ความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑  
๏ ความมั่นกตัญญู ฉะเพาะครูและอาจารย์
รู้คุณกรุณฐาน ทะนุศิลป์วิชาเสริม ฯ
๏ ทราบนึกระลึกนิตย์ และเพราะคิดพระคุณเดิม
ทำตอบประกอบเติม กตเวทิตาธรรม
๏ เป็นธรรมะบรรเจิต ผลเลิศและควรคำ
คนชมนิยมจำ จริยาอุทาหรณ์ ฯ
๏ ทั้งโลกและทางธรรม ก็แนะนำและแน่นอน
ใครยึดประพฤติ, พร สุภพัฒน์อุบัติหลาย ฯ
๏ คือธรรมประจำลัก- ขณะหลักจะเล็งทาย
คนดีมิดีหมาย ก็เพราะมีมิมีมวล ฯ
๏ ใครมีก็แม่นแต่ คุณะแน่บแปรปรวน
ตัวอย่างจะอ้างควร คติรวบสรูปนัย ฯ
ฉะบัง ๑๖  
๏ นำเรื่องเนื่องศาสนาไข พอเค้าเข้าใจ
เพียงข้อเพียงคำจำนง
๏ สูงสุดพุทธสาวกสงฆ์ ท่านฤๅคือองค์
พระสารีบุตร บ่งนาม
๏ แรกนั้นปัญญายังทราม ทราบได้ไต่ถาม
เถระชื่อ พระอัสสชิ
๏ นำไปเป็นธรรมดำริ รอบคอบชอบผลิ
ผลเผล็ดสำเร็จอรหัตต์
๏ แต่นั้นนิรันดร์มั่นมนัส เนื่องนิตย์กิจจวัตร
ค่ำเช้าเคารพนบนอบ
๏ นับเป็นเช่นอาจารย์กอบ การุณคุณรอบ
รำลึกจนขณะจะนอน
๏ นมัสการทุกกาลยอกร กราบพลางวางหมอน
หมายทิศที่สถิตพระเถร
๏ แล้วท่านจึ่งกรานกายเอน อินทรีย์มีเกณฑ์
ศีรษะสู่พระอาจารย์
๏ เรื่องปลีกมีอีกอาหาร หนึ่งทัพพีทาน
ของพราหมณ์นามว่าราธะ
๏ ท่านได้รับไปในขณะ นานมากาละ
ก็ล่วงก็เลยแล้วแล
๏ ท่านแจ้งจำได้ไป่แปร ลืมพรากจากแด
โดยพระพุทธวาจา
๏ ให้ท่านจัดการบรรพชา บวชในศาสนา
แก่ราธะพราหมณ์ตามประสงค์
๏ ข้อนี้ที่พระพุทธองค์ ตรัสสรรเสริญทรง
ยกไว้ในสถานท่านดี
๏ ด้วยมั่นกตัญญูรู้มี มุ่งกตเวที
กระทำตัวอย่างอ้างมา
๏ อย่าเห็นเป็นเหตุยากหา ไม่ได้ในครา
สมัยดลกใหม่ดำเนิน
ผู้ที่มีธรรมจำเริญ ผู้ปราศพลาดเผิน
ผิดธรรมก็จำฉิบหาย”
๏ หลักมีฉะนี้อธิบาย บิดเบี่ยงเลี่ยงกลาย
เตลิดเปิดเปิงไปไฉน
๏ สองนั้นธรรมะมั่นใจ ประพฤติยึดไป
เป็นทางเป็นธรรมนำผล
๏ เพื่อความงามเจริญเดินดล แด่ทุกบุคคล
ผู้รู้คุณครูอาจารย์ (จริงนา) ๚

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ