ภาคผนวก ค ศัพทานุกรม

กก น. นก, นกกาหรือนกผอก บางถิ่น เรียกนกคอก้าก หรือนกกกวาก.
กง น. เขต, แดน, บริเวณ, สิ่งที่มีลักษณะกลมเรียก กง.
กง น. ดวงชาตา. กงชาตา หรือ กงแก้ว ก็เรียก.
ก่ง ว. ปกครอง.
กงตา น. ดวงตา, วงตา, กรอบตา.
กระจวน ก. แตก, แตกละเอียด, ไหม้เป็นผุยผง.
กระจัด ก. แตก, กระจาย, มุ่น, ทะลาย.
กระจัด ว. กระจาย, เรี่ยราย.
กลม ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น.
กลอย ก. รวม, ร่วม, ตั้งใจ, คล้อยตาม.
กลั้ว ก. คลุกคลี, คบหา, สมาคม, ร่วมอยู่ร่วมกินด้วยกัน.
กล้า ว. แข็ง, มาก เช่น แก่นกล้า = แข็งมาก.
กวม ก. กุม, จับ.
กอตา น. ดวงตา. ก็ตา หรือ กะตา ก็ว่า.
กะจวน ว. ละเอียด เช่น มุ่นกะจวน แตกละเอียด. ขจวน ก็ว่า.
กะแจ น. กุญแจ, ลูกดาล, ลิ่ม, ไลย.
กะด้อ ว. เกินไป, มากไป, เหลือเกิน.
กะดัด ว. มากไป, เกินไป.
กะดานหัว น. กะโหลกศีรษะ.
กะบวน น. ขบวน, แนวทาง, แถว.
กัง น. ลิงชนิดหนึ่ง หางสั้น ตัวใหญ่.
กั้ง ก. ปิดไว้, กั้นไว้, บังไว้, ขวางไว้.
กับปะทีป สำ. คู่ครองดั้งเดิม หมายถึงหญิงชายที่เคยเป็นคู่ครองกันมาแต่ชาติก่อน.
กัลยาณ์ ว. งาม, สวย.
กา น. นกชนิดหนึ่งสีดำทั้งตัว ส่งเสียงร้อง กาๆ = นกกา,อีกา.
ก่าง น. นกชนิดหนึ่งคล้ายนกแก้ว ขนเขียว จะงอยปากแดง แต่ใหญ่กว่านกแก้ว บางถิ่น เรียก นกโนรี.
กาด ก. ปู, พาด.
ก่าน ว. มีลายสลับกันสีดำ. ขาว, เหลือง เป็นปล้อง ๆ
กาลพฤกษ์ น. ชื่อต้นไม้สารพัดนึก, การโปรยทานในงานบวชนาค เป็นต้น เรียกว่า หว่านหมาก กาละพฤกษ์ = กัลปพฤกษ์.
กาลโยค น. ฤกษ์ยาม, เวลาที่เหมาะสมในการประกอบการงาน, การกำหนด วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี ของแต่ละปี เป็น ธงชัย อธิบดี อุบาทว์โลกาวินาศ เรียก กาลโยค.
ก้ำ น. เบื้อง, ข้าง, ทิศ, ฝ่าย.
กินรี น. คนครึ่งนก (เพศเมีย) อาศัยอยู่ในป่าหิมพาน ปรากฏในวรรณคดีต่าง ๆ เช่น ศิลป์ชัย และ สุริย์วงศ์.
กินนะรอน น. คนครึ่งนก (เพศผู้).
กี้ น. ครั้งก่อน, แต่ก่อน, เมื่อก่อน.
กี้ น. นกจำพวกนกแก้ว ขนเขียว จะงอยปากดำ หางยาวกว่านกแก้ว แต่ตัวเล็กกว่า นกแขกกะลึง ก็เรียก.
กื่ง ก. ผลัก, กลิ้ง เช่น กื่งขอน = ผลักขอนไม้ให้กลิ้งไป.
กือ น. การนับเลขแบบโบราณ กือ หนึ่งเท่ากับหนึ่งร้อยล้าน.
กุฏโฏ น. ไก่.
กุม ก. จับ ปล้ำ, ข่มขืน, บังคับ ข่มขี่, ตะลุมบอน.
กุ้ม ว. ฝุ่นตลบ ฟุ้งกระจาย, ปลิวว่อน.
เกศ น. ผม บางที่หมายรวมทั้งศีรษะ.
เกษิม ว. เกษม, สำราญ, สบาย.
เกิ่ง ว. สมดุล, เสมอ, เท่ากัน, เท่ากับ, เหมือนกับ เช่น คนรูปร่างสันทัดไม่สูงไม่ต่ำ เรียก ต่ำเกิ่ง.
เกียง น. ทวน, อาวุธชนิดหนึ่ง.
เกียรติ์ น. เสียงสรรเสริญ, เสียงล่ำลือ, ชื่อเสียงขจรขจาย.
แก่ ก. ลาก, ดึง.
แก้ง น. โขดหินที่ขวางทางน้ำไหล.
แก่งแก้ ว. เต็มที่. สุดกำลัง, สุดขีด. อย่างเอาจริงเอาจัง.
แก่น ว. แข็ง, แข็งแรง, มั่นคง.
แกว น. เกลียว เช่น แกวเชือก = เกลียวเชือก.
โกก ว. โปกฮา, พอให้สนุก, หยาบโลน.
โกฏิ น. โกฏิ มีจำนวนเท่ากับสิบล้าน.
โกธา ก. โกรธ, ขุ่นเคืองใจ.

ขง น. เขต, แดน, ถิ่น, อาณาเขต.
ขบ ก. กัด.
ขม ก. แค้น, เจ็บใจ.
ขม่อม น. ส่วนสูงสุดตอนกลางของศีรษะ กระหม่อม ก็เรียก.
ขวั้น น. ขั้ว, ส่วนที่ต่อของก้านดอกไม้ เป็นต้น.
ขวาง ว. กว้าง, ใหญ่, ขยายออก, เจริญขึ้น.
ขว้าง ก. ปา, เฟี้ยง, โยน.
ขวี่ ก. นั่งเอาขาคร่อม.
ขอก น. ข้าง, ขอบ ริม เช่น ขอกห้วยฮาวเขา.
ข้อย ส. คำแทนตัวผู้พูด (บุรุษที่ ๑).
ข้อย น. ข้า, ทาส, บริวาร, คนรับใช้.
ขัตฤกษ์ น. ฤกษ์ยาม, กาล, เวลา ที่เหมาะสมในการประกอบการงาน.
ขัน น. ภาชนะสำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องสักการะและอาหาร.
ขัน ก. ร้อง, ส่งเสียง ใช้สำหรับสัตว์ปีก เช่น ไก่และนก เป็นต้น.
ขัน ก. อาสา, ขอทำแทน.
ขัน น. พาน พานสำหรับใส่เครื่องสักการะ มีข้าวตอก ดอกไม้ ธูป ประทีป เทียน จัด ๕ คู่ เรียก ขัน ๕ จัด ๘ คู่ เรียก ขัน ๘.
ขันสลา น. พานหมาก.
ขัวขัว ว. ชัดเจน, ฉะฉาน.
ขา ส. คำแทนตัวผู้ที่เราพูดด้วย และผู้ที่เราพูดถึง อย่างว่า “... พระยาเจ้าใช้ขาทัง ๒ มาเหตุใดจา ว่าอั้น ขาทัง ๒ คนใช้นั้น จิ่งกล่าวว่า...”.
ข้า ส. คำแทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ ๑) ข้าพเจ้า, ฉัน, กู, กระผม ส่วนมากว่า ผู้ข้า.
ข้า ก. ฆ่า.
ขาน ก. ประสานเสียง, กล่าว, ตอบ.
ขาบ ก. กราบ.
ขาม ก. คร้าม, เกรง, กลัว.
ขีน ก. ขืน, ฝืนใจ, ทำให้ไม่โล่งใจ, ทำให้เป็นทุกข์.
ขุกลุก ว. สะดุ้ง, ตกใจ.
เข็ญ น. ความยาก, ความลำบาก, ลางร้าย.
เข็ด ว. ขลัง, ศักดิ์สิทธิ์.
เขน น. เครื่องป้องกันอาวุธรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า. ฮา ก็เรียก.
เข็น ก. ปั่น.
เข้า น. ข้าว.
เขิน ว. สั้น. ขาด, นุ่งผ้าสูงกว่าปกดิ เรียก นุ่งซิ่นเขิน.
แขก น. นกแขกเต้า เป็นนกที่หัดพูดเลียนภาษาคนได้.
แข็งบ่ สัน. หากไม่, ถ้าไม่, ผิไม่.
แข้ว น. ฟัน.
ไข ก. พูด, กล่าว, บอก, เปิดออก, เผย.
ไขว่ ก. ก่ายกัน, ไขว้.
ไขว่ขีน ก. ล้มทับกันระเนระนาด.

คณา น. หมู่.พวก, เหล่า.
คราบ น. หนัง หรือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้ เช่น งู.
คราส น. การจับ, การกิน, การถือ, การอม.
ครื่น ๆ ว. เสียงอึกทึกครึกโครม.
ครุฑ น. เจ้าแห่งนก.
คลอง น. ขนบ ธรรมเนียม, ประเพณี, คลองวัตรปฏิบัติ, ครรลอง, วิธี, วิถี, ทางดำเนินชีวิต.
คลอง น. ทาง, แนว เช่น คลองหนู, รอย เช่น คลองงู, ร่อง เช่น คลองเลื่อน, เรื่องราว.
ควง ก. หมุน, แกว่ง.
ควง น. แดน เช่น ควงฟ้า = แดนฟ้า.
ควน ๆ ว. เสียงดังสอดประสานของเครื่องดนตรี.
ควา ก. คว้า, ควาน, ฉวย, หยิบตามแต่จะได้.
คอง ก. คอย, รอคอย, รอท่า.
คอน ก. การใช้ไม้คานหาบของปลายข้างหนึ่งมีของ อีกข้างหนึ่งไม่มี ลักษณะเช่นนี้ เรียก คอน.
คอบ ว. ด้วยเหตุ, เพราะ, เพื่อ เช่น ทุกข์คอบปาก ยากคอบท้อง.
ค้อม ว. โค้ง, งอ. ค่อม ก็ว่า.
ค้อม ก. น้อมลง, โน้มลง, ก้มลง.
ค้อม ว. ครั้น, เมื่อ. พอ.
คอย ก. เฝ้าดู อย่างว่า “นางก็หลิงล่ำ เอยี้ยม คอยท้าวอิ่มก็ใจ แท้แล้ว”.
คอย ก. เหลียว, แล, มอง.
ค้อย ว. ลาด, เท, เอียง, ค่อน เช่น ตาเวนค้อย = ดวงอาทิตย์คล้อยต่ำ.
ค้อย ๆ ว. บ่อย ๆ, หนักเข้า. ถี่ถ้วน, เนื่อง ๆ, ถี่ ๆ.
คะนิง ก. คำนึง, คิดถึง, ตรึกตรอง, นึกถึง, รำพึงหา.
คะมะ ว. ตื่นตกใจ. สะดุ้ง.
คะโยง ก. กระโดดสูง, เต้นสูง.
คะโยงคะยัน ก. กระโดดขึ้น ๆ ลง ๆ. คะโยงคะยาง ก็ว่า.
คั่ง ว. แออัด, ยัดเยียด, แน่น, ค้างอยู่.
คัณนา น. การนับ การกำหนด. คัวลนา ก็ว่า.
คันคาก น. คางคก, สัตว์สี่เท้าคล้ายกบ แต่มีผิวหนังเป็นตะปุ่มตะป่ำ เป็นสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก.
คันที น. น้ำเต้าสำหรับใส่น้ำ, เต้าน้ำ. คนที คนโท ก็เรียก.
คัพภ์ น. ครรภ์, มีลูกในท้อง. คัพภะ, คัพโภ ก็ว่า.
คา น. เครื่องจำขานักโทษ.
ค่า ว. แค่, เท่า. เพียง, เสมอ เช่น ยาวค่าศอก = ยาวแค่ศอก.
คาก น. คางคก.คันคาก ก็ว่า.
ค่าง น. สัตว์สี่เท้าคล้ายลิง ส่วนมาทขนสีเทาหรือดำ.
ค้างอย้าง ว. ลักษณะยืน หรือวางอยู่ของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่สูงโปร่ง ใช้สำหรับขนาดใหญ่ ถ้าขนาดเล็กว่า แค้งแอย้ง.
ค้าน ก. หัก, พัง, ทะลาย.
คาบ ก. ขี่ เช่น คาบหลัง = ขี่หลัง.
คาเม น. หมู่บ้าน. คามเม ก็ว่า.
ค้าย ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น.
ค้าย ก. คล้อย, บ่าย, ชาย.
คำ น. ความ. คำตาย = ความตาย, คำคึด = ความคิด.
คำ น. ทองคำ. คำชาวเบ้า = ทองคำที่กำลังสุกอยู่ในเตาหลอม.
คิ้ว ว. แม่นยำ ใช้สำหรับการทำนาย เช่น หมอมอทวายคิ้ว = หมอดูทายแม่น.
คิ้ว ว. ไกล, ห่างไกล.
คีค้อย ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เสมอ ๆ, แล้ว ๆ เล่า ๆ.
คีง น. ร่างกาย, ตัว, ตน ร่างกายทั้งหมด เรียก คีง. เลาคีง ก็ว่า.
คึง ก. กางออก, ตรึงไว้.
คึด ก. คิด. นึก.
คืน ก. กลับ.
คื่น ๆ ว. เสียงดังอึกทึกคึกโครม.
คื้นเคง ว. เสียงดัง เช่น เสียงไม้ล้มทับกันระเนระนาด.
คุง ว. ถึง, ตลอด, จรด เช่น แต่กกคุงปลาย = แต่ต้นตลอดปลาย, หัวล้านคุงง่อน = หัวล้านจรดท้ายทอย, ใช้เป็นกริยาช่วยแสดงความคาดคะเนอย่างเดียวกับคำว่า คง เช่น คุงซิมา = คงจะมา.
คุงคา น. แม่น้ำ, ชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในประเทศอินเดีย = คงคา.
คุมมุม ว. ลักษณะขนดำเป็นกระจุกใหญ่.
คู่ ว. ถ้วน, ครบ, ทุก, ทุกอย่าง, ต่าง. ซู่ ก็ว่า.
คู้ น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีแก่นหอม มักเรียกคู่กับจันทน์ว่า จันคู้.
คูน ก. พูน, ทับ ๆ กันให้สูงขึ้น.
เค็ง ๆ ว. มีเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงดังของคน, สัตว์ หรือเสียงน้ำตก เป็นต้น. เครง ๆ ก็ว่า.
เครา น. เชือกที่ผูกสิ่งของ.
เคราะห์ น. สิ่งที่นำผลมาให้โดยไม่คาดหมายทั้งทางดีและทางร้าย, โบราณเรียกดาว ๘ ดวง คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์พฤหัสบดี ราหู และศุกร์ ซึ่งประจำอยู่ที่ทิศทั้ง ๘ มีทิศบูรพาเป็นต้นว่า ดาวอัฏฐเคราะห์.
เค้า น. เริ่มต้น, ทีแรก.
เค้าเม้า ว. ลักษณะของคนหรือสัตว์ที่นั่งอยู่แลเห็นเด่นชัด.
เคียด ก. โกรธ, เคือง, ขัดใจ.
เคื้อ ว. งามละไม มักใช้เข้าคู่กับคำว่า เอื้อ เป็น เอื้อเคื้อ.
แคม ว. ขอบ, ข้าง, ริม, ใกล้, ชิด. คิม หรือ เคียม ก็ว่า.
โค่ง ว. โตกว่า, โตเต็มที่, แก่จัด.
โคมโมม ว. ลักษณะของคนหรือสัตว์ตัวใหญ่ นั่งหรือหมอบอยู่ แต่แลเห็นเด่น.
ใค่ ก. พอง, บวม.
ไค้ น. เครื่องดนตรีสำหรับตีชนิดหนึ่ง.
ไคลคลาด ก. จากไป.
ไคว ก. โยก, คลอน, ทำให้โยก.

ฆ้อง น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ใช้ตีให้เกิดเสียง โดยมีปุ่มกลม ๆ อยู่ตรงกลางสำหรับตี.

ง้ง ว. คด, งอ, ผิดทาง.
ง้อ ว. แปลก, อัศจรรย์, สนใจ, เอาใจใส่.
ง่า น. กิ่ง, แขนง, ค่าคบไม้.
งาน ก. ระราน, ข่มเหง, ก่อวิวาท, แกล้งทำให้ผิดใจ, ดื้อ.
ง้าว น. ดาบด้ามยาว.
งำ ก. ปกปิด, ไม่แพร่งพราย, มักใช้คู่เป็น ปิดงำ, ครอบงำ, เงื่อนงำ, ปกงำ.
งํ้า ก. ตกลง, ยินยอม, ตอบรับ.
งึด ว. แปลกใจ, ประหลาดใจ, อัศจรรย์ใจ.
งึดง้อ ก. อัศจรรย์ใจยิ่ง.
แง้น น. ความอยากจัด, ความใคร่จัด.
แง้ว น. เขียดชนิดหนึ่ง ชอบอยู่ตามป่าทึบ พื้นท้องและขามีสีเหลือง.
โง่งโง่ง ว. เสียงดังอย่างนั้น, เสียงตีฆ้อง. โงงโงง ก็ว่า.
โงงแง้น ว. ผิดๆ, คด ๆ งอ ๆ, ไม่ควร.

จญ ก. ประทะ, ประจญ, ผจญ.
จน สัน. ตราบ, เท่า, ตลอด, ถึง.
จ่น ก. ออกัน, เบียดเสียดกัน, กรูกัน.
จวบ ก. พบ, บรรจบ, ถึง.
จอด ก. ติด, ประสาน, บัดกรี, เชื่อมติดกัน.
จักร น. ล้อ, กงรถ, อาวุธที่มีรูปเป็นวงกลมเป็นแฉก ๆ, วงกลม.
จังกร น. ชื่อบัวชนิดหนึ่ง เรียกจังกร. จงกลนี ก็ว่า.
จัน น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม ๆ แบน ๆ มีกลิ่นหอม รับประทานได้.
จาม น. อาวุธชนิดหนึ่ง, ขวาน.
จารจา ก. พูด, กล่าว, เจรจา, สนทนา.
จำมร น. ตาลปัตร, พัด, วี.
จิ่ง สัน. จึง, จริง.
จี่ ก. เผา, วางบนถ่านไฟเพื่อให้สุก.
จีก ก. ฉีก, ทำให้ขาดออกจากกัน.
จี่จ้อย ว. ออเซาะ, ประจบประแจง.
จืน ก. เจียว, ทอด, ผัด.
จื่อ ก. จำ, จดจำ, กำหนดไว้ในใจ, ติดตาติดใจ.
จุติ ก. เคลื่อน, ย้าย, ตาย, พลัดจาก.
จุ่ม ก. จม.
จูม ว. สิ่งที่นูนขึ้นตอนกลางของฆ้อง เรียก จูม หรือจูมคำ, ตูม เช่น ดอกบัวจูม = ดอกบัวตูม, จอม เช่น จูมปลวก = จอมปลวก.
แจบ ว. สนิท, ละเอียด, ถี่ถ้วนแผลหายสนิท เรียก ดีแจบ, เรียบ, ราบ, เข้ากันดี.
โจก ๆ ว. เสียงร้อง.
โจม ก. ประคองโดยใช้มือทั้งสองยกขึ้น. โซม ก็ว่า.

ฉัททันต์ น. ช้างเผือกตระกูลหนึ่ง.
ฉัน ว. เหมือน, เช่น, อย่าง, เหมือนกับ, เช่นเดียวกับ.

ชลธาร์ น. น้ำ, น้ำตา, สายน้ำ.
ชลธี น. น้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ.
ชลเยศ น. น้ำตา.
ช่วง ก. รับใช้ คนรับใช้เรียกข้าใช้ช่วง หรือข้าช่วงใช้ ก็ว่า.
ช่อย ก. ช่วย, ส่งเสริมให้สำเร็จประโยชน์, ป้องกัน.
ชัน ว. ตรง, ไม่เอียง, ตั้งตรงขึ้นไป, ไม่ลาดลง.
ชาด ๆ ว. อึงอล, อึงคะนึง.
ชาน น. พื้นเรือนนอกชายคา เรียกชานเรือน หรือนอกชาน, พื้นที่นอกตัวเมือง หรือนอกกำแพงเมืองออกไป เรียกชานเมือง.
ชานมน น. หน้ามุขที่ไม่มีชานเล็กที่ต่อออกมาจากเรือนใหญ่.
ชีวัง น. ชีวิต.
ชุม น. หมู่, พวก, เหล่า, เผ่าพันธุ์.
ชุมพู น. ประเทศอินเดีย. ดู ชุมพูทีป.
ชุมพูทีป น. ประเทศอินเดีย, ทวีปชมพู เป็น ๑ ใน ๔ ทวีปที่โบราณแบ่งไว้ คือ ชมพูทวีป, อุตตรกุรุทวีป. บุพพวิเทหทวีป, อมรโคยานทวีป โดยปริยายหมายถึงโลกมนุษย์. ชมพูทวีป ก็เรียก.
ชุลี ก. ประนมมือ, ไหว้. อัญชุลี ก็ว่า.
ใช้ชาติ ก. ชดใช้เวรกรรมที่เคยทำมา.

ซวด ว. ยิ่ง, เกิน, มาก, ยิ่งนัก.
ซวาง ก. เอามือทั้งสองคว้าจับ. ซวง ก็ว่า.
ซวาด ๆ ว. เสียงหลั่งไหลของน้ำ, พรั่งพรู. ซวด ๆ ก็ว่า
ซอ น. เครื่องดนตรีประเภทสีมี ๒ ชนิดคือ ซออู้และซอด้วง.
ซอง น. สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับสอดใส่สิ่งอื่น เช่น ซองจดหมาย, ซองพลู, ช่อง, ซอก
ซอง ว. ตรง, เฉพาะ, ต่อ เช่น ซองหน้า = ตรงหน้า, เฉพาะหน้า..
ซ้อง ว. สดขจี, ไสว.
ซอด ก. ทะลุ, รั่ว, ถึง, บรรลุ, ลุ, บรรจบ, ทะลุถึงกัน.
ซอน ก. ชอนไช, แทรก, แซง.
ซ้อน ก. ทับกัน, นอนร่วมกัน.
ซ้อย ว. ล่าสุด, ทีหลัง เช่น ภายซ้อย = หลังสุด.
ซะนอน น. ที่นอน.
ซะบู น. ปืน.
ซะพั่น ก. หวาดหวั่น, พรั่นพรึง, หวั่นกลัว.
ซะพาด ว. สะพรั่ง, พรั่งพร้อม.
ซะพู่ ว. พรั่งพร้อม, พร้อมเพรียง.
ซะเพิก ว. สะพรั่ง, พร้อมพรั่ง.
ซะล้าย ว. เรียงราย, ต้นไม้ที่ขึ้นเรียงรายแลดูสวยงาม เรียก เลียนซะล้าย.
ซะออน ก. ชื่นชม, ยินดี, รัก, ทะนุถนอม.
ซะอิ่น ก. พลอดรัก, ออดอ้อน.
ซักซาด ว. เหลือเกิน, ยิ่งนัก.
ซ่า ว. ใหญ่, ยิ่ง, ใหญ่โต.
ซิ ก. เป็นกริยานุเคราะห์ ประกอบกับกริยาอื่น บอกเวลาข้างหน้า เรียก ซิ = จะ, จัก เช่น จะกิน เรียก ซิกิน.
ซื่อ ว. ตรง, ไม่คด.
ซู่ ว. ถ้วน, ครบ, ทุก, ทุกอย่าง, ต่าง. คู่ ก็ว่า.
เซ ก. เอน, เอียง, ไม่ตรง, ไม่แน่นอน.
เซ็ง ว. เล่าลือ, เกิยรติขจร, เก่ง, กล้า.
เซา ก. หยุด, พัก, พักเหนื่อย.
แซว น. นกแซงแซว.
แซว ๆ ว. เสียงทักท้วง, เสียงดังฟังไม่ได้ศัพท์.
โซม ก. ประคองโดยใช้มือยกขึ้น. โจม ก็ว่า.

ญาณ น. ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชาญาณ, ความรู้อย่างลึกซึ้ง.

ดน ก. มุ่ง, ประสงค์, อยาก.
ดวง ว. ยอด, จอม, ชั้นสุด.
ดอม บุ. ด้วย, โดย, ตาม.
ดอย น. ภูเขาสูง, ยอดภูเขา.
ดัง น. จมูก.
ดั่ง ว. ประดุจ, คล้าย, เหมือน, เช่น, เช่นกับ.
ดา ก. สะเทือน, สะท้าน, หวั่นไหว.
ดา ว. สนั่นหวั่นไหว.
ดา ว. ทั้งหมด.
ดา ก. แต่ง, เตรียม, จัด. ทำ, ตั้ง.
ดาเดา ก. ตกแต่ง, ตระเตรียม, จัดแจง. ส่วนใหญ่ว่า เดาดา.
ดาเนื้อ ก. แต่งตัว, เตรียมตัว.
ด้าง น. เครื่องมือป้องกันอาวุธชนิดหนึ่ง ใช้สอดเข้ากับท่อนแขนเวลาประจัญบานกับคู่ต่อสู้.
ด้าม น. ประมาณ, ขนาด, กะระยะ.
ดาย ว. เปล่า, สูญเปล่า. อีกอย่างหนึ่งใช้เป็นคำสร้อย เท่ากับคำว่า หนา, นา, นะ เช่น เทื่อดาย = สักครั้งนะ.
ด้าว น. เขต, แดน, แว่นแคว้น, แผ่นดิน.
ด้ำ น. คันถือ, ด้าม.
ดีท่อ สัน. ดีแต่, น่าจะ, ควรจะ.
ดุ่ง ก. มุ่งหน้าไป.
เด ว. นั่น, แน่ะ, แท้, จริง, แน่จริง.
เด็น ก. กระเด็น, ปลิวไปโดยเร็ว.
เดา ก. ประดับตกแต่ง เรียก เดา. เดาดา ก็ว่า.
เดาดา ก. ประดับ, ตกแต่ง, ตระเตรียม.
เดิ๊ก น. เวลามืดนานแล้ว, เวลากลางคืน.
เดียรดาษ ว. เกลื่อนกลาด, เกลื่อน, ดื่นดาษ.
แด่ ว. ด้วย. แด่เทิ้น = ด้วยเถิด, แด่เนอ = ด้วยนะ, แด่ท้อน = ด้วยเถอะ.
แดนแต่ ว. ตั้งแต่, นับแต่, จากนั้นมา.

ตง น. การนับแบบโบราณ เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ กือ ตื่อ ติ่ว ตง, แสนล้าน.
ตง ว. หมด, สิ้น เช่น ตายหมด เรียก ตายตง. ถี่ เช่น ตงถ้วน = ถี่ถ้วน.
ต่อ น. สัตว์ปีกชนิดหนึ่ง มีเหล็กไนที่ก้นต่อยเจ็บ.
ตอบหมอบ ว. นั่งหมอบก้มด้วยความกลัวหรือสำรวม.
ตะปาด น. ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดเดียวกับกบ แต่ตัวเล็กกว่า
ตัน ก. ปิด, ไม่ทะลุ.
ต้าน ก. พูด, เจรจา.
ต้าย น. รั้ว, กำแพง, เสาเขื่อน.
ต่าว ก. กลับ, ไปแล้วกลับมา, ผิน, หัน.
ตาวัน น. พระอาทิตย์. ดวงตะวัน.
ตำ น. ดู ตำซาน.
ตำซาน น. เครื่องมือดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ใช้ดักสัตว์ใหญ่ เช่น เสือ เป็นต้น.
ติ่ว น. มาตรานับแบบโบราณ หนึ่งติ่วเท่ากับหนึ่งหมื่นล้าน โดยนับตามลำดับ จากหน่วย, สิบ, ร้อย, พัน, หมื่น, แสน, ล้าน, โกฏิ, กือ ตื้อ, ติ่ว, ตง.
ตี๊ ว. ใช้เป็นคำต่อท้ายคำถาม เช่น บ่เอาตี๊ = ไม่เอาหรือ.
ตื้อ น. จำนวนนับ เท่ากับ ๑, ๐๐๐ ล้าน.
ตุ้ม ก.ห่ม, คลุม, ทะนุถนอม, กก.
ตุ้ม ก. ปกครอง, คุ้มครอง, ดูแลรักษา.
ตู ส. ข้าพเจ้า, พวกเรา. คำแทนตัวผู้พูด (บุรุษที่ ๑) เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์.ตูข้าก็ว่า.
ตูด น. ตรุษ เวลาเริ่มต้นของกลางวันและกลางคืน.
ตูดตั้ง น. เวลาเริ่มต้นของกลางวันและกลางคืน กลางวันเริ่มแต่ ๐๖. ๐๐ น. ถึง ๐๗. ๓๐ น. กลางคืน เริ่ม ๑๘. ๐๐ น. ถึง ๑๙. ๓๐ น.
เตชะ น. เดช, อำนาจ, ความร้อน, ไฟ, พลัง. เตโช ก็เรียก.
เตโช น. เดชะ, เดช, อำนาจ, พลัง.
เตอะ ก. เผยอปาก.
เตียน ก. ติ, ตำหนิ, ติเตียน.
แตนเหลือง น. สัตว์ปีกชนิดหนึ่งคล้ายผึ้ง ต่อยเจ็บ ตัวโต และทำรังโตกว่าแตนชนิดอื่น.
โต น. ตัว.
โต่ง ก. ตวง, รอง. โตง ก็ว่า.
โตน ก. กระโจน, กระโดดจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ.
ไตร ว. สาม.
ไตรแก้ว น. แก้ว ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.
ไตรยะ ว. สาม, หมวดสาม.

ถง น. ถุง เรียกชื่อตามสิ่งของที่ใส่ เช่น ใส่เงิน เรียก ถงเงิน, ใส่ผ้า เรียก ถงผ้า เป็นต้น.
ถม ก. กลบ, ทำให้เต็ม, ตอบแทน. ถมคุณ = ตอบแทนคุณ.
ถ้วม ก. ท่วม.
ถอง ก. ถึง, ทำให้เต็ม, ท่วม, ทับ, จบ, สิ้นสุด.
ถ่อย ว. เลว, ทราม, ไม่ดี, ชั่ว, ร้าย.
ถั่ง ก. พุ่งขึ้น, ลอยขึ้น, ซัดขึ้น.
ถัน ว. แถว, แนว, เรียง. เรียงเป็นแถว เรียก ถัน.
ถัน ว. หว่าง, ระหว่าง, ตรงกลาง.
ถ้า ก. รอ, คอย.
ถ้าน น. ชั้น เช่น ถ้าน ๑ = ชั้น ๑, ระดับ.
ถ่าว ว. รุ่น, สาว, หนุ่ม หญิงที่เริ่มเป็นสาว เรียก สาวถ่าว.
ถิ้ม ก. ทิ้ง เช่น ถอกถิ้ม = เททิ้ง.
ถืก ก. ถูก, แตะต้อง, สัมผัส.
ลุย ก. วาง, บ้วน, ถ่ม.
เถ้า ว. แก่, เฒ่า, มีอายุมาก, ชรา.
เถิง ก. ถึง, บรรจบ, บรรลุ, ลุ.
เถียง ก. โต้ตอบ, บอกกล่าว, แจ้งให้ทราบ.
เถียว ว. กลับคืน เช่น เถียวค่ำเถียวคืน = เวลาค่ำคืนก็ต้องกลับ. เมือ ก็ว่า.
แถ น. เวลา, ฤกษ์ยาม, เวลาเป่าปี่แถเพื่อบอกเวลากี่โมงกี่ยาม.
แถ น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง เรียกปี่แถ สำหรับใช้เป่าบอกเวลา.
แถน น. เทวดา, ผีฟ้า.
แถม ก. เพิ่ม, เติม. ตื่ม ก็ว่า.

ท่ง น. ที่ราบโล่ง, ท้องนา เช่น ท่งนา มักเรียกคู่กันกับคำว่า ไฮ่ เป็น ท่งไฮ่ท่งนา.
ทมทม ว. เสียงดัง, เสียงร้องอึกทึก, กึกก้อง.โทม ๆ ก็ว่า.
ท่วน ว. เสียงโดดน้ำ.
ทวย ก. ทาย, ทำนาย, พยากรณ์.
ท่วย น. พวก, หมู่, เหล่า.
ทวาย น. หมู่, พวก, เหล่า.
ทวาย ก. ยก, หยิบ, จับ, ฉวย. ทวย ก็ว่า.
ทวาร น. ประตู, ช่อง, ทางผ่าน, ช่องต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ทวารทั้ง ๙ เป็นต้น.
ทศราช น. ธรรมที่พระเจ้าแผ่นดินหรือนักปกครองทุกระดับควรประพฤติ ๑๐ ประการ คือ ๑. ให้ทาน ๒. รักษาศีล ๓. สละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ๔. ซื่อตรง ๕. อ่อนน้อมถ่อมตน ๖. กำจัดความชั่ว ๗. ไม่โกรธ ๘. ไม่เบียดเบียน ๙. อดทน ๑๐. ไม่มีอคติ เรียกชื่อเต็ม ๆ ว่า “ทศพิธราชธรรม”.
ท่อ ๑ สัน. เท่าว่า, ทว่า, แต่, เท่า, เพียงแต่.
ท่อ ๒ ว. เท่า, เสมอ, เหมือน, ขนาดเดียวกัน.
ท่อว่า ดู ท่อ ๑.
ทอด ก. วางไว้, ทิ้งไว้, วางให้.
ท้อน ว. เถอะ, เถิด, เทอญ อย่างว่า “ตามบุญท้อน ตามกรรมซิบังเกิด เอาท้อน”.
ทัง สัน. ทั้ง, และ, กับ.
ทัดเที่ยง ว. เที่ยงตรง, แน่นอน, เต็ม ๆ.
ทัน ก. เรียกให้มาหา, ตามไปพบ, พบ.
ท้าว ส. คำใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย และผู้ที่เราพูดถึง (บุรุษที่ ๒ และที่ ๓), สำหรับเรียกเด็กชาย มีความหมายในทางเอ็นดู.
ท่าว ก. ล้มลง, สลบ, สยบลง.
ทาสา น. ทาส, ผู้ที่ขายตัวลงรับใช้นายเงิน. ผู้ที่นายเงินไถ่ตัวมา เรียก ทาสน้ำเงิน.
ทีป น. ทวีป, เขต, แดน, เกาะ, เมือง, โลก.
ทื้น ก. จิก, ดึง ดึงอย่างแรง เรียก ทื้น.
ทูตา น. ทูต, ผู้ที่นำข้อความไปแจ้งทั้งสองฝ่าย, ผู้แทนการเจรจา.
เท ก. ทำลาย, รื้อ, ทุบให้เสียหาย.
เทริด น. เครื่องประดับศีรษะรูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีครอบหน้า.
เทวราช น. เจ้าแห่งเทพ, พระอินทร์.
เทศนา น. ชี้แจง, แสดง, เปิดเผย, บอกให้เห็น.
เท้า ว. ถึง, ตลอด.
เทิง ว. บน, ข้างบน, เหนือ, สูง.
เทิ้น ว. เทอญ คำลงท้ายที่ผู้พูดต้องการให้เป็นเช่นนั้น.
เที่ยน ก. เพิ่ม, เติม เพิ่มน้ำ เรียก เที่ยนน้ำ.
เทียม ว. เรียง, เคียง, ใกล้, เสมอ, เทียบ, เปรียบ.
เทียรฆา ว. ยั่งยืน, มั่นคง, ยาว, นาน, ไกล.
เทียว ก. เดิน, ไป, มา, การไปหาประจำ, แวะเวียน, เดิน เช่น เทียวทาง = เดินทาง.
เทื่อ ว. ที, หน, ครั้ง, คราว.
แทบ ว. เกือบ, จวน, ใกล้.
ไท น. คน, พวก, หมู่, ชาว.
ไท้ น. ผู้เป็นใหญ่, ผีปู่ ย่า ตา ยาย, เทวดา.
ไทหน้าจ้าง น. พลธนู, พลหน้าไม้.

ธร น. ผู้ทรงไว้, ผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยาอาคม เรียก วิทยาธร. ทิพพระยาธร, เทพพระยาธร หรือ พระยาธร ก็เรียก.
ธรณี น. แผ่นดิน. เมทนี, พสุธา ก็ว่า.

นง น. นาง, สาว, สาวงาม.
นงแพง น. ชายหนุ่มหรือหญิงสาวผู้น่ารักน่าหวงแหน.
นนตรี น. ดนตรี. นันตรี ก็ว่า.
นบ ก. พนมมือ, ไหว้, นอบน้อม.
นอง ก. หลั่งไหล, หลาก, ล้น, เจิ่ง, เต็ม.
นัตถิ ก. หมด, ไม่มี, จบ.
นัน ว. มาก, หลาย. มาจากคำว่า อนันต์.
นัน ว. อื้ออึง, เสียงดังอึกทึกครึกโครม. นีนัน หรือ มี่มัน ก็ว่า.
นาคี น. นาคตัวเมีย.
นาโค น. นาค, ผู้ประเสริฐ, นาคตัวผู้.
นางคาน น. นางงาม.
นาโถ น. ที่พึ่ง. ที่พิง, ที่อาศัย. นาถ ก็ว่า.
นาม น. ชื่อ.
นามกร น. ชื่อ.
นารี น. นาง, หญิงสาว.
นาว น. มะนาว. ส่วนมากเรียก หมากนาว.
นำ สัน. ด้วย, ร่วม, กับ.
นำ ก. ติดตาม, ตาม, ไปข้างหลัง.
น้ำมอก น. ปืน, ปืนใหญ่.
นิทเนียน ว. อ่อนละมุน, ละมุนละไม. ละเอียดอ่อน, นุ่ม.
นิมิต ก. เนรมิต, แปลงกาย, บันดาลให้เป็นขึ้น, ให้มีขึ้น, ให้เกิดขึ้น.
นีรมิต ดู นิมิต.
เนก ว. อเนก, มากมาย, หลากหลาย.
เนอ ว. นะ, เถิด, เทอญ. เด๊อ ก็ว่า.
เนา ก. อยู่, อาศัยอยู่.
เนือง ว. แน่นขนัด, เต็มไปหมด.

บ่ ว. ไม่.
บด ก. บัง, บังแสง, ทำให้มืดมัว.
บน ก. บอก, บอกกล่าว เรียก บนบอก.
บรบวน ก. บริบูรณ์, ครบ, ถ้วน, เต็ม, เสร็จ.
บรรจ์ น. เตียงนอน ย่อมาจากคำว่า “บรรจถรณ์”.
บ่อน น. ที่นอน, ใช้เรียกสถานที่ทั่วไป.
บัก น. คำนำหน้านามเพศชาย เช่น บักคำ, เป็นคำเรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกันหรือต่ำกว่ากัน.
บัง น. ห้วย, หนอง, คลอง, บึง.
บังเมียด ก. เบียดเบียน. ทำให้เดือดร้อน.
บั้น ว. แยกออกจากกัน, แตกออก.
บัวรภัณฑ์ น. ภูเขาที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ มี ๗ ชั้น ชื่อว่า ยุคนธร, อิสินทร, กรวิก, สุทัส, เนมินทร, วินตกะ, อัสกัน เรียกเขาบริภัณฑ์ หรือเขาสัตปัวรภัณฑ์ ก็มี.
บา น. ใช้นำหน้าชื่อผู้ชาย, ชายหนุ่ม, นาย.
บาคาน น. ชายหนุ่ม, ชายงาม, บาคราญ ก็ว่า.
บ่าง น. สัตว์ ๔ เท้า สีข้างมีแผ่นหนังกางออกคล้ายปีกสำหรับใช้ร่อน.
บาด ว. ครั้น, เมื่อ, คราว, ยาม, เดี๋ยวนี้, บัดนี้. บาดนี้ = คราวนี้, ครั้งนี้.
บาท น. เท้า, ตีน, เชิง, ที่รอง, ที่ตั้ง.
บาไท น. ชายหนุ่ม. คำเรียกชื่อชายหนุ่มมีหลายคำ เช่น บาไท, บาท้าว, บาบ่าว, บาคาน เป็นต้น.
บาไท น. คนผู้เป็นใหญ่, พระราชา.
บาน ว. ชื่นบาน, เบิกบาน.
บาย ก. จับ, หยิบ, ฉวย.
บาศ น. บ่วง.
บุ ก. โผล่ขึ้น, ผุดขึ้น.
บุพเพ ว. ในกาลก่อน.
บุฮาณ ว. เก่า, ก่อน, แต่ภายหลัง.
เบ็งชร น. หน้าต่าง.
เบิ่ง ก. ดู, มอง, เหลียวดู, แล, จ้องดู.
โบก ว. เสมอ, เท่ากัน.

ปง ก. ปลง, วาง, ให้, มอบให้.
ปฐม ว. ที่หนึ่ง, ทีแรก, แรกสุด.
ปบ ก. วิ่ง, ไปโดยเร็ว, กระโดดไปข้างหน้า, อาการที่ทำโดยเร็ว เรียก ปบ.
ประจญ ก. ต่อสู้, สู้รบ, ต้านทาน. ผจญ ก็ว่า.
ประถม ว. ลำดับแรก, เบื้องต้น, แรกเริ่ม, เดิมที, ปฐม ก็ว่า.
ประนม ก. น้อมยกมือไหว้.
ประเหียร ว. ประดุจ, เหมือน, ไม่ต่าง.
ปอง ก. ต้องการ, มุ่งหวัง, ปรารถนา.
ป่อง น. ปล่อง, ช่อง, รู.
ปอม น. กิ้งก่า.
ป่อม ว. เหิน, ลอย, เหนือ, ปลิว.
ปะ ก. ทิ้ง, ละทิ้ง, ทอดทิ้ง. ป๋า ก็ว่า.
ปะคือ น. ร่ม, ฉัตร.
ปักตู น. ประตู.
ปั่งปี้ ว. ดำมาก, ดำที่สุด.
ปัว ก. รักษาพยาบาล, รับใช้ดูแล.
ปารมี น. การบำเพ็ญกุศลกรรมหรือคุณงามความดี ๑๐ ประการ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา และ อุเบกขา บุญทั้งสิบประการนี้สามารถทำให้ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า หรือให้สำเร็จความประสงค์อย่างอื่นตามที่ปรารถนา.
ปาสา น. บ่วง.
ป้ำ ก. โค่น, ล้มต้นไม้.
ปำรือ ก. คอยรับใช้, เฝ้าปรนนิบัติ.
ป่ำรือ ก. ดู ปำรือ.
ปิ้งๆ ว. ลึก, สนิท, (หลับ) เหมือนตาย.
ปิตา น. บิดา, พ่อ, ชายผู้ให้กำเนิด.
ปิ่น ก. ผินกลับมองดู, หัน, พลิกกลับ.
ปี้ ว. ดำมาก, ดำสนิท.
ปีบ ก. ตะโกนด้วยเบิกบานและสนุกสนาน.
ปุตโต น. ลูกชาย.
ปุน ก. ต้องการ, มุ่งหมาย, ปรารถนา.
ปุน ว. ทำ, แต่ง, ให้ ส่วนมากใช้ในบทกลอน สำหรับนำหน้าคำอื่นเพื่อให้สละสลวยมีความหมายได้หลายอย่างหรือใช้เป็นอุทานเสริมบทมีความหมายเท่ากับคำที่เสริม.
ปุนปัว ก. ปฏิบัติดูแล, รักษา, พยาบาล.
ปูน ว. เปรียบ, เทียบ, เสมอ.
เปิด ก. เบื่อ, ระอา, หนีไป, หน่ายแหนง.
เปือง ว. เร็ว, รีบ, ด่วน, ไว.
แป่ ก. รื้อ, ทำลาย.
แปก ว. คล้าย, เหมือน, ราวกับ.
แปง ก. จัดสร้าง, ประดับ, จัดให้งาม, ตกแต่ง, กลับกลาย, เปลี่ยนรูป, จำแลง.
แปน ว. เปล่า, โล่ง, เตียน.
แปบ ว. ติด, ถึง, จรด.
แปว น. เปลว, เปลวไฟ.
แปะ ว. ใกล้, ชิด เช่น นั่งใกล้ เรียก นั่งแปะ, ติด.
ไป่ ว. ไม่, ยัง.

ผญา น. ปัญญา, ความฉลาด, ปรัชญา.
ผยอง ก. เผ่นโผน, เหาะไป.
ผวน ก. กลับ, หวน, เปลี่ยน.
ผ่อ ก. ดู, คอยดู, พบ.
ผอก ว. เหลือเกิน, เกินไป, เกินขีด. ผอกพ้น ก็ว่า.
ผอกพ้น ว. ดู ผอก.
ผอง สัน. ถึง, จนกระทั่ง.
ผ่อน ก. ลด, ถอย, หย่อน.
ผ่อนผญา ว. ปัญญาอ่อน, ด้อยปัญญา. ผญาผ่อน ก็ว่า.
ผัด ก. หมุน, หมุนไป, เคลื่อนไป.
ผัน ก. หนุน, วอกแวก, ไม่นิ่ง, ไม่คงที่, เปลี่ยน, จับ, คลึง, พัน.
ผันผยอง ก. เหาะไป, กระโดดไป.
ผากฎ ก. ปรากฏ, เปิดเผย.
ผาด ก. เดิน, โคจร.
ผานผาน ว. โดยด่วน, โดยเร็ว, ไม่รอช้า.
ผาบ ก. ปราบ, ทำให้ราบคาบ.
ผาม น. ปรำ, โรงพิธี.
ผาย ก. เผย, พูด, ขยายความ, เปิด. บอก.
ผาย ก. เดิน, ไป.
ผ้าย ก. ไป, มา.
ผาลา น. โล่.
ผาสาท น. ปราสาท, ราชมณเทียร.
ผู้ผ่านพื้น สำ. พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน.
เผลียง ก. ทุบ, ตี, ผ่า, ทำลาย.
เผิ่ง น. ผึ้ง. น้ำเผิ่ง = น้ำผึ้ง.
เผียง ๆ ว. เสียงอื้ออึง.
เผี้ยน ว. หมด, สิ้น, เตียน, หมดเกลี้ยง.
เผือ ส. ใช้แทนตัวผู้พูด เช่นเดียวกับ กู, ข้า, ฉัน, กระผม, ดิฉัน (บุรุษที่ ๑).
แผ่ ก. ขยายออก, ทำให้บางหรือแบน, ขอหรือเรี่ยไร.
แผ้ว ก. ถาง, กวาด, ทำให้เตียน.
โผด ก. โปรด, เอ็นดู, กรุณา, ปรานี.
โผดผาย ก. เมตตา, ปรานี. โผด หรือผายโผด ก็ว่า.
ใผ ส. ใคร, ผู้ใด.

ผั้น ก. เคล้ากัน, คละกัน, ปะปนกัน, ยึดกัน.
เฝือ ก. เกี่ยวพัน, พัวพัน, เกี่ยวกัน, ผูกพัน.
แฝง ก. แอบ, แนบ, ชิด, แนบสนิท.

พระกึด น. ชื่อตัวละครในวรรณคดีอีสาน.
พระพาน น. ชื่อตัวละครในวรรณคดีอีสาน.
พระยากาบิน น. ชื่อตัวละครในวรรณคดีอีสาน.
พลหร น. ผู้นำไปซึ่งกำลัง, ม้า.
พลอย ว. ร่วมด้วย, ประสบด้วย, ตามไปด้วย, กลับตาลปัตร.
พลอย ก. พลัดพราก, จากไป, คนที่พ่อแม่ตายจาก เรียกกำพลอยคู่กับกำพร้า, เปล่าเปลี่ยว, เดียวดาย.
พลายสาร น. ช้างตัวผู้.
พ่อง ว. บ้าง, บางสิ่ง, บางอย่าง, บางคน. บางพ่อง หรือบางพ่องหรือลางพ่อง ก็ว่า.
พัด ว. ก็เลย, แล้วก็. ผัด หรือผั้น ก็ว่า.
พันตา น. พระอินทร์.
พันธะนัง น. การผูก, การมัด, เกี่ยวพัน, กอดเกี้ยว.
พั้ว น. กลุ่ม, พะวง, ช่อ.
พา น. ภาชนะ, สำรับใส่อาหาร.
พากย์ น. คำพูด, คำบอก.
พ่าง ว. ใกล้, เสมอ, แทบ, ชิด.
พาบ ว. พร้อม, พร้อมกับ.
พาบๆ ว. เป็นประกาย, วูบวาบ, วาบๆ.
พ่าย ก. หนีไป, แพ้, สู้ไม่ได้, ทนไม่ได้.
พิดาน น. เพดาน, ที่ดาดหลังคา.
พี้ ว. นี้, ที่นี้. เพี้ย ก็ว่า.
พีชะ น. พืช, ผัก, ผลไม้. พีช ก็ว่า.
พึง น. หมู่, เหล่า, ฝูง, พวก.
พึง ก. ขยาย, แผ่, แผ่แม่เบี้ย.
พือ ก. คลี่ออก, กางออก.
พุ้น ว. โน่น, โน้น.
เพ ก. พัง, ชำรุด, แตกหัก, ทะลาย.
เพ็ง ว. วันพระจันทร์สว่างเต็มดวง, วันเพ็ญ.
เพท น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา, คัมภีร์ของพวกฮินดู.
เพศ น. รูปร่าง, ลักษณะ, อาการ.
เพิ่ง ก. พึ่ง, อาศัย, พึ่งพิง.
เพิ่ง ว. พอ, เหมาะ, ควร.
เพิน ก. ชู, ยก.
เพิ่น น. ท่าน, เธอ, เขา, เพื่อน.
เพิ่น น. เพื่อน.
เพียง ว. เท่า, แค่, เสมอ, พอ.
เพี้ยง ว. เท่า, แค่, เสมอ. พอ, เหมือน, สมควร.
แพ ๆ ว. พล่าม, พูดพล่าม.
แพ้ ก. สู้ได้, ทนได้, ชนะ, ตรงข้ามกับพ่าย.
แพง ว. ใช้เป็นคำเรียกสิ่งหรือคนที่ตนรักมาก เช่นลูกว่า แพง เช่น แพงแสน, แพงล้าน, แพงศรี เป็นต้น.
แพง ก. รัก, หวงแหน, สงวน.
แพงแก้ว ว. มีค่ามาก, มีค่าดังแก้ว, หวงแหนมาก.
แพงล้าน ว. มีค่ามาก, เป็นที่หวงแหนมาก.
แพน น. หอก.
โพธิสัตว์ น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า.
โพย น. อันตราย, ภัย.

ฟ้ง ก. ปลิว. ตลบ, กระเด็น, ซ่าน.
ฟ้อน ก. รำสลับเสียงดนตรี. ส่วนมากว่า ฟ้อนรำ เช่น รำวง เป็นต้น.
ฟัก ก. สับ.
ฟาย ก. กำ.
ฟ้าว ว. รีบ, ด่วน, เร่งรัด.
ฟ้าวฟั่ง ว. รีบเร่ง. ฟั่งฟ้าว ก็ว่า.
ฟีฟื้น ว. สะเทือน, เลื่อนลั่น.
ฟุน ก. โกรธเป็นไฟ, โกรธจัด.
เฟือน ว. สะเทือน, สะท้าน, หวั่นไหว.
เฟือย ว. อ่อนช้อย, งดงาม.

ภาคพื้น น. ความหลัง, เรื่องราวแต่อดีต.
ภู น. ภูเขา, เขา, ดอย.
ภูชัย น. พระเจ้าแผ่นดิน.
ภูธร น. เจ้าแผ่นดิน, เจ้าชีวิต, ราชา, มหากษัตริย์.
ภูมี น. เจ้าแผ่นดิน, เจ้าชีวิต, ราชา.
ภูวนาถ น. ราชา, มหากษัตริย์, เจ้าแผ่นดิน.

มณฑล น. บริเวณ, เขตแดน.
มนุสสา น. มนุษย์, คน.
มโน น. ใจ. มโนทวาร = ทางใจ.
ม้ม ก. พ้น, รอด, เลย.
มวล ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งปวง, ทั้งมวล, พร้อมกัน.
มหาด น. ข้าราชการในราชสำนัก.
มหานิล น. แก้วสีดำสนิท, แก้วสีดำที่มีค่ามาก.
มอด น. แมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ชอบเจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทำให้เป็นพรุนทั่วไป.
มอมม่อ ว. มอมแมม, สกปรก, ต่ำ ๆ, ง่าย ๆ, ปอน ๆ.
มัก ก. ชอบ, พอใจ, รัก, ต้องการ.
มัว ก. มืด, ลุ่มหลง, มัวเมา, ไม่สว่าง.
มั้ว ก. สร่าง, หมด, สิ้น.
ม้าง ก. รื้อ, ทำลาย, ล้าง, ทำให้แตกกระจาย, พัง.
มาดา น. มารดา, แม่, หญิงผู้ให้กำเนิด.
มาบ ว. ประกายแสงเลื่อมพราย. มาบ ๆ ก็ว่า.
ม่าย ก. เดินกรีดกราย.
มาย ๆ ว. สดชื่น, เบิกบาน.
มิ่ง น. ชู้รัก, คนรัก, สามี, เพื่อนรัก, สิ่งที่เป็นมงคลแก่ชีวิต.
มี ว. ไม่, ไม่มี เช่น มีมาย = ไม่คลาย, มีบัง - ไม่บัง, มีไฮ้ = ไม่ยากจน, มีช้า = ไม่ช้า.
มี่ ว. อึกทึก, เซ็งแซ่.
มื้อ น. วัน. วันนี้ เรียก มื้อนี้.
มุงคุล น. มงคล, ความสุข, ความเจริญ, ความสวัสดี, ความสำเร็จ.
มุดมอด ก. ดับ, สลาย, ตาย.
มุนตรี น. มนตรี, ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ.
เมขลา น. นางเทพธิดาประจำสมุทร.
เมฆ น. กำแพง.
เมโฆ น. เมฆ.
เมี้ยน ก. ตาย, ดับ, สิ้น.
เมือ ก. กลับไป.
แม้ว ก. มุ่งหมาย, ปรารถนา, ชอบใจ.

ยน ๆ ว. ขวักไขว่, ยั้วเยี้ย.
ยล ก. มอง, ดู, แลดู.
ยวง ว. ยาว.
ยวง ว. ขาวใส, ขาวเป็นมัน.
ยอ ก. ยก, ชูขึ้น, ยื่นให้.
ยอ ก. ชม, ยกย่อง, พูดให้ถูกใจ.
ยอง น. ปุย เช่น ปุยนุ่น = ยองนุ่น.
ย้อง ก. ยกย่อง. สรรเสริญ.
ย้อย ก. หยาด, หยด, ไหล.
ยัง ก. มีอยู่, คงอยู่, ปรากฏอยู่.
ยั้ง ก. หยุด, พัก, หยุดพักชั่วคราว.
ยัวรย้าย ก. เดิน, เคลื่อนที่, ย้ายออก.
ยาด ก. แย่ง. ชิง. ยาดแย่ง ก็ว่า.
ยาบ ๆ ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ เช่น ธงปลิวยาบ ๆ, แพรวพราว, ระยิบระยับ, อาการเคลื่อนไหวไปมาต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม, เคลื่อนไปเป็นแถว, เดินไปเป็นขบวน.
ย่ำ ก. เหยียบหนักๆ, ทำซ้ำ ๆ.
ยิน ก. รู้สึก, ความรู้สึก, ได้ฟัง ส่วนมากว่าได้ยิน. ยินแค้น ก. รู้สึกแค้น, ยินอาย ก. รู้สึกอาย.
ยึ่ง ว. อาการแตกกระจายออกไปพร้อม ๆ กัน เช่น เผิ้งแตกยึ่ง = ผึ้งบินแตกกระจายออกจากรัง.
ยู ว. สนุก, ถนัด, สะดวกสบาย, เพลิดเพลิน. เป็นคำย่อจากคำว่า ยูท่าง หมายถึง สะดวกสบาย เช่น เข้าน้ำมากยูท่างกิน - มีข้าวปลาอาหารกินอย่างสะดวกสบาย.
ยูท่าง ก. ทำด้วยความเบิกบานใจ, สนุก, เพลิดเพลิน.
เยอ ว. เนอ. เป็นคำช่วยกริยาแสดงความหมายตกลง หรือร้องขอ เช่น มาเยอ = มาเถิด.
เยีย น. ยุ้ง, ฉาง ยุ้งสำหรับใส่ข้าวเปลือก เรียก เยียเข้า, เยียสาง = ยุ้งฉาง.
เยื่อง ว. อย่าง, ชนิด, ประเภท.
แยง ก. พินิจดู, ตรวจดู, ส่องดู, เพ่งดู, มุ่งหน้า, ประสงค์.
โยค น. กาลเวลาที่เหมาะสมสำหรับการประกอบพิธี.
โยง ก. ติดกัน, เนื่องกัน, ต่อ ๆ กัน.
โยธา น. ทหารหาญ.
โยม ก. ยอม, จำนน, ยอมแพ้.
ใย น. เส้นเล็กๆ บางๆ.
ไย่ไย่ ว. เป็นแถวเป็นแนว, เรียงสลอน.

ระดู น. ส่วน, คราว, สมัยของอากาศ ปีหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน หรือ ๓ ระดู.
รัตนัง น. แก้ว.
รัสสี น. นักบวชผู้อยู่ในป่า, ชีไพร่, ผู้แต่งพระเวท.
ริจนา ก. รจนา, แต่ง, ประพันธ์.
รือ สัน. หรือ.

ฤทธี น. ฤทธิ์, อำนาจศักดิ์สิทธิ์, ความสำเร็จ, อานุภาพ, ความขลัง.

ลด ก. ปลง, วาง, สละ.
ลนลาบ ก. ไหม้, ลวก, แผดเผา.
ลวง ว. บอกระยะสั้น ยาว กว้าง แคบ สูง ต่ำ เป็นต้น.
ลวด ว. พร้อมกับ, เลย.
ลวน ก. ก่อกวน, กลั่นแกล้ง, ท้าทาย.
ลวาด ก. ทา, เท, ลาด เช่น ลวาดพื้น ถ้าทาบาง ๆ หรือเพียงเล็กน้อยว่า แลด.
ละ ก. ปล่อย, วาง, ทิ้ง, สละ.
ลา น. สัตว์พาหนะชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายม้า แต่ตัวเล็กกว่า มีปลายหางเป็นพวง.
ลา น. ดาบ. ลาคำ = ดาบทอง.
ลาง ว. บาง, บ้าง เช่น ลางเทื่อ = บางที, ลางที.
ล้าย ว. ดารดาษ.
ล่าว ว. อาการล้มระเนระนาด เช่น ต้นไม้ล้มล่าว.
ล้าว ว. ต่าง, แปลก, ไม่เหมือน, ผิดปกติ.
ล่ำ ก. แล, แลดู, เล็ง, มอง.
ล้ำ ก. ล่วงเกินเข้าไป, พ้น, เหลือ, เลย, เกิน.
ล้ำ ว. ประเสริฐ, ยิ่ง, ใหญ่.
ลีลา ก. เดิน, ไป.
ลีล้าย ก. เดินเป็นแถวเป็นแนว, เดินกันเป็นขบวน.
ลื่น ว. เกิน, กว่า, เลย, เกินกำหนด.
ลือ ก. เลื่องลือ, แผ่กระจายไป.
ลือชา ก. ลือกันไปทั่ว, ลือโด่งดัง. ชาลื้อ ก็ว่า.
ลุ ก. บรรลุ, ถึง, ประสพ, บรรจบ.
ลุก ก. มาจาก, ออกจาก, เคลื่อนตัวขึ้น, ตั้งขึ้น, ชูชันขึ้น, โพลงขึ้น.
ลุน ว. ภายหลัง, ทีหลัง, หลัง.
ลุ่ม ว. ใต้, ข้างล่าง, ที่ต่ำ, ตรงข้ามกับคำว่า เทิง.
ลุ่มฟ้า น. แผ่นดิน เช่น ผู้มีอำนาจปกครองคนในแผ่นดิน เรียก เจ้าลุ่มฟ้า = เจ้าแผ่นดิน.
เล็ว ก. โต้, รบศึก, ทะเลาะโต้เถียงกัน.
เลา น. ยุ้งข้าว.
เล้า น. ยุ้งข้าว.
เลิก ว. ลึก.
เลิง ว. บ่อยๆ, เรื่อยๆ, เสมอๆ.
เลียน ก. จัดเป็นแถว, เรียงกัน, เรียง, เรียงราย, แถวแนว.
แลง ว. เวลาเย็น หรือก่อนค่ำ, เวลาตะวันจวนจะตกดิน.
แลน น. สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายกิ้งก่า แต่ขนาดใหญ่กว่า = ตะกวด.
แลบ ว. ละเอียด, อ่อน.
โลม ก. พูดจาเกลี้ยกล่อม, เอามือประคองลูบให้รู้สึกว่ามีความเอ็นดูรักใคร่.

วงศา น. ตระกูล, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์.
วรรณ น. ผิวพรรณ, สี.
ว้อนว่อน ว. เสียงดังจากระยะไกล เช่น เสียงนกร้อง เป็นต้น.
วะ ก. เว้น, ปล่อย.
วัตถัง น. ผ้า, เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม.
วันทา ก. ไหว้, แสดงอาการเคารพ.
วัลลี น. เครือเขา, เถาวัลย์, ไม้เถา. วัลย์ ก็ว่า.
วัสสา น. ปี, พรรษา, ฝน.
วิไชยนต์ น. ชื่อวิมานหรือรถของพระอินทร์, ปราสาททั่วไปของหลวง. เวชยันต์, วิไชย ก็เรียก.
วิญญาณ น. ความรู้แจ้ง, ความรู้สึกทางอายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
วิตก ก. นึก, คิด, ตรึก.
วิมาน น. ที่อยู่ของเทวดา หรือพระมหากษัตริย์.
วี ก. พัด, โบก, กระพือ.
วุฏฐิ น. ฝน, น้ำฝน.
เวน ก. มอบให้, ยกให้ครอบครอง.
เวสสุวัณ น. ชื่อท้าวจาตุมมหาราชองค์หนึ่งประจำอยู่ทางทิศอุดร.
เวหา น. อากาศ, ที่ว่าง.
เว้า ก. พูดจา, พูดคุย, สนทนา, กล่าวบอก.
เวียง น. เมือง, เมืองหลวง, เมืองที่มีกำแพงล้อมรอบ, กำแพง.
เวียน ก. หมุนวน.
แวน ว. มาก, ยิ่ง, เร็ว, พลัน.
แว่นฟ้า น. เป็นคำใช้เรียกหญิงสูงศักดิ์, งดงาม, ล้ำเลิศ.

ศรัทธา น. ความเชื่อถือ.
ศาสตรศิลป์ น. ความรู้เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน.
เศิก น. การรบกัน, การสู้กัน.

สกุณา น. นกตัวผู้, นกหลายตัวรวมทั้งตัวผู้และตัวเมีย.
สกุณี น. นกตัวเมีย.
สงสาร น. การท่องเที่ยวไป, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ ๓ โดยปริยายหมายถึง ภพหรือโลกที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์.
สน ๆ ว. ขวักไขว่, ยุ่งเหยิง, สับสน, พลุกพล่าน.
สบ ก. พบ, ปะ, บรรจบ, ถูก, พอดีกัน, ประสงค์ให้เข้ากัน.
สม ว. เหมาะ, พอดี, รับกัน, เหมือนกัน.
สม ก. ประสม, ร่วมกัน, รวมกัน, ผสม.
สมประมาณ ก. กะประมาณ, คะเน, คำนวณ.
สมภาร น. บุญบารมีที่เคยได้ทำไว้, อำนาจวาสนา.
สรง ก. อาบน้ำ, รดน้ำ.
สลอน ว. ซึ่งอออยู่มากมาย, สล้าง, สพรั่ง. ซึ่งชูขึ้นพร้อมกัน.
สลา น. หมาก, ผลไม้.
สลาด น. ฉลาด, รอบรู้.
ส่วง ก. แข่ง, แข่งขัน เช่น ส่วงเฮือ = แข่งเรือ.
ส่วย ว. เรียว, แหลม, ลด, ลักษณะลดลงจนเป็นมุม.
สว่าย ก. ชำระ, ล้าง. ส่วย ก็ว่า.
สอด ก. ผ่าน, ทะลุ, แทรก.
สอดแส้ว ก. หนี, หลบหลีก, เลี้ยวไปมา.
สะ ก. สละ, ละ, ทิ้ง, ปล่อยวาง, บริจาค, ผละออก.
สะเด็น ก. กระเด็นตก, ถูกเหวี่ยงตก.
สะบัดไชย น. กลองสะบัดชัย กลองชนิดใหญ่และยาว ใช้ตีเสพเจ้าเมือง.
สะหาว ว. อวดเก่ง, จองหอง.
สัง ว. อะไร, ทำไม, ไฉน.
สังขยา น. การนับ, การคำนวณ, จำนวน.
สังคีบ น. ชื่อตัวละครในวรรณคดีอีสาน.
สังวาล น. สร้อยเครื่องประดับชนิดหนึ่งใช้คล้องสะพายแล่ง.
สัตตะ ว. เจ็ด, จำนวน ๗.
สัน ว. อย่าง, แบบ เช่น สันเก่า = อย่างเก่า, แบบเดิม.
สันใด ว. อย่างไร, เช่นไร, ไฉน, ฉันใด.
สั่นสาย ก. สั่นสะท้านเพราะความกลัว.
สับ ก. จิก, ใช้ของมีคมฟันลงไปที่วัตถุ.
สัพพะ ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งมวล, ทุกอย่าง.
สัพพัญญู น. ผู้รู้ทุกสิ่ง, พระนามของพระพุทธเจ้า.
สาธุการ น. การเปล่งเสียงว่าดี, การแสดงความเห็นว่าดีว่างามด้วย.
สาร น. ช้าง.
ส่ำ น. ขนาด, เท่า, เท่ากับ เช่น บ่าวส่ำน้อย = หนุ่มวัยรุ่น, สาวส่ำน้อย = สาวรุ่น.
ส่ำ ว. หมู่, เหล่า, พวก, ชนิด.
สำบาย ก. สบาย, ไม่อึดอัด, ไม่ขัดข้อง.
สิง ก. กล่อม, ไกว.
สิ่ง ว. อย่าง, ชนิด, ประเภท, คล้าย, เหมือน.
สิน ก. ตัด ตัดคอ เรียก สินคอ.
สิน ว. ด้วน, ขาด. ตัด.
สิมพลีจัน น. ชื่อตัวละครในวรรณคดีอีสาน.
สิ้ว ว. สีเขียวแก่ อย่างสีหัวเป็ดตัวผู้.
สี ก. ถู, ขัด, ทำความสะอาด.
สีฮง น. อาวุธชนิดหนึ่ง.
สึงหลึง ว. อาการนิ่งนึกอย่างตรึกตรอง.
สุเมรุ น. ภูเขาสิเนรุ.
สุริเยศ น. พระอาทิตย์.
สู ส. คำใช้แทนชื่อบุคคลผู้ที่เราพุดด้วย (บุรุษที่ ๒) ท่าน, เอ็ง, มึง, แก, เจ้า.
สูนกล้า ก. ตกกล้าโดยไม่ต้องแช่ข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำ ไถแล้วหว่าน เสร็จแล้วคราดกลบอีกทีหนึ่ง.
สูรย์ น. พระอาทิตย์, ดวงตะวัน.
เสถียร ว. มั่นคง, แข็งแรง, ยั่งยืน.
เสนห์ น. ความเสน่หา, ความรัก, ความเยื่อใย.
เสเนศ น. เสนา. ข้าราชบริพาร.
เสลา ว. สวย, งาม, เกลี้ยงเกลา, โปร่ง = เฉลา.
เสลียว ว. เฉลียว, มีไหวพริบดี.
เสิน ๆ ว. ขวักไขว่, คนจำนวนมากกำลังเคลื่อนขบวน.
เสี้ยง ว. หมด, สิ้น, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น.
โสพาบ ว. เสมอ, เท่ากัน, ไม่เกินกัน.

หงัด ก. สงบ, นิ่ง, เงียบ ย่อมาจากคำว่า สงัด.
หน ก. หันกลับ, ถอยกลับ, หมุนกลับ, หวาดหวั่น.
หนํ่าๆ ว. กระหนํ่า, ซํ้า, เติม.
หนี้ ว. นี่, อยู่ใกล้ ๆ เช่น อยู่หนี้ = อยู่นี่.
หมั้น ว. เหนียว, ทนทาน, แน่น, คงทน เช่น จับให้หมั้น = จับให้แน่น.
หมาก น. ผลไม้, ต้นไม้.
หมูบ ก. หมอบ, นอนคว่ำ.
หลอ ก. เหลือ เช่น บ่หลอ = ไม่เหลือ.
หลอนท่อ สัน. เพียงแต่, แต่ว่า. ลอนท่อ ก็ว่า.
หล่า น. เครื่องมือสำหรับปั่นไหมหรือด้าย.
หล่า ก. เปลี่ยน, เปลี่ยนแปลง, กลับกลาย.
หลาก ว. ต่าง ๆ, แปลก, ประหลาด, แปลกใจ, ผิดปกติ, อัศจรรย์.
หลาง ว. หาก, เลย, พลอย.
หลาม ว. กรู, พรั่งพรู, หลั่งไหล.
หลิง ก. เล็ง, มอง, แลดู, คำนึง.
หลิ่ง น. ตลิ่ง, ฝั่งน้ำ.
หลิ้น ก. เล่น. เหล้น ก็ว่า.
หวน ก. เวียนกลับ, วกกลับ, ทวน, ทวนกลับ, กลับซ้ำใหม่.
หว่าง น. ที่.ช่อง, ส่วนกลาง = ระหว่าง.
หอ น. ปราสาทอันเป็นที่ประทับของเจ้านายหรือที่อยู่ของพระเถระผู้ใหญ่เรียกหอ.
หอขวาง น. ปราสาทหลังใหญ่.
หอชัย น. เรือนที่ประทับของกษัตริย์. หอคำ ก็ว่า.
หอด ก. เป็นทุกข์. เสียใจ, ทรมาน มักใช้คู่กับคำอื่น ๆ ว่า หิวหอด, หอดไห้ เป็นต้น.
หอด ก. หิว, อยาก, กระหาย.
ห่อน ว. เคย เช่น บ่ห่อนเห็นห่อนฮู้ = ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้.
หั้น ว. นั้น, ที่นั้น.
หับ ก. ปิด, งับ เช่น หับปักตู = ปิดประตู.
หัว ก. แสดงอาการขบขัน, ยิ้มแย้ม.
หัวที ว. ทีแรก, ครั้งแรก.
หัสดีลิงค์ น. สัตว์ป่าหิมพานชนิดหนึ่ง หัวเป็นช้าง ตัวเป็นนก มีกำลังเท่ากับช้าง ๕ เชือก. หัสไดลิงค์ ก็เรียก.
ห่า น. ฝนที่ตกลงมามากๆ เรียก ห่าฝน.
ห้าง ก. ตบแต่ง, ตระเตรียม.
ห้าว ก. คึกคะนอง.
หินศิลาอาสน์ น. ที่ประทับของพระอินทร์. หินศิลา ก็ว่า.
หิวหอด ก. กระวนกระวายใจ, เดือดร้อนใจ.
หิวไห้ ก. ร้องไห้อย่างรันทด.
หื่น ๆ ว. เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนจำนวนมากพูดกันเสียงดังอื้ออึง.
หือละแห่น ว. เสียงม้าร้อง, เสียงแหลมเล็ก.
หุ้ม ก. ห่ม, คลุม, โอบ, ครอบ, ปก.
หูฮา น. หมอดู, หมอบอกฤกษ์ยาม, นักทาย.
เหง้า น. ภรรยา.
เหง้า น. ต้นตระกูล, ต้นตอของพืช. ฮากเหง้า ก็เรียก.
เห็น น. สัตว์สี่เท้าจำพวกชะมด = อีเห็น.
เหนี่ยว ก. ขอร้อง, วิงวอน.
เหม้น น. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีฟันแทะขนาดใหญ่ ลำตัวมีขนแหลมแข็ง ขาสั้น ขาหน้ามีเล็บแข็ง ใช้ขุดดินกินพืช = เม่น.
เหมือย น. สัตว์สี่เท้าชนิดหนี่งในสกุลหมี แต่ตัวใหญ่กว่าหมี.
เหล้น ก. เล่น. หลิ้น ก็ว่า.
เหลาหล่อ ว. หล่อ, งาม.
เหลือหัว น. เหนือหัว, ใช้เรียกพระสงฆ์ หรือผู้ที่ตนเคารพมาก.
เหลื่อม ก. เลยไป, ล้ำไป, บัง, ทับ, ปก, ครอบ.
เหลื้อม ว. ปราสาทราชมนเทียร ที่มีสีเหลืองอร่ามงามตา, แสงแพรวพราว, แวววาว.
เหลื่อมงำ ก. ครอบงำ, ปกป้อง, คุ้มครอง.
เหิง ว. ช้า, นาน, ไหน, เมื่อไร. หึง ก็ว่า.
เหียน ก. เกี่ยว, พัน, เกาะ.
แหน ก. แห่, เฝ้า, ล้อม.
แห้น ก. แทะ, ใช้ฟันหน้ากัด.
แหน้น ว. แน่น.
โหร น. หมอดูประจำราชสำนัก, นักทำนาย.
ไหงหงั่น ก. กระเทือน, สะท้าน, หวั่นไหว.
ไหล ก. ลอยแพ, จับคนไม่ดีใส่แพแล้วปล่อยให้ไหลไปตามเวรตามกรรม.

อนตาย น. อันตราย, ภัยพิบัติ.
อนันต์ ว. มากมาย, ไม่มีที่สิ้นสุด.
อโนม น. แม่น้ำ, ชื่อแม่น้ำอโนมา.
อ้ม น. สัตว์สี่เท้าจำพวกอีเห็น เรียก เห็นอ้ม = ชะมด.
อร ว. งาม, สวย, น่ารัก.
อรชร ว. เงียบสงัด. ออนซอน ก็ว่า.
อวน ก. นำ, พา อวนหน้า = นำหน้า, ป่าวร้อง, ชักชวน, ต้อน.
อวน ส. เป็นคำใช้แทนชื่อของผู้พูดและผู้ที่เราพูดด้วย (บุรุษที่ ๑ และที่ ๒). พะอวน ก็ว่า.
อวน น. พี่, น้อง อวน หมายถึงคนที่รักกันใช้เรียกได้ทั้ง ๒ ฝ่าย.
ออด ๆ ว. อ้อนวอนไม่หยุด, แล้ว ๆ เล่า ๆ, พร่ำเพรื่อ.
ออดหลอด ว. เกลี้ยงกลม คนที่มีลักษณะเกลี้ยงกลม เรียก งามออดหลอด.
ออม น. ภาชนะสานด้วยตอก ยาชันรูปคล้ายหม้อแต่ไม่มีคอใช้ใส่น้ำ. กะออม ก็เรียก.
ออย ก. ปลอบ, เอาใจ, โอ๋.
อ้อยอิ่น ว. อ่อนหวาน, นิ่มนวล, เนิบนาบ. อ้อยอิ่ง ก็ว่า.
ออระควน ว. อ้อยอิ่ง, ครางครวญ.
อ้อล้อ ว. กลมเล็ก. ถ้าใหญ่ว่า โอ้โล้.
ออละหาย ก. อันตรธาน, หาย, ค่อย ๆ หมดไป.
อ้ออิ่ง ว. เนิบนาบ, เชื่องช้า.
อักโข ว. มาก, หลาย คำเต็มว่า อักโขภิณี.
อัด ก. ปิด เช่น อัดปักตู, อุด เช่น อัดฮู.
อั้น ว. นั้น, อย่างนั้น.
อัสสา น. ม้า.
อาคม น. เวทย์มนต์, คาถา.
อาจิณ น. การสั่งสม, ความประพฤติเนือง ๆ.
อาชญ์ น. อำนาจ, เจ้าเมือง. ผู้เป็นใหญ่, คำสั่ง, คำบังคับ. อาชญา ก็ว่า.
อาชญา น. ดู อาชญ์.
อาชาไนย ว. ม้าที่ฝึกดีแล้ว.
อาธรรม ว. ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ต่ำทราม.
อ้าว ก. เผ่น, กระโจน.
อาสน์ น. ที่นั่ง, บัลลังก์, ที่สำหรับนั่ง. อาสนะ, อาสนา หรือ สนา ก็ว่า.
อาฮง น. อาาธชนิดหนึ่ง.
อำ ก. ปกปิด, ปิดบัง, อำพราง.
อํ่าอิ่ง ว. ไพเราะ, เพราะพริ้ง.
อิด ก. โรยแรง, อ่อนกำลัง, อ่อนแรง.
อิดอ่อน ว. เหนื่อย, เมื่อยล้า.
อินตา น. พระอินทร์.
อิ่นอ้อย ว. เชื่องช้า, ครวญคราง, แสดงอาการสำออยเพื่อต้องการผู้ปลอบโยน. อิ่งอ้อย ก็ว่า.
อิ่น ๆ ว. อ้อยอิ่ง, ฉอเลาะ, ออเซาะ.
อีดู ก. เอ็นดู, สงสาร.
อี่หลี ว. จริง, แท้จริง.
อึน ว. ชื้น. ชุ่ม, ชุ่มฉํ่า.
อึนเอ้า ก. อบอ้าว, ร้อนจนเหงื่อชุ่ม.
อือทือ ว. มาชุมนุมกันจำนวนมาก.
อุกขลุก ว. เดือดร้อน, วุ่นวาย.
อุดร น. อุตตรกุรุทวีป, ทวีปที่อยู่ด้านทิศเหนือของโลก.
อุดรกุรุทีป น. อุตตรกุรุทวีป เป็นชื่อทวีปหนึ่งในจำนวนสี่ทวีป ซึ่งถือว่าเป็นทวีปที่มีความสุขสมบูรณ์.
อุตตร, อุตร ว. เหนือ, อุดร เช่น หนอุตตร = ทิศเหนือ.
อุทธังราชา น. ชื่อฤกษ์, ฤกษ์บนเป็นราชาฤกษ์.
อุบาทว์ น. อัปรีย์, จัญไร, อันตราย, ภัยพิบัติ.ความขัดข้อง.
เอ้ ก. แต่งตั้ง, ประดับ, ตกแต่ง, เสริมสวย.
เอิก น. อก, หน้าอก.
เอิ้น ก. เรียก, ตะโกนหา.
เอื้อน ก. หยุด. ฝนหยุดตก เรียก ฝนเอื้อน.
เอื้อม ก. โอบอุ้ม, คุ้มครอง.
โอด ก. อวด, คร่ำครวญ.
โอดสะหาว ก. อวดเก่ง, หยิ่ง, ผยอง.

อฺย

อฺย อฺย หรือ ย มี อ นำ ทางภาคกลางมีใช้เขียนอยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก ซึ่งเป็นคำออกเสียงทางเพดานปาก ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอักษรที่ใช้เขียนอย่าง อฺย อยู่ตัวหนึ่ง เรียกว่า ตัวหยอ หรือ หยอหยาดน้ำ จัดอยู่ในหมู่อักษรกลาง ออกเสียงทางเพดานปากเช่นเดียวกัน ในศัพทานุกรมนี้ใช้ อย แทนตัวหยอหยาดน้ำ.
อฺยอง ก. อาการเดินเบา ๆ, อาการค่อย ๆ ย่องไป, ลีลาศ.
อฺย้อง ก.แต่งตัว, ประดับ, ตกแต่ง.
อฺย่อน ก. ค่อยๆ ผ่อนลงจากที่สูง, ทุเลา, ไม่ตึง, ห้อยลง, ย้อยลง, ยาน, ถอย เช่น มีอย่อน = ไม่ถอย.
อฺย้อน ก. โยนให้กระเด็นไป, ขึ้นลง ๆ, กระแทกลง หรือดันขึ้นเพื่อปรับให้อยู่ในระดับที่ต้องการ.
อฺย่อนอฺย้าน ก. กลัว, หวาดกลัว.
อฺยั้ง ก. หยุด, พัก, ยั้ง, ชะงัก.
อฺยาด น. หยด, หยดน้ำ.
อฺยาดน้ำ ก. กรวดน้ำ การแผ่ส่วนบุญอุทิศไปให้ผู้ตายด้วยวิธีหลั่งน้ำ.
อฺย้าน ก. กลัว, ยั่น, ประหวั่น, พรั่นพรึง.
อฺยาย ก. กระจาย, จ่ายแจก, แบ่ง, ปัน, ให้เช่น ตักมาอฺยายหลานชายให้คู่.
อฺย้าว น. บ้าน, เรือน, ที่อยู่อาศัย.
อฺยำ ก. เคารพ, นับถือ, เกรง.
อฺยืด ก. ขยายออก, ดึงออกให้กว้าง.
อฺยืน ก. ยืน.
อฺยื้อ ก. ยื่นมือไปเพื่อหยิบของในที่ไกลมือ = เอื้อม.
อฺยุด ก. หยุด, พัก.
เอฺย็น ว. เย็น, ไม่ร้อน, หายร้อน, เวลาค่ำ.
เอฺยี้ยม ก. โผล่ออก, มองดู, จ้องดู.
เอฺยียวว่า สัน. แม้ว่า, ถ้าว่า, ผิว่า, หากว่า.
เอฺยียวว่า ก. คิดว่า, เข้าใจว่า, นึกว่า.

ฮง ๆ ว. สุกใส, แวววาวเป็นประกาย ใช้สำหรับขนาดใหญ่, ถ้าขนาดเล็กว่า ฮอง ๆ. ฮูน ๆ ก็ว่า
ฮม ก. รวม, ประชุม. โฮม ก็ว่า.
ฮ่ม น. ร่มกันแดดกันฝน, ร่มเงาของต้นไม้.
ฮวง น. พวง เช่น ฮวงดอกไม้, รวง เช่น ฮวงเข้า, รัง เช่น ฮวงเผิ้ง, ช่อ เช่น ฮวงหมากเดือย.
ฮวงฮัง น. รวงรัง. ที่อาศัยของนก.
ฮ่วนฮ่วน ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงฟ้าร้อง, เสียงลมพัด.
ฮ่วม ก. ร่วม, อยู่ด้วยกัน, ร่วมกัน, เข้าด้วยกัน, บรรจบกัน.
ฮวาย ก. อ่าน, ร่าย, เสกคาถา. ฮวย ก็ว่า.
ฮวาย ก. รด, พ่น, เป่า, ล้าง, พรม, พรำ.
ฮ่อ ก. รุมล้อม, ห้อมล้อม.
ฮอด ก. ถึง, บรรลุ.
ฮ้อน น. ความร้อน, ร้อน.
ฮอบ น. รอบ, เวียนมาบรรจบกัน.
ฮอม ก. รวบเข้ากัน, รวม, ร่วม.
ฮ่อม น. ช่องทาง, ทาง, ร่องน้ำ เช่น ฮ่อมความคึด = แนวทางแห่งความคิด, แนวคิด.
ฮอย สัน. ชะรอย, ผิว่า, ถ้าว่า, แม้ว่า, ฮอยว่า = ชะรอยว่า, ฮอยที่ = ชะรอยว่า.
ฮอย น. สิ่งที่ปรากฏตราติดอยู่, สิ่งที่ถูกทำแล้วยังปรากฏให้เห็นอยู่ เรียก ฮอย.
ฮ้อย น. ร้อย หรือจำนวน ๑๐๐.
ฮัก ก. รัก, ชอบ, ชื่นชม, ยินดี.
ฮักษา ก. รักษา, คุ้มครอง, ดูแล, ปกป้อง.
ฮับ ก. รับ.
ฮาก น. ราก, ส่วนของต้นไม้ที่อยู่ในดิน.
ฮ่าง น. ร่าง, รูปร่าง, ตัว, โครง, ลักษณะ, เรื่องราว.
ฮาช น. ราช, ความเป็นเจ้า.
ฮาธนา ก. อาราธนา, เชื้อเชิญ, อัญเชิญ, นิมนต์.
ฮ้าน น. สิ่งที่ปลูกยกพื้นขึ้นจากพื้นดิน, สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อให้พืชเถาเกาะเลื้อย = ร้าน.
ฮาม ว. งาม, สวย.
ฮาม ว. สาวแก่ เรียก สาวฮาม.
ฮาม ว. เชื่อง, รุ่น เช่น สาวฮาม = เด็กสาวรุ่น ๆ, ถ้าเป็นสิ่งของหมายถึงขนาดกลาง.
ฮ้าย ว. ไม่ดี, ชั่ว, ร้าย, ขี้เหร่, ไม่งดงาม.
ฮ่าว ก. ทำโดยไม่ตั้งใจ, อุตริ, เสี่ยงโชคเสี่ยงภัย เช่น ฮ่าวเฮ็ด = ทำส่งเดช, เดาสุ่ม.
ฮำ ก. รด, โรย, ทำให้เปียก.
ฮำเพิง ก. รำพึง, พินิจพิจารณา, ใส่ใจ.
ฮํ่าไฮ ก. ร่ำไร, พิรี้พิไร, รำพัน.
ฮิง ก. รัด, มัดให้แน่น. ฮัด ก็ว่า.
ฮี ว. รี, ยาว, แหลม, เรียว.
ฮีด น. แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ประเพณีที่ทำสืบต่อกันมา.
ฮีน น. เครื่องจักสานขนาดใหญ่ฉาบด้วยดินเหนียวสำหรับเก็บข้าวเปลือก = พ้อม.
ฮีบ ว. รีบ, เร็ว, ด่วน.
ฮุ่ง ว. แจ้ง, สว่าง, สุกใส, รุ่ง.
ฮุ้ง น. เหยี่ยว, นกขนาดใหญ่.
ฮุ่งเฮือง ก. รุ่งเรือง, จำเริญ, เจริญขึ้น.
ฮู น. รู, ช่องที่ลึกเข้าไปในเนื้อ, ในสิ่งของหรือในดิน.
ฮู้ ก. รู้
ฮู้เมื่อ ก. รู้สึกตัว, ตื่นขึ้น.
ฮูป น. รูป, ร่างกาย.
เฮ็ด ก. ทำ.
เฮ็ว ว. เร็ว, เร่ง, รีบ, ด่วน, ไว.
เฮา ส. เรา, คำใช้แทนชื่อผู้พูด และผู้ฟังด้วย (บุรุษที่ ๑ และที่ ๒).
เฮียก ก. เรียก.
เฮียง ก. เรียง, เคียงกัน.
เฮียน ก. เรียน.
เฮียม ส. ตัวเราหรือคนที่เราพูดด้วย.
เฮือ น. เรือ.
เฮื่อ ว. เรื่อ, มาก, อร่าม, สะพรั่ง, เต็ม, สว่าง, แจ้ง, สุกใส.
เฮื่อเฮือง ว. เรื่อเรือง, แพรวพราว.
เฮือง ก. รุ่งเรือง. เจริญ.
เฮือน น. เรือน, บ้าน, ที่อยู่อาศัย.
แฮง น. แรง, กำลัง, พลัง.
แฮ่ง ว. ยิ่ง, มาก.
แฮ้ง น. นกแร้ง รูปร่างคล้ายเหยี่ยว แต่ตัวโตกว่า กินสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร.
แฮด น. สัตว์ป่าชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายหมูแต่โตกว่า มีนอที่สันจมูก หนึ่งนอบ้าง สองนอบ้าง หนังหนา แข็งแรงมาก = แรด.
แฮม น. วันข้างแรม, วันเดือนมืด.
โฮง น. โรง, หอประชุม.
โฮม ก. รวม, ชุมนุม, ประชุมกัน.
โฮย ว. โชย, อบอวล.
โฮยเฮ้า ว. ตลบ, อบอวล, หอมฟุ้ง.
ไฮ น. ทองคำ.
ไฮ้ ว. ไม่มี, ยากจน, ขัดสน.

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ