ปทานุกรม สังเขป

(เลขบอกตำแหน่งหน้า)

คำนำ การพิมพ์หนังสือกนกนครนี้ ผู้แต่งได้มอบให้ผู้อื่นตรวจตัวเรียงพิมพ์ทานกับต้นฉบับ ผู้ตรวจแสดงความเห็นว่า คำกลอนนี้ใช้ศัพท์หลายศัพท์ซึ่งผู้อ่านบางคนอาจไม่เข้าใจ เพราะคำแปลในภาคอธิบายยังน้อยนัก เห็นควรเติมปทานุกรมขึ้นอีกส่วนหนึ่ง

ผู้แต่งตอบว่าตามใจ ผู้ตรวจจะเก็บเอาศัพท์ไหนมาแปลบ้างก็ช่วยเก็บแลช่วยแปลให้ตลอดไปเถิด

ปทานุกรมสังเขปมีกำเนิดด้วยประการฉนี้ — น. ม. ส.

กัณฐ์ ๖๘. คอ.
กัลยาณิ์ ๑๓๒. นางงาม.
กำเดา ๖๗. เข็ญใจ, ขัดสน.
ข่าวสาร ๔๒. ข่าวมีประโยชน์ยิ่ง.
ข่อน ๆ ๒๐. ปั่นป่วนใจพิลึก.
เขือ ๑๙. เจ้า, ท่าน (บุรุษสรรพนาม)
คนเสือ ๘๘. คนกล้า, คนสามารถ.
ครรชิต ๙๒. คำรน. รูปเดิม คัชชิต.
คารพ ๑๒๐. คำเดียวกับ เคารพ.คารพ เปนรูปบาลี. เคารพ เปนรูป สํสกฤต.
คำแหง ๒๑. เข้มแขงยิ่งนัก.
จัณฑึก ๑๓๓. ประกอบด้วยความดุร้าย.
ฉวาง ๙๔. กว้าง. ไพรฉวาง ป่ากว้าง.
ฉันทิต ๔๙. พอใจ, พึงใจ. (gratified – M. M. Williams)
ไฉไล ๙๔. งาม. ดู รางชาง.
ชำงือ ๗๒. แสนยาก, แสนลำบาก
ฌาน ๗. ความเพ่งใจจนเกิดสงบ. เชี่ยวฌาน ช่ำชองในกิจนี้.
ดาย ๑๓๑. เปล่า. หาดาย หาไม่ได้. ดายแด เปล่าใจ, เปลี่ยวใจ
ดิตถ์ ๑๑๐. ท่าน้ำ.
แด ๑๙. แดลาญ ใจพรั่น
ตบะ ๗. ความเพียรเผากิเลส. แรงตบะ เพียรเผากิเลสอย่างยวดยิ่ง.
ตรีทิพ ๔๑. สวรรค์ ถีนตรีทิพ แดนสวรรค์
ถิร ๑๔๗. มั่นคง. ถิรนาน มั่นคงมานาน.
ทฤษฎี ๗. เห็น (ด้วยทิพย์เนตร์). ทฤษฎีตรีภพ เลงทิพยเนตร์เห็นตลอด ๓ ภพ
ทานพ ๑๓๓. ยักษ์, อสูร.
ทำงน ๒๔. หนัก. กรรมทำงน กรรมหนัก คือครุกรรม.
ธรรมบถ ๗. คลองธรรม, ทางชอบ.
ธาตรี ๓๐. โลก. ลงมาธาตรี ลงมายังโลกนี้
นพศูล ๒๘. ยอดแหลม ๙ ยอด.
นรเทพ ๓๘. พระราชา. ตามอักษรว่า คนเทวดา หรือ เทวดาของคน.
นรเศรษฐ์ ๔๐. พระราชา ตามอักษรว่า คนประเสริฐ หรือ คนสูงศักดิ์
นเรสูร ๖๘. พระราชา. ตามอักษรว่า ผู้กล้าในคน (นเร + สูร) เปนชนิด อลุต์ต ไม่ลบวิภัติ อย่างที่ใช้ในคำอื่นว่า เขจร (เข + จร)
นาคร ๑๘๐. ชาวเมือง.
นิศากร ๓๐. พระจันทร์. ตามอักษรว่าทำรัศมีในกลางคืน (นิศา + กร)
นิสัย ๑๔๘. ใจคอ. เนื้อความเช่นนี้ใช้ตามที่ชินกันในไทย. แท้จริงคำนี้ออกจากบาลีว่า นิสฺสโย ซึ่งแปลว่า เปนที่อาศัย ในบางแห่ง เลงอาจารย์ โดยความว่า เปนที่อาศัยของศิษย์ คู่กับคำ นิสฺสิตโก ศิษย์ มีอัตถ์ว่า ผู้อาศัยอาจารย์. แต่ไฉนคำนี้ จึงเลือนมาไกลทีเดียว น่าจะเปนเพราะคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กัน คือ อัชญาสัย หรือ อัธยาศัย ซึ่งแปลว่า ความนิยมในใจ, ความคิดอ่าน, ความปราถนา อันพอไปกันได้กับอัตถ์แห่งใจคอ ในภาษาไทย.
นี่นัน ๕๑. มี่สนั่น
บถ ๑๓๓. ทาง.
บร ๒๘. ฆ่าศึก. บรขาม ฆ่าศึกพรั่น.
บวรณ์ ๔๓. เต็ม. จาก ปูรณในบาลี ที่แผลงรูปนี้ ตารที่กวีใช้กันในทางบทกลอน.
บังคัล ๑๓. เฝ้า (กิริยาที่ไปหาเจ้า).
บาปกรณ์ ๒๑. ทำบาป.
ประกาศิต ๔๒. ข้อความที่ประกาศ.
ปริมาณ ๓๒. นับ.
ปพาฬ ๑๘๑. แก้วชนิดหนึ่ง ฝรั่งเรียกว่า Coral.
ปัทมะ ๑๘. บัว. ปัทมะคันธิน บัวมีกลิ่นหอม.
ปาปนาศน์ ๒๒. ผู้ให้บาปฉิบหาย, ผู้ทำลายบาป.
ผลู ๖๔. ทาง.
เผด็จ ๓๘. ตัด.
พบู ๘๔. คำนี้หนังสืออนันตวิภาคแปลไว้ว่าหน้า; งาม. แต่ที่จริง เห็นจะมาจากคำบาลีว่า วปุ แปลว่า รูป, กาย, เนื้อตัว
พรรค์ ๒๙. พวก, เหล่า. พลสี่พรรค์ พลสี่เหล่า.
พรรณี ๓๗. มีผิว. คือ ผิวงาม.
พัลลภ ๑๓. สนิท, ชิด.
พินทุ์ ๗๘. รู้, ชำนาญ, คุ้นเคย. จาก วินฺทุ (knowing, acquainted or familiar with – M. M. Williams). ภูลพินทุ์ เชี่ยวชาญ, ช่ำชอง. พินทุ์คำนี้ ตามธรรมดาแปลว่า หยาด หรือ จุด หรือ วง ดุจคำ ศศพินทุ์ (ดู).
ภวล ๙๖. เจริญ. จาก ภูล คำไทยกันเอง (ดู บวรณ์).
ภัดดา ๒๒. ผัว. ตามอักษรว่า ผู้เลี้ยง. คำนี้แลใช้กันเลือนไปเปน ภัสดา ซึ่งวิปริต.
ภูดล ๑๓๓. พื้นแผ่นดิน. ภู แผ่นดิน ดล พื้น. คำนี้ใช้เลือนมาเปน ภูวดล.
มนท์ ๕๗. อ่อน, เขลา, โง่.
มนเทียร ๒๘. ปราสาท. ตามธรรมดา หมายเปนเรือนของใครๆ ทั่วไปก็ได้.
มันท์ ๙. ดู มนท์.
มัตสยา ๑๐๘. คำนี้ คือ มัจฉา นั่นแล แต่เปนรูปสํสกฤต.
มาเครียว ๑๓๓. มาถึง.
มานพ ๔๒. คน, ประชา ถ้าเปนรูปนี้ มาณพ หมายว่า คนหนุ่ม.
มานิต ๑๒. นับถือ, เคารพ.
มาฬก ๑๑๒. เรือนหลวง.
มีนพ ๑๑๓. มี ๙ สี มณีมีนพ คือ มณีนพรัตน์.
แม้นแมนขุด ๒๘. ดุจเทพดาขุด. แมน เทพดา.
โมหันธ์ ๕๖. หลงมืด, หลงงม. (โมห + อันธะ)
ยรรยง ๔๑. ขึงขัง เข้มแขง.
ยูนี ๖๐. นางสาว.
โยคะ ๒๒. เพียรทำ, เพียรบำเพ็ญ. สำรวมโยคะ เพียรทำอย่างเคร่งครัด หรืออย่างขมักเขม้น.
รงค์ ๔๗. ที่ สถาน รงค์สงคราม สนามรบ
รณรงค์ ๔๗. สนามรบ. รณ = ยุทธ์
รดิ ๒๐. ความยินดี, ความกำหนัด. (รดิกรรม ว่า “อัศจรรย์”).
ราฆพ ๑๓๖. พระราม. ตามอักษรว่า เหล่ากอแห่งรฆุ.
รางชาง ๙๔. งาม. รางชางไฉไล = งามงาม มีอัตถ์ว่า งามเลิศล้น หรืองามเลิศฟ้า.
ริปู ๒๘. ฆ่าศึก.
รุจิเรข ๒๘. ลวดลายงดงาม.
รูจี ๑๓. งดงาม. คำเดิม รุจิ.
แรงดวจเสือใหญ่ ๕๖. คือ แรงดุจเสือใหญ่. ดวจ จาก ดุจ (ดู บวรณ์).
ลาวัณย์ ๑๐. สวยงาม, งามพริ้ง.
ลำเภา ๘๓. งาม.
เลศ ๔๑. กลอุบาย.
วิชชุ ๙๖. สายฟ้า. วิชชุโชติช่วง สายฟ้าสว่างชัชวาล.
เวียงคำ ๘๗. เมืองทอง.
แวง ๗๔. ยาว. ไพรแวง ป่าเปนทิวยาว.
ศศพินทุ์ ๙๖. พระจันทร์. ตามอักษรว่า วงแห่งกระต่าย.
ศัลย์ ๒๖. คำนี้ รูปบาลีเปน สัลละ ซึ่งตามธรรมดาแปลว่า ลูกศร; หอก, หลาว, ฯลฯ แต่สำนวนทางธรรมใช้เปนชื่อแห่งความโศก ดังคำเดิมว่า โสกลสลลํ ลูกศรคือโศก หรือ โศกดุจลูกศร ซึ่งไทยใช้ว่า โศกศัลย์ ฉนั้นคำ ศัลย์ในที่นี้ จึงหมายความเศร้าโศก.
ศานติ์ ๑๒. สงบ. ในประโยคที่ว่า มานิตภูวนัยใสศานติ์ หมาย นับถือภูวนัยด้วยน้ำใจอันใสสงบ อย่างที่เรียกว่า น้ำใจใสจริง หรือน้ำใสใจจริง.
ศกุนี ๑๐๔. นก. นี้รูปสํสกฤต (ไม่ใช่ตัวเมีย) คำเดิม ศกุนิ.
สะโรช ๑๐. ดอกบัว. ตามอักษรว่าเกิดในสระ. สระโรชนงรามงามเจือ หมายความงามแห่งดอกบัวกับความงามแห่งนางคละกันไป.
สังสนทนา ๑๑๐. เจรจาโต้ตอบกัน. คำนี้รูปเดิมเปนดังนี้แท้ แต่ใช้กันวิปลาสมา ตัด สัง ออกเสีย เหลือแต่ สนทนา ซึ่งวิปริต แม้คำ สังสนทนา อัตถ์เดิมแท้ว่า เปรียบ, เทียบ, เทียบเคียง.
สันต์ ๒๑. สงบ.
สากลย์ ๑๓. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น.
สามินทร์ ๑๐๔. เจ้าใหญ่. (สามี + อินทร์).
สำนึง ๑๐๐. อาศัย.
สุภคา ๖๘. นางงาม หญิงสวย. ตามอักษรว่า ถึงความเปนคนงาม (สุภ คา).
สุรามร ๒๘. เทวดาผู้ไม่ตาย.
เสาวภาค ๑๘. ส่วนแห่งสวรรค์ เสาวแห่งสวรรค์ (heavenly – M. M. Williams).
เสาวรส ๘๘. รสแห่งสวรรค์.
หยาว ๕๕. ฉาว อึง.
อดิศัย ๙. สูงศักดิ์, ประเสริฐยิ่ง.
อนุสนธิ์ ๑๓๓. สืบต่อ.
อรพินท์ ๑๒๕. บัว, ดอกบัว. ใช้ในที่นี้เปนชื่อแห่งนาง โดยสมมติว่านางเปนดุจดอกบัว
อรัณย์ ๘๔. คำนี้ คือ อรัญ นั่นแล เปนรูปสํสกฤต.
อวนินทร์ ๓๔. พระเจ้าแผ่นดิน อวนิ แผ่นดิน.
อัจกรับ ๑๖๗. โคมแขวนของโบราณชนิดหนึ่ง.
อัมพุ ๑๓๘. น้ำ. อัมพุช ‘เกิดในน้ำ’ หมาย เปนบัวก็ได้ ปลาก็ได้.
อัสสุ ๑๓๘. น้ำตา.
อากูล ๑๓๖. ยุ่งเหยิง, วุ่นวาย.
อานันท์ ๔๑. เปนที่เพลิดเพลิน.
อุตบล ๑๐. คำนี้ คือ อุปฺปล ดอกอุบลนั่นแลเปนรูปสํสกฤต
อุปเทศ ๓๔. ชี้แจง, แนะนำ
อุโรช ๓๖. นม, ถัน. ตามอักษรว่าเกิดที่อก

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ