(๘) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม

ณวัน ๕ ๑๒ ค่ำปีขานอัฐศกเพลาเช้า $\left. \begin{array}{}\mbox{พระยาโกษาธิบดี} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{พระยาพิพัฒโกษา} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{พระยาธิเบศโกษา} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{พระยาราชวังสรร} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{พระยาศรีพิพัฒน์} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{พระยาไกรโกษา} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{พระยาโชฎิก} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{หลวงท่องสื่อ} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{ขุนสารประเสริฐ} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{ขุนมหาสิทธิโวหาร} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{นายเทียรฆราษ} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{หลวงราชมนตรี} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{ล่ามญวน} & \mbox{๑}\\[1.4ex]\mbox{เสมียนตรากรมท่า} & \mbox{๑}\end{array} \right\}$ นั่งพร้อมกันณหอพระมณเฑียรธรรม ให้พระราชมนตรีแปลพระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม ในพระราชสาส์นนั้นว่า

(๘) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม กราบถวายบังคมแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาให้ทราบ ด้วยณะ เดือน ๙ ปีขานอัฐศก เจ้าเมืองกวางตีมีหนังสือมาให้กราบทูลว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว แต่งให้พระยาจักราราชทูต พระยาราชวังสรรอุปทูต นายเสน่ห์มหาดเล็ก แลไพร่ ๙๕ คน จำทูลพระราชสาส์นไปทางเมืองลาวถึงตานกามโล จึงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองกวางตีแต่งให้ขุนนางแลไพร่จัดเรือขึ้นไปรับ ครั้นณวัน ค่ำ ปีขานอัฐศก รับ $\left. \begin{array}{}\mbox{ราชทูต } \\[1.4ex]\mbox{อุปทูต }\end{array} \right\}$ ข้าหลวงมีชื่อลงมาถึงกรุงเวียดนาม จึงพระราชทานกงกวนให้อยู่ พระยาจักรา นายเสน่ห์มหาดเล็ก แลไพร่ป่วยหนัก จึงพระราชทานหมอหลวงให้รักษามิฟัง ครั้นอยู่มาณวัน ค่ำ พระยาจักรา นายเสน่ห์มหาดเล็กตาย พระเจ้าเวียดนามทรงพระเมตตาหนักหนา ทรงพระวิตกว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสใช้ให้ข้าหลวงออกมาตายเสีย เสมือนหนึ่งข้าราชการในพระเจ้ากรุงเวียดนามก็เหมือนกัน มิได้แจ้งราชการเลย จึงให้แต่งการศพพระยาจักรา นายเสน่ห์มหาดเล็กตามอย่างกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาให้เอาไปเผา ครั้นณวัน ค่ำ จึงให้รับสั่งเชิญพระราชสาส์นแลข้าหลวงมีชื่อเข้าเฝ้าแจ้งในพระราชสาส์นแล้ว มีพระไทยคิดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าทรงพระเมตตาในพระเจ้ากรุงเวียดนามเสมอ $\left. \begin{array}{}\mbox{ต้น } \\[1.4ex]\mbox{ปลาย }\end{array} \right\}$ แลพระยาเชียงเงินก่อเนื้อความชักชวนเอา นายคำทิพ นายคำนักกับครอบครัวไป พระยาเชียงเงินทำทั้งนี้ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตก แลกรุงเวียดนามกับกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ยังเปนทางพระราชไมตรีสืบไปอยู่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงมีรับสั่งให้พระยาเชียงเงินเอาครอบครัว ๑๐๐ เสศคืนขึ้นไปเมืองแถง แลข้อความทั้งนี้เจ้าเมืองทังลวงได้บอกหนังสือมาหลายครั้ง ว่าพระยาเชียงเงินทำเบียดเบียนชักชวนเอาครอบครัวไป แจ้งพระไทยว่าการทั้งนี้พระยาเชียงเงินทำเอง มิได้สงไสยว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะได้ตรัสใช้หามิได้ จึงมิได้ว่ากล่าวประการใด ครั้นณวัน ๑๕ ๗ ค่ำ ปีขานอัฐศก จึงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองทังลวงมีหนังสือไปถึงเจ้าเมืองสือหึงว่าให้หมื่นศรี เพลียจันอาษา แลไพร่มีชื่อ ซึ่งอยู่ณเมืองสือหึงกลับคืนไปเมือง แลพระเจ้ากรุงเวียดนามมึพระไทยคิดถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมิได้ขาด ซึ่งให้เอาโทษพระยาเชียงเงินนั้นพระ $\left. \begin{array}{}\mbox{เดช } \\[1.4ex]\mbox{คุณ }\end{array} \right\}$ หาที่สุดมิได้ ทั้งสองพระนครจะได้เปนทางพระราชไมตรียืดยาวสืบไป อนึ่งซึ่งพระยาเชียงเงินพาเอาครอบครัว ๑๐๐ เศศคืนไปนั้น ยังหาไปถึงเมืองแถงไม่ ครั้นจะให้ข้าหลวงมีชื่อคอยครอบครัวกว่าจะถึงนั้นจะช้าไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะทรงพระวิตก จึงมีรับสั่งให้พระยาราชวังสรรอุปทูต ข้าหลวงมีชื่อกับไพร่ ๖๒ คน ให้กลับเข้ามา แล้วพระราชทานสิ่งของ ครั้นณวัน ๑๐ ค่ำ พระยาราชวังสรรข้าหลวงมีชื่อกราบถวายบังคมลา พระเจ้ากรุงเวียดนามได้สั่งให้เข้ามากราบทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว อย่าให้ทรงพระวิตกเลย จึงให้ขุนนางจัดเรือแลคนส่ง ครั้นณวัน ๑๐ ค่ำ พระยาราชวังสรรออกจากกรุงเวียดนาม อนึ่งทูตข้าหลวงมีชื่อจะไปทางเมืองลาวครั้งนี้ลำบากป่วยเจ็บล้มตายเปนอันมาก แต่ลาวเคยไปมาอยู่ยังป่วยเจ็บล้มตาย แต่นี้ถ้าจะแต่งข้าหลวงออกไปกรุงเวียดนามอีก อย่าให้ไปทางเมืองลาวเลย ให้ไปทางเรือขึ้นเมืองไซ่ง่อน แลครั้งนี้จะให้กลับไปทางบกกลัวจะลำบาก จึงมีรับสั่งให้จัดเรือแลคนส่งทางเรือมาขึ้นเมืองไซ่ง่อน ให้เจ้าเมืองไซ่ง่อนส่งต่อ ๆ ไป ขอให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวครองราชสมบัติแลสมเด็จพระเจ้า$\left. \begin{array}{}\mbox{ลูก } \\[1.4ex]\mbox{หลาน }\end{array} \right\}$ เธอ พระญาติพระวงษ ครอบครองอาณาประชาราษฎรให้อยู่เย็นเปนศุขสืบไป

พระราชสาส์นมาณวัน ๑๐ ค่ำ ศักราชล่วง (ยาลอง) ๕ ปีขานอัฐศก

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ