ເອະ ເພັງ เพัง เพ็ง สระลดรูป
เอ ເອ ເກັດ เกัด เกศ  
แอะ ແອະ ແປະ แปะ แปะ  
แอ ແນ แมน แม้น  
เอียะ ເອີຍະ - - - ไม่พบการใช้ในเรื่องนี้
เอีย ເອີຍ ບຍດ ເສັຽ บยด, เสัย เบียด, เสีย  
เอือะ ເອືອະ - - - ไม่พบการใช้ในเรื่องนี้
เอือ ເອືອ ເຄິອ เคิอง เครื่อง ใช้ อิ แทน
เออะ ເອອະ ເຕໍໍະ เติะ เตอะ ใช้รูปสระเอิ+เออะ
เออ ເອອ - - - ใช้รูป เอิ แทน
อัวะ ອັວະ - - - ไม่พบการใช้ในเรื่องนี้
อัว ອັວ ຊວດ ซวด ซวด  
โอะ ໂອະ ມ᩽ມ มม ม้ม สระลดรูป
โอ ໂອ ໂດຽ โดย โดย  
เอาะ ເອາະ ເພາະ เพาะ เพราะ  
ออ ອອ ຍອດ ยอด ยอด  
ไอ ໄອ ໄຕ ไต ไตร  
ใอ ໃອ ໄນ ไน ใน ใช้รูปสระ ไ แทน
เอา ເອາ ເກ᩽າ เก่ เกล้า  
อำ ອຳ ຄຳ คำ คำ (ความ)  
เอิ ເອິ ເຖິງ เถิง เถิง  
 

- คำพิเศษ คือ อักขรวิธีของอักษรไทยน้อยในการเขียนคำย่อซึ่งรูปร่างจะแตกต่างไปจากคำเดิม การเขียนคำย่อหรือคำพิเศษที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคาก มีดังนี้

การเขียนคำย่อหรือคำพิเศษ

คำพิเศษ คำถอด คำอ่าน หมายเหตุ
ກຸະລຸະທີບ กุะลุะทีบ กุกะลุละทีป ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ແກາ แกกา แก่กล้า ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ແກັນ แกัน แก่น ใช้ไม้ซัดกำกับในคำที่ประสมด้วยสระ แอ
ຂ໩າດ ขฺนาด ขนาด ใช้ น เฟื้อง
ເຂັດ เขัด เขต ใช้ไม้ซัดกำกับในคำที่ประสมด้วยสระ เอ
ຄ໩າ คฺนา คณา (หมู่เนื้อ) ใช้ น เฟื้อง
ຊະພຸອມ ชะพุอม ซะพู่พร้อม ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ຊະເຫᩖ᩽າ ชะเหฺล์า เสลา ใช้ ล เฟื้อง และใช้ไม้กงกำกับ
ໄດັງ ไดัง ได้ดั่ง ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ເຕິະ เติะ เตอะ ใช้รูปสระเอิ+เออะ
ແຖງ แถฺลง แถลง ใช้ ล เฟื้อง
ໄທາວ ไทาว ไทท้าว ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ບຸະ บุะ บุบะ ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ປາຖ໩າ ปาถฺนา ปรารถนา ใช้ น เฟื้อง และไม่มี ร กล้ำ
ຜຽອງ ผฺยอง ผยอง ใช้ ย เฟื้อง
ເພິອນ เพิอน เพื่อเพื่อน ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ແພ᩽ນ แพน พลแพน ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ເມັຽ เมัย เมีย ใช้ ย เฟื้อง และมีไม้ซัดกำกับ
ໄມາ ไมา ไม่มา ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ເຍິະ เยิะ เยอ ใช้รูปสระเอิ+เออะ
ລຸະ ลุะ ลุละ ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ລີາຽ ลีาย ลีล้าย ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ເລັກ เลัก เหล็ก ใช้ไม้ซัดกำกับในคำที่ประสมด้วยสระ เอ
ລ໩ມ สฺน์ม สนม ใช้ น เฟื้อง
ເສຼ᩽າ เสฺล์า เสลา ใช้ ล เฟื้อง
ເສີ໢ เสีม เสมอ ใช้ ม เฟื้อง และใส่สระ อี ด้วย
ໝັນ หฺมัน หมั่น ใช้ ม เฟื้อง ใช้ไม้ซัดแทนไม้หันอากาศ
ໝືນ หฺมืน หมื่น ใช้ ม เฟื้อง
ໜຸມ หฺนุม หนุ่ม ใช้ น เฟื้อง
ອັດຖີານ อัดถีาน อธิษฐาน ใช้พยัญชนะรูปเดียวแทนสองตัว
ເອັກ เอัก เอก ใช้ไม้ซัดกำกับในคำที่ประกอบด้วยสระ เอ
ຢານ อฺยาน อฺย้าน ใช้พยัญชนะ = อฺย
ຢຸ อฺยุ อฺยู่ ใช้พยัญชนะ = อฺย
 

นอกจากพยัญชนะตัวเต็ม ตัวเฟื้อง สระ และคำพิเศษแล้ว ยังมีตัวเลข เครื่องหมายพิเศษ และเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏอยู่ในเรื่องพระยาคันคากนี้ด้วย

- ตัวเลขที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคาก มีดังนี้

ตัวเลข

เลขไทย ไทยน้อย ตัวอย่าง หมายเหตุ
   
   
   
   
   
   
   
   
  เลข ๘ อีกรูปหนึ่ง
   
   

 

- เครื่องหมายพิเศษที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคาก มีดังนี้

เครื่องหมายพิเศษ

เครื่องหมาย เรียกว่า ตัวอย่าง หมายเหตุ
ไม้กง ເກ᩽າ ใช้ไม้กงในคำที่ผสมด้วยสระเอา
ไม้กง ຕ᩽ວ ใช้ไม้กงในคำที่ผสมด้วยสระอัว
ไม้กง ນ᩽ມ ใช้ไม้กงในคำที่ผสมด้วยสระโอะลดรูป
ไม้ซัด ສັງ ใช้ไม้ซัดแทนไม้หันอากาศ
ไม้ซัด ເຂັດ ใช้ไม้ซัดในคำที่ผสมด้วยสระเอ
ไม้ซัด ແກັນ ใช้ไม้ซัดในคำที่ผสมด้วยสระแอ
นิคคหิต ກໍ ใช้นิคคหิตแทนไม้ไต่คู้
นิคคหิต ຂໍ ใช้นิคคหิตแทน อ
นิคคหิต ບໍ ใช้นิคคหิตแทนไม้เอก
นิคคหิต ໍໍປ เขียนไว้กลางตัวอักษรเป็นเครื่องหมายว่าเขียนผิด
ไม้ยมก ຢັນ໒ ใช้รูปเลขสอง
ไม้ยมก ຮ᩽ງᪧ ใช้เหมือนเลขสองแต่หัวไม่หยักและปลายหางตวัดกลับมาทางหัว
\ เส้นขีดเฉียงลง

 

เขียนไว้กลางตัวอักษรเป็นเครื่องหมายว่าเขียนผิด

x เส้นกากะบาท xແມວ เขียนไว้ใต้ตัวอักษรเป็นเครื่องหมายว่าเขียนตก

 

- เครื่องหมายวรรคตอนที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระยาคันคาก มีดังนี้

เครื่องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายขึ้นต้นเรื่อง

เครื่องหมายจบวรรค

เครื่องหมายเขียนก่อนขึ้นคำว่า บัดนี้ ใช้เครื่องหมายนี้ตลอดทั้งเรื่อง

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ